เช็กกันหน่อย ก.ค.ศ.ได้กำหนด ชั่วโมงสอน ต่อสัปดาห์ ของคุณครู สพฐ. ไว้อย่างไร

สวัสดีครับเว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมขอนำเรื่องราวที่น่าสนใจในแวดวงการศึกษามาฝากเช่นเคยนะครับ โดยวันนี้ขอนำเอาเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวของคุณครูมานำเสนออีกครั้งหนึ่งนะครับ นั่นคือเรื่องราวเกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงในการปฏิบัติการสอนที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดไว้เพื่อให้คุณครูสังกัดสพฐ. ที่ต้องการจะขอมีวิทยฐานะที่สูงขึ้นได้ถือปฏิบัติ โดยมีรายละเอียดในหนังสือ สำนักงานก.ค.ศ.ที่ ศธ ๐๒๐๖.๗ /๐๖๓๕ เรื่อง การกําหนดชั่วโมงการปฏิบัติงานและการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ที่สอดคล้องกับการขอมีหรือวิทยฐานะของคุณครู ตามหนังสือสํานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ ๐๒๐๖.๓/ว ๒๑ ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐  ดังนี้ครับ

การกําหนดชั่วโมงการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน

– สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส่งพร้อมหนังสือสํานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ ๐๒๐๖.๓๐๖๓๕ ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐)

ก.ค.ศ. มีมติกําหนดชั่วโมงการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ดังนี้

๑. ชั่วโมงการปฏิบัติงาน หมายถึง จํานวนชั่วโมงสอนตามตารางสอน งานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และงานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น

๑.๑ ชั่วโมงสอนตามตารางสอน หมายถึง จํานวนชั่วโมงสอนในวิชา/สาขา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่กําหนดไว้ตามหลักสูตร การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เรียน

๑.๒ งานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริม และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา และการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รวมทั้งงานสนับสนุน การบริหารสถานศึกษา เช่น งานวิชาการ งานบุคคล งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป เป็นต้น

๑.๓ งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น หมายถึง การปฏิบัติงานที่ตอบสนองนโยบายและ จุดเน้นของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการต้นสังกัด

๒. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครู ที่จะขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ต้องมีชั่วโมงสอนตามตารางสอน ตามข้อ ๑.๑ ดังนี้

ระดับการศึกษา ชั่วโมงสอนตามตารางสอน
๑. ปฐมวัย ไม่ต่ำกว่า ๖ ชั่วโมง/สัปดาห์
๒. ประถมศึกษา (รวมโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ หรือ โรงเรียนจัดการเรียนรวม) ไม่ต่ำกว่า ๑๒ ชั่วโมง/สัปดาห์
๓. มัธยมศึกษา (รวมโรงเรียนวัตถุประสงค์พิเศษ หรือ โรงเรียนจัดการเรียนรวม) ไม่ต่ำกว่า ๑๒ ชั่วโมง/สัปดาห์
๔. การศึกษาพิเศษ

๔.๑ เฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษ
๔.๒ ศึกษาสงเคราะห์และราชประชานุเคราะห์

 

๔.๑ ไม่ต่ำกว่า ๖ ชั่วโมง/สัปดาห์
๔.๒ ไม่ต่ำกว่า ๑๒ ชั่วโมง/สัปดาห์

 

ก.ค.ศ.ได้กำหนด ชั่วโมงสอน ต่อสัปดาห์ ของคุณครู สพฐ.
ก.ค.ศ.ได้กำหนดชั่วโมงสอน ต่อสัปดาห์ ของคุณครู สพฐ.
ก.ค.ศ.ได้กำหนด ชั่วโมงสอน ต่อสัปดาห์ ของคุณครู สพฐ.
ก.ค.ศ.ได้กำหนด ชั่วโมงสอน ต่อสัปดาห์ ของคุณครู สพฐ.

 

ลิงก์สำรอง : กำหนด ชั่วโมงสอน ต่อสัปดาห์ ของคุณครู สพฐ.

ขอบคุณที่มาของข้อมูลจาก : สพร.สพฐ.

 

การ์ดวันพ่อ พร้อมปริ้นระบายสีเขียนข้อความได้เลย

0

การ์ดวันพ่อ พร้อมปริ้นระบายสีเขียนข้อความได้เลย

แจกการ์ดวันพ่อระบายสี

การ์ดวันพ่อ พร้อมปริ้นระบายสีเขียนข้อความได้เลย สวัสดีค่ะ  ใกล้ถึงวันที่ 5 ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติแล้ว  ครูอัพเดตดอทคอม มีการ์ดสวยๆพร้อมปริ้นใช้งานสำหรับครูทุกท่านมาฝากค่ะ

ประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันพ่อแห่งชาติ

ใกล้จะถึงวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคมนี้แล้วนะคะ หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักวันพ่อแห่งชาติดีเท่าที่ควร วันนี้ศูนย์ข่าวการศึกษาไทยจึงอยากให้ทุกคนได้รู้จักวันพ่อแห่งชาติลึกซึ้งมากขึ้นค่ะ

จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น บิดา (พ่อ) ชนก (ผู้ให้กำเนิด) สามี (ของแม่) เป็นต้น
วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ”

ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฏิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันพ่อแห่งชาตินี้

1. ในวันพ่อแห่งชาติเราควรประดับธงชาติไทยที่อาคารบ้านเรือน

2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล

3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

 

การ์ดวันพ่อ
การ์ดวันพ่อ

  

โหลดไฟล์ WORD พร้อมปริ้นใช้งานที่นี่

 

ผลงานโดย  ครูอัพเดตดอทคอม

คุณครูอ่านที่นี่ รายละเอียดการสมัครสมาชิก ชพค. พร้อมเอกสารการสมัคร

0

สวัสดีค่ะคุณครูทุกท่านวันนี้ ครูอัพเดทดอทคอม มีรายละเอียดการสมัครสมาชิกชพค. มาฝากคุณครูทุกท่านค่ะ ซึ่งอาจจะมีคุณครูที่ยังไม่ได้ทำการสมัครสมัครสมาชิกชพค. อยู่ใช่ไหมคะ เดี๋ยวเรามาดูรายละเอียด
การสมัครสมาชิก การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา ชพค. ไปพร้อมกันเลยค่ะ

สมัครสมาชิก ชพค.

รายละเอียดสำหรับผู้มีสิทธิ์สมัครสมาชิกชพค. เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา ดังนี้

1.1 กระทรวงศึกษาธิการ
1.2 องค์การมหาชนหรือองค์กรในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
1.3 องค์กรปกครองท้องถิ่นกทมเทศบาลเมืองพัทยา
1.4 กระทรวงอื่นที่โอนจากกระทรวงศึกษาธิการตามพ.ร.บปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมพ.ศ. 2545
1.5 สหกรณ์ออมทรัพย์ครู

หลังจากทราบ รายละเอียด ผู้มีสิทธิ์สมัครสมาชิกชพค.แล้ว ไปดูคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิกกันเลยค่ะ โดยผู้สมัครจะต้องมีอายุไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์นับถึงวันสมัคร และต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1.ครู
2.คณาจารย์
3.ผู้บริหารสถานศึกษา
4.ผู้บริหารการศึกษา
5.บุคลากรทางการศึกษาอื่น
6.ผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
7.เป็นสมาชิกคุรุสภา

หากตรวจสอบคุณสมบัติกันแล้ว มาดูรายละเอียดของค่าสมัครกันเลยค่ะ เงินค่าสมัครกรณีปกติ 50 บาท
อายุไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์และเงินสงเคราะห์ล่วงหน้า 1,000 บาทรวมเป็นเงิน 1,050 บาท โดยในส่วนของ
การสมัครนั้นคุณครูสามารถดำเนินการสมัครได้ที่ สำนักงานสกสค.ตามจังหวัดที่คุณครูปฏิบัติงานอยู่ได้ทั่วประเทศเลยค่ะ

สำหรับเอกสารการสมัครสมัครสมาชิกชพค. ประกอบไปด้วยเอกสาร ดังนี้ค่ะ
1.ใบสมัครสมาชิกชพค สามารถ Download ได้จาก Link ด้านล่างเลยค่ะ
2. บัตรประชาชนฉบับจริง
3.สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมฉบับจริง
4.สำเนาใบสำคัญการสมรสพร้อมฉบับจริง
5.สำเนาใบเปลี่ยนชื่อสกุลพร้อมฉบับจริง
6.สำเนาคำร้องขอใช้คำนำหน้าหรือใช้ชื่อสกุลเดิม
7.ใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยแพทย์ซึ่งขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่เกิน 1 เดือน 8.สำเนาสมุดประจำตัวครูและใบอนุญาตให้บรรจุครูสำหรับครูสถานศึกษาเอกชน
9.สำเนาประวัติรับราชการกพ.
7 หรือสัญญาจ้างไม่น้อยกว่า 1 ปีกรณีลูกจ้างชั่วคราว

โดยใช้เอกสารประกอบการสมัครอย่างละ 1 ชุดยื่นสมัครด้วยตนเองเท่านั้นนะคะ

ครูอัพเดทดอทคอม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความรายละเอียดการสมัครสมาชิกชพค.ที่ได้จัดทำขึ้นในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อคุณครูที่มีความประสงค์จะสมัครสมาชิกชพค.นะคะ

ครูอัพเดตดอทคอม ต้องขอขอบคุณ ข้อมูลการสมัครสมาชิกชพคจากสำนักงานคณะกรรมการสกสค
สำนักอำนวยการ กลุ่มประชาสัมพันธ์เป็นอย่างสูงค่ะ

ใบสมัคร ชพค.กรณีปกติ

 

เขียนย้ายอย่างไรให้ได้ย้าย 7 สิ่งที่คุณครูควรทำ เพื่อให้มีโอกาสได้ย้ายโรงเรียน มากขึ้น

เขียนย้ายอย่างไรให้ได้ย้าย สวสัดีครับวันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมมีเรื่องราวดีดีมานำเสนอให้ทุกท่านได้รับทราบเช่นเคยครับ โดยวันนี้ครูอัพเดตขออนุญาตนำเสนอบทความที่เป็นเหมาะสำหรับคุณครูที่ต้องการย้ายสถานศึกษา ซึ่งการย้ายสถานศึกษาของคุณครูก็ใกล้เข้ามาอีกวาระหนึ่งแล้ว ซึ่งโดยปกติการส่งคำร้องขอย้ายของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สพฐ.นั้น

เขียนย้ายอย่างไรให้ได้ย้าย 7 สิ่งที่คุณครูควรทำ เพื่อให้มีโอกาสได้ย้ายโรงเรียนมากขึ้น (คุณครูจะเขียนย้ายอ่านเลย!)

จะเริ่มส่งคำร้องขอย้ายในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งสามารถส่งคำร้องขอย้ายได้เพียง 1 ครั้ง แต่จะสามารถพิจารณาอนุมัติย้ายได้ 2 รอบ ซึ่งตามกำหนดการจะมีการประกาศผลการย้ายข้าราชการครู รอบที่ 1 ช่วงเดือน เมษายน และ รอบที่ 2 ช่วงเดือน ตุลาคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงปิดภาคเรียนซึ่งจะทำให้คุณครูหรือโรงเรียนสามารถเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

โดยเมื่อเร็วๆนี้ครูอัพเดตดอทคอมก็ได้รับข้อความจากแฟนเพจfacebook ในประเด็นเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครูที่จะต้องทำอย่างไรจึงจะมีสิทธิ์ในการย้าย ดังนั้นวันนี้ครูอัพเดตจึงขอนำเสนอบทความ 7 สิ่งที่คุณครูต้องทำ เพื่อให้มีโอกาสได้ย้าย มากขึ้น ( คุณครูเขียนย้ายอย่างไรให้ได้ย้าย ) ดังนี้ครับ

1. ตรวจสอบโรงเรียนที่มีตำแหน่งว่าง ในเขตพื้นที่การศึกษาปลายทางต้องการเขียนย้าย การเขียนย้ายจะโอกาสมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการระบุโรงเรียนที่ต้องการย้าย คิดง่ายๆครับ ถ้าโรงเรียนปลายทางมีตำแหน่งว่างสำหรับรับย้ายครู ผู้ที่เขียนย้ายย่อมมีโอกาสได้รับการพิจารณา แต่กลับกันถ้าเราระบุโรงเรียนโดยไม่ตรวจสอบตำแหน่งว่างโอกาสย้ายก็จะมีน้อยลงแน่นอนครับ

หมายเหตุ : ข้อมูลโรงเรียนที่มีตำแหน่งว่างนี้บางเขตพื้นที่อาจจะมีการประกาศข้อมูล แต่บางเขตอาจไม่ประกาศข้อมูล เราควรสอบถามข้อมูลในส่วนนี้จากกลุ่มบุคคล ของเขตพื้นที่การศึกษาที่ฯ ที่เราต้องการย้ายไปครับ

2. ตรวจสอบวิชาเอกที่แต่โรงเรียนรับย้าย 

หลังจากที่ได้ตรวจสอบข้อมูลโรงเรียนที่มีตำแหน่งว่างแล้ว เราต้องมาตรวจสอบข้อมูลที่สำคัญอีกอย่างคือ ข้อมูลวิชาเอกที่ว่างของโรงเรียนปลายทางที่เราต้องการเขียนย้ายไป โดยปกติแล้วโรงเรียนปลายทางจะมีการระบุวิชาเอกที่ต้องการประมาณ 3 – 5 วิชาเอกโดยเรียงลำดับความสำคัญ ซึ่งมีกรณีตัวอย่างดังนี้

กรณีตัวอย่าง

โรงเรียนบ้านครูอัพเดต มีตำแหน่งว่างสำหรับรับย้าย 1 ตำแหน่ง โดยเรียงลำดับวิชาเอกไว้ดังนี้ 1. คณิตฯ 2.วิทย์ 3.ภาษาไทย 4.ภาษาอังกฤษ 5.คอมพิวเตอร์

การพิจารณาของกรรมการก็จะตรวจสอบไปที่ละลำดับความต้องการของโรงเรียน ว่ามีคนเขียนย้ายเข้ามาหรือไม่ ถ้าไม่มีจะพิจารณาลำดับถัดไปครับ ดังนั้นโรงเรียนนี้วิชาเอกที่ควรเขียนคือ คณิตฯ ครับ

3. เรียงลำดับโรงเรียน

จากข้อที่ 2 ได้แนะนำวิธีการเลือกโรงเรียนตามวิชาเอกไปแล้ว ทีนี้เราจะเรียงลำดับอย่างไรเป็นคำถามที่ตอบยากมาก เพราะโรงเรียนที่จะเลือกนั้นขึ้นอยู่กับคุณครูแต่ละท่าน ที่จะมาจัดเรียงลำดับ 3 โรงเรียน แต่ก็มีข้อแนะนำว่าควรเลือกระบุเฉาะโรงเรียนที่วิชาเอกหรือเราเป็นความต้องการของโรงเรียนอยู่ในลำดับแรก เพื่อให้มีโอกาสได้รับย้ายมากขึ้น และครูอัพเดตขอแนะนำเพิ่มเติมว่าถ้าคนที่ย้ายมาจากต่างเขตพื้นที่ฯ ควรระบุไว้ด้วยว่าโรงเรียนใดก้ได้ ในอำเภอ… ในเขตพื้นที่.. เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนโรงเรียนที่รับย้ายจากเดิมครับ

ส่วนคุณครูที่ต้องการย้ายในเขตพื้นที่ฯตนเองควรระบุโรงเรียนปลายทางให้ชัดเจน ในลำดับที่ 1-3 และ อาจจะระบุเพิ่มเติมว่าถ้าไม่ได้ตามโรงเรียนที่ระบุของระงับการย้าย ครับ

เรื่งราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการย้ายข้าราชการครู : การย้ายข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สพฐ. (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ. 2565

4. เขียนคำร้องขอย้าย

การเขียนคำร้องขอย้ายควรเขียนข้อมูลให้ครบตามแบบฟอร์ม และระบุข้อมูลเหตุผลในการย้ายให้ชัดเจนเพราะเหตุในการย้ายแต่ละข้อมีน้ำหนักคะแนนไม่เท่ากัน โดยเรียงลำดับดังนี้ 1.อยู่ร่วมคู่สมรส – ดูแลบิดามารดา >> 2.กลับภูมิลำเนา>> 3.อื่นๆ โดยปกติจะใช้เหตุผลที่มีน้ำหนักคะแนนมากที่สุด แต่ที่สำคัญต้องแนบเอกสารที่จำเป็น เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาก.พ.7

กรณีเหตุผลอยู่ร่วมคู่สมรส เพิ่ม>> สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาบัตรคู่สมรส สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส

กรณีเหตุผลดูแลบิดามารดา>> สำเนาบัตรบิดามารดา สำเนาทะเบียนบ้านบิดามารดา

กรณีเหตุผลกลับภูมิลำเนา >> สำเนาทะเบียนบ้าน

กรณีเหตุผลอื่นๆเช่น เจ็บป่วย >> ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลของรัฐ

5. จัดทำเอกสารประกอบคำร้อขอย้าย

การจัดทำเอกสารประกอบคำร้องขอย้ายถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก คะแนนการประเมินจะอยู่ในส่วนนี้ทั้งหมดถ้าไม่มีเอกสารประกอบคำร้องขอย้ายชุดนี้ก็จะไม่มีคะแนนประเมินครับ ท่านสามารถอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้จากบทความนี้ครับ เกณฑ์การย้ายครู รายละเอียดคะแนนตัวชี้วัด สังกัด สพฐ. การย้ายกรณีปกติ ประจำปี พ.ศ.2565

6. จัดเตรียมคำร้องขอย้ายและเอกสารประกอบคำร้องขอย้าย ให้ตรงกับจำนวนเล่มที่เขตพื้นที่การศึกษาปลายทางระบุ

ก่อนที่คุณครูจะส่งคำร้องขอย้ายและเอกสารประกอบคำร้องขอย้ายคุณครูต้องตรวจสอบก่อนว่า เขตพื้นที่การศึกษาปลายทางต้องการเอกสารกี่ชุด โดยตรวจสอบจากประกาศของแต่ละเขต เพื่อตามเงื่อนไขที่เขตปลายทางระบุครับ

7. ดำเนินการจัดส่งเอกสาร ภายในเวลาที่กำหนด (ด้วยตนเอง)

การดำเนินการจัดส่งด้วยตัวเองถือเป็นการสร้างความมั่นใจในการส่งเอกสารว่าเราได้ส่งแล้วตามหน้าที่ บางเขตพื้นที่เจ้าหน้าที่เขตจะมีเอกสารให้คุณครูลงลายมือชื่อยืนยันการส่งคำร้องด้วยนะครับ เพื่อป้องกันเอกสารสูญหายครับ

อย่างไรก็ดีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก็อาจจะมีหลายปัจจัยที่ทำให้การย้ายของคุณครูยังไม่ได้รับพิจารณาให้ย้ายโรงเรียน ดังนั้นครูอัพเดตดอทคอมจึงขอเป็นกำลังใจให้คุณครูทุกท่านที่อยู่ไกลบ้าน ไกลครอบครัว ให้ได้รับการพิจารณาย้ายทุกท่านด้วยนะครับ

สำคัญที่สุดอย่าลืม : รับรองสำเนาเอกสารประกอบการย้ายทุกฉบับ

ขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามข้อมูลนะครับ เราจะพยายามสรรหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาฝากคุณครูและผู้ที่สนใจด้านการศึกษาต่อไปครับ

คุณครูสามารถดาวน์โหลดคำร้องขอย้ายข้าราชการครูฯ ได้ที่ : แบบคำร้องขอย้ายครู และบุคลากรทางการศึกษา (กรณีปกติ) ปี พ.ศ.2565

ทีมงานครูอัพเดตดอทคอม

รวมเพลง ที่ใช้ในกิจกรรมลูกเสือ ทั้งลูกเสือสำรองและลูกเสือสามัญ

รวมเพลง ที่ใช้ในกิจกรรมลูกเสือ ทั้งลูกเสือสำรองและลูกเสือสามัญ

สวัสดีค่ะ  คุณครูทุกท่าน เทอมที่2 นี้กิจกรรมเยอะมากเลย เหนื่อยกันรึเปล่าน่าาา  สู้ๆนะคะ  วันนี้  ครูอัพเดตดอทคอม มีเนื้อเพลงที่ใช้ในกิจกรรมลูกเสือมากฝากกันจ้าา  เพื่อง่ายต่อการทำงาน  งานสอนงานอื่นก็เยอะอยู่แล้วเนอะ  วันนี้แจกเลยจ้า  โหลดไปปริ้นใช้ได้เลย  หรือนำไปแก้ไขลบเพลงที่ไม่ได้ใช้ออกก็ได้นะคะ  

ประวัติการลูกเสือโลก เกิดขึ้นแห่งแรกของโลกโดย ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ในประเทศอังกฤษเมื่อปีพ.ศ. 2450 จากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมืองมาฟอีคิง(Mafeking) ที่แอฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ได้ตั้งกองทหารเด็กช่วยสอดแนมการรบจนรบชนะข้าศึก เมื่อกลับไปยังประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คนไปฝึกทหารอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี ปี พ.ศ. 2451 ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกที่ประเทศอังกฤษ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมคนไว้เป็นทหารและฝึกให้คนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม ท่านลอร์ด เบเดน โพเอลล์ จึงได้แต่งหนังสือฝึกอบรมลูกเสือขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน โดยหนังสือเล่มดังกล่าวมีชื่อว่า Scouting for Boys และคำว่า Scout ซึ่งใช้เรียกแทนลูกเสือมีความหมายตามตัวอักษรคือ

S : Sincerity หมายถึง ความจริงใจ มีน้ำใสใจจริงต่อกัน
C : Courtesy หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน เป็นผู้มีมารยาทดี
O : Obedience หมายถึง การเชื่อฟังอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่ในโอวาท
U : Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้รักสามัคคี
T : Thrifty หมายถึง ความมัธยัสถ์ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

          การจัดตั้งลูกเสือในประเทศไทย ถือกำเนิดเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทราบเรื่องของลอร์ด เบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ในประเทศอังกฤษ เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทยได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้วิชาทหารเพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัยมีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ต่อมาใน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ดังนั้นในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จึงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งลูกเสือขึ้นในประเทศไทยนับเป็นประเทศที่สามของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา โดยทรงมีพระราชปรารภว่า เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายประถมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ลูกเสือกองแรกของไทย ตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง โรงเรียนวชิราวุธในปัจจุบัน และได้จัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียนต่างๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้นรวมทั้งพระราชทานคำขวัญให้ลูกเสือว่า เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือนายชัพน์ บุนนาค ในสมัยนั้นกิจการลูกเสือไทยเลื่องลือไปยังนานาชาติ ส่งผลให้กองลูกเสือที่ 8 ของประเทศอังกฤษ ได้มีหนังสือขอพระราชทานนามลูกเสือกองนี้ว่า กองลูกเสือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานให้ตามความประสงค์ ลูกเสือกองนี้ติดเครื่องหมายช้างเผือกที่แขนเสื้อทั้ง 2 ข้างและยังปรากฏอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้

เพลงลูกเสือดาวน์โหลดที่นี่คลิก

โดย  ครูอัพเดตดอทคอม

เปิด 5 ลักษณะสำคัญของ ครูที่ดี 

เปิด 5 ลักษณะสำคัญของ ครูที่ดี

สวัสดีครับ  ครูอัพเดตดอทคอม มีเรื่องราวดีๆ  เป็นข้อคิดเกี่ยวกับการทำงาน   มาฝากคุณครูครับ  อาชีพครู  เป็นอาชีพหนึ่งที่หลาย ๆ คนในสังคมจับตามอง เรา คุณครูจึงต้องเป็นครูที่มีความพร้อม มีทักษะ และรู้จักวางตัวดี อยู่ตลอดเวลา
และวันนี้จะขอกล่าวถึง  5 ลักษณะสำคัญของ ครูที่ดี  กันครับ

 

1.เป็นผู้รอบรู้
ครูที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีความรอบรู้   ทั้งสังคมและวัฒนธรรม   เช่น คุณครูเป็นคนภาคกลาง  แต่บรรจุรับราชการที่ภาคเหนือ  ก็ต้องเรียนรู้สังคม  และวัฒนธรรมของ นักเรียนในภาคเหนือ  และครูจะต้องสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ที่เป็นการพัฒนาเอกลักษณ์ทางภาคเหนือ   ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้ของนักเรียน  ตามหลักสูตรแกนกลาง  ของประเทศด้วย  โดยการสร้างสัมพันธภาพกับนักเรียน  และเรียนรู้พร้อมๆกัน

2.เป็นผู้ที่เข้าใจและเห็นคุณค่าของความแตกต่างของนักเรียน
ครูที่เข้าใจและเห็นคุณค่าของความแตกต่างของนักเรียน  จะทำให้จัดการเรียนการสอนเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน
แต่ละกลุ่ม  เพราะนักเรียนมีความแตกต่างกัน  มาจากต่างครอบครัว  มีพื้นฐานที่แตกต่างกัน  ทำให้เรียนรู้แตกต่างกัน
กิจกรรมการเรียนรู้  สื่อการสอน ก็ต้องแตกต่างกันตามความแตกต่างของนักเรียน

3.เป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์และประเมินพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรีย
ครูต้องใส่ใจกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างใกล้ชิดเพื่อวิเคราะห์ว่านักเรียนเรียนรู้  และประเมินพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียน  ตามตัวชี้วัดอยู่เป็นระยะๆ  ซึ่งการประเมินจะต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย   เพื่อวัดพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน   ซึ่งเรียนรู้แตกต่างกัน

4.เป็นผู้ที่มีทักษะในการสื่อสารที่ดีในการสอน 
ในการเรียนรู้ของนักเรียน  นักเรียนไม่สามารถเข้าใจได้อย่างเต็มที่  เท่ากันทุกคน  ครูที่มีลูกล่อลูกชน  จะสามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนให้สนใจในบทเรียน  เนื้อหานั้นๆ  สรุปง่ายๆคือมีการใช้ภาษาในการสอนที่ ไม่น่าเบื่อ   นักเรียนเรียนรู้แบบมีความสุข  สนุกสนาน   ซึ่งเป็นความท้าทายของคุณครูในยุคนี้  ที่นักเรียนสนใจสื่ออื่นมากกว่าครู  เช่น โทรศัพท์มือถือ

5.เป็นผู้มีความรู้เชิงลึกในวิชาเอกของตน  และมีเครือข่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์    ครูจำเป็นมีความรู้เชิงลึก   และมีเครือข่ายครูที่เป็นเอกเดียวกัน   คอยแลกเปลี่ยนแนวคิด   วิธีการสอน  ตลอดจนองค์ความรู้   มีความรู้ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน   แต่ความรู้พื้นฐานก็มีความจำเป็น   คุณครูที่มีองค์ความรู้พื้นฐานในสาขาของตนเองที่แน่น    ประกอบกับการแสวงหาความรู้ใหม่   ก็จะทำให้จัดการเรียนการสอนอย่างมั่นใจ   และเป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับนักเรียน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ  สำหรับข้อคิดดีๆในวันนี้   แอดมิน หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับคุณครูทุกท่านนะครับ

ผู้เขียน    ครูอัพเดตดอทคอม
แหล่งที่มา  Essential Qualities of a Good Teacher  สืบค้นเมื่อ  22  พฤศจิกายน   2562

คุณครู เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  จาก เงินเดือน เมื่อใด?

คุณครู เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  จาก เงินเดือน เมื่อใด?

 

สวัสดีครับ   ครูอัพเดตดอทคอม  มีความรู้เกี่ยวกับอัตรา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  มาฝากน้องๆที่เป็นครู  บรรจุใหม่
ทุกท่านครับ หรือแม้แต่ครู คศ.1 ที่สงสัยว่าตนเองจะถูกเขตพื้นที่หักภาษี เงินเดือน ณ  ที่จ่ายเมื่อใดวันนี้มีคำตอบครับ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คุณครู เสีย ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา  จาก เงินเดือน เมื่อใด?

 

ในปีภาษี 2562 กรมสรรพากรยังคงใช้อัตรา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบเดิม คือ เก็บภาษีแบบขั้นบันได  ตั้งแต่ 5-35% ของรายได้สุทธิ จากเงินเดือน  (หลังหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ แล้ว) แต่หากคุณครู
มีรายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท  ก็จะได้รับการ ยกเว้นภาษี (เขตพื้นที่ไม่ได้หักภาษีไว้)

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

 

ดังนั้น  คุณครู ที่มีเงินเดือน ประมาณ 25,833 บาท หรือมีรายได้ตลอดทั้งปีรวมแล้ว
ไม่เกิน 310,000 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนส่วนตัวรวม 160,000 บาทแล้ว จะเหลือเงินได้สุทธิ 150,000 บาท ซึ่งได้รับการ ยกเว้นภาษี

อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณครู  ที่มีเงินเดือนเกิน 25,833 บาท (เงินเดือน+วิทยฐานะ) หรือมีรายได้ตลอดทั้งปีมากกว่า 310,000 บาท ก็อาจไม่ต้องเสียภาษีได้เช่นกัน ถ้ามีค่าลดหย่อนต่าง ๆ มาช่วย ดังนั้น ใครมีรายได้เกินนี้ ต้องลองคำนวณภาษีและหักค่าลดหย่อนต่างๆกันดูดีๆ อีกทีครับว่า จะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินเดือน หรือไม่

 

แม้จะได้รับการ ยกเว้นภาษี   หรือเสียภาษี  คุณครูทุกท่านที่มีรายได้  ก็มีหน้าที่ในการยื่นแสดงรายได้ หรือยื่นภาษีประจำปี ทุกปีนะครับ

  อ้างอิง   พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่  470) พ.ศ.2551

 

4  ข้อควรปฏิบัติ ของ ผู้บริหาร (ผอ. โรงเรียน) ในยุคนี้

0

4  ข้อควรปฏิบัติ ของ ผู้บริหาร (ผอ. โรงเรียน) ในยุคนี้

 

สวัสดีครับ  ครูอัพเดตดอทคอม  มีเรื่องราวดีๆมาฝากคุณครูทุกท่าน  ตลอดจนท่าน ผู้บริหาร ทั้งมือใหม่และมือเก่าครับ  จากการที่แอดมินรับฟังคุณครูหลายๆโรงเรียน  กล่าวขวัญถึงท่านผู้บริหารโรงเรียน  หรือแม้แต่ท่านผู้บริหารเอง  พูดถึงคุณครูในโรงเรียน ทำให้ทราบว่ามี  4  ข้อควรปฏิบัติ ของผู้บริหาร(ผอ.โรงเรียน) ในยุคนี้  ทำแล้วส่งผลดีแน่นอนครับ

1) ควรมองให้ออกว่าสิ่งใดดีอยู่แล้ว
ผู้บริหารควรเริ่มต้นมองหาว่ามีอะไรบ้างในโรงเรียนที่มีอยู่แล้ว คุณเห็นว่าดีและควรทำต่อ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างที่มีอยู่จะไม่ดีไปเสียทั้งหมด   ถึงแม้ว่าครูอาจจะไม่สามารถทำแบบที่ทำอยู่ต่อไปได้แล้ว แต่ผู้บริหารสามารถดึงเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์จากโครงการเดิมมาบูรณาการเข้าสู่โครงการใหม่ได้

2) ควรให้ความสำคัญกับการสร้างสัมพันธภาพอันดีกับครู
หากขอให้ครูทำสิ่งใหม่ ลองเสี่ยง หรือริเริ่มอะไรใหม่ ๆ เราต้องมีความไว้วางใจกันในระดับหนึ่ง โดยความไว้วางใจนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีวัฒนธรรมการทำงานที่ดูแลสัมพันธภาพอันดี ซึ่งผู้บริหารจะมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับบุคลากรในโรงเรียนได้ก็ต่อเมื่อให้ความเคารพและสนับสนุนต่อผู้อื่น รวมถึงเชื่อมั่นว่าครูเป็นมืออาชีพ
มีครูผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า ผู้บริหารที่ดีที่สุดที่เขาเคยทำงานด้วย คอยสนับสนุนให้ครูและนักเรียนมีการพูดคุยกันอย่างเปิดกว้างอยู่ตลอด เมื่อสมาชิกในโรงเรียนรู้สึกว่ามีผู้อื่นให้คุณค่ากับตนเอง บรรยากาศของโรงเรียนก็เป็นไปในแง่บวกตลอดทั้งปี ในทางกลับกัน ผู้บริหารที่ออกคำสั่งให้ครูทุกคนส่งแผนการสอนทุกต้นสัปดาห์ แล้วมาจุกจิกเพิ่มอีก บรรยากาศของโรงเรียนเปลี่ยนไป งานสอนเป็นเรื่องยากพออยู่แล้ว นี่ยังมาทำให้ครูรู้สึกเหมือนไม่ได้รับความเคารพอีก

3) ควรทำงานนอกห้องทำงานบ้าง
ยิ่งผู้บริหารใช้เวลานอกห้องทำงานของตัวเองและมีปฏิสัมพันธ์กับครูและนักเรียนมากเท่าใด พวกเขาจะยิ่งสามารถสร้างบรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจได้มากขึ้นเท่านั้น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก “เป็นสิ่งที่พวกเราพึงทำ” บรรยากาศในห้องเรียนจะต่างไปมาก เมื่อผู้บริหารรู้จักนักเรียนในห้อง
ผู้บริหารควรออกมาลุยงานข้างนอกและร่วมงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับบุคลากรอื่น ๆ ถ้าผู้บริหารตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียนอย่างที่ควรเป็น ผู้บริหารจะทำงานกับครูเป็นทีม

4) ควรชวนผู้นำครู (ครูที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในโรงเรียน)มานำร่องโครงการใหม่ก่อนจะบังคับใช้ทั่วโรงเรียน
หากโครงการหรือความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ได้รับการทดสอบเบื้องต้นมาแล้วในโรงเรียนของตัวเอง และมีเพื่อนร่วมงานที่พวกเขาเชื่อถือ มาเล่าให้ฟังว่าผลเป็นยังไง มีปัญหาอะไร ดีต่อนักเรียนอย่างไร ต้องใช้เวลามากขนาดไหน รับรองโครงการหรือความคิดนั้นอีก ครูส่วนใหญ่บอกว่าพวกเขาก็ตัดสินใจเข้าร่วมด้วยได้ง่ายขึ้น

4  ข้อห้าม  ของ ผู้บริหาร (ผอ. โรงเรียน) ในยุคนี้

0

4  ข้อห้าม  ของ ผู้บริหาร (ผอ. โรงเรียน) ในยุคนี้

 

สวัสดีครับ  ครูอัพเดตดอทคอม  มีเรื่องราวดีๆมาฝากคุณครูทุกท่าน  ตลอดจนท่าน ผู้บริหาร ทั้งมือใหม่และมือเก่าครับ  จากการที่แอดมินรับฟังคุณครูหลายๆโรงเรียน  กล่าวขวัญถึงท่านผู้บริหารโรงเรียน  หรือแม้แต่ท่านผู้บริหารเอง  พูดถึงคุณครูในโรงเรียน ทำให้ทราบว่ามี  4  ข้อห้าม ที่ผู้บริหาร(ผอ.โรงเรียน) ในยุคนี้อย่าทำ  เพราะอาจนมาซึ่งผลเสียมากกว่าผลดีครับ

1) ห้ามพยายาม เปลี่ยนแปลงทันที ที่ย้ายมาโรงเรียน
การไปยืนประกาศต่อหน้าบรรดาบุคลากรในโรงเรียนตั้งแต่แรกเลยว่า ‘ต่อไปเราจะทำแบบนี้นะ’ รวมถึงทำเป็นเมินเฉยกับสิ่งที่มีอยู่ หรือตะลุยทำไป เหมือนว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จำเป็นนั้นเป็นวิธีการที่ผิด หากผู้บริหารต้องการการยอมรับและเปิดรับจากครู ผู้บริหารควรใช้เวลาปีแรกทั้งปีในการรับฟังความคิดเห็นของครู และสังเกตวัฒนธรรมของโรงเรียน เราอาจไม่เปลี่ยนอะไรในโรงเรียนเลยในปีแรก นอกจากการปรับภูมิทัศน์
ผู้บริหารไม่ควรสั่ง ให้ครูทำสิ่งที่เคยเห็นว่าดีในโรงเรียนเก่าของตัวเองกับโรงเรียนใหม่ แล้วหวังว่าทุกอย่างจะเป็นไปได้สวยเหมือนกัน ทุกโรงเรียนมีวัฒนธรรมของตัวเอง วัฒนธรรมของนักเรียนและวัฒนธรรมของครู ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเข้าใจสิ่งนี้ ไม่ใช่ว่าโครงการอย่างเดียวกันจะเหมาะไปกับทุกที่

2) ห้ามมองข้ามครูผู้มากประสบการณ์ในโรงเรียน
เป็นเรื่องง่ายที่จะโน้มน้าวให้ครูน้องใหม่ที่เพิ่งจะเข้ามาสอนเข้าร่วมโครงการใหม่ ครูที่ยังเด็กไม่มีประสบการณ์มากนัก มักไม่สามารถบอกได้ว่าโครงการใหม่นั้นจะกระทบนักเรียนและผู้สอนอย่างไร แต่ครูผู้มากประสบการณ์จะมีความรู้และวิจารณญาณ ครูเหล่านี้อยู่กับโรงเรียนในช่วงที่โรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วครั้งแล้วครั้งเล่า ประสบการณ์ที่พวกเขามี เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ผู้บริหารควรใส่ใจ ไม่ใช่ทำเป็นมองไม่เห็น
บางครั้งครูผู้มากประสบการณ์ถูกมองว่าเป็นพวกสงสัยไปทุกเรื่องและเฉื่อยในการตอบรับโครงการใหม่ แต่ความเป็นจริงแล้ว ครูกลุ่มนี้คือบุคคลที่ผู้บริหารควรเข้าหาเพื่อขอคำแนะนำและหาข้อมูลเชิงลึกมากที่สุด บุคลากรที่อยู่กับโรงเรียนมานานจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวให้บุคลากรอื่น ๆ เปิดรับโครงการใหม่อีกด้วย

3) ห้ามมั่นใจเกินไป
มีเส้นบาง ๆ ระหว่างการเป็นผู้นำและเป็นหัวหน้า ครูทุกคนมีแนวโน้มจะนับถือและทำตามผู้บริหารที่ดูมีความเป็นผู้บริหารอย่างแท้จริงอยู่แล้ว ผู้บริหารไม่ควรแต่ออกคำสั่งจากห้องทำงานของตัวเอง แต่ผู้บริหารควรออกมาลุยงานเคียงบ่าเคียงไหล่บุคลากรอื่น ๆ เดินเข้านอกออกในทุกห้องเรียน ได้พูดคุยสอบถามความต้องการของครู
เวลาของผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารไม่ได้สำคัญไปกว่าเวลาของครู ดังนั้น พวกเขาไม่ควรมาขอให้ครูทำสิ่งที่พวกเขาเองก็ไม่ยอมทำ

4) ห้ามเพิกเฉยต่อคำแนะนำหรือข้อมูลจากครูในโรงเรียน
ผู้บริหารควรเป็นผู้ฟังที่ดี โรงเรียนควรสร้างพื้นที่พูดคุยกับครูแบบจริงใจ และเคารพซึ่งกันและกันเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้พูดถึงข้อกังวลตลอดจนแสดงความคิดเห็น ต้องเปิดกว้างรับฟัง สิ่งที่ครูอยากจะบอกเล่าแบ่งปันด้วย
ถึงแม้ผู้บริหารจะไม่อาจทำตามทุกข้อแนะนำได้ แต่อย่างน้อย ผู้บริหาร ควรบอกเหตุผลให้ครูทราบ ว่าทำไมถึงไม่ได้ รวมถึงชี้แจงเหตุผลเบื้องหลังการตัดสินใจบางอย่างด้วย หากครูทราบว่าการที่พวกเขารับฟังและเต็มใจปฏิบัติตามความคิดริเริ่มใหม่นั้นสำคัญต่อผู้บริหาร พวกเขามีแนวโน้มจะยอมรับโครงการใหม่นั้นเพราะเห็นว่ามีความพยายามอย่างจริงจังที่จะริเริ่ม การยอมรับจะเพิ่มสูงขึ้นถึงแม้ว่าสิ่งใหม่นั้นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่พวกครูจะเลือก หากพวกเขามีสิทธิเลือกเองก็ตาม

กระทงใบเตยแบบง่ายๆ สไตล์ครูอัพเดตดอทคอม

0

กระทงใบเตย

สวัสดีค่ะ วันลอยกระทงก็ใกล้เข้ามาทุกที  วันนี้ครูอัพเดตมีสไตล์การทำกระทงแบบง่ายๆจากใบเตยมาฝากกันจ้า…ไปชมกันเลย…

แบบที่  1  ฐานกระทงทำด้วยใบเตย 2 สี สีอ่อนกับสีเข้มนำมาซ้อนกัน ตัดด้วยกรรไกรซิกแซก เย็บรอบกระทง แล้วนำใบเตยพักเป็นดอกกุหลายมาทำเป็นชั้นที่ 2 ตกแต่งด้วยดอกไม้ ปักธูปเทียน  เป็นอันลอยได้

แบบที่  2  ทำคล้ายแบบที่  1  แต่ง่ายกว่ามากคือทำแค่ชั้นเดียว ปักเป็นแนวตั้ง ประดับตกแต่งกระทงด้วยดอกไม้ก็นำไปลอยได้แล้วจ้า    แบบที่  3  แบบนี้ต้องพับใบเตยสอนแบบ  ชั้นแรกปักรอบด้วยการพับใบเตยแบบเป็นกุหลาบแบบบาน  ชั้นที่  2  พับใบเตยเป็นดอกกุหลายแบบตูม ปักรอบตกแต่ง            ด้วยดอกไม้ เป็นอันเสร็จ

ชอบแบบไหนกันบ้างเอ่ย  ลองนำไปทำกันดูนะคะ  หรือใครมีไอเดียดีๆเกี่ยวกับการนำกระทงก็นำมาแชร์กันได้จ้าา…

ผลงานโดย  ครูอัพเดตดอทคอม