แบ่งปันไฟล์ รายงาน PLC ไฟล์ WORD แก้ไขได้

0

แบ่งปันไฟล์ รายงาน PLC ไฟล์ WORD แก้ไขได้

ข้อขี้แจง
บทบาทหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มตามกระบวนการ PLC
– Model Teacher หมายถึง ครูผู้รับการนิเทศ
– Buddy Teacher หมายถึง ครูคู่นิเทศ, ครูร่วมเรียนรู้
– Mentor หมายถึง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้าระดับวิชา
– Expert หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญ เช่น ครูหัวหน้างาน นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ศึกษานิเทศก์
– Administrator หมายถึง ผู้บริหารโรงเรียน
– Recorder หมายถึง ผู้บันทึกรายงานการประชุม

แนวทางการปฏิบัติกิจกรรมการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
1. แบ่งกลุ่มย่อย ตามความเหมาะสม (ครูกลุ่มสาระฯเดียวกัน/รายวิชาเดียวกัน/ระดับชั้นเดียวกัน)
2. ให้แต่ละกลุ่มคิดแนวทางแก้ไขปัญหา 1 เรื่องจากประเด็นต่อไปนี้
2.1 ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน 1 เรื่อง/กลุ่ม
2.2 ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนของครู หรือเทคนิควิธีการสอนที่ครูควรพัฒนา 1
3. จัดทำโครงการ/กิจกรรม การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

วินัย 5 ประการของบุคลากรในโรงเรียน
1. ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)
2. แบบแผนความคิดอ่าน (Mental Models)
3. วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
4. การเรียนรู้ของทีม (Team Leaning)
5. การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

ตัวอย่างไฟล์ แบ่งปันไฟล์ รายงาน PLC ไฟล์ WORD แก้ไขได้

แบ่งปันไฟล์ รายงาน PLC ไฟล์ WORD แก้ไขได้

ดาวน์โหลดไฟล์  รายงาน PLC ไฟล์ WORD ที่นี่

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลแบ่งปันไฟล์ รายงาน PLC ไฟล์ WORD แก้ไขได้ จาก Sayompoo Singto

ผอ. รอง ผอ. ทำไมต้องสอน โดย รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.

ผอ. รอง ผอ. ทำไมต้องสอน โดย รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.

สวัสดีครับ คุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีสาระดีๆเกี่ยวกับการกำหนดชั่วโมงสอนของผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด มาฝากคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่านครับ

บทความจากคอลัมน์คลินิกครู ครูคำหล้า หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2564 

ผอ. รอง ผอ.ทำไมต้องสอน

ผอ. และรอง ผอ. แต่ละสถานศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในแนวรบคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ตกต่ำ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ต้องออกเกณฑ์ให้ ผอ.สอน 5 ชม. รอง ผอ.10 ชม.ต่อสัปดาห์

ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นความจำเป็นที่สุดสำหรับนักบริหารยุคใหม่ นักบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ผนวกกับงานวิจัยทั่วโลกที่ชี้ว่า “สิ่งที่ครูคาดหวังจากผู้บริหารมากที่สุด คือ ความเป็นผู้นำทางวิชาการ” เห็นได้จากการเป็นผู้นำการเรียนการสอนนั่นเอง

“เลขาธิการ ดร.ประวิต” บอกว่า อย่าได้กังวลใจ ไม่ให้ไปรับผิดชอบสอนรายวิชา แต่อยากให้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนกับครูและ นิเทศครูสักหน่อยเพราะหัวใจหลักคือ ต้องการให้ ผอ. เข้าห้องเรียนกับครูบ้าง จะได้เห็นห้องเรียนว่าเป็นอย่างไร? เด็กมีสภาพเป็นอย่างไร? ครูลำบากอย่างไร?

แต่สำหรับผม มองว่า การเป็น ผอ. และรอง ผอ. ไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่เป็น ผอ. และรอง ผอ. ที่มีความช่ำชองการบริหารวิชาการมันยากยิ่งนัก เห็นทีเราต้องพัฒนาผู้บริหารให้มีทักษะวิชาการอย่างหนักแล้วล่ะ!

ผอ. รอง ผอ. ทำไมต้องสอน โดย รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ._1

 ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก คอลัมน์คลินิกครู ครูคำหล้า ห

คอร์สเรียนออนไลน์ CHULA MOOC ในเดือนพฤษภาคม 2564 รอบที่ 2 พร้อมเปิดให้ลงทะเบียน แล้ว

0

คอร์สเรียนออนไลน์ CHULA MOOC ในเดือนพฤษภาคม 2564 รอบที่ 2 พร้อมเปิดให้ลงทะเบียน แล้ว

** ข่าวดี 1 CHULA MOOC ในเดือนพฤษภาคม 2564 รอบที่ 2 พร้อมเปิดให้ลงทะเบียน (เท่านั้น) แล้ว
***ผู้ใดลงทะเบียนสำเร็จแล้ว (Enrollment Completed) รบกวนออกจากเว็บไซต์เพื่อลดปัญหาความหนาแน่น***

** ข่าวดี 2สำหรับหลักสูตรส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลเฝ้าระวังและใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ในมิติวัฒนธรรม รุ่นที่ 2
เปิดให้ลงทะเบียนเพิ่มอีก 5,000 คน ลงทะเบียนได้แล้วตอนนี้

——————————————
– เริ่มเข้าเรียนได้ในวันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม 2564 สำหรับการเข้าเรียน ผู้เรียนกดที่ Link รายวิชาด้านล่าง และกดที่ปุ่ม “เข้าเรียน” ก็จะสามารถเข้าเรียนได้ ระบบจะเปิดให้เข้าเรียนตอน 6.00 น. เป็นต้นไป โดยผู้เรียนสามารถวางแผนการเรียนได้ด้วยตนเอง วันใด เวลาใดก็ได้ แต่หากเรียนจบ สอบผ่านเกณฑ์ในเวลาที่กำหนดจึงจะได้รับใบ certificate

– ลงทะเบียนรายวิชาสำเร็จจะปรากฎคำว่า Enrollment Completed หากไม่มีจะถือว่าลงทะเบียนไม่สำเร็จ โปรดลงทะเบียนใหม่อีกครั้ง
-สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนเป็นครั้งแรก โปรดตรวจสอบชื่อนามสกุลให้ถูกต้อง เนื่องจากข้อมูลจะปรากฎบนใบ Certificate เมื่อเรียนจบ
– โปรดศึกษาวิธีการใช้งาน https://mooc.chula.ac.th/how-to
——————————————

คลิกดูรายละเอียดวิชาพร้อมทะเบียนกันได้ที่
-หลักสูตรส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลเฝ้าระวังและใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ในมิติวัฒนธรรม รุ่นที่ 2
https://mooc.chula.ac.th/courses/183
–  หลักชะรีอะฮ์ในธนาคารอิสลาม รุ่นที่ 1
https://mooc.chula.ac.th/courses/222
–  วิธีการดูแลตนเองเบื้องต้นในผู้ป่วยโรคกระจกตาและผิวดวงตา รุ่นที่ 1
https://mooc.chula.ac.th/courses/223
–  มหากาพย์ กลเม็ด เก่งคณิต : เปิดมิติเรขาคณิต รุ่นที่ 3
https://mooc.chula.ac.th/courses/67
– หลักการพื้นฐานทางกฎหมายอาญา รุ่นที่ 4
https://mooc.chula.ac.th/courses/22
– ภาษารัสเซียเบื้องต้น รุ่นที่ 5
https://mooc.chula.ac.th/courses/57

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก คอร์สเรียนออนไลน์ CHULA MOOC ในเดือนพฤษภาคม 2564 รอบที่ 2 พร้อมเปิดให้ลงทะเบียน แล้ว

 

สรุป ผลสอบ NT ป.3 และ คะแนน NT ป.3 ปีการศึกษา 2563 โดย ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ

สรุปผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563

สรุป ผลสอบ NT ป.3 และ คะแนน NT ป.3 ปีการศึกษา 2563 โดย ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ

1. สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. ได้ดำเนินการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ซึ่งเป็นการประเมินความสามารถพื้นฐานที่สำคัญตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 2 ด้าน คือ ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ และความสามารถด้านภาษาไทย

2. กลุ่มเป้าหมายที่ประเมิน คือ ผู้เรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 จากสถานศึกษาสังกัดต่าง ๆ จำนวน 8 สังกัด คือ
-สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
-สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)
-กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
-สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร (กทม.)
-สำนักการศึกษาเมืองพัทยา (พัทยา)
-กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อปท.)
-กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.)
-โฮมสคูล
-จำนวนโรงเรียนรวมทั้งสิ้น 30,252 แห่ง และมีผู้เรียนชั้น ป.3 ที่เข้าสอบ จำนวน 741,554 คน

3. สรุปผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563
3.1 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) จำแนกตามสังกัด
3.1.1 ผลการประเมินความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ระดับประเทศ สรุปได้ว่ามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 40.47
#หน่วยงานที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (51.51) รองลงมา คือ โฮมสคูล (43.37) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (41.30) ตามลำดับ

3.1.2 ผลการประเมินความสามารถด้านภาษาไทย ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ระดับประเทศ สรุปได้ว่ามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 47.46
#หน่วยงานที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (56.02) รองลงมาคือ โฮมสคูล (51.96) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (47.76) ตามลำดับ

3.1.3 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนทั้ง 2 ด้าน ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ระดับประเทศ สรุปได้ว่า มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 43.97
#หน่วยงานที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (53.76) รองลงมา คือ โฮมสคูล (47.66) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (44.53) ตามลำดับ

3.2 การเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ปีการศึกษา 2562 กับปีการศึกษา 2563
3.2.1 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ปีการศึกษา 2562 กับปีการศึกษา 2563 ภาพรวมระดับประเทศ พบว่า ภาพรวมทั้ง 2 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละลดลง (1.73)
#เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าความสามารถด้านภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้น (1.00) ส่วนความสามารถด้านคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละลดลง (4.47)

3.2.2 ผลประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ปีการศึกษา 2562 กับปีการศึกษา 2563 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ภาพรวมทั้ง 2 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละลดลง (1.29)
#เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความสามารถด้านภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้น (1.76) ส่วนความสามารถด้านคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละลดลง (4.34)

3.3 จำนวนและร้อยละของนักเรียนจำแนกตามระดับคุณภาพ ปีการศึกษา 2563
3.3.1 จำนวนและร้อยละผู้เรียนจำแนกตามระดับคุณภาพ ปีการศึกษา 2563 ภาพรวมระดับประเทศ
#ผลประเมินในภาพรวมทั้ง 2 ด้าน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 40.34) รองลงมา คือ ระดับปรับปรุง (26.79) ระดับดี (23.74) และระดับดีมาก (9.13) ตามลำดับ
#เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 39.46) รองลงมา คือ ระดับปรับปรุง (32.32) ระดับดี (17.66) และระดับดีมาก (10.56) ตามลำดับ
#ส่วนความสามารถด้านภาษาไทย นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ (32.80) รองลงมา คือ ระดับดี (29.60) ระดับปรับปรุง (25.54) และระดับดีมาก (12.06) ตามลำดับ

3.3.2 จำนวนและร้อยละผู้เรียนจำแนกตามระดับคุณภาพ ปีการศึกษา 2563 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
#ผลประเมินในภาพรวมทั้ง 2 ด้าน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 43.12) รองลงมา คือ ระดับดี (27.77) ระดับปรับปรุง (18.00) และระดับดีมาก (11.11) ตามลำดับ
#เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ (41.01) รองลงมา คือ ระดับปรับปรุง (24.99) ระดับดี (20.92) และระดับดีมาก (13.08) ตามลำดับ
#ส่วนความสามารถด้านภาษาไทย นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ (34.77) รองลงมา คือ ระดับดี (34.12) ระดับปรับปรุง (17.23) และระดับดีมาก (13.88) ตามลำดับ

#BET OBEC

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณ สรุป ผลสอบ NT ป.3 คะแนน NT ป.3 ปีการศึกษา 2563 โดย ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ เป็นอย่างสูงค่ะ

ประกาศผลสอบ NT ป.3 ปีการศึกษา 2563 ผลสอบ nt 63

0

ประกาศผลสอบ NT ป.3 ปีการศึกษา 2563 ผลสอบ nt 63

ประกาศผลสอบ NT ป.3 ปีการศึกษา 2563 ผลสอบ nt 63

สวัสดีครับ คุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีประกาศผลสอบ NT ป.3 ปีการศึกษา 2563 จาก สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาฝากคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่านครับ

วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 เว็บไซต์ สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยแพร่ประกาศผลสอบ NT ป.3 ปีการศึกษา 2563 โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ

คุณครูและผู้อ่านทุกท่าน สามารถดาวน์โหลดประกาศผลสอบ NT ป.3 ได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ครับ

ประกาศผลสอบ NT ป.3 รายโรงเรียน คลิกที่นี่!!

ประกาศผลสอบ NT ป.3 รายบุคคล คลิกที่นี่!!

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ สทศ. สพฐ.

ผลสอบ NT วิธีดูผลคะแนน NT ป.3 ปี 2563 (สอบ ปี 2564)

ปีนี้มีผลการทดสอบ NT ปีการศึกษา 2563 ระดับชาติ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ครับ

ผลสอบ NT คะแนน NT ป.3 วิธีดูผลคะแนน NT ป.3 ประกาศคะแนน NT ป.3 ปี 2563 (สอบ ปี 2564)001

ผลสอบ NT คะแนน NT ป.3 วิธีดูผลคะแนน NT ป.3 ประกาศคะแนน NT ป.3 ปี 2563 (สอบ ปี 2564)001

ท่านสามารถเข้าระบบเพื่อตรวจสอบผลคะแนน ผลสอบ NT  ปี 2563 (สอบ ปี 2564) ได้จากลิงก์ด้านล่างเลยนะครับ

ประกาศผลการสอบNT  ป.3 ปีการศึกษา 2563 SERVER ที่ 1>>

ประกาศผลการสอบNT  ป.3 ปีการศึกษา 2563 SERVER ที่ 2 >>

>>ประกาศผลสอบ NT ป.3 รายบุคคล คลิกที่นี่ <<

เข้าระบบประกาศผลNT ป.3 ปีการศึกษา 2563 คลิกที่นี่!!

สำหรับวิธีการดู ผลคะแนน NT ป.3 สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนดังนี้ครับ 

  1. เลือกประเภทของข้อมูลที่ต้องการ ดูผลคะแนน ผลสอบ NT ป.3 ปี 2563

ประกาศผลการสอบNT  ป.3 ปีการศึกษา 2563 สอบ 2564 SERVER ที่ 1>>

ประกาศผลการสอบNT  ป.3 ปีการศึกษา 2563 สอบ 2564 SERVER ที่ 2 >>

>>ประกาศผลสอบ NT ป.3 รายบุคคล คลิกที่นี่ <<

2. กรอกรหัสโรงเรียน สำหรับโรงเรียน หรือ รหัสประจำตัวประชาชน สำหรับการเข้าผลคะแนน NT รายบุคคลดังภาพครับ

ผลสอบ NT คะแนน NT ป.3 วิธีดูผลคะแนน NT ป.3 ประกาศคะแนน NT ป.3 ปี 2563 (สอบ ปี 2564)

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูฃจากเพจ วิษณุ ผอ.สทศ.

และ ระบบประกาศผลสอบ NT 

 

คุณครูรู้หรือยัง! โรงเรียนจะมีครูเพิ่มขึ้นหรือลดลง หากใช้เกณฑ์อัตรากำลังฯ ใหม่ ในปีการศึกษา 2564

0

คุณครูรู้หรือยัง! โรงเรียนจะมีครูเพิ่มขึ้นหรือลดลง หากใช้เกณฑ์อัตรากำลังฯ ใหม่ ในปีการศึกษา 2564

สวัสดีครับ คุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีสาระดีๆเกี่ยวกับเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์ ว23/2563 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2563 มาฝากคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่านครับ

ในปีการศึกษา 2564 นี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จะได้นำหลักเกณฑ์อัตรากำลังของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่ดังกล่าว มาใช้กับสถานศึกษาในสังกัด โดยจะยึดจำนวนนักเรียน (10 มิ.ย.) มาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณอัตรากำลังในสถานศึกษา ซึ่งวันนี้ ครูอัพเดตดอทคอม ได้สรุปย่อในส่วนของจำนวนอัตรากำลังที่โรงเรียนพึงมี ทั้งในสายงานบริหารสถานศึกษา สายงานการสอน และสายงานสนับสนุนการศึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้

เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตารางที่ 1 การกำหนดอัตรากำลังในสถานศึกษา

ตำแหน่ง

 

นักเรียน (คน)

สายงานบริหารสถานศึกษา สายงานการสอน  

สายงานสนับสนุนการศึกษา

ผู้อำนวยการสถานศึกษา
(อัตรา)
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
(อัตรา)
ระดับปฐมวัย/ประถมศึกษา(อัตรา) ระดับมัธยมศึกษา
1-40 ไม่กำหนด ไม่กำหนด 1-4 คำนวณ*  

พนักงานราชการ/อัตราจ้าง

1 อัตรา

41-80 1 ไม่กำหนด 6 คำนวณ*
81-119 1 ไม่กำหนด 8 คำนวณ*
120-359 1 1 คำนวณ*
360-719 1 1 คำนวณ* บุคลากรทางการศึกษาอื่น   ตามมาตรา 38 ค. (2) 1 อัตรา
720-1,079 1 2 คำนวณ* บุคลากรทางการศึกษาอื่น   ตามมาตรา 38 ค. (2) 2 อัตรา
1,080-1,679 1 3 คำนวณ* บุคลากรทางการศึกษาอื่น   ตามมาตรา 38 ค. (2) 3 อัตรา
1,680 คนขึ้นไป 1 4 คำนวณ* บุคลากรทางการศึกษาอื่น   ตามมาตรา 38 ค. (2) 4 อัตรา

 

ตารางที่ 2 การกำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้อง ชั่วโมงเรียนตามหลักสูตรต่อสัปดาห์ และชั่วโมงการปฏิบัติงานของครู 1 คนต่อสัปดาห์

ระดับการศึกษา จำนวนนักเรียนต่อห้อง ชั่วโมงเรียนตามหลักสูตรต่อสัปดาห์ ชั่วโมงการปฏิบัติงานของครู 1 คน ต่อสัปดาห์
ปฐมวัย 30 คน 20 ชั่วโมง  

20 ชั่วโมง

ประถมศึกษา 30 คน 25 ชั่วโมง
มัธยมศึกษาตอนต้น 35 คน 30 ชั่วโมง
มัธยมศึกษาตอนปลาย 35 คน 35 ชั่วโมง

 

การกำหนดสูตรการคำนวณอัตรากำลังสายงานการสอน

สูตรการคำนวณ

อัตรากำลัง = จำนวนห้องเรียนแต่ละระดับการศึกษา x ชั่วโมงเรียนตามหลักสูตรต่อสัปดาห์
_________________________________________________________
               ชั่วโมงการปฏิบัติงานของครู 1 คนต่อสัปดาห์ (20 ชั่วโมง)

– การคิดจำนวนห้องเรียน กรณีจำนวนนักเรียนแต่ละชั้นเรียนมีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้คิดเพิ่มอีก 1 ห้อง

– การคำนวณอัตรากำลังสายงานการสอนรวมทุกระดับการศึกษา หากมีเศษตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ให้คิดอัตราเพิ่มขึ้นอีก 1 อัตรา

คุณครูลองนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวและสูตรการคำนวณอัตรากำลังสายงานการสอน ไปคำนวณอัตรากำลังในโรงเรียนของท่านดูกันครับว่าโรงเรียนท่านจะมีอัตรากำลังเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดิม จะมีสายงานบริหารสถานศึกษากี่อัตรา สายงานการสอนกี่อัตรา และสายงานสนับสนุนการศึกษากี่อัตรา แล้วจะส่งผลดีต่อโรงเรียนของเราอย่างไร จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาของทุกโรงเรียนได้หรือไม่ ทั้งนี้เกณฑ์อัตรากำลังใหม่ดังกล่าวทางโรงเรียนต้องรอการประกาศใช้อย่างเป็นทางการอีกครั้งครับ

ครูอัพเดตดอทคอม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่านได้ไม่มากก็น้อย สาระความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์อัตรากำลังของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกหลายประการ ซึ่งครูอัพเดตดอทคอมจะได้นําเสนอในส่วนของ ตัวอย่างการคำนวณอัตรากำลังในสถานศึกษา ตามประเภทต่างๆ ในโอกาสต่อไป

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์สำนักงาน ก.ค.ศ. ครับ
ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงาน ก.ค.ศ.

ดูคะแนนผลสอบ NT ป.3 ปีการศึกษา 2563 (ประกาศ 5 พ.ค.64)

ดูคะแนนผลสอบ NT ป.3 ปีการศึกษา 2563 (ประกาศ 5 พ.ค.64)

ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา เปิดเผยทางเพจ วิษณุ ผอ.สทศ. ว่า สทศ.สพฐ. ขอแจ้งกำหนดการประเมิน NT ชั้น ป.3 (การประเมินความสามารถด้านภาษาไทยและความสามารถด้านคณิตศาสตร์) ปีการศึกษา 2563 ดังนี้

– การประเมิน NT คือ วันที่ 24 มีนาคม 2564 และประกาศผล คือ วันที่ 5 พ.ค. 64

ปฏิทินการปฏิบัติงานและตารางการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563

– ประชุมชี้แจงผู้แทนศูนย์สอบของ สพฐ. และผู้แทนสังกัดอื่น ๆ เกี่ยวกับแนวทางการจัดสอบและการใช้โปรแกรม NT Access รุ่นที่ 1 ประมาณวันที่ 23 – 25 พ.ย. 63 และรุ่นที่ 2 ประมาณวันที่ 25 – 27 พ.ย. 63

-เผยแพร่ Test Blueprint เดือนพ.ย. 63

– ศูนย์สอบนำเข้าและตรวจสอบข้อมูลสถานศึกษาที่มีสิทธิ์สอบผ่านระบบ NT Access วันที่ 23 พ.ย. – 7 ธ.ค. 63

-สถานศึกษานำเข้าข้อมูลนักเรียนที่มีสิทธิ์สอบ ผ่านระบบ NT Access วันที่ 8 ธ.ค. 63 – 20 ธ.ค. 63

-ศูนย์สอบสำรวจและจัดสนามสอบ วันที่ 21 – 27 ธ.ค. 63

-สนามสอบตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลห้องสอบ วันที่ 28 ธ.ค. 63 – 3 ม.ค. 64

-สถานศึกษาตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลนักเรียนที่มีสิทธิ์สอบผ่านระบบ NT Access (ครั้งสุดท้าย) วันที่ 4 – 10 ม.ค. 64

-ศูนย์สอบตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลการจัดสอบ ผ่านระบบ NT Access (ครั้งสุดท้าย) วันที่ 11 – 17 ม.ค. 64

-ศูนย์สอบแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสอบระดับศูนย์สอบและสนามสอบ วันที่ 8 – 14 ก.พ. 64

-จัดส่งคู่มือและเอกสารธุรการประจำสนามสอบไปยังศูนย์สอบ วันที่ 15 – 19 ก.พ. 64

-ศูนย์สอบประชุมชี้แจงคณะกรรมการจัดการสอบระดับศูนย์สอบและสนามสอบ เกี่ยวกับการบริหารจัดการสอบ วันที่ 15 – 19 มี.ค. 64

-จัดส่งข้อสอบและกระดาษคำตอบไปยังศูนย์สอบ วันที่ 15 – 19 มี.ค. 64

-ดำเนินการประเมิน NT วันที่ 24 มีนาคม 2564

-สนามสอบตรวจข้อสอบแบบเขียนตอบ วันที่ 25 – 26 มี.ค. 64

-ศูนย์สอบส่งกระดาษคำตอบให้กับสพฐ.วันที่ 29 – 2 เม.ย. 64

-เผยแพร่ข้อสอบและเฉลย/แนวคำตอบ วันที่ 6 เม.ย. 64

-ตรวจกระดาษคำตอบปรนัยและประมวลผลคะแนนการทดสอบ วันที่ 5 – 30 เม.ย. 64

ประกาศผล วันที่ 5 พ.ค. 64

>>ประกาศผลสอบ NT ป.3 รายบุคคล คลิกที่นี่ <<

>>เข้าระบบประกาศผลNT ป.3 ปีการศึกษา 2563 คลิกที่นี่!!

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูฃจากเพจ วิษณุ ผอ.สทศ.

 

เพราะเหตุใด ผอ.และ รองผอ.ต้องมีชม.สอน ตามมาตรฐานตำแหน่งใหม่ ผู้บริหาร โดย รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.

เพราะเหตุใด ผอ.และ รองผอ.ต้องมีชม.สอน ตามมาตรฐานตำแหน่งใหม่ ผู้บริหาร

เพราะเหตุใด ผอ.และ รองผอ.ต้องมีชม.สอน ตามมาตรฐานตำแหน่งใหม่ ผู้บริหาร โดย รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.

โดย ครูอัพเดตดอทคอม ได้รับชม คลิปวีดีโอที่ท่านรศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ในเพจสำนักสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีเนื้อหาดังนี้

**ในเกณฑ์มาตรฐานวิทยฐานะและเกณฑ์มาตรฐานตำแหน่งใหม่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสอนหนังสือด้วย **

เหตุผลคือ มีเหตุผลเบื้องหลังในการกำหนดดังนี้ ที่ที่ผอ.ต้องปฏิบัติการสอนอย่างน้อย 5 ชั่วโมงและรองผู้อำนวยการต้องปฏิบัติการสอนอย่างน้อย 10 ชั่วโมง และครู 20 ชม/สัปดาห์ ในเจตนารมย์จริงๆเราไม่ให้ท่านไปรับผิดชอบสอนเป็นวิชาวิชา แต่ในความเป็นจริงเราอยากให้ท่านมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนกับคุณครู ในรูปแบบต่างๆให้ท่านไปกำหนดเองเช่นอาจจะสอนร่วมกันกับอาจจะสอนร่วมกันกับคุณครู หรือในหนึ่งภาคเรียนท่านอาจจะออกนิเทศคุณครู

แต่หัวใจสำคัญของเรื่องนี้คือเราอยากให้ผู้อำนวยการโรงเรียนเข้าห้องเรียนกับคุณครูบ้าง  เข้าไปเห็นว่าห้องเรียนเป็นอย่างไร เด็กมีสภาพอย่างไร คุณครูมีความลำบากในการจัดการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง

และกรอบสำคัญที่เรานำมาเปลี่ยนแปลงมาตรฐานเกณฑ์วิทยฐานะผอ. ใหม่คือ เราสังเคราะห์แนวคิดที่ จำเป็นสำหรับนักบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในศตวรรษ 21

งานวิจัยจากทั่วโลกแสดงให้เห็นว่า “สิ่งที่คุณครูคาดหวังจากผู้บริหารมากที่สุด คือ ความเป็นผู้นำทางวิชาการ” ซึ่งจะสะท้อนได้จาก #การเป็นผู้นำการเรียนการสอน ที่สำคัญ คือ การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ในโรงเรียน โดยต้องโฟกัส 7 ประเด็น ซึ่งเป็นที่มาของ “ตัวชี้วัดในการประเมินวิทยฐานะของผู้บริหารตามเกณฑ์ฯ ใหม่ ดังนี้

บทบาทของผู้บริหาร
1. ต้องพยายามค้นหากระบวนการ วิธีการยกระดับผลลัพธ์ของผู้เรียนให้สูงขึ้น และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. ต้องมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของหลักสูตร และคุณภาพของผู้เรียน
3. ต้องเป็นผู้นำในการพัฒนาสมรรถนะหลักของครู คือ ทักษะการจัดการเรียนการสอน
4. เป็นผู้นำที่มีความเป็นโค้ช โดยต้องรู้สภาพของครู รู้จักวิธีการสอนของครู เข้าใจบริบทของห้องเรียน และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเด็ก
5. มุ่งเน้นกระบวนการทำงานร่วมกับครูในการพัฒนาการศึกษา
6. มีการใช้งานวิจัย หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงและทดลองสิ่งใหม่ ๆ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนได้
7. ต้องเป็นผู้นำในการระดมทรัพยากร สร้างพันธมิตรในการทำงาน เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้

#ปรับมาตรฐานตำแหน่ง
#ปรับมาตรฐานวิทยฐานะ
#เกณฑ์ใหม่ #เกณฑ์PA
#พัฒนาคุณภาพครู
#คืนครูสู่ห้องเรียน
#กระทรวงศึกษาธิการ
#ผู้บริหารสถานศึกษา

คุณครู ผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการ หรือทุกท่านที่ได้อ่านแล้วมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างคะ แสดงความคิดเห็นได้นะคะ

รับชมและรับฟังวีดีโอเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

คัดลายมือ แบบฝึกคัดลายมือ อักษรไทย จากบุญพิมพ์ ภูชมศรี ดาวน์โหลดฟรี!

คัดลายมือ แบบฝึกคัดลายมือ อักษรไทย จากบุญพิมพ์ ภูชมศรี ดาวน์โหลดฟรี!

การคัดลายมือ เป็นการฝึกเขียนตัวอักษรไทยให้ถูกต้องตามหลักการเขียนคําไทย ซึ่ง จะต้องคํานึงถึงความถูกต้องของตัวอักษรไทย เขียนให้อ่านง่าย มีช่องไฟ มีวรรคตอน ตัวอักษร เสมอกัน วางพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ให้ถูกที่ ตัวสะกดการันต์ถูกต้อง และลายมือสวยงาม การคัดลายมือ มีแบบการคัดหลายแบบดังนี้

ประเภทตัวเหลี่ยม มีลักษณะเด่นคือ เส้นตัวอักษรส่วนใหญ่เป็นเส้นตรง ตัวอักษรแบบ เหลี่ยมเช่นตัวอักษรแบบอาลักษณ์ ของแผนกอาลักษณ์ กองประกาศิต สํานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีใช้เป็นแบบตัวอักษรที่สวยงาม ใช้ในงานเขียนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ การเขียนทาง ราชการ การเขียนกฎหมายหรือใช้เขียนเพื่อการเกียรติยศหรือในเอกสารพิเศษต่างๆ เช่น ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร เป็นต้น

ประเภทตัวกลมหรือตัวมน มีลักษณะเด่น คือ ลักษณะตัวอักษรมีเส้นโค้งประกอบอยู่ เช่น ตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการ เป็นแบบตัวอักษรที่กระทรวงธรรมการหรือ กระทรวงศึกษาธิการ ในอดีตได้ดัดแปลงรูปแบบตัวอักษรของ ขุนสัมฤทธิ์วรรณการ เพื่อทําเป็น แบบฝึกหัดคัดลายมือ สําหรับใช้กับนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ ลักษณะของการคัดลายมือ การคัดลายมือ มี 3 ลักษณะ คือ

1. การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ควรฝึกคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด เนื่องจากเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อมือ และการประสานระหว่าง ตากับมือยังพัฒนาไม่เต็มที่

2. การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4 จะมี การประสานระหว่างกล้ามเนื้อมือและตาเพิ่มมากขึ้น จึงควรฝึกคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด แต่ขณะเดียวกันก็ยังต้องฝึกคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดด้วย

3. การคัดลายมือหวัดแกมบรรจง เป็นการคัดลายมือแบบหวัด แต่ให้อ่านออก การเขียนลายมือหวัดแกมบรรจงเป็นการเขียนที่ใช้ในชีวิตประจําวัน ซึ่งผู้เขียนจะต้องเขียนให้อ่าน ง่าย มีช่องไฟ เว้นวรรคตอนถูกต้อง และเขียนด้วยลายมือที่สวยงามนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ควรหัดคัดลายมือหวัดแกมบรรจง โดยคัดให้รวดเร็ว สวยงาม ถูกต้องและน่าอ่าน โดยมี การฝึกคัดลายมือ ตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดเป็นครั้งคราว

อย่างไรก็ดี แบบฝึกคัดลายมือนี้ก็สามารถใช้เป็นส่วนประกอบในการพัฒนา การเขียนให้กับนักเรียนได้ โดยท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารทั้งได้ที่นี่

สวัสดีค่ะ วันนี้ครูอัพเดตเอทคอม ชี้เป้า!!!! มีสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กมาฝากกันจ้า เป็นแบบฝึกคัดลายมือ อักษรไทย จากบุญพิมพ์ ภูชมศรี ดาวน์โหลดฟรี! โดยกลุ่ม  คัด ลายมือ คือปณิธาน  อาจารย์บุญพิมพ์ ภูชมศรี ได้โพสต์ เกี่ยวกับ แบบฝึกคัดลายมือ อักษรไทย และวิธีคัดลายมือ เทคนิคการคัดลายมือแบบต่างๆ ทุกท่านลองฝึกตามกันได้นะคะ โดยเข้าไปที่กลุ่ม กลุ่ม  คัด ลายมือ คือปณิธาน ได้เลยค่ะ

ครูอัพเดตเอทคอม ขอขอบคุณอาจารย์บุญพิมพ์ ภูชมศรี ที่ได้แบ่งปัน แบบฝึกคัดลายมือ อักษรไทย สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับทุกท่านเป็นอย่างสูงค่ะ

ตัวอย่าง คัดลายมือ แบบฝึกคัดลายมือ อักษรไทย จากบุญพิมพ์ ภูชมศรี ดาวน์โหลดฟรี!

ตัวอย่าง แบบฝึกคัดลายมือ อักษรไทย จากบุญพิมพ์ ภูชมศรี ดาวน์โหลดฟรี!

ดาวน์โหลด คลิกที่นี่

ครูอัพเดตเอทคอม ขอขอบคุณอาจารย์บุญพิมพ์ ภูชมศรี เพจ  กวีเพื่อชีวิต ที่ได้แบ่งปัน แบบฝึกคัดลายมือ อักษรไทย สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับทุกท่านเป็นอย่างสูงค่ะ