ก.ค.ศ. แจ้งแนวปฏิบัติ การขอวิทยฐานะครูชำนาญการช่วงเปลี่ยนผ่าน ให้ผู้ที่บรรจุครูผู้ช่วยก่อน 5 ก.ค. 2560 และดำรงตำแหน่งครูตั้งแต่ 5 ก.ค. 2560 มีคุณสมบัติขอวิทยฐานะครูชำนาญการ ตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 โดยต้องยื่นภายใน 30 ก.ย. 2565

สวัสดีครับวันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมมีเรื่องราวดีดีมาฝากคุณครูเช่นเคยครับ โดยเมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานก.ค.ค. ได้เผยแพร่แนวปฏิบัติการดำเนินการขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน โดยมีใจความสำคัญคือ

“การขอวิทยฐานะครูชำนาญการช่วงเปลี่ยนผ่าน ให้ผู้ที่บรรจุครูผู้ช่วยก่อน 5 ก.ค. 2560 และดำรงตำแหน่งครูตั้งแต่ 5 ก.ค. 2560 มีคุณสมบัติขอวิทยฐานะครูชำนาญการ ตามหลักเกณฑ์ ว17/2552 ได้ โดยต้องยื่นภายใน 30 ก.ย. 2565 “

ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ครับ

การขอวิทยฐานะครูชำนาญช่วงเปลี่ยนผ่าน ให้ผู้ที่บรรจุครูผู้ช่วยก่อน 5 ก.ค. 2560
การขอวิทยฐานะครูชำนาญช่วงเปลี่ยนผ่าน ให้ผู้ที่บรรจุครูผู้ช่วยก่อน 5 ก.ค. 2560

ดาวน์โหลดไฟล์

ว_17__2564 1
ว_17__2564 1
ว_17__2564 2
ว_17__2564 2

ดาวน์โหลดไฟล์

ขอบคุณที่มาจาก : สำนักงาน ก.ค.ศ.

 

 

ว.17 /2564 แนวปฏิบัติ การขอมี วิทยฐานะครูชำนาญการ ช่วงเปลี่ยนผ่าน

วิทยฐานะครูชำนาญการ ช่วงเปลี่ยนผ่าน

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้มีหนังสือ เรื่อง แนวปฏิบัติ การดำเนินการขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ ช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการ ประเมิน ตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูให้ส่วนราชการและหน่วยงานการศึกษาทราบและถือปฏิบัติ ต่อมาส่วนราชการและหน่วยงานการศึกษาได้มีหนังสือหารือ ก.ค.ศ. เกี่ยวกับแนวปฏิบัติการดำเนินการขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.1 ของหมวด 5 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว

ว่ากรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วยก่อนวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มตามที่กคศกำหนดและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2560

ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือที่อ้างถึง 2 และยังไม่เคยขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือที่อ้างถึง 3 มาก่อนจะสามารถยื่นคำขอตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือที่อ้างถึง 2 ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.1 ของหมวดที่ 5 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือที่อ้างถึง 1 ได้หรือไม่นั้น

ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วมีมติกำหนดแนวปฏิบัติการดำเนินการกรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วยก่อนวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มตามที่ก.ค.ศ. กำหนดและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2560

ซึ่งมีคุณสมบัติในการยื่นคำขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือที่อ้างถึง 2 ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านตามที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือที่อ้างถึง 3 ให้สามารถ ขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือที่อ้างถึง 2 ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านที่กำหนดไว้ในข้อ 3.1 ของหมวด 5 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามหนังสือที่อ้างถึง 1 ได้ภายในวันที่ 30 กันยายน 2564

ว_17__2564 1

ว_17__2564 2

ดาวน์โหลดไฟล์ แนวปฏิบัติ การดำเนินการขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ ช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของภาพและข้อมูล แนวปฏิบัติ การดำเนินการขอมีวิทยฐานะครูชำนาญการ ช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน จาก ก.ค.ศ. ค่ะ

โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ปีการศึกษา 2565 เรียนฟรีจบแล้ว ได้บรรจุครู

0

โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น 2565

โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชนให้การสนับสนุนผู้รับทุน
– นักเรียนชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ที่อยากเป็นครู ภูมิลำเนาอยู่เขตตำบลที่ตั้งของโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ฐานะครอบครัวอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด เกรดเฉลี่ยสะสม 5 ภาคเรียน ในชั้นม.ปลาย ไม่ต่ำกว่า 2.50
– นักเรียนที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดและอยากเป็นครูเข้าสอบคัดเลือกเพื่อเข้าเรียนครูตามหลักสูตรจนสำเร็จการศึกษา
– ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูและกลับไปปฏิบัติงานในโรงเรียนลักษณะพิเศษ สังกัด สพฐ. ในพื้นที่ระดับตำบลตามภูมิลำเนาบ้านเกิดของผู้รับทุน

ประกาศเปิดรับโครงการครูรักษ์ถิ่น-ปี-2565-01

ประกาศเปิดรับโครงการครูรักษ์ถิ่น-ปี-2565-02

ประกาศเปิดรับโครงการครูรักษ์ถิ่น-ปี-2565-03

ประกาศเปิดรับโครงการครูรักษ์ถิ่น-ปี-2565-04

 

ประกาศเปิดรับโครงการครูรักษ์ถิ่น-ปี-2565-05

ประกาศเปิดรับโครงการครูรักษ์ถิ่น-ปี-2565-06

อ่านประกาศ โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ปีการศึกษา 2565 เรียนฟรีจบแล้ว ได้บรรจุครู  ทั้งหมด คลิกที่นี่

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลและภาพ โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ปีการศึกษา 2565 เรียนฟรีจบแล้ว ได้บรรจุครู จาก เว็บไซต์ กสศ. 

 

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ

0

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
เลขาธิการ ก.ค.ศ. เปิดเผยว่าในการประชุม อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวิทยฐานะข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ ๗/๒๕๖๔ เมื่อวันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ได้มีมติอนุมัติให้ข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเยวชาญ จำนวน ๖ ราย ได้แก่ วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ
จำนวน ๑ ราย วิทยฐานะรองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน ๑ ราย วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ
จำนวน ราย และวิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ จำนวน ๓ ราย ดังนี้
หลักเกณฑ์ๆ ว ๑๗/๒๕๕๒ จำนวน ๓ ราย ดังนี้

๑. เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จำนวน ๑ ราย ได้แก่ นายอาทิตย์ เกษจันทร์ โรงเรียน
หนองเรือวิทยา จังหวัดขอนแก่น สพม.เขต ๒๕ (ผลงานทางวิชาการ คือ ๑. รายงานการวิจัยพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน “ฮูปแต้ม”โดยใช้เทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมเรียน (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ พร้อมเอกสารประกอบ ๒. รายงานผลการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมชุดมหัศจรรย์
สู่ความเป็นเลิศศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน “ฮอยอีสาน” ด้วยเทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ (Co – op Co – op)กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ พร้อมเอกสารประกอบ)

๒. เลื่อนเป็นวิทยฐานะรองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน ๑ ราย ได้แก่ นายแทน โมราราย
วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ (ผลงานทางวิชาการ คือ ๑. กลยุทธ์การขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพภายใน
เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ ๒. การประเมินโครงการ
ส่งเสริมการสร้างและพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนวิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์)

๓. เลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน ๑ ราย ได้แก่ นายสถิตย์ ปริปุณณากร
วิทยาลัยเทคนิคพะเยา (ผลงานทางวิชาการ คือ ๑. การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัย
เป็นฐานสู่การเสริมสร้างนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิคพะเยา พร้อมเอกสารประกอบ ๒. การประเมินโครงการ
ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) วิทยาลัยเทคนิคพะเยา) หลักเกณฑ์ฯ ว ๑๒/๒๕๖๑ มีวิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ จำนวน ๓ ราย ได้แก่

๑) นายปัญญา หาแก้ว สพม.เขต ๓๗ (ผลงานทางวิชาการ คือ รายงานผลการบริหาร
จัดการคุณภาพการศึกษา โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๗)
๒) นายขวัญเรือน แสบงบาล สพป.มหาสารคาม เขต ๓ (ผลงานทางวิชาการ คือ รายงาน
ผลการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ ด้วยรูปแบบ ดาว ๕ ดวง)
๓) นายวันชัย เกิดมีโภชน์ สพป.อุทัยธานี เขต ๒ (ผลงานทางวิชาการ คือ รายงานการศึกษา
ผลการดำเนินงานของโรงเรียน ตามนโยบายและจุดเน้นเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต ๒)

อ่านรายละเอียดได้ที่ >> https://otepc.go.th/th/otepc03/news-otepc03/item/3437-2021-07-30-05-05-28.html

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูล ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จาก ก.ค.ศ.

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 7/2564

0

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 7/2564

  ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 7/2564 ในวันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และมีมติที่สำคัญ คือ

        1. อนุมัติ หลักการการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

สืบเนื่องจาก ก.ค.ศ. ได้มีการกำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะใหม่ รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกตำแหน่ง ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว ได้กำหนดให้นำผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลงไปใช้เป็นองค์ประกอบในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ประกอบกับตามที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนในการขับเคลื่อนการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 5 เรื่อง ซึ่งนโยบายที่ 2 คือ การปรับระบบการประเมินวิทยฐานะควบคู่กับระบบการประเมินเงินเดือน ดังนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ และหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะดังกล่าว โดยเห็นควรกำหนดหลักการการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน 6 ประเด็น ดังนี้

1. สภาพปัญหา

ปัจจุบันการประเมินเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะและการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือนมีการกำหนดให้ใช้เครื่องมือ วิธีการ รวมทั้งการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายที่แตกต่างกัน ทำให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีภาระงานเพิ่มขึ้นจากการประเมินที่ซ้ำซ้อน

2. หลักการ

                         2.1 เพื่อลดความซ้ำซ้อนจากการประเมิน ลดภาระงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลดภาระด้านงบประมาณภาครัฐ รวมทั้งเกิดการเชื่อมโยงบูรณาการกันระหว่างการประเมินแต่ละระบบ ดังนั้น จึงกำหนดรูปแบบการประเมินที่ใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน เพื่อให้สามารถนำผลการประเมินมาใช้ ทั้งในการประเมินเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ การประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ รวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือน

2.2 เน้นระบบการประเมินแบบ Performance-based Appraisal เป็นหลัก โดยใช้ระบบการประเมินแบบ Result-based Appraisal ร่วมด้วย

2.3 กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน (ยกเว้นตำแหน่งครูผู้ช่วย) ต้องจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานทุกปีงบประมาณเสนอต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนางานของแต่ละตำแหน่ง โดยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแต่ละคนต้องปฏิบัติงานให้ได้ตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามตำแหน่งและวิทยฐานะของตนเอง ซึ่งในส่วนของการประเมินผลการปฏิบัติงานนั้น ผลการประเมินข้อตกลงการพัฒนางานจะนำมาใช้พิจารณาผลการประเมิน
ในองค์ประกอบที่ 1

3. องค์ประกอบการประเมิน

ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดองค์ประกอบการประเมิน 3 ข้อ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน

(เน้นการประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง) 80 คะแนน

องค์ประกอบที่ 2 การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา

(เน้นการประเมินการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานของตนเอง)  10 คะแนน

องค์ประกอบที่ 3 การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ (เน้นการประเมินพฤติกรรมและการปฏิบัติตน) 10 คะแนน

                   4. เครื่องมือ

การประเมินข้อตกลงในการพัฒนางานเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ (PA) การคงวิทยฐานะ และการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือน ใช้ตัวชี้วัดในการประเมินชุดเดียวกัน ซึ่งกำหนดจากงานตามมาตรฐานตำแหน่ง    

                   5. วิธีการประเมิน

องค์ประกอบที่ 1

                    การประเมินผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 1

1. นำข้อตกลงในการพัฒนางานมากำหนดขอบเขตของผลการปฏิบัติงานที่คาดหวัง

2. ให้ผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติงานตามขอบเขตของผลการปฏิบัติงานที่คาดหวัง

                    การประเมินผลการปฏิบัติงานครั้งที่ 2

ให้ผู้บังคับบัญชานำผลการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางานมาใช้ประกอบการพิจารณา

องค์ประกอบที่ 2 และ 3

                    การประเมินผลการปฏิบัติงานทั้ง 2 รอบการประเมิน ให้ผู้บังคับบัญชาประเมินตามสภาพการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน

6. การนผลการประเมินไปใช้

ใช้ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน การประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ และใช้เป็นคุณสมบัติในการขอให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ

ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

       2. เห็นชอบ (ร่าง) ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
             สืบเนื่องจากที่ ก.ค.ศ. ได้จัดทำระเบียบ ก.ค.ศ.  ว่าด้วยระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2555 ขึ้น เพื่อใช้ในการบริหารงานและขับเคลื่อนการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 19 (4) และ (17)  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้มีการจัดทำระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และเป็นไปตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่เน้นการบูรณาการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐเพื่อลดการสำเนาเอกสารและใช้ข้อมูลร่วมกัน ซึ่งระเบียบดังกล่าวได้กำหนดให้มี 2 ระบบ คือ ระบบเอกสาร และระบบอิเล็กทรอนิกส์ และระเบียบดังกล่าวได้กำหนดให้มีการพิจารณาทบทวนระเบียบนี้ อย่างน้อยทุกรอบระยะเวลาสองปี เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและความสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ได้มีการพัฒนาหรือได้มีการเปลี่ยนแปลงไป

         ก.ค.ศ. จึงได้พิจารณาทบทวน ปรับปรุง และแก้ไขระเบียบดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยได้มีการแก้ไขเป็น (ร่าง) ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. ซึ่งในรายละเอียดของ (ร่าง) ระเบียบดังกล่าว กำหนดให้การจัดทำข้อมูลทะเบียนประวัติจะเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว โดยจะไม่มีการจัดทำระบบเอกสาร และในขณะเดียวกันสำนักงานก.ค.ศ. ก็ได้พัฒนาระบบทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ (CMSS) ควบคู่ไปพร้อมกับ (ร่าง) ระเบียบ ก.ค.ศ.ฯ ดังกล่าวด้วย เพื่อให้มีความสอดคล้องกัน ทั้งนี้ เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สามารถจัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถนำข้อมูลในระบบทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ (CMSS)ไปใช้ในการบริหารงานบุคคล เพื่อให้สามารถสืบค้น อ้างอิง และใช้เป็นหลักฐานที่ใช้ในราชการได้ ซึ่งเป็นไปตามวาระเร่งด่วน (Quick win) ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ให้จัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศให้เป็นระบบ มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ถูกต้องเป็นปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 7/2564 วันที่ 29 กรกฎาคม 2564

อ่านรายละเอียดได้ที่  https://otepc.go.th/th/content_page/item/3436-7-2564-2.html

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก  กลุ่มประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ สำนักงาน ก.ค.ศ.

สกสค.  เปิดโครงการ สวัสดิการ เพื่อสมาชิก ช.พ.ค.  และ ช.พ.ส. ห้ามพลาด

0

สกสค.  เปิดโครงการ สวัสดิการ เพื่อสมาชิก ช.พ.ค.  และ ช.พ.ส. ห้ามพลาด

สวัสดีครับ  ครูอัพเดตดอทคอม มีข่าวสารที่น่าสนใจมาฝากครับ  ด้วยสำนักงาน  สกสค. มีการเปิดโครงการ สวัสดิการ เพื่อสมาชิก ช.พ.ค.  และ ช.พ.ส. 40/75  ดังนี้ครับ

โครงการ สวัสดิการ 40/75 สำหรับสมาชิก ช.พ.ค.  และ ช.พ.ส. ที่มีอายุการเป็นสมาชิกต่อเนื่อง 40 ปี หรือ
มีอายุตัว 75 ปีขึ้นไป เมื่อเข้าร่วมโครงการฯ  จะมีสิทธิ์ไม่ต่องจ่ายค่าสงเคราะห์รายศพ  โดยจะหักจากเงินสงเคราะห์เมื่อสมาชิกถึงแก่ความตาย  ตามที่จ่ายจริงเท่านั้นครับ 

เงื่อนไขการขอสมัครเข้าร่วมโครงการฯ 40/75
สมาชิก  ชพค. – ชพส. ต้องมีการส่งชำระเงินสงเคราะห์รายศพอย่างต่อเนื่อง  และเป็นปัจจุบันนับถึงวันที่ยื่นคำขอ

โครงการ สวัสดิการ สกสค. ชพค. ชพส.

ขอขอบคุณที่มาเนื้อหา   สกสค.

ครูดีของแผ่นดิน เปิดแล้ว ระบบสมาชิกครูดีของแผ่นดินและการประเมินรางวัลครูดีของแผ่นดิน 2564

ครูดีของแผ่นดิน

 

ครูดีของแผ่นดิน สวัสดีค่ะคุณครูทุกท่าน วันนี้ ครูอัพเดตดอทคอม มีข่าวสารดีๆจากมูลนิธิครูดีของแผ่นดิน มาฝากคุณครูทุกท่านค่ะ ซึ่งในขณะนี้มูลนิธิครูดีของแผ่นดินได้ เปิดรับสมัครคุณครูเข้าร่วมโครงการ ครูดีของแผ่นดิน เเพื่อขอรับรางวัลครูดีของแผ่นดินขั้นพื้นฐานแล้วนะคะ โดยคุณครูทำการสมัครสมาชิกผ่านเว็บไซต์ของมูลนิธิครูดีของแผ่นดิน   www.thaisuprateacher.org  และทำแบบประเมินได้เลยค่ะ

⭐️ผู้บริหาร ครู สามารถทำประเมินครูดีของแผ่นดินขั้นพื้นฐานได้แล้ว⭐️กรุณาเตรียมอีเมลล์ ถ่ายรูปตนเองพร้อมบัตรประชาชนก่อนเข้าระบบ

ก่อนอื่นหากคุณครูยังไม่ได้สมัครสมาชิก ให้คุณครูสมัครสมาชิกที่ลิงก์ด้านล่าง โดยกรอกข้อมูลให้ครบและเลือกที่สมัครสมาชิกได้เลยค่ะ สมัครสมาชิก คลิกที่นี่

ครูดีของแผ่นดิน

ครูดีของแผ่นดิน

เมื่อสมัครสมาชิกครูดีของแผ่นดิน เสร็จแล้วคุณครู สามารถเข้าสู่ระบบโดยคลิกที่นี่

และเมื่อสมัครสมาชิกครูดีของแผ่นดิน แล้วคุณครูสามารถทำ แบบประเมินได้เลยค่ะ โดยคลิกจากลิงก์ข้างล่างหรือไปเลือกที่เมนูแล้วเลือกโครงการครูดีของแผ่นดิน จากนั้นเข้าทำแบบประเมินได้เลยค่ะ

ทำแบบประเมินครูของแผ่นดินขั้นพื้นฐาน คลิกที่นี่

ครูดีของแผ่นดิน

 

 

ครูดีของแผ่นดินขั้นพื้นฐาน 2564

ขั้นตอนการยืนยันตัวตนของสมาชิกเก่าครูดีของแผ่นดิน คุณครูที่เคยเป็นสมาชิกเก่า จะต้องทำการยืนยันตัวตนของสมาชิกเก่าตามภาพค่ะ

ครูดีของแผ่นดินขั้นพื้นฐาน 64

ขั้นตอนการสมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ คุณครูสามารถทำตามภาพได้เลยค่ะ

ครูดีของแผ่นดิน ระบบสมาชิกครูดีของแผ่นดิน การประเมินรางวัลครูดีของแผ่นดิน 64

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณ ภาพและข้อมูล เปิดแล้วระบบสมาชิกครูดีของแผ่นดินและการประเมินรางวัลครูดีของแผ่นดิน ศึกษานิเทศก์ดีของแผ่นดิน ผู้บริหารสถานศึกษาดีของแผ่นดิน ขั้นพื้นฐาน 2564 จากมูลนิธิครูดีของแผ่นดิน และเพจเครือข่ายครูดีของแผ่นดินเป็นอย่างสูงนะคะ

เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก (ระยะแรก ประเมิน SAR) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก4

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ทางเพจ สมศ.(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา)
ได้เผยแพร่ข้อมูล เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก (ระยะแรก ประเมิน SAR) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลายท่านยังคงสงสัยว่ามีเกณฑ์อะไรที่ต้องใช้ในการประเมินมีอะไรบ้าง และต้องทำอย่างไรถึงจะได้คะแนนในระดับดี
เกณฑ์ที่ สมศ. จะพิจารณามี 3 มาตรฐาน หากมีหลักฐานหรือข้อมูลปรากฏใน SAR
0-3 ข้อ ได้ระดับปรับปรุง
มี 4 ข้อได้ระดับปานกลาง
มี 5 ข้อได้ระดับดี

เกณฑ์ประเมิน SAR ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาแยกเป็นรายมาตรฐาน จากหลักฐาน IQA ตามที่ปรากฎใน SAR ดังรายละเอียดต่อไปนี้
การศึกษาปฐมวัย
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 

เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก1

โดยคุณครูสามารถศึกษารายละเอียด เกณฑ์ประเมิน SAR ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาแยกเป็นรายมาตรฐาน จากหลักฐาน IQA ตามที่ปรากฎใน SAR  การศึกษาปฐมวัย จำนวน 3 มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ดังภาพในตารางค่ะ

เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก2

และคุณครูสามารถศึกษารายละเอียด เกณฑ์ประเมิน SAR ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาแยกเป็นรายมาตรฐาน จากหลักฐาน IQA ตามที่ปรากฎใน SAR การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังภาพในตารางค่ะ

เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก3

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของภาพ และข้อมูล เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก (ระยะแรก ประเมิน SAR) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก เพจ สมศ.(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา)

10 จุดเน้นคัดกรองนักเรียนทุนเสมอภาค เปิดบันทึกข้อมูล นร.01 ในวันที่ 12 กรกฎาคมนี้

0

 

ทุนเสมอภาค

เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม 2564 ทางเพจ การคัดกรองนักเรียนยากจน ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ 10 จุดเน้นคัดกรองนักเรียนทุนเสมอภาค เปิดบันทึกข้อมูล นร.01 ในวันที่ 12 กรกฎาคมนี้ โดยประกอบไปด้วยข้อความดังต่อไปนี้

10 จุดเน้นคัดกรองนักเรียนทุนเสมอภาค ก่อนระบบคัดกรองจะเปิดให้คุณครูบันทึกข้อมูล นร.01 ในวันที่ 12 กรกฎาคมนี้ กสศ. ขอชวนคุณครูทบทวน ‘10 จุดเน้นคัดกรองนักเรียนทุนเสมอภาค’ สรุปจุดเน้นสำคัญที่จะทำให้
การคัดกรองในปีการศึกษานี้เป๊ะปังมากยิ่งขึ้น เซฟไว้ใช้ แชร์ไว้อ่านกันได้เลย

นอกจากนี้คุณครูยังสามารถทบทวนเกณฑ์การคัดกรองผ่านกิจกรรมได้ด้วย กับ ‘ระหว่างทางเยี่ยมบ้าน’ กิจกรรมจำลองการคัดกรองในรูปแบบออนไลน์ พร้อมลุ้นรับของรางวัลสุดพิเศษจาก กสศ. ไปเลย

ร่วมกิจกรรมง่าย ๆ วันนี้วันสุดท้ายแล้วนะ !
1. เพิ่มไลน์ @cctthailand เป็นเพื่อน หรือคลิกที่ลิงก์นี้ https://lin.ee/gWy72jS
2. กดเมนู คลิกที่ “กิจกรรม” เพื่อร่วมสนุก !

ผู้ที่ตอบถูกมากที่สุด 20 ท่าน ลุ้นรับร่มกันแดดกันฝน !
โดย กสศ. จะคัดเลือกคุณครูที่ตอบถูกมากที่สุด 20 ท่านเพื่อมอบ ‘ร่ม’ กันแดดกันฝนสุดน่ารัก พร้อมนำข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรมมาเผยแพร่เป็นแนวทางในการดำเนินงานผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ของเรา

ไปดู สรุป 10 จุดเน้นคัดกรองนักเรียนทุนเสมอภาค กันเลยค่ะ

12 กรกฎาคม 2564 ระบบคัดกรองนักเรียนทุนเสมอภาค เปิดให้คุณครูบันทึกข้อมูล นร.01 ตามปฏิทินการดำเนินงานปีการศึกษา 1/2564 สถานศึกษาสังกัดสพฐ. สามารถดำเนินการเก็บข้อมูลนักเรียนตามแบบฟอร์ม นร. 01 เตรียมพร้อมสำหรับบันทึกข้อมูลในระบบที่จะเปิด 12 กรกฎาคม 2564

13 สิงหาคม 2564 ประกาศรายชื่อนักเรียนทุนที่ผ่านเกณฑ์ยากจนพิเศษ ประกาศรายชื่อนักเรียนทุนที่ผ่านเกณฑ์ ยากจนพิเศษ ผ่านระบบ cct.thaieduforall.org

คัดกรองทุนเสมอภาค

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของภาพและข้อมูล 10 จุดเน้นคัดกรองนักเรียนทุนเสมอภาค เปิดบันทึกข้อมูล นร.01 ในวันที่ 12 กรกฎาคมนี้ จากเพจ การคัดกรองนักเรียนยากจน

สมาชิก กบข. เคยสงสัยหรือไม่ว่าเงินออมที่เรานำส่งมาสะสมไว้กับ กบข. ทุกเดือนนั้น กบข. ได้มีการนำไปบริหารจัดการอย่างไร ? และแตกต่างจากการออมเงินทั่วไปอย่างไร ?

0

สมาชิก กบข. เคยสงสัยหรือไม่ว่าเงินออมที่เรานำส่งมาสะสมไว้กับ กบข. ทุกเดือนนั้น กบข. ได้มีการนำไปบริหารจัดการอย่างไร ? และแตกต่างจากการออมเงินทั่วไปอย่างไร ?

ก่อนอื่นเรามาทบทวนความเป็นมาของความจำเป็นในการจัดตั้ง กบข. กันอีกครั้ง… เนื่องด้วยแนวโน้มของสังคมผู้สูงวัยที่ทำให้จำนวนข้าราชการบำนาญเพิ่มขึ้น มีอายุขัยยืนยาวขึ้น ประกอบกับในช่วงปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยต้องเผชิญกับพิษวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องปฏิรูประบบบำนาญไทย ด้วยการปรับสูตรคำนวณบำนาญข้าราชการของกรมบัญชีกลาง เพื่อป้องกันปัญหาขาดหลักประกันยามเกษียณของข้าราชการในอนาคต

ด้วยเหตุนี้ กบข. จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2540 (ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539) เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญ และให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ โดยกำหนดให้ข้าราชการที่รับราชการก่อนวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ คือวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2540 สามารถเลือกได้ว่าจะสมัครเป็นสมาชิก กบข. หรือไม่ สำหรับข้าราชการที่เข้ารับราชการหลังวันดังกล่าว ต้องเข้าเป็นสมาชิก กบข. ทุกคนตามที่กฎหมายกำหนด

โดยภารกิจหลักของ กบข. คือการนำเงินสะสมของสมาชิกและเงินที่รัฐสมทบให้สมาชิก ไปลงทุนให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด ด้วยนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย โดยปัจจุบัน กบข. ได้มีรูปแบบการลงทุนให้สมาชิกเลือกให้ กบข. ลงทุนในรูปแบบที่เหมาะสมกับตนเองถึง 7 แผนการลงทุน ซึ่งมีความแตกต่างกันด้วยระดับความเสี่ยงและโอกาสสร้างผลตอบแทน ขึ้นอยู่กับสัดส่วนและประเภทสินทรัพย์ของแต่ละแผนการลงทุน
แผนการลงทุนทั้ง 7 แผน สำหรับสมาชิก กบข. มีดังนี้

1. แผนหลัก กบข. – กระจายความเสี่ยง เกษียณมั่นคง
แผนหลัก กบข. เป็นแผนแรกสำหรับสมาชิก กบข. มีระดับความเสี่ยงและโอกาสสร้างผลตอบแทนปานกลาง สัดส่วนลงทุนสำคัญคือ 60:40 คือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงสูงไม่น้อยกว่า 60% ส่วนที่เหลือลงทุนในหุ้น และสินทรัพย์ทางเลือก

2. แผนตลาดเงิน – เสี่ยงต่ำ มั่นคง ปลอดภัย
แผนตลาดเงินลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ระยะสั้น เน้นการรักษาเงินต้น แต่ผลตอบแทนต่ำ

3. แผนตราสารหนี้ – เพิ่มผลตอบแทน ด้วยความเสี่ยงต่ำ
ลงทุนในตราสารหนี้ไทยทั้งภาครัฐและเอกชน ผลตอบแทนสูงกว่าแผนตลาดเงิน แต่ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

4. แผนผสมหุ้นทวี – เสี่ยงได้บ้าง เพิ่มโอกาสมั่งคั่ง
ลงทุนในหุ้นในประเทศและต่างประเทศประมาณ 35% ส่วนที่เหลือลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ อาทิ ตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ และสินทรัพย์ทางเลือก

5. แผนสมดุลตามอายุ – อายุน้อยเสี่ยงมาก อายุมากเสี่ยงน้อย
มีนโยบายกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงและสินทรัพย์เสี่ยง โดยปรับสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องกับอายุของสมาชิก กบข. กล่าวคือ มีสัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงค่อนข้างมากเมื่ออายุน้อย และทยอยลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ทำให้สมาชิก กบข. ไม่ต้องกังวลต่อการปรับสัดส่วนการลงทุนด้วยตนเอง

6. แผนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทย – เสี่ยงสูง ลงทุนในกองทุนอสังหาฯ ไทย
มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทย (Property Fund) กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) และหน่วยลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) เหมาะกับผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างสูง

7. แผนตราสารทุนไทย – เสี่ยงสูง ลงทุนในหุ้นไทย 100%”
ลงทุนในตราสารทุน (หุ้น) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งในบางเวลาอาจลงทุนในตราสารหนี้ได้บ้าง เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงให้เหมาะกับสถานการณ์ โดยแผนนี้เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง

นอกจากแผนการลงทุนที่ กบข. จัดสรรให้สมาชิกสามารถเลือกแผนที่เหมาะกับตนเองได้ตามที่กล่าวมา 7 แผนข้างต้นนี้แล้ว หากสมาชิกท่านใดที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการลงทุน ก็สามารถผสมสัดส่วนสินทรัพย์ด้วยตนเองได้เช่นกัน

ด้วยภารกิจหลักของ กบข. ในด้านการลงทุนเพื่อ “ทวีค่าเงินออม” ให้สมาชิกนี้เองที่ทำให้การออมเงินกับ กบข. แตกต่างจากการออมเงินทั่ว ๆ ไป เช่น การนำเงินไปฝากธนาคาร โดยหลักการบริหารจัดการการลงทุนของ กบข. นั้นจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องของ “ความสมดุลระหว่างความปลอดภัยของเงินต้น และผลตอบแทนจากการลงทุนให้ชนะเงินเฟ้อ” เพื่อให้สมาชิก กบข. มีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมหลังจากการเกษียณ

ดังนั้นสมาชิก กบข. จึงสามารถมั่นใจได้ว่าเงินสะสมที่เรานำส่งมาที่ กบข. จะถูกดูแลอย่างดีโดยทีมผู้เชี่ยวชาญของ กบข. ภายใต้กรอบการดำเนินงานตามกฎหมาย เพื่อให้เงินออมของสมาชิกเติบโตไว้ใช้ในยามเกษียณตามแผนที่วางไว้สำหรับอนาคตได้

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลสมาชิก กบข. เคยสงสัยหรือไม่ว่าเงินออมที่เรานำส่งมาสะสมไว้กับ กบข. ทุกเดือนนั้น กบข. ได้มีการนำไปบริหารจัดการอย่างไร ? และแตกต่างจากการออมเงินทั่วไปอย่างไร ?  จาก กบข.