7 วาระเร่งด่วน (Quick Win) ของกระทรวงศึกษาธิการ ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ.

7 วาระเร่งด่วน ศธ.

วันที่ 29 มีนาคม 2564 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมต้อนรับ นางสาวตรีนุช เทียนทอง เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ณ บริเวณห้องโถงอาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

โดยในช่วงเวลา 8.00 น. นางสาวตรีนุช เทียนทอง (รมว.ศธ.) เดินทางถึงกระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง สังกัด กระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับ หลังจากนั้นได้เดินทางเข้าสักการะพระพุทธรูปประจํากระทรวง (พระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์ สยามิศรจักรี สัฏฐีอนุสรณ์ศึกษาทรรังสรรค์) ศาลพระภูมิ และพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 ต่อมา รมว.ศธ. เดินทางถึงห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อมอบนโยบายและแนวทางดำเนินงานในการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพต่อไป

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ในปัจจุบัน ได้ก่อให้เกิด
ความนิยมในรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ (Online) มากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการ
เตรียมผู้เรียนไทยให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
และความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ (Resilience) รวมถึงปัญหาความปลอดภัยของ
สถานศึกษาและปัญหาความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการศึกษาที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดิฉันจึง
เสนอให้มีวาระเร่งด่วน (Quick Win) ของกระทรวงศึกษาธิการ ดังต่อไปนี้

วาระที่ 1 เรื่องความปลอดภัยของผู้เรียน
โดยจัดให้มีรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข และได้รับการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและ
จิตใจ รวมถึงการสร้างทักษะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการดูแลตนเองจากภัยอันตรายต่าง ๆ
ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม

วาระที่ 2 หลักสูตรฐานสมรรถนะ
มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยยึดความสามารถของผู้เรียนเป็นหลัก และพัฒนาผู้เรียนให้
เกิดสมรรถนะที่ต้องการ

วาระที่ 3 Big Data
พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและไม่ซ้ำซ้อน เพื่อให้ได้ข้อมูลภาพรวมการศึกษาของประเทศ
ที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้องเป็นปัจจุบัน และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

วาระที่ 4 ขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center)
สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) ตามความ
เป็นเลิศของแต่ละสถานศึกษาและตามบริบทของพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการของประเทศทั้งใน
ปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนมีการจัดการเรียนการสอนด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย สอดคล้องกับ
เทคโนโลยีปัจจุบัน

วาระที่ 5 พัฒนาทักษะทางอาชีพ
ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพและ
รายได้ที่เหมาะสม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

วาระที่ 6 การศึกษาตลอดชีวิต
การจัดเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกช่วงวัยให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ประชาชนในแต่ละช่วง
วัยได้รับการศึกษาตามความต้องการอย่างมีมาตรฐาน เหมาะสมและเต็มตามศักยภาพตั้งแต่วัยเด็ก
จนถึงวัยชรา และพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย

วาระที่ 7 การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีเกียรติ ศักดิ์ศรีเท่เทียมกับผู้อื่นในสังคม สามารถช่วยเหลือตนเอง
และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

ขอขอบพระคุณท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รองปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารระดับสูง หัวหน้าส่วนราชการ พี่น้องข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และท่านผู้มีเกียรติทุก
ท่าน ที่ให้ความกรุณาสละเวลาอันมีค่า มาให้การต้อนรับดิฉันและเข้าร่วมรับฟังการมอบนโยบายและยุทธศาสตร์ในการปฏิบัติงาน ดิฉันตระหนักดีว่า ภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการนี้มีอยู่มากมาย ทั้งที่ยังรอการ
ดำเนินงานและที่จะริเริ่มโครงการขึ้นใหม่ จำต้องอาศัยความมุมานะ พยายามอย่างยิ่งยวด ที่ จะให้เกิด
ผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม และนั่นคือสิ่งที่ยากที่สุด

เพราะผลสัมฤทธิ์ของภารกิจด้านการศึกษานั้นไม่อาจระบุได้ว่า เท่าไร เมื่อไร จึงจะถือว่าประสบความสำเร็จ
ดุจดังเรื่องราวของ “พระมหาชนก ” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลย
เดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเป็นแบบอย่างแห่งพระโพธิสัตว์ผู้ถึงพร้อมด้วยวิริยะบารมี ทรงแหวกว่ายอยู่
ในมหาสมุทรท่ามกลางวาตภัยแลสัตว์ร้ายที่พร้อมจะแผ่วพาน กระนั้นก็ทรงแน่วในพระราชปณิธานที่จะว่าย
ต่อไปให้ “ถึงฝั่ง” เพื่อยังประโยชน์แก่อาณาราษฎร โดยการขึ้นครองสิริราชสมบัติปกครองมิถิลานครสืบไป
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากล ตลอดจน พระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี แลพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ จงดลบันดาลประทานพร
ให้ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ประสบแต่ความสุข ความเจริญ เข้าถึงความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม
กำลังกายที่สมบูรณ์ พร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจด้วยความไว้วางใจ เพื่อร่วมไปให้ “ถึงฝั่ง” ด้วยกันนะคะ
ขอขอบพระคุณค่ะ

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สพฐ.

4 นโยบายเร่งด่วน ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. คนที่ 55

4 นโยบายเร่งด่วน ตรีนุช เทียนทอง

วันที่ 29 มีนาคม 2564 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมต้อนรับ นางสาวตรีนุช เทียนทอง เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ณ บริเวณห้องโถงอาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

โดยในช่วงเวลา 8.00 น. นางสาวตรีนุช เทียนทอง (รมว.ศธ.) เดินทางถึงกระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง สังกัด กระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับ หลังจากนั้นได้เดินทางเข้าสักการะพระพุทธรูปประจํากระทรวง (พระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์ สยามิศรจักรี สัฏฐีอนุสรณ์ศึกษาทรรังสรรค์) ศาลพระภูมิ และพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 ต่อมา รมว.ศธ. เดินทางถึงห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อมอบนโยบายและแนวทางดำเนินงานในการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพต่อไป

เสมา1 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดห้องแถลง ๔ นโยบายเร่งด่วนและแนวทางการทำงาน พร้อมตอบข้อซักถามแก่สื่อมวลชน
โดย ๔ นโยบายเร่งด่วนได้แก่

๑.การผลักดันโรงเรียนคุณภาพของชุมชนและการพัฒนาเด็กปฐมวัย

๒.การผลักดันความปลอดภัยของสถานศึกษา ให้โรงเรียนทุกแห่งในประเทศไทย เป็น “พื้นที่ปลอดภัย Safe Zone

๓.ความรู้เรื่องดิจิทัลและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑.

๔.การขับเคลื่อนภาพลักษณ์ที่ดีของการอาชีวศึกษา

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำเสนอรูปแบบการทำงาน “TRUST – ความไว้วางใจ” ที่ต้องการให้เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และสังคม กลับมาเชื่อมั่นในกระทรวงศึกษาธิการ ว่าจะสามารถดูแลลูกหลานของท่านได้อย่างเต็มความสามารถ

 

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก ตรีนุช เทียนทอง 

12 นโยบาย การจัดการศึกษา นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. คนที่ 55

12 นโยบายการจัดการศึกษา ตรีนุช เทียนทอง

วันที่ 29 มีนาคม 2564 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมต้อนรับ นางสาวตรีนุช เทียนทอง เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ณ บริเวณห้องโถงอาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

โดยในช่วงเวลา 8.00 น. นางสาวตรีนุช เทียนทอง (รมว.ศธ.) เดินทางถึงกระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง สังกัด กระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับ หลังจากนั้นได้เดินทางเข้าสักการะพระพุทธรูปประจํากระทรวง (พระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์ สยามิศรจักรี สัฏฐีอนุสรณ์ศึกษาทรรังสรรค์) ศาลพระภูมิ และพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 ต่อมา รมว.ศธ. เดินทางถึงห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อมอบนโยบายและแนวทางดำเนินงานในการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพต่อไป

เพื่อเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากร
มนุษย์ โดยเฉพาะแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ประเด็นการพัฒนาศักยภาพคน
ตลอดช่วงชีวิต การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ การพัฒนาเด็กตั้งแต่
ช่วงตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย การพัฒนาช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น การพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงงาน รวมถึง
การส่งเสริมศักยภาพวัยผู้สูงอายุ ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่
๒๑ และพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง

ดิฉันจึงขออนุญาตนำเสนอนโยบายการจัดการศึกษาทั้ง ๑๒ ข้อ ดังนี้

ข้อ ๑ การปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย และทันการเปลี่ยนแปลงของโลกใน
ศตวรรษที่ ๒๑ โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกระดับการศึกษาให้มีความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับ
บริบทสังคมไทย

ข้อ ๒ การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและอาจารย์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา
ให้มีสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล เพื่อให้ครูและอาจารย์ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะทั้งด้านการจัดการ
เรียนรู้ ด้วยภาษาและดิจิทัล สามารถปรับวิธีการเรียนการสอนและการใช้สื่อทันสมัย และมีความรับผิดชอบต่อ
ผลลัพธ์ทางการศึกษาที่เกิดกับผู้เรียน

ข้อ ๓ การปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ (NDLP) และการ
ส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีหน่วยงานรับผิดชอบพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วย
ดิจิทัลแห่งชาติ ที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัยและเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่าง
กว้างขวางผ่านระบบออนไลน์ และการนำฐานข้อมูลกลางทางการศึกษามาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา
ประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา

ข้อ ๔ การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา โดยการส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มี
ความเป็นอิสระและคล่องตัว การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน
โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อกำหนดให้มีระบบบริหารและการ
จัดการ รวมถึงการจัดโครงสร้างหน่วยงานให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ สถานศึกษาให้มี
ความเป็นอิสระและคล่องตัว การบริหารและการจัดการศึกษโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน มีระบบการบริหารงาน
บุคคลโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

ข้อ ๕ การปรับระบบการประเมินผลการศึกษาและการประกันคุณภาพ พร้อมจัดทดสอบวัดความรู้ และ
ทักษะที่จำเป็นในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาทั้งสายวิชาการและสายวิชาชีพ เพื่อให้ระบบการประเมินผล
การศึกษาทุกระดับและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย ตอบสนองผลลัพธ์
ทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม

ข้อ ๖ การจัดสรรและการกระจายทรัพยากรให้ทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการระดมทรัพยากรทาง
การศึกษาจากความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษามีความเป็นธรรมและสร้าง
โอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมกลุ่มอื่น 1 กระจายทรัพยากรทั้งบุคลากรทาง
การศึกษา งบประมาณและสื่อเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง

ข้อ ๗ การนำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) สู่การปฏิบัติ เป็น
การผลิตและการพัฒนากำลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศโดยใช้กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เชื่อมโยงระบบการศึกษา
และการอาชีพโดยใช้กลไกการเทียบโอนประสบการณ์ด้วยธนาคารหน่วยกิตและการจัดทำมาตรฐานอาชีพใน
สาขาที่สามารถอ้างอิงอาเชียนได้

ข้อ ๘ การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ
วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย เพื่อเป็นการขับเคลื่อนแผนบูรณาการการพัฒนาเด็กปฐมวัย
ตามพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒ สู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นำไปเป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย และมีการติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ

ข้อ ๙ การศึกษาเพื่ออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้ผู้จบการศึกษา
ระดับปริญญาและอาชีวศึกษามีอาชีพและรายได้ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพและคุณภาพชีวิตที่ดี มีส่วนช่วย
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกได้

ข้อ ๑๐การพลิกโฉมระบบการศึกษาทยด้วยการนำนวัตกรรมและทโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัด
การศึกษาทุกระดับการศึกษา เพื่อให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ใน
การจัดการศึกษาผ่านระบบดิจิทัล

ข้อ ๑๑ การเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และ
ผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่ม
ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

ข้อ ๑๒ การจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย โดยยึดหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการมี
ส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทาง
การศึกษาและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สพฐ.

ทุนโครงการ สควค. เตรียมรับสมัคร ครู โครงการ สควค. โดยสรรหาคัดเลือกผู้รับทุนตั้งแต่ปี 2564 – 2567

ทุนโครงการ สควค. เตรียมรับสมัครครูโครงการ สควค.

วันที่ 23 มีนาคม 2564 / ทำเนียบรัฐบาล คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตครู ที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระยะที่ 4 (พ.ศ. 2564 – 2567) ของกระทรวงศึกษาธิการ  เพื่อผลิตครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMT) ที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่ระบบโรงเรียนมัธยมศึกษา ให้ทันกับแผนความต้องการข้าราชการครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  โดยมีเป้าหมายในการผลิตครู SMT คุณภาพบรรจุ   ในสถานศึกษาของ สพฐ. ทุกจังหวัดทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พศ. 2566 – 2573 รวม 1,200 คน มีเป้าหมายบรรจุครู  ปีละ 150 คน โดยให้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ดำเนินงานภายใต้งบประมาณ 1,654.98 ล้านบาท แบ่งเป็น งบทุนการศึกษาประมาณ 1,377 ล้านบาท และงบดำเนินงานประมาณ  278 ล้านบาท

                คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่าการดำเนินงานโครงการนี้มีระยะเวลา 10 ปี วัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างบุคลากรครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ วุฒิปริญญาโทหรือ ครู SMT คุณภาพรุ่นใหม่ ทดแทนบุคลากรเกษียณอายุราชการและโยกย้ายภูมิลำเนา  โดยมีหลักสูตรเฉพาะที่มุ่งพัฒนาทักษะสำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้าน Coding การทำวิจัยในชั้นเรียน และการนำการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ หรือใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิทยาศาสตร์  สู่การปรับเปลี่ยนแนวคิดทางการศึกษาวิถีใหม่ เพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการเปลี่ยนโฉมบาทบาทครูให้เป็นครูยุคใหม่

สำหรับแผนการดำเนินงานโครงการ สควค. ระยะที่ 4 ในส่วนทุนการศึกษาแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1  ทุนระดับปริญญาตรี-โท รวม 600 ทุน โดยสรรหาคัดเลือกผู้รับทุนตั้งแต่ปี 2564 – 2567 ให้เข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ในระดับปริญญาตรี และศึกษาต่อเนื่องในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในระดับปริญญาโท  และรูปแบบที่ 2 ทุนระดับปริญญาโท รวม 600 ทุน โดยสรรหาคัดเลือกผู้รับทุนตั้งแต่ปี 2564 – 2567 จากผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อศึกษาต่อในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในระดับปริญญาโท

ส่วนงบดำเนินงาน จะเป็นการลงทุนเพื่อสร้างความร่วมมือและความเข้มแข็งของโครงการ ซึ่งเกี่ยวข้อง สถาบันผลิตครู (คณาจารย์ อาจารย์นิเทศก์)  โรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (ครูพี่เลี้ยง) และเครือข่ายวิชาการครู สควค. ระดับภูมิภาค (เหนือ กลาง ใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยมี สสวท.เป็นผู้พัฒนา โปรแกรมเสริมทักษะเพิ่มเติมที่สอดคล้องกับสมรรถนะทางวิชาชีพครูเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพครูของคุรุสภา ทั้งนี้ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการบริหารโครงการ สควค. จำนวน 2 คณะ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียบร้อยแล้ว

“ครูรุ่นใหม่ภายใต้โครงการนี้จะเป็นครูผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ของเยาวชนไทย ด้วยการเรียนการสอนฐานสมรรถนะอย่างมีมาตรฐาน มีความฉลาดรู้ทั้งเรื่องดิจิทัล วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  มีทักษะรู้เท่ากันสื่อและสารสนเทศ สามารถใช้กระบวนการวิจัยหรือนำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ได้ อดีตครู สควค. ใน 3 ระยะที่ผลิตมาก่อนหน้านี้ก็เป็นกำลังสำคัญของประเทศในการผลักดันการจัดการเรียนการสอน SMT และเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนโครงการด้านการเรียนการสอน เช่น การจัดการเรียนการสอน Coding และโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ เป็นต้น” คุณหญิงกัลยาย้ำความมั่นใจ

              ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยว่า สสวท. ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ตั้งแต่ปี 2539   โดยได้ผลิตครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ที่มีความรู้ความสามารถสูง เป็นผู้นำทางวิชาการ ให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา และยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน ตลอดระยะเวลา 24 ปี ที่ผ่านมา มีผู้สำเร็จการศึกษาทุน สควค. และเข้าปฏิบัติงานในโรงเรียนและหน่วยงานทางการศึกษา 5,397 คน ซึ่งนอกจากได้ปฏิบัติงานสอน พัฒนาและส่งเสริมนักเรียนให้ได้รับรางวัลในเวทีการประกวดต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศแล้ว ยังมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการเรียนการสอน  ของประเทศ โดยร่วมเป็นวิทยากรแกนนำในโครงการต่าง ๆ ของ สสวท. ร่วมเป็นคณะทำงานในโครงการต่าง ๆ ของ สพฐ. พร้อมทั้งโครงการสำคัญต่าง ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ครู สควค. ยังได้รับรางวัลหนึ่งครูแสนดี 44 คน รางวัลครูสอนดี ครูดีเด่น ครูดีเยี่ยม   ครูดีในดวงใจ 94 คน รางวัล OBEC AWARDS 18 คน รางวัลวิจัยคุรุสภา 9 คน รางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น 4 คน และรางวัลอื่น ๆ อีกจำนวนมาก และบางส่วนได้รับเชิญเป็นกรรมการระดับนานาชาติ ซึ่งการที่ ครม. อนุมัติโครงการ สควค. ระยะที่ 4 เป็นคุณต่อ  การพัฒนาการศึกษา SMT ของประเทศอย่างยิ่ง ครู สควค. รุ่นใหม่นี้จะเป็นกำลังสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สสวท.

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
เลขาธิการ ก.ค.ศ. เปิดเผยว่าในการประชุม อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม 2564 ได้มีมติอนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญจำนวน 2 ราย ดังนี้
หลักเกณฑ์ฯ ว 12/2561 มีวิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญจำนวน 2 ราย ได้แก่
1) นายสมพงษ์ พรมใจ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 (ผลงานทางวิชาการ คือ รายงานผลการขับเคลื่อน โรงเรียนสู่โรงเรียนคุณภาพ 6 Q ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2)
2) นางผกาภรณ์พลายสังข์ สพป.พิจิตร เขต 1 (ผลงานทางวิชาการ คือ รายงานผลการใช้ นโยบายและจุดเน้นเพื่อขับเคลื่อนการจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2562)

รายละเอียดเพิ่มเติม

ขอบคุณที่มาจาก : ก.ค.ศ.

เกณฑ์วิทยฐานะ ตำแหน่งบริหารการศึกษา ผอ. รอง ผอ. เห็นชอบแล้ว

วิทยฐานะ บริหารการศึกษา วิทยฐานะ ผอ วิทยฐานะรอง ผอ.

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 ทางเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 3/2564 ในวันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2564 โดยมีคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษา  ราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน โดยมีข้อความดังต่อไปนี้

 

สืบเนื่องจาก ก.ค.ศ. ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 ได้เห็นชอบการกำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกตำแหน่งและทุกวิทยฐานะ เพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมถึงนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ  และเพื่อให้ทันและสอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการศึกษาในปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของการจัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์นี้ โดยได้มีการศึกษาข้อมูล การระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการ และการนำผลการวิจัยมาเป็นฐานในการดำเนินการ รวมถึงได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้ว

 

สำหรับตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา ได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบใหม่ โดยกำหนดลักษณะงานที่ปฏิบัติ 5 ด้าน คือ 1. ด้านการบริหารและความเป็นผู้นำ การพัฒนาการศึกษา 2. ด้านการบริหารจัดการและการพัฒนาองค์กร 3. ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม 4. ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย และ 5. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ สำหรับหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ใหม่นี้  ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้เรียน ครู สถานศึกษา หน่วยงานการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา เพื่อให้ผู้บริหารการศึกษาได้พัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงขึ้นตามระดับวิทยฐานะ มีภาวะผู้นำในการบริหารวิชาการ และบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน คุณภาพครู คุณภาพผู้เรียน และคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดความเชื่อมโยง(Alignment and Coherence) ในระบบการประเมิน และการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ ลดความซ้ำซ้อนและงบประมาณ และการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ โดยใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน ทำให้ลดความซ้ำซ้อน นอกจากนี้ทำให้มี  Big data ในการบริหารงานบุคคล สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดย (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ใหม่ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 

        1. กำหนดให้ผู้บริหารการศึกษาทุกคนทำข้อตกลงในการพัฒนางานกับผู้บังคับบัญชาตามลำดับ ถึงส่วนราชการ ได้ตลอดปี ซึ่งข้อตกลงในการพัฒนางาน ประกอบด้วย 2 ส่วน

        ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ (ภารงานบริหาร  จัดการศึกษาและคุณภาพการปฏิบัติงาน)

       ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน คุณภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ

โดยมีรอบการประเมินปีงบประมาณละ 1 ครั้ง ในแต่ละรอบการประเมินต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการบริหารงานบุคคล ได้แก่ ใช้เป็นคุณสมบัติในการขอรับการประเมินเพื่อให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ใช้เป็นผลการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ (มาตรา 55) และใช้เป็นองค์ประกอบในการประเมินเพื่อพิจารณาเลื่อนเงินเดือน

สำหรับการยื่นคำขอ ให้ยื่นได้ตลอดปี ภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยหากยื่นไว้แล้ว ต้องได้รับแจ้งมติไม่อนุมัติก่อน จึงจะยื่นในวิทยฐานะเดิมได้

         2. คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ

1) มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามระยะเวลาในแต่ละวิทยฐานะ

2) มีการพัฒนางานตามข้อตกลง ในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 1 รอบการประเมิน โดยต้องมีผลการประเมินที่นำมาเสนอขอ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

3) ในช่วงระยะเวลาการดำรงตำแหน่งย้อนหลัง 1 ปีต้องไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย ที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ หรือไม่เคยถูกวินิจฉัยชี้ขาดทางจรรยาบรรณวิชาชีพ ที่หนักกว่าภาคทัณฑ์

3. การประเมิน กำหนดให้มีการประเมิน 2 ด้านสำหรับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

         ด้านที่ 1 ด้านทักษะการวางแผนกลยุทธ์ การใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหาร

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา และหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ

สำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษจะมีการประเมิน ด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ

          4. การยื่นคำขอ ให้ยื่นคำขอและหลักฐานประกอบการประเมินตามระบบปกติ

          5. เกณฑ์การตัดสิน ด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 สำหรับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 และร้อยละ 80 สำหรับ วิทยฐานะเชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ ตามลำดับ สำหรับด้านที่ 3 ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 สำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญ และไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 สำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล เเกณฑ์วิทยฐานะตำแหน่งบริหารการศึกษา เกณฑ์วิทยฐานะ ผอ. เกณฑ์วิทยฐานะ รอง ผอ. เห็นชอบแล้ว จาก เว็บไซต์ ก.ค.ศ. ค่ะ

 

มาแล้วจ้า!! ปกแฟ้มประเมิน เลื่อนเงินเดือนครู โหลดง่าย ไฟล์ PPT PSD JPG

ประเมินเงินเดือนครู

ปกแฟ้มประเมินเลื่อนเงินเดือนครู มาแล้ว!! ปกแฟ้มประเมิน เลื่อนเงินเดือนครู โหลดง่าย ไฟล์ PPT PSD JPG ปกแฟ้มสำหรับประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใช้สำหรับประเมินเลื่อนเงินเดือน) สายงานการสอน

สวัสดีค่ะ เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดแจ้ง หนังสือ ว 20/2561 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หนังสือ ว 20/2561 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเลื่อนเงินเดือน ซึ่งเริ่มใช้ในการประเมินเลื่อนเงินเดือนตั้งแต่ รอบเดือนตุลาคม2561-มีนาคม 2562 เป็นต้นไป โดยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเพื่อการเลื่อนเงินเดือนของคุณครู จะมีอยู่ 2 ตอนดังนี้

ตอนที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน (70 คะแนน)ประกอบไปด้วย

1. ด้านการจัดการเรียนการสอน

2. ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน

3. ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ

4. งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

ตอนที่ 2 การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ (30 คะแนน)

 

ภาพตัวอย่าง!!

มาแล้วจ้า!! ปกแฟ้มประเมินเลื่อนเงินเดือนครู โหลดง่าย ไฟล์ PPT PSD JPG

 

มาแล้วจ้า!! ปกแฟ้มประเมินเลื่อนเงินเดือนครู โหลดง่าย ไฟล์ PPT PSD JPG

เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้คุณครู ทีมงานครูอัพเดตดอทคอมจึงได้จัดทำไฟล์ปกแฟ้มสำหรับประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู หรือ การเลื่อนเงินเดือนครู โดยจัดทำให้ครบทุกด้านครับ ทั้งหน้าปกและรายละเอียดในแฟ้มผลงานครับ โดยคุณครูสามารถดาวน์โหลดไฟล์ไปใช้ได้ตามสะดวกนะครับ เพราะมีให้ทั้งไฟล์ Photoshop Power Point และไฟล์รูปภาพครับ

ดาวน์โหลดที่นี่ค่ะ

ไฟล์ JPG

ไฟล์ PSD

ไฟล์ PPT

สวัสดิการ การฌาปนกิจสงเคราะห์ ช.พ.ค.-ช.พ.ส.

0

สวัสดิการ การฌาปนกิจสงเคราะห์ ช.พ.ค.-ช.พ.ส.

สวัสดีครับวันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมมีเรื่องราวดีดีมานำเสนอคุณครูเช่นเคยครับ โดยเมื่อเร็วๆนี้เพจ กิจการ ช.พ.ค. และ ช.พ.ส. ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ สวัสดิการ การฌาปนกิจสงเคราะห์ ช.พ.ค.-ช.พ.ส. ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจจึงขอนำมาให้คุณครูได้อ่านและทำความเข้าใจไปด้วยกันดังนี้ครับ

การฌาปนกิจสงเคราะห์ ช.พ.ค. – ช.พ.ส. “เป็นสวัสดิการ” และ “เป็นการฌาปนกิจสงเคราะห์ภาครัฐ” ที่ต้องขึ้นทะเบียนกิจการ ตาม พ.ร.บ. การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นสวัสดิการ “สําหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา”

การฌาปนกิจสงเคราะห์ ช.พ.ค. – ช.พ.ส. เป็นกิจการที่บุคคลหลายคนตกลงร่วมกันเพื่อทําการสงเคราะห์ ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ หรือจัดการศพและสงเคราะห์ ครอบครัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ตกลงเข้าร่วมกันนั้น ซึ่งถึงแก่ความตาย และไม่ได้ประสงค์จะหากําไรหรือรายได้ มาแบ่งปันกัน

การฌาปนกิจสงเคราะห์ ช.พ.ค. – ช.พ.ส. ไม่ใช่ “สหกรณ์” “ไม่ใช่สถาบันการเงิน” หรือ “ธนาคารพาณิชย์” จึงไม่มีหน้าที่และ อํานาจในการลงทุน ร่วมทุนในเชิงธุรกิจ หรือ ให้สินเชื่อเงินกู้ต่าง ๆ ดังเช่นกรณีของสถาบันการเงิน หรือสหกรณ์ หรือธนาคาร

สวัสดิการ การฌาปนกิจสงเคราะห์ ช.พ.ค.-ช.พ.ส. สวัสดิการ ช.พ.ค.-ช.พ.ส.
สวัสดิการ การฌาปนกิจสงเคราะห์ ช.พ.ค.-ช.พ.ส. สวัสดิการ ช.พ.ค.-ช.พ.ส.

ขอบคุณที่มาจาก : เพจ กิจการ ช.พ.ค. และ ช.พ.ส.

วิธีตัดภาพพื้นหลัง ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก ไม่ต้องลงโปรแกรมเพิ่มในมือถือก็ทำได้

0

วิธีตัดภาพพื้นหลัง ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก ทำได้ทั้งในมือถือและคอมพิวเตอร์

สวัสดีค่ะ วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีเทคนิคการตกแต่งรูปภาพมาฝากอีกเช่นเคย ซึ่ง วิธีตัดภาพพื้นหลัง ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก ทำได้ทั้งในมือถือและคอมพิวเตอร์ เป็นวิธีการที่ทำง่ายและไม่ต้องลงโปรแกรมเพิ่มอีกด้วย

สามารถนำภาพที่ได้ ไปทำหน้าปก ตกแต่งใบงาน หรือทำกราฟิกสวยๆ ไม่ซ้ำใคร เพิ่มการดึงดูงให้กับชิ้นงานเราอึกด้วยค่ะ และมีวิธีการทำง่ายๆดังนี้

1. เข้า google ค้นหาคำว่า removebg หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.remove.bg/

https://www.remove.bg/

2. คลิกเลือก Upload Image โดยเราต้องเตรียมรูปไว้ในเครื่องนะคะ แนะนำให้เป็นรูปภาพที่มีพื้นหลังเบลอ จะได้ตัดออกมาเนียมากค่ะ

https://www.remove.bg/

3.เลือกรูปภาพ แล้วกดคำว่า ใช้มุมขวาบนสุดค่ะ

https://www.remove.bg/

4. เว็บจะคำนวณและตัดพื้นหลังให้อัตโนมัติ แล้วกดที่ Download เพื่อบันทึกลงในเครื่องค่ะ

https://www.remove.bg/

5.รูปที่ได้จะเป็นไฟล์ .PNG ซึ่งไม่มีพื้นหลัง และจะบันทึกในไฟล์ ดาวน์โหลดของเครื่อง สามารถนำมาใช้งานได้เลยค่ะ

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณ https://www.remove.bg/

เทคนิคการแต่งภาพที่น่าสนใจ

วิธีตัดภาพพื้นหลังออกจากรูปคน ด้วย Word และ ppt ทำตามได้ง่ายมาก

วิธีทำรูปภาพเป็นรูปทรงต่างๆ ด้วยโปรแกรม Word และ ppt

ไฟล์ตัวอย่าง Obec Awords รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. ครูผู้สอนยอดเยี่ยม

0

ไฟล์ตัวอย่าง Obec Awords รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. ครูผู้สอนยอดเยี่ยม

ปฏิทินการประกวด OBEC AWARDS ระดับภาคและระดับชาติ ครั้งที่ 10 ปีการศึกษา 2563

สวัสดีค่ะ คุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีข่าวดีเกี่ยวกับปฏิทินการคัดเลือกผู้รับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ครั้งที่ 10 ปีการศึกษา 2563 มาฝากคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน ซึ่งกำหนดการแต่ละภูมิภาคอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยมีรายละเอียดแยกตามภูมิภาคดังนี้ค่ะ

กำหนดการประกวด OBEC AWARDS ระดับภาคและระดับชาติ ครั้งที่ 10 ปีการศึกษา 2563

ปฏิทินการประกวด OBEC AWARDS ระดับภาคและระดับชาติ ครั้งที่ 10 ปีการศึกษา 2563

เว็บไซต์ระดับชาติ คลิกที่ :http://awards63.obecawards.net/obec-nation/

ปฏิทินการคัดเลือกผู้รับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่ 10 ปีการศึกษา 2563 (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา)

ไฟล์ตัวอย่าง Obec Awords รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. ครูผู้สอนยอดเยี่ยม

ไฟล์ตัวอย่าง Obec Awords รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. ครูผู้สอนยอดเยี่ยม

 

ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณไฟล์ข้อมูลจาก คุณครูนพมาศ การดี เป็นอย่างสูงค่ะ