กระทรวงศึกษาฯ เตรียม Smart Devices ให้นักเรียนยืมอุปกรณ์กลับไปเรียนที่บ้าน

กระทรวงศึกษาฯ เตรียม Smart Devices ให้นักเรียนยืมอุปกรณ์กลับไปเรียนที่บ้าน

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) แห่งชาติ ครั้งที่ 8 (3/2565) โดยคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และระบบออนไลน์ Zoom Meeting

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช กล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือความคืบหน้าการสนับสนุนอุปกรณ์ Smart Devices สำหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ของนักเรียน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จะใช้แนวทางในการรับบริจาค 2 รูปแบบ คือ การบริจาคเป็นเงินสด และการบริจาคเป็นอุปกรณ์ ส่วนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2570 ได้จัดทำแผนและงบประมาณเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน USO ของ กสทช. ผ่านกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งกองทุน USO พิจารณาให้ได้รับการบรรจุไว้ในแผนฯ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2570) จำนวน 177,243 คน วงเงินงบประมาณ 2,924,323,500 บาท

กระทรวงศึกษาฯ เตรียม Smart Devices ให้นักเรียนยืมอุปกรณ์กลับไปเรียนที่บ้าน

อย่างไรก็ตาม ศธ.เห็นว่าการศึกษาเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ เพราะตัวเลขเด็กที่ขาดแคลนอุปกรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีจำนวนถึง 1,410,024 คน ที่ประชุมจึงเห็นว่าควรดำเนินการเปิดรับบริจาคอุปกรณ์ Smart Devices เพิ่มเติมผ่านโครงการคนละเครื่อง “พี่แบ่งให้ น้องได้เรียน” ซึ่งเครื่องที่จะให้เด็กยืมไปใช้ จะต้องทนทานเพียงพอที่จะใช้ได้ 4-5 ปี มีการตั้งโปรแกรมกำหนดเวลาใช้งาน สามารถเชื่อมต่อ Wi-fi และเข้าถึง Digital Content ได้ ตั้งเป้าไว้ว่าเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2/2565 เด็กกว่า 1.4 ล้านคนต้องมี Smart Devices ยืมกลับไปเรียนที่บ้าน เป็นการสร้างความเสมอภาคในการเรียนให้เกิดขึ้นทันที และช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เห็นเป็นรูปธรรม

ขณะนี้ ศธ.จัดทำแพลตฟอร์มสำหรับการเชื่อมโยงระหว่างผู้ให้กับผู้รับเสร็จแล้ว ขั้นต่อไปคงต้องมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายบางเรื่องก่อน ซึ่งที่ประชุมมีข้อเสนอคือ เริ่มในกลุ่มเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป จะเป็นเด็กชั้นมัธยมศึกษา ปวช./ปวส. จะทำให้บรรลุเป้าหมายประมาณ 1.2 แสนคนก่อน ส่วนที่เหลือนั้นหาก แพลตฟอร์มที่ดำเนินการนี้เป็นที่นิยม ก็จะสามารถดึงดูดคนเข้ามาร่วมบริจาคกันได้อีก ตลอดจนเรื่องของการติดตามผลเพื่อขอความร่วมมือผู้บริจาคให้มากขึ้น โดยจะมีการสื่อสารขอความอนุเคราะห์สื่อมวลชนให้ช่วยออกข่าวประชาสัมพันธ์ภายใน 2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายนนี้

ขอบคุณที่มา ศธ.360

เรื่องราวที่น่าสนใจ ศิลปหัตถกรรม 2565 เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรม 2565 เกณฑ์การแข่งขัน ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565

 

นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ไปแล้ว นั้น

นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

เนื่องจากในห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งทำให้ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนชีวิตให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการให้มีความปลอดภัยทั้งต่อผู้เรียน ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังนั้น จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้

 

หลักการตามนโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นดำเนินการภารกิจหลักตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนทุกแผนย่อยในประเด็น 12 การพัฒนาการเรียนรู้ และแผนย่อยที่ 3 ในประเด็น 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) และนโยบายรัฐบาลทั้งในส่วนนโยบายหลักด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย และนโยบายเร่งด่วน เรื่อง การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 และพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่าง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยเฉพาะหมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคตแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 รวมทั้งนโยบายและแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยจะได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านโอกาส ความเท่าเทียม ความเสมอภาค ความปลอดภัย และมีสมรรถนะที่สำคัญจำเป็นในศตวรรษที่ 21 และมีความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ดังนั้น ในการเร่งรัดการทำงานภาพรวมกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นความไว้วางใจให้กับสังคม และผลักดันให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและประสิทธิภาพในทุกมิติ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดหลักการสำคัญในการประกาศนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไว้ดังนี้

1. สร้างความเชื่อมั่น ไว้วางใจให้กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนและประชาชน โดยให้ทุกหน่วยงานนำรูปแบบการทำงานโดยบูรณาการการทำงานร่วมกัน และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
2. สนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนดำเนินการตามภารกิจด้วยความรับผิดชอบ ต่อตนเอง องค์กร ประชาชนและประเทศชาติ โดยให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ผ่านกลไกการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา
3. ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้ประกาศและแถลงนโยบายไว้แล้ว เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เพื่อมุ่งเน้นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาคการศึกษาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ

นโยบายและจุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

1. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย

1.1 เร่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของสังคม และป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่ และภัยอื่นๆ โดยมีการดำเนินการตามแผนและมาตรการด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน ครู และบุคลากรในรูปแบบต่างๆ อย่างเข้มข้น รวมทั้งดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ติดตามประเมินผลการดำเนินการ และแสวงหาสถานศึกษาที่ดำเนินการได้ดีเยี่ยม (Best Practice) เพื่อปรับปรุง พัฒนาและขยายผลต่อไป

1.2 เร่งปลูกฝังทัศนคติ พฤติกรรม และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง โดยบูรณาการอยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้และสร้างภูมิคุ้มกันควบคู่กับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในเชิงบวกและสร้างสรรค์ พร้อมทั้งหาแนวทางวิธีการปกป้องคุ้มครองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา

1.3 เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

1.4 เร่งพัฒนาบทบาทและภารกิจของหน่วยงานด้านความปลอดภัยที่มีอยู่ในทุกหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้ดำเนินการอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

2. การยกระดับคุณภาพการศึกษา

2.1 ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษานำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปสู่การปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างสมรรถนะที่สำคัญจำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน

2.2 จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ค้นพบพรสวรรค์ ความสนใจ ความถนัดในอาชีพของตนเอง ด้วยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) ทั้งในห้องเรียน สถานประกอบการ รวมทั้งการเรียนรู้ ผ่านแพลตฟอร์มและห้องดิจิทัลให้คำปรึกษาแนะนำ

2.3 พัฒนาและบูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรู้และการวัดประเมินผลฐานสมรรถนะสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน เพื่อสร้างความฉลาดรู้ด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างตรรกะความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลให้นักเรียนไทยสามารถแข่งขันได้กับนานาชาติ

2.4 พัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) สำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมดิจิทัลในโลกยุคใหม่

2.5 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรมให้มีความทันสมัย น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น และการเสริมสร้างวิถีชีวิตของความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

2.6 จัดการเรียนรู้ตามความสนใจรายบุคคลของผู้เรียนผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มที่หลากหลายและแพลตฟอร์มการเรียนรู้อัจฉริยะที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอนคุณภาพสูงรวมทั้งมีการประเมินและพัฒนาผู้เรียน

2.7 ส่งเสริมการให้ความรู้และทักษะด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) ให้กับผู้เรียน โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารออมสิน สหกรณ์ ฯลฯ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ และการเผยแพร่สื่อแอนิเมชันรอบรู้เรื่องเงิน รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเชิงพาณิชย์เพื่อให้เกิดผลตอบแทนที่สูงขึ้น

2.8 ปรับโฉมศูนย์วิทยาศาสตร์และศูนย์การเรียนรู้ ให้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย สวยงาม ร่มรื่น จูงใจ ให้เข้าไปใช้บริการ โดยมีมุมค้นหาความรู้ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มุมจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ของผู้เรียน หรือกลุ่มผู้เรียน และการร่วมกิจกรรมกับครอบครัว หรือจัดเป็นฐานการเรียนรู้ด้านต่างๆ ที่ผู้เรียนและประชาชนสามารถมาลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม และได้รับเอกสารรับรองการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องหรือสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ได้ รวมทั้งมีบริเวณพักผ่อนที่มีบริการลักษณะบ้านสวนกาแฟเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น

2.9 ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีการนำผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

2.10 พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะและผลลัพธ์ที่ตัวผู้เรียน

3. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย

3.1 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการส่งต่อไปยังสถานศึกษาในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะระดับการศึกษาภาคบังคับ เพื่อป้องกันเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน

3.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อรับการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีคุณภาพ ตามศักยภาพ ตามวัยและต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ โดยบูรณาการร่วมงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.3 พัฒนาข้อมูลและทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ และกลุ่มเปราะบาง รวมทั้งกลุ่ม NEETs ในการเข้าถึงการศึกษา การเรียนรู้ และการฝึกอาชีพ อย่างเท่าเทียม

3.4 พัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว (Home School) และการเรียนรู้ที่บ้านเป็นหลัก (Home–based Learning)

4. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

4.1 พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แบบโมดูล (Modular System) มีการบูรณาการวิชาสามัญและวิชาชีพในชุดวิชาชีพเดียวกัน เชื่อมโยงการจัดการอาชีวศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและระบบทวิภาคี รวมทั้งการจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพื่อสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาอย่างเข้มข้นเพื่อการมีงานทำ

4.2 ขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และยกระดับสมรรถนะกำลังคนตามกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน และมาตรฐานสากล รวมทั้งขับเคลื่อนความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) โดยความร่วมมือกับภาคเอกชนและสถานประกอบการในการผลิตกำลังคนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

4.3 พัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการ Re-skill Up-skill และ New skill เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น พร้อมทั้งสร้างช่องทางอาชีพในรูปแบบหลากหลายให้ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งผู้สูงอายุ โดยมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4.4 ส่งเสริมการพัฒนาแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ตามสมรรถนะที่จำเป็นในการเข้าสู่อาชีพ และการนำผลการทดสอบไปใช้คัดเลือกเข้าทำงาน ศึกษาต่อ ขอรับประกาศนียบัตรมาตรฐานสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) การขอรับวุฒิบัตรสมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency)

4.5 จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาการจัดตั้งธุรกิจ (ศูนย์ Start up) ภายใต้ศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ และพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา เพื่อการส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการด้านอาชีพทั้งผู้เรียนอาชีวศึกษาและประชาชนทั่วไป โดยเชื่อมโยงกับ กศน. และสถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพในวิถีชีวิตรูปแบบใหม่

4.6 เพิ่มบทบาทการอาชีวศึกษาในการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการและกำลังแรงงานในภาคเกษตร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรอัจฉริยะ (Smart Farmer) และกลุ่มยุวเกษตรกรอัจฉริยะ (Young Smart Farmer) ที่สามารถรองรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้

4.7 ส่งเสริม และสนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนทุกช่วงวัยเพื่อการมีงานทำ โดยบูรณาการความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงาน องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันสังคมอื่น

4.8 พัฒนาหลักสูตรอาชีพสำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้อยู่นอกระบบโรงเรียนและประชาชนที่สอดคล้องมาตรฐานอาชีพ เพื่อการเข้าสู่การรับรองสมรรถนะและได้รับคุณวุฒิวิชาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ รวมทั้งสามารถนำผลการเรียนรู้และมวลประสบการณ์เทียบโอนเข้าสู่การสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ได้

5. การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

5.1 ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ Performance Appraisal (PA) โดยใช้ระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ระบบ Digital Performance Appraisal (DPA)

5.2 ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการ พัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลตามกรอบระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษา

5.3 พัฒนาครูให้มีความพร้อมด้านวิชาการและทักษะการจัดการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งให้เป็นผู้วางแผนเส้นทางการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตของผู้เรียนได้ตามความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคล

5.4 พัฒนาขีดความสามารถของข้าราชการพลเรือนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต

5.5 เร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ควบคู่กับการให้ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม

เรื่องราวที่น่าสนใจ ลิงก์สมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวศึกษา กรณีพิเศษ 2565 ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ

6. การพัฒนาระบบราชการ และการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล

6.1 ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการ 4.0 ด้วยนวัตกรรม และการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาเป็นกลไกหลัก ในการดำเนินงาน (Digitalize Process) การเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูล (Sharing Data) การส่งเสริมความร่วมมือ บูรณาการกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก

6.2 ปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศให้สามารถใช้งานเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับระบบราชการ 4.0 สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอุปกรณ์และทุกช่องทาง

6.3 ปรับปรุงระบบการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา โดยยึดหลักความจำเป็นและใช้พื้นที่เป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ

6.4 นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในตำแหน่งและสายงานต่าง ๆ

6.5 ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของส่วนราชการให้เป็นไปตามกลไกการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

7. การขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ

เร่งรัดการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองและแผนการศึกษาแห่งชาติเพื่อรองรับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติควบคู่กับการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง

แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ

1. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ นำนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ข้างต้น เป็นกรอบแนวทางในการจัดการศึกษา โดยดำเนินการจัดทำแผนและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
2. ให้มีคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล และรายงานการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ สู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ ทำหน้าที่ตรวจราชการ ติดตาม ประเมินผลในระดับนโยบาย และจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ทราบตามลำดับ
3. กรณีมีปัญหาในเชิงพื้นที่หรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ให้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและดำเนินการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ก่อน โดยใช้ภาคีเครือข่ายในการแก้ไขข้อขัดข้อง พร้อมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการติดตามฯ ตามข้อ 2 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามลำดับ
4. สำหรับภารกิจของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่ปฏิบัติในลักษณะงานในเชิงหน้าที่ (Function) งานในเชิงยุทธศาสตร์ (Agenda) และงานในเชิงพื้นที่ (Area) ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว หากมีความสอดคล้องกับหลักการนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ข้างต้น ให้ถือเป็นหน้าที่ของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัด กำกับ ติดตาม ตรวจสอบให้การดำเนินการเกิดผลสำเร็จ และมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564
นางสาวตรีนุช เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ขอบคุณที่มา ศธ.360

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ศิลปหัตถกรรม 2565 เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรม 2565 เกณฑ์การแข่งขัน ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565

ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ โครงการพัฒนาสมรรถนะครู และบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตร “เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย” ในวันที่ 23-25 กันยายน 2565 พร้อมรับเกียรติบัตร

ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ โครงการพัฒนาสมรรถนะครู และบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตร “เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย” ในวันที่ 23-25 กันยายน 2565 พร้อมรับเกียรติบัตร

ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ โครงการพัฒนาสมรรถนะครู และบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตร “เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย” ในวันที่ 23-25 กันยายน 2565 พร้อมรับเกียรติบัตร สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) จัดโครงการพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อความยั่งยืนทางการเงิน หลักสูตร “เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย”
ในวันที่ 23-25 กันยายน 2565 ทั้งในรูปแบบ On-site ที่ สคบศ. จำนวน 100 คน และ Online ผ่าน Facebook Live โดยวิทยากรชื่อดัง

ปิดลงทะเบียนอบรมออนไลน์แล้ว

ลิงก์ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ โครงการพัฒนาสมรรถนะครู และบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตร “เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย” ในวันที่ 23-25 กันยายน 2565 พร้อมรับเกียรติบัตร

จอห์น รัตนเวโรจน์ (จอห์น นูโว) ประธานสมาคมเครือข่าย เพื่อการเรียนรู้เท่าทันดิจิทัลเทคโนโลยี และกรรมการผู้จัดการบริษัท สแพลช อินเตอร์แอ็คทีฟ จำกัด ผู้ผลิตรายการ Tech Know Now และ The Lighthouse : เรื่อง ดิจิทัลวัคซีนความปลอดภัยทางไซเบอร์ / ยกระดับครูสู่โลกดิจิทัล

นางธมลวรรณ สุดใจ (ครูมัดซี) ดาว TikTok สอนอิงลิชโดนใจ จนต้องติดตาม : เคล็ดลับของครูมัดซีสู่การเป็นครูไอดอลบนโลกออนไลน์

ดร.สิรวิชญ์ อิทธิโสภณพิศาล (ครูไอซ์) อินฟูลเอนเซอร์สายความรู้ชื่อดังที่มีผู้ติดตามมากกว่า 2.5 ล้านคนบนโลกออนไลน์ : เทคนิคการทำคลิปสอนอย่างไรให้ปัง / การสร้างและทำวีดิโอ Tiktok อย่างไรให้คนติดตาม

อ.อ๊อป ธนะโรจน์ ธิติจริยาวัชร์ อายุน้อยร้อยล้าน สอนออนไลน์ช่วยชาติ : ความรู้พื้นฐานในการสร้างเนื้อหา (Content) ให้น่าสนใจ / การประชาสัมพันธ์ FB Ads / เทคนิคการทำธุรกิจออนไลน์

ปิดลงทะเบียนอบรมออนไลน์แล้ว

หรือร่วมกิจกรรมผ่าน Facebook Live กลุ่ม NIDTEP-Online
https://www.facebook.com/groups/743815863357673/?ref=share
ผู้ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมจะได้รับวุฒิบัตรหลังการอบรม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มพัฒนามาตรฐานและส่งเสริมเครือข่าย สคบศ.สป. โทร. 034 321 286 , 034 321 290 กด 0 หรือต่อ 4043

ขอบคุณเนื้อหาจาก ศธ.360 องศา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม อบรม การเตรียมเอกสารประเมิน PA วิดีทัศน์การสอน ประชาสัมพันธ์คุณครูที่สนใจเข้าอบรมออนไลน์ หลักเกณฑ์ ว9/2564 หลักเกณฑ์ ว15/2565

การจัดสรรอัตราจ้าง ผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สพฐ. แจ้งจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

 

การจัดสรรอัตราจ้าง ผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สพฐ. แจ้งจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว5277 การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแจ้งบัญชีจัดสรรอัตราจ้าง ผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อดําเนินการจ้างอัตราจ้าง ผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ โดยให้จ้างอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการรายเดิม หากมีอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ว่างลงทุกกรณี ให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษารายงานส่งคืนไปยังสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และชะลอการสรรหาอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการรายใหม่ทดแทน จนกว่าสํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานจะมีการจัดสรรคืน ยกเว้นตําแหน่งครูรายเดือนแก้ไขปัญหาสถานศึกษาขาดแคลนครูขั้นวิกฤต ที่สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดสรรให้โรงเรียนคู่พัฒนาโรงเรียนตํารวจตระเวนชายแดน โรงเรียนเพียงหลวงฯ โรงเรียนประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกรณีทดแทนครูช่วยราชการโรงเรียนวังไกลกังวล ให้สรรหาทดแทนได้ และหากหมดความจําเป็นแล้วให้ส่งคืนสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้เพื่อบริหารจัดการต่อไป ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น

การจัดสรรอัตราจ้าง ผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สพฐ. แจ้งจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอเรียนว่า การจ้างอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2565 ในการนี้ เพื่อให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดําเนินการจ้างอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการได้อย่างต่อเนื่อง จึงจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

การจัดสรรอัตราจ้าง ผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สพฐ. แจ้งจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ว5277

สิ่งที่ส่งมาด้วย 1 บุคลากรปฏิบัติงานใน สพท. ที่ขาดแคลน

สิ่งที่ส่งมาด้วย 2 บุคลากรใน สพท. ที่ตั้งใหม่และขาดแคลน

สิ่งที่ส่งมาด้วย 3 บัญชีจัดสรรครูรายเดือนแก้ไขปัญหาสถานศึกษาขาดแคลนครูขั้นวิกฤต

สิ่งที่ส่งมาด้วย 4 ครูดูแลนักเรียนประจำพักนอน

สิ่งที่ส่งมาด้วย 5 เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

สิ่งที่ส่งมาด้วย 6 นักการภารโรง

สิ่งที่ส่งมาด้วย 7 ธุรการโรงเรียน อัตราละ 15,000 บาท

สิ่งที่ส่งมาด้วย 8 ธุรการโรงเรียน อัตราละ 9,000 บาท

สิ่งที่ส่งมาด้วย 9 แบบรายงานการกำหนดตำแหน่งบุคลากรปฏิบัติงานใน สพท. ที่ขาดแคลน

สิ่งที่ส่งมาด้วย 10 แบบรายงานอัตราว่างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ

สิ่งที่ส่งมาด้วย 11 แบบรายงานอัตราว่างธุรการโรงเรียน

ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม เปิดรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวศึกษา กรณีพิเศษ จำนวน 1,103 อัตรา ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ

สอศ.เปิดรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวะ กรณีพิเศษ 2565 จำนวน 1,103 อัตรา ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ

สอศ.เปิดรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวะ กรณีพิเศษ 2565 จำนวน 1,103 อัตรา ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ

ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจําเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สอศ.เปิด รับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวศึกษา กรณีพิเศษ เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2565 – 15 ตุลาคม 2565

ลิงก์ประกาศรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวศึกษา กรณีพิเศษ คลิกที่นี่

รายละเอียดเพิ่มเติมและวิชาเอกที่เปิดสอบ คลิกที่นี่

ลิงก์สมัครสอบครูผู้ช่วย อาชีวศึกษา กรณีพิเศษ คลิกที่นี่

สอศ.เปิดรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวะ กรณีพิเศษ 2565 จำนวน 1,103 อัตรา ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ

ประกาศรับสมัครคัดเลือกบุคคล เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มี ความจําเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ตําแหน่งที่จะดําเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง ตําแหน่งครูผู้ช่วย คุณวุฒิระดับปริญญาตรี
1.1 อัตราบรรจุและแต่งตั้ง จํานวน 1,103 อัตรา
1.2 กลุ่มวิชา/ทาง ที่ประกาศรับสมัคร จํานวน 62 กลุ่มวิชา
1.3 รับเงินเดือนในอันดับครูผู้ช่วย ดังนี้
(1) ปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี อัตราเงินเดือน 15,050 บาท
(2) ปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี อัตราเงินเดือน 15,800 บาท
(3) ประกาศนียบัตรบัณฑิตที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี อัตราเงินเดือน 15,800 บาท
(4) ปริญญาตรี หลักสูตร 6 ปี อัตราเงินเดือน 17,690 บาท

เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2565 – 15 ตุลาคม 2565

ลิงก์สมัครสอบครูผู้ช่วย อาชีวะ กรณีพิเศษ คลิกที่นี่

ลิงก์ประกาศรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวะ กรณีพิเศษ คลิกที่นี่

รายละเอียดเพิ่มเติมและวิชาเอกที่เปิดสอบ คลิกที่นี่

สอศ.เปิดรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวะ กรณีพิเศษ 2565 จำนวน 1,103 อัตรา ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ

สอศ.เปิดรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวะ กรณีพิเศษ 2565 จำนวน 1,103 อัตรา ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ

ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ลิงก์สมัครสอบครูผู้ช่วย สอศ.กรณีพิเศษ 2565 สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 19 กันยายน 2565 – 15 ตุลาคม 2565

สอศ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ สอบ ภาค ค ตำแหน่งครูผู้ช่วย ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เฉพาะจังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี และ 4 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา

ลิงก์สมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวะ กรณีพิเศษ 2565 ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ

 

ลิงก์ สมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวะ กรณีพิเศษ 2565 ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ

ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจําเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ลิงก์ สมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวะ กรณีพิเศษ 2565 ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ

ประกาศรับสมัครคัดเลือกบุคคล เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มี ความจําเป็นหรือมีเหตุพิเศษ สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ตําแหน่งที่จะดําเนินการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง ตําแหน่งครูผู้ช่วย คุณวุฒิระดับปริญญาตรี
1.1 อัตราบรรจุและแต่งตั้ง จํานวน 1,103 อัตรา
1.2 กลุ่มวิชา/ทาง ที่ประกาศรับสมัคร จํานวน 62 กลุ่มวิชา
1.3 รับเงินเดือนในอันดับครูผู้ช่วย ดังนี้
(1) ปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี อัตราเงินเดือน 15,050 บาท
(2) ปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี อัตราเงินเดือน 15,800 บาท
(3) ประกาศนียบัตรบัณฑิตที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี อัตราเงินเดือน 15,800 บาท
(4) ปริญญาตรี หลักสูตร 6 ปี อัตราเงินเดือน 17,690 บาท

เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2565 – 15 ตุลาคม 2565

ลิงก์สมัครสอบครูผู้ช่วย อาชีวะ กรณีพิเศษ คลิกที่นี่

ลิงก์ประกาศรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวะ กรณีพิเศษ คลิกที่นี่

รายละเอียดเพิ่มเติมและวิชาเอกที่เปิดสอบ คลิกที่นี่

เปิดรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวศึกษา กรณีพิเศษ จำนวน 1,103 อัตรา ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ

ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม เปิดรับสมัครสอบ ครูผู้ช่วย อาชีวศึกษา กรณีพิเศษ จำนวน 1,103 อัตรา ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ

รวมแบบฟอร์มpa แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA1 – PA5) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกวิทยฐานะ ทุกสังกัด ไฟล์ doc & word (วpa)

สวัสดีครับวันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมได้เผยแพร่ รวมแบบฟอร์มpa แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA1 – PA5) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกวิทยฐานะ ทุกสังกัด ไฟล์ doc & word (วpa) โดยทุกท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้จากลิงก์ด้านล่าง

รวมแบบฟอร์มpa แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA1 - PA5) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกวิทยฐานะ ทุกสังกัด ไฟล์ doc & word (วpa)

ข้อตกลงในการพัฒนางาน ” (Performance Agreement : PA) หมายความว่า ข้อตกลงที่ข้าราชการครู ได้เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อแสดงเจตจำนงว่าภายในรอบการประเมินจะพัฒนาผลลัพธ์การเรียน ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตร ให้สูงขึ้นโดยสะทอนให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทยฐาน ที่ดำรงอยู่ และสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาได้เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครูทุกคน ต้องจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางา ตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยข้อตกลงในการพัฒนางาน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง1

1) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

2) ผลการปฏิบัติงาน ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียน และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยต้องแสดงให้เห็นถึงการปรับประยุกต์ ริเริ่มการแก้ปัญหา พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน หรือการสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ข้อตกลงในการพัฒนางานต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมาย และบริบทสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ

การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ควรกำหนดการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงได้อย่างชัดเจนและเป็นธรรม ทั้งนี้ ในระหว่างการดำเนินการตามข้อตกลงในการพัฒนางาน กรณีที่ข้าราชการครูย้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้รับมอบหมายให้ทำการสอนต่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำข้อตกลงไว้เดิม ให้ดำเนินการดังนี้

1. กรณีที่ข้าราชการครูย้ายสถานศึกษาระหว่างปีงบประมาณให้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน กับผู้อำนวยการสถานศึกษาคนใหม่ในสถานศึกษาที่ย้ายไปดำรงตำแหน่ง

2. กรณีที่ข้าราชการครูได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ให ข้อตกลงในการพัฒนางานในตำแหน่งครูกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

3. กรณีที่ข้าราชการครูได้รับมอบหมายให้ทำการสอนต่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำข้อตก ให้ข้าราชการครูจัดทำรายละเอียดข้อตกลงในการพัฒนางานในวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามที่ได้รับมอบหมายใหม่

แบบฟอร์มข้อตกลงในการพัฒนางาน” (Performance Agreement : PA) สามารถใช้ได้ทุกสังกัด ไฟล์ doc & word ท่านสามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์ด้านล่าง

ดาวน์โหลดไฟล์  PA1 : แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน

ดาวน์โหลดไฟล์  PA2 : แบบประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง

ดาวน์โหลดไฟล์  PA3 : แบบสรุปคะแนน

ดาวน์โหลดไฟล์  PA4 : แบบประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ด้าน 1 และ 2

ดาวน์โหลดไฟล์  PA5 : แบบประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ

เรื่องที่น่าสนใจ :

แบบบันทึกข้อตกลง PA1 – PA5 ตำแหน่งครู ไฟล์ doc ข้อตกลง PA ดาวน์โหลดที่นี่

รวมแบบฟอร์มpa ครู แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA1 – PA5) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกวิทยฐานะ แก้ไขได้ ไฟล์ doc & word (วpa ครู)

PA1 PA2 PA3ผู้บริหารสถานศึกษา แบบสรุปผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลง (PA) ผอ.รร. ไฟล์ doc & word ครบทุกวิทยฐานะ

สอบท้องถิ่น 65 ท้องถิ่นเตรียมเปิดสอบปี 2565 แทนตำแหน่งที่เรียกบรรจุหมดบัญชี และตำแหน่งที่ว่าง รวม 24 ตำแหน่ง 1,808 อัตรา

หลายๆท่านคงกำลังลุ้นกันอยู่ว่า สอบท้องถิ่น 65 จะเกิดขึ้นหรือไม่ วันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ การสอบท้องถิ่นเตรียมที่เตรียมเปิดสอบปี 2565 แทนตำแหน่งที่เรียกบรรจุหมดบัญชี และตำแหน่งที่ว่าง รวม 24 ตำแหน่ง 1,808 อัตรา โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ

สอบท้องถิ่น 65 ท้องถิ่นเตรียมเปิดสอบปี 2565 แทนตำแหน่งที่เรียกบรรจุหมดบัญชี

สอบท้องถิ่น 2565 แทนตำแหน่งที่เรียกบรรจุหมดบัญชี และตำแหน่งที่ว่าง รวม 24 ตำแหน่ง 1,808 อัตรา เปิดสอบท้องถิ่น เพิ่มเติม 2565 วันไหน เมื่อไหร่ เช็กได้ที่นี่

เมื่อเร็วๆนี้ ปลัดเชื้อ ฮั่นจินดา ได้เปิดเผยข้อมูลการประชุมของคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) เกี่ยวกับกับ การสอบท้องถิ่น 2565 หรือ สอบท้องถิ่น 65 ซึ่งรายงานผลการประชุม กสถ. เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 และ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 เรื่อง การเรียกบรรจุข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือสอบท้องถิ่น ปี 2565

ทั้งนี้ จากรายงานการประชุม มีหลายตำแหน่งที่มีการเรียกบรรจุจนหมดบัญชี และตำแหน่งที่ยังว่าง ที่ยังไม่มีการเปิดสอบ โดยมีตำแหน่งที่เรียกหมดบัญชีแล้ว ซึ่งจะต้องรอมติที่ประชุมดำเนินการเปิดสอบเพิ่มเติมในการสอบท้องถิ่น ปี 65 ดังนี้

เรื่องราวที่น่าสนใจ : เช็กที่นี่! สอบท้องถิ่น 2565 แทนตำแหน่งที่เรียกบรรจุหมดบัญชี และตำแหน่งที่ว่าง รวม 24 ตำแหน่ง 1,808 อัตรา เปิดสอบท้องถิ่น เพิ่มเติม 2565 วันไหน เมื่อไหร่ เช็กได้ที่นี่

1. ตำแหน่งเจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน

2. ตำแหน่งเจ้าพนักงานสวนสาธารณะปฏิบัติงาน

3. ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน

4. ตำแหน่งเจ้าพนักงานศูนย์เยาวชนปฏิบัติงาน

5. ตำแหน่งนายช่างเขียนแบบปฏิบัติงาน

6. ตำแหน่งนายช่างผังเมืองปฏิบัติงาน

7. ตำแหน่งนายช่างโยธาปฏิบัติงาน

8. ตำแหน่งนายช่างสำรวจปฏิบัติงาน

9. ตำแหน่งเจ้าพนักงานประปาปฏิบัติงาน

10. ตำแหน่งนายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ

11. ตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการ

12. ตำแหน่งสถาปนิกปฏิบัติการ

13. ตำแหน่งครูผู้ช่วย กลุ่มวิชาวัดผลและประเมินผล

14. ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กลุ่มวิชาจิตวิทยาและแนะแนว

15. ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กลุ่มวิชาคหกรรม

16. ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กลุ่มวิชาบรรณารักษ์

17. ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย กลุ่มวิชานาฏศิลป์

18. ตำแหน่งครูผู้ช่วย กลุ่มวิชาดนตรีไทย

19. ตำแหน่งครูผู้ช่วย กลุ่มวิชาดนตรีสากล

20. ตำแหน่งครูผู้ช่วย กลุ่มวิชาประถมศึกษา

21. ตำแหน่งครูผู้ช่วย กลุ่มวิชาภาษาจีน

22. ตำแหน่งครูผู้ช่วย กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการศึกษา

23. ตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก

นอกจากนี้ ยังมีตำแหน่งที่ว่าง ที่ยังไม่มีการเปิดสอบในรอบที่ผ่านมา และตำแหน่งที่ไม่มีผู้สอบแข่งขันได้ หากรวมตำแหน่งที่ยังว่าง รวมทั้งสิ้น 24 ตำแหน่ง 1,808 อัตรา โดยแบ่งได้ดังนี้

1. เปิดสอบท้องถิ่นในตำแหน่งข้าราชการ ประเภทวิชาการ จำนวน 3 ตำแหน่ง 111 อัตรา

2. เปิดสอบท้องถิ่นในตำแหน่ง ประเภททั่วไป จำนวน 12 ตำแหน่ง 988 อัตรา

3. เปิดสอบท้องถิ่นในตำแหน่ง ประเภทครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 11 ตำแหน่ง 709 อัตรา

สำหรับผู้ที่สนใจอยากสมัครสอบท้องถิ่น 65 และเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ปลัดเชื้อ ฮั่นจินดา ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัด สอบท้องถิ่น 65 เพิ่มเติมว่า อาจจะมีการเปิดสอบเพิ่มเติมในตำแหน่งอื่นๆที่ขาดแคลน หรือ ตำแหน่งที่มีการร้องขอเข้ามา หรือ เป็นตำแหน่งที่เปิดสอบในรอบที่ผ่านมาและหมดบัญชี ในเดือนหรือสองเดือน ก่อนที่จะมีการประกาศสมัครสอบท้องถิ่น ประจำปี 2565 รอบใหม่ 

*สำหรับหลักสูตรการสอบท้องถิ่น 65 อาจจะใช้หลักสูตรการสอบเดิมในการสอบครั้งนี้

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : ประกาศผลสอบท้องถิ่น 64 วันที่ 10 ม.ค. 2565 วันประกาศผลสอบ ท้องถิ่น 2564 ได้ที่นี่

อย่างไรก็ดีครูอัพเดตดอทคอมจะมานำเสนอข้อมูลอีกครั้งถ้ามีข่าวคราวความเคลื่อนไหวในการสมัครสอบท้องถิ่น ประจำปี 2565 ว่าจะมีการจัดสอบท้องถิ่น2565 วันไหน เมื่อไหร่ คาดว่าเร็วๆนี้น่าจะมีความเคลื่อนไหวการสอบท้องถิ่นอีกครั้งครับ

กําหนดการสอบ ก.พ. 65 การดำเนินการสอบของ สำนักงาน ก.พ. ประจำปี 2565 เช็กที่นี่

ด้วยสำนักงาน ก.พ. ขอแจ้งกำหนดการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ประจำปี 2565 ทั้งแบบ e-Exam และ Paper&Pencil โดย กําหนดการสอบ ก.พ. 65 และได้มีกำหนดการดำเนินการสอบ หรือปฏิทินการดำเนินการสอบ ของ สำนักงาน ก.พ. ประจำปี 2565  ตามข้อมูลที่ปรากฎด้านล่างนี้

กําหนดการสอบ กพ 65 กำหนดการดำเนินการสอบของ สำนักงาน ก.พ. ประจำปี 2565-1

ทั้งนี้ ท่านสามารถอ่านรายละเอียดกำหนดการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป
1. กําหนดการสอบ ก.พ. แบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Exam) ประจำปี 2565 ฉบับเต็มได้ที่: https://bit.ly/E-exam2565

2. กําหนดการสอบ ก.พ. แบบ Paper&Pencil ประจำปี 2565 ฉบับเต็มได้ที่: https://bit.ly/Paper-Pencil2565

กําหนดการสอบ ก.พ. 65 กำหนดการดำเนินการสอบของ สำนักงาน ก.พ. ประจำปี 2565 เช็กที่นี่

อย่างไรก็ดีท่านสามารถติดตามและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ประจำปี 2565 ทั้งหมด ได้ที่: https://job3.ocsc.go.th/

สมัครสอบ ก.พ. 2566 ภาค ก สำนักงาน ก.พ. รับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ประจำปี 2566 คลิกที่นี่

ลิงก์ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ สมศ. 13 กันยายน 2565 ลิงก์รับชม การเสวนา จาก สมศ. และตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินการอบรมออนไลน์ 

สวัสดีครับวันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมได้จัดทำ ลิงก์ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ สมศ. 13 กันยายน 2565 ในการการเสวนาเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมรับเกียรติบัตรแบบอิเล็กทรอนิกส์ จาก สมศ. เริ่มดำเนินกิจกรรม วันที่ 13 กันยายน 2565 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 12.00 น.

ลิงก์ ลงทะเบียนเข้าอบรมออนไลน์ สมศ. 13 กันยายน 2565 ลงทะเบียนเข้าร่วมรับชม การเสวนา การประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมรับเกียรติบัตรแบบอิเล็กทรอนิกส์ จาก สมศ. 13 กันยายน 2565 เวลา 08.30 - 12.00 น.

ขอเชิญเข้าร่วมรับชม การเสวนา จาก สมศ. ในประเด็น “สร้างการรับรู้ความเข้าใจเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้เพื่อการพัฒนา”
วันที่ 13 กันยายน 2565 เวลา 08.30 – 12.00 น.

ลิงก์ดาวน์โหลดเกียรติบัตร ลิงก์รับเกียรติบัตร 

ตรวจสอบรายชื่อและลำดับ : https://bit.ly/3Uyi6Kb
ตรวจสอบรายชื่อและลำดับ ลิงก์สำรอง : https://bit.ly/
ดาวน์โหลดไฟล์เกียรติบัตร : https://bit.ly/3BOIIz8
ดาวน์โหลดไฟล์เกียรติบัตร ลิงก์สำรอง : https://bit.ly/

ขั้นตอนการดาวน์โหลด
1. ตรวจสอบรายชื่อ โดยค้นหา “ชื่อ” หรือ “นามสกุล”
2. ตรวจสอบลำดับ ที่ปรากฏตรงกับ “ชื่อ-นามสกุล”
3. เลือก “Folder” ในลำดับที่ต้องการดาวน์โหลด
4. ดาวน์โหลดไฟล์ “เกียรติบัตร” ตามรายชื่อที่ปรากฏได้เลย
คู่มือแบบละเอียด https://bit.ly/376jDmw

ตรวจสอบรายชื่อผู้ตอบแบบสอบถามเพื่อรับเกียรติบัตรที่นี่
Link 1 : https://bit.ly/3DyGSUr
Link 2 : https://bit.ly/3RMaUb0
Link 3 : https://bit.ly/3U1Y0HP

ลิงก์ลงทะเบียนเข้าอบรมออนไลน์สมศ. ได้ที่ https://forms.gle/nynnoeMjytgv1U6JA

ลงทะเบียน : https://bit.ly/3L3lMz7

ไฟล์เอกสาร : https://bit.ly/3REgWKY

ลิงก์รับชม การเสวนา จาก สมศ. คลิกที่นี่

ลิงก์ตอบแบบสอบถาม แบบประเมิน อบรมออนไลน์ สมศ. 

Link 1 : https://bit.ly/3By2wqb
Link 2 : https://bit.ly/3qwAJjK
Link 3 : https://bit.ly/3L4iWtI

ตรวจสอบรายชื่อ
Link 1 : https://bit.ly/3DyGSUr
Link 2 : https://bit.ly/3RMaUb0
Link 3 : https://bit.ly/3U1Y0HP

เรื่องราวที่น่าสนใจ :ลิงก์ดาวน์โหลดเกียรติบัตร การอบรมออนไลน์ สมศ. 13 กันยายน 2565 เกียรติบัตร การเสวนา จาก สมศ. ตอบแบบสอบถาม แบบประเมิน อบรมออนไลน์ สมศ. 13 ก.ย. 2565 ดาวน์โหลดได้ 20 ก.ย. 2565

ลิงก์ ลงทะเบียนเข้าอบรมออนไลน์ สมศ. 13 กันยายน 2565 ลงทะเบียนเข้าร่วมรับชม การเสวนา การประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมรับเกียรติบัตรแบบอิเล็กทรอนิกส์ จาก สมศ. 13 กันยายน 2565 เวลา 08.30 - 12.00 น.
ลิงก์ลงทะเบียนเข้าอบรมออนไลน์ สมศ. 13 กันยายน 2565 ลงทะเบียนเข้าร่วมรับชม การเสวนา การประกันคุณภาพการศึกษา พร้อมรับเกียรติบัตรแบบอิเล็กทรอนิกส์ จาก สมศ. 13 กันยายน 2565 เวลา 08.30 – 12.00 น.

“สร้างการรับรู้ความเข้าใจเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้เพื่อการพัฒนา”

08.40 – 09.30
การบรรยาย หัวข้อ “สร้างการรับรู้ ความเข้าใจเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา”
โดย ดร.นันทา หงวนตัด (รักษาการผู้อำนวยการ สมศ.)

09.30 – 10.30
การบรรยาย หัวข้อ “การประกันคุณภาพการศึกษา โอกาสของการพัฒนา ยกระดับการศึกษาไทย”
โดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ (นักวิชาการอิสระ)

10.45 – 12.15 น.
การเสวนา หัวข้อ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำผลประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้เพื่อการพัฒนา”

ลิงก์ลงทะเบียนเข้าอบรมออนไลน์ สมศ. ได้ที่ https://forms.gle/nynnoeMjytgv1U6JA

ลิงก์รับชม การเสวนา จาก สมศ.  คลิกที่นี่

ลิงก์ตอบแบบสอบถาม แบบประเมิน อบรมออนไลน์ สมศ. 

พร้อมรับเกียรติบัตรแบบอิเล็กทรอนิกส์ จากการทำแบบประเมินโครงการ
(ดาวน์โหลดไฟล์เกียรติบัตรที่ Facebook Pageสมศ.(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา) ได้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 เป็นต้นไป)

ขอบคุณเนื้อหาจาก สมศ.(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา)

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ระบบ DPA ระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล พร้อมให้ครูใช้งาน 1 ตุลาคม 2565 และทดลองใช้งาน กลางเดือน กันยายน 2565 ลิงก์เข้าใช้งาน ระบบ DPA อัพเดตที่นี่!