การลาของข้าราชการครู 11 ประเภท ระเบียบการลาของข้าราชการครู ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555

การลาของข้าราชการครู 11 ประเภท ระเบียบการลาของข้าราชการครู ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555

การลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 ลาได้กี่วัน ลาได้กี่ครั้ง ลาแบบไหนได้บ้าง และ ก.ค.ศ. ได้กำหนดผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตและอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการลาประเภทต่าง ๆ ไว้ เรื่องของการลานั้นมีความเชื่อมโยงผูกพันในด้านการเงินหลายประเด็นทั้งการได้รับเงินเดือนระหว่างลา การได้รับเงินวิทยฐานะ การเลื่อนขั้นเงินเดือน ซึ่งจะขอกล่าวไว้ ณ ที่นี้ ตามลำดับดังนี้

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 คลิกที่นี่ 

การลาของข้าราชการครู 11 ประเภท ระเบียบการลาของข้าราชการครู ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
การลาของข้าราชการครู 11 ประเภท ระเบียบการลาของข้าราชการครู ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555

1. การลาป่วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา อนุญาตได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 60 วัน ผอ.สพท.อนุญาตได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 120วัน การลาป่วยที่รักษาตัวเป็นเวลานาน ปีหนึ่งลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน60 วันทำการแต่หากหัวหน้าส่วนราชการเห็นสมควร ให้จ่ายเงินเดือนต่อไปอีกก็ได้แต่ไม่เกิน 60 วันทำการ (รวม 2 ขั้นตอน ไม่เกิน 120 วันทำการ เลขาธิการ กพฐ.มอบอำนาจให้ ผอ.สพท. มีอำนาจพิจารณาอนุญาตแล้ว) ถ้าเกินไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาในส่วนของเงินวิทยฐานะให้เบิกจ่ายเงินวิทยฐานะระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน 60วันทำการ

2. การลาคลอดบุตร ผู้อำนวยการสถานศึกษาและ ผอ.สพท. อนุญาตได้ ลาได้ไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาในส่วนของเงินวิทยฐานะให้เบิกจ่ายเงินวิทยฐานะระหว่างลาได้ไม่เกิน 90 วัน

ครม.เห็นชอบ ให้ข้าราชการลาคลอดได้ 188 วัน ส่วนข้าราชการชาย สามารถลาช่วยดูแลบุตรได้ 15 วัน

3.การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ผู้อำนวยการสถานศึกษา และผอ.สพท. อนุญาตได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 15 วันทำการ และหากลาภายใน 30 วันนับแต่วันที่ภริยาคลอดบุตรให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน15 วันทำการ หากลาเมื่อพ้น 30 วันนับแต่วันที่ภริยาคลอดบุตร ไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาในส่วนของเงินวิทยฐานะอยู่ระหว่างพิจารณากำหนดรายละเอียดเนื่องจากเป็นประเภทการลาที่กำหนดขึ้นใหม่

4. การลากิจส่วนตัว ผู้อำนวยการสถานศึกษาอนุญาตได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 30 วัน ผอ.สพท. อนุญาตได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 45 วัน ปีหนึ่งลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน 45 วันทำการแต่ในปีที่เริ่มรับราชการ ลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน 15 วันทำการการลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตร ลาได้ไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาในส่วนของเงินวิทยฐานะให้เบิกจ่ายเงินวิทยฐานะระหว่างลาได้ปีหนึ่งไม่เกิน 45 วันทำการ แต่ในปีที่เริ่มรับราชการให้เบิกจ่ายเงินวิทยฐานะระหว่างลาได้ไม่เกิน 15 วันทำการ

5.การลาพักผ่อน ผู้อำนวยการสถานศึกษา และ ผอ.สพท. อนุญาตได้ ลาได้ปีละ 10 วันทำการหากมิได้ลาหรือลาไม่ครบ ให้สะสมรวมกับปีต่อ ๆ ไปได้ไม่เกิน 20 วันทำการแต่สำหรับผู้รับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี สะสมได้ไม่เกิน 30 วันทำการผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษาและได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกินกว่าวันลาพักผ่อนไม่มีสิทธิลาพักผ่อน ในส่วนของเงินวิทยฐานะหากลาพักผ่อนเกินสิทธิไม่ให้เบิกจ่ายเงินวิทยฐานะระหว่างลา

6.การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ สำหรับผู้ที่รับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า12 เดือน หากตั้งแต่เริ่มรับราชการ ผู้ใดยังไม่เคยอุปสมบทหรือยังไม่เคยประกอบพิธีฮัจย์ ให้ผู้นั้นลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์แล้วแต่กรณี ได้ไม่เกิน 120 วัน โดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาอนุญาต (เลขาธิการ กพฐ. มอบอำนาจให้ ผอ.สพท.มีอำนาจพิจารณาอนุญาตแล้ว)ในส่วนของเงินวิทยฐานะให้เบิกจ่ายเงินวิทยฐานะระหว่างลาได้ไม่เกิน 60 วัน

7.การลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล ลาได้โดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาแต่เมื่อครบกำหนดแล้วไม่มารายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการภายใน 7 วัน ให้งดจ่ายเงินเดือนไว้จนถึงวันเข้าปฏิบัติราชการแต่หากหัวหน้าส่วนราชการเห็นสมควร ให้จ่ายเงินเดือนต่อไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกิน 15 วัน หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาอนุญาต ในส่วนของเงินวิทยฐานะให้เบิกจ่ายเงินวิทยฐานะระหว่างลาได้ไม่เกิน 60 วัน

8.การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ไม่เกิน 4 ปีนับแต่วันไป จนถึงวันก่อนวันมารายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการหากผู้อนุญาตเห็นสมควรให้ลาเกิน 4 ปีก็ได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 6 ปีในประเทศผู้อำนวยการสถานศึกษา และ ผอ.สพท. อนุญาตได้ ต่างประเทศหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาอนุญาตในส่วนของเงินวิทยฐานะให้เบิกจ่ายเงินวิทยฐานะระหว่างลาได้ไม่เกิน 60 วัน

9.การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ลาได้โดยไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา เว้นแต่อัตราเงินเดือนที่ได้รับจากองค์การระหว่างประเทศต่ำกว่าอัตราเงินเดือนของทางราชการให้ได้รับเงินเดือนจากทางราชการสมทบ รวมแล้วไม่เกินอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ได้รับอยู่ในขณะนั้นรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาอนุญาตในส่วนของเงินวิทยฐานะไม่ให้เบิกจ่ายเงินวิทยฐานะระหว่างลา

10. การลาติดตามคู่สมรส (คู่สมรสไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในต่างประเทศ) ลาได้โดยไม่ให้ได้รับเงินเดือนระหว่างลา เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปีกรณีจำเป็นอาจอนุญาตให้ลาต่อได้อีก 2 ปี แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี ถ้าเกิน 4 ปีให้ลาออกจากราชการ หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาอนุญาตในส่วนของเงินวิทยฐานะไม่ให้เบิกจ่ายเงินวิทยฐานะระหว่างลา

11. การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ สำหรับผู้ได้รับอันตรายหรือการเจ็บป่วยเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ จนทำให้ตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการลาไปเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ ลาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร โดยได้รับเงินเดือนระหว่างลาแต่ต้องไม่เกิน 12 เดือน หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาอนุญาตในส่วนของเงินวิทยฐานะอยู่ระหว่างพิจารณากำหนดรายละเอียด เนื่องจากเป็นประเภทการลาที่กำหนดขึ้นใหม่

ขอบคุณเนื้อหาจาก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง สรุปการลาของข้าราชการครูฯ อ่านที่นี่! (อธิบายอย่างละเอียด!)

ครม.เห็นชอบ ให้ข้าราชการลาคลอดได้ 188 วัน ส่วนข้าราชการชาย สามารถลาช่วยดูแลบุตรได้ 15 วัน

ประชุมเอเปค ครั้งที่ 29 มีกี่ประเทศ ประชุมวันไหน และ APEC THAILAND APECย่อมาจากอะไร คลิกที่นี่

0

APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) เป็นเวทีการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่มีความสำคัญระดับโลก มีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน ความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ ซึ่งในปี ค.ศ. 2022 นี้ ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคตลอดทั้งปี รวมถึงการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคที่กำลังจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายนนี้

ประชุม เอเปค ครั้งที่ 29 ประชุมเอเปคมีกี่ประเทศ APEC 2022 ประชุมเอเปควันไหน APEC THAILAND APECย่อมาจากอะไร คลิกที่นี่

ตราสัญลักษณ์

ตราสัญลักษณ์ของการประชุม ออกแบบโดยชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นรูป “ชะลอม” ซึ่งเป็นเครื่องจักสานไทยที่ใช้ใส่สิ่งของในการเดินทาง หรือนำไปมอบกับบุคคลที่เคารพในสังคมไทยจากรุ่นสู่รุ่น ทำจากไม้ไผ่ สะท้อนถึงการค้าที่เปิดกว้าง เชื่อมโยงมิตรภาพเข้าด้วยกัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตราสัญลักษณ์ประกอบด้วยชะลอม 21 ช่อง สื่อถึงสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ และใช้สีน้ำเงิน ชมพู เขียว สื่อให้เห็นถึงคำขวัญของการประชุม “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล”

ประชุมเอเปคมีกี่ประเทศ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) คลิกที่นี่

มีความสำคัญอย่างไร

เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) คือ เวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งในปี 2532 มีเป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ เช่นความร่วมมือด้านการเกษตร การส่งเสริมบทบาทสตรีในเศรษฐกิจ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการพัฒนาด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน และความมั่งคั่งของประชาชนในภูมิภาค

เอเปคมีสมาชิกจำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ

เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ และรัสเซีย และไทยเป็นหนึ่งใน 12 เขตเศรษฐกิจผู้ร่วมก่อตั้ง ซึ่งเอเปคมีประชากรรวมกว่า 2,900 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) รวมกันกว่า 53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ1,700 ล้านล้านบาท

วันหยุดเดือนพฤศจิกายน 2565 

สถานที่จัดการประชุม

รัฐบาลไทยได้เลือกศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เป็นสถานที่จัดการประชุมหลัก และหอประชุมกองทัพเรือเป็นสถานที่จัดเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจพร้อมคู่สมรส  นอกจากนี้ยังได้จัดสรรวงเงินงบประมาณสำหรับการประชุมครั้งนี้จำนวน 3,283.10 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้เคยมีการเสนออิมแพ็ค เมืองทองธานีและไอคอนสยาม เป็นตัวเลือกในการจัดประชุมและจัดเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจพร้อมคู่สมรส ตามลำดับ

กำหนดการประชุม

สัปดาห์ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค APEC Economic Leaders’ Week: AELW) จะเริ่มด้วยการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ในวันที่ 14–16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 และการประชุมรัฐมนตรีเอเปคในวันที่ 17 พฤศจิกายน ต่อด้วยงานเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกรับเชิญพิเศษพร้อมคู่สมรสที่หอประชุมกองทัพเรือ ในช่วงค่ำวันเดียวกัน

ในงานเลี้ยงรับรองดังกล่าว จะมีการจัดอาหารค่ำซึ่งดูแลโดย ชุมพล แจ้งไพร เจ้าของร้าน “อาหาร” ซึ่งได้รับดาวมิชลินสองดวง อีกทั้งยังเคยมีประสบการณ์ดูแลอาหารในการประชุมเอเปคที่ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพในปี พ.ศ. 2535 และ 2548ชุมพลออกแบบอาหารค่ำดังกล่าวในแนวคิด “ภูมิปัญญาอาหารไทยอย่างยั่งยืน” โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงจากทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ในงานเลี้ยงกาลาดินเนอร์รับรองผู้นำเอเปค ยังมีการแสดงโดยกระทรวงวัฒนธรรม ที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดหลักของการประชุมเอเปคครั้งนี้ โดยมีนักร้องผู้มีชื่อเสียงร่วมแสดง เช่น ธงไชย แมคอินไตย์, รัดเกล้า อามระดิษ เป็นต้น อีกทั้งยังมีการประดับตกแต่งสถานที่ในบรรยากาศงานลอยกระทง อนึ่ง ในช่วงเวลาดังกล่าวยังมีการแสดงแสง สี เสียง ตลอดแนวแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 8 ถึงไอคอนสยามด้วย

หลังจากนั้นในวันที่ 18 พฤศจิกายน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย ในฐานะเจ้าภาพ จะให้การต้อนรับและร่วมประชุมกับผู้นำเขตเศรษฐกิจ, ผู้แทน และแขกรับเชิญพิเศษในช่วงแรก ในช่วงเย็นวันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จะเสด็จออกทรงรับผู้นำเขตเศรษฐกิจและแขกรับเชิญพิเศษพร้อมคู่สมรส ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันถัดมาผู้นำเขตเศรษฐกิจจะร่วมประชุมในช่วงที่สอง และนายกรัฐมนตรีไทยจะเป็นผู้แถลงข่าวด้วยตนเองหลังเสร็จสิ้นการประชุม

วันหยุดเดือนธันวาคม 2565 

ในช่วงเวลาดังกล่าว ยังมีการประชุมเอเปค ซีอีโอ ซัมมิท 2022 คู่ขนานไปกับการประชุมหลัก โดยกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 16–18 พฤศจิกายน ณ โรงแรม ดิ แอทธินี กรุงเทพ โดยจะมีผู้นำเขตเศรษฐกิจบางส่วนเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค ผู้จัดการประชุม ได้กำหนดจัดงานเลี้ยงต้อนรับ ณ ริเวอร์พาร์ค ไอคอนสยาม และงานเลี้ยงรับรอง ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน ด้วย

รายชื่อ 21 ผู้นำ และ 3 แขกพิเศษ ร่วมประชุม APEC 2022

ออสเตรเลีย นายแอนโทนี แอลบาเนซี นายกรัฐมนตรี (The Honourable Anthony Albanese MP)
บรูไนดารุสซาลาม สมเด็จพระราชาธิบดี พระองค์ที่ ๒๙ และนายกรัฐมนตรีสมเด็จพระราชาธิบดีฮาจี ฮัซซานัล บลเกียะฮ์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละฮ์ อิบนี อัล-มาร์ฮุม ซุลตัน ฮาจี โอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน ซาอาดุล ไครี วัดดิน (His Majesty Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah Ibni Al-Marhum Sultan Haji Omar ‘Ali Saifuddien Sa’adul Khairi Waddien)
แคนาดา นายกรัฐมนตรี นายจัสติน ทรูโด (The Right Honourable Justin Trudeau)
ชิลี ประธานาธิบดี นายกาบริเอล โบริก ฟอนต์ (H.E. Mr. Gabriel Boric Font)
จีน ประธานาธิบดี นายสี จิ้นผิง (H.E. Mr. Xi Jinping)
จีนฮ่องกง ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง นายจอห์น ลี คา-ชิว (The Honourable John Lee Ka-Chiu)
อินโดนีเซีย ประธานาธิบดี นายโจโก วีโดโด (H.E. Mr. Joko Widodo)
ญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรี นายคิชิดะ ฟูมิโอะ (H.E. Mr. Kishida Fumio)
เกาหลีใต้ นายกรัฐมนตรี นายฮัน ด็อก-ซู (H.E. Mr. Han Duck-soo)
มาเลเซีย เลขาธิการรัฐบาลมาเลเซีย ตัน ซรี ดาโตะ เซอรี โมฮามัด ซูกี บิน อาลี(Tan Sri Dato’ Seri Mohd Zuki Ali)
เม็กซิโก เอกอัครราชทูตเม็กซิโกประจำประเทศไทย นายเบร์นาโด กอร์โดบา เตโย (H.E. Mr. Bernardo Córdova Tello)
นิวซีแลนด์ นายกรัฐมนตรี นางสาวจาซินดา อาร์เดิร์น (The Right Honourable Jacinda Ardern MP)
ปาปัวนิวกินี นายกรัฐมนตรี นายเจมส์ มาราเป (The Honourable James Marape MP)
เปรู รองประธานาธิบดี คนที่ 1 นางดินา เอร์ซิเลีย โบลัวร์เต เซการ์รา (H.E. Ms. Dina Ercilia Boluarte Zegarra)

ประชุม เอเปค ครั้งที่ 29 ประชุมเอเปคมีกี่ประเทศ APEC 2022 ประชุมเอเปควันไหน APEC THAILAND APECย่อมาจากอะไร คลิกที่นี่
ประชุม เอเปค ครั้งที่ 29 ประชุมเอเปคมีกี่ประเทศ APEC 2022 ประชุมเอเปควันไหน APEC THAILAND APECย่อมาจากอะไร คลิกที่นี่
ประชุม เอเปค ครั้งที่ 29ประชุมเอเปคมีกี่ประเทศ APEC 2022 ประชุมเอเปควันไหน APEC THAILAND APECย่อมาจากอะไร คลิกที่นี่

ฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดี นายแฟร์ดีนันด์ โรมูอัลเดซ มาร์โคส จูเนียร์ (H.E. Mr. Ferdinand Romualdez Marcos Jr.)
รัสเซีย รองนายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย คนที่ 1 นายอันเดรย์ เบโลอูซอฟ (H.E. Mr. Andrey Belousov)
สิงคโปร์ นายกรัฐมนตรี นายลี เซียน ลุง (H.E. Mr. Lee Hsien Loong)
จีนไทเป ผู้แทน (ผู้ก่อตั้งบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC)) นายมอร์ริส จาง (นายจาง จงโหมว) (Mr. Morris Chang)
ไทย นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
สหรัฐอเมริกา รองประธานาธิบดี นางคามาลา แฮร์ริส (The Honorable Kamala Harris)
เวียดนาม ประธานาธิบดี นายเหวียน ซวน ฟุก (H.E. Mr. Nguyen Xuan Phuc)
กัมพูชา นายกรัฐมนตรี สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน (Samdech Akka Moha Sena Padei Techo HUN SEN)
ฝรั่งเศส ประธานาธิบดี นายเอมานูว์แอล มาครง (H.E. Mr. Emmanuel Macron)
ซาอุดีอาระเบีย มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรี เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด (His Royal Highness Prince Mohammed bin Salman bin Abdulaziz Al Saud)

ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ ครูอัพเดตดอทคอม

เรื่องราวที่น่าสนใจ วันหยุดส่งท้ายปี2565 เดือน พ.ย.-ธ.ค. 

อบรมหลักสูตรออนไลน์ฟรี จากมหาวิทยาลัยเนรศวร คลิกที่นี่

อย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ดี ๆ ได้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดอบรมหลักสูตรออนไลน์ฟรี เพื่อเพิ่มโอกาสในการศึกษาให้แก่ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้พัฒนาทักษะ ต่อยอดการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัด ด้วยหลักสูตรที่หลากหลาย

อบรมหลักสูตรออนไลน์ฟรี จากมหาวิทยาลัยเนรศวร คลิกที่นี่

ผ่านระบบ THAI MOOC ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาได้ตามความสนใจ เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากมหาวิทยาลัย เมื่อเรียนผ่านเกณฑ์ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

วันนี้ทางทีมงาน ครูอัพเดตดอทคอม ขอยกตัวอย่างหลักสูตร ดังนี้ครับ

อาหารสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ | Healthy food for Aging

อบรมหลักสูตรออนไลน์ฟรี จากมหาวิทยาลัยเนรศวร คลิกที่นี่

แนวคิดอาหารสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุตามกลุ่มของผู้สูงอายุทั้งกลุ่มผู้สูงอายุสุขภาพดี ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว และผู้สูงอายุติดเตียง

เตรียมเกษียณเพื่อเสริมสร้างพฤฒพลัง | pre-retirement preparation to promote active ageing

เรียนออนไลน์ฟรี 2565 เรียนออนไลน์ เรียนฟรี หลักสูตรออนไลน์ เรียนออนไลน์ได้เกียรติบัตรฟรี อบรมหลักสูตรออนไลน์ จากมหาวิทยาลัยเนรศวร คลิกที่นี่

เหมาะสำหรับวัยทำงาน (ตั้งแต่เริ่มทำงาน) เรียนฟรี มีใบประกาศนียบัตร

การดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายและครอบครัว | Caring for End of Life Patients and Their Families

เรียนออนไลน์ฟรี 2565 เรียนออนไลน์ เรียนฟรี หลักสูตรออนไลน์ เรียนออนไลน์ได้เกียรติบัตรฟรี อบรมหลักสูตรออนไลน์ จากมหาวิทยาลัยเนรศวร คลิกที่นี่

การดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยวาระสุดท้ายและครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานลดลง มีความสุขสบายมากที่สุดเท่าที่จะสามารถมีได้ในช่วงสุดท้ายของโรค ลดความทุกข์ทรมานจากความปวด ครอบคลุมถึงจิตวิญญาณ และมีการตระหนักถึงการตายอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ รวมถึงการดูแลแบบประคับประคองสำหรับครอบครัวหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว

การดูแลผู้ที่ได้รับเคมีบำบัด | Caring for Person Receiving Chemotherapy

เรียนออนไลน์ฟรี 2565 เรียนออนไลน์ เรียนฟรี หลักสูตรออนไลน์ เรียนออนไลน์ได้เกียรติบัตรฟรี อบรมหลักสูตรออนไลน์ จากมหาวิทยาลัยเนรศวร คลิกที่นี่

หลักการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด การดูแลและการปฏิบัติตัวก่อนได้รับเคมีบำบัด ขณะได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด การดูแลภายหลังการรักษาเพื่อจัดการกับผลข้างเคียงของเคมีบำบัด และการดูแลด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ อย่างต่อเนื่องระหว่างกระบวนการรักษาด้วยเคมีบำบัด

เรียนออนไลน์ได้เกียรติบัตรฟรี อบรมหลักสูตรออนไลน์ จากมหาวิทยาลัยเนรศวร หลักสูตรเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ขอคุณข้อมมูลจาก จากมหาวิทยาลัยเนรศวร

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง เรียนออนไลน์เรียนฟรี หลักสูตรออนไลน์ เรียนออนไลน์ได้เกียรติบัตรฟรี อบรมหลักสูตรออนไลน์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คลิกที่นี่

50 คอร์สเรียนออนไลน์ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เรียนรู้ตลอดชีวิต Up-skill Re-skill ฟรี! จาก มช. ใครๆ ก็เรียนได้

คอร์สเรียนออนไลน์เรียนออนไลน์ หลักสูตรอบรมออนไลน์ เรียนฟรี จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รายละเอียดที่นี่

เรียนออนไลน์ฟรีคอร์สเรียนออนไลน์ อบรมออนไลน์ คอร์สอบรมออนไลน์ ห้องเรียนออนไลน์ บทเรียนออนไลน์ จากระบบ PSUMOOC คลิกที่นี่ 

อบรมต่อใบขับขี่ออนไลน์ ผ่านระบบ DLT e-Learning ใช้ต่อและขอใบอนุญาตขับรถ ได้ทั้ง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ต่อใบขับขี่จาก 1 ปี เป็น 5 ปี และ 5 ปี เป็น 5 ปี

0

อบรมต่อใบขับขี่ออนไลน์ ผ่านระบบ DLT e-Learning ใช้ต่อและขอใบอนุญาตขับรถ ได้ทั้ง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ต่อใบขับขี่จาก 1 ปี เป็น 5 ปี และ 5 ปี เป็น 5 ปี

อบรมต่อใบขับขี่ออนไลน์ ผ่านระบบ DLT e-Learning ใช้ต่อและขอใบอนุญาตขับรถ ได้ทั้ง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ต่อใบขับขี่จาก 1 ปี เป็น 5 ปี และ 5 ปี เป็น 5 ปี ผ่าน https://www.dlt-elearning.com dlt elearning อบรม ต่ออายุ ใบ ต่อ ใบขับขี่ ออนไลน์

ลงทะเบียนอบรมขอ/ต่อใบขับขี่ออนไลน์ ผ่านระบบ DLT e-Learning คลิกที่นี่

อบรมต่อใบขับขี่ออนไลน์ ผ่านระบบ DLT e-Learning ใช้ต่อและขอใบอนุญาตขับรถ ได้ทั้ง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ต่อใบขับขี่จาก 1 ปี เป็น 5 ปี และ 5 ปี เป็น 5 ปี

การลงทะเบียนอบรมต่อใบขับขี่ออนไลน์ ให้ทำการลงทะเบียนใหม่ สำหรับคนที่ไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน โดย จะต้องใช้ ข้อมูลกรอก ตามรูปด้านล่าง นี้ dlt elearning อบรม ต่ออายุ ใบ ต่อ ใบขับขี่ ออนไลน์

หลังจากที่ ลงทะเบียนอบรมต่อใบขับขี่ออนไลน์ แล้ว ให้เข้าระบบเพื่อ อบรมขอ หรือ ต่อใบขับขี่ โดยกรอก เลขบัตรประจำตัวประชาชน และ วันเดือนปีเกิด เช่น 02052533 ดังภาพ

หลังจากเข้าสู่ระบบอบรมต่อใบขับขี่ ออนไลน์ แล้ว ขอสามารถเลือกได้เลย ว่า จะทำการขอหรือต่อใบอนุญาตขับรถ ดังภาพ

อบรมต่อใบขับขี่ออนไลน์ ผ่านระบบ DLT e-Learning ใช้ต่อและขอใบอนุญาตขับรถ ได้ทั้ง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ต่อใบขับขี่จาก 1 ปี เป็น 5 ปี และ 5 ปี เป็น 5 ปี

โดยการอบรมขอหรือต่อใบขับขี่ ออนไลน์ จะใช้เวลาต่างกัน และการอบรมไม่สามารถข้ามได้ แต่สามารถหยุดได้ แต่ถ้าออกหรือปิด จะต้องเริ่มใหม่ในขั้นตอนนั้น และที่สำคัญ ระหว่างอบรมใบขับขี่ ออนไลน์ จะมีคำถามขึ้นมาให้เลือกตอบเรื่อยๆ ทีมงานครูอัพเดตดอทคอม หวังว่าข้อมูลที่นำเสนอมาจะมีประโยชน์ ต่อทุกท่านที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ค่ะ

ลงทะเบียนอบรมขอ/ต่อใบขับขี่ออนไลน์ ผ่านระบบ DLT e-Learning คลิกที่นี่

ขอบคุณเนื้อหาจาก กรมขนส่งทางบก

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง ต่อใบขับขี่ ขนส่ง กรมการขนส่งทางบก ต่อใบอนุญาตขับรถ จักรยานยนต์ รถยนต์ จองคิว และ walk in เช็คที่นี่

เฉลยข้อสอบใบขับขี่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ 2565 แนวข้อสอบใบขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ พร้อมเฉลย ครบทั้ง 9 หมวด

กระทู้ธรรมชั้นตรี ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี 2564 พร้อมเฉลย เพื่อใช้เป็นแนวทางสอบธรรมศึกษาชั้นตรี 2565

สวัสดีครับวันนี้เว็บไซตืครูอัพเดตดอทคอมมีเรื่องราวเกี่ยวกับ กระทู้ธรรมชั้นตรี ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี 2564 พร้อมเฉลย เพื่อใช้เป็นแนวทางสอบธรรมศึกษาชั้นตรี 2565 มาให้ท่านที่เข้าทดสอบกระทู้ธรรมได้นำไปศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการตอบครับ

กระทู้ธรรมคือ ?

การเรียงความแก้กระทู้ธรรม เป็นการแสดงออกซึ่งความรู้ ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก ของผู้เขียนซึ่งได้มาจากการศึกษาวิชาธรรมะ พุทธะ และเบญจศีลเบญจธรรม ว่าสามารถจะถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึกออกไปสู่ผู้อื่นได้ดีหรือไม่
การเรียนรู้วิชาธรรมะ พุทธะ และเบญจศีลเบญจธรรม เปรียบเหมือนนักเรียนไปเก็บเอาดอกไม้ที่ต่างสี ต่างขนาด มากองรวมกันไว้ ส่วนการเรียงความแก้กระทู้ธรรม เปรียบเหมือนนักเรียนคัดเอาดอกไม้เหล่านั้นมาปักแจกัน จะทำได้สวยงามแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน ที่จะแต่งอย่างไร
ตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา การเขียนหรือการพูดที่จัดว่าดีนั้น ต้องเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง ๔ ประการ คือ ๑. ได้ความรู้ความเข้าใจ ๒. เกิดความเลื่อมใสใคร่ปฏิบัติตาม ๓. กล้าทำความดี ๔. มีความบันเทิงใจ ไม่เบื่อหน่าย

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กระทู้ธรรมชั้นตรี โท เอก 2566 เรียงความ แก้กระทู้ธรรมชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี 66 พร้อมเฉลย คลิกที่นี่

กระทู้ธรรมชั้นตรี 2566 ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นตรี และตัวอย่าง แก้กระทู้ธรรม ระดับ ธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก ประจำปี 66

กระทู้ธรรมชั้นโท 2566 ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นตรี และตัวอย่าง แก้กระทู้ธรรม ระดับ ธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก ประจำปี 66

กระทู้ธรรม ชั้นตรี โท เอก การเขียนเรียงความ แก้กระทู้ธรรม สอบ 7 ธ.ค. 2566

กระทู้ธรรมชั้นตรี ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี

1. ผู้อ่านหรือผู้ฟังจะได้รับความรู้ ความเข้าใจนั้น ผู้เขียนและผู้พูดจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้นเป็นอย่างดีเสียก่อน สรุป สั้น ๆ คือ จำได้ เข้าใจชัด ปฏิบัติถูกต้อง
2. ผู้อ่านหรือผู้ฟัง จะเกิดความเลื่อมใส ใคร่ปฏิบัติตาม ผู้เขียนหรือผู้พูดจะต้องชี้แจงให้เห็นโทษของการไม่ปฏิบัติอย่างนั้นว่า ไม่ดีอย่างไร
3. ผู้อ่านหรือผู้ฟังจะกล้าทำความดี ผู้เขียนหรือผู้พูด จะต้องชี้แจงให้เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของการปฏิบัติอย่างนั้นว่า ดีอย่างไร
4. ผู้อ่านหรือผู้ฟัง จะมีความบันเทิงใจ ไม่เบื่อหน่าย ก็เพราะได้รับความรู้ความเข้าใจ เห็นโทษของการไม่ปฏิบัติ และเห็นคุณประโยชน์ของการปฏิบัตินั้น ๆ นั่นเอง

ฉะนั้น วิชากระทู้ธรรมจึงเป็นวิชาที่สำคัญ น่าศึกษาวิชาหนึ่ง เพราะเป็นการเอาวิชาที่เรียนแล้วมาประติดประต่อให้ได้ใจความสอดคล้องกับกระทู้ธรรมตามที่สนามหลวงออกมา เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจ ความคิดและความรู้สึกที่แท้จริงของผู้เขียน และเป็นเหตุให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึกแก่ผู้อื่นด้วย นักเรียนจึงควรเอาใจใส่ฝึกคิด ฝึกเขียน ฝึกพูดบ่อย ๆ จะ ได้เป็นคนดีมีความสามารถ โปรดนึกถึง พุทธภาษิตบทหนึ่งอยู่เสมอว่า ทนฺโต เสฏฺโฐมนุสฺเสสุ ผู้ฝึกฝนตน (อยู่เสมอ) เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในมวลมนุษย์
หลักเกณฑ์การแต่งกระทู้

ผู้จะแต่งกระทู้ จำเป็นจะต้องทราบหลักเกณฑ์ในการแต่งกระทู้ก่อน หลักเกณฑ์ในการแต่งกระทู้นั้น ผู้ศึกษาพึงทราบตามที่สนามหลวงแผนกธรรมได้วางเป็นหลักเอาไว้ดังข้อความว่า
แต่งอธิบายให้สมเหตุสมผล อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบด้วย ๑ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย สุภาษิตที่อ้างมานั้น ต้องเรียงเชื่อมความให้สนิทติดต่อ สมกับกระทู้ตั้ง
ชั้นนี้ (ธรรมศึกษาชั้นตรี) กำหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๒ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป

แม่กองธรรมสนามหลวง ผลสอบ 2566 เช็คผลสอบนักธรรมตรี โท เอก 66 ตรวจสอบผลสอบธรรมศึกษา ที่สอบเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ดาวน์โหลด คลิกที่นี่

เช็คผลสอบนักธรรมตรี 2566 ผลสอบนักธรรมตรี โท เอก ประกาศผลแม่กองธรรมสนามหลวง ผลสอบ ปี 66 คลิกที่นี่

ผลสอบนักธรรมตรี 2566 ตรวจผลแม่กองธรรมสนามหลวง ผลสอบ ปี 66 เช็คผลสอบนักธรรมตรี โท เอก คลิกที่นี่ 

วิธีการแต่งกระทู้

เมื่อทราบหลักเกณฑ์การแต่งกระทู้โดยย่อแล้ว ต่อไปควรทราบวิธีการแต่ง วิธีการแต่งกระทู้มีองค์ประกอบใหญ่ ๆ ๓ อย่าง คือ
1. คำเริ่มต้น ได้แก่คำว่า บัดนี้ จักอธิบายขยายความธรรมภาษิต ที่ได้ยกขึ้นนิกเขปบท เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา และปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่เวลา หรืออื่นใดตามที่เหมาะสม
2. คำขยายความ คืออธิบายเนื้อความแห่งธรรมภาษิต ซึ่งเป็นกระทู้ปัญหา พร้อมทั้งอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบอย่างน้อย 1 ข้อ พร้อมทั้งบอกที่มาให้ถูกต้อง
3. คำลงท้าย คือ สรุปเนื้อความที่ได้อธิบายมาแล้วโดยย่ออีกครั้งหนึ่ง ให้สอดคล้องกับกระทู้ปัญหา จบลงด้วยคำว่า สมกับธรรมภาษิตว่า……….หรือ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า………. ตามความเหมาะสม (ช่องว่างที่เว้นไว้หมายถึง กระทู้ปัญหาพร้อมทั้งคำแปล)

8 ขั้นตอนการเขียนกระทู้ธรรมตรี
การแต่งกระทู้ธรรมชั้นตรี จะมีขั้นตอนหลักๆ อยู่ ๘ ขั้นตอนใหญ่ จะเห็นว่ามีตัวเลขกำกับอยู่ด้านหน้า หมายถึงขั้นตอนที่ต้องเขียนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เขียน “สุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล” เป็นสุภาษิตที่สนามหลวงกำให้เป็นโจทย์ ต้องเขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ
ขั้นตอนที่ 2 ย่อหน้าเขียน คำนำหรืออารัมภบท คือเขียนคำว่า “บัดนี้ จักได้ …สืบต่อไป”
ขั้นตอนที่ 3 ย่อหน้าเขียน อธิบายเนื้อความสุภาษิตบทตั้ง ประมาณ 8-15 บรรทัด จากนั้นต่อด้วยคำ “สมดังสุภาษิต ที่มาใน …ว่า” เช่น “สมดังสุภาษิตที่มาใน ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท ว่า” ต้องปิดด้วยคำว่า “ว่า” เสมอ เป็นการบอกที่มาของสุภาษิตเชื่อมก่อนจะเขียนในขั้นที่ 4
ขั้นตอนที่ 4 เขียน สุภาษิตเชื่อมพร้อมคำแปล เป็นสุภาษิตที่เราจำมาเอง ให้อยู่กึ่งกลางและตรงกับสุภาษิตบทตั้งด้วย
ขั้นตอนที่ 5 ย่อหน้าเขียน อธิบายเนื้อความสุภาษิตเชื่อม ประมาณ ๘-๑๕ บรรทัด
ขั้นตอนที่ 6 ย่อหน้าเขียน สรุปความกระทู้ธรรม ให้ได้ใจความสาระสำคัญ ประมาณ ๕-๖ บรรทัด เมื่อสรุปเสร็จแล้ว ต้องเขียนต่อด้วยคำว่า “สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า
ขั้นตอนที่ 7 ให้ยกสุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล มาเขียนปิดอีกครั้งหนึ่ง และจะต้องเขียนให้อยู่กึ่งกลางตรงกันพอกับสุภาษิตเชื่อม
ขั้นตอนที่ 8 บรรทัดสุดท้ายเขียนคำว่า “มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้” เพื่อปิดการเขียนเรียงแก้กระทู้ธรรมทั้งหมด

สำคัญ : ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 จนถึง 8 ต้องเขียน “เว้นบรรทัดทุกบรรทัด”

เรื่องราวที่น่าสนใจ :

เฉลยข้อสอบธรรมศึกษา ชั้นตรี โท เอก 2564 ปัญหาและเฉลย วิชาธรรม วิชาพุทธ วิชาวินัย ทุกปี พ.ศ. 2553-2564 ดาวน์โหลดได้ที่นี่

สอบธรรมศึกษา 2565 กำหนดการสอบธรรมศึกษา 2565 วันสอบธรรมสนามหลวง 2565 สอบวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2565 

ตัวอย่างกระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี

กระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันที่ ………พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ
คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
บัดนี้ จักได้อธิบายความแห่งกระทู้ธรรม ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา และปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม สำหรับผู้สนใจใคร่ธรรมทุกท่าน
ทาน หมายถึงการบริจาคสิ่งของของตน คือ อาหาร น้ำดื่มเสื้อผ้า ผ้าห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และของใช้ที่จำเป็นแก่ชีวิต ให้แก่ผู้อื่นด้วยวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ
1. เพื่อช่วยเหลือ เพื่ออุดหนุนบุคคลผู้ไม่มีหรือผู้ขาดแคลนสิ่งเหล่านั้นเช่น ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ไฟไหม้ เด็กกำพร้า คนชรา เป็นต้น
2. เพื่อบูชาคุณความดีของผู้ทรงศีล ทรงธรรม ตัวอย่างเช่นพระสงฆ์อีกอย่างหนึ่ง ทาน หมายถึง การงดเว้นจากการทำบาป 5 อย่างดังพระพุทธพจน์ว่า อริยสาวกในศาสนานี้เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขากจากอทินนาทาน เป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้ละการดื่มสุราและอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ชื่อว่า เขาได้ให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ เมื่อเขาให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร และความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ตัวเขาเองก็เป็นผู้มีส่วนได้รับความไม่มีภัย ความไม่มีเวร และความไม่เบียดเบียนจากผู้อื่นหาประมาณมิได้เช่นเดียวกันทั้ง 5 นี้ จัดเป็นทานอันยิ่งใหญ่ เป็นทานที่เลิศกว่าทานทั้งหลาย เป็นวงศ์ของอริยชน เป็นของเก่า อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนไม่คัดค้าน ไม่ลบล้างทานทั้ง 2 ประการ คือ การให้วัตถุสิ่งของมีอาหารเป็นต้น และการให้อภัยมีการไม่ฆ่าเป็นต้นดังกล่าวมา ช่วยรักษาชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายให้รอดพ้นจากความตายได้ อุทาหรณ์ที่เห็นง่ายที่สุดคือ เมื่อมนุษย์เกิดมา มารดาบิดาให้น้ำนมดื่ม ให้ข้าวป้อน ดูแลรักษา และไม่มีคนมาฆ่า เด็กทารกนั้นจึงรอดตายและเจริญเติบโตได้ ตรงกันข้าม ถ้ามารดา บิดา หรือผู้อื่นใดไม่ให้น้ำนม ข้าวป้อน ดูแลรักษา หรือมีคนมาฆ่า เด็กทารกนั้นคงไม่รอดตายมาได้ เพราะในเวลานั้น เขายังไม่สามารถจะหาอะไรมารับประทานได้เอง และไม่สามารถจะต่อสู้กับใครได้ อย่าว่าแต่ต่อสู้กับมนุษย์ตัวโต ๆ เลย สู้กับมดและยุงก็ไม่ไหวแล้ว
เพราะฉะนั้น ทาน จะในความหมายว่า ให้วัตถุสิ่งของแก่ผู้อื่นหรือให้อภัย คือ ความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีเบียดเบียนแก่ผู้อื่นก็ตาม ล้วนมีความสำคัญต่อชีวิตทุกชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยให้มนุษย์และสัตว์รอดพ้นจากความตายมาได้ ดังกล่าวแล้ว
ฉะนั้นพระโพธิสัตว์จึงได้กล่าวไว้ในสัตตกนิบาตชาดกในขุททกนิกายว่า ทเทยฺย ปุริโส ทานํ แปลว่า คนควรให้ทาน
แต่ทานทั้ง 2 ประการนี้ ไม่ใช่จะให้กันได้ง่าย ๆ ทุกคนโดยเฉพาะคนพาล คือ คนที่ชอบทำชั่ว ชอบพูดชั่ว ชอบคิดชั่ว ชอบทำชั่ว คือชอบประพฤติกายทุจริต คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ชอบพูดชั่ว คือ ชอบพูดเท็จ ชอบพูดส่อเสียด ชอบพูดคำหยาบ ชอบพูดคำเพ้อเจ้อ ชอบคิดชั่ว คือ ชอบโลภอยากได้ของผู้อื่น ชอบคิดร้ายต่อผู้อื่น ชอบเห็นผิดเป็นชอบ อย่างที่เรียกว่า เห็นกงจักรเป็นดอกบัว พฤติกรรมทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นปฏิปักษ์ คือ ตรงกันข้ามกับคุณธรรมที่เรียกว่า ทานทั้ง 2 ประการนั้นทั้งสิ้น
การเห็นคุณค่าของทาน แล้วบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนหรือเพื่อบูชาความดีของผู้ทรงคุณความดีด้วยตนเองและชักชวนบุคคลอื่นให้ปฏิบัติเช่นนั้นก็ดี การให้ความไม่มีภัยแก่ชีวิต ทรัพย์สิน และเกียรติยศชื่อเสียงของผู้อื่นก็ดี ชื่อว่า สรรเสริญทาน พฤติกรรมที่ดีเช่นนี้ จะทำได้ก็แต่คนดีมีศีล มีกัลยาณธรรมเท่านั้น ส่วนคนชั่ว คือ คนพาลนั้น ยากที่จะทำได้ สมกับพระพุทธพจน์ ในธรรมบทขุททกนิกาย ว่า
สาธุ ปาเปน ทุกกรํ
คนชั่ว ทำความดียาก
คนพาลนั้นนอกจากจะไม่ให้ทานและไม่เห็นคุณค่าของทานแล้ว ยังทำอันตรายต่อทาน เช่นลักขโมยทรัพย์สินของผู้บริจาคทาน ทุจริตคดโกงเอาเงินหรือสิ่งของที่ผู้ใจบุญบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยมาเป็นของตนเองเสียอีกด้วย ดังได้ฟัง ได้เห็น เป็นข่าวมากมาย
จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า การที่คนพาลไม่ให้ทานไม่เห็นคุณค่าของทานทั้ง ๒ อย่าง คือ วัตถุทาน และอภัยทาน ขัดขวางผู้บริจาคทาน และทำอันตรายต่อทานด้วยการทุจริตคดโกง ดังกล่าวมา เป็นการกระทำที่แสดงออกถึงการไม่สรรเสริญทานตามธรรมภาษิตว่า
พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ
คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
ดังพรรณนามาฉะนี้แล ฯ

ตัวอย่าง การตอบกระทู้ธรรม

กระทู้ธรรมชั้นตรี-ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-2564

กระทู้ธรรมชั้นตรี-ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-2564

กระทู้ธรรมชั้นตรี-ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-2564

กระทู้ธรรมชั้นตรี-ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-2564

กระทู้ธรรมชั้นตรี-ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-2564

กระทู้ธรรมชั้นตรี-ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-2564

กระทู้ธรรมชั้นตรี-ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี-2564

ขอบคุณที่มาจาก : https://www.facebook.com/page/

เรื่องราวที่น่าสนใจ :

เฉลยข้อสอบธรรมศึกษา ชั้นตรี โท เอก 2564 ปัญหาและเฉลย วิชาธรรม วิชาพุทธ วิชาวินัย ทุกปี พ.ศ. 2553-2564 ดาวน์โหลดได้ที่นี่

สอบธรรมศึกษา 2565 กำหนดการสอบธรรมศึกษา 2565 

การเขียนเรียงความ แก้กระทู้ธรรม ระดับ ธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก ควรเขียนอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ

ผู้ประสานงาน ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 70 การแข่งขันศิลปหัตถกรรม ปีการศึกษา 2565 

สวัสดีครับวันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมมีเรื่องราวเกี่ยวกับ เกณฑ์การแข่งขัน ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 มาฝากทุกท่านครับ โดยเกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรม 2565 ยังรอการประกาศ จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้ประสานงาน ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 70 การแข่งขันศิลปหัตถกรรม 2565 ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565

การเลื่อนงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ส่งผลให้เลื่อนออกไป 1 รอบปี จากเดือนธันวาคม 2564 ไปเดือนธันวาคม 2565 และการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 เจ้าภาพการจัดงานระดับชาติ เป็นจังหวัดเดิม คือ จังหวัดร้อยเอ็ด ราชบุรี น่าน และสตูล ซึ่งยังคงรูปแบบการจัดงานและกิจกรรมการแข่งขันคงเดิม ซึ่งสพฐ. ได้มอบหมายเจ้าภาพและกำหนดการจัดงาน ศิลปหัตถกรรม ครั้งที่70 จากลิงก์ด้านล่าง

มอบหมายเจ้าภาพการจัดการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565

ผู้ประสานงาน ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 70 การแข่งขันศิลปหัตถกรรม 2565 ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565

ผู้ประสานงาน ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 70 การแข่งขันศิลปหัตถกรรม 2565 ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565

ผู้ประสานงาน ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 70 การแข่งขันศิลปหัตถกรรม 2565 ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565

ผู้ประสานงาน ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 70 การแข่งขันศิลปหัตถกรรม 2565 ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 ดาวน์โหลดที่นี่

ความคืบหน้า ของการจัดแข่งขันงาน ศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 70 ระดับชาติ หรือ ศิลปหัตถกรรม ระดับภาค(ชาติ) ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 ประกาศแล้ว กำหนดการแข่งขันศิลปหัตถกรรม ระดับชาติ ครั้งที่ 70
           (1) จังหวัดสตูล              จัดการแข่งขันวันที่              18-20  มกราคม 2566
           (2) จังหวัดราชบุรี           จัดการแข่งขันวันที่              25-27  มกราคม 2566
           (3) จังหวัดร้อยเอ็ด          จัดการแข่งขันวันที่              29-31  มกราคม 2566
           (4) จังหวัดน่าน               จัดการแข่งขันวันที่              3 – 5    กุมภาพันธ์ 2566

ขอบคุณเนื้อหาจาก งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เรื่องราวที่น่าสนใจ ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 70 เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรม 2565 

เว็ปไซต์ ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 70 ระดับชาติ ประกาศ เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 ล่าสุด

วิธีการผันวรรณยุกต์อักษรสูง กลาง ต่ํา พร้อมคู่มือการผันวรรณยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ไฟล์ PDF ดาวน์โหลดที่นี่

สวัสดีครับวันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคมอมีเรื่องราวเกี่ยวกับ วิธีการผันวรรณยุกต์อักษรสูง กลาง ต่ํา พร้อมคู่มือการผันวรรณยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ไฟล์ PDF มาให้ทุกท่านได้ ดาวน์โหลดเพื่อนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครับ

คู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเองสําหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเล่มนี้ จัดทําขึ้น ตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์และคุณภาพการอ่าน เขียนภาษาไทย กิจกรรมที่ 1.2 คู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเองสําหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการสอนการผันวรรณยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ซึ่งเรื่องการผันวรรณยุกต์เป็นเรื่องหนึ่งที่จําเป็นและสําคัญ อย่างยิ่งในการเรียนภาษาไทย ที่ครูผู้สอนต้องย้ํา ทวน ให้แก่นักเรียนได้เรียนรู้เพื่อเกิดความเข้าใจ แม่นยํา และนําไปใช้ให้ถูกต้อง

อ่านผันวรรณยุกต์ การผันวรรณยุกต์ ตารางผันวรรณยุกต์ แบบฝึกหัด การผันวรรณยุกต์อักษรสูง กลาง ต่ํา คู่มือการผันวรรณยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ไฟล์ PDF ดาวน์โหลดที่นี่

คู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเองสําหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเล่มนี้ ประกอบไปด้วย เนื้อหา กิจกรรม ที่ครูผู้สอนสามารถนําไปศึกษาได้ด้วยตนเองหรือปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบท ของนักเรียนได้ เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน และสร้างนิสัยรักการอ่าน โดยคณะผู้จัดทํา ได้วิเคราะห์เนื้อหาและพัฒนาแบบฝึกให้สอดคล้องกับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 และ สอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

คําชี้แจงคู่มือการเรียนรู้
สํานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ได้ดําเนินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์และ คุณภาพการอ่าน เขียนภาษาไทย กิจกรรมที่ 1.2 คู่มือการเรียนรู้ด้วยตัวเองสําหรับครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่าน เขียนภาษาไทย เรื่องการสอนการผันวรรณยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3
เนื้อหาของคู่มือครูเล่มนี้ตรงตามมาตรฐานตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ครูผู้สอนควรศึกษาคู่มือครูเล่มนี้ให้เข้าใจ โดยมีขอบเขตเนื้อหาดังต่อไปนี้ รูปและ เสียงวรรณยุกต์ อักษรสามหมู่ การผันอักษร หลักสังเกตการผันวรรณยุกต์ มาตรากง มาตรากม มาตรากน มาตราเกย มาตราเกอว มาตรากก มาตรากด และมาตรากบ

เรื่องราวที่น่าสนใจ ลิงก์ดาวน์โหลด คู่มือข้อมูลระบบการศึกษาการพัฒนาครูและการพัฒนาโรงเรียน สังกัด สพฐ. คลิกที่นี่

อ่านผันวรรณยุกต์ การผันวรรณยุกต์ ตารางผันวรรณยุกต์ แบบฝึกหัด การผันวรรณยุกต์อักษรสูง กลาง ต่ํา คู่มือการผันวรรณยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ไฟล์ PDF ดาวน์โหลดที่นี่

คู่มือการผันวรรณยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ไฟล์ PDF ดาวน์โหลดที่นี่

การผันวรรณยุกต์
พยัญชนะไทยแบ่งได้เป็น 3 หมู่ โดยแบ่งพื้นเสียงที่ยังไม่ได้ผันซึ่งมีเสียงระดับสูง กลาง ต่ำ เรียกว่า ไตรยางศ์ จัดไว้เพื่อความสะดวกในการผันวรรณยุกต์
ไตรยางศ์

อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรต่ำ มี 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ร ล ว ฬ ฮ
อักษรเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มีอยู่ 10 ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ
อักษรคู่ คือ อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มีอยู่ 14 ตัว

อ่านผันวรรณยุกต์ การผันวรรณยุกต์ ตารางผันวรรณยุกต์ แบบฝึกหัด การผันวรรณยุกต์อักษรสูง กลาง ต่ํา คู่มือการผันวรรณยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ไฟล์ PDF ดาวน์โหลดที่นี่

ขอบคุณข้อมูลจาก สํานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม คู่มือการจัดการขยะในสถานศึกษา Zero Waste School ไฟล์ PDF ดาวน์โหลดที่นี่

ตัวชี้วัดภาษาไทย ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

โรงเรียนปลอดขยะ 2565 และ คู่มือการจัดการขยะในสถานศึกษา Zero Waste School ไฟล์ PDF ดาวน์โหลดที่นี่

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการสร้างเครือข่ายสถานศึกษา ที่ดำเนินกิจกรรม ลด คัดแยก และนำกลับขยะมาใช้ประโยชน์ การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปลูกฝังจิตสำนึก การลด คัดแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในสถานศึกษา

โรงเรียนปลอดขยะ 2565 คู่มือการจัดการขยะในสถานศึกษา Zero Waste School ไฟล์ PDF ดาวน์โหลดที่นี่

สร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดการขยะภายในสถานศึกษา ปลูกฝังลักษณะนิสัยรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่ผู้เรียน เพื่อมุ่งสู่สถานศึกษาปลอดขยะอย่างแท้จริง และขยายต่อจนกลายเป็นสังคมรีไซเคิล ซึ่งโครงการฯ ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ได้รับการตอบรับจากสถานศึกษาเป็นอย่างดี

โรงเรียนในฐานะที่เป็นแหล่งให้ความรู้ และปลูกฝังวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียนซึ่งจะเติบโตเป็นอนาคตของชาติต่อไป จึงมีแนวคิดที่จะให้นักเรียนลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวันลง โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ฝึกการคัดแยกขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ วิธีการนี้นอก จากจะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำเข้าเตาเผาได้แล้ว ยังเป็นการฝึกทักษะการทำงานให้กับนักเรียน และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งของอีกด้วย

โรงเรียนปลอดขยะ 2565 คู่มือการจัดการขยะในสถานศึกษา Zero Waste School ไฟล์ PDF ดาวน์โหลดที่นี่

คู่มือการจัดการขยะในสถานศึกษา Zero Waste School ไฟล์ PDF ดาวน์โหลดที่นี่

การลดขยะ ด้วยแนวคิด 3R
3R เป็นแนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า สามารถช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง ด้วยการลดการใช้ การนำกลับมาใช้ซ้ำ และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs) โดยเริ่มต้นที่การใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (Reduce) การนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือ รีไซเคิล (Recycle)

E – BOOK คู่มือการจัดการขยะในสถานศึกษา Zero Waste School ดาวน์โหลดที่นี่

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

เรื่องราวที่น่าสนใจ ลิงก์ดาวน์โหลด หลักสูตรต้านทุจริต คู่มือการจัดการเรียนรู้หลักสูตรต้านทุจริต สื่อการเรียนรู้ การป้องกันการทุจริต คลิกที่นี่

ตัวชี้วัดภาษาไทย ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ลิงก์ดาวน์โหลด คู่มือข้อมูลระบบการศึกษาการพัฒนาครูและการพัฒนาโรงเรียน สังกัด สพฐ. คลิกที่นี่

ลิงก์ดาวน์โหลด คู่มือข้อมูลระบบการศึกษาการพัฒนาครูและการพัฒนาโรงเรียน สังกัด สพฐ. คลิกที่นี่

การศึกษาเป็นส่วนสําคัญและจําเป็นในการพัฒนาประเทศให้รุ่งเรือง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการ ถ่ายทอดวัฒนธรรม และสร้างภูมิปัญญาให้แก่สังคม

ลิงก์ดาวน์โหลด คู่มือข้อมูลระบบการศึกษาการพัฒนาครูและการพัฒนาโรงเรียน สังกัด สพฐ. คลิกที่นี่

นโยบายและการบริหาร
ปัญหาของประเทศด้านภัยความมั่นคงด้านการศึกษา และแนวทางแก้ไข
การศึกษาเป็นส่วนสําคัญและจําเป็นในการพัฒนาประเทศให้รุ่งเรือง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการ ถ่ายทอดวัฒนธรรม และสร้างภูมิปัญญาให้แก่สังคม ระบบการศึกษา หมายถึง โครงสร้างของการศึกษาที่มีองค์ประกอบ ทั้งเรื่องหลักสูตร จุดมุ่งหมาย แนวนโยบาย ระบบการจัดและแนวทางในการจัดการศึกษา เพื่อให้การศึกษาช่วยพัฒนาชีวิตของเด็ก และเยาวชน ไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา ระบบการศึกษาได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งถือเป็นปัญหาของประเทศด้านภัยความมั่นคงด้านการศึกษา ที่ส่งผลทําให้เกิดปัญหาในมิติต่าง ๆ ได้แก่

1. ปัญหาด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่มีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Leaming Loss) อันเกิดจาก สาเหตุของความไม่พร้อมในเรื่องอุปกรณ์การเรียน ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิต ที่ผู้เรียนต้องนั่งเรียน ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ เป็นเวลานาน และบรรยากาศในบ้านที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ ขาดปฏิสัมพันธ์ ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเอง รวมทั้งความจําเป็นของครอบครัว ที่ผู้ปกครอง ไม่สามารถอยู่กับบุตรหลานในช่วงการเรียนผ่านระบบออนไลน์ เนื่องจากต้องประกอบอาชีพ และในบางกรณี เด็กอาศัยอยู่กับผู้สูงอายุ (ปู่ย่า ตายาย)

2. ปัญหาด้านโอกาสและความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา : เด็กหลุดจากระบบฯ ที่มีสาเหตุ มาจากเศรษฐกิจของครอบครัว ผู้ปกครองถูกพักงานหรือถูกเลิกจ้าง ครอบครัวขาดรายได้ มีการย้ายถิ่นฐาน และนักเรียนต้องทํางาน เพื่อหารายได้มาช่วยเหลือครอบครัว

3. ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย : นักเรียนติดเชื้อโควิด-19 โดยมีสาเหตุมาจากสภาพความเป็นอยู่ ของนักเรียน การพักอาศัยภายในบ้านเดียวกันจํานวนหลายคน และที่สําคัญคือการเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในเรื่อง การป้องกันด้วยการเข้ารับการฉีดวัคซีน

เรื่องราวที่น่าสนใจ ตัวชี้วัดภาษาไทย ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

แนวทางแก้ไข

1. เพิ่มโอกาสและลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการดําเนินโครงการ ติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน โครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” เพื่อเพิ่มโอกาสและการเข้าถึง การศึกษา รวมถึงพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีงานทํา โดยบูรณาการดําเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งในระดับ กระทรวงและระดับพื้นที่จังหวัด

2. ปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงศึกษาธิการ และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในการ เตรียมความพร้อมสําหรับการเปิดเรียนแบบ Onsite และเร่งสร้างการรับรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการรับวัคซีน สําหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีด และให้ผู้ที่ได้รับการฉีดแล้ว ให้เข้ารับเข็มกระตุ้น (เข็ม 3)

3. ฟื้นฟู ซ่อม เสริม และสร้างคุณภาพการศึกษา
3.1 ประเมินการถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
3.2 ปรับหลักสูตรสถานศึกษาและกระบวนการเรียนการสอน รวมถึงการวัดและประเมินผล ให้มีความยืดหยุ่น
3.3 พัฒนาคลังสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ มีการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียน และครูผู้สอนเข้าถึงได้ง่าย ในการนําไปใช้หรือศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง
3.4 สร้างการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู ซ่อม เสริม และสร้างคุณภาพการศึกษาให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน อาทิ เครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน องค์กร บุคคล หน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน

ลิงก์ดาวน์โหลด คู่มือข้อมูลระบบการศึกษาการพัฒนาครูและการพัฒนาโรงเรียน สังกัด สพฐ. คลิกที่นี่

คู่มือข้อมูลระบบการศึกษาการพัฒนาครูและการพัฒนาโรงเรียน สังกัด สพฐ. คลิกที่นี่

ขอคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ลิงก์ดาวน์โหลด หลักสูตรต้านทุจริต คู่มือการจัดการเรียนรู้หลักสูตรต้านทุจริต

การใช้ have has had หลักการใช้ have has had ตามหลักการใช้ Verb to have ใช้อย่างไร

การใช้ have has had หลักการใช้ have has had ตามหลักการใช้ Verb to have

Verb to have มี 3 ตัวคือ have, has, had การใช้ have has had มีหลาย กรณี ดังนี้

1. การใช้ have has had ถ้าเป็นกริยาหลักในประโยคจะแปลว่า “มี หรือ กิน”
Has จะใช้กับประธานเอกพจน์
Have จะใช้กับประธานพหูพจน์
เช่น

  • I’m having dinner with my old friends.
  • She has two luxury cars.

ในกรณีที่ have has เป็นกริยาหลักแล้วต้องการทำเป็นรูปปฏิเสธหรือคำถาม ให้ใช้กริยาช่วย verb to do เข้ามาช่วยนะคะ ห้ามใส่ not หลัง have / has ไปเลย เพราะhave has ในที่นี้เป็นกริยาหลักไม่ใช่กริยาช่วยนะคะ เช่น

  • She doesn’t have much money.
  • I don’t have any pens.
  • Do you have a car?

** ถ้าประธานเป็นเอกพจน์แล้วใช้ has เมื่อเติม doesn’t เข้าไปจะต้องเปลี่ยน has กลับมาเป็น have เหมือนเดิม

2. การใช้have has had เป็นกริยาช่วยใน perfect tense คือโครงสร้าง have/has/had + V3 เช่น

  • She has helped me for two hours.
  • I had locked the door before I left the room.
  • They have waited for you for three hours.

ถ้าต้องการทำเป็นประโยคปฏิเสธหรือคำถามให้เติม not หลัง verb to have ได้เลยเพราะเป็นกริยาช่วยในประโยค เช่น

  • They haven’t waited for you for three hours.
  • I hadn’t locked the door before I left the room.

3. การใช้ have has had กรณี have/had + to จะหมายถึง “จำเป็นต้อง” เช่น

  • She has to finish the report by four o’clock.
  • They have to follow the rules.

4. การใช้have has had ในประโยค causative form ตามโครงสร้างนี้คือ

have someone do something (ในความหมายว่าให้ใครทำอะไรให้โดยบอกผู้กระทำ)

  • The teacher has her students clean the room.
    คุณครูให้นักเรียนทำความสะอาดห้อง

have something done (ในความหมายว่าให้ใครทำอะไรให้โดยไม่บอกตัวผู้กระทำ

  • I had my hair cut.
    ฉันไปตัดผมมา (ให้ช่างตัดผม)

5. การใช้have has had ในสำนวนที่มีการใช้ verb to have ตามหลังด้วยคำกริยาแล้วมี a นำหน้าคำกริยาตัวนั้นจะมีผลทำให้กริยาตัวนั้นเป็นคำนาม แปลความหมายโดยยึดกริยาข้างหลัง เช่น

  • My grandfather has a walk every morning.
    คุณปู่ออกไปเดินทุกเช้า
  • I and my friends had a swim in the pool yesterday.
    ฉันและเพื่อนๆไปว่ายน้ำที่สระเมื่อวานนี้
  • I want to have a rest.
    ฉันต้องการพักผ่อน

ขอบคุณเนื้อหาจาก ภาษาอังกฤษดอทคอม

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม แผนการสอน active learning ภาษาอังกฤษ doc ป.1 – 6 ดาวน์โหลดแผนการสอน active learning ภาษาอังกฤษ ไฟล์ doc ได้ที่นี่

วิจัยในชั้นเรียน วิชาภาษาอังกฤษ รวมวิจัยในชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ ดาวน์โหลดฟรีที่นี่