โครงการเพชรในตม รับสมัครนักเรียนชั้น ม.6 เกรด2.75 ขึ้นไป เรียนจบบรรจุรับราชการครูทันที

โครงการเพชรในตม 2564

ประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อง การรับสครคัดเลือกเข้าเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2564 TCAS รอบที่ 2 Quota โครงการเพชรในตม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2564 TCAS รอบที่ 2 Quota โครงการเพชรในตม คณะศึกมหาวิทยลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเข้าศึกษาต่อวิชาเอกการประถมศึกษา หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต(รหัสสขาวิชา 05005 รหัสกลุ่มสาขา 177) ตามโครงกาความร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และกระทรวงศึกษาธิการ

รับสมัครระหว่างวันที่ 1 – 17 มีนาคม 2564 โดยใช้ผลการสอบ GAT/PAT5 และวิชาสามัญ ประจำปีการศึกษา 2564 ที่จัดสอบโดยสถบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยจึงขอประกาศ
รายละเอียดเกี่ยวกับการรับสมัครฯ ดังนี้
1. จำนวนนิสิตที่จะรับจำนวนรวมทั้งสิ้น 45 คน ดังนี้
1.1 กอ.รมน.ภาค 1 รับจำนวน 8 คน
1.2 กอ.รมน.ภาค 2 รับจำนวน 10 คน
1.3 กอ.รมน.ภาค 3 รับจำนวน 8 คน
1.4 กอ.รมน.ภาค 4 รับจำนวน 19 คน (4 + 15)

หมายเหตุ : 1. ผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกการประถมศึกษา
กับวิชาเอกใดเอกหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด ดังนี้
1.วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
2วิชาเอกการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย
3.วิชาเอกการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
4.วิชาเอกการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา
5.วิชาเอกการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
6.วิชาเอกการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
7.วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา

 

 

โครงการเพชรในตม 2564

 

 

โครงการเพชรในตม 2

 

โครงการเพชรในตม 2

 

 

โครงการเพชรในตม 2

 

โครงการเพชรในตม 2

 

 

โครงการเพชรในตม 2

โครงการเพชรในตม 2

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : ระบบรับสมัครนิสิตใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (swu.ac.th)

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาข้อมูลจาก https://admission.swu.ac.th/admissions2/

กลวิธี สอนให้เด็ก อ่านออกเขียนได้

0

กลวิธี สอนให้เด็ก อ่านออกเขียนได้

 

บุญเสริม แก้วพรหม ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔

ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอท่าศาลา ประธานภาคใต้ สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
ประธานสำนักกวีน้อยเมืองนคร ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๖
เฟซบุ๊ค “ลุง บุญเสริม”

ความนำ

… วันที่เด็กคนหนึ่ง
รู้จักพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
รู้จักสะกดคำ แจกลูก
จนสามารถอ่านออก เขียนได้
คือวันที่ดอกไม้แห่งความสุข
เบ่งบาน สวยใส กลางหัวใจของเขา
และแสงสว่างแห่งชีวิต
ได้เปิดประตูต้อนรับเขาแล้ว …

แต่…ในทิศทางที่ตรงกันข้าม

ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ คือความทุกข์และความมืดมนของเด็กคนนั้น เป็นความทุกข์ของครู พ่อแม่ ผู้ปกครองและทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และเป็นเรื่องที่สาคัญเร่งด่วน จนสามารถกล่าวได้ว่าเป็น “ความทุกข์ของแผ่นดิน” ไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ ณ วันนี้หลายส่วนที่เกี่ยวข้องได้มองเห็นว่าปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤติแล้ว และต่างมองหาหนทางแก้ไขกันอยู่ด้วยแนวทางที่หลากหลาย ถูกทางบ้าง หลงทางไปบ้าง ตามศรัทธาและความเชื่อของแต่ละส่วน

ถ้าถามว่า – สอนอย่างไรให้เด็กอ่านออกเขียนได้

คำตอบก็คงมีหลากวิธีหลายแนวทาง ตามความเชื่อความศรัทธาและประสบการณ์ของแต่ละส่วน ดังกล่าว

ผมเองมีความศรัทธาและเชื่อมั่นโดยสนิทใจมาโดยตลอดว่า วิธีการของบรรพบุรุษไทยและครูไทยในอดีตนั้น เป็นภูมิปัญญาในการถ่ายทอด เชื่อมโยงการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพ จึงสามารถทำหน้าที่สืบทอดและปกปักรักษาให้ภาษาไทยยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันได้

ผมจึงพยายามทบทวนและย้อนรอยถึงภาพในวัยเยาว์ เพื่อย้อนรำลึกว่า ในชั้นต้นนั้น “ครูของผมสอนผมอย่างไร ผมจึงอ่านออกเขียนได้” (ทั้งที่ครูของผมมีเพียงชอล์คและกระดานดำ และนักเรียนยุคผมมีเพียงดินสอและสมุดคนละเล่มเท่านั้น)

ผมจึงเก็บเอาวิธีสอนของครูของผมมาวางไว้เป็นหลัก แล้วเติมเต็มด้วยแนวคิด องค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาในช่วงหลัง บางส่วน นำเสนอเป็นแนวทางในการ “สอนให้อ่านออก เขียนได้” ดังนี้


๑. เชื่อมั่นว่า วิธีที่ดีที่สุดในการสอนภาษาไทยให้อ่านออกเขียนได้ คือ การสอนสะกดคำ แจกลูก ท่องจำและไล่หนังสือ และต้องอาศัยการเรียนการสอนแบบ “ฝึก ซ้ำ ย้ำ ทวน”

๒. ลำดับขั้น ในการสอนให้อ่านออกเขียนได้ ประกอบด้วย

(๑) สอนให้รู้จักพยัญชนะ
(๒) สอนให้รู้จักสระ
(๓) สอนให้สะกดคำแจกลูกคำในแม่ ก กา
(๔) สอนให้ผันวรรณยุกต์คำในแม่ ก กา
(๕) สอนให้อ่านเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
(๖) สอนให้ผันวรรณยุกต์คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
(๗) สอนให้อ่านเขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตรา
(๘) สอนให้อ่านเขียนคำควบกล้ำ
(๙) สอนให้อ่านเขียนคำที่มีอักษรนำ
(๑๐) สอนให้อ่านเขียนคำที่มีตัวการันต์ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ และคำที่มีลักษณะพิเศษ

๓. เชื่อว่าผลสำเร็จในการสอนจะเกิดขึ้น เมื่อ…

(๑) สอนตามลำดับขั้นตอน จากง่ายไปสู่ที่ยากขึ้น และสลับซับซ้อนมากขึ้น
(๒) สอนให้ฝึกอ่าน ฝึกเขียน อย่างช้าๆ อย่ารีบร้อน อย่ารวบรัด แต่ให้ฝึก ซ้ำ ย้ำ ทวน จนนักเรียนเข้าใจ แม่นยำ และมั่นใจ (อย่าเอาแต่เวลามาเป็นเกณฑ์ แต่ให้เอาความรู้ความเข้าใจความสามารถของเด็กเป็นเกณฑ์)
(๓) ระมัดระวังอยู่เสมอว่า ถ้ารีบร้อนหรือรวบรัด ในขณะที่เด็กคนหนึ่งคนใดยังไม่รู้ยังไม่เข้าใจในลำดับต้นๆ ก็จะกลายเป็นปัญหา “ดินพอกหางหมู” ที่หนักจนไม่อยากรู้ไม่อยากเรียนอีก และส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ในขั้นต่อไปในที่สุด
อย่างไรก็ตาม แนวทางข้างต้นสามารถปรับเปลี่ยน คิดต่อ เติมแต่งกิจกรรมได้ตามที่เห็นเหมาะสม ให้สอดคล้องกับสภาพความความแตกต่างของเด็กแต่ละคน แต่ละพื้นที่ห้องเรียน ตามหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ นั่นแหละ….


1

พยัญชนะไทยมีทั้งหมด ๔๔ ตัว มีวิธีการสอนให้รู้จักพยัญชนะใน ๒ ลักษณะ คือ

๑. สอนให้รู้จัก “ชื่อ” พยัญชนะ
เบื้องต้นนั้น สามารถสอนให้เด็กรู้จัก “ชื่อพยัญชนะ” ทั้งหมดโดยวิธีอ่านท่องร้องเล่นตามที่ท่องกันโดยทั่วไป เพื่อให้เด็กได้รู้จัก “ชื่อ” ของพยัญชนะแต่ละตัว เป็นการสร้างความคุ้นเคย และสนุกสนานเพลิดเพลินกับการท่องร้องเล่น อย่างเช่นที่ท่องต่อๆกันมาว่า

ก


สื่อที่ใช้ในการสอนให้รู้จัก “ชื่อพยัญชนะ” นั้น อาจจะเป็นแผนภูมิพยัญชนะหรือแผนภาพพยัญชนะอย่างที่มีเผยแพร่อยู่โดยทั่วไป โดยการชี้ให้เห็นพยัญชนะ แล้วอ่านท่องร้องเล่นพร้อมกันทั้งชั้น หรือพร้อมกันเป็นกลุ่ม ก็ได้ ในการอ่านท่องร้องเล่นนั้นอาจจะปรบมือให้จังหวะ หรือมีกิจกรรมอื่นๆ เพื่อความสนุกสนำนเพลิดเพลินไปด้วยก็ยิ่งดี

๒. สอนให้รู้จัก “รูป” และ “เสียง” พยัญชนะ
เป็นการสอนให้รู้จัก “รูป” และ “เสียง” ของพยัญชนะแต่ละตัว เพื่อเตรียมการนำไปสู่การอ่านและเขียนสะกดคำต่อไป โดยมีแนวทางและขั้นตอนการสอนที่สาคัญ ดังนี้


ขั้นที่ ๑ สอนให้เห็นรูป
โดยครูใช้ “บัตรพยัญชนะ” เป็นรายตัว ให้นักเรียนได้เห็นรูปร่างลักษณะของพยัญชนะแต่ละตัว เช่น

บัตร

หรือ ครูอาจจะใช้วิธีเขียนพยัญชนะในกระดาน ก็ได้

ขั้นที่ ๒ สอนให้รู้จักเสียง
ขณะที่นำบัตรพยัญชนะให้เด็กดูหรือเขียนพยัญชนะในกระดาน ทีละตัวนั้น ต้องให้นักเรียนได้รู้จักเสียงของพยัญชนะตัวนั้นๆ โดย

(๑) ครูอ่านออกเสียงพยัญชนะให้ฟังอย่างชัดเจน เช่น

อ่าน

(๒) ให้นักเรียนดูรูปพยัญชนะที่ละตัว แล้วอ่านออกเสียงตามครู โดยอ(โดยคัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด และลากเส้นให้ถูกต้องตามหลักการเขียนพยัญชนะ)อกเสียงดังๆ และชัดเจน
(๓) ให้นักเรียนดูรูปแล้วอ่านออกเสียงเอง โดยเริ่มจากอ่านออกเสียงพร้อมกันทั้งชั้น อ่านออกเสียงพร้อมกันเป็นรายกลุ่ม และอ่านออกเสียงเป็นรายคน
(๔) ครูต้องสังเกต ตรวจสอบ หรือทดสอบการอ่านออกเสียงพยัญชนะของนักเรียนเป็นรายคน หากพบว่านักเรียนคนใดยังอ่านออกเสียงไม่ได้ หรือไม่ชัดเจน ต้องแก้ไขทันที (และต้องแก้ไขเสียก่อนที่จะให้อ่านพยัญชนะตัวต่อไป)

ขั้นที่ ๓ สอนให้เขียนรูป

เมื่อนักเรียนอ่านออกเสียงได้แล้ว ต้องฝึกให้เขียนรูปพยัญชนะตัวนั้นๆ โดย

(๑) ครูเขียนรูปพยัญชนะในกระดาน (โดยคัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด และลากเส้นให้ถูกต้องตามหลักการเขียนพยัญชนะ) ครูลากเส้นช้าๆ ให้นักเรียนดู และอ่านออกเสียงพยัญชนะตัวนั้นไปพร้อมกัน
(๒) ให้นักเรียนเขียนรูปพยัญชนะตามครู โดยเขียนในกระดานหรือเขียนลงในสมุดของแต่ละคน ขณะเขียนให้อ่านออกเสียงพยัญชนะไปด้วย
(๓) ให้นักเรียนคัดรูปพยัญชนะแต่ละตัว ด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดให้สวยงาม คัดลงในสมุดหลายๆครั้ง หลายๆเที่ยว
(๔) ครูต้องสังเกต ตรวจสอบ หรือทดสอบการเขียนรูปพยัญชนะของนักเรียนเป็นรายคน หากพบว่านักเรียนคนใดยังเขียนไม่ได้หรือเขียนไม่ถูกต้อง ต้องแก้ไขทันที (และต้องแก้ไขเสียก่อนที่จะให้เขียนพยัญชนะตัวต่อไป)


(๕) ในขั้นของการเขียนนี้ ครูควรสังเกตวิธีการจับดินสอ การวางสมุด ตลอดจนท่าทางการนั่งเขียนของนักเรียนไปด้วย หากพบว่าคนใดไม่ถูกต้อง ควรแนะนำ แก้ไขให้ถูกต้องเสียแต่ต้น

7

ลำดับพยัญชนะที่ควรสอน ก่อน-หลัง
พยัญชนะไทยทั้ง ๔๔ ตัว มีระดับความยากง่ายในการอ่านออกเสียง และการเขียนรูปพยัญชนะที่แตกต่างกัน ควรเลือกพยัญชนะที่ง่ายในการออกเสียงและเขียนรูป มาให้ฝึกอ่านฝึกเขียนก่อน จะเป็นแรงเสริมเพิ่มกาลังใจที่สาคัญในการเรียนรู้
จึงเสนอลำดับพยัญชนะที่ควรสอนก่อน-หลัง เป็นชุดๆ ดังนี้

8


เด็ก
9

สระมีทั้งหมด ๒๑ รูป ๓๒ เสียง ต้องสอนให้รู้จัก “รูป” และ “เสียง” ของสระแต่ละตัว เพื่อเตรียมการนำไปสู่การอ่านและเขียนสะกดคำต่อไป โดยมีแนวทางและขั้นตอนการสอนที่สาคัญ ดังนี้
ขั้นที่ ๑ สอนให้เห็นรูปสระ

โดยครูใช้ “บัตรสระ” เป็นรายตัว ให้นักเรียนได้เห็นรูปร่างลักษณะของพยัญชนะแต่ละตัว เช่น

ะ

 

หรือ ครูอาจจะใช้วิธีเขียนรูปสระในกระดาน ก็ได้
ขั้นที่ ๒ สอนให้รู้จักเสียงสระ

ขณะที่นำบัตรสระให้เด็กดูหรือเขียนรูปสระในกระดานทีละตัวนั้น ต้องให้นักเรียนได้รู้จักเสียงของสระตัวนั้นๆ โดย


(๑) ครูอ่านออกเสียงสระให้ฟังอย่างชัดเจน เช่น

11

(๒) ให้นักเรียนดูรูปสระทีละตัว แล้วอ่านออกเสียงตามครู โดยออกเสียงดังๆ และชัดเจน
(๓) ให้นักเรียนดูรูปแล้วอ่านออกเสียงเอง โดยเริ่มจากอ่านออขั้นที่ ๒ สอนให้รู้จักเสียงสระกเสียงพร้อมกันทั้งชั้น อ่านออกเสียงพร้อมกันเป็นรายกลุ่ม และอ่านออกเสียงรายบุคคล
(๔) ครูต้องสังเกต ตรวจสอบ หรือทดสอบกขั้นที่ ๒ สอนให้รู้จักเสียงสระารอ่านออกเสียงสระของนักเรียนเป็นรายคน หากพบว่านักเรียนคนใดยังอ่านออกเสียงไม่ได้ หรือไม่ชัดเจน ต้องแก้ไขทันที (และต้องแก้ไขเสียก่อนที่จะให้อ่านสระตัวต่อไป)

ขั้นที่ ๓ สอนให้เขียนรูปสระ
เมื่อนักเรียนอ่านออกเสียงได้แล้ว ต้องฝึกให้เขียนรูปสระตัวนั้นๆ โดย

(๑) ครูเขียนรูปสระในกระดาน (โดยคัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด และลากเส้นให้ถูกต้องตามหลักการเขียนสระ) ครูลากเส้นช้าๆ ให้นักเรียนดู และอ่านออกเสียงสระตัวนั้นไปพร้อมกัน
(๒) ให้นักเรียนเขียนรูปสระตามครู โดยเขียนในกระดานหรือเขียนลงในสมุดของแต่ละคน ขณะเขียนให้อ่านออกเสียงสระไปด้วย
(๓) ให้นักเรียนคัดรูปสระแต่ละตัว ด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดให้สวยงาม คัดลงในสมุดหลายๆครั้ง หลายๆเที่ยว
(๔) ครูต้องสังเกต ตรวจสอบ หรือทดสอบการเขียนรูปสระของนักเรียนเป็นรายคน หากพบว่านักเรียนคนใดยังเขียนไม่ได้หรือเขียนไม่ถูกต้อง ต้องแก้ไขทันที (และต้องแก้ไขเสียก่อนที่จะให้เขียนสระตัวต่อไป)

12


ลำดับสระที่ควรสอน ก่อน-หลัง
สระทั้ง ๓๒ เสียง มีระดับความยากง่ายในการอ่านออกเสียง และการเขียนรูปสระที่แตกต่างกัน มีทั้งสระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน ควรเลือกสระที่ง่ายในการออกเสียงและเขียนรูป มาให้ฝึกอ่านฝึกเขียนก่อน จะเป็นแรงเสริมเพิ่มกาลังใจที่สาคัญในการเรียนรู้
จึงเสนอลำดับสระที่ควรสอนก่อน-หลัง เป็นชุดๆ ดังนี้

13


๑๐

เด็ก

14

การอ่าน เขียน สะกดคำ แจกลูก จัดเป็นขั้นตอนที่สาคัญที่สุด ที่จะทาให้เด็กอ่านออกเขียนได้
สะกดคำแจกลูก คืออะไร อย่างไร

การสอนอ่านสอนเขียนภาษาไทย โบราณาจารย์มักเน้นที่การสะกดคำแจกลูก ด้วยความเชื่อว่า คำไทยเป็นคำที่เกิดจากการประสมพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และตัวสะกด
“สะกดคำแจกลูก” มักจะพูดติดต่อกัน ทั้งๆที่จริงๆแล้วแตกต่างกัน กล่าวคือ

“การสะกดคำ” คือ การแยกแยะส่วนประกอบของคำออกมาว่า คำนั้นๆ ประกอบด้วยพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และตัวสะกด อะไรบ้าง เช่น


15

การสะกดคำ เป็นการสะกดเพื่ออ่านคำ หรือสะกดเพื่อเขียนคำ
ส่วน “การแจกลูก” เป็นการแตกแขนงออกไปในการฝึกประสมคำ ให้เกิดความคล่องในการอ่าน โดยการแจกลูกนั้น จะมี ๒ ลักษณะ คือ ส่วนประสมที่คงที่และส่วนที่แปรเปลี่ยนไป แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการฝึก เช่น ถ้าต้องการฝึกคำที่ประสมด้วยสระ -า ก็ให้สระ -า เป็นส่วนคงที่ แล้วให้แปรเปลี่ยนตัวพยัญชนะที่จะมาประสมไปเรื่อยๆ เป็น กา ขา คำ งา จา ฉา ฯลฯ
ตัวอย่างการแจกลูก
(๑) พยัญชนะต้นคงที่ สระแปรเปลี่ยนไป (เช่น ต้องการฝึกอ่านคำที่ ม เป็นพยัญชนะต้น) แจกลูกว่า

มะ

มะ มา มิ มี มึ มื มุ มู เมะ เม …
(๒) สระคงที่ พยัญชนะต้นแปรเปลี่ยนไป (เช่น ต้องการฝึกอ่านคำที่ประสมด้วยสระา ) แจกลูกว่า

กา

(๓) สระและตัวสะกดคงที่ พยัญชนะต้นแปรเปลี่ยนไป (เช่น ต้องการฝึกอ่านคำที่ประสมด้วยสระ อ และ ง เป็นตัวสะกด) แจกลูกว่า

กอง

ข้อควรคำนึงในการสอนสะกดคำแจกลูก
๑. เด็กจะสามารถอ่านสะกดคำแจกลูกได้ เมื่อรู้จักและออกเสียง “เสียงพยัญชนะ” และ “เสียงสระ” ได้ถูกต้องแล้ว ทั้งนี้เพราะปัญหาของเด็กที่อ่านสะกดคำแจกลูกไม่ได้ เกิดจากไม่รู้จักหรือไม่แม่นในเสียงพยัญชนะและเสียงสระ ดังนั้นก่อนที่จะสอนอ่านสะกดคำแจกลูกแต่ละครั้ง ครูจะต้องตรวจสอบ ทบทวนให้เด็กแม่นในเสียงพยัญชนะและเสียงสระที่จะสอนเสียก่อนทุกครั้ง
๒. ให้เริ่มต้นที่การสอนอ่านสะกดคำก่อน เมื่อเห็นว่าสามารถอ่านสะกดคำได้ถูกต้องแล้ว จึงค่อยฝึกให้แจกลูก เพื่อให้เกิดความคล่องในการอ่านคำกลุ่มนั้นๆ
๓. ให้เริ่มต้นที่การอ่านสะกดคำ อ่านแจกลูก ก่อน เมื่อเห็นว่าสามารถอ่านได้ถูกต้องแล้ว จึงให้ฝึกเขียนสะกดคำ เขียนแจกลูก เพื่อให้เกิดความคล่องในการอ่านการเขียนต่อไป
๔. กิจกรรม “เขียนตามคำบอก” และ “คัดลายมือ” เป็นกิจกรรมที่สามารถใช้ฝึกฝนให้เกิดความแม่นยา และคงทนในการอ่านการเขียน จึงควรนำมาใช้หลังการอ่านเขียนสะกดคำแจกลูกทุกครั้ง


สอนสะกดคำ แจกลูก อย่างไร
ขั้นตอนในการสอนอ่านสะกดคำแจกลูก มีขั้นตอนที่สาคัญ ดังนี้
ขั้นที่ ๑ สอนให้เห็นรูป
โดยครูใช้ “บัตรคำ” คำที่ต้องการสอน ให้นักเรียนได้เห็นรูปร่างลักษณะของพยัญชนะ สระ ที่ประสมเป็นคำนั้นๆ เช่น
กะกา
หรือ ครูอาจจะใช้วิธีเขียนคำในกระดาน ก็ได้
ขั้นที่ ๒ สอนให้รู้จักเสียง
(๑) ครูต้องทบทวนเสียงพยัญชนะ และ เสียงสระโดยอ่านออกเสียงพยัญชนะ และเสียงสระให้ฟังอย่างชัดเจน เช่น

ก

(๒) ให้นักเรียนดูรูปพยัญชนะ และสระ แล้วอ่านออกเสียงพยัญชนะ และเสียงสระ ตามครู โดยออกเสียงดังๆ และชัดเจน
ขั้นที่ ๓ สอนให้อ่านสะกดคำ
(๑) ให้นักเรียนดูรูปคำ แล้วครูอ่านสะกดคำให้นักเรียนฟัง (ครูต้องออกเสียงให้ดังและชัดเจน) เช่นว่า

กา

(๒) ให้นักเรียนดูรูปคำ แล้วอ่านออกเสียงสะกดคำตามครูพร้อมกันทั้งชั้น เป็นรายกลุ่ม หรือรายคน
(๓) ให้นักเรียนดูรูปคำ แล้วอ่านออกเสียงสะกดคำเอง โดยเริ่มจากอ่านออกเสียงพร้อมกันทั้งชั้น เป็นรายกลุ่ม และรายคน
(๔) ครูต้องสังเกต ตรวจสอบ หรือทดสอบการอ่านออกเสียงสะกดคำของนักเรียนเป็นรายคน หากพบว่านักเรียนคนใดยังอ่านออกเสียงไม่ได้ หรือไม่ชัดเจน ต้องแก้ไขทันที (และต้องแก้ไขเสียก่อนที่จะให้อ่านคำต่อไป)


ขั้นที่ ๔ สอนให้อ่านแจกลูก
(๑) ครูนำพยัญชนะ และ สระที่ต้องการอ่านแจกลูก โดยใช้บัตรพยัญชนะ หรือบัตรสระ หรือเขียนบนกระดาน แล้วทบทวนให้อ่านออกเสียงพยัญชนะ และเสียงสระอย่างชัดเจนเสียก่อน เช่น

า

(๒) ให้นักเรียนดูรูปชุดคำที่ต้องการแจกลูก โดยใช้แผนภูมิ หรือเขียนชุดคำบนกระดาน แล้วครูอ่านแจกลูกให้ฟัง เสียงดังและชัดเจน เช่น

จาดา

(๓) ให้นักเรียนดูชุดคำ แล้วอ่านออกเสียงแจกลูกตามครูพร้อมกันทั้งชั้น เป็นรายกลุ่ม หรือรายคน
(๔) ให้นักเรียนดูชุดคำ แล้วอ่านออกเสียงแจกลูกเอง โดยเริ่มจากอ่านแจกลูกพร้อมกันทั้งชั้น เป็นรายกลุ่ม และรายคน
ขั้นที่ ๕ สอนให้อ่านทบทวน
(๑) หลังจากนักเรียนได้อ่านสะกดคำแจกลูก คำในแต่ละชุดแล้ว ครูควรเลือกคำบางคำที่อ่านสะกดคำแจกลูกมาแล้วในชุดนั้น และชุดก่อนหน้านั้น มาให้อ่านทบทวน โดยอ่านออกเสียง “เป็นคำ” (ไม่ต้องอ่านสะกดคำ – แต่ถ้าอ่านเป็นคำไม่ได้ก็ให้อ่านสะกดคำก่อน)
(๒) ชุดคำที่ใช้อ่านทบทวน ครูอาจจะแต่งเป็นเรื่องราวง่ายๆ ด้วยบทร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง ก็ได้ แต่ต้องใช้คำที่ผ่านการอ่านสะกดคำแจกลูกมาแล้ว


ขั้นที่ ๖ สอนให้เขียนสะกดคำ
เมื่อนักเรียนอ่านออกเสียงสะกดคำ แจกลูกได้แล้ว ต้องฝึกให้เขียนรูปคำนั้นๆ โดย
(๑) ครูเขียนรูปคำในกระดาน (โดยคัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด และลากเส้นให้ถูกต้องตามหลักการเขียน) ครูลากเส้นช้าๆ ให้นักเรียนดู และอ่านออกเสียงสะกดคำตัวนั้นไปพร้อมกัน
(๒) ให้นักเรียนเขียนรูปคำตามครู โดยเขียนในกระดานหรือคัดลงในสมุดของแต่ละคน ขณะเขียนให้อ่านออกเสียงสะกดคำไปด้วย
(๓) ให้นักเรียนคัดรูปคำแต่ละตัว ด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดให้สวยงาม คัดลงในสมุดหลายๆครั้ง หลายๆเที่ยว ได้ตามความเหมาะสม
(๔) ครูต้องสังเกต ตรวจสอบ หรือทดสอบการเขียนสะกดคำของนักเรียนเป็นรายคน โดยอาจจะให้นักเรียนเขียนคำตามคำบอกก็ได้ หากพบว่านักเรียนคนใดยังเขียนคำใดไม่ได้หรือเขียนไม่ถูกต้อง ต้องช่วยเหลือแก้ไขทันที
(๕) ในกิจกรรมการคัดหรือเขียนคำนั้น อาจจะมีกิจกรรมอื่นๆเพื่อความเพลิดเพลินเสริมด้วยก็ยิ่งดี เช่น การวาดภาพระบายสี จากคำหรือข้อความที่คัดเขียน เป็นต้น
หลักในการเลือกคำมาใช้ฝึกสะกดคำและแจกลูก
๑. นำสระทุกเสียงมาให้ฝึกสะกดคำแจกลูก เพื่อให้ผ่านตา ผ่านหู คุ้นชินกับเสียงสระทุกเสียงเมื่อประสมกับพยัญชนะ
๒. นำพยัญชนะทุกเสียงมาฝึกสะกดคำแจกลูก เพื่อให้ผ่านตา ผ่านหู คุ้นชินกับเสียงพยัญชนะทุกเสียงเมื่อประสมกับสระ
๓. พยัญชนะบางตัวที่มีเสียงซ้ากัน เช่น ฃ ฅ ฆ ฐ ฑ ฒ ณ ญ ฎ ฏ ภ ศ ษ ฬ ยังไม่ต้องนำมาสะกดคำแจกลูก
๔. สระบางเสียงหรือพยัญชนะบางตัวเมื่อประสมกันแล้ว อาจไม่มีความหมายหรือไม่มีที่ใช้ ก็ให้เลือกบางส่วนมาฝึก พอให้เกิดความคุ้นชินเท่านั้น
๕.ให้เน้นการฝึกสะกดคำแจกลูก ในคำที่ประสมแล้วมีความหมายและมีที่ใช้ เป็นพิเศษ รวมทั้งคำที่จะมีความหมายเมื่อผันวรรณยุกต์หรือมีตัวสะกดด้วย
หมายเหตุ
๑. การสอนสะกดคำแจกลูก เป็นขั้นตอนที่สาคัญที่สุด ดังนั้นจึงต้องให้เวลากับการสอนสะกดคำแจกลูกอย่างเต็มที่ และสอนตามขั้นตอน อย่าเร่งรัด อย่ารีบร้อน จนเด็กตามไม่ทัน เพราะจะทาให้เกิดปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในที่สุด
๒. กิจกรรมในแต่ละขั้นข้างต้นนั้น ในระยะเริ่มต้นควรจัดทุกกิจกรรมให้เข้มข้นครบถ้วน แต่ในระยะหลังๆเมื่อ “มั่นใจ” ว่านักเรียนคล่องหรือแม่นในบางกิจกรรมแล้ว อาจจะลดความเข้มข้นลงก็ได้
(ท่านที่สนใจสามารถติดตามอ่านและร่วมแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมในเฟซบุ๊ค “ลุง บุญเสริม”)

ครูอัพเดตดอทคอม ขอบคุณที่มา : http://pnst4.go.th/index.php?name=blog&file=readblog&id=17

การรับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

0

การรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สวัสดีครับ คุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีข่าวดีๆ เกี่ยวกับการรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2563 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาฝากคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่านครับ
ซึ่งคุณครูสามารถเข้าตรวจสอบการได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้วยตัวเอง

ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04009/ว 908 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เรื่อง การรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2563 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เรียน ผู้อำนวยการสำนักงานขตพื้นที่การศึกษทุกเขต ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. สำเนาหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด จำนวน 1 ฉบับ
ที่ นร 0508/ว(ท) 555 ลงวันที่ 28 มกราคม 2564
2. สำเนาหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ด่วนที่สุด จำนวน 1 ฉบับ
ที่ ศธ 0201.4/1952 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564
3. กำหนดการพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2563 จำนวน 1 ฉบับ
4. บัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2563 จำนวน 1 ฉบับ
5. แบบตอบรับเข้าร่วมพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยากรณ์ชั้นสายสะพาย จำนวน 1 ฉบับ
6. แผนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ จำนวน 1 ฉบับ

ด้วยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2563 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2563 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ จัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในสถานที่ที่เหมาะสม (ตามสิ่งที่งมาด้วย 1 และ 2)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดจัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยากรณ์ชั้นสายสะพายหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2563 ในวันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ หอประชุมวไลยอลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 3)

ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเข้าร่วมพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต/สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ดำเนินการประสานผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ประสงค์จะเข้าร่วมพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ส่งแบบตอบรับฯ (ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 4 และ 5) ทางอีเมลล์ [email protected] ภายในวันจันทที่ 22 กุมภาพัน 2564 ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำแผนที่เดินทางไปมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 6)

การรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าร่วมพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะประสานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ไปรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายที่สำนักพัฒนาระบบบริหางานบุคคลและนิติการ เพื่อจ่ายให้กับผู้ได้รับพระราชทาน ต่อไป

อนึ่ง สำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้เข้าร่วมพิธี ไม่สามารถเบิกได้ ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0502/1991 ลวันที่ 9 พฤษภาคม 2538 และให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติตเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 ) ของแต่ละจังหวัดอย่างเคร่งครัด

จึงเรียนมาเพื่อทราบและดำเนินการต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
(นายอัมพร พินะสา)
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษขั้นพื้นฐาน

สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ
กลุ่มเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารบุคคล
โทร.0 2288 5658, 0 2282 8466
โทรสาร 0 2281 1392

การรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

อ่านรายละเอียดทั้งหมดที่นี่! 

วิธีตรวจสอบการได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้วยตัวเอง

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก เพจ สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ

5 แอปพลิเคชันการเงิน ที่คุณครูควรมีติดโทรศัพท์มือถือไว้

0

5 แอปพลิเคชันการเงินที่คุณครูควรมีติดโทรศัพท์มือถือไว้

สวัสดีครับ คุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีสาระดีๆ เกี่ยวกับ 5 แอปพลิเคชันการเงินที่สมาชิกควรมีติดโทรศัพท์มือถือไว้เพื่อเป็นตัวช่วยดีๆ ในการเก็บออม และวางแผนการเงินเพื่ออนาคต มาฝากคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่านครับ

กบข. ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันการเงินที่สมาชิกควรมีติดโทรศัพท์มือถือไว้เพื่อเป็นตัวช่วยดี ๆ ในการเก็บออม และวางแผนการเงินเพื่ออนาคต

5 แอปพลิเคชันการเงินที่คุณครูควรมีติดโทรศัพท์มือถือไว้-1

1. My GPF Application
แอปคู่ใจสมาชิก กบข. ที่ตอบโจทย์เป้าหมายการออมเงิน เพื่อการเกษียณอย่างเต็มรูปแบบ โดยสามารถดูยอดเงิน กบข. ทดลองออมเพิ่มเพื่อตั้งเป้าหมายแผนเกษียณ เปลี่ยนแผนการลงทุน และนัดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการเงินของ กบข. ได้ทันที

2. SET Happy Money
ใช้สำหรับบันทึกรายรับรายจ่าย แถมช่วยคำนวนสุขภาพการเงินอย่างละเอียด เสมือนเป็นผู้ช่วยดีๆ ในการวางแผนได้ตามต้องการ

3. MeTang
เป็นอีกหนึ่งแอปบันทึกรายรับรายจ่าย ใช้งานง่าย เพราะมีการสรุปผลการใช้เงินให้เห็นแบบชัดเจน แถมยังมีฟังก์ชันวางแผนใช้บัตรเครดิตได้อีกด้วย

4. EZ Financial Calculators
ใครคำนวณไม่เก่งต้องโหลดแอปนี้ติดตัวไว้ เพราะช่วยคำนวณการลงทุนได้แบบครบวงจร ทั้งดอกเบี้ยทบต้น แปลงสกุลเงิน เงินเกษียณ ไปจนถึงผลตอบแทนการลงทุนต่าง ๆ

5. RD Smart Tax
ผู้ช่วยคำนวณภาษี และยื่นภาษีออนไลน์ที่สะดวกง่ายเพียงปลายนิ้ว เรียกว่าทำให้ภาษีกลายเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าที่คิด

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก เพจ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

คุณครูดูที่นี่! การตรวจสอบสถานะการพิมพ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และการแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์

0

คุณครูดูที่นี่! การตรวจสอบสถานะการพิมพ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และการแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์

สวัสดีครับ คุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีสาระดีๆ เกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจสอบสถานะการพิมพ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และการแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์ มาฝากคุณครูทุกท่านครับ

ตามที่คุรุสภากำหนดแบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พ.ศ. 2563 กําหนดให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้ยื่นคําขอสามารถพิมพ์ใบอนุญาต ได้จากระบบสารสนเทศของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา (ผ่านระบบ KSP Selfservice และ KSP School) หรือแสดงผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถแสดงข้อมูล และภาพใบอนุญาตทั้งด้านหน้าและด้านหลังอย่างครบถ้วน ถูกต้อง

โดยจะเริ่มออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำเนินการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาประสบปัญหาในการนำใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้หรืออ้างอิงในการติดต่อหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

คุณครูดูที่นี่! การตรวจสอบสถานะการพิมพ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และการแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์

คุณครูดูที่นี่! การตรวจสอบสถานะการพิมพ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และการแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์

เข้าระบบ KSP Self-Service

 

คุณครูดูที่นี่! การตรวจสอบสถานะการพิมพ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และการแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์

เข้าระบบ KSP School

คุณครูดูที่นี่! การตรวจสอบสถานะการพิมพ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และการแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์

คุณครูดูที่นี่! การตรวจสอบสถานะการพิมพ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และการแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์

คุณครูดูที่นี่! การตรวจสอบสถานะการพิมพ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และการแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์

คุณครูดูที่นี่! การตรวจสอบสถานะการพิมพ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และการแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์

คุณครูดูที่นี่! การตรวจสอบสถานะการพิมพ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และการแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุรุสภา

แบบฝึกการสอนภาษาไทยด้วยบันได 5ขั้น อ่านออกเขียนได้ 100 เปอร์เซ็นต์

0

แบบฝึกการสอนภาษาไทยด้วยบันได 5ขั้น อ่านออกเขียนได้ 100 เปอร์เซ็นต์

การอ่านและการเขียนภาษาไทยเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้  ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวันของคนไทยทุกคน กล่าวคือ  คนที่มีทักษะในด้านการอ่านและการเขียนอยู่ในเกณฑ์ดีก็จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆได้ดี  และสามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

จากความสำคัญและความจำเป็นของการอ่านและการเขียนดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการได้มีการรณรงค์ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยให้อ่านออกเขียนได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในระดับชั้นที่เรียนและในระดับชั้นที่สูงขึ้นไปได้เป็นอย่างดี ตลอดจนใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตามแม้ว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามส่งเสริมและพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของเด็กไทยมาเป็นเวลาหลายสิบปี  จากรายงานผลการประเมินการอ่านการเขียนของนักเรียนในระดับประเทศ และรายงานผลการประเมินการอ่านการเขียนของนักเรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษา พบว่า  ยังมีนักเรียน    ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้ระดับชั้นเป็นจำนวนมาก

จากรายงานดังกล่าวคงเป็นประเด็นที่น่าสงสัยว่าทำไมนักเรียนที่ยังอ่านไม่ออกเขียนได้จึงยังมีจำนวนมาก ทั้งๆ ที่หน่วยงานที่รับผิดชอบทุกระดับได้พยายามกระตุ้นและส่งเสริมมาตลอดเป็นระเวลาหลายสิบปีแล้ว ก็ตาม  เป็นไปได้ว่าการที่เด็กเหล่านั้นยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อาจเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้    การใช้สื่อการสอน  ตลอดจนการจัดสภาพห้องเรียนและบรรยากาศการเรียนรู้ของครูผู้สอนยังไม่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง และวิธีการเรียนรู้ตามวัยของผู้เรียน จึงเป็นสาเหตุให้นักเรียนเหล่านั้นไม่บรรลุผลในการเรียนรู้  จึงส่งผลให้พวกเขาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามวัยและระดับชั้น

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต ๔  ร่วมกับชมรมครูภาษาไทย สพป.ขอนแก่น เขต ๔  จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาทักษะภาษาไทยด้วยบันได  ๕  ขั้น (ห้องเรียนภาษาพาเพลิน)  ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการย้อนยุค โดยครูจัดการเรียนการสอนไปตามลำดับเนื้อหาอย่างครบถ้วน  โดยใช้กิจกรรมแบบบันไดทักษะ  ๕  ขั้น   คือ

ขั้นที่หนึ่ง   หาเรื่องให้สนุก

ขั้นที่สอง   แจกลูกสะกดคำ

ขั้นที่สาม  อ่านย้ำนำวิถี

ขั้นที่สี่       คัดลายมือให้ถูกวิธ

ขั้นที่ห้า     เขียนตามคำบอกทุกวัน

กล่าวคือ ขั้นที่หนึ่งครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนด้วยเพลง, เกม , นิทาน , หรือ ของจริง  ฯลฯ เพื่อสร้างบรรยากาศ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้และกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความพร้อมก่อนเข้าสู่บทเรียน    ขั้นที่สอง เน้นให้ครูอ่านออกเสียงแจกลูกผันเสียงนำนักเรียน  และจากนั้นในขั้นที่สาม    ให้นักเรียนเปล่งเสียงอ่านตาม   ทั้งคำเดี่ยวและ คำประสม จากนั้น ในขั้นที่สี่ ฝึกคัดลายมือให้สวยงาม และถูกต้องตามรูปแบบตัวอักษรที่กำหนด จากคำที่ฝึกในขั้นที่หนึ่งและขั้นที่สอง  ส่วนในขั้นสุดท้ายคือ    ขั้นที่ห้าให้ฝึกเขียนคำ เขียนคำตามคำบอก เขียนคัดลายมือ และเขียนกลุ่มคำ   ตามแบบฝึกในหนังสือ    อ่านได้แล้วฝึกเขียนตามคำบอก และเขียนคัดลายมือตามลำดับไปทีละบททีละเดือน จากง่ายไปหายาก

ในการนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔  โดยกลุ่มนิเทศ  ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา  ร่วมกับชมรมครูภาษาไทย สพป.ขอนแก่น ๔ ได้ร่วมประชุม  วางแผน  และกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบบันได  ๕  ขั้น  รวมทั้งรวบรวม และเรียบเรียง  สื่อ /แบบฝึก  เพื่อให้ครูใช้ประกอบการสอนตามรูปแบบ ดังกล่าวข้างต้น  ทั้งนี้ครูผู้สอนสามารถนำสื่อที่จัดทำให้นี้นำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม

ขอขอบคุณคณะทำงานทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะทำงานชมรมครูภาษาไทย สพป.ขอนแก่น เขต ๔  ที่ได้ร่วมออกแบบและยกร่างแนวทางการจัดกิจกรรมห้องเรียนภาษาพาเพลิน  ตลอดจนจัดทำสื่อ/แบบฝึก เพื่อพัฒนาการอ่านการเขียนของนักเรียนในครั้งนี้  หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารูปแบบการพัฒนาทักษะภาษาไทยด้วยบันได  ๕  ขั้น  ตลอดจนสื่อ/แบบฝึก ที่จัดทำให้นี้ จะทำให้ครู และโรงเรียนเกิดแนวทาง

ในการที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถอ่านออก เขียนได้  ตามวัยและช่วงชั้น  ได้ในลำดับต่อไป

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔

แบบฝึกการสอนภาษาไทยด้วยบันได  5ขั้น ขอนแก่นโมเดล โรงเรียนอ่านออก 100 เปอร์เซ็นต์

ลิ้งค์1.https://drive.google.com/file/d/0B-aGwkRrAzSgNlUzeFFISDFwLW8/view?usp=sharing

ลิ้งค์2.https://docs.google.com/uc?id=0B-aGwkRrAzSgNlUzeFFISDFwLW8&export=download

ที่มา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔

ทำอย่างไรให้อ่านออกเขียนได้ : สื่อ นวัตกรรม พัฒนาการอ่านเขียนภาษาไทย

0

หนังสือ ทำอย่างไรให้ อ่านออกเขียนได้2

วันนี้เว็บไซต์ ครูอัพเดตดอทคอม ขอนำสื่อการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้นั่นคือ “หนังสือทำอย่างไรให้อ่านออกเขียนได้ : สื่อ/นวัตกรรม พัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยที่ประสบผลสำเร็จ” ซึ่งเป็นเอกสารที่จัดทำโดย สถาบันภาษาไทย สพฐ. ครับ

คำนำ

ทำอย่างไรให้อ่านออกเขียนได้ “สื่อนวัตกรรมพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยที่ประสบผลสำเร็จ”เล่มนี้

จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้หรือนำไปพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทย

ของนักเรียนให้อ่านออกเขียนได้ตามวัยหนังสือการอ่านคล่องเขียนคล่องโดยได้รวบรวม ผลงานของครูผู้สอนภาษาไทย

และศึกษานิเทศก์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งได้ทดลองใช้และประสบผลสำเร็จจากการใช้แก้ปัญหาหรือ

พัฒนาพัฒนานักเรียนมาระดับหนึ่งแล้ว หนังสือเล่มนี้ได้จัดประเภทเป็นสื่อนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการจำนวน 12 เรื่อง

สื่อนวัตกรรมด้านการแก้ปัญหาการอ่านการเขียนการพัฒนาการสอนและการส่งเสริมการอ่านจำนวน 29 เรื่อง

ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านและผู้ที่สนใจนำสาระไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ในโอกาสนี้ ขอขอบคุณคณะทำงานทุกท่านที่ได้ให้ข้อเสนอแนะและผลงานประกอบการจัดทำหนังสือเล่มนี้จนทำให้ประสบผลสำเร็จด้วยดี

และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจะนำสื่อการเรียนรู้วิธีสอนและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่ประสบผลสำเร็จ

ไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาการอ่านการเขียนของนักเรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียนเป็นสำคัญต่อไป

นายการุณ สกุลประดิษฐ์

เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตัวอย่างสื่อ/นวัตกรรม พัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยที่ประสบผลสำเร็จ

ทำอย่างไรให้อ่านออกเขียนได้ : สื่อ นวัตกรรม พัฒนาการอ่านเขียนภาษาไทย

ทำอย่างไรให้อ่านออกเขียนได้ : สื่อ นวัตกรรม พัฒนาการอ่านเขียนภาษาไทย

 

ทำอย่างไรให้อ่านออกเขียนได้ : สื่อ นวัตกรรม พัฒนาการอ่านเขียนภาษาไทย

ดาวน์โหลดไฟล์ อ่านออก เขียนได้

ที่มา : สถาบันภาษาไทย สพฐ.

 

 

เมื่อ ว.PA จะประกาศใช้ พ.ค.2564 จะทำให้ผู้ที่เกิดสิทธิ์ ว.17, ว.21 มาก่อน เสียสิทธิ์หรือไม่ อย่างไร

0

วิทยฐานะ วิทยฐานะครู PA ว17 ว21 วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ หลักเกณฑ์ PA

ตามมติที่ประชุม ก.ค.ศ. เมื่อ 25 มกราคม 2564 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงพัฒนางาน (PA) ใหม่ ที่เลขาธิการ ก.ค.ศ. รองศาสตราจารย์ ดร.ประวิต  เอราวรรณ์ ได้แจ้งว่า “จะประกาศใช้ ว.PA ในเดือนพฤษภาคม 2564 และมีเวลากำหนดยื่น PA ต่อผู้อำนวยการโรงเรียน ในวันที่ 1 ตุลาคม 2564” และในเวลาต่อมามีแผ่นภาพเผยแพร่ โดย เพจ สำนักงาน ก.ค.ศ. ดังนี้

 

วิทยฐานะ วิทยฐานะครู PA ว17 ว21 วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ หลักเกณฑ์ PA1

ภาพประกอบ 1 รอบปีงบประมาณในการพัฒนางานตามข้อตกลงแบบ PA   (ที่มา : INFO  สนง.ก.ค.ศ. https://otepc.go.th/th/content_page/item/3265-pa.html)

คำถามสำคัญ คือ เมื่อ ว.PA จะประกาศใช้ พ.ค.2564 จะทำให้ผู้ที่เกิดสิทธิ์ ว.17, ว.21 มาก่อน แต่ยังไม่ครบกำหนดยื่นคำขอ จะต้องเริ่มต้นนับ 1 ใหม่ กับ ว.PA-64 และนับไปอีก 4 ปีหรือไม่

 

ผู้เขียนพยายามประมวลข้อมูลความรู้ทั้งในแง่ข้อกฎหมาย และหลักวิชาการ เพื่ออธิบายความจากฐานข้อมูลของก.ค.ศ.ที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มพรมแดนความรู้ความเข้าใจให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ความชัดเจนใดๆ จำเป็นต้องรอคู่มือคำอธิบายประกอบหลักเกณฑ์ฯ ข้างต้นจากก.ค.ศ.ต่อไป

 

วิทยฐานะ วิทยฐานะครู PA ว17 ว21 วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ หลักเกณฑ์ PA 2

ภาพประกอบ 2 แสดงระยะเวลาสิ้นสุดของหลักเกณฑ์เดิมต่อเนื่องหลักเกณฑ์ใหม่

จากแผนภาพเปรียบเทียบนี้ แปลความว่า 1) การประเมินเพื่อพิจารณาเลื่อนเงินเดือน 2) การประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ ตามมาตรา 55  หรือ 3) การประเมินเพื่อขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ ว.17 หรือ ว.21 ก็จะปรับเข้าสู่หลักเกณฑ์ใหม่ ภายใน 1 ตุลาคม 2564 แต่สำหรับผู้ที่เกิดสิทธิ์วิทยฐานะตามเกณฑ์ ว.17 หรือ ว.21 มาก่อนประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่นี้ มีเวลา 1 ปี สามารถยื่นคำขอตามหลักเกณฑ์เดิมได้ ภายใน 30 กันยายน 2565 หากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์เดิม แต่หากอายุการครองวิทยฐานะเดิมครบไม่ทันภายใน 30 กันยายน 2565 จำเป็นต้องเข้าสู่หลักเกณฑ์ใหม่ต่อเนื่องไป ตามคำกล่าวของเลขาธิการ ก.ค.ศ. ว่า “สำหรับสายผู้สอน ที่ใช้เกณฑ์การประเมินวิทยฐานะ (ว 21) การนับระยะเวลาจะไม่เสียไป จะสามารถนับต่อได้และจะมีผลดี คือเมื่อครบเวลา 4 ปี จะมีสิทธิในการยื่นวิทยฐานะ” (ที่มา:เลขา.ก.ค.ศ.) ดังตัวอย่างแผนภาพนี้

 

วิทยฐานะ วิทยฐานะครู PA ว17 ว21 วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ หลักเกณฑ์ PA 3

ภาพประกอบ 3 แสดงการนับเวลาต่อเนื่องหลักเกณฑ์เดิมกับหลักเกณฑ์ใหม่  (ที่มา : INFO  สนง.ก.ค.ศ. https://otepc.go.th/th/content_page/item/3265-pa.html)

กรณีตัวอย่างที่ 1 บรรจุ 1 เมษายน 2558  จะครบ 6 ปี (กรณีจบปริญญาโท) ในวันที่ 1 เมษายน 2564 สามารถยื่นขอตามเกณฑ์ ว.17 ได้ หากจบปริญญาตรี จะครบเมื่อ 1 เมษายน 2566 (8 ปี) ซึ่งไม่ทัน แต่กรณีที่ 1 นี้ สามารถเลือกช่องทางการยื่นคำขอและเลื่อนตามหลักเกณฑ์ ว.21 แบบเปลี่ยนผ่าน ได้ เนื่องจากได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งครู (คศ.1) เมื่อ 1 เมษายน 2560 ก่อนประกาศใช้หลักเกณฑ์ ว.21 ใน 5 กรกฎาคม 2560 ถ้าหากเก็บสะสมคุณสมบัติ 5 ข้อ ตั้งแต่ปี 2560-2561, 2561-2562, 2562-2563, 2563-2564, 2564-2565 จะครบ 5 ปี ในวันที่ 1 เมษายน 2565 จะยื่นแบบ ว.21 ก่อน 30 กันยายน 2565 ได้ทัน

 

กรณีตัวอย่างที่ 2 บรรจุ 1 เมษายน 2559  จะครบ 6 ปี (กรณีจบปริญญาโท) ในวันที่ 1 เมษายน 2565 สามารถยื่นขอตามเกณฑ์ ว.17 ได้ทัน หากจบปริญญาตรี ยื่นเกณฑ์ ว.17 ไม่ทัน และเนื่องจากได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งครู (คศ.1) 1 เมษายน 2561 ถ้าหากเก็บสะสมคุณสมบัติ 5 ข้อ ตามเกณฑ์ ว.21 ตั้งแต่ปี 2561-2562, 2562-2563, 2563-2564, 2564-2565, 2565-2566 จะครบ 5 ปี ในวันที่  1 เมษายน 2566 ก็จะยื่นแบบ ว.21 ก่อน 30 กันยายน 2565 ไม่ทัน

 

กรณีตัวอย่างที่ 3 บรรจุ 1 เมษายน 2560  จะครบ 6 ปี (กรณีจบปริญญาโท) ในวันที่ 1 เมษายน 2566 ไม่สามารถยื่นขอตามเกณฑ์ ว.17 ได้ และเนื่องจากได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งครู (คศ.1) 1 เมษายน 2562 ถ้าหากเก็บสะสมคุณสมบัติ 5 ข้อ ตามเกณฑ์ ว.21 ตั้งแต่ปี 2562-2563, 2563-2564, 2564-2565, 2565-2566 จะครบ 5 ปี ในวันที่  1 เมษายน 2567 ก็ยื่นแบบ ว.21 ก่อน 30 กันยายน 2565 ไม่ทัน

 

ดังแผนภาพ

วิทยฐานะ วิทยฐานะครู PA ว17 ว21 วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ หลักเกณฑ์ PA 4

ภาพประกอบ 4 แสดงการนับเวลาหลักเกณฑ์ ว.17

เมื่อไม่สามารถยื่นตามเกณฑ์เดิมทั้งแบบ ว.17 หรือ ว.21 ได้ทันในวันที่ 30 กันยายน 2565 เลขาธิการ ก.ค.ศ. มีคำอธิบายว่า“สำหรับสายผู้สอน ที่ใช้เกณฑ์การประเมินวิทยฐานะ (ว 21) การนับระยะเวลาจะไม่เสียไป จะสามารถนับต่อได้และจะมีผลดี คือเมื่อครบเวลา 4 ปี จะมีสิทธิในการยื่นวิทยฐานะ (ที่มา:เลขา.ก.ค.ศ.)”

 

วิทยฐานะ วิทยฐานะครู PA ว17 ว21 วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ หลักเกณฑ์ PA 5

ภาพประกอบ 5 ตารางการนับเวลาต่อเนื่องหลักเกณฑ์ ว.17 กับหลักเกณฑ์ใหม่

จากภาพในตาราง กรณีที่อายุไม่ครบ 6 ปี หรือ 8 ปี ตามเกณฑ์ ว.17 ก็เริ่มเข้าสู่เกณฑ์ ว.PA ในรอบปีที่ 1 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565 และหรือ ปีที่ 2 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565-30 กันยายน 2566 โดยเป็นการนำผลงานเกณฑ์ ว.17 เดิม จำนวน 2 ปีการศึกษา มานับต่อเนื่องกับผลการประเมิน PA ได้ จำนวน 1 ปี หรือ 2 ปี ขึ้นกับปีที่บรรจุ ดังตารางตัวอย่าง มีผลดีคือ ลดระยะเวลากว่าหลักเกณฑ์เดิมด้วย

สำหรับผู้ที่เกิดสิทธิ์ ว.21 ในช่วงก่อน 30 กันยายน 2560 ซึ่งเริ่มประกาศใช้ 5 กรกฎาคม 2560 ถ้าหากเก็บสะสมคุณสมบัติ 5 ข้อ ตั้งแต่ปี 2560-2561, 2561-2562, 2562-2563, 2563-2564, 2564-2565 จะครบ 5 ปี ก่อน 30 กันยายน 2565 ก็สามารถยื่นแบบ ว.21 ได้ ดังแผนภาพ

 

วิทยฐานะ วิทยฐานะครู PA ว17 ว21 วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ หลักเกณฑ์ PA 6

แต่คุณสมบัติ ข้อ 4 จำนวนชั่วโมงการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ใน ว.22/60 ไม่สามารถยืดระยะเวลาได้ถึง 30 กันยายน 2565 ด้วยเหตุว่า หลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนารับรองในปีงบประมาณ 2562 สามารถจัดอบรมได้ ระหว่างวันที่ 13 สิงหาคม 2562-13 สิงหาคม 2564 เท่านั้น ดังภาพ

 

วิทยฐานะ วิทยฐานะครู PA ว17 ว21 วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ หลักเกณฑ์ PA 7

ภาพประกอบ 7 หนังสือระบุระยะเวลารับรองหลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนาอนุมัติ

ดังนั้น หากครูเก็บสะสมชั่วโมงอบรมจากหลักสูตรที่สถาบันคุรุพัฒนารับรองในวันสุดท้าย คือ 13 สิงหาคม 2564 ก็จะนับไปถึง 13 สิงหาคม 2565 เท่านั้น เพราะวิธีการตรวจนับคุณสมบัติข้อ 4 กำหนดให้นับย้อนหลังจากวันยื่นคำขอ แปลว่า ปีที่ 5 เป็นช่วง 13 สิงหาคม 2565-12 สิงหาคม 2564, ปีที่ 4 เป็นช่วง 13 สิงหาคม 2564-12 สิงหาคม 2563, ปีที่ 3 เป็นช่วง 13 สิงหาคม 2563-12 สิงหาคม 2562, ปีที่ 2 เป็นช่วง 13 สิงหาคม 2562-12 สิงหาคม 2561, ปีที่ 1 เป็นช่วง 13 สิงหาคม 2561-12 สิงหาคม 2560, ฉะนั้น วันสุดท้ายของการยื่นคำขอแบบ ว.21 จึงเป็นวันที่ 13 สิงหาคม 2565 มิใช่ วันที่ 30 กันยายน 2565 ดังที่ ก.ค.ศ. สื่อสารให้ครูเข้าใจ

 

วิทยฐานะ วิทยฐานะครู PA ว17 ว21 วิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ หลักเกณฑ์ PA 8

ภาพประกอบ 8 ตารางการนับเวลาต่อเนื่องหลักเกณฑ์ ว.21 กับหลักเกณฑ์ใหม่

จากแผนภาพนี้ แสดงว่าผู้ที่จะยื่นคำขอแบบว.21 ได้ คือครองวิทยฐานะ ในปี 2560 และจะต้องสะสมคุณสมบัติ 5 ข้อ ในปีการศึกษา 2560 เป็นต้นมา นอกเหนือจากนั้น จะเข้าเกณฑ์กรณีเงื่อนไข อายุเกณฑ์เดิม + อายุเกณฑ์ใหม่

หลักเกณฑ์ใหม่ กำหนให้ผู้ที่จะขอมีและเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้นได้ จะต้องมีผลการประเมินตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ทุกรอบปีงบประมาณ (1 ตุลาคม – 30 กันยายน) จำนวน 4 รอบ ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ (ร้อยละ 70 ขึ้นไป) จึงจะมีคุณสมบัติในการยื่นคำขอฯ ได้

ในกรณีที่ได้สะสมเวลามาระยะหนึ่งแต่ไม่ครบอายุตามเกณฑ์เดิม ทั้งกรณี ว.17 หรือ ว.21 ก็จะนับต่อเนื่องกับหลักเกณฑ์ใหม่ (วPA) ร่วมด้วย ดังแผนภาพตารางข้างต้น ส่วนรายละเอียดแนวปฏิบัติจะปรากฎตามคู่มือการประเมินหลักเกณฑ์ใหม่ ที่ ก.ค.ศ. จะออกมาเผยแพร่ในโอกาสต่อไป เพียงแต่ประเด็นที่วิเคราะห์และนำเสนอนี้ เป็นผลการศึกษาจากแผนภาพตัวอย่างของ ก.ค.ศ. เท่าที่เผยแพร่ออกมาเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม สมมติฐานเบื้องต้นในการออกหลักเกณฑ์ใดๆ ก็ตาม ผู้มีอำนาจในการออกหลักเกณฑ์ก็จะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้านพอสมควร และจะต้องแก้ไขข้อบกพร่องของหลักเกณฑ์เดิมๆ ให้ได้ การจะบรรลุเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์ใดๆ มิใช่ขึ้นอยู่กับว่าหลักเกณฑ์นั้นๆ มีความเป็นธรรม เหมาะสมเพียงใด แต่การขับเคลื่อนการนำหลักเกณฑ์สู่การปฏิบัติของหน่วยงานทางการบริหาร ก็เป็นปัจจัยสำคัญไม่น้อย ถึงเวลานี้ ประเทศไทยผ่านการใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเลื่อนวิทยฐานะของครูมายาวนาน ก็เชื่อได้ว่า ผู้มีอำนาจได้คำนึงถึงบทเรียนต่างๆ ที่ผ่านมาอย่างครบถ้วน

หลักเกณฑ์การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ (วPA) เป็นไปตามหลักปฏิบัติราชการที่ดีทางปกครองหรือไม่

เมื่อ ก.ค.ศ. เป็นองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ซึ่งได้ให้อำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจไว้ การจะกำหนดหลักเกณฑ์ใดๆ ก็ตาม จะต้องคำนึงถึงหลักปฏิบัติราชการที่ดีทางปกครอง ซึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังเช่น

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 “มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัตินี้

“วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง หรือ กฎ และรวมถึงการดำเนินการใดๆในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้

“กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวงข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ”

แปลความว่า หลักเกณฑ์และวิธีการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) พ.ศ. 2564 ที่ ก.ค.ศ. กำหนดนี้ มีสภาพเป็น “กฎ” ตามกฎหมายปกครองในมาตรา 5 ซึ่งทำให้การบังคับใช้ตามหลักเกณฑ์นี้ เป็นการเตรียมการทางปกครอง เพื่อจัดให้มี “คำสั่งทางปกครอง” นั่นเอง โดยมีสภาพบังคับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการตามหลักปฏิบัติราชการที่ดีดังความที่บัญญัติในพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 “ (1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของ รัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือ การกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือ มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

แปลความง่ายๆว่า หลักเกณฑ์ ว.PA นี้ จะต้องไม่ไปจำกัดสิทธิ์ เปลี่ยนแปลงสิทธิ์ หรือทำให้เสียสิทธิ์ที่มีอยู่เดิมได้ หากผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อน หรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการกระทำหรือการงดเว้น การกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือมีข้อโต้แย้ง ตามหลักเกณฑ์ฯ นี้ สามารถฟ้องร้องเป็นคดีปกครอง ตามมาตรา 42 ได้

อีกทั้ง ในการออกกฎหมายใดๆ ก็ตาม จำเป็นต้องคำนึงถึงบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 ดังความบางส่วนว่า “รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น…. ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟัง ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟัง ความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน….”

แม้ว่า บทบัญญัติในมาตรา 77 นี้ จะใช้กับกรณีออกกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ก็ตาม แต่หลักเกณฑ์และวิธีการที่ก.ค.ศ.กำหนด ก็มีสภาพเป็น “กฎ” หรือกฎหมายภายในที่จะต้องคำนึงถึงเช่นกัน

 

เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, สำนักงาน. (2564). INFO การประเมินวิทยฐานะครู ช่วงเปลี่ยนผ่านจากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA.https://otepc.go.th/th/content_page/item/3265-pa.html

ประวิต เอราวรรณ์, รศ.ดร. วิทยฐานะครูตามหลักเกณฑ์ใหม่. คลิปบรรยาย เผยแพร่ทางโซเซียลมีเดีย.ราชกิจจานุเบกษา. (2547). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547.เล่ม 121/ตอนพิเศษ 79 ก/หน้า 22/23/23 ธันวาคม 2547.

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113/ตอนที่ 60 ก/หน้า 1/14 พฤศจิกายน 2539. “พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116/ตอนที่ 94 ก/หน้า 1/10 ตุลาคม 2542. พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542.

ประวัติ ผู้เขียนบทความ – ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา

ประวัติการศึกษา-ปริญญาตรี (การประถม) มข., ปริญญาตรี (นิติศาสตร์), ปริญญาโท (การวิจัยและประเมินผลการศึกษา), ปริญญาเอก (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค)

 ประสบการณ์วิทยากร ด้านวิทยฐานะ 2538-40 (อ.2/7), 2540-47 (อ.3/8) 2547-50 (คศ.3เชิงประจักษ์), 2550-53 (คศ.3 ว.17), 2554-55 (คศ.3-4 ก่อนแต่งตั้ง) 2556-57 (เยียวยาคศ.4/ว.17), 2558  (ว.7/58 ว.PA), 2560-2563 (ว.21/ว.23 ทั่วประเทศ)  2564 -ว.PA64 (ทั่วประเทศ)

ประธานหลักสูตรอบรมครูที่สถาบันคุรุพัฒนาอนุมัติ 73 หลักสูตร ปี 2561-2564 ทั้งพบปะ + ออนไลน์ หน่วยพัฒนา หจก.เพื่อครู

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลและภาพ เมื่อ ว.PA จะประกาศใช้ พ.ค.2564 จะทำให้ผู้ที่เกิดสิทธิ์ ว.17, ว.21 มาก่อน เสียสิทธิ์หรือไม่ อย่างไร จาก ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา เป็นอย่างสูงค่ะ

 

10 คำตอบ จาก สมศ. แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19

0

10 คำตอบ จาก สมศ. แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19

สวัสดีครับ คุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีสาระดีๆ เกี่ยวกับแนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 มาฝากทุกท่านครับ ซึ่งเป็นการรวมคำถามที่หลายท่านเกิดความสงสัยและได้ถามกันเข้ามา วันนี้ทาง สมศ. มีคำตอบในหลายประเด็นที่คุณครูหลายๆท่านสงสัย ดังรายละเอียดต่อไปนี้

สมศ.มีคำตอบ! หลากหลายคำถามที่ทุกท่านถามเข้ามาวันนี้ สมศ. มี Q&A แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 Question ที่มีคน Inbox เข้ามาถามกับเรามากที่สุด 1 ในนั้น อาจเป็นคำถามที่คุณสงสัยอยู่ก็ได้ ไปดูกันเลย…

10 คำตอบ จาก สมศ. แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19_1

คำถามที่ 1

10 คำตอบ จาก สมศ. แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19_2

คำถามที่ 2

10 คำตอบ จาก สมศ. แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19_3

คำถามที่ 3

10 คำตอบ จาก สมศ. แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19_4

คำถามที่ 4

10 คำตอบ จาก สมศ. แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19_5

คำถามที่ 5

10 คำตอบ จาก สมศ. แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19_6

คำถามที่ 6

10 คำตอบ จาก สมศ. แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19_7

คำถามที่ 7

10 คำตอบ จาก สมศ. แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19_8

คำถามที่ 8

10 คำตอบ จาก สมศ. แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19_9

คำถามที่ 9

10 คำตอบ จาก สมศ. แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19_10

คำถามที่ 10

10 คำตอบ จาก สมศ. แนวทางการประเมินภายนอก ภายใต้สถานการณ์โควิด-19_11

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก เพจ สมศ.(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา)

เปิด 5 ช่องทาง ดาวน์โหลด ใบแจ้งยอดเงิน ประจำปี 2563 เพื่อนำไปใช้ในการ ยื่นลดหย่อนภาษี

0

เปิด 5 ช่องทาง ดาวน์โหลด ใบแจ้งยอดเงิน ประจำปี 2563 เพื่อนำไปใช้ในการ ยื่นลดหย่อนภาษี

สวัสดีค่ะ คุณครูทุกท่าน วันนี้ ครูอัพเดตดอทคอม มีข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับการยื่น ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 91 สิ้นสุดกำหนดยื่น 30 มิถุนายน 2564 มาฝากคุณครูทุกท่านค่ะ ซึ่งการยื่นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ประจำปี 2564 จะสิ้นสุดลง ในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 คุณครูอย่าลืมยื่นภาษีก่อนถึงวันดังกล่าวนะคะ

และเปิด 5 ช่องทาง ดาวน์โหลด ใบแจ้งยอดเงิน ประจำปี 2563 เพื่อนำไปใช้ในการ ยื่นลดหย่อนภาษี

สมาชิก กบข. อย่าลืมเช็กหลักฐานประกอบการยื่นภาษีให้ครบตามลิสต์นี้ เพื่อความถูกต้องครบถ้วน และไม่พลาดสิทธิ์ในการขอรับเงินภาษีคืน

โดยสมาชิก กบข. สามารถดาวน์โหลดใบแจ้งยอดเงินประจำปี 2563 เพื่อนำไปใช้ในการยื่นลดหย่อนภาษีได้จากช่องทางรับใบแจ้งยอด 5 ช่องทาง ดังต่อไปนี้

ช่องทางที่ 1 : My GPF Application
ผ่านเมนู “บัญชีของฉัน” และเลือก “ดาวน์โหลด / e-Statement”

ช่องทางที่ 2 : My GPF Website
บนเว็บไซต์ http://mygpf.gpf.or.th หลังจากลงทะเบียนเข้าใช้งานแล้ว สามารถเข้าไปดาวน์โหลดเอกสารใบแจ้งยอดผ่านเมนู “บัญชีของฉัน” และเลือก “ขอสำเนาใบแจ้งยอด”

ช่องทางที่ 3 : e-Mail
สำหรับสมาชิกที่แจ้งความประสงค์รับใบแจ้งยอดเงินผ่านอีเมล ใบแจ้งยอดจะถูกส่งไปที่อีเมลของสมาชิกตามข้อมูลการลงทะเบียน

ช่องทางที่ 4 : LINE กบข. @gpfcommunity
โดยกดที่เมนู “ดาวน์โหลดใบแจ้งยอดเงิน”

ช่องทางที่ 5 : หน่วยงานต้นสังกัด
สำหรับสมาชิกที่ขอรับใบแจ้งยอดในรูปแบบเอกสาร กบข. จะจัดส่งใบแจ้งยอดเงินผ่านหน่วยงานต้นสังกัดในทุกปีจนกว่าจะมีการแสดงความประสงค์เปลี่ยนแปลงช่องทางการรับเอกสารจากสมาชิก โดยสามารถติดตามใบแจ้งยอดเงินของท่านได้ที่หน่วยงานต้นสังกัด

 

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก กบข.