ลิงก์ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ โครงการพัฒนาสมรรถนะครู และบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตร “เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย” ในวันที่ 23-25 กันยายน 2565 พร้อมรับเกียรติบัตร

ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ โครงการพัฒนาสมรรถนะครู และบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตร “เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย” ในวันที่ 23-25 กันยายน 2565 พร้อมรับเกียรติบัตร

ลิงก์ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ โครงการพัฒนาสมรรถนะครู และบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตร “เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย” ในวันที่ 23-25 กันยายน 2565 พร้อมรับเกียรติบัตร สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) จัดโครงการพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อความยั่งยืนทางการเงิน หลักสูตร “เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย”
ในวันที่ 23-25 กันยายน 2565 ทั้งในรูปแบบ On-site ที่ สคบศ. จำนวน 100 คน และ Online ผ่าน Facebook Live โดยวิทยากรชื่อดัง

ลิงก์ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ โครงการพัฒนาสมรรถนะครู และบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตร “เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย” ในวันที่ 23-25 กันยายน 2565 พร้อมรับเกียรติบัตร

  • จอห์น รัตนเวโรจน์ (จอห์น นูโว) ประธานสมาคมเครือข่าย เพื่อการเรียนรู้เท่าทันดิจิทัลเทคโนโลยี และกรรมการผู้จัดการบริษัท สแพลช อินเตอร์แอ็คทีฟ จำกัด ผู้ผลิตรายการ Tech Know Now และ The Lighthouse : เรื่อง ดิจิทัลวัคซีนความปลอดภัยทางไซเบอร์ / ยกระดับครูสู่โลกดิจิทัล
  • นางธมลวรรณ สุดใจ (ครูมัดซี) ดาว TikTok สอนอิงลิชโดนใจ จนต้องติดตาม : เคล็ดลับของครูมัดซีสู่การเป็นครูไอดอลบนโลกออนไลน์
  • ดร.สิรวิชญ์ อิทธิโสภณพิศาล (ครูไอซ์) อินฟูลเอนเซอร์สายความรู้ชื่อดังที่มีผู้ติดตามมากกว่า 2.5 ล้านคนบนโลกออนไลน์ : เทคนิคการทำคลิปสอนอย่างไรให้ปัง / การสร้างและทำวีดิโอ Tiktok อย่างไรให้คนติดตาม
  • อ.อ๊อป ธนะโรจน์ ธิติจริยาวัชร์ อายุน้อยร้อยล้าน สอนออนไลน์ช่วยชาติ : ความรู้พื้นฐานในการสร้างเนื้อหา (Content) ให้น่าสนใจ / การประชาสัมพันธ์ FB Ads / เทคนิคการทำธุรกิจออนไลน์

ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมออนไลน์หลักสูตร “เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย” ปิดแล้ว

หรือร่วมกิจกรรมผ่าน Facebook Live กลุ่ม NIDTEP-Online
https://www.facebook.com/groups/743815863357673/?ref=share
ผู้ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมจะได้รับวุฒิบัตรหลังการอบรม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มพัฒนามาตรฐานและส่งเสริมเครือข่าย สคบศ.สป. โทร. 034 321 286 , 034 321 290 กด 0 หรือต่อ 4043

ขอบคุณเนื้อหาจาก ศธ.360 องศา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม อบรม การเตรียมเอกสารประเมิน PA วิดีทัศน์การสอน ประชาสัมพันธ์คุณครูที่สนใจเข้าอบรมออนไลน์ หลักเกณฑ์ ว9/2564 หลักเกณฑ์ ว15/2565

แบบบันทึกข้อตกลง PA1 – PA5 ตำแหน่งครู ไฟล์ doc ข้อตกลง PA ดาวน์โหลดที่นี่

 สวัสดีค่ะคุณครูทุกท่าน ใกล้ที่ทุกท่านจะต้องทำ ข้อตกลงการพัฒนางาน ตามเกณฑ์การประเมินแบบใหม่ หรือที่เราคุ้นเคยเริ่มทำความรู้จัก และ เรียกกันว่า หลักเกณฑ์ PA  นั่นเองค่ะ ซึ่ง ครูอัพเดตดอทคอม เชื่อว่า ในขณะนี้คุณครูทุกท่านกำลังคิดพัฒนางาน หรือ กำหนดข้อตกลงในการปฏิบัติงานหลักเกณฑ์ PA  อยู่ใช่ไหมคะ ครูอัพเดตดอทคอมจึงมี ตัวอย่าง แบบบันทึกข้อตกลง PA1 – PA5 ตำแหน่งครู ไฟล์ doc  มาฝากคุณครูทุกท่านค่ะ

แบบบันทึกข้อตกลง PA1 - PA5 ตำแหน่งครู ไฟล์ doc

ก่อนอื่นไปดูข้อตกลงในการพัฒนางาน หลักเกณฑ์ PA ตำแหน่งครู แต่ละตำแหน่งกันก่อนค่ะ โดยเอกสารที่เกี่ยวข้องจะประกอบไปด้วย

PA1 : แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน

PA2 : แบบประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง

PA3 : แบบสรุปคะแนนจาก

PA4 : แบบประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ด้าน 1 และ 2

PA5 : แบบประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ

โดยในแบบประเมินประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จะระบุในข้อที่ 3 ของคุณครู แต่ละวิทยฐานะ ดังนี้

การประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู

3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษาสมรรถนะวิชาชีพครูและความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน

การประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ

3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มี
ความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะวิชาชีพครูและความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน และนำผลการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่มีผลต่อคุณภาพผู้เรียน

การประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA)สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะวิชาชีพครูและความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน และเป็นแบบอย่างที่ดี

การประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ

3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะวิชาชีพครูและความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน เป็นแบบอย่างที่ดีและสามารถ ให้คำปรึกษากับผู้อื่นได้

การประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ

3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะวิชาชีพครู
และความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน เป็นแบบอย่างที่ดีสามาร ให้คำปรึกษากับผู้อื่น และเป็นผู้นำในวงวิชาชีพ

ซึ่งการเผยแพร่ตัวอย่างแบบบันทึกข้อตกลงพัฒนางาน PA ได้รับการอนุเคราะห์เผยแพร่จาก ครูศุภณัฐปรัชญา ทำนุ
ตำแหน่ง ครู ซึ่ง ครูอัพเดตดอทคอม ต้องขอขอบคุณ คุณครูศุภณัฐปรัชญา ทำนุ ที่ได้แบ่งปันไฟล์ ข้อตกลง PA เป็นตัวอย่างให้กับเพื่อนครูในครั้งนี้ค่ะ

ดาวน์โหลดไฟล์  PA1 : แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน

ดาวน์โหลดไฟล์  PA2 : แบบประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง

ดาวน์โหลดไฟล์  PA3 : แบบสรุปคะแนน

ดาวน์โหลดไฟล์  PA4 : แบบประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ด้าน 1 และ 2

ดาวน์โหลดไฟล์  PA5 : แบบประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ

แบบบันทึกข้อตกลง PA1 – PA5 ตำแหน่งครู ไฟล์ doc ข้อตกลง PA ดาวน์โหลดที่นี่

รวมแบบฟอร์มpa แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA1 – PA5) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกวิทยฐานะ ทุกสังกัด ไฟล์ doc & word (วpa)

PA1 PA2 PA3ผู้บริหารสถานศึกษา แบบสรุปผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA) ผอ.รร. ไฟล์ doc & word ครบทุกวิทยฐานะ

แนะนำ 12 อาชีพ ผู้สูงอายุ ทำอย่างไรให้มีความสุขใน วัยเกษียณ

แนะนำ 12 อาชีพ ผู้สูงอายุ ทำอย่างไรให้มีความสุขใน วัยเกษียณ อย่างที่หลายท่านทราบกันดีว่าปัจจุบันประเทศไทยของเราใกล้เข้าสู้สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ  มีหลายท่านที่เตรียมตัวรับมือพร้อมแล้ว และยังมีอีกหลายๆท่านที่ยังไม่พร้อมรับมือในวัยเกษียณ เพื่อให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ สิ่งที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งคือคุณภาพชีวิตของคนทุกช่วงวัย เพราะการเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องของความมั่นคงทางการเงิน และสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ อาชีพอะไรบ้างที่คนในวัยหลังอายุ 60 ปี สามารถทำได้

แนะนำ 12 อาชีพ ผู้สูงอายุ ทำอย่างไรให้มีความสุขใน วัยเกษียณ
แนะนำ 12 อาชีพ ผู้สูงอายุ ทำอย่างไรให้มีความสุขใน วัยเกษียณ

วันนี้ จึงขอแนะนำ 12 อาชีพ ผู้สูงอายุ ทำอย่างไรให้มีความสุขใน วัยเกษียณ

  1. ปลูกผักหรือทำสวน
    ธรรมชาติคือสิ่งที่หลายๆท่านต้องการ ผู้สูงอายุหลายคนชอบการปลูกผัก ทำสวน ปลูกต้นไม้ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะได้อยู่กับธรรมชาติ ได้ใช้แรงเป็นการออกกำลังกายยืดเส้นยืดสายไปด้วยในตัว ซึ่งผลผลิตที่ได้มา ก็สามารถนำมารับประทานโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อ หรือ สามารถนำผลผลิตที่ได้ไปขายตามท้องตลาด หรือฝากขายตามร้านสะดวกซื้อก็ได้
2. นักเขียน / นักแปล

ผู้สูงอายุหลายท่านมีความรู้และประสบการณ์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อาชีพนี้จึงไม่ยากจนเกินไป หากมีความชื่นชอบในการเล่าเรื่องราวประสบการณ์ชีวิต หรือชื่นชอบที่จะแบ่งปันความความรู้ ความสนใจ ลองนำสิ่งเหล่านั้นมากลั่นกรองเป็นตัวหนังสือบวกกับประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน แล้วเผยแพร่ผ่านการเขียนหนังสือ หรือเขียนรีวิวต่าง ๆ ถือว่าอาชีพนักเขียนเหมาะกับการเป็นอาชีพผู้ผู้สูงอายุ หรือผู้เกษียณเป็นอย่างมาก  

3. อาจารย์ / วิทยากรพิเศษ

            ถ้าจะปล่อยให้สูญหายคงเสียดายน่าดู หลายท่านคงเคยได้ยินคำนี้  เราจึงเห็นว่า มีคนวัยเกษียณจำนวนไม่น้อยที่ผันตัวมาเป็นอาจารย์ หรือวิทยากรพิเศษ ในด้านที่ตนเองถนัดเพื่อเผยแพร่ความรู้ ประสบการณ์ที่ทรงคุณค่าให้คนรุ่นใหม่  หากคนที่เป็นครูอาจารย์มาก่อน หลังจากเกษียณแล้วยังสามารถสอนพิเศษ หรือเปิดโรงเรียนกวดวิชาของตัวเองได้  นับว่าเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดีอีกอาชีพหนึ่งเช่นเดียวกัน

5. นักถ่ายภาพ
มีหลายคนที่รักในการถ่ายภาพ หรือมีการสะสมภาพถ่ายเป็นงานอดิเรกอยู่แล้ว คนรักการถ่ายภาพ หากลองนำภาพถ่ายเหล่านั้น มาขายบนเว็บไซต์ออนไลน์ นอกจากจะได้รายได้ดีแล้ว ยังได้ทำงานอดิเรกที่ตัวเองชอบ และยังได้ท่องเที่ยวไปหาไอเดียใหม่ หรือสถานที่ถ่ายรูปต่าง ๆ ทำงานที่ชอบแล้วมีรายได้คงจะดีไม่น้อยเลยทีเดียว

6. ลองลงทุนในหุ้นปันผล / สลากออมสิน

          แม้ว่าวัยเกษียณอาจไม่เหมาะนักกับการเล่นหุ้นในความคิดของหลายๆ คน เพราะเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง แต่หากผู้สูงอายุท่านใดลองศึกษาและเลือกหุ้นที่ดีที่ให้ผลตอบแทนน่าพอใจและมีความมั่นคงก็สามารถเป็นรายได้อีกทางหนึ่งได้สบาย หรือลองซื้อสลากออมสินเป็นอีกทางเลือกก็ได้ ไม่ต้องเสี่ยงมากแถมสร้างความตื่นเต้น ได้ลุ้นรางวัลทุกเดือนอีกด้วย มีเงินเย็นไว้ในมือตอนเกษียณคงจะดีน่าดู

7. งานฝีมือ / งานศิลปะ
ผู้สูงอายุท่านใดที่มีความชื่นชอบรักในงานฝีมือ หรือมีฝีมือในเรื่องของงานศิลปะ เช่น วาดรูป เครื่องปั้น   ทอผ้า แกะสลัก งานจักสาน ถ้าได้ลองนำงานศิลปะเหล่านี้ไปวางขาย ก็ช่วยสร้างรายได้ได้ดีเลย เพราะปัจจุบันมีช่องทางในการขายให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปิดขายหน้าร้าน หรือ ขายแบบออนไลน์

8. นักประดิษฐ์

ผู้สูงวัยหลายท่านสั่งสมความรู้งานประดิษฐ์มาทั้งชีวิตโดยเฉพราะคุณผู้ชาย เว็บไซต์อย่าง Etsy และ Handmade ใน Amazon จะเปิดโอกาสให้คุณได้ขายสินค้าที่คุณสร้างขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนงานอดิเรกให้เป็นรายได้

เรื่องราวที่น่าสนใจ ระบบ DPA ระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล พร้อมให้ครูใช้งาน 1 ตุลาคม 2565 และทดลองใช้งาน กลางเดือน กันยายน 2565 ลิงก์เข้าใช้งาน ระบบ DPA อัพเดตที่นี่!

9. ขายของออนไลน์
อีกทางเลือกหนึ่งที่หลายท่านคิดว่าเหมาะสมกับวัยรุ่น หากท่านผู้สูงอายุลองศึกษาและขายของออนไลน์ก็สนุกดีไม่น้อย ในยุคนี้ คนหันมานิยมซื้อของบนช่องทางออนไลน์กันมากมาย เพราะสะดวกและประหยัดเวลา ผู้สูงอายุอาจจะลองใช้ช่องทางออนไลน์นี้ขายสินค้าดูก็ได้นะ  ไม่เหนื่อยกับการยืนขายทั้งวัน เพราะแค่นั่งอยู่ที่บ้านก็สามารถขายได้

10. สอนหนังสือออนไลน์
เป็นเทรนที่กำลังมาแรงในยุคนี้เลยทีเดียว การศึกษาเป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจ และหาความรู้ใหม่อยู่ตลอด ซึ่งในช่วงโควิด-19 หลายคนหันมาเรียนออนไลน์กันมากขึ้น ผู้สูงอายุสามารถแบ่งปันความรู้ได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เคยเป็นครู หรือ อาจารย์มาก่อนแล้ว อาจจะสอนผ่านโปรแกรมต่างๆ หรืออัดคลิปสอนลง Youtube ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเช่นเดียวกัน

11. เป็นที่ปรึกษาให้องค์กรภาคเอกชน
ผู้สูงอายุที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ก็อาจจะเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรต่าง ๆ เนื่องจากความรู้และประสบการณ์ที่มีมากมาย หลายองค์กรจึงนิยมเชิญผู้สูงอายุที่เกษียณอายุการทำงานไปเป็นที่ปรึกษาหรือผู้ช่วยในการตัดสินใจต่าง ๆ

12. เปิดบ้านพักโฮมสเตย์
หากผู้สูงอายุมีบ้านพื้นที่เพียงพอ โดยเฉพราะบ้านพักใกล้สถานที่ท่องเที่ยว ไม่รู้จะทำอะไรดี หรือมีบ้านพักตากอากาศที่ไม่ค่อยได้ไปพักผ่อน  ลองหันมารีโนเวทให้เป็นบ้านพักโฮมสเตย์ก็ดีไม่น้อยนะคะ  นอกจากจะไม่ต้องออกแรงอะไรมากแล้ว ยังได้รายได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง

เป้าหมายการเกษียณเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับชีวิต เพื่อรับมือกับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุที่ใกล้จะมาถึง คนส่วนใหญ่มักมองข้ามปัญหานี้ไป เพราะให้น้ำหนักหรือเน้นกับปัจจุบันมากกว่าอนาคต ดังนั้น ผู้สูงอายุหรือวัยใกล้เกษียณ ควรปรับตัวทางด้านสังคมและจิตใจ รวมทั้งการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนและการออมเพื่อเตรียมพร้อมเมื่อถึงวัยผู้สูงอายุ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับบทความแนะนำ 12 อาชีพ ผู้สูงอายุ ทำอย่างไรให้มีความสุขใน วัยเกษียณ หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกๆท่านนะครับ

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม แนวทางการประเมิน PA ซักซ้อมแนวปฏิบัติในการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน สํานักงาน ก.ค.ศ. ขอย้ำว่า การประเมินต้องไม่เพิ่มภาระให้กับข้าราชการครู

ติดตามบทความอื่นๆได้ที่ เพจครูอัพเดตดอทคอม

 

ธนาคารออมสิน ยกเลิกการให้สินเชื่อ โครงการสวัสดิการเงินกู้แก่สมาชิก ช.พ.ค. ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565

ธนาคารออมสิน ยกเลิกการให้สินเชื่อ โครงการสวัสดิการเงินกู้แก่สมาชิก ช.พ.ค. ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 เผยแพร่ประกาศธนาคารออมสิน เรื่อง ยกเลิกการให้สินเชื่อ โครงการสวัสดิการเงินกู้แก่สมาชิก ช.พ.ค. การให้สินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค. โครงการ 5 และสมาชิก ช.พ.ส. การให้สินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. และการให้สินเชื่อโครงการเกื้อกูลผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เนื่องจากไม่มีการให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ธนาคารออมสิน ยกเลิกการให้สินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้แก่สมาชิก ช.พ.ค. ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565

ประกาศธนาคารออมสิน เรื่อง ยกเลิกการให้สินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้แก่สมาชิก ช.พ.ค.
การให้สินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค. โครงการ 5 และสมาชิก ซ.พ.ส. การให้สินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. และการให้สินเชื่อโครงการเกื้อกูลผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกการให้สินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้แก่สมาชิก ช.พ.ค. การให้สินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค. โครงการ 5 และสมาชิก ช.พ.ส. การให้สินเชื่อ โครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. และการให้สินเชื่อโครงการเกื้อกูลผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เนื่องจากไม่มีการให้บริการแก่ลูกค้ารายใหม่แล้ว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2589 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน (ฉบับที่ ) พ.ศ. 2546 ประกอบความในข้อ 5 แห่งระเบียบธนาคารออมสิน ฉบับที่ 707 ว่าด้วยการให้สินเชื่อ จึงให้ยกเลิกประกาศธนาคารออมสิน ดังต่อไปนี้

1. ประกาศธนาคารออมสิน เรื่อง การให้สินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้แก่สมาชิก ช.พ.ค. ประกาศ ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2548 (รหัส 04-12-11/10)
2. ประกาศธนาคารออมสิน เรื่อง การให้สินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้สมาชิก ช.พ.ค. โครงการ ๕ และสมาชิก ช.พ.ส. ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน 2552 (รหัส 04-12-11/23)
3. ประกาศธนาคารออมสิน เรื่อง การให้สินเชื่อโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค. ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2553 (รหัส 04-12-149)
4. ประกาศธนาคารออมสิน เรื่อง การให้สินเชื่อโครงการเกื้อกูลผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน 2555 (รหัส 04-12-164)
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 คลิกที่นี่

ขอบคุณเนื้อหาจาก ศธ.360 องศา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม การรับรองปริญญา ประกาศนียบัตรทางการศึกษา ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565

การตั้งคณะกรรมการประเมิน PA ผู้บริหารจะตั้งคณะกรรมการประเมิน PA อย่างไร

การตั้งคณะกรรมการประเมิน PA ผู้บริหารจะตั้งคณะกรรมการประเมิน PA อย่างไร

การตั้งคณะกรรมการประเมินข้อตกลงฯ PA รายปี เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการช่วยกันพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพราะเป้าหมายของการตั้งคณะกรรมการ เน้นที่การประเมินเพื่อพัฒนา ซึ่งต้องการบุคคลที่สามารถช่วยผู้บริหารในการมาเป็นโค้ช มาเป็นร่วมทำ PLC และมาร่วมสร้างกระบวนการพัฒนาร่วมกันได้

การตั้งคณะกรรมการ ประเมิน PA ผู้บริหารจะตั้งคณะกรรมการประเมิน PA อย่างไร

ผู้บริหาร ควรคำนึงถึง ‘ความสามารถในการมีส่วนร่วม’ ของผู้ที่จะถูกแต่งตั้ง

การตั้งคณะกรรมการ ประเมิน PA ผู้บริหารจะตั้งคณะกรรมการประเมิน PA อย่างไร

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง การประเมิน วpa เรื่องที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ วpa 4 เรื่อง โดย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ Starfish Labz

ผู้บริหาร ควรคำนึงถึง ‘ความสัมพันธ์’ ของผู้ที่จะถูกแต่งตั้งกับโรงเรียน หรือชุมชน

การตั้งคณะกรรมการ ประเมิน PA ผู้บริหารจะตั้งคณะกรรมการประเมิน PA อย่างไร

ผู้บริหาร คำนึกถึง ‘วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจ’ ต่อโรงเรียนและชุมชนของผู้จะถูกแต่งตั้ง

ผู้บริหาร ควรคำนึงถึง ‘บทบาทหน้าที่’ ของผู้ที่จะถูกแต่งตั้ง

ขอบคุณเนื้อหาจาก เพจ เรียนออนไลน์กับ Starfish Labz รวมหลักสูตรพัฒนาตนเอง

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม แนวทางการประเมิน PA ซักซ้อมแนวปฏิบัติในการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน สํานักงาน ก.ค.ศ. ขอย้ำว่า การประเมินต้องไม่เพิ่มภาระให้กับข้าราชการครู

ว15 การถ่ายคลิปการสอน ประเมินวิทยฐานะ วPA สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้ปรับรูปแบบการถ่ายคลิปวิดีทัศน์การสอน

อบรม การเตรียมเอกสารประเมิน PA วิดีทัศน์การสอน ประชาสัมพันธ์คุณครูที่สนใจเข้าอบรมออนไลน์ หลักเกณฑ์ ว9/2564 หลักเกณฑ์ ว15/2565

อบรม การเตรียมเอกสารประเมิน PA วิดีทัศน์การสอน ประชาสัมพันธ์คุณครูที่สนใจเข้าอบรมออนไลน์ หลักเกณฑ์ ว9/2564 หลักเกณฑ์ ว15/2565

ประชาสัมพันธ์ คุณครูที่สนใจเข้าอบรมออนไลน์ หลักเกณฑ์ ว9/2564 และ update แนวทางการจัดเตรียมเอกสารประเมิน PA และ update วิดีทัศน์การสอนตามหลักเกณฑ์ ว15/2565

อบรม การเตรียมเอกสารประเมิน PA วิดีทัศน์การสอน ประชาสัมพันธ์คุณครูที่สนใจเข้าอบรมออนไลน์ หลักเกณฑ์ ว9/2564 หลักเกณฑ์ ว15/2565

ในรุ่นที่ 14-15 โดยมีค่าลงทะเบียน 199 บาท เป็นค่าเอกสารการอบรมครับผม เลือกวันอบรมได้เลยครับผม อบรมเวลา 08.30 – 15.00 น. มีวุฒิบัตรให้หลังอบรมเสร็จสิ้นครับ
รุ่นที่ 14 อบรมออนไลน์ทำแผน คลิป ว9/2564 อบรมวันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2565
ปิดระบบแล้ว

รุ่นที่ 15 อบรมออนไลน์ทำแผน คลิป ว9/2564 อบรมวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2565
ปิดระบบแล้ว

ขอบคุณเนื้อหาจาก ศูนย์พัฒนาวิชาชีพครูโรงเรียนบางละมุง

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ลงทะเบียนเข้าร่วมรับชม การเสวนา การประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมรับเกียรติบัตรแบบอิเล็กทรอนิกส์ จาก สมศ. 13 กันยายน 2565 เวลา 08.30 – 12.00 น.

แนวทางการประเมิน PA ซักซ้อมแนวปฏิบัติในการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน สํานักงาน ก.ค.ศ. ขอย้ำว่า การประเมินต้องไม่เพิ่มภาระให้กับข้าราชการครู

ระบบ DPA ระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล พร้อมให้ครูใช้งาน 1 ตุลาคม 2565 และทดลองใช้งาน กลางเดือน กันยายน 2565 ลิงก์เข้าใช้งาน ระบบ DPA อัพเดตที่นี่!

ระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา คู่มือการใช้ แผนชั้นเรียนเต็มรูประยะ 5 ปี doc และ ลิงก์เข้าใช้งานระบบ classroomplan.bopp-obec.infoคลิกที่นี่

เมื่อเร็วๆนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีการดำเนินการ จัดประชุมชี้แจงคู่มือการจัดทำแผนชั้นเรียนและ ระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ 5 ปี แผนชั้นเรียนเต็มรูประยะ 5 ปี docและถ่ายทอดผ่านระบบออนไลน์ ZOOM Cloud Meeting ในวันที่ 26 ก.ค. 2565 เวลา 13.30 น. เพื่อทำความเข้าใจให้มากขึ้นจึงขอนำข้อมูลแผนชั้นเรียนมานำเสนอดังนี้

ระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป และ แผนชั้นเรียนเต็มรูประยะ 5 ปี docแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา คู่มือการใช้ และ ลิงก์เข้าใช้งานระบบ classroomplan.bopp-obec.infoคลิกที่นี่

ระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป มีรูปแบบของแผนชั้นเรียนเต็มรูประยะ 5 ปี doc ดังนี้

แผนชั้นเรียนแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. แผนชั้นเรียนเต็มรูป เป็นแผนที่แสดงถึงจํานวนห้องเรียนรวมสูงสุดของสถานศึกษา
ที่กําหนดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยที่สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติอย่างมีประสิทธิภาพ
เกิดประสิทธิผล ซึ่งกรอบระยะเวลาของการจัดทําแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2565 – 2569)
อิงตามกรอบระยะเวลาการดําเนินงานของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2575 ในช่วง 5 ปีที่สอง
(พ.ศ. 2565 – 2569)

2. แผนชั้นเรียนรายปี เป็นแผนที่กําหนดว่าสถานศึกษาใดจะเปิดรับนักเรียนชั้นใด กี่ห้องเรียน ในแต่ละปีการศึกษา โดยที่สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ระบบ DPA ระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล พร้อมให้ครูใช้งาน 1 ตุลาคม 2565 และทดลองใช้งาน กลางเดือน กันยายน 2565 ลิงก์เข้าใช้งาน ระบบ DPA อัพเดตที่นี่!

ความสําคัญของการจัดทําแผนชั้นเรียน แผนชั้นเรียนเต็มรูปและแผนชั้นเรียนรายปีมีความสําคัญต่อการวางแผนพัฒนาการศึกษาและการบริหารจัดการศึกษา ดังนี้

1. แผนชั้นเรียนเต็มรูป
1.1. ใช้เป็นแนวทางในการกําหนดแผนชั้นเรียนรายปี โดยในการจัดทําแผนชั้นเรียนรายปี จะกําหนดเป้าหมายการรับนักเรียนให้พอเหมาะกับจํานวนนักเรียนที่คาดว่าจะเข้าเรียนในปีนั้นแต่ไม่ควรเกินแผนชั้นเรียนเต็มรูป
1.2 ใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาจัดหาที่เรียนเพิ่ม โดยแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะเป็นตัวกําหนดว่า ในพื้นที่บริการของสถานศึกษาสามารถให้บริการกับนักเรียนตัวป้อนได้ทั้งหมดหรือไม่ ถ้ามีนักเรียนเกินจากที่สถานศึกษาจะสามารถรับไว้ได้ สามารถวางแผนหาวิธีการให้นักเรียนได้มีที่เรียน
1.3 ใช้เป็นข้อมูลสําหรับการขอขยายชั้นเรียน และการเลิกขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.4 ใช้เป็นกรอบในการจัดตั้ง จัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบลงทุนสําหรับอาคารเรียนอาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น โดยการกําหนดแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะทําให้ทราบว่าสถานศึกษาควรจะมีอาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่น จํานวนเท่าใด
1.5 ใช้เป็นกรอบในการจัดตั้ง จัดสรรงบเงินอุดหนุนรายหัว
1.6 ใช้เป็นหลักในการวางผังบริเวณสถานศึกษา โดยแผนชั้นเรียนเต็มรูปจะช่วยให้การจัดวางผังบริเวณมีความเหมาะสมกับพื้นที่ของสถานศึกษา

2. แผนชั้นเรียนรายปี
2.1 ใช้กําหนดเป้าหมายจํานวนนักเรียนรายปีในเขตพื้นที่บริการที่คาดว่าจะมาเรียนต่อระดับชั้นก่อนประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2.2 ใช้เป็นแผนในการรับนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาของสถานศึกษาว่า จะเปิดรับนักเรียนชั้นใด กี่ห้องเรียน และจํานวนนักเรียนเท่าใด
2.3 ใช้เป็นกรอบในการจัดตั้ง จัดสรรงบประมาณ อาทิ ใช้ในการจัดทําคําขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบเงินอุดหนุนรายหัว ที่มีการวิเคราะห์จากข้อมูลการคาดคะเนจํานวนนักเรียนและใช้เป็นกรอบในการพิจารณาวงเงินงบประมาณ งบลงทุน

ลิงก์ระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา : classroomplan.bopp-obec.info

ลงทะเบียนเจ้าหน้าที่ ระดับสถานศึกษา : https://classroomplan.bopp-obec.info/register.php

ลงทะเบียนผู้รับผิดชอบ ระดับ สพท. : https://classroomplan.bopp-obec.info/register2.php

คู่มือระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา : ดาวน์โหลดคู่มือที่นี่

หลักเกณฑ์การจัดทําแผนชั้นเรียน
การจัดทําแผนชั้นเรียนเต็มรูป ระยะ 5 ปี (ปีการศึกษา 2565 – 2569) และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังนี้

1. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 กําหนดให้รัฐต้อง
ดําเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียน จนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสําคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 กําหนดให้เด็กที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับต้องเรียนครบทุกคน โดยสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา รวมทั้งต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็กทราบก่อนเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา และจัดสรรโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียน

2. เกณฑ์การกําหนดจํานวนนักเรียนต่อห้อง
ชั้นก่อนประถมศึกษา ห้องละไม่เกิน 30 คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ห้องละไม่เกิน 40 คน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องละไม่เกิน 40 คน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องละไม่เกิน 40 คน

โดยการคิดจํานวนห้องเรียน กรณีจํานวนนักเรียนแต่ละชั้นเรียน มีเศษตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปให้คิดเพิ่มอีก 1 ห้อง
ทั้งนี้ ในการกําหนดจํานวนนักเรียนต่อห้อง ให้คํานึงถึงปัจจัยที่จะทําให้จํานวนนักเรียนเพิ่มหรือลดลงดังนี้

1) อัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง
2) จํานวนนักเรียนต่อห้องตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในแต่ละปีการศึกษา
3) การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) หรือโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ
4) การขยายตัวของชุมชน
5) การเคลื่อนย้ายแรงงาน
6) สถานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง
7) การแบ่งกลุ่มสถานศึกษาตามนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
8) การแบ่งเขตพื้นที่บริการที่อาจมีการทับซ้อนกับสถานศึกษาอื่นในเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกัน
9) เป้าหมายในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบาย THAILAND 4.0
10) สถิติการรับนักเรียนย้อนหลัง 3 – 5 ปีการศึกษา

ลิงก์ระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา : classroomplan.bopp-obec.info

ลงทะเบียนเจ้าหน้าที่ ระดับสถานศึกษา : https://classroomplan.bopp-obec.info/register.php

ลงทะเบียนผู้รับผิดชอบ ระดับ สพท. : https://classroomplan.bopp-obec.info/register2.php

คู่มือระบบจัดเก็บข้อมูลแผนชั้นเรียนเต็มรูป และแผนชั้นเรียนรายปีของสถานศึกษา : ดาวน์โหลดคู่มือที่นี่

ลิงก์ลงทะเบียนเข้าอบรมออนไลน์ สมศ. 13 กันยายน 2565 การเสวนา การประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมรับเกียรติบัตรแบบอิเล็กทรอนิกส์ จาก สมศ. 13 กันยายน 2565 เวลา 08.30 – 12.00 น.

ลิงก์ ลงทะเบียนเข้าอบรมออนไลน์ สมศ. 13 กันยายน 2565 ลงทะเบียนเข้าร่วมรับชม การเสวนา การประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมรับเกียรติบัตรแบบอิเล็กทรอนิกส์ จาก สมศ. 13 กันยายน 2565 เวลา 08.30 - 12.00 น.

ขอเชิญเข้าร่วมรับชม การเสวนา จาก สมศ. ในประเด็น “สร้างการรับรู้ความเข้าใจเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้เพื่อการพัฒนา”
วันที่ 13 กันยายน 2565 เวลา 08.30 – 12.00 น.

ตรวจสอบรายชื่อผู้ตอบแบบสอบถามเพื่อรับเกียรติบัตรที่นี่
Link 1 : https://bit.ly/3DyGSUr
Link 2 : https://bit.ly/3RMaUb0
Link 3 : https://bit.ly/3U1Y0HP

ลิงก์ลงทะเบียนเข้าอบรมออนไลน์สมศ. 13 ก.ย. 2565 ได้ที่ https://forms.gle/nynnoeMjytgv1U6JA

ลงทะเบียน : https://bit.ly/3L3lMz7

ไฟล์เอกสาร : https://bit.ly/3REgWKY

ลิงก์รับชม การเสวนา จาก สมศ. 13 ก.ย. 2565 คลิกที่นี่

ลิงก์ตอบแบบสอบถาม แบบประเมิน อบรมออนไลน์ สมศ. 13 ก.ย. 2565 
แบบประเมินความพึงพอใจ

Link 1 : https://bit.ly/3By2wqb
Link 2 : https://bit.ly/3qwAJjK
Link 3 : https://bit.ly/3L4iWtI

ตรวจสอบรายชื่อ
Link 1 : https://bit.ly/3DyGSUr
Link 2 : https://bit.ly/3RMaUb0
Link 3 : https://bit.ly/3U1Y0HP

ลิงก์ตอบแบบสอบถาม อบรมออนไลน์ สมศ. 13 ก.ย. 2565 

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ลิงก์ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ สมศ. 13 กันยายน 2565 ลิงก์รับชม การเสวนา จาก สมศ. ตอบแบบสอบถาม แบบประเมิน อบรมออนไลน์ สมศ. 13 ก.ย. 2565

ลิงก์ ลงทะเบียนเข้าอบรมออนไลน์ สมศ. 13 กันยายน 2565 ลงทะเบียนเข้าร่วมรับชม การเสวนา การประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมรับเกียรติบัตรแบบอิเล็กทรอนิกส์ จาก สมศ. 13 กันยายน 2565 เวลา 08.30 - 12.00 น.

“สร้างการรับรู้ความเข้าใจเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้เพื่อการพัฒนา”

08.40 – 09.30
การบรรยาย หัวข้อ “สร้างการรับรู้ ความเข้าใจเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา”
โดย ดร.นันทา หงวนตัด (รักษาการผู้อำนวยการ สมศ.)

09.30 – 10.30
การบรรยาย หัวข้อ “การประกันคุณภาพการศึกษา โอกาสของการพัฒนา ยกระดับการศึกษาไทย”
โดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ (นักวิชาการอิสระ)

10.45 – 12.15 น.
การเสวนา หัวข้อ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำผลประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้เพื่อการพัฒนา”

ลิงก์ลงทะเบียนเข้าอบรมออนไลน์ สมศ. 13 ก.ย. 2565 ได้ที่ https://forms.gle/nynnoeMjytgv1U6JA

ลิงก์รับชม การเสวนา จาก สมศ. 13 ก.ย. 2565 คลิกที่นี่

ลิงก์ตอบแบบสอบถาม อบรมออนไลน์ สมศ. 13 ก.ย. 2565 รออัพเดตที่นี่

พร้อมรับเกียรติบัตรแบบอิเล็กทรอนิกส์ จากการทำแบบประเมินโครงการ
(ดาวน์โหลดไฟล์เกียรติบัตรที่ Facebook Pageสมศ.(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา) ได้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 เป็นต้นไป)

ขอบคุณเนื้อหาจาก สมศ.(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา)

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ระบบ DPA ระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล พร้อมให้ครูใช้งาน 1 ตุลาคม 2565 และทดลองใช้งาน กลางเดือน กันยายน 2565 ลิงก์เข้าใช้งาน ระบบ DPA อัพเดตที่นี่!

สพฐ. จับมือ ก.พ.ร. หารือแนวทางการพัฒนาระบบราชการ

สพฐ. จับมือ ก.พ.ร. หารือแนวทางการพัฒนาระบบราชการ วันที่ 5 กันยายน 2565 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ) เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการพัฒนาระบบราชการ โดยมี นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (เลขาธิการ ก.พ.ร.) นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (รองเลขาธิการ ก.พ.ร.) รวมถึงผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม สพฐ. 2 อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 กระทรวงศึกษาธิการ ควบคู่กับการประชุมผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม Zoom Meeting

สพฐ. จับมือ ก.พ.ร. หารือแนวทางการพัฒนาระบบราชการ

นายอัมพร กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เชื่อว่าการศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และเป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเอกสารทางการศึกษาถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นด้วยเช่นกัน ดังนั้น การที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นระบบดิจิทัลนั้นเป็นสิ่งที่เราได้มีการหารือ เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเอกสาร และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านการศึกษา ให้เป็นดิจิทัลในทุกรูปแบบ นอกจากนี้ การนำข้อมูลต่างๆ เชื่อมเข้าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ สพฐ. พยายามผลักดันให้เกิดขึ้นต่อไป

เรื่องราวที่น่าสนใจ สมศ.ประกาศรายชื่อ สถานศึกษาที่ขอรับการประกันคุณภาพภายนอก ระยะที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

ทางด้าน นางสาวอ้อนฟ้า กล่าวว่า ในเรื่องการจัดทำดิจิทัลทรานสคริปต์ให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษานั้น ทางสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการพัฒนาต่อไป ส่วนประเด็นอื่นที่ต้องขับเคลื่อนต่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแก้ไขคำสั่งที่ต้องมีกระบวนการให้ ปพ.2 สามารถออกเป็นดิจิทัลได้นั้นก็จะมีการพัฒนาต่อไปในอนาคตด้วย รวมถึงเรื่องของ พ.ร.บ.การศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรมีส่วนร่วมในการหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ดีที่สุดสำหรับการศึกษาของเด็กไทยต่อไป

ทั้งนี้ ในการประชุมมีหัวข้อการประชุมหลักๆ ที่น่าสนใจ อาทิ การพลิกโฉมการพัฒนาระบบราชการ สพฐ. สู่การเป็นภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (Open Government and Meaningful Participation) การยกระดับการบริหารจัดการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย การเป็นรัฐบาลดิจิทัล และรัฐบาลเปิด พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินการเพื่อการเป็นรัฐบาลดิจิทัล เป็นต้น

ขอบคุณที่มา https://www.obec.go.th/archives/688162

แนวทางการประเมิน PA ซักซ้อมแนวปฏิบัติในการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน สํานักงาน ก.ค.ศ. ขอย้ำว่า การประเมินต้องไม่เพิ่มภาระให้กับข้าราชการครู

แนวทางการประเมิน PA ซักซ้อมแนวปฏิบัติในการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน สํานักงาน ก.ค.ศ. ขอย้ำว่า การประเมินต้องไม่เพิ่มภาระให้กับข้าราชการครู

แนวทางการประเมิน PA ซักซ้อมแนวปฏิบัติในการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน สํานักงาน ก.ค.ศ. ขอย้ำว่า การประเมินต้องไม่เพิ่มภาระให้กับข้าราชการครู

หนังสือซักซ้อมแนวปฏิบัติในการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน คลิกที่นี่

แนวทางการประเมิน PA ซักซ้อมแนวปฏิบัติในการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน สํานักงาน ก.ค.ศ. ขอย้ำว่า การประเมินต้องไม่เพิ่มภาระให้กับข้าราชการครู

สํานักงาน ก.ค.ศ. ขอซักซ้อมแนวปฏิบัติ ในการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน ว่า ใน การประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน ให้ผู้ประเมิน พิจารณาผลการปฏิบัติงาน จากการปฏิบัติงานจริง ที่ได้ปฏิบัติตามลักษณะงาน ที่ปฏิบัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรฐานตําแหน่ง โดยคํานึงถึงสภาพการปฏิบัติงาน ในบริบทของแต่ละสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา และผลลัพธ์ที่เกิดจาก การพัฒนางานตามข้อตกลงเป็นสําคัญ ไม่เน้นการประเมินจากเอกสาร โดยให้ตรวจสอบข้อมูลจากผู้เรียน หรือผู้รับผลจากการปฏิบัติ และพิจารณาจากหลักฐานในห้องเรียนหรือที่ใช้ในการปฏิบัติงานอยู่แล้ว เช่น แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการจัดการเรียนรู้ หรือชิ้นงาน ผลงาน ของผู้เรียนที่เกิดจากการเรียนรู้ แผนพัฒนาต่าง ๆ หรือผลที่เกิดจากการพัฒนา เป็นต้น ทั้งนี้ สํานักงาน ก.ค.ศ. ขอย้ำว่า การประเมินข้อตกลง ในการพัฒนางานดังกล่าว ต้องไม่เพิ่มภาระให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอีก ดังนั้น ผู้รับการประเมิน ไม่จําเป็นต้องจัดทําแฟ้มเอกสารขึ้นใหม่เพื่อใช้ในการประเมิน

แนวทางการประเมิน PA ซักซ้อมแนวปฏิบัติในการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน สํานักงาน ก.ค.ศ. ขอย้ำว่า การประเมินต้องไม่เพิ่มภาระให้กับข้าราชการครู

ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ระบบ DPA ระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล พร้อมให้ครูใช้งาน 1 ตุลาคม 2565 และทดลองใช้งาน กลางเดือน กันยายน 2565 ลิงก์เข้าใช้งาน ระบบ DPA อัพเดตที่นี่!

คู่มือการฝึกอบรม หลักสูตรผู้กํากับลูกเสือต้านภัยยาเสพติด เนื้อหา วิธีการฝึกอบรม กิจกรรม ลูกเสือต้านภัยยาเสพติด ดาวน์โหลดที่นี่