คัดลายมือ รวมฟอนต์คัดลายมือ 3 แบบ พร้อมวิธีการสอนคัดลายมือ ดาวน์โหลดที่นี่! รวมฟอนต์คัดลายมือ 3 แบบ พร้อมวิธีการสอนคัดลายมือ สวัสดีค่ะคุณครู ผู้ปกครองและเต็กๆ เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ อยู่บ้างหยุดเชื้อเพื่อชาติ มีกิจกรรมอะไรทำกันบ้างคะ วันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมขอนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กๆค่ะ โดย รวมฟอนต์คัดลายมือ 3 แบบ พร้อมวิธีการสอนคัดลายมือ ซึ่งมีทั้งหมด 3 แบบด้วยกัน
แบบฝึก คัดลายมือ ภาษาไทย สำหรับฝึกคัดลายมือนักเรียน ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่
1. ฟอนต์สำหรับคัดลายมือแบบที่1
ฟอนต์สำหรับคัดลายมือ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดต้องขอขอบคุณท่าน ศน.สุวิทย์ Suwit Bangngirn ที่ได้ออกแบบและพัฒนาฟอนต์นี้ขึ้นมาให้เราๆท่านๆได้มีโอกาสนำไปใช้
รวมฟอนต์คัดลายมือ แบบที่ 1
ดาวน์โหลดที่นี่
2. ฟอนต์สำหรับคัดลายมือแบบที่2
ฟอนต์ Layiji คัดลายมือ ฟอนต์ Layiji คัดลายมือ๒
วันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตขอนำฟอนต์สำหรับคัดลายมือมาให้คุณครูได้นำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้นะครับ
ขอขอบคุณ คุณเลย์อิจิ และ www.f0nt.com เป็นอย่างสูงนะครับ
ลักษณะของแบบอักษรชุดนี้ เรียกได้ว่า เป็น “แบบเลีอก” ตามที่หนังสือ “โครงสร้างมาตรฐานตัวอักษรไทย” ของราชบัณฑิตได้บอกไว้ครับ
Update version 2.0 —————————-
เปลี่ยน Template ใช้ Naipol Template 2 แล้วครับ
เบื่อกับปัญหาสระลอยก็หันมาใช้ Kutlaimuu 2.0
ตัวนี้ได้เลยครับ
ส่วนกลอนมาจากหนังสือ “เรื่องสั้น ไม่มีวันสุด” ครับ
ดาวน์โหลดที่นี่ครับ
Layiji คัดลายมือ ๒
แตกต่างจาก Layiji คัดลายมือ๑ ตรงที่ขนาดจุดจะใหญ่กว่า สำหรับงานที่ใช้ตัวเล็กๆ ได้ ตัวเล็กที่สุดคือขนาด 36 pt ถ้าเล็กกว่านี้จะมองไม่เห็นจุดแล้ว
——————————–
คุณสมบัติพื้นฐาน
– วรรณยุกต์ไม่ลอยด้วย template ของทั่นนายพล แต่ใน preview นี้ยังลอยอยู่
– จัดระเบียบสังคม kurning ด้วยชุดตัวอักษรของนาย bubbleball จะเรียงระยะช่องไฟสวยงาม
———————————————————————————————————————–
ดาวน์โหลดที่นี่ครับ
3. ฟอนต์สำหรับคัดลายมือแบบที่3 ฟอนต์ Dot3
คุณลักษณะ
1. ฟอนต์ Dot3 ออกแบบสำหรับทำตัวอักษรลายจุด เพื่อให้เด็กเล็กหัดคัดลายมือทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เหมาะสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการสนับสนุนการศึกษาของลูกน้อย
2. Support Code Page 1252 และ 874 ซึ่งหมายความว่า compatible กับฟอนต์จำพวก Angsana New หรือ Cordia New
เพราะฉะนั้น Dot3 ควรจะใช้ได้กับโปรแกรมที่ใช้กับฟอนต์ข้างต้นได้
3. ชุดตัวอักษรใน Dot3 ประกอบด้วย อักษรไทย ตัวเลขไทย อักษรอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ อักษรอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลขอารบิก
ในส่วนของอักษรไทย ได้จัดทำสระ และวรรณยุกต์ให้ถูกต้องตามอักขรวิธี
อักษรและเครื่องหมายอื่นๆไม่มีการจัดทำไว้ให้ เนื่องจากมีจุดประสงค์เพียงแค่การคัดลายมือเท่านั้น
การใช้งาน
ขนาดที่เหมาะสมสำหรับตัวคัดลายมือ
อักษรไทย ขนาด 48 – 72 ปอยต์
ตัวเลขไทย ขนาด 72 ปอยต์
อังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่ ขนาด 48 ปอยต์
อังกฤษ ตัวพิมพ์เล็ก ขนาด 72 ปอยต์
เนื่องจาก Dot3 นี้เป็นจุด และมีความห่างระหว่างจุดค่อนข้างมาก ทำให้การแสดงผลทางจอมอนิเตอร์จะมองไม่ค่อยเห็น แม้ในขนาดใหญ่ถึง 72 ปอยต์ก็ตาม แต่ไม่มีผลกระทบต่องานที่พิมพ์ลงกระดาษแต่อย่างใด
แนะนำให้พิมพ์งานให้เสร็จก่อน แล้วค่อยกำหนดฟอนต์เป็น Dot3
License
อนุญาติให้ทำซ้ำ แจกจ่ายได้ไม่จำกัด เพื่อใช้ในการศึกษาและในครอบครัว โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่อนุญาตให้ใช้เพื่อการพาณิชย์
การสนับสนุน
หากท่านเห็นว่าได้รับประโยชน์จากฟอนต์นี้ และต้องการตอบแทนผู้จัดทำ ขอแนะนำให้ตักบาตรเช้า หรือเข้าวัดทำบุญ หรือบริจาคเงินให้โรงพยาบาลหรือสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ผู้จัดทำเชื่อว่าสิ่งที่ท่านทำจะส่งผลมาถึงผู้จัดทำแน่นอน
หวังว่างานเล็กๆชิ้นนี้จะมีส่วนช่วยในการศึกษาของเด็กๆตามสมควร
เสริมรุ่ง นทีจารุชิต
1 สิงหาคม 2545
ชื่นชมกับผลงาน : ครูผู้ตรวจจะเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นของนักเรียนในครั้งต่อไปอย่างเห็นได้ชัด เพราะนักเรียนจะเกิดกำลังใจ หรือแรงจูงใจที่อยากเขียนได้จำนวนสวยขึ้น เมื่อเทียบกับตัวเองในครั้งที่ผ่านมา และกับเพื่อนๆ
ดาวน์โหลดที่นี่ครับ
วิธีการสอนการคัดลายมือ
หลักการ
ลายมือแสดงถึงบุคลิกลักษณะนิสัย จิตใจ ครูจึงควรฝึกให้นักเรียนสามารถเขียนตัวอักษรให้สวยงาม สะอาด เรียบร้อย และถูกต้อง เพื่อเป็นการฝึกจิตใจนักเรียนให้ละเอียดประณีต มีสมาธิ และอดทน (สิ่งที่ครูควรเน้นและใส่ใจในการฝึก คือ ช่องไฟ วรรคตอน ตัวอักษรที่เสมอกัน)
รูปแบบการคัดลายมือ
๑. แบบกระทรวงศึกษาธิการ
๒. แบบขุนสัมฤทธิ์วรรณการ
๓. แบบอาลักษณ์
๔. แบบพระยาผดุงวิทยา
๕. แบบคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๖. แบบราชบัณฑิตยสถาน (ตัวสารบรรณ)
ลายมือ มี ๓ แบบ
๑. ตัวบรรจงเต็มบรรทัด
๒. ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
๓. หวัดแกมบรรจง
ขั้นตอนการฝึก
๑. สอนและฝึกการจับปากกา ดินสอ ให้เอียงปลายปากกา ดินสอไปข้างหน้าวางอยู่ที่ปลายนิ้วกลาง โดยมีนิ้วหัวแม่มือ กับนิ้วชี้จับหนีบขนานไป ส่วนนิ้วอื่นๆงอเข้าหาฝ่ามือ โดยไม่ต้องเกร็ง (เด็กรุ่นใหม่ ส่วนมากชอบจับปากกา ดินสอแบบตั้งตรง ทำให้นิ้วเกร็ง โก่ง เมื่อยนิ้วเร็ว โดยเฉพาะเห็นได้ชัดที่นิ้วชี้)
๒. ฝึกให้วางสมุดตรงๆ แต่แขนเอียง
๓. ฝึกให้นั่งตัวตรงเขียน หรือหมอบเขียนก็ได้ แต่สายตาควรห่างจากสมุด ๑ ฟุต
๔. ฝึกเขียนหัวพยัญชนะก่อน
๕. ฝึกการเขียนวางสระ วรรณยุกต์ให้สัมพันธ์กับพยัญชนะ
๖. ฝึกการเขียนพยัญชนะและสระ ให้ตัวอักษรมีเส้นหนักเส้นเบา หรือหนาบางตามแบบ (ควรให้นักเรียนใช้ปากกาหรือดินสอ เบอร์ ๗ ขึ้นไป เพื่อสามารถเขียนตัวอักษรหนักเบาได้ ถ้าใช้ปากกาเบอร์ ๕ ตัวอักษรจะคมและเส้นเล็ก)
๗. ฝึกการเล่นตวัดเส้นตัวอักษร แบบอาลักษณ์ จะทำให้เด้กเห็นความสวยงามของตัวอักษร ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย (เหมือนการใช้พู่กันเขียนตัวอักษรของชาติจีน จนดูมีชีวิตชีวา อ่อนไหวได้ เข้มแข็งได้)
เทคนิคการสอนคัดลายมือ
๑. ใช้รูปแบบตัวอักษรของคอมพิวเตอร์มาเป็นตัวอย่างช่วยฝึกเขียน เช่น Angsana, Cordia, TH saraban ฯลฯ เป็นต้น
๒. ทำตารางให้เขียน/คัดลายมือในช่อง ทำทั้งเส้นแนวตั้งและแนวนอน ไม่ใช่ทำแต่เส้นแนวนอนเท่านั้น เพื่อให้นักเรียนเคยชินในการเขียนตัวหนังสือตรง ไม่เอียงซ้ายเอียงขวา
วิธีตรวจ
1. ให้ดูว่าตัวอักษรที่นักเรียนเขียนตัวใด คัดได้สวยงาม ตัวตรง ลายเส้นมีหนักเบา อยู่ในกรอบช่องสี่เหลี่ยม ไม่ทับเส้น ครูผู้ตรวจก็ทำเครื่องหมายถูก หรือเครื่องหมายอะไรก้ได้ใต้ตัวอักษรนั้น
2. เสร็จแล้วให้ครูนับจำนวนเครื่องหมายที่ทำใต้่ตัวอักษรที่สวยงาม ว่ามีเท่าไหร่ ก็ให้ลงคะแนนตามนั้น โดยจะลงจำนวนที่ได้ และจากจำนวนทั้งหมด หรือ จะคิดเป็นร้อยละที่เขียนสวยจากจำนวนตัวอักษรทั้งหมดก้ได้
ลองทำดูนะครับคุณครู แล้วจะเห็นความแตกต่างที่นึกไม่ถึง ที่ครูจะภูมิใจความสำเร็จได้ทันที
ขอบคณที่มาของบทความ :
คุณ ณัฐวิทย์ พรหมศร