“ รับฟังเสียงครู เพราะเรารู้ครูมีของ” รวมเสวนาออนไลน์ ชวนครูมาแบ่งปัน แนวทางการสอนช่วงโควิด

0

“ รับฟังเสียงครู เพราะเรารู้ครูมีของ” รวมเสวนาออนไลน์ ชวนครูมาแบ่งปัน แนวทางการสอนช่วงโควิด

The Reflection #1 รับฟังเสียงครู “เพราะเรารู้ครูมีของ”!!!

เสาร์ที่ 5 มิถุนายน 2564 เวลา 13.00 – 15.00 น.

—เปิดพื้นที่สบายใจ ร่วมพูดคุยแนวทางการสอนเด็ก ในช่วงสถานการณ์โควิด 19

-สถานการณ์โควิด 19 เกิดวิกฤติการสอนอะไรบ้าง!!! เรียนรู้ แบ่งปัน สร้างสรรค์แนวทางการสอนอย่างไรบ้าง???
-การสอนออนไลน์เป็นทางออก หรือ ทางเลือก อะไรที่ครูและเด็กอยากให้เกิดขึ้นในห้องเรียนของเรา (ห้องเรียนจริง และ ห้องเรียนเสมือน)
– ครูปล่อยของ แนวทางการสอนแบบไหน ที่ครูทำแล้วเวิร์ค อยากแบ่งปันให้เพื่อนครูลองนำไปปรับใช้ในห้องเรียนของครูได้เลย
-อะไรบ้างที่ครูอยากบอก อยากคุย หรือปรึกษาเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนของเด็กในช่วงโควิด 19

ดำเนินรายการสนทนา Moderator โดย
1) ดร. อาทิตยา ปัญญา ผอ.ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ สพฐ.
2) อนุสรณ์ หนองนา (ครูเด่นเชื่อมคน) ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารและการสร้างกระบวนกร
3) ปวิตา อยู่เกิด (ตาน) ผู้ร่วมก่อตั้ง Dynamic School โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด

ช่องทางร่วมเรียนรู้ ผ่าน Zoom App.
(Learning • Sharing • Reflection)

1. ลงทะเบียนร่วมเรียนรู้ : https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfHXUiqT_aATT0grXy4FgEhIonJ1O_HLTLW9rnyjdaSvuIlbQ/viewform

2. Facebook Live: https://www.facebook.com/dynamicschoolthailand

3. ฟังย้อนหลัง: Dynamic School Thailand YouTube Channel (https://youtube.com/channel/UCsBSlkMQ5RfmJMKooggW51g )

เราพร้อมเดินไปด้วยกัน

ด้วยความปรารถนาดีจาก
Dynamic School Team
และ HCEC Team

“ รับฟังเสียงครู เพราะเรารู้ครูมีของ” รวมเสวนาออนไลน์ ชวนครูมาแบ่งปัน แนวทางการสอนช่วงโควิด

สนใจติดต่อสอบถามได้ที่
Dynamic School Thailand
Tel. 080-416-5991, 092-257-8182
Email: [email protected]
Facebook: Dynamic School Thailand

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูล “ รับฟังเสียงครู เพราะเรารู้ครูมีของ” รวมเสวนาออนไลน์ ชวนครูมาแบ่งปัน แนวทางการสอนช่วงโควิด จาก DynamicSchoolThailand

งบประมาณรายจ่ายประจำปี เลขา กพฐ. ทำใจงบฯ สพฐ. ถูกตัด กว่า 3,600 ล้านบาท

0

งบประมาณรายจ่ายประจำปี เลขา กพฐ. ทำใจงบฯ สพฐ. ถูกตัด กว่า 3,600 ล้านบาท

งบประมาณรายจ่ายประจำปี เลขา กพฐ. ทำใจงบฯ สพฐ. ถูกตัด กว่า 3,600 ล้านบาท เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการเตรียมความพร้อมในการชี้แจงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในส่วนของ ศธ. ที่ได้มีการจัดทำคำของบประมาณไปแล้วในวงเงิน 332,398 ล้านบาท แต่สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ได้ตัดไปจำนวน 2.45 หมื่นล้านบาท

โดยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ถูกปรับลดงบประมาณลงเช่นกัน ซึ่งจะเป็นงบดำเนินงานประมาณ 3,600 กว่าล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 6% ซึ่งยอมรับว่างบจำนวนดังกล่าวที่ถูกตัดไปถือเป็นจำนวนที่มากพอสมควร แต่เราเข้าใจรัฐบาล เนื่องจากเกิดภาวะวิกฤตโรคระบาดที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดและรายได้จึงทำให้ทุกกระทรวงถูกปรับลดเช่นเดียวกัน

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า ในส่วนของ สพฐ.ที่จะต้องปรับก็คือเมื่อเราได้รับงบประมาณปี 65 ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้วมาแล้ว กิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่ สพฐ.เคยขอตั้งงบประมาณเอาไว้นั้น จะต้องนำมาจัดเรียงลำดับความสำคัญใหม่ ซึ่งบางโครงการไหนที่จำเป็นเร่งด่วนก็ยังต้องคงไว้ เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ ส่วนเมื่อใช้งบประมาณหมดแล้วโครงการอื่น ๆ ที่ยังไม่จำเป็นก็ต้องชะลอเอาไว้ก่อน

เนื่องจากมีงบประมาณไม่เพียงพอ ดังนั้นเมื่อเราได้รับงบประมาณปี 65 มาแล้วจะจัดจัดลำดับความสำคัญอีกครั้งในการตัดงบประมาณในส่วนที่มีความจำเป็นน้อยที่สุด เพื่อให้การขับเคลื่อนงานด้านต่าง ๆ เดินหน้าต่อไปได้ อย่างไรก็ตามหากจะคิดโครงการใหม่ ๆ หรือดำเนินกิจกรรมงานที่ต้องต่อยอดก็อาจทำได้ไม่เต็มที่ เพราะติดข้อจำกัดด้านงบประมาณ.

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณ ข้อมูล งบประมาณรายจ่ายประจำปี เลขา กพฐ. ทำใจงบฯ สพฐ. ถูกตัด กว่า 3,600 ล้านบาท จาก At_HeaR

การประชุม ผู้บริหาร ระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 10/2564

0

การประชุม ผู้บริหาร ระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 10/2564

การประชุม ผู้บริหาร ระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 10/2564 วันที่ 2 มิถุนายน 2564 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 10/2564 เพื่อหารือข้อราชการและโครงการต่างๆ ที่ สพฐ. กำลังดำเนินการ อาทิ งบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ ความปลอดภัยของผู้เรียน แนวคิดการร่างแผนพัฒนานวัตกรรม และแผนสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือ การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลหรือเข้ารับบริการภาครัฐในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ตามมติ ครม. การรับ-ส่งหนังสือราชการในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของ สพฐ. การลงเวลาปฏิบัติราชการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และความก้าวหน้าในการดำเนินการตามนโยบายของ รมว.ศธ. ข้อ 6 เรื่องการจัดสรรและการกระจายทรัพยากรให้ทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาจากความร่วมมือทุกภาคส่วน เป็นต้น โดยมีผู้อำนวยการสำนักต่างๆ และบุคลากร สพฐ. เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ

ทั้งนี้ ภายหลังการประชุม นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเลื่อนการเปิดภาคเรียนเป็นวันที่ 14 มิถุนายน 2564 แต่หากโรงเรียนใดมีความพร้อมก็สามารถเปิดเรียนในวันที่ 1 มิถุนายนได้ ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีโรงเรียนที่สามารถเปิดเรียนได้กว่า 12,000 โรงทั่วประเทศ โดยโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) ให้จัดการเรียนการสอนทางไกลใน 4 รูปแบบ (On Air, Online, On Demand, On Hand ผ่านทางไปรษณีย์) เท่านั้น ขณะที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) หรือพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) สามารถจัดการเรียนการสอนได้ทั้ง 5 รูปแบบ (On Site, On Air, Online, On Hand, On Demand) โดยรูปแบบ On Site นั้น โรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องผ่านเกณฑ์การประเมินความพร้อมของระบบ Thai Stop Covid+ (TSC+) และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดก่อน ซึ่งจากการติดตามการดำเนินงานของทุกโรงเรียนพบว่าสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเรียบร้อยตามที่ได้เตรียมการไว้

“นอกจากนี้ ยังได้พูดคุยถึงการนำนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) มาสู่การปฏิบัติ ในส่วนของวาระเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของ สพฐ. ได้แก่ การดูแลความปลอดภัยในสถานศึกษา ทั้งเรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 โรคไข้เลือดออก ความปลอดภัยจากการเดินทาง ฯลฯ โดยต้องการให้ทุกโรงเรียนสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง ว่าจะสามารถเรียนได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย รวมถึงเรื่องของการจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่จะพร้อมใช้ในปีการศึกษา 2565 การดูแลนักเรียนกลุ่มที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (เด็กพิการและด้อยโอกาส) ซึ่งได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลทั่วประเทศ เพื่อดูว่ามีเด็กกลุ่มนี้อยู่ในจุดพื้นที่ไหน จำนวนเท่าใด ได้เรียนแล้วกี่คน และต้องการความช่วยเหลือในด้านใดบ้าง เพื่อจะได้หารูปแบบและวิธีการช่วยเหลือต่อไป” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูล จาก https://www.obec.go.th/archives/443101

เรียนออนไลน์ อบรมออนไลน์ ฟรี CHULA MOOC ประจำเดือนมิถุนายน 2564

0

เรียนออนไลน์ อบรมออนไลน์ ฟรี CHULA MOOC ประจำเดือนมิถุนายน 2564

เรียนออนไลน์ อบรมออนไลน์ ฟรี CHULA MOOC ประจำเดือนมิถุนายน 2564 ประกาศ การเปิดให้ลงทะเบียนประจำเดือนมิถุนายน 2564

ในวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2564 เวลา 9.00 น. CHULA MOOC จะเปิดให้ลงทะเบียนรายวิชาเท่านั้น กดที่ปุ่ม “ลงทะเบียนเรียน”

เริ่มเข้าเรียนได้ในวันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน 2564 สำหรับการเข้าเรียน ผู้เรียนกดที่ Link รายวิชาด้านล่างและกดที่ปุ่ม “เข้าเรียน” ก็จะสามารถเข้าเรียนได้ ระบบจะเปิดให้เข้าเรียนตอน 6.00 น. เป็นต้นไป แต่ผู้เรียนจะเข้าเรียนเวลาใดก็ได้ โดยจะมีสื่อพร้อมให้เรียนได้เลย

ลงทะเบียนรายวิชาสำเร็จจะปรากฎคำว่า Enrollment Completed หากไม่มีจะถือว่าลงทะเบียนไม่สำเร็จ โปรดลงทะเบียนใหม่อีกครั้ง
โปรดศึกษาวิธีการใช้งาน Website และ วิธีการลงทะเบียน https://mooc.chula.ac.th/how-to
สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนเป็นครั้งแรก โปรดตรวจสอบชื่อนามสกุลให้ถูกต้อง เนื่องจากข้อมูลจะปรากฎบนใบ Certificate เมื่อเรียนจบ

สามารถดูรายละเอียดเนื้อหารายวิชาก่อนการเปิดลงทะเบียนได้ที่
Music Therapy ดนตรีบำบัด รุ่นที่ 1
https://mooc.chula.ac.th/courses/224
เรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องของเรา : ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ จัดการพลาสติก รุ่นที่ 1
https://mooc.chula.ac.th/courses/225
การพัฒนาทักษะชีวิต รุ่นที่ 2
https://mooc.chula.ac.th/courses/193
คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน รุ่นที่ 2
https://mooc.chula.ac.th/courses/192
Essential Grammar for Writing and Speaking รุ่นที่ 3
https://mooc.chula.ac.th/courses/151

เรียนออนไลน์ อบรมออนไลน์ ฟรี CHULA MOOC ประจำเดือนมิถุนายน 2564

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก CHULA MOOC

วPA ครู หลักสำคัญในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ในการประเมินคลิปการสอนของครู

0

วPA ครู หลักสำคัญในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ในการประเมินคลิปการสอนของครู

วPA ครู หลักสำคัญในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ในการประเมินคลิปการสอนของครู สวัสดีครับคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีข่าวสารเกี่ยวกับหลักในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู มาฝากคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่านครับ

วันที่ 2 มิถุนายน 2564 เพจ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ได้เผยแพร่

หลักสำคัญในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู

1. การสอนของครูมีการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่จะเรียนรู้หรือไม่ ?

2. การสอนครั้งนั้น เด็กได้มีโอกาสในการสร้างความรู้ขึ้นมาใหม่หรือไม่ ?

3. วิธีการสร้างแรงจูงใจให้เด็กสนใจในการเรียนเป็นอย่างไร ?

4. ครูมีวิธีการออกแบบให้เด็กได้สืบค้นข้อมูล หาความรู้ด้วยตัวเองอย่างไร ?

5. ครูให้เด็กฝึกปฏิบัติ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็กเพื่อเพิ่มการเรียนรู้อย่างไร ?

6. ครูออกแบบสิ่งแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อ เพื่อให้เด็กพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างไร ?

7. เด็กได้ฝึกการกำกับตัวเองในการเรียนรู้หรือไม่ ?

8. ความถูกต้อง ความเชี่ยวชาญในเนื้อหาที่ใช้สอนเป็นอย่างไร ?

วPA ครู หลักสำคัญในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ในการประเมินคลิปการสอนของครู

สำนักงาน
ก.ค.ศ. # Live Talk 2 มิถุนายน 2564

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

วpa ศน. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์

วpa ศน. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอมมีข่าวสารเกี่ยวกับ ก.ค.ศ. ประกาศใช้หลักเกณฑ์ การประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะใหม่ สายงาน ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ มาฝากท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ

ซึ่งทาง สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำเป็น อินโฟกราฟิกส์วpa ศน. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ เข้าใจอย่างง่ายๆ

วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ลงนามในหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใหม่) หรือเกณฑ์ PA ทั้ง 4  สายงาน ได้แก่ สายงานการสอน (ว 9/2564) สายงานบริหารสถานศึกษา (ว 10/2564) สายงานนิเทศการศึกษา (ว 11/2564) และสายงานบริหารการศึกษา (ว 12/2564) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ โดยจะเริ่มใช้หลักเกณฑ์ใหม่นี้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

วpa ศน. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์

วpa ศน. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์

วpa ศน. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์

วpa ศน. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์

วpa ศน. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์

วpa ศน. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์

การประเมินวิทยฐานะช่วงเปลี่ยนผ่านจากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA “ตำแหน่งศึกษานิเทศก์”

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF >> https://otepc.go.th/th/content_page/item/3389-pa-5.html

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงาน ก.ค.ศ.

วPA ครู การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู

0

วPA ครู การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู

วPA ครู การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู สวัสดีครับคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีข่าวสารเกี่ยวกับการประเมินวิทยฐานะ PA ตำแหน่งครู มาฝากคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่านครับ

ตามที่ ก.ค.ศ. ประกาศใช้หลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ (ใหม่) 4 สายงาน โดย รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ลงนามในหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใหม่) นั้น

ครูอัพเดตดอทคอม ขอนำเสนอการประเมินวิทยฐานะช่วงเปลี่ยนผ่านจากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู โดยมีรายละเอียด ดังนี้

วPA ครู การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู_1

วPA ครู การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู_2

วPA ครู การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู_3

วPA ครู การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู_4

วPA ครู การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู_5

วPA ครู การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู_6

ดาวน์โหลดไฟล์ทั้งหมด คลิกที่นี่!! 

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

วpa ผอ. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ผู้บริหาร สถานศึกษา

วpa ผอ. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ผู้บริหาร สถานศึกษา

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอมมีข่าวสารเกี่ยวกับก.ค.ศ. ประกาศใช้หลักเกณฑ์ การประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะใหม่ สายงานบริหาร ตำแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษา มาฝากท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ

ซึ่งทาง สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำเป็น อินโฟกราฟิกส์วpa ผู้บริหารสถานศึกษา  สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ผอ. เข้าใจอย่างง่ายๆ

วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ลงนามในหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใหม่) หรือเกณฑ์ PA ทั้ง 4  สายงาน ได้แก่ สายงานการสอน (ว 9/2564) สายงานบริหารสถานศึกษา (ว 10/2564) สายงานนิเทศการศึกษา (ว 11/2564) และสายงานบริหารการศึกษา (ว 12/2564) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ โดยจะเริ่มใช้หลักเกณฑ์ใหม่นี้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

วpa ผอ. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ผู้บริหาร สถานศึกษา

วpa ผอ. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ผู้บริหาร สถานศึกษา

วpa ผอ. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ผู้บริหาร สถานศึกษา

วpa ผอ. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ผู้บริหาร สถานศึกษา

วpa ผอ. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ผู้บริหาร สถานศึกษา

วpa ผอ. สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ผู้บริหาร สถานศึกษา

การประเมินวิทยฐานะช่วงเปลี่ยนผ่านจากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA “ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา”

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF >> https://otepc.go.th/th/content_page/item/3390-pa-6.html

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงาน ก.ค.ศ.

วpa ครู สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู

ว.pa ครู สรุป ว.PA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู

สวัสดีค่ะ คุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีข่าวสารเกี่ยวกับก.ค.ศ. ประกาศใช้หลักเกณฑ์ การประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะใหม่ สายงานการสอน ตำแหน่งครู มาฝากคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ

ซึ่งทาง สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้จัดทำเป็น อินโฟกราฟิกส์วpa ครู สรุป วPA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครูเข้าใจอย่างง่ายๆ

วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. ลงนามในหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใหม่) หรือเกณฑ์ PA ทั้ง 4  สายงาน ได้แก่ สายงานการสอน (ว 9/2564) สายงานบริหารสถานศึกษา (ว 10/2564) สายงานนิเทศการศึกษา (ว 11/2564) และสายงานบริหารการศึกษา (ว 12/2564) เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ โดยจะเริ่มใช้หลักเกณฑ์ใหม่นี้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

ว.pa ครู สรุป ว.PA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู

 

ว.pa ครู สรุป ว.PA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู

 

ว.pa ครู สรุป ว.PA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู

 

ว.pa ครู สรุป ว.PA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู

 

ว.pa ครู สรุป ว.PA การประเมินวิทยฐานะ ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเกณฑ์เก่า สู่ระบบ PA ตำแหน่ง ครู

การประเมินวิทยฐานะช่วงเปลี่ยนผ่านจากเกณฑ์เก่าสู่ระบบ PA “ตำแหน่งครู”

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF >> https://otepc.go.th/th/content_page/item/3391-pa-7.html

ดาวน์โหลดไฟล์ ว9/2564 คลิกที่นี่!!!

ดาวน์โหลดไฟล์ทั้งหมดคลิกที่นี่!

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงาน ก.ค.ศ.

มติ ครม. เห็นชอบและรับทราบ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้   เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 64

0

มติ ครม. เห็นชอบและรับทราบ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้   เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 64

สวัสดีครับ ครูอัพเดตดอทคอม มีข่าวสารที่น่าสนใจมาฝากครับ เกี่ยวกับ มติ ครม. เห็นชอบและรับทราบ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้   เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 64  ซึ่งเมื่อวานนี้ (1 มิถุนายน 2564)
เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี   เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า    ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

 

กฎหมาย

1.       เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดชัยภูมิ   (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 2558)
2.       เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
จังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2558)
3.       เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกาให้นำบทบัญญัติภายใต้มาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ                   วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 3)  พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. ….
   4.       เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ….
และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ 

5.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
6.       เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. ….

 

โดยเฉพาะด้านกฎหมาย ข้อที่ 4 เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ 
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. …. ของกระทรวงศึกษาธิการ รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติรวม 2 ฉบับดังกล่าวได้ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติรวม 2 ฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
3. ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
4. ให้กระทรวงศึกษาธิการได้รับยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 (เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  4 เมษายน 2560 (เรื่อง การปรับปรุงแนวทางการจัดส่วนราชการในภูมิภาค) สำหรับการดำเนินการเมื่อมีการจัดตั้งกรมส่งเสริมการเรียนรู้แล้ว ให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติ รวม 2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และต่อมาได้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (25 พฤษภาคม 2564) ในประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดให้วิชาชีพครู เป็น “วิชาชีพชั้นสูง” แก้ไขคำว่า “หัวหน้าสถานศึกษา” เป็น “ผู้บริหารสถานศึกษา” และแก้ไขคำว่า “ใบรับรองการประกอบวิชาชีพครู” เป็น “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” เพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. เป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในอนาคต สำหรับร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. …. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แก้ไขถ้อยคำร่างพระราชบัญญัติให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี (25 พฤษภาคม 2564)  โดยร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวสอดคล้องกับหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 จ. ด้านการศึกษา ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ซึ่งตามมาตรา 270 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ให้เสนอและพิจารณาในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
โดยที่ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. …. ได้มีการยกสถานะสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขึ้นเป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะต้องดำเนินการขอจัดตั้งส่วนราชการดังกล่าวเสนอคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวง และสำนักงาน ก.พ.ร. ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีหลักการสำคัญที่จะทำให้การดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้บรรลุผล และเป็นกฎหมายปฏิรูปการศึกษาที่มีความสอดคล้องกับหลักการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา จึงเห็นควรเสนอร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ …. ไปพร้อมกัน กระทรวงศึกษาธิการจึงจำเป็นต้องขอยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 (เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วนงานของรัฐ)
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ 
1. ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ….
1.1 หมวด 1 วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นในการดำเนินการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามช่วงวัย ความรู้ทางวิชาการหรือทักษะเฉพาะทาง ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ และกระตุ้นให้บุคคลทุกช่วงวัยแสวงหาความรู้เพิ่มเติมหรือความรู้อื่นใดที่ตนสนใจ กำหนดหน้าที่หรือสิทธิของรัฐ เอกชนและบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา กำหนดพื้นฐานการจัดการศึกษาของสถานศึกษาของรัฐที่มุ่งเน้นความเป็นอิสระและคล่องตัวตามความพร้อมและศักยภาพของแต่ละสถานศึกษา กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาของเอกชน แนวทางการอุดหนุนภาคเอกชนในการจัดการศึกษาและการเข้าร่วมเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ กำหนดให้มีการรวมตัวของเอกชนในระดับจังหวัดเพื่อดำเนินการจัดการศึกษาและการจัดทำร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ
1.2 หมวด 2 สถานศึกษา กำหนดระบบนิเวศของสถานศึกษาของรัฐ ได้แก่ สภาพและสิ่งแวดล้อมและสภาวะที่ปลอดภัย มีสถานที่ อุปกรณ์ในการศึกษา ครูและบุคลากรอื่น กำหนดหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาและสถานศึกษาของรัฐ และจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต กำหนดวิธีการรับผู้เรียนในสถานศึกษาของรัฐให้มีความหลากหลาย กำหนดให้การบริหารและจัดการศึกษาของสถานศึกษาของรัฐมีความเป็นอิสระ และกำหนดให้จัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษาของรัฐโดยให้จัดสรรให้เป็นเงินอุดหนุนทั่วไปที่ไม่กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดรายได้ของสถานศึกษาของรัฐ และการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา
1.3 หมวด 3 ครูและบุคลากรอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา กำหนดให้ปรับเปลี่ยนบทบาทของครู “ให้เป็นผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้” กำหนดคุณสมบัติทั่วไปและคุณลักษณะเฉพาะครูให้สอดคล้องการจัดการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนแต่ละช่วงวัย กำหนดให้มีการศึกษาและวิจัยหาต้นแบบ กระบวนการและวิธีการที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนในการผลิตครูซึ่งจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ตลอดทั้งวิธีการในการพัฒนาศักยภาพครูให้สูงขึ้นและทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กำหนดให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูที่มีความยืดหยุ่น และเปิดกว้างเพื่อเอื้อให้บุคคลที่ไม่ได้จบการศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ กำหนดให้มีการพัฒนาครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรอื่นทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถและสมรรถนะเพิ่มพูนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้มีระบบการติดตามและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลครูและบุคลากรอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา
1.4 หมวด 4 การจัดการศึกษา กำหนดระบบการจัดการศึกษาสอดคล้องตามความต้องการหรือวัตถุประสงค์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ และกำหนดให้มีระบบการเทียบเคียงหรือเทียบโอนผลการเรียน ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ หรือสมรรถนะ รวมทั้งให้รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน หรือกระตุ้นให้เกิดการศึกษาเพื่อการพัฒนาตนเองและการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต กำหนดให้มีสถาบันหลักสูตรและการเรียนรู้เป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการมีหน้าที่และอำนาจในการสนับสนุนด้านวิชาการให้กับสถานศึกษาทุกสังกัด กำหนดแนวทางในการจัดทำหลักสูตรต้นแบบ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก กำหนดการประเมินการเรียนรู้ให้เน้นการประเมินผลสัมฤทธิ์ต่อเป้าหมายของผู้เรียน
1.5 หมวด 5 หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ กำหนดหลักการการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามหน้าที่และอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการ โดยกำหนดให้การบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการต้องไม่มีลักษณะที่ทำให้การจัดการศึกษาถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ โดยไม่ต่อเนื่องหรือบูรณาการกัน และไม่ทำให้สถานศึกษาขาดอิสระในการจัดการศึกษา กำหนดให้กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดการศึกษา หรือเอกชนซึ่งมีสิทธิในการจัดการศึกษา ต้องดำเนินการจัดการศึกษาให้ได้ผลตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งต้องผ่านกระบวนการของการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาของประเทศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดได้ และกำหนดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือการบริหารจัดการข้อมูลสนเทศทางการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา
1.6 หมวด 6 แผนการศึกษาแห่งชาติและทรัพยากรเพื่อการศึกษา กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยกำหนดกรอบสาระและแนวทางการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ และให้มีการพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของแผนการศึกษาแห่งชาติทุก 5 ปี กำหนดให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนการศึกษาแห่งชาติรายปีเป็นระยะเวลาทุก 4 ปี เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำคำของบประมาณของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติทำหน้าที่ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามแผนการศึกษาแห่งชาติ และจัดทำรายงานสรุปผลให้เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ และให้เสนอรายงานต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา และเปิดเผยให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
1.7 หมวด 7 คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ โดยมีหน้าที่และอำนาจที่สำคัญในการเสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาต่อคณะรัฐมนตรี การให้ความเห็นชอบร่างแผนการศึกษาแห่งชาติเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และจัดให้มีกลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างทั่วถึง กำหนดมาตรการที่จะให้หน่วยงานของรัฐชี้ชวน ส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน และกำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติเป็นส่วนราชการในกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ และดำเนินการเพื่อให้คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติบรรลุภารกิจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ตลอดทั้งอำนวยความสะดวก ประสานงาน ให้ความร่วมมือ ส่งเสริม และสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ
2. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. ….
2.1 กำหนดวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา รู้จักสิทธิควบคู่กับหน้าที่และความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
2.2 กำหนดรูปแบบการส่งเสริมการเรียนออกเป็นสามรูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับและกำหนดให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้มีหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจประกาศกำหนดให้มีการส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบอื่นได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
2.3 กำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้บุคคลสามารถเรียนรู้ และเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยกรมส่งเสริมการเรียนรู้ต้องดำเนินการจัด ส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และกำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพ ทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามความถนัดของตนเอง การประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ และการยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม รวมทั้งกำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิ เพื่อเป็นการจัดการเรียนรู้ ให้แก่ผู้ซึ่งอยู่ในวัยเรียนแต่ไม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียน ให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.4 กำหนดให้หน่วยจัดการเรียนรู้มีอำนาจรับรองคุณวุฒิให้แก่ผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยออกเป็นประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หรือหนังสือรับรองความรู้ นอกจากนี้ กำหนดให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ต้องจัดให้มีระบบการเทียบระดับการศึกษา เทียบเคียง หรือเทียบโอนผลการเรียน ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ หรือสมรรถนะ
2.5 กำหนดหน้าที่และอำนาจของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้ต้องจัดให้มีส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาหลักสูตร โปรแกรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้ จัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ทุกรูปแบบ
2.6 กำหนดให้มีสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดเพื่อกำกับดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวกและแนะนำการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในระดับอำเภอ ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล และศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ และกำหนดให้มีหน่วยส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเพื่อกำกับ ดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน อำนวยความสะดวกและแนะนำการปฏิบัติหน้าที่ของศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล และศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ เกี่ยวกับด้านวิชาการ เทคโนโลยีที่จำเป็นในการส่งเสริมการเรียนรู้ ให้เป็นไปตามแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังหวัด
2.7 กำหนดให้เปลี่ยนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งเดิมสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้โดยให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
2.8 แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพัน รวมทั้งข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างและอัตรากำลัง เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งเดิมสังกัดในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ และให้ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้าง ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ หรือลูกจ้าง อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ หรือลูกจ้าง แล้วแต่กรณี ต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น และให้มีสิทธิได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยฐานะ และประโยชน์ตอบแทนอื่นไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่เดิม

 

ขอขอบคุณที่มาเนื้อหา  เพจ รัฐบาลไทย :

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 1 มิถุนายน 2564