เอกสารลูกเสือต่างๆ แบบบันทึก แผนการสอน คู่มือ เพลง เกม และแบบทดสอบออนไลน์เกี่ยวกับลูกเสือ

เอกสารลูกเสือต่างๆ แบบบันทึก แผนการสอน คู่มือ เพลงเกี่ยวกับ ลูกเสือ

สวัสดีค่ะ คุณครูทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม ได้รวบรวมเอกสารต่างๆที่เกี่ยวกับกิจการลูกเสือไม่ว่าจะเป็น.    แบบบันทึก แผนการสอน คู่มือ เพลงเกี่ยวกับลูกเสือ เรารวบรวมมาไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คุณครูในการค้นหานะคะ

ช่วงนี้หลายๆโรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมลูกเสือขึ้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณครูค่ะ

คลิกที่ลิงก์เพื่อดาวน์โหลดได้เลย

แบบบันทึกการอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ไฟล์ Word แก้ไขได้ >> https://www.kruupdate.com/22566/

แบบบันทึกลูกเสือสามัญ การอยู่ค่ายพักแรม ลูกเสือสามัญ ไฟล์ Word แก้ไขได้ >> https://www.kruupdate.com/22526/

แบบบันทึกกิจกรรมเดินทางไกลลูกเสือสำรอง>>.                         https://www.kruupdate.com/20931/

รวมเพลง ที่ใช้ในกิจกรรมลูกเสือ ทั้งลูกเสือสำรองและลูกเสือสามัญ>> https://www.kruupdate.com/20463/

แผนการสอนลูกเสือ-เนตรนารี (ลูกเสือสำรอง-สามัญ-สามัญรุ่นใหญ่) >> https://www.kruupdate.com/36329/

ตัวอย่าง กระดาษคำตอบ O-net ม.3 ปีการศึกษา 2563 สอบ มีนาคม 2564

0

ตัวอย่าง กระดาษคำตอบ O-net ม.3 ปีการศึกษา 2563 สอบ มีนาคม 2564

สทศ. ได้ดำเนินการปรับแผนปฏิบัติการประจำปี ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสอบ o-net สำหรับ ปีการศึกษา 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่างๆและเพื่อให้การสอบ O-net  ในปีการศึกษา 2563 สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ค่าใช้อำนาจตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชกฤษฎีกา การตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติองค์การ
มหาชน พ.ศ 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบกับมติคณะกรรมการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติใน
การประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการดำเนินการจัด
การทดสอบ o-net ชั้น ป.6 และชั้น ม.3 ปีการศึกษา 2563 ดังนี้

1. ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการทดสอบ คือนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นป.6 และชั้นม.3 ในปีการศึกษา 2563 ทุกสังกัด
หรือเทียบเท่า

2.วิธีการสมัครสอบ
สถานศึกษาหรือนักเรียนสมัครผ่าน wwW.niets.or.th ระบบ สมัครและยืนยันการเข้าสอบ ในระหว่างวันที่ 25 มกราคมถึง 5 กุมภาพันธ์ 2564 โดยไม่เสียค่าสมัครสอบ

3.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสนามสอบ ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564

4. กำหนดการสอบ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สอบวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม 2564
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สอบวันเสาร์ที่ 13 และวันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม 2564

5.ประกาศผลสอบ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกาศผลสอบวันที่ 21 เมษายน 2564
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกาศผลสอบวันที่ 22 เมษายน 2564

6. การรายงานผลการทดสอบกรณีโรงเรียนยืนยันรายชื่อนักเรียน สทศ. จะรายงานผลการทดสอบระดับโรงเรียนทั้ง 6 ฉบับ และระดับรายบุคคล ส่วนกรณีนักเรียนสมัครสอบด้วยตนเองสทศ.จะรายงานผลการทดสอบระดับรายบุคคล

ตัวอย่าง กระดาษคำตอบ O-net ม.3 ปีการศึกษา 2563 สอบ มีนาคม 2564

 

 

ตัวอย่าง กระดาษคำตอบ O-net ม.3 ปีการศึกษา 2563 สอบ มีนาคม 2564

 

ตัวอย่างกระดาษคำตอบวิชาภาษาไทย 

ตัวอย่างกระดาษคำตอบวิชาภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างกระดาษคำตอบวิชาคณิตศาสตร์

ตัวอย่างกระดาษคำตอบวิชาวิทยาศาสตร์ 

 

เข้าเว็บไซต์ สทศ. เกี่ยวกับการจัดสอบระดับ ม.3 คลิกที่นี่

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของ ตัวอย่าง กระดาษคำตอบ O-net ม.3 ปีการศึกษา 2563 สอบ มีนาคม 2564 จากเว็บไซต์ สทศ.

คุณครูอย่าลืม ยื่นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 91 สิ้นสุดกำหนดยื่น 30 มิถุนายน 2564

0

คุณครูอย่าลืม ยื่นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 91 สิ้นสุดกำหนดยื่น 30 มิถุนายน 2564

สวัสดีค่ะ คุณครูทุกท่าน วันนี้ ครูอัพเดตดอทคอม มีข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับการยื่น ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 91 สิ้นสุดกำหนดยื่น 30 มิถุนายน 2564 มาฝากคุณครูทุกท่านค่ะ ซึ่งการยื่นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ประจำปี 2564 จะสิ้นสุดลง ในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 คุณครูอย่าลืมยื่นภาษีก่อนถึงวันดังกล่าวนะคะ

และหากคุณครูยังไม่เคย ยื่นภาษี เงินได้ บุคคลธรรมดา เลยสามารถดูขั้นตอนการยื่นภาษี เงินได้ บุคคลธรรมดา ได้จากลิงก์ด้านล่างเลยนะคะ

คุณครูอย่าลืม ยื่นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 91 สิ้นสุดกำหนดยื่น 30 มิถุนายน 2564

 

โดยขั้นตอนการยื่นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา เริ่มต้นจาก
1. เข้าสู่เว็บไซต์กรมสรรพากรที่ www.rd.go.th เลือก ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ‘63 “ยื่นออนไลน์”
2.เข้าสู่หน้าจอกองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ E-FILING เลือก “ยื่นแบบฯ ภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 ปี ภาษี 2563”
3.เข้าสู่ระบบ โดยระบบจะแสดงหน้าจอ Login ให้บันทึกหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านที่ได้รับอนุมัติจาก
กรมสรรพากร เลือก “เข้าสู่ระบบ”

4.ระบบจะแสดงหน้าจอสรุปข้อมูลประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ในปี ภาษี จากระบบ My Tax Account เลือก “ใช้ข้อมูลเพื่อยื่นแบบ”
5.เข้าสู่หน้าจอบันทึกข้อมูลการยื่นแบบ ซึ่งมี 6 หน้า ดังนี้
1. หน้าหลัก
2. เลือกเงินได้/ลดหย่อน
3. บันทึกเงินได้
4. บันทึกลดหย่อน
5. คำนวณภาษี
6. ยืนยันการยื่นแบบ

โดยจะต้องบันทึกข้อมูลเรียงตามลำดับแต่ละหน้าไปจนถึงหน้ายืนยันการยื่นแบบ แต่สามารถ
ย้อนกลับเพื่อแก้ไขข้อมูลในหน้าจอที่ผ่านมาแล้วได้

7.ยืนยันการยื่นแบบ  ระบบจะแสดงหน้าแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 แล้วแต่กรณี
ให้ตรวจสอบข้อมูลที่ได้บันทึกและจ านวนภาษีที่ช าระเพิ่มเติม หรือจ านวนภาษีที่ช าระไว้เกินค

8. ทำการพิมพ์แบบ ระบบจะแสดงแบบแสดงรายการ สามารถจัดเก็บเป็นไฟล์ PDF หรือพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้

อ่านขั้นตอนการยื่นภาษี เงินได้ บุคคลธรรมดา อย่างละเอียด คลิกที่นี่

เข้าระบบยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91

 

คุณครูอย่าลืม ยื่นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 91 สิ้นสุดกำหนดยื่น 30 มิถุนายน 2564

ครูอัพเดตอดอทคอม หวังว่า คุณครูอย่าลืม ยื่นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 91 สิ้นสุดกำหนดยื่น 30 มิถุนายน 2564 จะมีประโยชน์กับคุณครูทุกท่านนะคะ ไว้บทความถัดไป ครูอัพเดตดอทคอม จะนำรายการที่สามารถลดหย่อนภาษีได้มาฝากคุณครูค่ะ

แผนการสอนลูกเสือ – เนตรนารี (ลูกเสือสำรอง-สามัญ-สามัญรุ่นใหญ่) ดาวน์โหลดฟรี

แผนการสอนลูกเสือ-เนตรนารี (ลูกเสือสำรอง-สามัญ-สามัญรุ่นใหญ่) ดาวน์โหลดฟรี

วันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมขอนำสื่อการเรียนรู้ที่เป็น แผนการสอนลูกเสือ – เนตรนารี (ลูกเสือสำรอง-สามัญ-สามัญรุ่นใหญ่) หรือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาลูกเสือ มาเผยแพร่ให้คุณครูได้นำแผนการสอนลูกเสือ-เนตรนารี ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครับ ซึ่ง แผนการสอนลูกเสือ-เนตรนารี แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมดได้มาจาก : โรงเรียนไทยรัฐวิทยา๗๗(บ้านเนินสันติ) โรงเรียนนามนพิทยาคม โรงเรียนขามแก่นนคร ค่ะ

>> ตัวอย่าง คำอธิบายรายวิชาชั้น ป.1

วิชาลูกเสือหลักสูตรเตรียมลูกเสือสำรอง ดาวดวงที่ 1   ชั้นประถมศึกษาปีที่  1
มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติในเรื่องของประวัติการเริ่มกิจการลูกเสือสำรอง ประโยชน์การเป็นลูกเสือสำรอง เครื่องแบบและเครื่องหมายลูกเสือสำรอง นิทานเรื่องเมาคลี ระเบียบแถวท่าพัก รูปแถวต่าง ๆ การทำความเคารพรายบุคคลและเป็นหมู่ ประวัติการจับมือซ้าย คำปฏิญาณ กฎ คติพจน์ ของลูกเสือสำรอง การรักษาความสะอาดฟัน มือ เท้า และเล็บ การหายใจอย่างถูกวิธี การปฐมพยาบาลแผลขนาดเล็ก การขว้างและรับลูกบอล การม้วนหน้า การกระโดดกบ การปีนต้นไม้ การไต่เชือก การสำรวจและการเยือนสถานที่ใกล้เคียง การขอความช่วยเหลือการเรียนรู้ธรรมชาติของชีวิตสัตว์ สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ อันตรายที่เกิดจากไฟ และวิธีป้องกัน ความปลอดภัยในการเดินถนน และข้ามถนน การเก็บรักษาเสื้อผ้า รองเท้า การจัดและเก็บที่นอน การต้มน้ำร้อน การทำความสะอาดเครื่องใช้พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชกรณียกิจ พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับกิจการลูกเสือ เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี ธงชาติไทย ธงลูกเสือโลก ธงชาติอังกฤษ ธงชาติฟิลิปปินส์ การประดิษฐ์สิ่งของจากเศษวัสดุ  การเดินสะกดรอย การแสดงเงียบ การผูกเงื่อนพิรอด เงื่อนขัดสมาธิและประโยชน์ของเงื่อน การเก็บเชือก การปฏิบัติตนตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสำรอง มีทักษะในการสังเกต จดจำ การใช้มือ เครื่องมือการแก้ปัญหาและทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย มีความสามัคคี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเสียสละ บำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์ มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สร้างสรรค์งานฝีมือ สนใจและพัฒนาเรื่องของธรรมชาติ เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาทางกาย สติปัญญา จิตใจและศีลธรรมให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ ช่วยสร้างสรรค์สังคม ให้มีความเจริญก้าวหน้า ความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ จึงต้องปลูกฝังให้มีคุณลักษณะดังที่กล่าวมาแล้ว

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ร่างตัวอย่าง เครื่องมือ ประเมินสมรรถนะ 5 สมรรถนะ สำนักทดสอบทางการศึกษา (kruupdate.com)

จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ ที่คุณครูควรอ่าน!!!

จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ ที่คุณครูควรอ่าน!!!

สวัสดีครับข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีเรื่องสำคัญมานำเสนอ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับจรรยาบรรณ วิชาชีพครู ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เป็นมาตรฐานการปฏิบัติตนที่กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะขอผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะนำมาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ

โดยจะขอนําเสนอข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่านจะต้องนําไปประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการที่ดี ครูอัพเดตดอทคอม จึงได้นำมาให้ทุกท่านได้ศึกษาและทบทวน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

“วิชาชีพ” หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน และการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนการสนับสนุนการศึกษาให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ

“ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546

“ครู” หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน

“ผู้บริหารสถาศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้ปริหารสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน

“ผู้บริหารการศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา

“บุคลากรทางการศึกษาอื่น” หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา

“จรรยาบรรณของวิชาชีพ” หรือ จรรยาบรรณวิชาชีพครู หมายความว่า มาตรฐานการปฏิบัติตนที่กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะขอผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะนำมาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ

โดยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน ถือว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งมีทั้งหมด 5 หมวด 9 ข้อ ดังนี้

หมวด 1 จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ 1 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

หมวด 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

เรื่องที่น่าสนใจ >> จรรยาบรรณครู จรรยาบรรณวิชาชีพครู5 หมวด 9 ข้อ ที่คุณครูควรอ่าน!!!

หมวด 3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้อ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า

ข้อ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ

ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

หมวด 4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

หมวด 5 จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้อ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ครูอัพเดตดอทคอม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความจรรยาบรรณวิชาชีพครูนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านทุกท่านได้ไม่มากก็น้อย เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการที่ดี สาระความรู้ที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกหลายประการ ซึ่งครูอัพเดตดอทคอมจะได้นําเสนอในโอกาสต่อไป

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุรุสภา

>>จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ มาตรฐานการปฏิบัติตน ที่กําหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติตน ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ ครู พ.ศ. 2556

เปิด 5 ตำแหน่งในโรงเรียน ที่คุณครูควรลองไปรับตำแหน่ง!!

เปิด 5 ตำแหน่งในโรงเรียน ที่คุณครูควรลองไปรับตำแหน่ง!!

สวัสดีครับทุกท่านวันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมมีบทความเกี่ยวกับวงการครูไทยมาฝากครับ โดยปกติแล้วคุณครูในโรงเรียนทุกท่านก็จะมีหน้าที่หลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับลูกๆนักเรียนอยู่แล้ว ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่าในการสอนของคุณครูแต่ละท่าน มีความตั้งใจจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเต็มที่แน่นอน

แต่นอกจากกิจกรรมการสอนในห้องเรียนแล้วยังมีกิจกรรมอื่นๆที่นอกเหนือจากการสอนที่คุณครูจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการ ซึ่งในโรงเรียนก็จะมีมากมายหลายตำแหน่ง แต่วันนี้ขอแนะนำเฉพาะตำแหน่งที่ถือว่าเป็นสุดยอดตำแหน่งที่คุณครูหลายๆท่านถวิลหาอยากจะลองสัมผัสซักครั้ง ส่วนท่านที่สัมผัสแล้วต้องขอบอกเลยว่า “ไม่มาเป็นไม่รู้หรอกว่าสุดยอดแค่ไหน” จึงเป็นที่มาของบทความที่ว่า “เปิด 5 ตำแหน่งในโรงเรียน ที่คุณครูควรลองไปรับตำแหน่ง!! ”

ตำแหน่งนายทะเบียน

สำหรับตำแหน่งนายทะเบียนก็จะมีการดำเนินการต่างๆ ของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็น การลงทะเบียนนักเรียนใหม่ การย้ายนักเรียนเข้าและออก รวมถึงดำเนินการในส่วนต่างๆที่เกี่ยวกับนักเรียน แต่ช่วงที่ถือว่าเป็นจุดพีคของตำแหน่งนี้คือ ช่วงสิ้นปีการศึกษา จัดทำ ปพ.1 ปพ.2 และ ปพ.3 ช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงที่นักเรียนมาติดต่อมากสุดๆ ครับ

ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (DMC และ ระบบ E ต่างๆ)

สำหรับตำแหน่งนี้ต้องบอกเลยครับว่าเป็นตำแหน่งที่มีความสนุกอยู่ 3 ช่วงด้วยกันคือ ช่วง 10 มิ.ย. และ 10 พ.ย. และสิ้นปีการศึกษา ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบ DMC หรือ ระบบข้อมูลนักเรียนรายบุคคล เปิดระบบให้บันทึกข้อมูล ซึ่งถ้าเป็นนักเรียนใหม่ (เช่นอนุบาล) จะต้องกรอกข้อมูลใหม่ทั้งหมด แต่ถ้าเป็นนักเรียนเดิมต้องการบันทึกน้ำหนักส่วนสูง ความขาดแคลน ฯลฯ บางโรงเรียนนักเรียนมีเป็นร้อยเป็นพันคน ซึ่งคุณครูที่รับผิดชอบจะรู้ว่า ไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าได้เลย บางทีระบบเกิดมีปัญหา ย้าย server หรือ มีนักเรียนย้ายเข้าออกในช่วงใกล้ครับกำหนดส่งข้อมูล เป็นต้น ส่วนในะระบบอื่นๆก็จะมาเป็นช่วงๆและแต่โอกาสครับ

ตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงิน หรือ ครูการเงิน

สำหรับตำแหน่งคุณครูการเงินมีภาระกิจมากมาบ เช่น รับและจ่ายเงิน เรียนฟรี 15 ปี สรุปยอดรายรับประจำวันและนำฝากธนาคารและนำเอกสารส่งงานบัญชี  ตรวจสอบเอกสารการวางบิล จัดทำใบสำคัญจ่ายเงิน ติดตาม การใช้เงิน งาน / โครงการ ต่างๆ  เป็นต้น ซึ่งในการดำเนินการของคุณครูการเงินต้องมีเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและชัดเจน และเป็นไปตามกฏระเบียบที่กำหนด ที่มักมีคำกล่าวว่า ขาข้างหนึ่งเหยียบเข้าไปในคุกแล้ว ถ้าคุณครูไม่ตรวจสอบให้ถูกต้องครบถ้วนอาจจะมีปัญหาในภายหลังได้ ซึ่งช่วงเวลาสำคัญที่งานของคุณครูการเงินค่อนข้างชุกคือช่วงสิ้นปีงบประมาณ(ปีการศึกษา)นั้นเอง ที่ต้องสรุปการใช้จ่ายเงินต่างๆครับ

ตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัสดุ หรือ ครูพัสดุ

ตำแหน่งคุณครูพัสดุก็จะมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับครุภัณฑ์ วัสดุ ต่างๆที่ใช้ในโรงเรียน คุณครูในโรงเรียนต้องการสิ่งใด ขาดเหลืออะไรให้บอกครูพัสดุครับ นอกจากนี้คุณครูพัสดุยังต้องทำทะเบียนควบคุมครุภัณฑ์ในโรงเรียน ลงทะเบียนครุภัณฑ์ และมีการตรวจสอบครุภัณฑ์ประจำปี ว่าอยู่ครบหรือไม่ ชำรุดหรือเปล่า ถ้ามีครุภัณฑ์ใดชำรุดก็ให้แจ้งมาที่คุณครูพัสดุครับ ท่านก็จะซ่อมให้ครับ

ตำแหน่งครูอาหารกลางวัน

สำหรับตำแหน่งนี้จะมีอยู่เฉพาะโรงเรียนประถมศึกษา และ ขยายโอกาส ครับ เนื่องจากทางรัฐบาลได้จัดสรรเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันมาให้นักเรียนชั้น อนุบาลถึงป.6 ครับ ดังนั้นคุณครูอาหารกลางวันจะต้องมีโครงการอาหารกลางวัน รวมถึงการจัดการทุกเรื่องเกี่ยวกับอาหารกลางวันในโรงเรียน ทั้งเรื่องคุณภาพ คุณค่าทางอาหาร เป็นต้น ถ้าเป็นโรงเรียนใหญ่ๆหรือโรงเรียนที่มีความพร้อมอาจจะมีการจ้างแม่ครัวมาช่วยในการทำอาหารกลางวัน แต่บางโรงเรียนที่เงินน้อยไม่พอจ้างแม่ครัว คุณครูอาจจะเป็นคนจ่ายตลาด ทำเองทุกอย่างก็มีครับ

ดังนั้นครูอัพเดตดอทคอมชื่นชมคุณครูทุกท่านที่ตั้งใจอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เจริญเติบโตเป็นคนดีของสังคมและรับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามคำสั่งของโรงเรียนครับ

ทีมงานครูอัพเดตดอทคอม

ดาวน์โหลดที่นี่!! ข้อสอบจริง O-NET ปีการศึกษา 2562 พร้อมเฉลยทุกข้อ

0

ดาวน์โหลดที่นี่!! ข้อสอบจริง O-NET ปีการศึกษา 2562 พร้อมเฉลยทุกข้อ

สวัสดีครับ คุณครูทุกท่าน ช่วงนี้ก็ใกล้วันสอบ O-NET เข้ามาทุกที ถึงแม้ปีการศึกษา 2563 นี้ ทาง สพฐ. ได้แจ้งโรงเรียนห้ามนำคะแนน O-NET มาใช้ในการรับสมัครเด็กเข้าเรียน แต่คุณครูหลายท่านก็ยังคงมุ่งมั่นพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และมีความพร้อมในการทดสอบ O-NET เหมือนทุกๆปี วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม จึงได้นำข้อสอบของปีการศึกษา 2562 มาให้คุณครูได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานักเรียนให้มีความรู้เต็มศักยภาพ

ตามที่ สทศ. ได้เปิดระบบสมัครและยืนยันการเข้าสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (O-NET ป.6) และมัธยมศึกษาปีที่ 3 (O-NET ม.3) ประจำปีการศึกษา 2563 นั้น โดยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สอบวันที่ 13 มีนาคม 2564 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สอบวันที่ 13-14 มีนาคม 2564 นั้น

ดาวน์โหลดที่นี่!! ข้อสอบจริง O-NET ปีการศึกษา 2562 พร้อมเฉลยทุกข้อ

ในการนี้ สทศ. ได้ดำเนินการปรับแผนปฏิบัติการประจำปีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสอบ O-NET สำหรับปีการศึกษา 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน ในสถานศึกษาต่าง ๆ และเพื่อให้การสอบ O-NET ในปีการศึกษา 2563 สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการดำเนินการจัดการทดสอบ O-NET ชั้น ป.6 และชั้น ม.3 ปีการศึกษา 2563 ดังนี้

1. ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการทดสอบ คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้น ป.6 และชั้น ม.3 ในปีการศึกษา 2563 ทุกสังกัดหรือเทียบเท่า

2. วิธีการสมัครสอบ สถานศึกษาหรือนักเรียนสมัครผ่าน niets.or.th “ระบบสมัครและยืนยันการ เข้าสอบ” ในระหว่างวันที่ 25 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 2564 โดยไม่เสียค่าสมัครสอบ

3. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสนามสอบ ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564

4. กำหนดการสอบ

– ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สอบวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม 2564

– ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สอบวันเสาร์ที่ 13 และวันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม 2564

5. ประกาศผลสอบ

– ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกาศผลสอบวันที่ 21 เมษายน 2564

– ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกาศผลสอบวันที่ 22 เมษายน 2564

6. การรายงานผลการทดสอบ กรณีโรงเรียนยืนยันรายชื่อนักเรียน สทศ. จะรายงานผลการทดสอบระดับโรงเรียน (ทั้ง 6 ฉบับ) และระดับรายบุคคล ส่วนกรณีนักเรียนสมัครสอบด้วยตนเอง สทศ. จะรายงานผลการทดสอบระดับรายบุคคล

ดาวน์โหลดไฟล์ข้อสอบ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

          ภาษาไทย คลิกที่นี่

          ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่

          คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่

          วิทยาศาสตร์ คลิกที่นี่

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

          ภาษาไทย คลิกที่นี่

          ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่

          คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่

          วิทยาศาสตร์ คลิกที่นี่

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สทศ.

เส้นทางสู่สายงานบริหารสถานศึกษา ตรวจสอบ คุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ว3/2564

0

เส้นทางสู่สายงานบริหารสถานศึกษา ตรวจสอบ คุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ว3/2564

สวัสดีครับ คุณครูทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม ได้นำมาตรฐานตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์ ว3/2564 ลงวันที่ 26 มกราคม 2564 มาให้คุณครูที่สนใจและมีความมุ่งมั่นพัฒนาตนเองเพื่อเปลี่ยนสายงานจากสายงานการสอนเป็นสายงานบริหารสถานศึกษา ได้อ่านศึกษารายละเอียดของหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อที่จะเตรียมตัวก้าวไปสู่สายงานบริหารสถานศึกษาในอนาคต โดยเฉพาะที่สำคัญคือคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ทั้งตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูอัพเดตดอทคอมจึงได้สรุปย่อมาให้คุณครูทุกท่านได้ตรวจสอบคุณสมบัติของตัวเองกันครับ

มาตรฐานตำแหน่ง
ชื่อตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

หน้าที่และลวามรับผิดชอบ
มีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการบังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและบุคลากร ในสถานศึกษารองจากผู้อำนวยการสถานศึกษา และช่วยปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ บริหารจัดการสถานศึกษา บริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธิ์และนวัตกรรม บริหารงานชุมชนและเครือข่าย รวมทั้งพัฒนาตนเองและวิชาชีพ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
การปฏิบัติงานของรองผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นการช่วยปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสถานศึกษา ซึ่งต้องมีการบูรณาการงานทั้ง 5 ด้าน ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกัน ดังนี้

1. ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ
1.1 พัฒนามาตฐานการเรียนรู้ วางแผน ตรวจสอบ ทบทวน จัดทำ และพัฒนาหลักสูตร ประสานงานวิชาการ และนำหลักสูตรไปใช้ ให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะและการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ

1.2 ปฏิบัติการสอน พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลการจัตการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีความพร้อมในการดำรงชีวิตในปัจจุบันและอนาคต

1.3 ส่งเสรีม สนับสนุน การพัฒนา หรือ การนำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดและสร้างนวัตกรรมได้

1.4 นิเทศ กำกับ ติดตม และประเมินผล การจัตการเรียนรู้ของครู โดยส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างและสนับสนุนให้สถานศึกษเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

1.5 ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

1.6 จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

2. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
2.1 บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรในสถานศึกษา และบริหารกิจการของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ

2.2 บริหารงนบุคคล บริหารงบประมาณ และบริหารทั่วไปของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบาย และเป็นไปตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

2.3 ส่งเสริมและพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ให้มีสมรรถนะเต็มตามศักยภาพ โดยเน้นทักษการใช้ภาษไทยและภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่น และทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยวิธีการต่างๆ อย่างเหมาะสม

2.4 บริหารกิจการผู้เรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

2.5 จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้มีโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ

3. ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม
3.1 กำหนดนโยบาย แผนกลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาร่วมกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ขุมชน และเครือข่าย โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นฐาน เพื่อเป็นแนวทางเชิงรุกในการพัฒนาสถานศึกษา และคุณภาพผู้เรียน

3.2 นำนโยบาย แผนกลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาไปปฏิบัติ ส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตาม ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนด

3.3 สร้างหรือนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาและผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต

3.4 สร้างการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษา ให้เกิดการพัฒนาสถานศึกษาอย่างยั่งยืน

4. ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย
4.1 สร้างและพัฒนาความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์กับผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้อง ชุมชนและเครือย่าย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม การดูแลช่วยเหลือและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

4.2 จัดระบบการให้บริการในสถานศึกษา ประสานความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่าย ในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ให้บริการด้านวิชาการแก่ชุมชน และงานจิตอาสา เพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้แก่ผู้เรียน สถานศึกษา และชุมชน และเสริมสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่น

5. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
5.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยแลภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา และความรอบรู้ในการบริหารงานให้สูงขึ้น

5.2 มีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการศึกษา

5.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพครูและผู้เรียน

5.4 สร้างและสนับสนุนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีจิตสำนึกความรับผิดชอบในการบริหารสถานศึกษา และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

2. ดำรงตำแหน่ง หรือ เคยตำรงตำแหน่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้

     2.1 ตำแหน่งครู ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการ

     2.2 ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าศึกษานิเทศก์ชำนาญการ

     2.3 ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ที่มีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าชำนาญการ มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

     2.4 ตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า

ความรู้และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ กฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และมีความรอบรู้ทั่วไป
2. มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง

คุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ว3/2564

 

มาตรฐานตำแหน่ง
ชื่อตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา

หน้าที่และความรับผิดชอบ
มีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักในการบังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรในสถานศึกษา และปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ บริหารจัดการสถานศึกษา บริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม บริหารงานชุมชนและเครือข่าย รวมทั้งพัฒนาตนเองและวิชาชีพ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
การปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสถานศึกษา ต้องมีการบูรณาการงานทั้ง 5 ด้าน ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกัน ดังนี้

1. ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ
1.1 พัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ วางแผน ตรวจสอบ ทบทวน จัดทำ และพัฒนาหลักสูตร ประสานงานวิชาการ และนำหลักสูตรไปใช้ ให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะและการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ

1.2 ปฏิบัติการสอน พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ที่นั้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีความพร้อมในการดำรงชีวิตในปัจจุบันและอนาคต

1.3 ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนา หรือ การนำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดและสร้างนวัตกรรมได้

1.4 นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล การจัดการเรียนรู้ของครู โดยส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนทางวิชาชีพ ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างและสนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

1.5 ศึกษา วิเคราะ สังเคราะห์ หรือวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

1.6 จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษภายในสถานศึกษา เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

2. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
2.1 บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรในสถานศึกษา และบริหารกิจการของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ

2.2 บริหารงานบุคคล บริหารงบประมาณ และบริหารทั่วไปของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบาย และเป็นไปตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

2.3 ส่งเสริมและพัฒนาข้าราการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ให้มีสมรรถนะเต็มตามศักยภาพ โดยเน้นทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่น และทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยวิธีการต่างๆ อย่างเหมาะสม

2.4 บริหารกิจการผู้เรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

2.5 จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนให้มีโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ

2.6 ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสถานศึกษา

3. ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม
3.1 กำหนดนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาร่วมกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ขุมชน และเครือข่าย โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นฐาน เพื่อหาแนวหางเชิงรุกในการพัฒนาสถานศึกษา และคุณภาพผู้เรียน

3.2 นำนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาไปปฏิบัติ ส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตาม ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนด

3.3 สร้างหรือนำนวัตกรม เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาและผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต

3.4 สร้างการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษา ให้เกิดการพัฒนาสถานศึกษาอย่างยั่งยืน

4. ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย
4.1 สร้างและพัฒนาความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์กับผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้อง ชุมชนและเครือข่าย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม การดูแลช่วยเหลือและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

4.2 จัดระบบการให้บริการในสถานศึกษา ประสานความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่าย ในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ให้บริการด้านวิชาการแก่ชุมชน และงานจิตอาสา เพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้แก่ผู้เรียน สถานศึกษา และชุมชน และเสริมสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่น

5. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
5.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา และความรอบรู้ในการบริหารงานให้สูงขึ้น

5.2 มีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการศึกษา

5.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนา การบริหารจัดการสถานศึกษา รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพครู และผู้เรียน

5.4 สร้างและสนับสนุนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม ประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีจิตสำนึกความรับผิดชอบในการบริหารสถานศึกษา และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

2. ดำรงตำแหน่ง หรือ เคยดำรงตำแหน่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้

     2.1 ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี และมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่ารองผู้อำนวยการชำนาญการ

     2.2 ตำแหน่ครู ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการพิเศษ และมีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

     2.3 ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ และมีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าหน่วย หรือผู้อำนวยการกลุ่ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

     2.4 ตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า

ความรู้และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานในหน้าที่ กฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และมีความรอบรู้ทั่วไป
2. มีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำแหน่ง

คุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ว3/2564

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์สำนักงาน ก.ค.ศ. ครับ

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงาน ก.ค.ศ.

วิธีการคำนวณอัตรากำลัง ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด

0

จากผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 1/2564 ในวันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2564 โดยมีนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สำคัญ ดังนี้

           1. เห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา 

สืบเนื่องจาก ก.ค.ศ. ได้มีมติเห็นชอบเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สพฐ. (ว 23/2563) และได้แจ้งเวียนให้กับส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ พร้อมทั้งแจ้ง คปร. เพื่อทราบแล้วนั้น ต่อมาสพฐ. ได้มีหนังสือขอชะลอการบังคับใช้เกณฑ์อัตรากำลังฯ มายัง ก.ค.ศ. โดยขอเริ่มบังคับใช้ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เนื่องจาก สพฐ. ได้จัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตและสำนักริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยพิจารณาจากความขาดอัตรากำลังข้าราชการครูในสถานศึกษา ตามเกณฑ์อัตรากำลังฯ เดิม ประกอบกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้ดำเนินการบริหารอัตรากำลังข้าราชการครูในสถานศึกษา โดยพิจารณาตามเกณฑ์อัตรากำลังฯ เดิม ทั้งในส่วนของการสรรหา และการพิจารณาย้ายข้าราชการครูในสถานศึกษาลงในตำแหน่งว่าง ซึ่ง ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วเห็นว่า สพฐ. ได้ดำเนินการจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตและสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ นำไปจัดสรรอัตราว่าง จากการเกษียณอายุราชการฯให้สถานศึกษาในสังกัด โดยพิจารณาจากข้อมูลความขาดอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2563 ตามเกณฑ์อัตรากำลังฯ เดิม ประกอบกับเจตนารมณ์ของ ก.ค.ศ. ในการกำหนดเกณฑ์อัตรากำลังฯ ใหม่ (ว 23/2563) คือ เพื่อให้สถานศึกษาทุกแห่งมีอัตรากำลังที่เหมาะสมกับบริบท สามารถจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีคุณภาพ และเพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กให้สูงขึ้น มีครูครบชั้น ครบวิชา

ซึ่ง ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อประโยชน์ของทางราชการและคุณภาพการศึกษาของประเทศ จึงให้ สพฐ. ดำเนินการบริหารอัตรากำลังในสถานศึกษาซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการตามเกณฑ์อัตรากำลังฯ เดิม จนถึงสิ้นปีการศึกษา 2563 และให้บริหารอัตรากำลังในสถานศึกษาตามเกณฑ์อัตรากำลังฯ ใหม่ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป

ไปดูวิธีการคำนวณอัตรากำลัง ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด กันเลยค่ะ
โดยสามารถดูเทียบได้จากตารางที่ 1 การกำหนดอัตรากำลังในสถานศึกษา หาก คุณครูมีนักเรียน 500คน ก็จะอยู่ในช่วง 360 – 719 นั่นก็หมายความว่า สายงานบริหารสถานศึกษา จะต้อง มี ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 อัตรา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 อัตรา และในส่วนของสายงานการสอน ก็จะต้องคำนวณตามสูตรการคำนวณค่ะ

โดยมีสูตรการคำนวณอัตรากำลังสายงานการสอนดังนี้ คือ อัตรากำลัง จะมาจาก จำนวนห้องเรียนแต่ละระดับการศึกษา คูณกับ ชั่วโมงเรียนตามหลักสูตรต่อสัปดาห์ หารด้วย ชั่วโมงการปฏิบัติงานของครู 1 คน ต่อ สัปดาห์ (20ชั่วโมง) ตามสูตรในภาพเลยนะคะ

 

และจากภาพนี้จะเป็นตัวอย่างการคำนวณอัตรากำลัง ในกรณีโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 119 คนลงมานั่นเองค่ะ

 

โดยในส่วนของโรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาให้คำนวณแยกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
สายงานบริหารสถานศึกษา และสายงานสนับสนุนการศึกษา ให้นำจำนวนนักเรียนรวมกันทั้งหมด แล้วนำจำนวนนักเรียนที่ได้ไปเปรียบเทียบค่า ในตารางที่ 1
สายงานสอน ให้นำจำนวนห้องเรียนในแต่ละระดับการศึกษา ชั่วโมงเรียนตามหลักสูตรต่อสัปดาห์ และชั่วโมงการปฏิบัติงานของครู 1 คน ต่อสัปดาห์ตามตารางที่ 2 มาคำนวณตามสูตรที่กำหนด

 

อ่านหลักเกณฑ์ อัตรากำลัง ว. 23/2563 คลิกที่นี่ 

ครูอัพเดตดอทคอม หวังว่า วิธีการคำนวณอัตรากำลัง ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด จะมีประโยชน์กับคุณครูทุกท่านนะคะ

แนวทางดำเนินงาน ประเมินคุณภาพผู้เรียน NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน RT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563

0

แนวทางดำเนินงาน ประเมินคุณภาพผู้เรียน NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน RT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีโครงการประเมินคุณภาพผู้เรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2526 เป็นต้นมา วัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อตรวจสอบความสามารถพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งในด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้ครูผู้สอนมีข้อมูลความสามารถด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน สำหรับนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล และทราบถึงสาระการเรียนรู้ที่ต้องปรับปรุงและพัฒนา นำข้อมูลไปสู่การปรับวิธีเรียนปลี่ยนวิธีสอนในปีการศึกษาถัดไป อีกทั้งทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้รู้จุดที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนาผู้เรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น

สำนักทดสอบทางการศึษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโครงการประเมินคุณภาพผู้เรียน ปีการศึษา 2563 จำนวน 2 โครงการ คือ 1) โครงการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึษาปีที่ 3 และ 2) โครงการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สรุปดังนี้

1. หลักการและแนวคิด

การประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT)ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นการประมินที่มุ่งเน้นการตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานและตัวชี้วัด เพื่อวินิฉัยสิ่งที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคล เน้นนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้น เป็นการเตรียมความพร้อมผู้เรียนก่อนการเรียนในปีการศึกษาต่อไป ครูผู้สอนสามารถผลการประเมินไปใช้ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน และวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล

2. วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจสอบความสามารถพื้นฐานในด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ของผู้เรียน ระดับชั้นประถมศึษาปีที่ 3 และเพื่อตรวจสอบความสามารถในการด้านการอ่านออกเสียง และการอ่านรู้เรื่อง ของผู้เรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

แนวทางดำเนินงาน ประเมินคุณภาพผู้เรียน NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน RT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563

3. กรอบการประเมิน

3.1 กรอบการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ความสามาถด้านภาษาไทย และความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

3.2 กรอบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ความสามารถด้านการอ่านออกเสียง และความสามารถด้านการอ่านรู้เรื่องที่เน้นการประเมินภาคปฏิบัติ (Performance Assessment)

4. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และกลุ่มเป้าหมายการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากสถานศึกษาในสังกัดต่าง ๆ ทั่วประเทศจำนวน 8 สังกัด ประกอบด้วย 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3) กระทรวงการอุดมศึษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 4) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 5) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 6) สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร 7)สำนักการศึกษาเมืองพัทยา และ 8) การจัดการศึกษาโดยครอบครัว(Homeschool)

5. กำหนดการประเมิน

5.1 กำหนดการการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) คือ สอบวันที่ 24 มีนาคม 2564 และประกาศผลวันที่ 5 พฤษภาคม 2564

5.2 กำหนดการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) คือ สอบระหว่างวันที่ 8 – 12 มีนาคม 2564 และประกาศผลวันที่ 20 เมษายน 2564

แนวทางดำเนินงาน ประเมินคุณภาพผู้เรียน NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน RT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563

6. แนวทางการดำเนินงานประเมินคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2563

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยังคงมีการดำเนินการประเมิคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563

6.1 การประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

(1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน จัดพิมพ์เครื่องมือประเมินคุณภาพผู้เรียนชั้นประถมศึกษาที่ 3 ตามจำนวนข้อมูลผู้เรียนที่สถานศึกษานำเข้าในระบบในแพลตฟอร์มการบริหารจัดการสอบ (NT Access) ที่สำนักทดสอบทางการศึกษาพัฒนาขึ้น และจัดส่งไปยังศูนย์สอบทั่วประเทศ ตามวันและเวลาที่กำหนดไว้

(2) ดำเนินการประเมินคุณภาพผู้เรียน ชั้นประถศึกษาปีที่ 3 จากสถานศึกษาในสังกัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 8 สังกัด ประกอบด้วย 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 4) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 5) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 6) สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร 7) สำนักการศึกษาเมืองพัทยา และ 8) การจัดการศึกษาโดยครอบครัว (Homeschool)

(3) ศูนย์สอบดำเนินการจัดสนามสอบ โดยกำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งเป็นสนามสอบ (จัดให้มีผู้เรียนห้องสอบละ 20 คน) เพื่อหลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายนักเรียนออกจากพื้นที่ ยกเว้นในกรณีที่มีนักเรียนจำนวนน้อยไม่ถึง 5 คน อนุโลมให้มีการเคลื่อนย้ายไปรวมกับสถานศึกษาที่อยู่ใกล้เคียงเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและประหยัดงบประมาณ โดยให้จัดห้องสอบเพิ่มตามจำนวนสถานศึษาที่นักเรียนมาร่วมสอบในสนามสอบนั้นๆ และให้ดำเนินการตามมาตรการการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด

(4) ศูนย์สอบแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการระดับศูนย์สอบและสนามสอบ โดยกรรมการคุมสอบในแต่ละห้องต้องมาจากต่างโรงเรียน และกำหนดให้มีกรรมการคุมสอบห้องละ 2 คน

(5) ข้อสอบที่ใช้ในการประเมินคุณภาพประกอบด้วยข้อสอบปรนัยและอัตนัย โดยการตรวจข้อสอบอัตนัย สามารถดำเนินการได้ 2 แนวทาง คือ การตรวจข้อสอบที่สนามสอบ และการตรวจข้อสอบในสถานที่ที่ศูนย์สอบกำหนด แล้วจัดส่งผลการทดสอบทั้งข้อสอบแบบปรนัยและอัตนัยไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(6) ศูนย์สอบและสนามสอบศึกษาแนวทางการบริหารจัดการสอบตามคู่มือการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึษาปีที่ 3 ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดส่งให้

6.2 การประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

(1) สำนักงานคณะกรรมการการศึษาขั้นพื้นฐาน จัดพิมพ์เครื่องมือประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามจำนวนข้อมูลผู้เรียนที่สถานศึกษานำเข้าในระบบ ในแพลตฟอร์มการบริหารจัดการสอบ (NT Access) ที่สำนักทดสอบทางการศึกษาพัฒนาขึ้น และจัดส่งไปยังศูนย์สอบทั่วประเทศ ตามวันและเวลาที่กำหนดไว้

(2) ดำเนินการประเมินคุณภาพผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากสถานศึกษาในสังกัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 8 สังกัด ประกอบด้วย 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 4) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 5) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 6) สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร 7) สำนักการศึกษาเมืองพัทยา และ 8) การจัดการศึกษาโดยครอบครัว (Homeschool)

(3) กำหนดให้สถานศึษาทุกแห่งเป็นสนามสอบ โดยจัดให้มีผู้เรียนห้องสอบละ 20 คน และให้ดำเนินการสอบตามมาตรการการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคไวรัสโคโรนา2019 อย่างเคร่งครัด

(4) ศูนย์สอบแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการระดับศูนย์สอบ และให้ครูผู้สอนในสถานศึกษาที่เป็นสนามสอบเป็นกรรมการคุมสอบแต่ละห้อง โดยกำหนดให้มีกรรมการคุมสอบห้องละ 2 คน หากมีการเปลี่ยนแปลงในกรณีใดๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการอำนวยการระดับศูนย์สอบ

(5) ศูนย์สอบและสนามสอบศึกษาแนวทางการบริหารจัดการสอบตามคู่มือการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดส่งให้

แนวทางดำเนินงาน ประเมินคุณภาพผู้เรียน NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน RT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์สำนักทดสอบทางการศึกษา ครับ
ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่ 

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักทดสอบทางการศึกษา