คุรุสภา ประกาศคัดเลือก ครูภาษาไทยดีเด่น เพื่อรับรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ สธ ประจำปี 2566

คุรุสภา ประกาศคัดเลือกครูภาษาไทยดีเด่น เพื่อรับรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ สธ ประจำปี 2566 ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภากำหนดคัดเลือกครูภาษาไทยในประจำการของสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งผู้สอนภาษาไทยในระดับอุดมศึกษาที่มีผลงานดีเด่นเพื่อประกาศเกียรติคุณเป็นครูภาษาไทยดีเด่น ประจำปี 2566 จำนวนไม่เกิน 50 รางวัล จะได้รับรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ สธ โล่ประกาศเกียรติคุณ และเกียรติบัตร

ครูภาษาไทยดีเด่น 2566 คุรุสภา ประกาศคัดเลือกครูภาษาไทยดีเด่น เพื่อรับรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ สธ ประจำปี 2566

มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และยกย่องเชิดชูเกียรติครูภาษาไทยที่มีผลงานดีเด่นให้เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้ครูภาษาไทยพัฒนาตนเองและจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมและกระตุ้นให้สร้างนวัตกรรมการการจัดการเรียนรู้ที่เพิ่มคุณภาพของผู้เรียน และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับรางวัลได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทางวิชาชีพต่อไป

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับรางวัลครูภาษาไทยดีเด่น เป็นครูหรืออาจารย์ประจำสอนภาษาไทยในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา หรือระดับอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชนปฏิบัติการสอนในวิชาภาษาไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันที่ออกประกาศ เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (ยกเว้นอาจารย์ประจำในระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ)

มีความประพฤติดี และไม่อยู่ในระหว่างการถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ถูกดำเนินการทางวินัย หรือเป็นผู้เคยถูกลงโทษทางวินัย แม้จะได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินแล้วก็ตาม รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน ส่งเสริมผู้เรียนให้มีพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาไทยที่เหมาะสมกับสถานภาพและความพร้อมของผู้เรียนแต่ละคน มีความเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาไทย และไม่เคยได้รับรางวัลการยกย่องเป็นครูภาษาไทยดีเด่น

ครูภาษาไทยดีเด่น 2566 คุรุสภา ประกาศคัดเลือกครูภาษาไทยดีเด่น เพื่อรับรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติจารึกพระนามาภิไธยย่อ สธ ประจำปี 2566

หลักเกณฑ์การพิจารณา ประกอบด้วย 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการจัดการเรียนรู้ 2) ด้านผลงานวิชาการ ให้เลือกส่งตามประเภทของระดับการศึกษา ดังนี้ 2.1) ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา จำนวน 2 รายการ และ 2.2) ระดับอุดมศึกษา จำนวน 2 รายการ และ 3) ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน โดยการเสนอผลงานหรือเสนอชื่อ มี 2 วิธี คือ ครูหรืออาจารย์ประจำที่สอนภาษาไทยในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา หรือระดับอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน สามารถเสนอผลงานด้วยตนเอง หรือ ได้รับการเสนอชื่อจากบุคคลอื่น โดยให้ผู้บริหารสถานศึกษา คณบดี ผู้บริหารองค์กรหรือหน่วยงาน ลงนามรับรองแบบประวัติและผลงาน ผู้รับรองอาจเสนอชื่อผู้เข้ารับรางวัลได้มากกว่าหนึ่งคน ทั้งนี้ หากเสนอผลงานด้วยตนเองแล้ว ต้องไม่ให้บุคคอื่นเสนอผลงานซ้ำอีก โดยผู้เสนอผลงานหรือได้รับการเสนอชื่อ กรอกแบบรายงานประวัติและผลงานตามแบบที่คุรุสภากำหนด และส่งผลงานเพื่อพิจารณาคัดเลือกไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2566 ทั้งนี้ หากผลงานได้รับการพิจารณาคณะอนุกรรมการฯ อาจไปประเมินสภาพจริงได้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ขอบคุณข้อมูลจาก คุรุสภา

เรื่องราวที่น่าสนใจ หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม 2566 คุรุสภาขอเชิญชวนส่งผลงานเข้ารับการคัดสรรรางวัล “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 5 – 31 มกราคม 2566

รางวัลคุรุสภา 2566 คุรุสภาประกาศคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับรางวัลคุรุสภา ประจำปี 2566

คุรุสดุดี 2566 คุรุสภาประกาศคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปี 2566

คุรุสภาประกาศคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับรางวัลคุรุสภา ประจำปี 2566

คุรุสภาประกาศคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับรางวัลคุรุสภา ประจำปี 2566 ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า คุรุสภากำหนดคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเพื่อรับรางวัลคุรุสภา ประจำปี 2566 เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งมูลนิธิรางวัลคุรุสภาที่ให้รางวัลแก่สมาชิกคุรุสภาผู้ปฏิบัติงานมีผลงานดีเด่น และมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่มาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพดีเด่นให้เป็นแบบอย่างที่ดี

รางวัลคุรุสภา 2566 คุรุสภาประกาศคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับรางวัลคุรุสภา ประจำปี 2566

เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้เกิดการพัฒนาตนเอง และมีคุณภาพในการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับรางวัลเป็นต้นแบบให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทางวิชาชีพต่อไป

รางวัลคุรุสภา แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ “ระดับดีเด่น” จำนวน 9 คน รางวัลที่จะได้รับ ประกอบด้วย โล่ประกาศเกียรติคุณ เข็มทองคำ “คุรุสภาสดุดี” เกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวน 50,000 บาท และ “ระดับดี” จำนวน 18 คน รางวัลที่จะได้รับ ประกอบด้วย เข็ม “คุรุสภาสดุดี” เกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท รวมจำนวน 27 รางวัล

รางวัลคุรุสภา 2566 คุรุสภาประกาศคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับรางวัลคุรุสภา ประจำปี 2566

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับรางวัลคุรุสภา จะต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา มีระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 10 ปี นับถึงวันที่ออกประกาศ โดยปฏิบัติงานในประเภทที่ส่งผลงานเข้ารับการคัดเลือกต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 3 ปี และปัจจุบันต้องดำรงตำแหน่งตามประเภทที่เสนอขอรับรางวัลจนถึงวันเสนอขอรับรางวัล ไม่เคยกระทำความเสื่อมเสียใด ๆ อันเป็นการบกพร่องในศีลธรรมอันดี และการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ไม่อยู่ระหว่างการถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย ถูกดำเนินการทางวินัยหรือเป็นผู้เคยถูกลงโทษทางวินัย แม้จะได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินแล้วก็ตาม รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ และไม่เคยได้รับรางวัลคุรุสภา ระดับดีเด่นในประเภทเดียวกันมาก่อน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่ 

ดาวน์โหลด แบบรายงานประวัติและผลงานเสนอเพื่อพิจารณาคัดเลือกรางวัลคุรุสภา ประจำปี 2566 (ไฟล์ Word) คลิกที่นี่ 

ขอบคุณข้อมูลจาก คุรุสภา

เรื่องราวที่น่าสนใจ หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม 2566 คุรุสภาขอเชิญชวนส่งผลงานเข้ารับการคัดสรรรางวัล “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 5 – 31 มกราคม 2566

คุรุสดุดี 2566 คุรุสภาประกาศคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปี 2566

ภาพระบายสีวันเด็ก ภาพระบายสีวันเด็กแห่งชาติ 2566

ภาพระบายสีวันเด็กแห่งชาติ 2566 ภาพระบายสีวันเด็ก 2566 เนื่องใน วันเด็กแห่งชาติ 2566 รวมไว้ที่นี่

สวัสดีค่ะ วันนี้ทีมงาน ครูอัพเดตดอทคอม ได้รวบรวม ภาพระบายสีวันเด็ก ภาพระบายสีวันเด็กแห่งชาติ 2566 มาให้คุณครูได้ดาวน์โหลดให้นักเรียนได้ทำกิจกรรม เนื่องในวันเด็กแห่งชาติค่ะ

วันเด็กแห่งชาติ ของประเทศไทย ตรงกับวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่ไม่ได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีไทย เริ่มต้นจัดงานวันเด็กครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โดยได้กำหนดให้เป็นวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันเด็กแห่งชาติ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงเป็นวันเด็กแห่งชาติมาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม โดยเริ่มจัดงานวันเด็กในปี พ.ศ. 2509

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง คำขวัญวันเด็กประจำปี 2566 จากนายกรัฐมนตรี 

เกียรติบัตรวันเด็กแห่งชาติ 2566 เกียรติบัตรออนไลน์ 

วันเด็ก 2566 ตรงกับวันเสาร์ที่ 14 มกราคม อันเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม โดยวันเด็กเกิดจากความร่วมมือของหลายประเทศที่ร่วมมือกันปกป้องเด็ก เยาวชน ประเทศต่างๆ จึงจัดงานวันเด็กเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก ประเทศไทยจัดงานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญของนายวี. เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ การจัดงานวันเด็กมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้เด็กเห็นบทบาทของตน และปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมกับสังคม เพื่อพร้อมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังของชาติ

ภาพระบายสีวันเด็ก2566 ดาวโหลดเอกสารไฟล์Word คลิกที่นี่

ภาพระบายสีวันเด็ก2566 ลิงก์ดาวโหลดไฟล์ภาพเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ ครูอัพเดตดอทคอม

เรื่องราวที่น่าสนใจ คําขวัญวันครู 2566 รวม คำขวัญวันครูแห่งชาติ เนื่องในโอกาสวันครู จาก นายกรัฐมนตรี วันครูครั้งที่ 67

เกียรติบัตรวันครู 2566 เกียรติบัตรออนไลน์ เกียรติบัตรคุรุสภา ขอเชิญเข้าร่วมฟังเสวนาวิชาการเนื่องในงานวันครู ครั้งที่ 67 พ.ศ.2566 ได้รับเกีรติบัตรจาก คุรุสภา 

ภาพระบายสีวันเด็กแห่งชาติ2566ภาพระบายสีวันเด็กระบายสีวันเด็กแห่งชาติ ปี2566 

ภาพระบายสีวันเด็กแห่งชาติ 2566 ภาพระบายสีสำหรับจัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ

0

วันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมมีเรื่องราวเกี่ยวกับ ภาพระบายสีวันเด็กแห่งชาติ 2566 ซึ่งเป็นภาพระบายสีสำหรับจัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ โดยคุณครูหรือผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์ด้านล่างเลยค่ะ

วันเด็กแห่งชาติ ของประเทศไทย ตรงกับวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการที่ไม่ได้ชดเชยในวันทำงานถัดไป มีการให้คำขวัญวันเด็กทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีไทย เริ่มต้นจัดงานวันเด็กครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 โดยได้กำหนดให้เป็นวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม เป็นวันเด็กแห่งชาติ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงเป็นวันเด็กแห่งชาติมาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม โดยเริ่มจัดงานวันเด็กในปี พ.ศ. 2509

ภาพระบายสีวันเด็กแห่งชาติ 2566 ภาพระบายสีวันเด็ก ระบายสีวันเด็กแห่งชาติ ดาวน์โหลดที่นี่

สำหรับคำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2566 ว่า “ รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ความดี ” ซึ่งในปีนี้วันเด็กตรงกับวันที่ 14 มกราคม 2566

สำหรับภาพระบายสีวันเด็กแห่งชาติ 2566 ภาพระบายสีวันเด็ก ระบายสีวันเด็กแห่งชาติ ดาวน์โหลดที่นี่

  1. ลิงก์รวมถาพระบายสีที่ได้เก็บรวบรวมไว้ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Google drive 
  2. ภาพระบายสี จากเพจ คลังสื่อการเรียนรู้ พีซีเอช ดีไซน์

3. ภาพระบายสี จากเพจ Mom Plawan Class

ขอบคุณที่มาจาก เพจต่างๆด้วยครับ

ตัวอย่างข้อสอบ O-NET ป.6 2566 และ ตัวอย่างกระดาษคำตอบ O-NET ป.6 ปีการศึกษา 2565  สำหรับสอบในเดือน ก.พ. 2566

สทศ.ได้จัดการสอบโอเน็ต o-net ระดับชั้น ป.6 เพื่อเป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดรวบยอดของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ป.6) ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ใน 4 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ ได้แก่ (1) ภาษาไทย (2) คณิตศาสตร์ (3) วิทยาศาสตร์ (4) ภาษาต่างประเทศ โดยสามารถดาวน์โหลด ตัวอย่างข้อสอบ O-NET ป.6 2566 (ปีการศึกษา 2565) และ ตัวอย่างกระดาษคำตอบ O-NET ป.6 2566 (ปีการศึกษา 2565)  สำหรับสอบในเดือน ก.พ. 2566 ได้ดังลิงก์ข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ

ตัวอย่างข้อสอบ O-NET ป.6 สอบปี 2566 ปีการศึกษา 2565 และ ตัวอย่างกระดาษคำตอบ O-NET ป.6 สอบปี 2566 ปีการศึกษา 2565

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการสอบ O-NET ปีการศึกษา 2565 สำหรับการสอบในเดือนกุมภาพันธ์ 2566

ตัวอย่างข้อสอบ O-NET ป.6 ปีการศึกษา 2565 

  1. ตัวอย่างกระดาษคำตอบ วิชาภาษาไทย 
  2. ตัวอย่างกระดาษคำตอบ วิชาภาษาอังกฤษ 
  3. ตัวอย่างกระดาษคำตอบ วิชาคณิตศาสตร์   
  4. ตัวอย่างกระดาษคำตอบ วิชาวิทยาศาสตร์

โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์เตรียมพร้อมสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นป.6

  1. รูปแบบข้อสอบTest Blueprint วิชาภาษาไทย 
  2. รูปแบบข้อสอบTest Blueprint วิชาภาษาอังกฤษ 
  3. รูปแบบข้อสอบTest Blueprint วิชาคณิตศาสตร์ 
  4. รูปแบบข้อสอบTest Blueprint วิชาวิทยาศาสตร์ 

ขอบคุณเนื้อหาจาก สทศ.

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม :
กำหนดการสอบโอเน็ต ปฏิทินสอบ O-NET 2565 ป.6 ม.3 และม.6 

Test Blueprint O-NETม.3 ปีการศึกษา 2565 สอบ วันอาทิตย์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 

Test Blueprint O-NETม.6 ปีการศึกษา 2565 สอบ วันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2566 

Test Blueprint โอเน็ต ป.6 ปีการศึกษา 2565 สอบ วันเสาร์ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 

คําขวัญวันครู 2566 และคำขวัญวันครูแห่งชาติ เนื่องในโอกาสวันครู จาก นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ในเดือนมกราคมของทุกปี ยังมี “วันครู” ปีนี้นายกรัฐมนตรีจะมอบ คำขวัญวันครู 2566 ประจำวันที่ 16 มกราคม 2566 ว่า “.ครูดี ศิษย์ดี มีอนาคต.” และวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบคำขวัญ เนื่องในโอกาสวันครู ครั้งที่ 67 พ.ศ. 2566 นายกรัฐมนตรีจึงได้มอบไว้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ครับ

คําขวัญวันครู 2566 รวม คำขวัญวันครูแห่งชาติ เนื่องในโอกาสวันครู จาก นายกรัฐมนตรี วันครูครั้งที่ 67

“ครูดี ศิษย์ดี มีอนาคต” คําขวัญวันครู 2566 รวม คำขวัญวันครูแห่งชาติ เนื่องในโอกาสวันครู จาก นายกรัฐมนตรี วันครูครั้งที่ 67

คําขวัญวันครู 2566 รวม คำขวัญวันครูแห่งชาติ เนื่องในโอกาสวันครู จาก นายกรัฐมนตรี วันครูครั้งที่ 67

คําขวัญวันครู 2566 ในเดือนมกราคมของทุกปี ยังมี “วันครู” ปีนี้นายกรัฐมนตรีจะมอบ คำขวัญวันครู 16 มกราคม 2565 ว่า “พัฒนาครู พัฒนาเด็ก เรียนรู้สู่อนาคต” และวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบคำขวัญ เนื่องในโอกาสวันครู ครั้งที่ 66 พ.ศ. 2565 นายกรัฐมนตรีจึงได้มอบ คําขวัญวันครู 2565 ไว้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ครับ

คําขวัญวันครู 2566 รวม คำขวัญวันครูแห่งชาติ เนื่องในโอกาสวันครู จาก นายกรัฐมนตรี วันครูครั้งที่ 67

คำขวัญวันครู
คำขวัญวันครู 2565 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
 
        “พัฒนาครู พัฒนาเด็ก เรียนรู้สู่อนาคต”

คําขวัญวันครู 2566 รวม คำขวัญวันครูแห่งชาติ เนื่องในโอกาสวันครู จาก นายกรัฐมนตรี วันครูครั้งที่ 67

คำขวัญวันครู 2564 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
 
        “ครูวิถีใหม่ ใส่ใจดิจิทัล สร้างสรรค์ คุณธรรม ประจำชาติ”  
 

คำขวัญวันครู 2563 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

        “ครูไทย รักศิษย์ คิดพัฒนา”

 

คำขวัญวันครู 2562 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

        “ครูดี ศิษย์ดี มีพัฒนา ก้าวหน้า สู่เทคโนโลยี”

คำขวัญวันครู 2561 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

        “ศิษย์ดี ก็ด้วยครูดี มีศรัทธา”

คำขวัญวันครู 2560 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

        “ชาติพัฒนา ด้วยครูดี มีคุณภาพ ศิษย์ซาบซึ้ง ในพระคุณครู”

คำขวัญวันครู 2559 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

“อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดี มีคุณภาพ”

คำขวัญวันครู 2558 เจ้าของคำขวัญ : เด็กหญิงอนุสรา ชื่นบาล

“เกียรติครูยิ่งใหญ่ น้อมใจบูชา เลิศล้ำคุณค่า ศรัทธาพระคุณ”

คำขวัญวันครู 2557 เจ้าของคำขวัญ : นายธีธัช บรรณะทอง

“เทิดพระเกียรติทั่วหล้า กตัญญูบูชา แม่และครูแห่งแผ่นดิน”

คำขวัญวันครู 2556 เจ้าของคำขวัญ : นายสะอาด สีหภาค

“แปดสิบพรรษา พระราชินี ราษฎร์รัฐภักดี ครูศรีแผ่นดิน”

คำขวัญวันครู 2555 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวขนิษฐา อุตรโส

“บูชาครูแห่งแผ่นดิน จอมปราชญ์ศาสตร์ศิลป์ สยามินทร์ ภูมิพล”

คำขวัญวันครู 2554 เจ้าของคำขวัญ : นางกนกอร ภูนาสูง

“เทิดพระเกียรติทั่วหล้า บูชาครูของแผ่นดิน ภูมินทร์ภูมิพล”

คำขวัญวันครู 2553 เจ้าของคำขวัญ : นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์

“น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที”

คำขวัญวันครู 2552 เจ้าของคำขวัญ นางนฤมล จันทะรัตน์

“ครูสร้างคนดี เป็นศรีแผ่นดิน ทั่วถิ่นศรัทธา บูชาคุณครู”

คำขวัญวันครู 2551 เจ้าของคำขวัญ : นางพงษ์จันทร์ สุขเกษม

“ครูของแผ่นดิน เลิศศิลป์ศาสตร์ มหาราชภูมิพล ชนบูชา”

คำขวัญวันครู 2550 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวศันสนีย์ แสนโรจน์

“สิบหกมกรา เทิดทูน พ่อแผ่นดิน ภูมินทร์บรมครู”

คำขวัญวันครู 2549 เจ้าของคำขวัญ : นางพรรณา คงสง

“ครูดีเป็นศรีแผ่นดิน ศิษย์ทั่วถิ่นศรัทธาบูชาครู”

คำขวัญวันครู 2548 เจ้าของคำขวัญ : นายประจักษ์ หัวใจเพชร

“ครูสร้างคนสร้างชาติด้วยศาสตร์ศิลป์ ทั่วแผ่นดินศรัทธาบูชาครู”

คำขวัญวันครู 2547 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวพรทิพย์ ศุภกา

“ครู คือ พลังสร้างแผ่นดิน ไทยทุกถิ่นน้อมบูชาพระคุณครู”

คำขวัญวันครู 2546 เจ้าของคำขวัญ : นางสมปอง สายจันทร์

“ครูให้ความรู้ ควบคู่จรรยา ปวงชนทั่วหล้า น้อมบูชาครู”

คำขวัญวันครู 2545 เจ้าของคำขวัญ : นายสุเทพ วิเศษศักดิ์ศรี

“สร้างคนสร้างชาติ สร้างศาสตร์ก้าวหน้า สร้างภูมิปัญญา ขอบูชาครู”

คำขวัญวันครู 2544 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวสุทิสา ธนบดีไพบูลย์

“พระคุณครูยิ่งใหญ่ สร้างไทยให้พัฒนา ขอบูชาคุณครู

คำขวัญวันครู 2543 เจ้าของคำขวัญ : นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และนายประจักษ์ เสตเตมิ

“ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี”

“สร้างชาติ สร้างคน ผลงานของครู ทั่วโลกรับรู้ เชิดชูบูชา”

คำขวัญวันครู 2542 เจ้าของคำขวัญ : นายปัญจะ เกสรทอง และนางเซียมเกียว แซ่เล้า

“ครูเป็นผู้เบิกทางแห่งปัญญา”

“ครูชี้ทางสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ชนเชิดบูชาพระคุณครู”

คำขวัญวันครู 2541 เจ้าของคำขวัญ : นายชุมพล ศิลปอาชา

“ครูเป็นผู้นำทางปัญญา ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี”

คำขวัญวันครู 2540 เจ้าของคำขวัญ : นายสุขวิช รังสิตพล

“ครูสร้างศิษย์ ด้วยมิตรและน้ำใจ ครูคือผู้ให้ เพื่อเยาวชนไทยได้พัฒนา”

คำขวัญวันครู 2539 เจ้าของคำขวัญ : นายสุขวิช รังสิตพล

“ครู เป็นหัวใจของการพัฒนาคน”

คำขวัญวันครู 2538 เจ้าของคำขวัญ : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร

“อุทิศเวลา รักษาคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี”
 
คำขวัญวันครู 2537 เจ้าของคำขวัญ : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร

“ครู คือ ผู้มีคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี”
 
คำขวัญวันครู 2536 เจ้าของคำขวัญ : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร

“ครู คือ นักพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อม”

คำขวัญวันครู 2535 เจ้าของคำขวัญ : ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์

“ครู คือ ผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้นำเยาวชนของชาติ

คำขวัญวันครู 2534 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ

          “ครู คือ ผู้สร้างสรรค์ให้เยาวชนของชาติเป็นพลเมืองดี”

คำขวัญวันครู 2533 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ

“ครู คือ ผู้อุทิศทั้งชีวิตและจิตใจ ส่งเสริมเพิ่มพูนให้เยาวชนเป็นคนดี

คำขวัญวันครู 2532 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ

“ครูดี มีจรรยา มุ่งค้นคว้าเพื่อพัฒนาเด็กไทย”

คำขวัญวันครู 2531 เจ้าของคำขวัญ : นายมารุต บุนนาค

“ครูเป็นผู้สร้าง ครูเป็นผู้ให้ความหวัง ครูเป็นพลังให้ศิษย์เป็นคนดี”
 
คำขวัญวันครู 2530 เจ้าของคำขวัญ : นายมารุต บุนนาค

“ครูดีมีวินัย และคุณธรรม ย่อมน้อมให้เยาวชนเป็นพลเมืองดี”

คำขวัญวันครู 2529 เจ้าของคำขวัญ : นายชวน หลีกภัย

“ครู คือ ผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้าและอยู่รอดปลอดภัย”  

คำขวัญวันครู 2528 เจ้าของคำขวัญ : นายชวน หลีกภัย

“การที่บุคคลหนึ่งจะดำรงชีวิตได้อย่างดีนั้นมิใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะผู้เป็นครูมีแนวปฏิบัติที่ยากยิ่ง เป็นสิ่งน่าเห็นใจที่ครูจะต้องปฏิบัติโดยยึดถือความดี มีคุณธรรมระดับสูงกว่าบุคคลทั่วไป แต่ก็น่าภาคภูมิใจ เมื่อครูผู้ปฏิบัตินั้น ได้รับความเชื่อถือ ศรัทธา และยอมรับจากสังคมมากขึ้น จึงขอให้เพื่อนครูทุกท่านปฏิบัติตนด้วยความเสียสละ อดทน ยึดถือความดี มีคุณธรรมเพื่อจะบังเกิดผลดีแก่ตนเอง ชุมชน และประเทศชาติสืบไป”

คำขวัญวันครู 2527 เจ้าของคำขวัญ : นายชวน หลีกภัย

“ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2527 ผมขอให้เพื่อนครูที่รักทั้งหลายและสมาชิกคุรุสภาทุกท่าน ประสบความสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สัมฤทธิผลอันพึงปรารถนาตลอด”

คำขวัญวันครู 2526 เจ้าของคำขวัญ : ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์

“อนาคตของเด็กไทย อยู่ที่ความเอาใจใส่ของครูทุกคน”

คำขวัญวันครู 2525 เจ้าของคำขวัญ : ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์

“ครู นั้น สังคมยกย่องนับถือว่าเป็นปูชนียบุคคล ทั้งนี้ เพราะว่าครูเป็นผู้เสียสละยึดมั่นในคุณงามความดี และความถูกต้อง จึงขอให้รักษาความดีนี้ตลอดไป”

คำขวัญวันครู 2524 เจ้าของคำขวัญ : ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต

“ครู ที่แท้ต้องทำแต่ความดี ประพฤติปฏิบัติในระเบียบแบบแผน อันสมควรกับเกียรติภูมิของตน มีความรักในลูกศิษย์และอบรมปัญญาให้ลูกศิษย์มีความสมบูรณ์ ทั้งทางด้านวิชาการ ความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และทางด้านพลานามัย”  

คำขวัญวันครู 2522 เจ้าของคำขวัญ : ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์

“เป็นครูต้องยึดถือคุณธรรมของครู”
 
คำขวัญวันครู 2521 เจ้าของคำขวัญ : นายแพทย์บุญสม มาร์ติน

“การให้การศึกษาแก่คนในชาติ เป็นกระบวนการที่ต้องทำต่อเนื่องกันไปตลอดชีวิต ดังนั้นจึงต้องระดมสรรพกำลังหลาย ๆ ด้านมาช่วยเหลือการศึกษา ปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ ครูซึ่งจะเป็นผู้ผลักดันให้ทุกอย่างไปสู่เป้าหมายได้ ฉะนั้นท่านทั้งหลายคงตระหนักถึงหน้าที่อันมีเกียรตินี้ ในโอกาสที่วันสำคัญอย่างยิ่งของครูได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง ข้าพเจ้าในนามของกระทรวงศึกษาธิการและประธานอำนวยการคุรุสภา ขอส่งความปรารถนาดีและความระลึกถึงเพื่อนครูทุกท่าน ทั้งนอกและในราชการ ขอจงประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกัน และขอได้โปรดตระหนักถึงหน้าที่ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของครูที่ดีสืบไป”

ประวัติความเป็นมาของวันครู

ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้ วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็นวันครูแห่งประเทศไทย โดยตรงกับวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า “คุรุสภา” ซึ่งเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”

จากแนวความคิดนี้ เปรียบกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ราชการเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

กิจกรรมวันครู

กิจกรรมในวันครูมี  3  กิจกรรมใหญ่ คือ พิธีทางศาสนา พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ และกิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่าง ผู้ประกอบวิชาชีพครู ในงานวันครูบางปี คณะกรรมการจัดงานวันครูจะจัดให้มีกิจกรรมพิเศษเพิ่มเติมขึ้นเพื่อเผยแพร่งานวันครูให้กว้างขวางและให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดทำบัตรคารวะครู การจัดทำสติกเกอร์ประชาสัมพันธ์ในโอกาสวันครู การประกวดร้องเพลงวันครู การประกวดคำขวัญวันครู การจัดงานสัปดาห์วันครู และการจัดประชุมทางวิชาการ เป็นต้น

 ครูคือใคร

ครู หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า “หนัก” อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคนคนหนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น “ครู” จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคนคนหนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน “ครูคนแรก” ของเราแล้ว การที่เด็ก ๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี “ครู” ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น “ครู” จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน

ขอบคุณที่มาจาก : รัฐบาลไทย คุรุสภา

หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม 2566 คุรุสภาขอเชิญชวนส่งผลงานเข้ารับการคัดสรรรางวัล “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 5 – 31 มกราคม 2566

หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม 2566 คุรุสภาขอเชิญชวนส่งผลงานเข้ารับการคัดสรรรางวัล ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 5 – 31 มกราคม 2566 ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาขอเชิญชวนสถานศึกษาทุกสังกัดที่มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีทั้งของรัฐและเอกชน ส่งผลงานเข้ารับการคัดสรรรางวัลหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่คุรุสภาส่งเสริมและกระตุ้นการพัฒนาวิชาชีพ ที่มุ่งให้สถานศึกษาได้ให้ความสำคัญ และตื่นตัวในการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษาที่เหมาะสม กับบริบท เป้าหมายการพัฒนา และความต้องการของสถานศึกษาอย่างแท้จริง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้สถานศึกษาได้สร้างสรรค์นวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา ที่มีเป้าหมายเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียน โดยเกิดการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา เพื่อเผยแพร่ผลงาน หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรมต้นแบบที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางวิชาการและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพ และเพื่อยกย่องสถานศึกษา และผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม2566 คุรุสภาขอเชิญชวนส่งผลงานเข้ารับการคัดสรรรางวัล “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 5 – 31 มกราคม 2566

ประเภทผลงานหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม ให้สถานศึกษาทุกสังกัดที่มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีทั้งของรัฐและเอกชน สามารถส่งผลงานได้เพียงด้านใดด้านหนึ่งจากประเภทของนวัตกรรม จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการจัดการเรียนรู้ 2) ด้านสื่อ เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเรียนรู้ 3) ด้านการบริหารและการจัดการสถานศึกษา 4) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ และ 5) ด้านการวัดและการประเมิน

การประเมินคุณภาพผลงาน มีวิธีการประเมิน 2 ระดับ คือ “ระดับภูมิภาค” คณะกรรมการจะตรวจและประเมินผลงานจากเอกสาร ตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพที่กำหนด โดยผลงานแบ่งเป็น รางวัลระดับเหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง และไม่ผ่านเกณฑ์ และ “ระดับประเทศ”

คณะกรรมการจะพิจารณาจากผลงานที่ได้รับรางวัลเหรียญทองของระดับภูมิภาค จะเข้ารับคัดสรรผลงานระดับประเทศ ตามรูปแบบและวิธีที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภากำหนด ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของมิติต่าง ๆ สอดคล้องกับการปฏิบัติจริง นำสู่ผลการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม โดยผลงานแบ่งเป็น รางวัลระดับเหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง และ ไม่ผ่านเกณฑ์

เกณฑ์การประเมินคุณภาพผลงาน จะใช้การประเมินแบบอิงเกณฑ์ ประกอบด้วย เกณฑ์การประเมินคุณภาพผลงานแบบมิติคุณภาพ 5 มิติ ประกอบด้วย 1) คุณค่าทางวิชาการ 2) ประโยชน์ของนวัตกรรม 3) ลักษณะของผลงาน 4) การมีส่วนร่วม และ 5) การนำเสนอผลงานตามแบบ นร.1 และ นร.2 (ถ้ามี) และมีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ เทคนิคการนำเสนอ รายละเอียดของข้อมูล และหลักฐานร่องรอย

สถานศึกษาที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดต้องส่งผลงานทั้งทางออนไลน์เท่านั้น โดยลงทะเบียน ส่งผลงานในระบบ KSP School ผ่านทาง https://school.ksp.or.th ที่เมนูหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม และต้องส่งไฟล์เอกสารในรูปแบบ PDF สามารถส่งผลงานวิจัยได้ระหว่างวันที่ 5 – 31 มกราคม 2566 สามารถตรวจสอบรายชื่อผลงานที่ส่งเข้าร่วมคัดสรรฯ ได้ ภายในวันที่ 1 มีนาคม 2566 และประกาศผลการคัดสรรฯ “ระดับภูมิภาค”ภายในวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2566 และประกาศผลการคัดสรรฯ “ระดับประเทศ” ภายใน วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566 ผ่านทางเว็บไซต์คุรุสภา www.ksp.or.th

ดูรายละเอียดประกาศการคัดสรรผลงานฯ ผ่านทางเว็บไซต์คุรุสภา www.ksp.or.th และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทรศัพท์ 0 2280 6366

ดาวน์โหลดเอกสารและส่งผลงาน คลิกที่นี่

ขอบคุณข้อมูลจาก คุรุสภา

เรื่องราวที่น่าสนใจ คุรุสดุดี 2566 คุรุสภาประกาศคัดเลือกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ประจำปี 2566

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ PLC คุรุสภา จัดกิจรรมส่งเสริมกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพ ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ E-PLC ประจำปี 2566

เงินอุดหนุน 2566 แนวทางการใช้ เงินอุดหนุน ปีงบประมาณ 2566 แนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เงินอุดหนุน 2566 แนวทางการใช้ เงินอุดหนุน ปีงบประมาณ 2566 แนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การใช้เงินอุดหนุน 2566 สพฐ.เผยแพร่เอกสาร แนวทางการดำเนินงาน โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดาวน์โหลด แนวทาง การใช้เงินอุดหนุน 2566 ได้ที่นี่ค่ะ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดทำแนวทางการดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดความคุ้มค่า ประหยัดโปร่งใส เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและทางราชการสูงสุดการจัดทำแนวทางกรดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ มีแนวคิดและหลักการในการดำเนินการ ดังนี้
๑. ยึดหลักการแนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นแนวทางหลักและปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานจากการระดมความคิดเห็น ผลการติดตาม ตรวจสอบในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖

๒. สนองตอบต่อนโยบายของคณะรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช ่วงวัย เพื่อให้คนไทยมีการศึกษาและการเรียนรู้โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน สร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ ประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบาย โดยคาดหวังว่าผู้เรียนทุกช่วงวัยจะได้รับการพัฒนาในทุกมิติเป็นคนดีคนเก่งมีคุณภาพ และมีความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
๓. แนวทางการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นแนวทางที่กำหนดให้สอดคล้องกับหลักการปรับอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวสำหรับผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๙ ที่ให้ความเห็นชอบในการปรับอัตราเงินอุดหนุนรายหัวตามความจำเป็นพื้นฐาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้เรียน และเพิ่มศักยภาพสถานศึกษาในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปีตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)ทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ครอบคลุมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาทางเลือกโดยปรับเพิ่มแบบขั้นบันไดต่อเนื่อง ๔ ปีงบประมาณ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๙

ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้จากลิงก์ด้านล่าง

แนวทางการใช้เงินอุดหนุน ปีงบประมาณ 2566 อ่านต่อที่นี่ค่ะ

เงินอุดหนุน 2566 แนวทางการใช้ เงินอุดหนุน ปีงบประมาณ 2566 แนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เงินอุดหนุน 2566 แนวทางการใช้ เงินอุดหนุน ปีงบประมาณ 2566 แนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ขอบคุณเนื้อหาจาก สพฐ.

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม จุดเน้น สพฐ.2567 นโยบายและจุดเน้น สพฐ.ปีงบประมาณ 2567 

การเลื่อนวิทยฐานะในช่วงเปลี่ยนผ่าน อกคศ. ล1477/2565 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ

ตำแหน่งว่างรับย้ายครู 2566 รอบที่ 1 รวมลิงก์ ประกาศตำแหน่งว่างรับย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. เช็คที่นี่ 

การใช้เงินอุดหนุน 2566 การใช้จ่ายเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน ปีงบประมาณ 2566 

กรมการขนส่งทางบกแจ้งวิธีการการต่อใบอนุญาตขับรถ 2566 สำหรับรถจักรยานยนต์ รถยนต์ จองคิว และ walk in เช็คที่นี่

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานว่าปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้คลี่คลายและมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น จนสามารถผ่อนปรนบรรดามาตรการและข้อจำกัดต่าง ๆ ให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถดำรงชีวิตและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ปกติ นั้น เพื่อให้การบริหารจัดการการให้บริการด้านการต่ออายุใบอนุญาตขับรถและใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลารอคอยคิวให้บริการกับประชาชน

ต่อใบขับขี่ 2566 ขนส่ง กรมการขนส่งทางบก ต่อใบอนุญาตขับรถ จักรยานยนต์ รถยนต์ จองคิว และ walk in เช็คที่นี่

กรมการขนส่งทางบกจึงผ่อนคลายมาตรการให้ผู้ที่มีความประสงค์ต่ออายุใบอนุญาตขับรถและใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถที่ผ่านการอบรมภาคทฤษฎีออนไลน์ผ่านระบบ e-Learning ทางเว็บไซต์ www.dlt-elearning.com มาแล้ว สามารถนำ บัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับรถฉบับเดิม ผลผ่านการอบรมออนไลน์ พร้อมใบรับรองแพทย์ เข้ารับบริการต่ออายุใบอนุญาตขับรถได้โดยไม่ต้อง จองคิวล่วงหน้าได้ทุกสำนักงานขนส่ง ทั้งสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 5 และสำนักงานขนส่งทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป นอกจากนี้การขอรับใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคล (ชนิด 2 ปี เป็น 5 ปี) สิ้นอายุไม่เกิน 1 ปี การขอรับใบอนุญาต ขับรถระหว่างประเทศ การขอรับใบแทนใบอนุญาตขับรถที่ชำรุด สูญหาย หรือขอแก้ไขรายการ การขอหนังสือรับรองใบอนุญาตขับรถเป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ และการขอรับหรือ ขอต่อใบอนุญาตขับรถสาธารณะ สามารถเข้ารับบริการได้ทั้งจองคิวล่วงหน้า และ walk in ได้เช่นเดียวกัน โดยจะให้บริการผู้ที่จองคิวล่วงหน้าเป็นอันดับแรก ส่วนผู้ที่มิได้จองคิวมาจะเข้ารับบริการในลำดับถัดไป กรณีดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในวันนั้นเจ้าหน้าที่จะนัดคิวเพื่อดำเนินการต่อไป สำหรับชาวต่างชาติที่ประสงค์ต่อใบอนุญาตขับรถ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานครบถ้วนแล้วจะออกใบนัดเพื่อดำเนินการในโอกาสต่อไป

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง ข้อสอบใบขับขี่ 2566 ระบบตัดคะแนนความประพฤติ เสริมสร้างวินัยจราจร เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน เริ่มใช้ 9 มกราคม 2566 จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตามกรมการขนส่งทางบกยังคงดำเนินการตามมาตรการด้านสาธารณสุข (D-M-H-T-T-A) เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด ตั้งแต่การคัดกรองก่อนเข้าอาคาร เว้นระยะห่างตามมาตรการ Social Distancing พร้อมบริการจุดล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ เจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกผู้ให้บริการทุกคนได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาให้บริการ

รวมทั้ง ขอความร่วมมือประชาชนที่ติดต่อราชการ สวมหน้ากากอนามัยในการติดต่อราชการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดต่อแพร่กระจายของโรค ทั้งนี้ ขอประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างรับต่ออายุใบขับขี่บนโลกออนไลน์ ไม่ต้องอบรมหรือทดสอบ เพียงแค่จ่ายเงินก็รอรับใบขับขี่ที่บ้านได้เลย ซึ่งไม่เป็นความจริงอย่าหลงเชื่อโดยเด็ดขาด เพราะการทำใบขับขี่ต้องดำเนินการด้วยตนเองที่สำนักงานขนส่งเท่านั้น และ สามารถแจ้งเบาะแสมายังกรมการขนส่งทางบกได้โดยตรง หรือโทรสายด่วน 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอบคุณที่มา กรมการขนส่งทางบก

เรื่องราวที่น่าสนใจ ต่อใบขับขี่ 2566 ต้องทำยังไง เตรียมเอกสารอะไรบ้าง ขั้นตอน วิธีการ การต่ออายุใบอนุญาตขับขี่ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ ปีพ.ศ.2566

นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

จุดเน้น สพฐ.2567 นโยบายและจุดเน้น สพฐ.ปีงบประมาณ 2567 นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 

สวัสดีค่ะ สพฐ. ได้กำหนด จุดเน้น สพฐ. 2567 โดย นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 มีดังนี้ค่ะ

นโยบายของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗

๑. ด้านความปลอดภัย

๑.๑ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของสถานศึกษาให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย อบอุ่น มีความสุข เอื้อต่อการเรียนรู้ และส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ทักษะ ในการป้องกัน ดูแล ดําเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัย จากโรคภัย ภัยพิบัติ อุบัติภัย และภัยคุกคามทุกรูปแบบ สามารถปรับตัว ต่อโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ํา

๑.๒ พัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา รวมถึงการใช้ Big Data และแอปพลิเคชันในการเฝ้าระวังเชิงรุก ด้วยระบบมาตรฐานความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform) พร้อมทั้งจัดทําแผนบริหารจัดการด้านความปลอดภัย และ แผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (Business Continuity Plan: BCP)

ส่งเสริมให้ผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชน มีคุณลักษณะและพฤติกรรม ที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักรู้ และจิตสํานึกในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวรับมือต่อผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ๒. ด้านโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

๒.๑ ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ ๓ ปีขึ้นไปทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อให้เด็ก มีพัฒนาการที่ดีอย่างรอบด้าน พร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยการมีส่วนร่วม ของครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๒.๒ ส่งเสริม สนับสนุน ประชากรวัยเรียนที่มีอายุถึงเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับทุกคน ให้ได้รับโอกาส ทางการศึกษาที่มีคุณภาพ

๓. ด้านคุณภาพการศึกษา

๓.๑ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านให้เหมาะสมกับวัย รวมทั้งพัฒนาครูให้มีความรู้และทักษะการดูแลที่เพียงพอ มีจิตวิทยาพัฒนาการของเด็กปฐมวัย และสร้างกลไก ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพัฒนาการ ด้านการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

๓.๒ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้เรียนในระดับปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เห็นคุณค่าประวัติศาสตร์ และรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมไทย รวมถึงเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง รู้สิทธิ และหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ ดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง เพื่อให้เป็นพื้นฐานของสังคมไทย และเป็น “ซอฟต์พาวเวอร์” ในการสื่อสารภาพลักษณ์ของประเทศไทย และนําเสนอความเป็นไทยสู่สากล

๓.๓ ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนทุกระดับมีสมรรถนะที่จําเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล เหมาะสมตามช่วงวัย นําไปสู่การมีงานทํา มีอาชีพ และส่งเสริมความเป็นเลิศ ของผู้มีความสามารถพิเศษอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

๓.๔ ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้สู่สมรรถนะของผู้เรียน ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) และตามแนวคิดพหุปัญญา ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลการศึกษา รวมทั้งส่งเสริม การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ยืดหยุ่น ตามสภาพจริง ตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning) ที่เชื่อมโยงสู่การทํางานในอนาคต

๓.๕ ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ มีความรู้ สมรรถนะ ด้านวิชาการ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ พัฒนาผู้บริหารให้มี “ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง” ปรับบทบาทของครูจาก “ผู้สอน” เป็น “โค้ช” ที่อํานวยการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มุ่งการยกระดับครู สู่วิชาชีพชั้นสูง มีจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งมีจิตวิญญาณความเป็นครู

๔. ด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา

๔.๑ พัฒนาระบบการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยส่งเสริมบทบาท

ของภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ในการจัดการศึกษาและการร่วมลงทุนเพื่อการศึกษา เน้นการกระจายอํานาจสู่สถานศึกษาในโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ โรงเรียนในพื้นที่ นวัตกรรมการศึกษา โดยปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ระบบการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา ที่เอื้อให้สถานศึกษามีความเป็นอิสระในการบริหารด้านการจัดการศึกษา ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร

และด้านบริหารทั่วไป

๔.๒ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความครอบคลุมในทุกพื้นที่ พัฒนา แพลตฟอร์ม และนําระบบข้อมูลสารสนเทศมาเป็นกลไกหลักในการดําเนินงาน (Digitalize Process) การเชื่อมโยง และแบ่งปันข้อมูล (Sharing Data) ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยบูรณาการกับภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาตามบริบทของสถานศึกษา และพื้นที่ เพื่อให้การบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการบริการมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพสังคม รองรับภาวะวิกฤตและเหตุจําเป็นในอนาคต

๔.๓ ส่งเสริม พัฒนา แนวปฏิบัติและระบบสนับสนุน ให้สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนรู้ แบบผสมผสาน และการเรียนรู้ที่บ้านเป็นหลัก (Home based Learning) ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อแก้ไข ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Loss) เป็นรายบุคคล

๔.๔ ส่งเสริมประสิทธิภาพระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และพัฒนาระบบการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อนําผลไปใช้ในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาการบริหารจัดการศึกษา และการจัดการเรียนรู้

๔.๕ ส่งเสริม สนับสนุนให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา มีความเข้มแข็ง โดยยึดหลักการกระจายอํานาจ และการมีส่วนร่วมของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยึดถือระบบ คุณธรรม ความโปร่งใส และความเสมอภาคระหว่างบุคคล เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาเป็นสําคัญ ๔.๖ เสริมสร้างการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลภาครัฐ ให้กับหน่วยงานทุกระดับ

จุดเน้นของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ๑. เร่งปลูกฝังทัศนคติ พฤติกรรม องค์ความรู้ และทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ และปลอดภัย รวมทั้งรู้เท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์

๒. เร่งรัดการดําเนินงานเชิงรุกของหน่วยงานในสังกัด เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพและ ความปลอดภัย ทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ด้วยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และระบบมาตรฐานความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform) โดยบูรณาการความร่วมมือกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดําเนินงานอย่างทันท่วงที

๓. ค้นหา ติดตาม ป้องกัน เฝ้าระวัง และดูแลช่วยเหลือ เด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน เด็กกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ให้ได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาภาคบังคับ ด้วยรูปแบบในการ เข้าถึงการเรียนรู้ที่หลากหลาย

๔. ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับ และผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา การทํางาน หรือการฝึกอบรม (Not in Education, Employment or Training : NEETs) ให้ได้รับโอกาสในการศึกษาต่อ อย่างมีคุณภาพ หรือฝึกทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนรายบุคคล หรือรายกลุ่ม

๕. พัฒนาหลักสูตรที่เน้นสมรรถนะ ควบคู่กับการวิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตร รวมทั้งปรับปรุง หลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ที่เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อให้เห็นคุณค่าประวัติศาสตร์และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ

๖. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมไทย ให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทในปัจจุบัน เพื่อเป็นพื้นฐานของสังคมไทย และ เป็น “ซอฟต์พาวเวอร์” ในการสื่อสารภาพลักษณ์ของประเทศไทยและนําเสนอความเป็นไทยสู่สากล

๗. ส่งเสริม และพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดพหุปัญญา มีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมการวัดและ ประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning)

๘. ยกระดับการพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีจรรยาบรรณและมาตรฐาน วิชาชีพ รวมทั้งมีจิตวิญญาณความเป็นครูและเคารพสิทธิมนุษยชน ตลอดจนให้ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู

๙. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา โดยการกระจายอํานาจ ใช้พื้นที่เป็นฐาน ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมในการขับเคลื่อน ให้สอดคล้องกับการทํางานแบบรัฐบาลดิจิทัล

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

ดาวน์โหลดนโยบายและจุดเน้น สพฐ.2567 คลิกที่นี่

จุดเน้น สพฐ.2567 นโยบายและจุดเน้น สพฐ.ปีงบประมาณ 2567 นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 

จุดเน้น สพฐ.2567 นโยบายและจุดเน้น สพฐ.ปีงบประมาณ 2567 นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 

จุดเน้น สพฐ.2567 นโยบายและจุดเน้น สพฐ.ปีงบประมาณ 2567 นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 

จุดเน้น สพฐ.2567 นโยบายและจุดเน้น สพฐ.ปีงบประมาณ 2567 นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 

ดาวน์โหลดนโยบายและจุดเน้น สพฐ.2567 คลิกที่นี่

ขอบคุณเนื้อหาจาก สพฐ.

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง นโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2566 ประกาศสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายและจุดเน้น ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566