ตารางสอบครูผู้ช่วยและกำหนดการสอบครูผู้ช่วย 2564 รอบทั่วไป สพฐ.

0

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหนังสือ เรื่อง การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็ฯข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ.2564 ดังภาพ

ตารางสอบครูผู้ช่วย 64 สอบครูผู้ช่วย 64 สพฐ. กำหนดการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย64 รอบทั่วไป สพฐ. สอบครูผู้ช่วยรอบทั่วไป สพฐ.กำหนดการสอบ

 

ตารางสอบครูผู้ช่วย2564 สอบครูผู้ช่วย2564 สพฐ. กำหนดการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย64 รอบทั่วไป สพฐ. สอบครูผู้ช่วยรอบทั่วไป สพฐ.กำหนดการสอบ

สอบครูผู้ช่วย 64 ตารางสอบครูผู้ช่วย64 สพฐ. กำหนดการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย64 รอบทั่วไป สพฐ.

 

สอบครูผู้ช่วย 64 ตารางสอบครูผู้ช่วย64 สพฐ. กำหนดการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย64 รอบทั่วไป สพฐ.

ตารางสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ.2564
ภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป คะแนนเต็ม 200 คะแนน สอบวันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ คะแนนเต็ม 200 คะแนน สอบวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564

สอบครูผู้ช่วย 64 ตารางสอบครูผู้ช่วย64 สพฐ. กำหนดการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย64 รอบทั่วไป สพฐ.

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล และภาพ ตารางสอบครูผู้ช่วย64 สพฐ. กำหนดการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย64 รอบทั่วไป สพฐ. จาก สพฐ.

เช็กยอดเงินช.พ.ค.ช.พ.ส. ประจำเดือน พฤศจิกายน งวดที่ 12 ปี 2564

0

 

เช็กยอดเงิน ช.พ.ค. ช.พ.ส. ประจำเดือน พฤศจิกายน งวดที่ 12 ปี 2564

 

สวัสดีค่ะคุณครูทุกท่าน วันนี้ ครูอัพเดตดอทคอม มี เช็กยอดเงินช.พ.ค.ช.พ.ส.ประจำเดือน พฤศจิกายน งวดที่ 12 ปี 2564 มาฝากคุณครูทุกท่านค่ะ ซึ่ง เมื่อวันที่ 1  ธันวาคม  2564 ทางเพจ กิจการช.พ.ค.ช.พ.ส. ได้เผยแพร่เช็กยอดเงินช.พ.ค.ช.พ.ส. ประจำเดือน พฤศจิกายน งวดที่ 12 ปี 2564 ดังต่อไปนี้

เช็กยอดเงินช.พ.ค.ช.พ.ส. โปรดอ่าน!!! รายชื่อสมาชิกถึงแก่ความตาย เดือนพฤศจิกายน 2564
ได้รับการแจ้งระหว่างวันที่ 21 ตุลาคม – 20 พฤศจิกายน 2564

เพื่อเรียกเก็บปลายเดือนธันวาคม 2564
จำนวนสมาชิก ช.พ.ค.
http://www.otep-cpks.go.th/otepcpks/cpk-member-8/
รายชื่อสมาชิก ช.พ.ค. ถึงแก่ความตาย จำนวน 741 ราย
http://www.otep-cpks.go.th/otepcpks/cpk-member-9/
จำนวนสมาชิก ช.พ.ส.
http://www.otep-cpks.go.th/otepcpks/cps-member-10/
รายชื่อสมาชิก ช.พ.ส. ถึงแก่ความตาย จำนวน 396 ราย
http://www.otep-cpks.go.th/otepcpks/cps-member-9/

 

เช็กยอดเงินช.พ.ค.ช.พ.ส. ประจำเดือน พฤศจิกายน งวดที่ 12 ปี 2564
เช็กยอดเงินช.พ.ค.ช.พ.ส. ประจำเดือน พฤศจิกายน งวดที่ 12 ปี 2564

โปรดอ่าน!!! การเช็กยอดเงินช.พ.ค. ช.พ.ส. สามารถอ่านรายชื่อสมาชิกถึงแก่ความตาย เดือนพฤศจิกายน 2564 ได้รับการแจ้งระหว่างวันที่ 21 ตุลาคม – 20 พฤศจิกายน 2564 เพื่อเรียกเก็บปลายเดือนธันวาคม 2564

จำนวนสมาชิก ช.พ.ค.
http://www.otep-cpks.go.th/otepcpks/cpk-member-8/
รายชื่อสมาชิก ช.พ.ค. ถึงแก่ความตาย จำนวน 741 ราย
ttp://www.otep-cpks.go.th/otepcpks/cpk-member-9/

จำนวนสมาชิก ช.พ.ส.
http://www.otep-cpks.go.th/otepcpks/cps-member-10/
รายชื่อสมาชิก ช.พ.ส. ถึงแก่ความตาย จำนวน 396 ราย
http://www.otep-cpks.go.th/otepcpks/cps-member-9/

เรื่องน่าอ่าน >> สมัครสมาชิก ช.พ.ค.ดีหรือไม่ สิทธิประโยชน์ที่ครอบครัวสมาชิก ช.พ.ค.จะได้รับ

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล ครูอัพเดเช็กยอดเงินช.พ.ค.ช.พ.ส. ประจำเดือน พฤศจิกายน งวดที่ 12 ปี 2564 จากเพจ กิจการช.พ.ค.ช.พ.ส.ค่ะ

 

สสวท.ขอเชิญคุณครูสมัครอบรมออนไลน์หลักสูตรการจัดการเรียนรู้บูรณาการ SMT

อบรมออนไลน์ SMT

สสวท.ขอเชิญคุณครูสมัครอบรมออนไลน์หลักสูตรการจัดการเรียนรู้บูรณาการ SMT ที่เชื่อมโยงบริบทท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ครูผู้เข้ารับการอบรมจากแต่ละโรงเรียนสามารถ
1) ออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการSMTที่เชื่อมโยงบริบทท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักเรียน
2) จัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนให้ได้ผลตามจุดประสงค์ของชุดกิจกรรมที่ออกแบบ
3) วัดและประเมินผลทักษะและสมรรถนะที่เกิดกับนักเรียน

การอบรม แบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะที่ 1 การอบรมออนไลน์ รวม 5 ครั้ง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2565
ระยะที่ 2 การนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ SMT ไปปฏิบัติ และการติดตามผล
อบรมฟรี ผ่านระบบ Zoom
รับสมัคร วันนี้-31 ธันวาคม 2564
ประกาศผลการคัดเลือก 14 มกราคม 2565
รายละเอียดการอบรม https://bit.ly/317I0gp
สมัครอบรมที่ ปิดการสมัครแล้ว

รายละเอียดที่ต้องเตรียมกรอกข้อมูล
1) ข้อมูลของโรงเรียน: ชื่อโรงเรียน ชื่อผู้อำนวยการโรงเรียน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ สังกัด
2) ข้อมูลของคุณครูผู้สมัคร: ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และระดับชั้นที่สอน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:
อีเมล์ [email protected]
Facebook: https://www.facebook.com/IPST.SpecialProjects
FB messenger: http://m.me/IPST.SpecialProjects

เรื่องน่าอ่าน >> ผลประเมินเปิดเรียน On-Site พบเด็กขาดหน้ากากอนามัย

สำคัญมาก: ขอให้ผู้สมัครโปรดศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขของผู้เข้ารับการอบรมอย่างละเอียดก่อนสมัคร

อบรมออนไลน์ SMT สสวท.

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล สสวท.ขอเชิญคุณครูสมัครอบรมออนไลน์หลักสูตรการจัดการเรียนรู้บูรณาการ SMT ที่เชื่อมโยงบริบทท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน จากเพจ ฝ่ายบริหารโครงการริเริ่ม สสวท.

เขียนย้ายครู ..ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง แนบโครงการอย่างไรให้ได้คะแนนเต็ม

0

เอกสารย้าย

สวัสดีครับทุกท่าน การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหลายๆจังหวัดคงจะเรียบร้อยหมดแล้วครับนะครับ ซึ่งการย้ายครูในปัจจุบันจะเขียนคำร้องขอย้าย 1 ครั้ง พิจารณากัน 2 รอบก่อนเปิดเทอมครับ หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเขียนย้ายไปแล้วไม่ได้รับการพิจารณา หนึ่งในสาเหตุก็คือ การจัดทำเอกสารประกอบคำร้องขอย้ายไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินนั่นเองครับ อาจจะมีหลายๆท่านบอกว่าไม่เห็นต้องทำเอกสารประกอบคำร้องขอย้ายยังได้ย้ายเลย นั่นอาจเพราะ โรงเรียนที่เขียนย้ายไปมีคนเขียนลงคนเดียว หรือ วิชาเอกของคุณครูท่านนั้นตรงกับความต้องการของโรงเรียน เป็นต้น แต่ในปัจจุนเท่าที่ได้เข้าไปสังเกตการณ์การพิจารณาการย้ายข้าราชครูจะพบว่า จะมีการประเมินเอกสารประกอบคำร้องขอย้ายและเรียงลำดับคะแนนทุกคนที่เขียนย้ายเข้ามาในแต่ละโรงเรียน และส่งต่อไปยังคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองครับ สมมุติโรงเรียน A มีตำแหน่งว่าง 1 ตำแหน่ง มีคนขอเขียนย้ายเข้าไป 10 คน ก็จะพิจารณาเอกสารประกอบคำร้องขอย้ายตามหลักเกณฑ์การประเมินที่ สพฐ. กำหนด แล้วนำคะแนนที่ได้มาเรียงลำดับตั้งแต่ลำดับที่ 1-10 ครับ ซึ่งส่วนมาผู้ที่มีคะแนนสูงสุดจะได้รับการพิจารณาย้ายครับ

ดังนั้น วันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมจึงขอนำรายละเอียดตัวชี้วัดในการประเมินตามองค์ประกอบการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบใน 7 องค์ประกอบ ตามหลักเกณฑ์ ปี พ.ศ. 2561ซึ่งต้องส่งพร้อมกับคำร้องขอย้าย ซึ่งควรจะดำเนินการจัดทำเป็นเล่มต่างหากแยกจากเอกสารที่แนบเย็บติดกับคำร้องขอย้าย ซึ่งมีรายละเอียดในเล่มมีดังนี้

**หมายเหตุ : หลักเกณฑ์และวิธีการย้าย ครู สพฐ. อาจมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในทุกเดือนมกราคมหรือทุกปีครับ

องค์ประกอบที่ 1 ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์หรือวิชาเอก ตามความจำเป็นของสถานศึกษา การประเมินในองค์ประกอบนี้ จะมีการประเมินจำนวน 2 หัวข้อย่อย ซึ่ง ประกอบไปด้วย

1.1 ด้านความรู้ ก็จะเป็นการประเมินระดับการศึกษาครับ เอกสารที่ต้องใช้ก็คือ สำเนา ก.พ.7 และ สำเนาปริญญาบัตร ถ้าไม่มีปริญญาบัตรอาจจะใช้หนังสือรับรองคุณวุฒิก็ได้เช่นกัน เป็นต้น

เอกสารที่ต้องใช้ : สำเนา ก.พ.7 และ สำเนาปริญญาบัตร สำเนาหนังสือรับรองคุณวุฒิ

1.2 ความสามารถ ก็จะมีการประเมินใน 3 หัวข้อย่อยดังนี้

1.2.1 การปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพผู้เรียน/สถานศึกษา ในส่วนนี้จะพิจารณาจาก การทำงาน กิจกรรม โครงการ ต่างๆ ในโรงเรียน โดยที่ผู้ขอย้ายต้องเป็นผู้รับผิดชอบโครงการครับซึ่งไม่ได้ระบุว่าจะใช้กี่ปีย้อนหลัง แต่โดยปกติการใช้อ้างอิงก็น่าจะไม่เกิน 3 ปีย้อนหลัง และต้องมีกิจกรรมหรือโครงการ ตั้งแต่ 5 โครงการจึงจะได้คะแนนเต็มครับ พิจารณาจาก สำเนาคำสั่งโรงเรียน ท่านอาจจะถ่ายสำเนาคำสั่งจากทะเบียนคำสั่งของโรงเรียน มาประกอบคำร้องขอย้าย แต่ย้ำนะครับว่าเอกสารทุกอย่างจะต้องลงลายมือชื่อผู้ขอย้ายและผู้บริหารครับ

เพิ่มเติมข้อมูล จากการพิจารณาของคณะกรรมการให้คะแนน กรรมการท่านระบุว่า โครงการที่นำมาแนบคำร้องขอย้ายต้องมีการรายงานผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการ จึงจะได้คะแนนเต็มนะครับ

เพราะฉะนั้น!! โครงการที่นำมาต้องมีการรายงานผลการดำเนินงาน พร้อมรับรองความถูกต้องจากคุณครูและผอ.โรงเรียนนะครับ

เอกสารที่ต้องใช้ : คำสั่งโรงเรียนให้รับผิดชอบกิจกรรม/โครงการ จำนวน 5 กิจกรรม/โครงการ ที่ลงลายมือรับรองสำเนาเรียบร้อย

1.2.2 การได้รับมอบหมายงานอื่นในสถานศึกษา ในส่วนนี้จะพิจารณาจาก งานต่างๆที่ได้รับมอบหมาย เช่น งานพัสดุ วิชาการ เป็นต้นโดยที่ผู้ขอย้ายต้องมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรครับ แต่ในรายละเอียดการย้ายที่สพฐ.ทำไม่ได้ระบุว่าจะใช้กี่ปีย้อนหลัง แต่โดยปกติการใช้อ้างอิงก็น่าจะไม่เกิน 3 ปีย้อนหลัง และต้องรับผิดชอบงานอื่นๆ ตั้งแต่ 5 โครงการจึงจะได้คะแนนเต็มครับ พิจารณาจาก สำเนาคำสั่งโรงเรียน ท่านอาจจะถ่ายสำเนาคำสั่งจากทะเบียนคำสั่งของโรงเรียน มาประกอบคำร้องขอย้าย แต่ย้ำนะครับว่าเอกสารทุกอย่างจะต้องลงลายมือชื่อผู้ขอย้ายและผู้บริหารครับ

เอกสารที่ต้องใช้ : คำสั่งโรงเรียนให้รับผิดชอบงานที่นอกเหนือจากการสอน จำนวน 5 งาน ที่ลงลายมือรับรองสำเนาเรียบร้อย

1.2.3 ประสบการณ์ด้านการสอน ในส่วนนี้ก็จะพิจารณาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของผู้ขอย้ายและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปลายทาง เช่น ถ้าย้ายในระดับการศึกษาเดียวกัน คือ สพป. ไป สพป. หรือ สพม. ไป สพม. จะได้ผลการประเมินเต็ม 10 แต่ถ้าย้ายไปต่างระดับการศึกษาเช่น สพป. ไป สพม. หรือ สพม. ไป สพป. จะได้คะแนน 5 เต็ม 10 เป็นต้น

เอกสารที่ต้องใช้ : ข้อมูลสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัจจุบัน และ ข้อมูลสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ยื่นขอย้าย

1.2.4 วิชาเอก ในส่วนนี้จะพิจารณาจากความต้องการของโรงเรียนที่ขอย้ายเข้า ว่ามีความต้องการเอกใดและตรงกับวิชาเอกของผู้ขอย้ายหรือไม่ โดยปกติเขตพื้นที่การศึกษาจะให้โรงเรียนสำรวจวิชาเอกที่ต้องการโรงเรียนละ 3 เอก เรียงลำดับความสำคัญครับ

เอกสารที่ต้องใช้ : สำเนา ก.พ.7 หรือ สำเนา ก.ค.ศ. 16 ทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สำเนาปริญญาบัตร สำเนาหนังสือรับรองคุณวุฒิ หรือ เอกสารหลักฐานที่ระบุถึงประสบการณ์ในการสอนที่ตรงกับความต้องการของโรงเรียน เช่น คำสั่งสอน โดยเอกสารทุกอย่างต้องลงลายมือชื่อให้เรียยบร้อย

องค์ประกอบที่ 2 ลำดับสถานศึกษาที่ผู้ขอย้ายมีความประสงค์ขอย้ายไปปฏิบัติงาน สำหรับในองค์ประกอบนี้จะพิจารณาการความต้องการขอผู้ที่เขียนย้ายว่าต้องการที่ย้ายไปบรรจุโรงเรียนใดบ้าง โดยให้เรียงลำดับที่ 1 – 5 คะแนนก็จะลดลงเป็นลำดับ

เอกสารที่ต้องใช้ : การระบุชื่อโรงเรียนในคำร้องขอย้าย และ ถ้าท่านมีเล่มเอกสารประกอบคำร้องขอย้าย อาจจะสำเนาคำร้องขอย้ายแนบใส่ท้ายเล่มเอกสารประกอบคำร้องขอย้ายก็ได้ครับ

องค์ประกอบที่ 3 ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งในสถานศึกษาปัจจุบัน สำหรับองค์ประกอบนี้ก็จะพิจารณาจากการที่ได้ปฏิบัติงานในโรงเรียนปัจจุบันนะครับ นับรวมทุกตำแหน่ง เช่น อยู่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ เป็นครูผู้ช่วยจนถึงครูชำนาญการ ให้ลงตัวเลขเป็นปี เช่น 3 ปี เป็นต้น ถ้า รวมเวลาแล้วมีเศษเดือนเกิน 6 เดือน ก็ปัดขึ้น 1 ปี เช่น

10 ปี 6 เดือน 6 วัน ก็จะเท่ากับ 11 ปี

10 ปี 5 เดือน 29 วัน ก็จะเท่ากับ 10 ปี

เอกสารที่ต้องใช้ : สำเนา ก.พ.๗ ที่ลงลายมือของเจ้าที่หน้าฝ่ายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่ฯ

องค์ประกอบที่ 4 สภาพความยากลำบากในการปฏิบัติงานในสถานศึกษาปัจจุบัน สำหรับองค์ประกอบนี้จะพิจารณา 2 กรณีเท่านั้น คือ โรงเรียนพื้นที่พิเศษตามประกาศของกระทรวงการคลัง และ โรงเรียนพื้นที่ปกติ ท่านสามารถตรวจสอบว่าโรงเรียนปัจจุบันของท่านเป็นโรงเรียนพื้นที่พิเศษหรือไม่ ได้ที่ : http://personnel.obec.go.th หรือ www.cgd.go.th

เอกสารที่ต้องใช้ : ถ้าเป็นโรงเรียนพื้นที่พิเศษก็สำเนาหน้าที่มีชื่อโรงเรียนปัจจุบัน หรือ ถ้าไม่ใช่โรงเรียนพื้นที่พิเศษอาจจะใส่ข้อมูลโรงเรียนหรือไม่ใส่ก็ได้ครับ

องค์ประกอบที่ 5 เหตุผลการขอย้าย ในส่วนนี้ก็จะต่อเนื่องจากการเขียนคำร้องขอย้ายครับ ว่าท่านระบุเหตุผลใดใน 4 ข้อ คือ 1 อยู่ร่วมคู่สมรส 2 ดูแลบิดามารดาหรือบุตร 3 กลับภูมิลำเนา 4.อื่นๆ การย้ายเป็นข้อใดก็ให้เตรียมเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาตามนั้น

เอกสารที่ต้องใช้ :

ย้ายกลับภูมิลำเนา :

– ใช้สำเนาทะเบียนบ้านตนเอง (อาจจะเพิ่มสำเนาบัตรประชาชนก็ได้)

– และอื่นๆ เช่น สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล เป็นต้น

2. ย้ายดูแลบิดามารดา และบุตร :

– ใช้สำเนาทะเบียนบ้านตนเอง พ่อ แม่

– ใช้สำเนาทะเบียนลูก

– และอื่นๆ เช่น สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล เป็นต้น

3. ย้ายอยู่ร่วมคู่สมรส :

– ใช้สำเนาทะเบียนบ้านตนเอง ภรรยา

– ใช้สำเนาทะเบียนสมรส

– และอื่นๆ เช่น สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล เป็นต้น

อื่นๆ (เช่นเจ็บป่วย) :

– ใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันจากโรงพยาบาลของรัฐ ระบุ อาการ ประวัติการรักษา เป็นต้น

– และอื่นๆ เช่น สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล เป็นต้น

องค์ประกอบที่ 6 ความอาวุโสตามหลักวิชาการ จะมีการประเมินจาก 2 ประเด็นคือ

จะพิจารณาจากตำแหน่งทางวิชาการของครูหรือวิทยฐานะ คือ วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ วิทยฐานะ เชี่ยวชาญ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ วิทยฐานะชำนาญการ และ ไม่มีวิทยฐานะ
เอกสารที่ต้องใช้ : สำเนา ก.พ.7 หรือ สำเนา ก.ค.ศ. 16 ทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ ( อาจจะเพิ่มคำสั่งให้เลื่อนหรือมีวิทยฐานะก็ได้ครับ)

จะพิจารณาจากอายุราชการตั้งแต่เข้ามาบรรจุเป็นข้าราชการ โดยไม่มับปีทวีคูณครับ โดยให้ลงตัวเลขเป็นปี เช่น 3 ปี เป็นต้น ถ้า รวมเวลาแล้วมีเศษเดือนเกิน 6 เดือน ก็ปัดขึ้น 1 ปี เช่น

10 ปี 6 เดือน 6 วัน ก็จะเท่ากับ 11 ปี

10 ปี 5 เดือน 29 วัน ก็จะเท่ากับ 10 ปี

เอกสารที่ต้องใช้ : สำเนา ก.พ.7 หรือ สำเนา ก.ค.ศ. 16 ทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์ ( อาจจะเพิ่มคำสั่งให้เลื่อนหรือมีวิทยฐานะก็ได้ครับ)

องค์ประกอบที่ 7 ความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่รับย้าย ในส่วนนี้จะเป็นการดำเนินการของโรงเรียนรับย้ายครับ..

เอกสารที่ต้องใช้ : ไม่มี

*** ย้ำอีกครั้งเอกสารที่เป็นสำเนาทุกอย่างต้องมีการลงลายมือชื่อรับรองสำเนาทุกครั้ง

*** สำเนา ก.พ.7 ต้องการลงลายมือของเจ้าที่หน้าฝ่ายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่ฯ

*** สำนาเอกสารโรงเรียน ต้องการลงลายมือของผู้ขอย้ายและผู้อำนวยการโรงเรียน

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณครูที่ประสงค์จะย้ายนะครับ

คำร้องขอย้าย และ เอกสารประกอบคำร้องขอย้าย โหลดที่นี่

ชอบบทความนี้ ” เขียนย้ายครู ..ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? ” อย่าลืมกดไลค์เพจเราด้วยนะครับ

ทีมงานครูอัพเดตดอทคอม

ตัวอย่างเอกสารประกอบคำร้องขอย้าย เอกสารย้ายครู ตัวอย่างเล่มขอย้ายครู

0

เอกสารคำร้องขอย้าย

 

สวัสดีค่ะคุณครูทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีตัวอย่างเอกสารประกอบคำร้องขอย้าย เอกสารย้ายครู ตัวอย่างเล่มขอย้ายครู มาฝากคุณครูทุกท่านค่ะ ซึ่งการเขียนคำร้องขอย้าย การจัดทำเอกสารตรงกับตัวชี้วัดและครบถ้วนสมบูรณ์ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการย้ายได้ค่ะ โดยเอกสารที่นำมาฝากคุณครูในครั้งนี้ ประกอบด้วย ตัวอย่างการเขียนคำร้องขอย้าย แบบคำร้องขอย้าย และหน้าปกเอกสาร ดังภาพเลยค่ะ ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์แบ่งปันไฟล์เอกสารคำร้องขอย้าย จากคุณครูวัฒนา มะปรางค์ เพจKru Wid

 

เอกสารคำร้องขอย้าย 2

เรื่องน่าอ่าน >> การยกเว้นเกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อบรรจุนักศึกษาทุนตามโครงการต่าง ๆ

ดาวน์โหลด ตัวอย่างเอกสารประกอบคำร้องขอย้าย เอกสารย้ายครู
ตัวอย่างเล่มขอย้ายครู

เขียนย้ายครู..ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

ครูอัพเดตดอทคอม หวังว่าตัวอย่างเอกสารประกอบคำร้องขอย้าย เอกสารย้ายครู ตัวอย่างเล่มขอย้ายครูในครั้งนี้จะมีประโยชน์กับคุณครูที่กำลังเตรียมตัวย้าย นะคะ ครูอัพเดตดอทคอม ต้องขอขอบคุณตัวอย่างที่มาเอกสาร จากคุณครูวัฒนา มะปรางค์ เพจKru Wid ที่ได้ทำการแบ่งปันในครั้งนี้เป็นอย่างสูงค่ะ

 

ตัวอย่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูล PA

0

ตัวอย่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูล วPA

ตัวอย่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูล วPA สวัสดีค่ะคุณครูทุกท่านวันนี้ ครูอัพเดตดอทคอมมี ตัวอย่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูล วPA มาฝากคุณครูทุกท่านค่ะ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีประโยชน์กับคุณครูทุกท่านค่ะ

การนำไปใช้ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละโรงเรียน​ ในคู่มือไม่ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการกลั่นกรอง​ วPA​ แต่เพื่อดูแลเพื่อนครู​ และอำนวยความสะดวกช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน​ จึงจัดทำคำสั่งนี้ขึ้นมาค่ะ
โดย ตัวอย่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูล วPA  ได้รับการเผยแพร่ ตัวอย่างคณะกรรมการตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูลตามแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) ปรับปรุงพัฒนาโดยครูสายบัว ขอขอบคุณ เพจเรียนรู้ร่วมกัน​ กับสวรรค์ ดวงมณี เป็นแนวทางการเขียนและพัฒนาต่อยอดค่ะ
ตัวอย่างออกแบบ 2 แบบ
แบบที่ 1 กรณีโรงเรียนขนาดเล็ก
แบบที่ 2 กรณีโรงเรียนขนาดกลาง-ใหญ่ แบ่งปันเพื่อพัฒนาต่อยอดและเรียนรู้ไปด้วยกันค่ะ

ตัวอย่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูล วPA

ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูล PA

รวมตัวอย่างการเขียน PA แบบบันทึกข้อตกลง พัฒนางาน PA  103 ตัวอย่าง ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล ตัวอย่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูล PA จากเพจ ครูสายบัว

เปิด 7 สาระการเรียนรู้และกิจกรรม หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ ในช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3)

0

หลักสูตรฐานสมรรถนะ

หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ ในช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3) มีจุดเน้นของช่วงวัย ได้แก่ อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น มีทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ทักษะชีวิต ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย และจุดเน้นของการจัดการศึกษาเพื่อเป็นฐานการเรียนรู้และสร้างสุขภาวะของผู้เรียน โดยจัดให้มีสาระการเรียนรู้และกิจกรรมดังนี้

หลักสูตรฐานสมรรถนะ2

 

โดย 7 สาระการเรียนรู้และกิจกรรม หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ ในช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3)
นั้นประกอบไปด้วยกลุ่มสาระการเรียนรู้ดังต่อไปนี้ค่ะ
1.ภาษาไทย
2.คณิตศาสตร์
3.ภาษาอังกฤษ
4.ศิลปะ
5.สุขศึกษาและพลศึกษา
7.ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
8.วิทยาศาสตร์และระบบธรรมชาติ

กิจกรรมเพิ่มเติมตามจุดเน้นและบริบทของสถานศึกษา และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียนและกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ หรือใช้เสริมเวลาในสาระการเรียนรู้ที่ต้องการเน้น)

หมายเหตุ สถานศึกษาสามารถปรับเวลาเรียนแต่ละสาระการเรียนรู้ได้ตามบริบทและความเหมาะสมโดยคำนึงถึงการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ของสาระการเรียนรู้

ข้าราชการ ตรวจสอบ สิทธิ จ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ได้ที่นี่

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล และภาพ เปิด 7 สาระการเรียนรู้และกิจกรรม หลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ ในช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3) จากเพจ CBE Thailand

คําสั่งย้ายลักษณะใด ที่ไม่ได้เงินวิทยฐานะ

คําสั่งย้ายลักษณะใด-ที่ไม่ได้เงินวิทยฐานะ

คําสั่งย้ายลักษณะใด ที่ไม่ได้เงินวิทยฐานะ คําสั่งย้าย… เป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายของผู้บังคับบัญชาในการบริหารงานบุคคลเพื่อประสิทธิภาพในการทํางานและเพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสําคัญ ซึ่งจะมีทั้งการย้ายประจําปีตามปกติและย้ายในกรณีพิเศษ อย่างไรก็ตาม แม้การย้ายข้าราชการหรือบุคลากรของรัฐจะเป็นอํานาจบริหาร
ของผู้บังคับบัญชา แต่ศาลก็สามารถตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคําสั่งดังกล่าวได้หากเป็นการ
ดําเนินการที่ไม่ถูกต้อง เช่น

ตรวจสอบว่ามีกฎหมายให้อํานาจผู้ออกคําสั่งกระทําการนั้นหรือไม่ หรือผู้ออก
คําสั่งได้ดําเนินการตามรูปแบบขั้นตอนอันเป็นสาระสําคัญที่กฎหมายกําหนดไว้หรือไม่ หรือผู้ออกคําสั่งใช้
ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งก็คือมีเหตุผลที่สมเหตุสมผลรองรับในการออกคําสั่งหรือไม่นั่นเอง
การมีคําสั่งย้ายข้าราชครูในบางกรณีส่งผลให้ผู้ถูกย้ายไม่ได้รับเงินวิทยฐานะในระหว่างที่ถูกคําสั่งย้าย
เช่น คําสั่งให้ประจําส่วนราชการ หรือสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นการชั่วคราว หรือสั่งให้พ้นจากตําแหน่ง
หน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนในตําแหน่งเดิม

โดยให้รับเงินเดือนในอัตราทดแทนที่ก.ค.ศ. กําหนด แล้วแต่
กรณีตาม ข้อ 6 (7) ของระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะและเงินประจําตําแหน่งข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2550 กําหนดไว้ดังนั้น การที่ผู้บังคับบัญชาจะมีคําสั่งย้ายดังกล่าวจึงต้อง
มีเหตุผลสนับสนุนการย้าย มิใช่ทําโดยอําเภอใจ เพื่อให้คําสั่งย้ายดังกล่าวเป็นคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ดังเช่นคดีต่อไปนี้…

ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการครูดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการโรงเรียน ถูกร้องเรียนว่า
ทุจริตโครงการอาหารกลางวันนักเรียนและถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง ต่อมา
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (ศึกษาธิการจังหวัด) ได้มีคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปประจํา ณ สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา ก
เป็นการชั่วคราวในระหว่างที่มีการดําเนินการทางวินัย รวมทั้งได้มีคําสั่งงดเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะและเงินประจํา
ตําแหน่งในระหว่างที่ผู้ฟ้องคดีถูกสั่งให้ไปประจํา ณ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ก ดังกล่าว
ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องทุกข์ต่อประธานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด)
เพื่อขอให้ยกเลิกคําสั่งย้ายและให้ผู้ฟ้องคดีกลับไปปฏิบัติราชการที่โรงเรียนเดิมหรือโรงเรียนอื่นที่ใกล้เคียงกัน
พร้อมทั้งให้จ่ายเงินวิทยฐานะและเงินประจําตําแหน่งแก่ผู้ฟ้องคดีด้วย

แต่ในระหว่างที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ยังมิได้
พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ก็ได้มีคําสั่งยกเลิกคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปประจําสํานักงานเขต
พื้นที่การศึกษา ก และให้ผู้ฟ้องคดีกลับไปประจําที่โรงเรียนเดิม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เห็นว่าเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1
มีคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีกลับไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนเดิมและผู้ฟ้องคดีได้รับเงินวิทยฐานะและเงินประจําตําแหน่ง
ตามเดิมอันเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในหนังสือร้องทุกข์แล้ว จึงไม่พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปประจําสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ก
เป็นการออกคําสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่ยอมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีจึงนําคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคําสั่งย้ายที่พิพาท และให้จ่ายเงินวิทยฐานะและ
เงินประจําตําแหน่ง จํานวน 2 เดือน ที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับในระหว่างที่ไปประจําอยู่ ณ สํานักงานเขตพื้นที่
การศึกษา ก ด้วย

กรณีเช่นนี้… ผู้ฟ้องคดีจะสามารถเรียกเงินวิทยฐานะและเงินประจําตําแหน่งในระหว่างที่ไม่ได้
ปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการโรงเรียนได้หรือไม่ ?

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งเมื่อ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดีในเรื่องที่ถูกกล่าวหา
ดังกล่าว หากให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนเดิมในฐานะผู้อํานวยการโรงเรียน ย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อการ
ดําเนินการสอบสวนทางวินัยได้เนื่องจากผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาย่อมมีอิทธิพลหรือ
มีส่วนได้เสียต่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดโรงเรียนดังกล่าว ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีอํานาจให้คุณให้โทษแก่ข้าราชการดังกล่าวในเรื่องความดีความชอบ ย่อมเป็นเหตุให้ข้าราชการครูไม่กล้าให้
ถ้อยคําต่อคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยตามความเป็นจริง และอาจเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่สําคัญ
ในเรื่องที่ทําการสอบสวนได้

การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีเหตุผลความจําเป็นและเป็นไปตามเงื่อนไขที่
กําหนดในมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
ประกอบกับข้อ 1 (1) ของกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจํา
ส่วนราชการหรือสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2550 ซึ่งให้อํานาจผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในกรณีที่ “มีเหตุผล
ความจําเป็น” สามารถสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปประจําสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เป็นการชั่วคราวได้หากข้าราชการดังกล่าวมีกรณีถูกกล่าวหาหรือเป็นที่สงสัยว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง
หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

หรือกรณีที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้และถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในตําแหน่งหน้าที่เดิมต่อไปจะเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวนการสอบสวน หรืออาจเกิดความเสียหายแก่ราชการ คําสั่งที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปประจําสํานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา ก เป็นการชั่วคราวเพื่อความสะดวกในการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง จึงเป็นการ
ออกคําสั่งที่เหมาะสมและจําเป็นแก่กรณีซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

เมื่อศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็นการใช้ดุลพินิจออกคําสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้ฟ้องคดีมาปฏิบัติ
หน้าที่ประจําสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ก เป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งย่อมไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่ง
ผู้อํานวยการสถานศึกษา ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินวิทยฐานะและเงินประจําตําแหน่งดังกล่าว
คําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ให้งดการเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะและเงินประจําตําแหน่งของผู้ฟ้องคดี
เป็นเวลา 2 เดือน จึงชอบด้วยข้อ 6 (7) ของระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะและเงินประจํา
ตําแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2550 ที่มีข้อกําหนดมิให้เบิกจ่ายเงินวิทยฐานะใน
ระหว่างวันที่ข้าราชการครูถูกสั่งให้ประจําสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นการชั่วคราว (คําพิพากษา
ศาลปกครองสูงสุดที่อ. 936/2559)

จะเห็นได้ว่า กรณีนี้เป็นการย้ายที่เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายที่ถือว่ามีเหตุจําเป็นในการที่จะออก
คําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นการชั่วคราว เนื่องจากอยู่ระหว่างการ
ดําเนินการทางวินัย เพราะผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งหัวหน้าสถานศึกษาซึ่งมีอิทธิพลหรือมีส่วนได้เสียต่อ
ข้าราชการครูในโรงเรียน ที่ย่อมส่งผลต่อการให้ถ้อยคําของข้าราชการครูในโรงเรียนได้เมื่อเป็นการย้าย
โดยชอบประกอบกับการมีคําสั่งไม่จ่ายเงินวิทยฐานะก็เป็นไปตามข้อกําหนดของกฎหมายด้วยเช่นกัน
การกระทําของผู้ถูกฟ้องคดีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว อันเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนเก่ียวกับอํานาจของศึกษาธิการ
จังหวัดในเรื่องดังกล่าว

ท่านสามารถอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ คําสั่งย้ายลักษณะใด ที่ไม่ได้เงินวิทยฐานะ ได้เพิ่มเติมที่ สํานักงานศาลปกครอง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สํานักงานศาลปกครอง

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตตปัญญาศึกษา (CCR)

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตตปัญญาศึกษา (CCR)

จิตตปัญญาศึกษา (CCR) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีลักษณะการจัดกิจกรรมดังนี้

ขั้นตอนและตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตตปัญญาศึกษา (CCR)

กิจกรรม จิตตปัญญาศึกษา เพื่อมุ่งพัฒนาปัญญาภายในให้กับผู้เรียนไว้โดยเฉพาะ ซึ่งควรใช้เวลาประมาณ 20 นาทีก่อนเรียนในภาคเช้า และ 15 นาทีก่อนเริ่มการเรียนในภาคบ่าย ทั้งนี้จะได้คุณค่าเพิ่มตรงที่กิจกรรมจิตตศึกษา ยังเป็นการเตรียมความพร้อมทั้งทางกาย และใจให้กับผู้เรียนก่อนเรียนไปด้วยในตัว และอีกช่วงหนึ่งอาจจัดตอนสิ้นวันโดยใช้เวลาประมาณ สัก 20 – 30 นาทีเพื่อให้ทุกคนได้กลับมาสู่ความสงบ กลับมาสู่ตัวเอง แล้วใคร่ครวญและสะท้อนถึงสิ่งที่ได้เรียนมาทั้งวัน ก่อนการกลับบ้าน

กิจกรรมที่มุ่งสร้างพลังสงบให้เกิดความสงบภายในและการผ่อนคลาย เช่น

• ขณะทำกิจกรรมก็เปิดเสียงดนตรีที่มีลักษณะของคลื่นความถี่ต่ำเพื่อเหนี่ยวนำคลื่นสมองของเด็กให้มี
ความถี่ตำ่ลง
• การทำโยคะเพื่อบริหารอวัยวะภายในและให้ได้อยู่กับลมหายใจ
• การทำ Body Scan ทั้งแบบยืน นั่ง หรือนอน เพื่อการผ่อนคลายแบบลึกและบ่มเพาะสิ่งที่ดีงามในจิตใต้สำนึก
• การนวดตัวเองหรือนวดกันและกัน เพื่อสร้างความรู้สึกดีต่อกัน

กิจกรรมที่มุ่งให้เกิดสติ เพื่อให้เด็กมีความชำนาญในการกลับมารู้ตัวได้เสมอๆ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เด็กได้รู้เท่าทันอารมณ์ และการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นในแต่ละขณะเพื่อจะได้รู้ว่าควรหยุดหรือควรดำเนินกิจกรรมนั้นต่อ

ไม่ว่าจะเป็น การกำกับกาย การเดินตามรอยเท้า การอยู ่กับลมหายใจ การบอกการรับรู้จากประสาทสัมผัสขณะนั้น การทำ Brain Gym กิจกรรมจิตตศึกษาที่อยู่ในหน่วย Home การทำบอดีสแกนแบบยืน นั่ง หรือนอน

กิจกรรมฝึกสมาธิหรือการจดจ่อ ให้เด็กมีความสามารถในการคงสมาธิได้ยาวขึ้นเพื่อกำกับความเพียรทั้งการเรียนรู้ และการทำงานให้สัมฤทธิ์ผล เช่น

กิจกรรมส่งน้ำ ส่งเทียน ต่อบล็อก Brain Gym การจินตนาการเป็นภาพ การร้อยลูกปัด การร้อยมาลัย
การพับกระดาษ การวาดภาพ การอ่านวรรณกรรม การฟังนิทาน หรือเรื่องเล่า พิธีซา พิธีจัดดอกไม้

กิจกรรมที่มุ่งให้เห็นความเชื่อมโยง เห็นคุณค่าของตนเอง คนอื่น หรือสิ่งอื่น เช่น

การสนทนากับต้นไม้การเล่าข่าว การค้นหาคุณค่าจากสิ่งที่ไร้ค่า การขอบคุณสิ่งต่าง ๆ การค้นหาต้นกำเนิด
ของตัวเราและสิ่งต่าง ๆ การพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงและความเสื่อมของตัวเองและสิ่งต่าง ๆ

กิจกรรมที่มุ่งให้เกิดการบ่มเพาะจิตสำนึกที่ดีงาม เช่น

นิทาน เรื่องเล่าเพื่อการใคร่ครวญ การใช้คำที่ให้พลังด้านบวก การเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้อื่น การเดินทางไกล
การอยู่ลำพังกับธรรมชาติ

กิจกรรมที่บ่มเพาะพลังความรักความเมตตา เช่น

การไหว้กันและไหว้สิ่งต่าง ๆ การกอด การขอบคุณกันและกัน และการขอบคุณสิ่งต่าง ๆ การยกย่องชื่นชม
ความดีงามของคนอื่น ๆ การร่วมกันชื่นชมศิลปะ

สรุปได้ว่า ทุกกิจกรรมล้วนมีความสำคัญในการกำกับสติ เพื่อให้ผู้เรียนมีความชำนาญในการกลับมารู้ตัวได้เสมอ ซึ่
งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เด็กได้รู้เท่าทันอารมณ์ และการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นในแต่ละขณะ เพื่อจะได้รู้ว่าควรหยุดหรือควรดำเนินกิจกรรมนันต่อไป

ขอบคุณที่มาจาก : วารสาร กคศ.

ข้าราชการ ตรวจสอบ สิทธิ จ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ได้ที่นี่

0

ตรวจสอบ สิทธิ จ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ข้าราชการ

สวัสดีครับวันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอม มีเรื่องราวเกี่ยวกับสวัสดิการของข้าราชการ มาฝากครับ โดยหลายท่านอาจจะสงสัยหรือมีปัญหาในการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิเข้าร่วมในระบบจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลทั้งของตัวท่านที่เป็นข้าราชการและบุคลคคลในครอบครัวของท่าน

วันนี้เราจึงมีวิธีการที่ง่ายและสะดวกมาแนะนำครับ โดยกรมบัญชีกลางได้สร้างระบบตรวจสอบข้อมูลสิทธิเข้าร่วมในระบบจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลไว้เพื่อให้ข้าราชการหรือบุคคลในครอบครัวตรวจสอบสอิทธิโดยมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกเข้าระบบตรวจอบ สิทธิเข้าร่วมในระบบจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล :: ระบบตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล :: (cgd.go.th) ดังภาพ

ตรวจสอบ สิทธิ จ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ข้าราชการ

2. กรอกข้อมูลรหัสประจำตัวประชาชนของผู้ที่ต้องการตรวจสอบ และ กดค้นหา ดังภาพ

ตรวจสอบ สิทธิ จ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ข้าราชการ

สำหรับข้าราชการท่านใดเมื่อตรวจสอบ สิทธิ จ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล แล้วไม่มีข้อมูล หรือ บุคคลในครอบครัว ไม่มีข้อมูลจะมีวิธีการเพิ่มข้อมูลอย่างไร ติดตามอ่านได้ที่นี่นะครับ

ขอบคุณที่มาจาก : ระบบตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล :: (cgd.go.th)