สมาชิก กบข. การเป็นสมาชิก กบข. “ได้” มากกว่าที่คิด

0

สมาชิก กบข. การเป็นสมาชิก กบข. “ได้” มากกว่าที่คิด ...

1. “ได้” รับเงิน 2 ทาง
ไม่ว่าสมาชิก กบข. จะบรรจุเข้ารับราชการเมื่อไหร่ก็ยังมีสิทธิเลือกรับเงินบำเหน็จ หรือบำนาญจากกรมบัญชีกลาง และยังได้รับเงินก้อนจาก กบข. อีกทางหนึ่งด้วย ส่วนการรับเงินก้อนจาก กบข. ขึ้นอยู่กับว่าสมาชิกตัดสินใจเลือกรับเงินจากกรมบัญชีกลางเป็นเงินบำเหน็จ หรือเงินบำนาญ

– กรณีเลือกรับบำเหน็จ สมาชิกจะได้รับเงินก้อนจาก กบข. เป็น “เงินสะสมของตัวเอง” บวกกับ “เงินสมทบจากรัฐ” และ “ผลตอบแทนที่ กบข. นำไปลงทุนให้ตามแผนการลงทุนที่สมาชิกได้เลือก”
– กรณีเลือกรับบำนาญ สมาชิกจะได้รับเงินก้อนจาก กบข. เป็น “เงินสะสมของตัวเอง” บวกกับ “เงินที่รัฐนำส่งให้ คือ เงินสมทบ เงินชดเชย เงินประเดิม (ถ้ามี)” รวมกับ “ผลตอบแทนที่ กบข. นำไปลงทุนให้ตามแผนการลงทุนที่สมาชิกได้เลือก”

ส่วนข้าราชการที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข. จะได้รับเงินทางเดียวเท่านั้น คือ เงินบำเหน็จหรือ บำนาญจากกรมบัญชีกลาง

2. “ได้” เงิน กบข. เพิ่มขึ้น
ด้วยการ “ออมเพิ่ม” เริ่มต้นเพียงแค่ 1% ต่อเดือน ก็เป็นการทำให้จำนวนเงินต้นเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสมาชิก “เลือกแผนการลงทุน” ที่เหมาะสม
ก็จะเป็นตัวช่วยในการทวีค่าเงินออมให้งอกเงยขึ้น
และ 2 สิ่งนี้เองที่สามารถทำให้เงิน กบข. ของสมาชิกเติบโตขึ้นเป็นเงินก้อนใหญ่เพื่อมีใว้ใช้ในวัยเกษียณได้

3. “ได้” สิทธิ์ลดหย่อนภาษี
สำหรับเงินสะสมและเงินออมเพิ่มที่สมาชิกส่งเข้าไปที่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ไม่เกินปีละ 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ๆ

4. “ได้” สวัสดิการพิเศษ
ที่พันธมิตรสวัสดิการมอบให้สมาชิก กบข. โดยสามารถกดรับสิทธิ์ได้สะดวกทันทีทุกวันที่ My GPF Application

และนี่ก็คือข้อดีมีแต่ได้ของการเป็นสมาชิก กบข. หากสมาชิกท่านใดมีเรื่องราวดี ๆ ว่าได้รับประโยชน์อย่างไรจากการเป็นสมาชิก กบข. นอกเหนือจากนี้ ก็สามารถร่วมแชร์ความคิดเห็นเพิ่มเติมใต้โพสต์นี้ แล้วแบ่งปันเรื่องราวดี ๆ ให้กับสมาชิกท่านอื่นได้เช่นกัน เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นสังคมแห่งการออมของสมาชิก กบข. ทุกท่าน

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูล สมาชิก กบข. การเป็นสมาชิก กบข. “ได้” มากกว่าที่คิด  จาก กบข.

เช็กที่นี่ !! ผอ.โรงเรียน สามารถ เปิดและปิดสถานศึกษา ด้วยเหตุพิเศษ ได้กี่วัน ตาม ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ

 

ผอ.โรงเรียน สามารถเปิดและปิดสถานศึกษา ด้วยเหตุพิเศษ ได้กี่วัน ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ

สวัสดีครับ  ครูอัพเดตดอทคอม มีสาระน่ารู้มาฝากครับ เป็น ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยปีการศึกษา
การเปิดและปิดสถานศึกษา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๘  รายละเอียดดังนี้ 

…………………………………………………………………………………………………………..

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๘

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิด สถานศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิด สถานศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕๘”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคําว่า “เหตุพิเศษ” และ “เลขาธิการ” ในข้อ ๕ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
“เหตุพิเศษ” หมายความว่า สาธารณภัยอันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทําให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เก็ดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหาย แก่รัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรมด้วย

“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการ คณะกรรมการการอาชีวศึกษา และหมายความรวมถึงเลขาธิการ กศน. เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชนด้วย”

ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ข้อ ๔ และข้อ ๑๖ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ ๘ ผู้มีอํานาจสั่งปิดสถานศึกษาเป็นกรณีพิเศษ คือ (6) หัวหน้าสถานศึกษา สั่งปิดได้ไม่เกินเจ็ดวัน (๒) ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา สั่งปิดได้ไม่เกินสิบห้าวัน (๓) เลขาธิการ สั่งปิดได้ไม่เกินสามสิบวัน

(๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สั่งปิดได้ตามความเหมาะสม และความจําเป็น

เมื่อได้สั่งปิดสถานศึกษาไปแล้ว สถานศึกษาต้องทําการสอนชุดเซยให้ครบตามจํานวนวันที่ปิดนั้น

ข้อ ๙ ผู้มีอํานาจสั่งปิดสถานศึกะาเนื่องจากเหตุพิเศษ ให้สั่งปิดสถานศึกษาเพื่อระงับเหตุหรือเพื่อ ป้องกันภยันตรายอันอาจจะเกิดขึ้น คือ

(๑) หัวหน้าสถานศึกษา สั่งปิดได้ไม่เกินเจ็ดวัน
(๒) ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา สั่งปิดได้ไม่เกินสิบห้าวัน
(๓) เลขาธิการ สั่งปิดได้ไม่เกินสามสิบวัน
(๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สั่งปิดได้ตามความเหมาะสม และความจําเป็นเมื่อได้สั่งปิดสถานศึกษาไปแล้ว สถานศึกษาต้องทําการสอนชดเชยให้ครบตามจํานวนวันที่ปิดนั้น

ข้อ ๑๐ เมื่อผู้มีอํานาจตามข้อ ๘ และข้อ ๙ ได้สั่งปิดสถานศึกษาไปแล้ว แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยังไม่สงบหรือ
มีเหตุจําเป็นที่จะต้องสั่งปิดต่อไปอีก ให้เป็นดุลยพินิจของผู้มีอํานาจตามข้อ ๘ หรือข้อ ๙ แล้วแต่กรณี”

 

 

ขอขอบคุณที่มา  กระทรวงศึกษาธิการ

การดำเนินการสรรหาบุคลากร สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2564 ตาม ว.1  ,ว.16-ว.17  ล่าสุด

0

สวัสดีครับ  ครูอัพเดตดอทคอม ได้ติดตามข่าว การดำเนินการสรรหาบุคลากร สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2564
ตาม ว.1  ,ว.16-ว.17  ล่าสุด  ซึ่ง สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด เรื่อง 
การดำเนินการสรรหาบุคลากร
สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2564 ดังนี้

 

 

 

 

 

ดาวน์โหลดรายละเอียดล่างนี้

การคัดเลือก ว1,ว16-ว17 (แจ้ง ศธจ)

การคัดเลือก ว1,ว16-ว17 (แจ้ง สพท)

การคัดเลือก ว1,ว16-ว17 (แจ้ง สศศ)

ที่มา  สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ 

เลื่อนสอบครูผู้ช่วย 2564 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

0

 

 

เลื่อนสอบครูผู้ช่วย2564

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหนังสือเรื่อง การสอบแข่งขันตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2564 ถึง ศึกษาธิการทุกจังหวัด

ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 ได้กำหนดการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีพ.ศ. 2564 ตามหนังสือที่อ้างถึง 2 แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันมาเพื่อทราบและดำเนินการความแจ้งแล้วนั้น

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาแล้วขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและบางจังหวัดยังไม่อนุญาตให้ใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอนจัดสอบการฝึกอบรมหรือการทำกิจกรรมใดๆที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

หากดำเนินการสอบอาจมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงเลื่อนกำหนดการสอบข้อเขียนภาคก ภาคข และประกาศรายชื่อ
ผู้ผ่านภาคก และภาคข เพื่อมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินภาพจากกำหนดการเดิมที่ส่งพร้อมกับหนังสือ
ที่อ้างถึง 1 และได้กำหนดการใหม่ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย

เลื่อนสอบครูผู้ช่วย2564

 

เลื่อนสอบครูผู้ช่วย2564

เลื่อนสอบครูผู้ช่วย2564

ดาวน์โหลดไฟล์ทั้งหมด

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล เลื่อนสอบครูผู้ช่วย 2564 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก สพฐ.

 

 

 

คู่มือการเปลี่ยนผ่าน จาก ว.17 ว.21 สู่ ว.9(PA) เพื่อคงและเลื่อนวิทยฐานะฯ

0

คู่มือการเปลี่ยนผ่าน จาก ว.17 ว.21 สู่ ว.9(PA) เพื่อคงและเลื่อนวิทยฐานะฯ

คู่มือการเปลี่ยนผ่าน วิทยฐานะครจาก ว.17, ว.21 สู่ ว.9/2564 เพื่อคงวิทยฐานะและยกระดับวิทยฐานะ โดย ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หน่วยพัฒนา (นิติบุคคล) หจก.เพื่อครู ในกำกับสถาบันคุรุพัฒนา (www.phuakru.com/ เฟชกลุ่มเปิด “พาคิด พาทาตาม วPA”)

หลักการและเหตุผล

เพื่อให้การประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีการบูรณาการเชื่อมโยงกัน อย่างเป็นระบบ  โดยมุ่ง เน้นให้ข้าราชการครู มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนท่ีมี ประสิทธิภาพ สามารถปรับประยุกต์ แก้ไขปัญหา ริเริ่ม พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน และสร้างการเปลี่ยนแปลง การจัดการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อยกระดับและขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาได้ อย่างเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ

นิยาม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหมายถงึความรู้ทักษะเจตคติความคิดพฤติกรรมหรือคุณลกัษณะ ตามจุดประสงค์ของหลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงไปในทางท่ีดีหรือมีพัฒนาการมากข้ึนเมื่อผู้เรียนได้รับ ประสบการณ์การเรียนรู้ จากการลงมือปฏิบัติตามกระบวนการ หรือกิจกรรมท่ีครูผสู้ อนออกแบบและ ดาเนินการ ซงึ่ สามารถพิจารณาได้จาก “ผลงาน” (Product) หรือ “ผลการปฏิบัติ” (Performance) ของ ผู้เรียนท่ีปรากฎภายหลังการเรียนรู้

ข้อตกลงในการพัฒนางาน(PerformanceAgreement:PA)หมายความว่าข้อตกลงท่ีข้าราชการ ครูได้เสนอต่อผู้อานวยการสถานศึกษา เพื่อแสดงเจตจานงว่า ภายในรอบการประเมินจะพัฒนาผลลัพธ์การ เรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจาวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ สมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตร ให้สูงขึ้น โดยสะท้อนให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทฐานะที่ดำรงอยู่ และสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทของสถานศึกษา นโยบายของส่วนราชการและ กระทรวงศึกษาธิการโดยผู้อานวยสถานศึกษาได้เห็นชอบใหเ้ป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน

ระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DigitalPerformanceAppraisal)เรียกโดยย่อว่าระบบ DPA หมายความว่า ระบบการประเมินตาแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แบบ ออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยีในการส่งผ่าน จัดการ และประมวลผลข้อมูล การประเมินผลการปฏิบัติงานตาม ข้อตกลงในการพัฒนางาน รวมทั้ง หลักฐานประกอบการพิจารณา เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ

ดาวน์โหลดคู่มือที่นี่

คู่มือการเปลี่ยนผ่านวิทยฐานะครู จากว.17, ว21 สู่ ว.PA โดย ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา 062-7945366

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูล คู่มือการเปลี่ยนผ่าน จาก ว.17 ว.21 สู่ ว.9(PA) เพื่อคงและเลื่อนวิทยฐานะฯ จาก ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา ประธานหน่วยพัฒนา หจก.เพื่อครู

 

ใบประกอบวิชาชีพครู : ความภาคภูมิใจในความเป็นครู โดย ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา

0

ใบประกอบวิชาชีพครู : ความภาคภูมิใจในความเป็นครู โดย ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา

 

ใบประกอบวิชาชีพครู : ความภาคภูมิใจในความเป็นครู

ครู คือ ปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ครู คือ มนุษย์ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กนักเรียนที่จะพัฒนาคุณลักษณะของตนเองและสร้างค่านิยมต่างๆ ให้เกิดขึ้น  ไม่มีเทคโนโลยีใดๆ สามารถมาแทนที่ครูได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว นั่นคือว่าทำไมครูที่ดีจึงสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตลูกศิษย์ได้ ด้วยการพัฒนาพวกเขาให้เป็นพลเมืองที่ดีและมีความสามารถ ทั้งในระดับชาติและระดับเป็นพลเมืองของโลกด้วย” (พระราชดำรัส สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ ปี ๒๕๖๒)

คุณภาพของระบบการศึกษา ไม่สามารถสูงว่าคุณภาพของครู(เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. ๒๕๕๓ : ๒๔) ข้อความนี้เป็นผลสรุปจากการศึกษาระบบโรงเรียนที่จัดการศึกษาได้คุณภาพระดับโลกของประเทศต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญสูงสุดของผู้ประกอบวิชาชีพครู

บทบาท “วิชาชีพครู” ในกฎหมายหลายฉบับ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ให้ความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาอย่างมาก โดยบัญญัติไว้ใน หมวด  ๑๖ การปฏิรูปประเทศ มาตรา ๒๕๘ จ. ด้านการศึกษา (๓) ให้มีกลไกและระบบการผลิต  คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู  มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง  ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับ ความสามารถและประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครู

การพัฒนาประเทศตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ ที่ออกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา ๖๕ รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทําแผนต่างๆ  ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.๒๕๖๐ ให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติตาม มาตรา ๖ ยุทธศาสตร์ชาติอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (๑) วิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ (๒) เป้าหมายการพัฒนาประเทศในระยะยาว กําหนดระยะเวลาที่ต้องดําเนินการเพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย  และตัวชี้วัดการบรรลุเป้าหมาย (๓) ยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ  

ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ จึงเป็นการกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบ มีกฎหมายรองรับในระดับรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติ มีผลผูกพันทุกภาคส่วนกว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ ๕ ปี จากปี พ.ศ. ๒๕๐๑ จนถึงปัจจุบันเป็นฉบับที่ ๑๒ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือหลักในการกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศ แต่ดูเหมือนว่า จะเป็นเครื่องมือที่ไม่ทรงพลังต่อการเปลี่ยนแปลงเท่าที่ควรจะเป็น ด้วยปัจจัยทางการเมืองที่ผู้บริหารประเทศในแต่ละยุคสมัยมีการปรับเปลี่ยนตัวบุคคลและ คณะผู้บริหารประเทศ จึงผลิตนโยบายสาธารณะที่แตกต่างกัน จึงจะเห็นได้ว่าจะเป็นนโยบายในระยะสั้น ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในช่วงระยะเวลานั้นๆ เป็นหลัก

นอจากนี้ บทบาทสำคัญของการจัดการศึกษาต่อการพัฒนาประเทศ ยังกำหนดแนวทางสำคัญในพระราชบัญญัติ แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ.๒๕๖๐ กำหนดอะไร สำคัญอย่างไรมาตรา ๘ ให้จัดทําแผนการปฏิรูปประเทศ ๑๑ ด้าน โดยใน ด้านที่ (๕) ด้านการศึกษา มีคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งในปี 2560-2562 เป็นคณะทำงานจัดทำแผนปฏิรูปการศึกษาเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบ ทั้งหมด 7 ด้าน โดยเฉพาะด้านที่ 1 การปฏิรูประบบการศึกษา ซึ่งมี (ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ…. เป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่ง สถานะของแผนปฏิรูปการศึกษาดังกล่าว เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา และทิศทางการจัดการศึกษา

รายละเอียดที่สามารถกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาในระดับปฏิบัติการให้สอดคล้องกับแผนระดับต่างๆ นั้น พิจารณาได้จากแผนการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ ๒๑” (แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙)โดยให้ความสำคัญกับผู้ประกอบวิชาชีพครูไว้ในยุทธศาสตร์ที่ ๓ ข้อ ๓.๗ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาสมรรถนะตาม มาตรฐาน มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่นครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับและประเภท การศึกษาได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานวิชาชีพและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเพิ่มขึ้น และ ระดับความพึงพอใจของครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการพัฒนาและการใช้ ประโยชน์จากการพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นต้นโดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาคือ ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้สื่อตำราเรียน และสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ สร้างเสริมและปรับเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยให้มีวินัยจิตสาธารณะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และพัฒนาระบบและกลไกการติดตาม การวัด และประเมินผลผู้เรียน ให้มีประสิทธิภาพและมีแผนงานและโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นต้น

จากพัฒนาการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดศึกษาข้างต้น ความคาดหวัง เป้าหมายความสำเร็จของการขับเคลื่อนประเทศ จะสำเร็จมากน้อยเพียงใด ผู้มีบทบาทสำคัญไม่น้อยที่ไม่อาจปฏิเสธได้อีกหนึ่งวิชาชีพ คือ วิชาชีพครู จะเรียกได้ว่า เป็นผู้กำหนดอนาคตของชาติก็ไม่ผิดนัก

ใบประกอบวิชาชีพครู วิชาชีพชั้นสูง

คำว่า “อาชีพ” (Career) เป็นกิจกรรมที่ต้องทำให้สำเร็จโดยมุ่งหวังค่าตอบแทนเพื่อการดำรงชีพเท่านั้น ส่วนคำว่า “วิชาชีพ” (Profession) เป็นอาชีพให้บริการแก่สาธารณชนที่ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเป็นการเฉพาะ ไม่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีพอื่น มีการควบคุมการประกอบวิชาชีพให้มีมาตรฐานเหมาะสมกับสถานะของวิชาชีพ ส่วนความเป็น “วิชาชีพชั้นสูง” หมายถึง วิชาชีพที่ประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา (Intellectual Method) อบรมมาอย่างเพียงพอ (Long Period of Training) มีมาตรฐานวิชาชีพ (Professional Autonomy) มีจรรยาบรรณของวิชาชีพ (Professional Ethics) มีสถาบันวิชาชีพ(Professional Institution) และมีองค์กรวิชาชีพ (Professional Organization)

เมื่อวิชาชีพครู เป็น “วิชาชีพชั้นสูง” จึงถูกกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.. 2546  คุรุสภาเป็นองค์กรวิชาชีพ มีภารกิจควบคุม พัฒนา ธำรงวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ดังมาตราสำคัญ ดังนี้

มาตรา 43 ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา เป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ ฯ

มาตรา 44 ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามต่อไปนี้

(ก) คุณสมบัติ (๑) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์   (๒) มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเทียบ หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง  (๓) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

(ข) ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี  (๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ  (๓) เคยต้องโทษจำคุกที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

มาตรา 46 ห้ามมิให้ผู้ใดแสวงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา

มาตรา 48 ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา

มาตรา 49 ให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย (๑) มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ  (๒) มาตรฐานการปฏิบัติงาน (๓) มาตรฐานการปฏิบัตตน

ความสรุปว่า ก่อนจะได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูได้ ย่อมต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ ส่วนผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แปลว่า ไม่ผ่านคุณสมบัติในการประกอบวิชาชีพครู เพราะวิชาชีพครู เป็นอาชีพที่มีความรับผิดชอบทางสังคมสูง

ความเป็นครู เกิดจากการสะสมบ่มเพาะ

ถ้าย้อนนึกถึงวัยเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา เมื่อครูถามว่า โตขึ้นเด็กๆ อยากเป็นอะไร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คำตอบที่ไม่เคยห่างหายไปจากจิตนาการของเด็กๆ คือ อาชีพครู มิใช่เป็นเพราะว่าโลกทัศน์ของเด็กๆ ยังไม่ขยายกว้างขวาง ยังไม่เคยสัมผัสกับอาชีพอื่นๆ ในสังคมมากนัก แต่ภาพความเป็นครูในจินตนาการของเด็กๆ นั้น เต็มไปด้วยชีวิตที่อยู่ในอุดมคติ มีความสมบูรณ์ ได้รับการยกย่อง เชิดชู เป็นตัวแทนของความเก่ง ดี มีสุขในสังคมแวดล้อมเท่าที่วัยเด็กได้รับรู้ การใช้ชีวิตของเด็กในโรงเรียนอันยาวนาน ปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างครูกับนักเรียน จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็น จากปีเป็นหลายๆ ปี จนกว่าจะหลุดพ้นจากรั้วโรงเรียนนั้น เด็กๆ ได้ซึมซับเอาความดีงาม ความรู้สึกที่ดี จิตคำนึงของคนเป็นครูที่เต็มไปด้วยความปรารถนาดี ความจริงใจที่มีต่อลูกศิษย์ของตนเสมอมา ไม่ว่าจะเด็กๆ แต่ละคนจะมีพฤติกรรมอย่างไร ผู้ที่ประกอบวิชาชีพครูทุกคน นอกจากการทำหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ได้รับความรู้เต็มตามหลักสูตรแล้ว ยังอบรมบ่มนิสัย ขัดเกลาอุปนิสัยให้เป็นคนดี เพื่ออนาคตของตัวเด็กเอง คนเป็นครูจะซึมซับอารมณ์ความรู้สึกเช่นนี้จนกระทั่งเกษียณ

ปรากฎการณ์ดังข้อความข้างต้น มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดในหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพที่ ก.ค.ศ. กำหนดไว้ใน ว22/2560 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ด้านความเป็นครูซึ่งประกอบด้วย () ยึดมั่น ผูกพัน ศรัทธาในวิชาชีพ และทุ่มเทเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน () มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ทั้งกาย วาจา และจิตใจ ดำรงตนให้เป็นที่เคารพ ศรัทธา และน่าเชื่อถือทั้งใน และนอกสถานศึกษา  () ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู  () มีวินัยและการรักษาวินัย  () เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ปรับปรุง และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้มีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพ เพิ่มขึ้น  () ปฏิบัติตนโดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ () มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง

หากพิจารณาโดยถ่องแท้แล้ว มาตรฐานวิชาชีพซึ่งกำหนดในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2549 มาตรา 49 เพื่อกำกับการมีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น เป็นเพียงส่วนเสี้ยวของพฤติกรรมการปฏิบัติงานของครู หมายความว่า การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยปกติของครูนั้น เกินกว่านิยามความหมาย “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” ด้วยซ้ำ

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความเป็นวิชาชีพชั้นสูงผ่านใบรับรองความเป็นครู

หลังจากที่คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ได้นำเสนอแผนปฏิรูปการศึกษาที่ต่อประชุมคณะรัฐมนตรี และเห็นชอบมาเป็นกฎหมายแล้วนั้น ก็ปรากฏว่า มีการนำเสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ ให้มีใบรับรองความเป็นครูแทนใบประกอบวิชาชีพครู พิจารณาจากมาตรา ๓๔ และมาตรา ๙๘ สาระสำคัญคือ ผู้ที่มีคุณลักษณะทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีคุณลักษณะเฉพาะหรือมีวิชาครูก็ สามารถมีใบรับรองความเป็นครูได้ รวมทั้งครูในปัจจุบันก็เปลี่ยนจากใบประกอบวิชาชีพครูเป็นใบรับรองความเป็นครูแทนก็ได้

สภาครูจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยสมาชิกสภาครู 25 อำเภอ ได้เคยศึกษาวิเคราะห์ ระดมความคิดเห็น เก็บรวบรวมข้อมูล และประมวลผลข้อมูลจากความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศผ่านการตอบแบบสอบถามจากโปรแกรมกูเกิ้ลฟอร์มระหว่าง วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 22.08 น.ถึง 26 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 17.44 น. จำนวนข้อมูลที่ยุติเพื่อการประมวลผล ทั้งสิ้น 10,855 ท่าน แบ่งเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนร้อยละ 49.8 ครูผู้สอน ร้อยละ 37.5 พบว่า “ไม่เห็นด้วย” กับการเปลี่ยนแปลงจาก “ใบประกอบวิชาชีพครู” เป็น “ใบรับรองความเป็นครู” และนำไปสู่ความขัดแย้งทางความคิดเรื่อยมาจนปัจจุบัน

คำว่า “ใบประกอบวิชาชีพครู” กลายเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมาย เป็นสื่อแสดงถึงจิตวิญญาณความเป็นครู มีนัยแห่งความภาคภูมิใจในความเป็นครู ทั้งนี้ทุกงานวิจัยทั่วโลกต่างยอมรับว่า ความภาคภูมิใจในความเป็นครู หรือ ความภาคภูมิใจในใบประกอบวิชาชีพครู เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ครูอุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่สังคมคาดหวังได้

หากฝ่ายผู้มีอำนาจยังขืนดึงดันนำเอาความรู้สึกส่วนตัวมาเป็นหลักในการบริหารบ้านเมือง ใช้คำว่า “ใบรับรองความเป็นครู” แทน “ใบประกอบวิชาชีพครู” ดังที่มีความพยายามอยู่ในขณะนี้ บรรดาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ รู้สึกเศร้าใจ สลดหดหู่ใจ เสียขวัญกำลังใจ ขาดความศรัทธาเชื่อมั่นต่อผู้นำทางการศึกษาของประเทศ แน่นอนว่า ประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาภายในที่มองเห็นอยู่ก็ไม่อาจจะเรียกได้ว่าเต็มพลังศักยภาพ อันเป็นเพราะสารบั่นทอนกำลังใจในร่างกายไหลรินอย่างมิขาดสาย แม้กายภายนอกจะปฏิบัติหน้าที่รับคำสั่ง ทำตามนโยบายของผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นปกติก็ตาม ลองใช้สามัญสำนึกดูว่า ประเทศชาติจะเกิดความเสียหายจากการที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาขาดความศรัทธาและเชื่อมั่นในผู้นำทางการศึกษาเพียงใด

อีกทั้ง การใช้คำว่า “ใบรับรองความเป็นครู” ยังขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา ๒๕๘จ. ด้านการศึกษา ซึ่งใช้คำว่า “(๓) ให้มีกลไกและระบบการผลิต  คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู  มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง  ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับ ความสามารถและประสิทธิภาพในการสอน  รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครู” ฉะนั้น คำว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพครู” ควรจะได้ “ใบประกอบวิชาชีพครู” มิใช่ “ใบรับรองความเป็นครู” ซึ่งจะเป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไป

ความภาคภูมิใจใน “ใบประกอบวิชาชีพครู”

แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร  โรงเรียนจะมีดาวเทียม อินเตอร์เน็ต แทปเล็ต สื่อออนไลน์ทั้งหลายที่สามารถแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้หลากหลายมากขึ้น แต่ไม่อาจทดแทนครูได้  “ความเป็นคน” ของผู้เรียนต้องสร้างด้วยมือของครู ศักดิ์ศรีความเป็นคนได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นไร ศักดิ์ศรีความเป็นครู ได้รับการรับรองไว้ในกฎหมายหมายฉบับเช่นกัน ใบประกอบวิชาชีพครู คือตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ที่แสดงถึงศักดิ์ศรีตัวตนความเป็นครูที่ไม่อาจทดแทนด้วยคำว่า “ใบรับรองความเป็นครู” ได้

เอกสารอ้างอิง

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชดำรัส “ไม่มีเทคโนโลยีใด ๆ แทนครูได้”

คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา, สำนักงาน.(๒๕๖๐). หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนา

ข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน. หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.

ที่ ศธ ๐๒๐๖.๗/ว ๒๒ ลงวันที่ กรกฎาคม ๒๕๖๐. เอกสารเผยแพร่, มปป. หน้า

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙. กระทรวงศึกษาธิการ.

ราชกิจจานุเบกษา. (๒๕๔๖). พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖.

เล่ม ๑๒๐/ตอน๕๒ ก/

. (๒๕๖๐). พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ .. ๒๕๖๐. เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๗๙

๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐

. (๒๕๖๐). พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ .. ๒๕๖๐ เล่ม ๑๓๔

ตอนที่ ๗๙ , ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณขบความจาก ผู้เขียน

ดร.รัชศักดิ์  แก้วมาลา  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคำไฮน้อย ตำบลหนองบก อำเภอเหล่าเสือโก้ก

ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๑โทร. 062-7945366

กรอบอัตรากำลังข้าราชครู และบุคลากรทางการศึกษา (ชั่วคราว) ในสพม. ที่กำหนดใหม่

0

กรอบอัตรากำลังข้าราชครู และบุคลากรทางการศึกษา (ชั่วคราว) ในสพม. ที่กำหนดใหม่

ตามหนังสือที่อ้างถึง แจ้งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแจ้งบุคลากรในสังกัด
ผู้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ที่มีความประสงค์ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ที่เปลี่ยนแปลงและกำหนดใหม่ กรอกข้อมูลและจัดส่งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณา
ความแจ้งแล้ว นั้น

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขอเรียนว่า ก.ค.ศ. ได้มีมติอนุมัติกรอบอัตรากำลัง
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ชั่วคราว) ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่กำหนดใหม่
จำนวน ๖๒ เขต รวม ๑,๐๘๑ อัตรา เป็นตำแหน่งศึกษานิเทศก์ จำนวน ๘๗๑ อัตรา โดยให้ใช้กรอบอัตรากำลังนี้
เป็นระยะเวลา ๑ ปี และให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำรายละเอียดการกำหนดตำแหน่ง
และอัตราเงินเดือนตามกรอบอัตรากำลัง เสนอ ก.ค.ศ. เพื่อทราบ รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ และ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้พิจารณาเกลี่ยผู้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ตามความประสงค์
ไปดำรงตำแหน่งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่ กำหนดใหม่แล้ว ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๒
นี้ เพื่อให้การกำหนดตำแหน่งศึกษานิทศในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาม้ธยมศึกษาที่

และกำหนดใหม่เป็นไปตามมติ ก.ค.ศ. จึงให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทุกเขตจัดทำบัญชีรายละเอียด
การขอกำหนดตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๓ ประกอบด้วย ผู้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์
ในปัจจุบัน ผู้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ที่มีรายชื่อตามสิ่งที่ส่งมาด้วย และตำแหน่งว่างมีอัตราเงินเดือน
ส่วนที่ไม่เกินกรอบอัตรากำลังที่ก.ค.ศ. กำหนด กรมีตำแหน่งว่างในส่วนที่เกินกรอบอัตรากำลั
ตำแหน่งดังกล่าวตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๔ เพื่อเกลี่ยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่กำหนดใหม่
โดยจัดส่งข้อมูลให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในรูปแบบ PDF และ Microsoft Excel
ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔

ทั้งนี้ เมื่อ ก.ค.ศ. มีมติอนุมัติบัญชีรายละเอียดการกำหนดตำแหน่งศึกษานิเทศก์ในสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่เปลี่ยนแปลงและกำหนดใหม่แล้ว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จะแจ้งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเสนอคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เพื่อมีคำสั่งกำหนด
ตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษาต่อไป

เอกสารเพิ่มเติม

20หนังสือ สพฐ. ด่วนที่สุด ว2802ลว21มิย64 แจ้ง สพท. ทำบัญชีกำหนดตำแหน่ง

21ว2802ส่งมาด้วย1หนังสือ สนง.ก.ค.ศ. 526ลว13พค64 กำหนดกรอบมัธยมชั่วคราว

22ว2802ส่งมาด้วย2บัญชีรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่ง ศน. ที่ได้รับเกลี่ย

23ว2802ส่งมาด้วย3 แบบบัญชีรายละเอียดขอกำหนดตำแหน่ง

24ว2802ส่งมาด้วย4 แบบรายงานตำแหน่ง ศน ว่างเกินกรอบ

25แบบฟอร์มกรอกข้อมูลตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 3-4

กรอบอัตรากำลังข้าราชครู และบุคลากรทางการศึกษา (ชั่วคราว) ในสพม. ที่กำหนดใหม่
กรอบอัตรากำลังข้าราชครู และบุคลากรทางการศึกษา (ชั่วคราว) ในสพม. ที่กำหนดใหม่

 

กรอบอัตรากำลังข้าราชครู และบุคลากรทางการศึกษา (ชั่วคราว) ในสพม. ที่กำหนดใหม่
กรอบอัตรากำลังข้าราชครู และบุคลากรทางการศึกษา (ชั่วคราว) ในสพม. ที่กำหนดใหม่

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูล กรอบอัตรากำลังข้าราชครู และบุคลากรทางการศึกษา (ชั่วคราว) ในสพม. ที่กำหนดใหม่ จากสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ก ภาค ข รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ ครูผู้ช่วย 2564 รอบทั่วไปปี 2564 ทุกจังหวัด

0

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ ภาค ก ภาค ข ครูผู้ช่วย 2564

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ก ภาค ข รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ ครูผู้ช่วย 2564 รอบทั่วไปปี 2564 ทุกจังหวัด สวัสดีค่ะ คุณครูทุกท่าน วันนี้ ครูอัพเดตดอทคอม  ได้จัดทำ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ก ภาค ข รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ ครูผู้ช่วย 2564 รอบทั่วไปปี 2564 ทุกจังหวัด เพื่ออำนวยความสะดวกในการสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี 2564 สำหรับทุกท่านที่กำลังเตรียมตัวสอบครูผู้ช่วย และอยากทราบว่า กศจ.ใด และจังหวัดไหนบ้าง เปิดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี 2564 วิชาเอกใดบ้าง และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ก ภาค ข รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ ครูผู้ช่วย 2564 รอบทั่วไปปี 2564 ทุกจังหวัด แล้ว ก่อนอื่นไปดูกำหนดการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2564 โดยมีกำหนดการดังนี้ค่ะ

สมัครสอบครูผู้ช่วย 2564 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย 1

1.ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย ภายในวันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม 2564
2.รับสมัครสอบครูผู้ช่วย วันศุกร์ที่ 4-วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน 2564 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
3. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย ภาค ก และ ภาค ข ภายในวันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2564
4. ประเมินจากการสอบข้อเขียน 
ภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป วันเสาร์ที่ 17 กรกฏาคม 2564
ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฏาคม 2564
5. ประกาศรายชื่อผู้ผ่านภาค ก และ ภาค ข เพื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมิน ภาค ค ภายในวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2564
6. ประเมินจากการสอบสัมภาษณ์ แฟ้มสะสมผลงาน และการสอบสาธิตการปฏิบัติการสอน ภาค ค ตามวันเวลาที่ กศจ. หรือ อ.ก.ค.ศ. สศศ. กำหนด ให้แล้วเสร็จภายในสิงหาคม 2564

สมัครสอบครูผู้ช่วย 2564 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย 2

 

สมัครสอบครูผู้ช่วย 2564 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย 3

โดยทุกท่านที่จะเตรียม สมัครสอบครูผู้ช่วย  ปี 2564 สามารถกดที่ลิงก์ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ก ภาค ข รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ ครูผู้ช่วย 2564 รอบทั่วไปปี 2564 ทุกจังหวัด  ได้เลยค่ะ

โปรดกด refresh เพื่อดูประกาศล่าสุดนะคะ หรือ F5 ที่แป้นพิมพ์ได้เลยค่ะทางทีมงาน ครูอัพเดตดอทคอม จะอัพเดตประกาศให้ล่าสุดแน่นอนค่ะ

ที่ สำนัก/
ศึกษาธิการจังหวัด
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ก ภาค ข รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ
ครูผู้ช่วย 2564 รอบทั่วไปปี 2564 ทุกจังหวัด
1 กรุงเทพมหานคร
2 กระบี่
3 กาญจนบุรี
4 กาฬสินธุ์
5 กำแพงเพชร
6 ขอนแก่น
7 จันทบุรี
8 ฉะเชิงเทรา
9 ชลบุรี
10 ชัยนาท
11 ชัยภูมิ
12 ชุมพร
13 เชียงราย
14 เชียงใหม่
15 ตรัง
16 ตราด
 17 ตาก
18 นครนายก
19 นครปฐม
20 นครพนม
21 นครราชสีมา
22 นครศรีธรรมราช
23 นครสวรรค์
24 นนทบุรี
25 นราธิวาส
26 น่าน
27 บุรีรัมย์
28 บึงกาฬ
29 ปทุมธานี
30 ประจวบคีรีขันธ์
31 ปราจีนบุรี
32 ปัตตานี
33 พระนครศรีอยุธยา
34 พังงา
35 พัทลุง
36 พิจิตร
37 พิษณุโลก
38 เพชรบุรี
39 เพชรบูรณ์
40 แพร่
41 พะเยา
42 ภูเก็ต
43 มหาสารคาม
44 แม่ฮ่องสอน
45 มุกดาหาร
46 ยะลา
47 ยโสธร
48 ร้อยเอ็ด
49 ระนอง
50 ระยอง
51 ราชบุรี
52 ลพบุรี
53 ลำปาง
54 ลำพูน
55 เลย
56 ศรีสะเกษ
57 สกลนคร
58 สงขลา
59 สตูล
60 สมุทรปราการ
61 สมุทรสงคราม
62 สมุทรสาคร
63 สระบุรี
64 สระแก้ว
65 สุพรรณบุรี
66 สิงห์บุรี
67 สุโขทัย
68 สุราษฎร์ธานี
69 สุรินทร์
70 หนองคาย
71 หนองบัวลำภู
72 อ่างทอง
73 อุดรธานี
74 อุตรดิตถ์
75 อุทัยธานี
76 อุบลราชธานี
77 อำนาจเจริญ
78 สำนักงานการศึกษาพิเศษ


 

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มา  ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี 2564

 

แนวปฏิบัติการนับหน่วยกิต และแนวทางการพิจารณาคุณวุฒิ ในการสมัครสอบแข่งขันครูผู้ช่วย

0

แนวปฏิบัติการนับหน่วยกิต และแนวทางการพิจารณาคุณวุฒิ ในการสมัครสอบแข่งขันครูผู้ช่วย

แนวปฏิบัติการนับหน่วยกิต และแนวทางการพิจารณาคุณวุฒิ ในการสมัครสอบแข่งขันครูผู้ช่วย สวัสดีครับคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีข่าวสารเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการนับหน่วยกิตและแนวทางการพิจารณาคุณวุฒิในการสมัครสอบแข่งขันหรือคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย มาฝากคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่านครับ

สถานี ก.ค.ศ.
แนวปฏิบัติการนับหน่วยกิตและแนวทางการพิจารณาคุณวุฒิในการสมัครสอบแข่งขันหรือคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย

สวัสดีข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้อ่านทุกท่าน สำนักงาน ก.ค.ศ. มีประเด็นสำคัญที่จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการนับหน่วยกิต และแนวทางการพิจารณาคุณวุฒิในการสมัครสอบแข่งขันหรือคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย

ซึ่งแนวปฏิบัติฯ เดิม (ว 7/2556) และ (ว 9/2560) กำหนดไว้ว่า กรณีหลักฐานการศึกษามิได้ระบุสาขาวิชาเอกที่ศึกษาไว้ หรือระบุไว้แตกต่างจากประกาศรับสมัครให้นับจำนวนหน่วยกิตจากรายวิชาที่ศึกษาตาม Transcript ทั้งหมด ส่งผลให้ผู้สำเร็จการศึกษาในคุณวุฒิ และสาขาวิชา ที่ ก.ค.ศ. รับรองแล้ว แต่แตกต่างไปจากประกาศรับสมัครสอบแข่งขันหรือคัดเลือก สามารถสมัครสอบได้ โดยการนับหน่วยกิตในคุณวุฒิและหรือสาขาวิชานั้น ทำให้บางสถานศึกษาได้ครูในสาขาวิชาที่ไม่ตรงกับวิชาที่สอน และไม่ตรงตามความจำเป็นต้องการที่แท้จริงของสถานศึกษา ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้น ก.ค.ศ. จึงมีมติให้ปรับปรุงแนวปฏิบัติการนับหน่วยกิต ใหม่ โดยมีสาระสำคัญ คือ

“กรณีผู้สมัครสอบแข่งขันหรือคัดเลือก ตำแหน่งครูผู้ช่วย นำหลักฐานการศึกษาซึ่งมิได้ระบุสาขาวิชา หรือโปรแกรมวิชา หรือแขนงวิชา หรือวิชาเอกที่ศึกษาไว้ มาใช้สมัครสอบแข่งขันหรือคัดเลือก ให้ กศจ. หรืออ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันหรือคัดเลือกพิจารณาและดำเนินการนับหน่วยกิตรายวิชาที่ศึกษา ที่ตรงกับประเภทวิชา หรือกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอกที่ประกาศรับสมัครจากใบรายงานผลการศึกษา หรือระเบียนแสดงผลการศึกษา (Transcript) ดังนี้

– ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี และหลักสูตร 5 ปี ให้นับหน่วยกิตในรายวิชานั้นๆ ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

– ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี 2 ปี หลักสูตรต่อเนื่อง ให้นับหน่วยกิตในรายวิชานั้นๆ ในระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต และในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าไม่เกิน 10 หน่วยกิต รวมแล้วไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

ทั้งนี้ การพิจารณานับหน่วยกิตของผู้ดำเนินการสอบแข่งขันหรือคัดเลือกผลเป็นประการใด ให้เป็นที่สุดสำหรับการตรวจสอบคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง ให้ตรวจสอบจากเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ค.ศ.www.otepc.go.th”

นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการรับสมัครสอบแข่งขันหรือคัดเลือก สำนักงาน ก.ค.ศ.ขอชี้แจงแนวทางการพิจารณาคุณวุฒิในการสมัครสอบแข่งขันหรือคัดเลือก กรณีที่ประกาศรับสมัครไม่ครอบคลุมชื่อสาขาวิชา/โปรแกรมวิชา/แเขนงวิชา/วิชาเอก ที่สถาบันอุดมศึกษาเปิดสอน แต่มีความเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียง หรือคล้ายคลึงกัน (เนื่องจาก ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาเปิดสอนโดยใช้ชื่อหลักสูตรที่หลากหลายและแตกต่างกันในแต่ละสถาบัน จึงอาจทำให้ไม่สามารถประกาศรับสมัครโดยระบุสาขาวิชาโปรแกรมวิชา/แขนงวิชา/วิชาเอก ได้ครอบคลุมหลักสูตรทั้งหมดที่สถาบันอุดมศึกษาเปิดสอน) ให้ กศจ.หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณี พิจารณาวินิจฉัยคุณวุฒิของผู้สมัคร ผลการพิจารณาเป็นประการใดให้เป็นที่สุด

ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดของแนวปฏิบัติ รวมทั้งกรณีตัวอย่างการนับหน่วยกิต และแนวทางการพิจารณาคุณวุฒิในการสมัครสอบแข่งขันหรือคัดเลือกได้ จากหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ว 13 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 และหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.6/316 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ได้ทางเว็บไซต์สำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ www.otepc.go.th

สำนักงาน ก.ค.ศ.
18 มิถุนายน 64

แนวปฏิบัติการนับหน่วยกิต และแนวทางการพิจารณาคุณวุฒิ ในการสมัครสอบแข่งขันครูผู้ช่วย

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงาน ก.ค.ศ.

การอบรมครูด้วยระบบออนไลน์ (SMT online) ประจำปี 2564 จำนวน 10 หลักสูตร จาก สสวท.

0

การอบรมครูด้วยระบบออนไลน์ (SMT online) ประจำปี 2564 จำนวน 10 หลักสูตร จาก สสวท.

การอบรมครูด้วยระบบออนไลน์ (SMT online) ประจำปี 2564 จำนวน 10 หลักสูตร จาก สสวท. สวัสดีครับ คุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม ขออนุญาตนำลิงก์การอบรมครูด้วยระบบออนไลน์ (SMT online) ประจำปี 2564 มาฝากคุณครูและท่านผู้อ่านทุกท่านครับ

เพจ IPST Thailand  ได้เผยแพร่ การอบรมครูด้วยระบบออนไลน์ (SMT online) ประจำปี 2564

การอบรมครูด้วยระบบออนไลน์ (SMT online) ประจำปี 2564

การอบรมครูด้วยระบบออนไลน์ (SMT online) ประจำปี 2564 จำนวน 10 หลักสูตร จาก สสวท.

ประกอบด้วย 10 หลักสูตร ดังนี้

1. หลักสูตรระดับปฐมวัย เรื่อง หนูหนูเรียนรู้สะเต็มศึกษา

2. หลักสูตรระดับประถมศึกษาตอนต้น (วิทยาศาสตร์) เรื่อง สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา

3. หลักสูตรระดับประถมศึกษาตอนต้น (คณิตศาสตร์) เรื่อง คูณ หาร รอบตัว

4. หลักสูตรระดับประถมศึกษาตอนปลาย (วิทยาศาสตร์) เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของน้ำ

5. หลักสูตรระดับประถมศึกษาตอนปลาย (คณิตศาสตร์) เรื่อง เศษส่วนในชีวิต

6. หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยาศาสตร์) เรื่อง ยืดเส้น ยืดสาย ร่างกายแข็งแรง

7. หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (คณิตศาสตร์) เรื่อง ส่งได้สบายกระเป๋า

8. หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยาศาสตร์กายภาพ : เคมี) เรื่อง เคมีกับพลังงานทดแทน

9. หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากพืชและการใช้เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน

10. หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (คณิตศาสตร์) เรื่อง คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน ถึง 15 กรกฎาคม 2564

ระยะเวลาการอบรมตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมถึง 31 สิงหาคม 2564

อบรมได้ที่ >> https://teacherpd.ipst.ac.th

หากต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการอบรม สามารถสอบถามได้ที่

Email : [email protected]

————————————————–

Download คู่มือการอบรมครูด้วยระบบออนไลน์ 64 ได้ที่ https://bit.ly/2Rk1Znt

————————————————–

หมายเหตุ :

จะมีการเสนอขออนุมัติหลักสูตรทั้งหมดจาก ก.ค.ศ. หลังจากจบการอบรม และหากได้รับอนุมัติแล้ว จะแจ้งให้ทราบต่อไป

#สสวท #อบรมครู #smt #ยกระดับคุณภาพการศึกษา #ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา #ขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก เพจ  IPST Thailand