เอกสารกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) สำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

เอกสารกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) สำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. เผยแพร่เอกสาร “กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) สำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา”

เอกสารกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) สำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

เอกสารกิจกรรมการเรียนรู้ฯ มีจำนวน 11 เล่ม แบ่งเป็นเอกสารกิจกรรมการเรียนรู้ฯ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 5 เล่ม นักเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 5 เล่ม และนักเรียนระดับประถมศึกษา-ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 เล่ม

เล่มที่ 1 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับประถมศึกษา ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

เล่มที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

เล่มที่ 3 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

เล่มที่ 4 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษา ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

เล่มที่ 5 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับประถมศึกษา ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

เล่มที่ 6 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษา ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

เล่มที่ 7 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

เล่มที่ 8 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษา ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

เล่มที่ 9 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษา ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

เล่มที่ 10 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับมัธยมศึกษา ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

เล่มที่ 11 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ด้านทักษะทางสังคม (Social skills) ระดับประถมศึกษา – ระดับมัธยมศึกษา ดาวโหลดเอกสารได้ที่นี่

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมได้ที่…https://drive.google.com/drive/folders/1bHuET6FkJPC4eFA2aVOUeTBWGvoyuAaa?fbclid=IwAR1_uYy7zOXqFoHLvXh6wW4T0jgAFR2pq6yv7yDyXfHpbkvsZnMELzRWrzQ

ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม หลักเกณฑ์ และ วิธีการย้าย ข้าราชการครู และบุคคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู 2565 ว 18/2565 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

การจัดสรรอัตราพนักงานราชการ สพฐ. สรรอัตราพนักงานราชการ ให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต บริหารจัดการอัตราพนักงานราชการ

 

การจัดสรรอัตราพนักงานราชการ สพฐ. สรรอัตราพนักงานราชการ ให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต บริหารจัดการอัตราพนักงานราชการ

การจัดสรรอัตราพนักงานราชการ (ศธ04009/ว 4608 ลงวันที่ 9 ส.ค. 65)

การจัดสรรอัตราพนักงานราชการ สพฐ. สรรอัตราพนักงานราชการ ให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต

การจัดสรรอัตราพนักงานราชการ สพฐ. สรรอัตราพนักงานราชการ ให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้นําอัตราว่างพนักงานราชการ กลุ่มงาน บริหารทั่วไป มาจัดสรรให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีสถานศึกษาในสังกัดขาดอัตรากําลังครู และ/หรือ ขาดอัตรากําลังผู้ปฏิบัติงานในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามความต้องการจําเป็น ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 – 2 จึงให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาดําเนินการตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 3 และรายงานข้อมูลให้สํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 4 ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ plan9hragmail.com ทั้งนี้ ตําแหน่งพนักงานราชการดังกล่าวจะดําเนินการจ้างได้เมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณแล้ว และการจ้าง พนักงานราชการถือเป็นการจ้างโดยไม่มีข้อผูกพันที่จะนําไปสู่การบรรจุหรือปรับเปลี่ยนสถานภาพ เป็นข้าราชการ หากผู้ใดประสงค์จะบรรจุเป็นข้าราชการ ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่องค์กรกลางกําหนด

ให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตบริหารจัดการอัตราพนักงานราชการ โดยเกลี่ย ตําแหน่งครูผู้สอนที่ว่าง จากสถานศึกษาที่มีอัตรากําลังครูเกินเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กําหนด และหมดความจําเป็น ให้แก่สถานศึกษาที่ยังขาดอัตรากําลังครูและมีความจําเป็นมากกว่า กรณีสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง มีอัตรากําลังครูไม่ต่ํากว่าเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กําหนด เมื่อได้บริหารอัตราพนักงานราชการ ตําแหน่งครูผู้สอน ตามความต้องการขาดแคลนของสถานศึกษาแล้ว หากมีอัตราดังกล่าวว่างลงและหมดความจําเป็น ให้รายงาน ส่งคืนสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 5 เพื่อบริหารจัดการตามความจําเป็น และความขาดแคลนในภาพรวมต่อไป

รายละเอียดการจัดสรรพนักงานราชการ ดังเอกสาร ด้่านล่างนี้

ศธ04009-ว4608 ลว .9 ส.ค. 65_การจัดสรรอัตราพนักงานราชการ

ส่งที่ส่งมาด้วย 1 _บัญชีจัดสรรอัตรา พรก. ตำแหน่งครูผู้สอน

สิ่งที่ส่งมาด้วย 2_บัญชีจัดสรรอัตรา พรก. ตำแหน่งใน สนง.

สิ่งที่ส่งมาด้วย 3_แนวปฏิบัติการจัดสรร พรก. ของ สพท.

สิ่งที่ส่งมาด้วย 4_แบบรายงานการจัดสรร พรก.

สิ่งที่ส่งมาด้วย 5_แบบรายงานส่งคืน พรก.

ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม คู่มือการดําเนินงาน โครงการอาหารกลางวัน ประจําปีการศึกษา 2565 แนวทางในการดําเนินงานได้อย่างถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของ สพฐ.

หลักเกณฑ์ และ วิธีการย้าย ข้าราชการครู และบุคคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู 2565 ว 18/2565 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

หลักเกณฑ์ และ วิธีการย้าย ข้าราชการครู และบุคคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู 2565 ว 18/2565 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

มาแล้วหลักเกณฑ์ การย้ายครู ว 18/2565 หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 สำนักงาน กคศ. ได้เผยแพร่ หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการโดยมีรายละเอียดดังนี้

หลักเกณฑ์ และ วิธีการย้าย ข้าราชการครู 2565 ว 18/2565 หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และ 2 สํานักงาน ก.ค.ศ. ได้แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา และตามหนังสือที่อ้างถึง 3 และ 4 ได้แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครู สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ส่วนราชการและ หน่วยงานการศึกษาทราบและถือปฏิบัติ นั้น

ก.ค.ศ. พิจารณาแล้ว มีมติดังนี้

1. ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหนังสือ ที่อ้างถึง 1 และ 2 เฉพาะสายงานการสอน และหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครู สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหนังสือที่อ้างถึง 3 และ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560

ทั้งนี้ คําร้องขอย้ายที่ยื่นระหว่างวันที่ 1 – 15 สิงหาคม 2565 ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และ 2 ให้ใช้พิจารณาย้ายได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

2. กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย โดยให้ใช้บังคับกับทุกส่วนราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติ

ดาวน์โหลดที่นี่ หลักเกณฑ์และวิธีการย้าย ข้าราชการครู และบุคคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู 2565 ว 18/2565

ขอบคุณที่มา : หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู

 

บรรยายพิเศษ สร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะฯ ตามหลักเกณฑ์ PA โดย สำนักงาน ก.ค.ศ. รู้จักระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ DPA

 

บรรยายพิเศษ สร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะฯ ตามหลักเกณฑ์ PA โดย สำนักงาน ก.ค.ศ. รู้จักระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ DPA

สำนักงาน ก.ค.ศ. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ก.ค.ศ. พบเพื่อนครู” ณ โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ลงพื้นที่สร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะฯ ตามหลักเกณฑ์ PA รวมถึงการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือน ให้กับข้าราชการครูในสถานศึกษาพื้นที่ห่างไกล

ลิงก์รับชมการบรรยายพิเศษ 

ลิงก์รับชมการบรรยายพิเศษ (สำรอง)

บรรยายพิเศษ สร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะฯ ตามหลักเกณฑ์ PA โดย สำนักงาน ก.ค.ศ. รู้จักระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ DPA
บรรยายพิเศษ สร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะฯ ตามหลักเกณฑ์ PA โดย สำนักงาน ก.ค.ศ. รู้จักระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ DPA

รับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง รู้จักระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ (DPA : Digital Performance Appraisal) โดย รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.และการให้ความรู้ เจาะลึก ถาม-ตอบ เตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินวิทยฐานะ โดยทีมวิทยากรของสำนักงาน ก.ค.ศ. วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 นี้ รับชมได้ผ่านทาง YouTube สำนักงาน ก.ค.ศ. ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 16.00 น.

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ประชุมวิชาการออนไลน์ คุรุสภา webinar 2565 ลงทะเบียนอบรมที่นี่! เริ่ม 1 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป

คู่มือการดําเนินงาน โครงการอาหารกลางวัน ประจําปีการศึกษา 2565 แนวทางในการดําเนินงานได้อย่างถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของ สพฐ.

ลิงก์อบรมออนไลน์ ลงทะเบียน ติดอาวุธความรู้ให้เด็กไทย ทุกคนอ่านออกเขียนได้ พร้อมรับเกียรติจากท่านรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิธีเปิดโครงการ สพฐ.

0

ลิงก์อบรมออนไลน์ ลงทะเบียน  ติดอาวุธความรู้ให้เด็กไทย ทุกคนอ่านออกเขียนได้ พร้อมรับเกียรติจากท่านรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิธีเปิดโครงการ สพฐ.

ลิงก์แบบลงทะเบียนติดอาวุธความรู้ให้เด็กไทย ทุกคนอ่านออกเขียนได้

https://forms.gle/ke7ZSUu1RXnfaS6Y6

ลิงก์รับชมอบรมออนไลน์ ติดอาวุธความรู้ให้เด็กไทย ทุกคนอ่านออกเขียนได้

Facebook สถาบันภาษาไทย
https://www.facebook.com/thaiobec
Youtube OBEC Channel
https://www.youtube.com/channel/UC3FAoTkjypzAvHgcB2ZUEHQ
OBEC TV
https://www.obec.go.th/obectv

“สพฐ. ติดอาวุธความรู้ให้เด็กไทยทุกคนอ่านออกเขียนได้” เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Loss)

https://srru.webex.com/srru/j.php

Meeting number: 2513 726 4900
Password: 180865

 

พิธีเปิดโครงการ สพฐ. ติดอาวุธความรู้ให้เด็กไทย ทุกคนอ่านออกเขียนได้ พร้อมรับเกียรติจากท่านรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. ขอเชิญ รับชมการถ่ายทอดสด พิธีเปิดโครงการ สพฐ. ติดอาวุธความรู้ให้เด็กไทยทุกคนอ่านออกเขียนได้ เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ผ่าน “สื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาไทย (แบบฝึกซ่อมเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3)” และ “กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม”

พิธีเปิดโครงการ สพฐ. ติดอาวุธความรู้ให้เด็กไทย ทุกคนอ่านออกเขียนได้ พร้อมรับเกียรติจากท่านรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 09.30 – 12.00 น. พิธีเปิดโครงการฯ ได้รับเกียรติบัตรจากท่านรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช) เป็นประธานในพิธีการประชุมฯ

ช่องทางการรับชมพิธีเปิดโครงการฯ
1.ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ เข้าร่วมรับชมผ่านการประชุมทางไกลด้วยวีดิทัศน์ Cisco Webex
2.ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน และผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับชมผ่านช่องทาง
Facebook สถาบันภาษาไทย
https://www.facebook.com/thaiobec
Youtube OBEC Channel
https://www.youtube.com/channel/UC3FAoTkjypzAvHgcB2ZUEHQ
OBEC TV
https://www.obec.go.th/obectv

ขอบคุณเนื้อหาจาก ผอ.สวก. สพฐ.ศธ. 

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ประชุมวิชาการออนไลน์ของคุรุสภา ประจำปี 2565 ในรูปแบบ Webinar จำนวน 16 EP ระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม – 16 กันยายน 2565 พร้อมรับเกียรติบัตร

ศธ.จับมือกองทุน กบข.จัดโครงการ สินเชื่อ กบข. ช่วยลดหนี้สินครู

ประชุมวิชาการออนไลน์ คุรุสภา webinar 2565 ลงทะเบียนอบรมที่นี่! เริ่ม 19 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป

เชิญชวนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา นักการศึกษา และผู้ที่สนใจ ร่วมประชุมวิชาการออนไลน์ของคุรุสภา ประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิด “Learning Back to the Future: Reimagining Thai Education”ในรูปแ บบ Webinar จำนวน 16 EP ระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม – 16 กันยายน 2565

รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) รักษาการเลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ร่วมกับหน่วยงานด้านการศึกษาทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน กำหนดจัดประชุมทางวิชาการออนไลน์ของคุรุสภา ประจำปี 2565  (KSP Webinar 2022) ภายใต้ theme “Learning Back to the Future: Reimagining Thai Education” ระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม – 16 กันยายน 2565 เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด แนวปฏิบัติ หรือองค์ความรู้ทางวิชาการและทางวิชาชีพทางการศึกษา และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเลขาธิการคุรุสภา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมทางวิชาการออนไลน์ของคุรุสภาฯ เริ่มลงทะเบียนร่วมกิจกรรมฟรี ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป ผ่านทาง Line ID: @kspwebinar2565

เลขาธิการคุรุสภา กล่าวต่อไปว่า การประชุมทางวิชาการออนไลน์ของคุรุสภา ประจำปี 2565 (KSP Webinar 2022) กำหนดจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ Learning Back to the Future: Reimagining Thai Education”เนื่องมาจากการเล็งเห็นถึงการพัฒนาการศึกษาและวิชาชีพครู เติมเต็มการสูญเสียโอกาสทางการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Loss) และการฟื้นคืนการเรียนรู้ (Learning Gain) พลิกวิกฤตหลังสถานการณ์โควิดให้เป็นโอกาส ก้าวผ่านความท้าทายสู่อนาคตของวิชาชีพทางการศึกษา ด้วยการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่คุณภาพทั้งทักษะชีวิตและสุขภาวะทางอารมณ์ สังคม และปัญญา ซึ่งการจัดการประชุมทางวิชาการของคุรุสภาฯ ในครั้งนี้ จะนำไปสู่ความร่วมมือร่วมกันสร้างสรรค์ความก้าวหน้าในการพัฒนางานด้านการศึกษา การพัฒนาวิชาชีพ ที่มีคุณภาพที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน

สำหรับการประชุมทางวิชาการออนไลน์ของคุรุสภาฯ ประชุมวิชาการออนไลน์ คุรุสภา webinar 2565 ในปีนี้ จัดประชุมแบบออนไลน์ (Online) โดยใช้วิธีการประชุมสัมมนาออนไลน์ในรูปแบบ Webinar (Web – based – seminar) เข้าร่วมประชุม    ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการเสวนา และอภิปราย โดยวิทยากรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาวิชาชีพ และเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งหมด จำนวน 16 EP รับ EP ละ 5,000 คน ดังนี้

คลิกลงทะเบียนที่นี่!

ดาวน์โหลดเอกสารกำหนดการประชุมวิชาการออนไลน์ คุรุสภา webinar 2565

EP. 1 : เร่งเครื่องพัฒนาทักษะอ่าน เขียนผ่านนวัตกรรม เริ่มลงทะเบียน 19 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป

EP. 2 : เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเขย่าห้องเรียน เริ่มลงทะเบียน 19 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป

EP. 3 : พลิกโฉมโรงเรียนสุขภาวะ เริ่มลงทะเบียน 19 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป

EP. 4 : การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย  เริ่มลงทะเบียน 19 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป

EP. 5 : พลิกโฉมการจัดการเรียนรู้ผ่านนวัตกรรม

EP. 6 :  เปิดห้องเรียน เปิดอาชีพแห่งอนาคต

EP. 7 : มุมมองการพัฒนาทักษะชีวิต ช่วง Learning Loss  

EP. 8 : จะพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างไร ในยุคการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน

EP. 9 : มุมมองการพัฒนา EF ในช่วง Learning Loss  

EP. 10 : Learning Back to the Future: Reimagining Thai Education  

EP. 11 : มาตรการฟื้นฟูความรู้ถดถอยในเด็ก (Learning Loss)

EP. 12 : ทักษะการเรียนรู้ที่หดหาย ประเด็นท้าทายความสามารถของครู

EP. 13 : หลากหลายนวัตกรรมที่ช่วยลดช่องว่างของห้องเรียนในยุคโควิด 

EP. 14 : การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน

EP. 15 : อนาคตภาพวิชาชีพครู: ความหวัง ความท้าทาย และความอยู่รอด  

และ EP. 16 : ฟื้นฟูการศึกษาหลังโควิด: สุขภาวะทางอารมณ์ สังคม และปัญญาของผู้เรียน

คลิกลงทะเบียนที่นี่!

ดาวน์โหลดเอกสารกำหนดการประชุมวิชาการออนไลน์ คุรุสภา webinar 2565

เปิดรับสมัครเป็นช่วงเวลา สำหรับ EP 1 – EP 4 นี้ เปิดรับลงทะเบียน ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป ผ่านทาง Line ID: @kspwebinar2565 และร่วมกิจกรรมอบรมได้ระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม – 16 กันยายน 2565 ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับเกียรติบัตรออนไลน์ตามที่คุรุสภากำหนด นับเป็นกิจกรรมการพัฒนาตนเองทางวิชาชีพเพื่อการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ โดยเกียรติบัตรที่ได้รับจะแยกตามหัวข้อที่เข้าร่วมประชุม ต้องเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และต้องส่งแบบสอบถามในแต่ละหัวข้อที่เลือกเข้าร่วมประชุม

ประชุมวิชาการออนไลน์ คุรุสภา webinar 2565

ประชุมวิชาการออนไลน์ คุรุสภา webinar 2565

ประชุมวิชาการออนไลน์ คุรุสภา webinar 2565

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์คุรุสภา www.ksp.or.th  และติดตามการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทางไลน์ @kspwebinar2565

คู่มือการดําเนินงาน โครงการอาหารกลางวัน ประจําปีการศึกษา 2565 แนวทางในการดําเนินงานได้อย่างถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของ สพฐ.

คู่มือการดําเนินงาน โครงการอาหารกลางวัน ประจําปีการศึกษา 2565 แนวทางในการดําเนินงานได้อย่างถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของ สพฐ.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดําเนินการจัดทํา คู่มือ การดําเนินงาน โครงการอาหารกลางวัน ประจําปีการศึกษา 2565 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้โรงเรียนและผู้เกี่ยวข้อง มีแนวทางในการดําเนินงานได้อย่างถูกต้อง ตรงตามเจตนารมณ์ ของ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจ และ ให้การสนับสนุนส่งเสริมการดําเนินงาน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบและแนวปฏิบัติได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

คู่มือการดําเนินงาน โครงการอาหารกลางวัน ประจําปีการศึกษา 2565 แนวทางในการดําเนินงานได้อย่างถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของ สพฐ.

รายละเอียดคู่มือการดําเนินงาน โครงการอาหารกลางวัน ประจําปีการศึกษา 2565 คลิกที่นี่

คู่มือการดําเนินงาน โครงการอาหารกลางวัน ประจําปีการศึกษา 2565 แนวทางในการดําเนินงานได้อย่างถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์ของ สพฐ.

การให้บริการอาหารกลางวัน เป็นนโยบายสาธารณะ (Public Policy) ที่รัฐจัดสวัสดิการให้กับ เด็กในวัยเรียนระดับปฐมวัย ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั่วประเทศ ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในราคามื้อละ 21 บาทต่อคนต่อวัน ตลอดปีการศึกษา จำนวน 200 วัน

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 ดร.เทอดชาติ ชัยพงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำคู่มือการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมี นายพนัส บุญวัฒนสุนทร รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1 – 5 พฤษภาคม 2565

ขอบคุณเนื้อหาจาก สพฐ.

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม การดำเนินงาน อาหารกลางวันและนมโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

การคัดเลือกผลงานเพื่อตีพิมพ์ ในหนังสือวันเด็กแห่งชาติ ปี 2566 ขอเชิญชวนนักเรียน อายุไม่เกิน 18 ปี และกำลังศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือเทียบเท่า

การคัดเลือกผลงานเพื่อตีพิมพ์ ในหนังสือวันเด็กแห่งชาติ ปี 2566 ขอเชิญชวนนักเรียน อายุไม่เกิน 18 ปี และกำลังศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือเทียบเท่า

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขอเชิญชวนนักเรียน อายุไม่เกิน 18 ปี และกำลังศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือเทียบเท่า ส่งผลงานเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม (กลุ่มละไม่เกิน 3 คน) สามารถจัดส่งด้วยตนเองหรือส่งผ่านสถานศึกษาตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2565

 

การคัดเลือกผลงานเพื่อตีพิมพ์ ในหนังสือวันเด็กแห่งชาติ ปี 2566 ขอเชิญชวนนักเรียน อายุไม่เกิน 18 ปี และกำลังศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือเทียบเท่า

โดยนำเสนอผลงานภายใต้คำสำคัญ “รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ / รักความเป็นไทย / ซื่อสัตย์สุจริต / มีจิตสาธารณะ / รักการอ่าน / ใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ / เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม / ทำงานเป็นหมู่คณะ / ความทรงจำที่ประทับใจ / งานประดิษฐ์ / ศิลปะสำหรับเด็ก / การปรับตัวในสถานการณ์ปัจจุบัน / การเอาตัวรอดจากภัยรอบตัว หรือ เรื่องอื่น ๆ ที่นักเรียนสนใจ” ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกตีพิมพ์ในหนังสือวันเด็กแห่งชาติ ปี 2566 เจ้าของผลงานจะได้รับเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตรจาก สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ

อ่านรายละเอียดและดาวโหลดแบบฟอร์มการส่งผลงานได้ที่นี่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
academic.obec.go.th หรือ https://www.facebook.com/OBEC.Read
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมวิทยบริการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โทร 02 288 5730 – 2

ขอบคุณเนื้อหาจาก ศธ.360 องศา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ติดอาวุธความรู้ให้เด็กไทย ทุกคนอ่านออกเขียนได้ รับชมพิธีเปิดโครงการ สพฐ. พร้อมรับเกียรติจากท่านรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รูปแบบการแต่งตั้งคณะกรรมการ ประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA) ปีงบประมาณ 2565 จะทำเป็น “ประกาศ” หรือ “คำสั่ง”

0

 

รูปแบบการแต่งตั้งคณะกรรมการ ประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA) ปีงบประมาณ 2565 จะทำเป็น “ประกาศ” หรือ “คำสั่ง”

รูปแบบการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA) ปีงบประมาณ 2565 จะทำเป็น “ประกาศ” หรือ “คำสั่ง” โดย ดร.รัชศักดิ์  แก้วมาลา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองช้าง สพป.อุบลราชธานี เขต ๑ โทร 090-9625983  ไลน์ 080-8686810

บทความนี้ นำเสนอบทวิเคราะห์เบื้องต้น เพื่อให้ผู้มีอำนาจในการจัดทำเอกสารที่เป็นหลักฐานทางราชการ ได้พิจารณาในแง่มุมต่างๆ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกปฏิบัติว่า จะทำเป็น “คำสั่ง” หรือ “ประกาศ” อย่างมีเหตุผล โดยอ้างอิงข้อกฎหมายอย่างรอบด้านที่สุด และหลีกเลี่ยงการใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจให้น้อยที่สุด

ประกาศ หรือ คำสั่ง คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ กำหนด หมวด ๑ ชนิดของหนังสือ ในข้อ ข้อ ๙ หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่

๙.๑ หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ

๙.๒ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก

๙.๓ หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ

๙.๔ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ

๙.๕ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ

๙.๖ ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

ข้อ ๑๐ หนังสือ มี ๖ ชนิด คือ

๑๐.๑ หนังสือภายนอก

๑๐.๒ หนังสือภายใน

๑๐.๓ หนังสือประทับตรา

                    ๑๐.๔ หนังสือสั่งการ

                    ๑๐.๕ หนังสือประชาสัมพันธ์

๑๐.๖ หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น หรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ

ประกาศ หรือ คำสั่ง เป็นหนังสือชนิดใด สาระสำคัญแตกต่างกันอย่างไร

คำสั่ง เป็น “หนังสือสั่งการ” ตามส่วนที่ ๔ หนังสือสั่งการ    ข้อ ๑๕ หนังสือสั่งการ ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดแบบไว้โดยเฉพาะ

หนังสือสั่งการมี ๓ ชนิด ได้แก่ คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ

ข้อ ๑๖ คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบ ด้วยกฎหมายใช้กระดาษตราครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ ๔ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้

๑๖.๑ คำสั่ง ให้ลงชื่อส่วนราชการ หรือตำแหน่งของผู้มีอำนาจที่ออกคำสั่ง

๑๖.๒ ที่ ให้ลงเลขที่ที่ออกคำสั่ง โดยเริ่มฉบับแรกจากเลข ๑ เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปีปฏิทินทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง

๑๖.๓ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องที่ออกคำสั่ง

๑๖.๔ ข้อความ ให้อ้างเหตุที่ออกคำสั่ง และอ้างถึงอำนาจที่ให้ออกคำสั่ง (ถ้ามี) ไว้ด้วย แล้วจึงลงข้อความที่สั่ง และวันใช้บังคับ

๑๖.๕ สั่ง ณ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง

๑๖.๖ ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อผู้ออกคำสั่ง และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ

๑๖.๗ ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกคำสั่ง

ประกาศ เป็น “หนังสือประชาสัมพันธ์” ตามส่วนที่ ๕ หนังสือประชาสัมพันธ์ ข้อ ๑๙ หนังสือประชาสัมพันธ์ ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดแบบไว้โดยเฉพาะ

หนังสือประชาสัมพันธ์มี ๓ ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว

ข้อ ๒๐ ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบหรือแนะแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ ๗ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้

๒๐.๑ ประกาศ ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกประกาศ

๒๐.๒ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องที่ประกาศ

๒๐.๓ ข้อความ ให้อ้างเหตุผลที่ต้องออกประกาศและข้อความที่ประกาศ

๒๐.๔ ประกาศ ณ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกประกาศ

๒๐.๕ ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อผู้ออกประกาศ และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ

๒๐.๖ ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกประกาศในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ทำเป็นแจ้งความ ให้เปลี่ยนคำว่าประกาศ เป็น แจ้งความ

สรุป ข้อแตกต่างระหว่าง “ประกาศ” หรือ “คำสั่ง”

๑.“ประกาศ” เป็นหนังสือชนิด ประชาสัมพันธ์ เป็นข้อความเพื่อชี้แจงให้ทราบหรือแนะแนวทางปฏิบัติ ส่วน “คำสั่ง” เป็นข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบ ด้วยกฎหมาย

๒.  การออก “คำสั่ง” จะอ้างเหตุที่ออกคำสั่ง อ้างถึงอำนาจที่ให้ออกคำสั่ง ข้อความที่สั่ง และวันใช้บังคับ ส่วน “ประกาศ”  ให้อ้างเหตุผลที่ต้องออกประกาศและข้อความที่ประกาศ ไม่มีต้องอ้างอำนาจที่ออกประกาศ และไม่มีข้อความสั่งการให้ปฏิบัติ

มีข้อคิดเห็นทางกฎหมาย ว่า หากจะออก “ประกาศ” ผลของการประเมินของคณะกรรมการ จะยังคงใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง ยันผลผูกพันการนำผลการประเมินไปใช้ได้ เหมือน “คำสั่ง” หรือไม่อย่างไร ถ้าหากจะอ้างว่า ทั้ง “ประกาศ” หรือ “คำสั่ง” ต่างก็เป็น เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้ทั้ง ๒ อย่าง ก็คงจะไม่ผิด อาจจะแตกต่างกันบ้างในแง่ของ การเป็น “น้ำหนักพยานเอกสาร” ตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ที่ “ประกาศ” อาจจะมีน้ำหนักการเป็นพยานเอกสาร น้อยกว่า “คำสั่ง”

ส่วนผลการประเมิน ที่เกิดจากการ “ประกาศ” หรือ “คำสั่ง” จะแตกต่างกันหรือไม่ น่าจะให้น้ำหนักไปที่การดำเนินการประเมิน การให้คะแนนในแบบประเมิน (PA2/ส และ PA3) และการลงนามรับรองเป็นเอกสารของกรรมการนั้นๆ มากกว่า

การแต่งตั้ง “กรรมการประเมิน PA” อาศัยอำนาจข้อใด

          เป็นการ “แต่งตั้ง” ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ที่ ศธ 0206.3/ว9  ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ที่ ก.ค.ศ.อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19(4) มาตรา 39 ก. (1) (2) (3) และ (4) มาตรา 54 และมาตรา 55 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ตามความในหนังสือที่ ศธ 0206.3/ว9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 มีผลบังคับใช้ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

ตามนัยหมวด 2 ข้อ 3 ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง จำนวน 3 คน ประกอบด้วย

1) ผู้อำนวยการสถานศึกษานั้น เป็นประธาน

2) ผู้ที่ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ หรือผู้สอนในสถานศึกษาอุดมศึกษาที่มีตำแหน่งไม่ต่ำว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือครูผู้สอนจากสถานศึกษาอื่นที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการพิเศษ หรือผู้ทรงคุณวุฒินอกสถานศึกษานั้น ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมจำนวน 2 คน เป็นกรรมการประเมิน

โดยให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง มีอำนาจหน้าที่ 

ข้อ 1 ให้คณะกรรมการประเมินตามข้อ 3 ประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงของข้าราชการครูในรอบการประเมิน ปีงบประมาณ 2565 (1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565) โดยพิจารณาประเมินตามระดับปฏิบัติการที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทยฐานะตามแบบที่ ก.ค.ศ.กำหนด หรือแบบ PA2/ส (ตามนัยหมวด 2 ข้อ 4) และสรุปผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลง ในแบบ PA3/ส

ข้อ 2 ให้ถือว่าคณะกรรมการดังกล่าว เป็นคณะกรรมการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะเพื่อดำรงไว้ ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งด้วย หากคะแนนจากกรรมการแต่ละคนต่ำกว่าร้อยละ 70 ให้ถือว่าผู้รับการประเมินนั้น “ไม่ผ่านเกณฑ์” ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาแจ้งให้ข้าราชการครูผู้นั้นทราบ และให้มีการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด ตามนัยมาตรา 55 วรรคสอง ต่อไป  หรือ

ข้อ 3 ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านที่ 3 ส่วนที่ 1 ด้านผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักเกณฑ์ฯ ว17/2552 หรือ ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครู  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว21/2560 (วฐ.2) แล้วแต่กรณี สำหรับข้าราชการครูที่จะขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ตามนัยคู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู หน้า 104 (ถ้ามี)

ข้อสังเกตว่า “คำบังคับ” ตามหลักเกณฑ์นี้ที่ระบุว่า “ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาแต่งตั้ง….” น่าจะตีความได้ว่า จะต้องทำเป็น “คำสั่ง” มิใช่ “ประกาศ”

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ หรือกรรมการอื่น เป็นบุคคลภายนอก ที่มิใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จะมีอำนาจ สั่งแต่งตั้ง ได้หรือไม่ อาศัยอำนาจตามข้อกฎหมายใด

กรณีศึกษา ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๘  ข้อ ๘ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย ๑) ผู้บริหารท้องถิ่น ๒) รองนายกองค์กรปกครองท้องถิ่นนั้นทุกคน ๓) สมาชิกสภาท้องถิ่นที่สภาท้องถิ่นนั้นคัดเลือกจำนวน ๓ คน  ๔) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจำนวน ๓ คน ๕) ผู้แทนภาคราชการและ/หรือรัฐวิสาหกิจที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือกจำนวน ไม่น้อยกว่า ๓ คน  ๖) ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือกจำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน แต่ไม่เกิน ๖ คน  ๗) ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ๘) หัวหน้าส่วนการบริหารที่มีหน้าที่จัดทำแผน

ข้อ ๑๐ อำนาจหน้าที่ คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น (นายกแต่งตั้ง ๘ ข้อ)

๑) กำหนดแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น (จากภารกิจ ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายผู้บริหาร แผนชุมชน)

๒) ร่วมจัดทำร่างแผนพัฒนา (๒ แผน) เสนอแนะแนวทางการพัฒนา

๓) พิจารณาร่างแผนพัฒนาและร่างแผนดำเนินงาน

๔) ให้ความเห็นชอบร่างข้อกำหนดขอบข่ายและรายละเอียดของงานตามข้อ ๑๙(๒)

๕) พิจารณาให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา

๖) แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่นเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่เห็นสมควร

๗) ประสานงานประชาคมหมู่บ้านฯ นำโครงการตามปัญหาความต้องการชุมชน มาจัดทำแผนพัฒนาฯด้วย

จากกรณีนี้ นายกองค์การบริหารส่วนตำแหน่ง สามารถแต่งตั้ง “ผู้อำนวยการสถานศึกษา” แม้จะอยู่ต่างสังกัดกระทรวง ก็สามารถทำได้ โดยอ้างระเบียบกระทรวงมหาดไทย ดังกล่าว ตามข้อ ๘

          ด้วยเหตุว่า “หน้าที่ราชการ” มี ๒ ลักษณะ

๑) หน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรฐานตำแหน่ง หรือจะเรียกว่า “หน้าที่ที่เป็นกิจทั่วไป”

๒) หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หรือได้รับคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือจะเรียกว่า “หน้าที่ที่เป็นกิจเฉพาะ”

กรณีนี้ “ผู้อำนวยสถานศึกษา” ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตามคำสั่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น มิใช่ไปทำหน้าที่อย่างอื่นใดที่เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ทำหน้าที่เฉพาะที่ได้รับคำสั่งเท่านั้น

 

“หน้าที่ที่เป็นกิจทั่วไป” ของผู้อำนวยการสถานศึกษา คือ มาตรา 39 พ.ร.บ.บริหารกระทรวง ศธ.2546

อำนาจหน้าที่โดยทั่วไปของผู้อำนวยการสถานศึกษา ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษา เป็นไปตาม พระราชบัญญัติบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546

มาตรา ๓๙ สถานศึกษาและส่วนราชการตามมาตรา ๓๔ (๒) มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ๆ โดยให้มีผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(๑) บริหารกิจการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของสถานศึกษาหรือส่วนราชการ รวมทั้งนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษาหรือส่วนราชการ

(๒) ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งควบคุมดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่นของสถานศึกษาหรือส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ

(๓) เป็นผู้แทนของสถานศึกษาหรือส่วนราชการในกิจการทั่วไป รวมทั้งการจัดทำนิติกรรมสัญญาในราชการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการตามวงเงินงบประมาณที่สถานศึกษาหรือส่วนราชการได้รับตามที่ได้รับมอบอำนาจ

(๔) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

(๕) อำนาจหน้าที่ในการอนุมัติประกาศนียบัตรและวุฒิบัตรของสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

(๖)๑๗ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวง เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งงานอื่นที่กระทรวงมอบหมาย

สถานศึกษาและส่วนราชการตามมาตรา ๓๔ (๒) จะให้มีรองผู้อำนวยการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการรองจากผู้อำนวยการหรือหัวหน้าส่วนราชการเพื่อช่วยปฏิบัติราชการก็ได้

          อำนาจหน้าที่ในการประเมิน PA มิใช่อำนาจตามมาตรา 39 ข้างต้น แต่เป็นอำนาจตามมาตรา 54 และมาตรา 55 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.. 2547

 การประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA) เป็น “หน้าที่” ประเภทใด

ถือเป็น “หน้าที่ที่เป็นกิจเฉพาะ” ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ที่ ศธ 0206.3/ว9  ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564  ก.ค.ศ.อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19(4) มาตรา 39 ก. (1) (2) (3) และ (4) มาตรา 54 และมาตรา 55 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ตามความในหนังสือที่ ศธ 0206.3/ว9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 มีผลบังคับใช้ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป หมวด 2 ข้อ 3 ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง จำนวน 3 คน ประกอบด้วย 3.1)  ผู้อำนวยการสถานศึกษานั้น เป็นประธาน  และ 3.2) ผู้ที่ดำรงตำแหน่ง หรือเคยดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ หรือผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาที่มีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือครูผู้สอนจากสถานศึกษาอื่นที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการพิเศษ หรือผู้ทรงคุณวุฒินอกสถานศึกษานั้น ที่มีความรู้ ความเหมาะสม จำนวน 2 คน มาเป็นกรรมการประเมิน

หากผู้อำนวยสถานศึกษา จะมี “คำสั่งแต่งตั้ง” กรรมการที่เป็นบุคคลภายนอก ก็สามารถอ้างอิงข้อกฎหมายตามหลักเกณฑ์ฯ ว9/64 ได้ แต่ไม่อาจจะอ้าง มาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.บริหารกระทรวง ศธ 2546 ได้

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

ในธรรมเนียมวิธีปฏิบัติราชการที่ทำกันมา ถ้าเป็นบุคคลภายนอก สถานศึกษา มักจะไม่ทำเป็น “คำสั่ง” แต่ทำเป็น “ประกาศ” จะยกเหตุผลว่า “มิใช่ผู้ใต้บังคับบัญชา” หรือ เพื่อ ให้เกียรติบุคคลที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิก็ตาม หรือจะอ้างความคิดเห็นจากการตอบข้อซักถามของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าบุคคลนั้น จะมีตำแหน่งในสำนักงาน ก.ค.ศ. หรือ สำนักงานเขตพื้นที่ฯ ใดๆ ก็ตาม แต่ครูอาจารย์สามารถศึกษาจากเอกสารทางราชการที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ด้วยตนเองได้ และตัดสินใจเลือกทางเลือกที่มีเหตุผลได้

ไม่จำเป็นต้องไปหยิบยกเอาเจตนารมณ์ ของก.ค.ศ. มาอ้าง เพราะหลักเกณฑ์และวิธีการฯ (ว9/64) เป็นกฎหมายระดับรองจากพระราชบัญญัติ ไม่มีการบัญญัติเจตนารมณ์เอาไว้ ไม่เหมือนกับรัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติบางฉบับ ที่จะระบุเจตนารมณ์ไว้ใน “บทเฉพาะกาล” แต่ ว9/64 ไม่มี “บทเฉพาะกาล” เพราะเป็นกฎหมายที่ระดับปฏิบัติการ มิใช่กฎหมายที่จะเอาเจตนารมณ์ เป็นหลักในการออกกฎหมาย

อ้างอิง

๑. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖

๒. หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู (ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ ๐๒๐๖.๗/ว๙ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔)

๓.ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๘

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก ดร.รัชศักดิ์  แก้วมาลา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองช้าง สพป.อุบลราชธานี เขต ๑ และ สพฐ.

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม การจ่ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี 2563 และประจำปี 2564

ว15 การถ่ายคลิปการสอน ประเมินวิทยฐานะ วPA สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้ปรับรูปแบบการถ่ายคลิปวิดีทัศน์การสอน

schoolmis 2565 โปรแกรมระบบบริหารจัดการผลการเรียน SchoolMis 2565

สวัสดีครับวันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตมีเรื่องเรื่องราวเกี่ยวกับ ระบบ schoolmis 2565 หรือ โปรแกรมระบบบริหารจัดการผลการเรียน ปี 2565 โดย สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาฝากทุกท่านดังนี้ครับ

schoolmis 2565 โปรแกรมระบบบริหารจัดการผลการเรียน ปี 2565

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับระบบ schoolmis โปรแกรมระบบบริหารจัดการผลการเรียน schoolmis

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดให้โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
(รวมโรงเรียนขยายโอกาส) และ สังกัดสำนักงานการศึกษาพิเศษใหทำการรายงานผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนการสอน
ผ่านการบันทึกผลการเรียนตั้งแต่ปี การศึกษา 2557-2565 เพื่อจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ ผ่านระบบschoolmis และจัดทำระบบสารสนเทศทางผลการเรียนและเป็นฐานข้อมูลเพื่อการตรวจสอบความถูกต้องการออกเอกสารทางการเรียน และเชื่อมข้อมูลกับบัตรประชาชนแบบ SmartCard ดังนั้นในทุกปีการศึกษาโรงเรียนและเขตพื้นที่จะต้องมีการจัดการผลการเรียนทุกปีการศึกษา โดยสามารถเข้าสู่ระบบได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

schoolmis 2567 (ปีการศึกษา 2566) โปรแกรมระบบบริหารจัดการผลการเรียน SchoolMis ปีพ.ศ. 2567 จาก สพฐ. คลิกที่นี่

ลิงก์เว็บไซต์เข้าระบบสำหรับโรงเรียน เข้าได้ที่นี่ครับ ** ลิงก์ schoolmis  สำหรับโรงเรียน ปี 2565 : https://a6702.obec.expert/authen/login Update Link แล้ว!

ลิงก์เว็บไซต์เข้าระบบสำหรับเขตพื้นที่ เข้าได้ที่นี่ครับ ** ลิงก์ schoolmis  สำหรับเขตพื้นที่การศึกษา ปี 2565 : admin134ssl.obec.expert Update Link แล้ว!

ในกรณีที่คุณครูต้องการจัดทำข้อมูลต่างๆในระบบ เช่น พิมพ์ ปพ.3 พิมพ์ ปพ.1 สามารถดำเนินการได้ที่ลิงก์นี้ครับ >> https://a6702.obec.expert/authen/login Update Link แล้ว!

เรื่องราวที่น่าอ่าน : DMC65 DMC 2565 เปิดระบบให้จัดทำข้อมูล ต้นปีการศึกษา 2565

ขอบคุณที่มาจาก : โปรแกรมschoolmis โปรแกรมระบบบริหารจัดการผลการเรียน โดย สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน >> https://a6702.obec.expert/authen/login