ผลสอบการแข่งขันท้องถิ่น 2564 สอบผ่านทั้ง 2 ภาค 18,874 คน คิดเป็น 6.71% จากจำนวนผู้เข้าสอบ 281,968 คน

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 facebook ปลัดเชื้อ ฮั่นจินดา ได้มีการไลฟ์ ในหัวข้อผลสอบแข่งขันฯ ท้องถิ่น 2564 ซึ่งมีการสอบไปเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียดดังนี้

ผลสอบการแข่งขันท้องถิ่น 2564

โดยในไลฟ์มีการระบุข้อมูลสำคัญที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

การสอบแข่งขันที่สอบไปตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา พบว่า

ในการสอบท้องถิ่นครั้งนี้มีผู้สมัครเข้าสอบแข่งขัน จำนวน 498,725 คน
-มาสอบ 281,968 คน
-ขาดสอบ 216,751 คน
โดยมีผู้เข้าสอบจำนวน 281,968 คน คิดเป็น 56.54% ที่เข้าสอบของจำนวนผู้สมัคร มีจำนวนผู้สอบผ่าน ดังนี้

– คนสอบผ่าน ภาค ก. ประมาณ 21,900 กว่าคน

– คนสอบผ่าน ภาค ข. ประมาณ 72,900 กว่าคน

– มีผู้สอบผ่าน ทั้ง 2 ภาค ประมาณ 18,800 กว่าคน 

สำหรับผู้ที่สอบผ่านทั้ง 2 ภาคและมีสิทธิ์เข้าสอบภาค ค หรือ สอบสัมภาษณ์ คิดเป็น 6.71%

นอกจากนี้ใน facebook ปลัดเชื้อ ฮั่นจินดา ยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ครับ

วันนี้..กรรมการสอบแข่งขัน ประชุมเห็นชอบ ผลการสอบแข่งขัน เพื่อสรรหาบุคคลเข้ารับราชการกับ อปท.โดยมีผู้ที่สอบผ่านทั้งภาค ก และภาค ข ตามเกณท์ ที่กำหนด และได้ไปต่อ เพื่อสอบสัมภาษณ์ภาค ค ในวันที่ 27-28 มกราคม 2565 ณ ภาคเขต ที่ท่านสมัครสอบไว้ จำนวน 18,874 คน คิดเป็น 6.71 % ของผู้สมัครสอบ..
..ประกาศผลสอบวันที่ 10 มกราคม 65
..รายละเอียดฟังจากการถ่ายทอดสด (ล่าง)

อบรมออนไลน์ หลักสูตรการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครู (Coding for Teacher : C4T) รุ่นที่ 4

0

อบรมออนไลน์ วิทยาการคำนวณ

สพฐ. และ สสวท. ขอเชิญครู และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมอบรมแบบออนไลน์ “หลักสูตรการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครู (Coding for Teacher : C4T)” รุ่นที่ 4 โดยสามารถสมัคร เข้าร่วมอบรมแบบออนไลน์ “หลักสูตรการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครู (Coding for Teacher : C4T)” รุ่นที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2564 – 9 กุมภาพันธ์ 2565 ที่เว็บไซต์ https://teacherpd.ipst.ac.th/
และคุณครูสามารถเลือกอบรมได้ทั้ง 4 ระดับชั้น ได้แก่ ป.ต้น ป.ปลาย ม.ต้น และ ม.ปลาย ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจาก ก.ค.ศ. ค่ะ

เรื่องน่าอ่าน >> หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์

วิทยาการคำนวณสำหรับครู1

วิทยาการคำนวณสำหรับครู 2

วิทยาการคำนวณสำหรับครู 3

เรื่องน่าอ่าน >> รวมลิงก์ ตำแหน่งว่างรับย้ายครู 2565 ครบทุกจังหวัด ครบทุก กศจ. (ตำแหน่งว่างย้ายครู65)

วิทยาการคำนวณสำหรับครู 4

วิทยาการคำนวณสำหรับครู 5

สมัครเข้ารับการอบรมคลิกที่นี่

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล อบรมออนไลน์ หลักสูตรการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครู (Coding for Teacher : C4T) รุ่นที่ 4 จาก สสวท.

หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม 2566 คุรุสภาขอเชิญชวนส่งผลงานเข้ารับการคัดสรรรางวัล “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม” ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 5 – 31 มกราคม 2566

 

หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์

 

ศึกษานิเทศก์

หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์

เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 สำนักงาน ก.ค.ศ. มีหนังสือ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ถึงปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการ ศึกษาธิการจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยมีสิ่งที่ส่งมาด้วยคือ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 

ตามหนังสือที่อ้างถึง 1-3 สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ให้ทราบและถือปฏิบัตินั้น
ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วมีมติ ดังนี้
1.ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ตามหนังสือที่อ้างถึง 1-3
2.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย โดยใช้บังคับตั้งแต่งบัดนี้เป็นต้นไป

เรื่องน่าอ่าน >> การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หลังเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565

การคัดเลือกศึกษานิเทศก์1

การคัดเลือกศึกษานิเทศก์2

การคัดเลือกศึกษานิเทศก์3

 

 

การคัดเลือกศึกษานิเทศก์4

การคัดเลือกศึกษานิเทศก์5

การคัดเลือกศึกษานิเทศก์6

การคัดเลือกศึกษานิเทศก์7

การคัดเลือกศึกษานิเทศก์8

การคัดเลือกศึกษานิเทศก์9

 

การคัดเลือกศึกษานิเทศก์10

ดาวน์โหลดไฟล์การคัดเลือกศึกษานิเทศก์

ศธ. เดินหน้า จัดวันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 แบบออนไลน์

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มา ของข้อมูลและภาพ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์  จาก สำนักงาน ก.ค.ศ.

 

มาตรการป้องกันและควบคุม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ (เพิ่มเติม ครั้งที่ 1)

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และประกาศแนวปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการภายหลังเทศกาลปีใหม่ ที่ ศธ 0100.1/ว3787 ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งกำหนดมาตรการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งหน่วยงาน และให้หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก นั้น

covid-19-กระทรวงศึกษาธิการ

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาจยังมีต่อเนื่องภายหลังจากเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2565 ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 จึงประกาศแนวปฏิบัติเพิ่มเติม เพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการเพิ่มเติม ดังนี้

  1. ให้สถานศึกษาประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงอย่างรอบด้านของนักเรียนหรือครูที่อาจเป็นกลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงการเปิดเรียนตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2565 เป็นต้นไป หากมีนักเรียนหรือครูที่เป็นกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว ให้สถานศึกษาสามารถพิจารณาปรับการเรียนการสอนเป็นระบบการศึกษาทางไกล (On air/ Online/ On hand/ On demand) ได้ตามความเหมาะสม และประสานกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอย่างใกล้ชิด
  2. ให้สถานศึกษาประเมินมาตรการการเปิดเรียนตาม Thai stop COVID plus และปฏิบัติตามข้อกำหนดของ 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC), 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) และแนวทาง 7 มาตรการเข้มสำหรับสถานศึกษาโดยเคร่งครัด โดยพื้นที่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างให้ปฏิบัติตามแนวทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  3. ให้สถานศึกษาดำเนินมาตรการตามแผนเผชิญเหตุที่กำหนด กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรในสถานศึกษา มีการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือมีผลตรวจคัดกรองหาเชื้อเป็นบวก โดยให้มีการซักซ้อมอย่างเคร่งครัด และประสานความร่วมมือกับสถานพยาบาลเครือข่ายในพื้นที่ที่ดูแลอย่างใกล้ชิด

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าว มีความเป็นห่วงนักเรียน ครู และประชาชน จึงได้สั่งการให้ปลัด ศธ. ออกประกาศแนวปฏิบัติดังกล่าว เพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ทุกระดับ ทุกประเภททั่วประเทศ ดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ ศธ. เพิ่มเติม เพื่อให้สถานศึกษาสามารถประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงอย่างรอบด้าน และพิจารณาปรับการเรียนการสอนเป็นระบบการศึกษาทางไกลได้ตามความเหมาะสม โดยให้ประสานกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะต้องประเมินมาตรการการเปิดเรียนของ Thai stop COVID plus และปฏิบัติตามข้อกำหนดของ 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC), 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) และแนวทาง 7 มาตรการเข้มสำหรับสถานศึกษาโดยเคร่งครัด พร้อมทั้งดำเนินมาตรการตามแผนเผชิญเหตุที่กำหนด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

เรื่องราวเพิ่มเติม : มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ

covid 19 กระทรวงศึกษาธิการ

covid 19 กระทรวงศึกษาธิการ

เรื่องราวเพิ่มเติม : มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ

ขอบคุณที่มาจาก : https://moe360.blog/2022/01/03/3-1-2565/

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เปิดเผยว่าในการประชุม อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ 13/2564 เมื่อวันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม 2564 ได้มีมติอนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 6 ราย ได้แก่ วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญจ านวน 3 ราย และวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 3 ราย ดังนี้

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ

หลักเกณฑ์ฯ ว 17/2552 จำนวน 6 ราย ดังนี้
1. เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จ านวน 3 ราย ได้แก่
1) นางศกุนตลา ทานอก สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร ส านักงาน กศน.
(ผลงานทางวิชาการ คือ 1. รายงานการวิจัยการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาประสิทธิภาพการท างาน
ของพนักงานราชการ พร้อมเอกสารประกอบ 2. ชุดการเรียนรู้การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หน่วยที่ 1 – 7 จำนวน 7 เล่ม พร้อมเอกสารประกอบ)
2) นางสาวพนิตตา กิจจนศิริ สถาบัน กศน.ภาคตะวันออก (ผลงานทางวิชาการ คือ 1.ชุดการเรียนรู้
ภาษาจีนอย่างง่ายสไตล์ Mind Map 2. รายงานการพัฒนาและผลการใช้ชุดการเรียนรู้ภาษาจีนอย่างง่ายสไตล์
Mind Map 3. รายงานการวิจัยปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับพฤติกรรมการสอนแบบบูรณาการ : การสร้างมโนทัศน์การค้นหาและการพัฒนารูปแบบพฤติกรรมการสอนแบบบูรณาการของครูการศึกษานอกโรงเรียนในภาคตะวันออก)

3) นางสุมล ศรีใจ โรงเรียนแพร่ปัญญานุกูล ส านักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (ผลงานทางวิชาการ
คือ 1. การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนงานตัดเย็บ โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติทักษะการตัดเย็บ
ส าหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแพร่ปัญญานุกูล จังหวัดแพร่
พร้อมเอกสารประกอบ 2. ผลการพัฒนาทักษะการมัดย้อมผ้าหม้อห้อมโดยใช้ชุดกิจกรรมการมัดย้อม
ผ้าหม้อห้อมด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
โรงเรียนแพร่ปัญญานุกูล จังหวัดแพร่ พร้อมเอกสารประกอบ)

เรื่องราวที่น่าสนใจ : 6 เทคนิคการสอนที่คุณครูห้ามพลาด!!

2. เลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 3 ราย ได้แก่
1) นายสุวรรณ บัวพันธ์ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักบริหารงาน
การศึกษาพิเศษ (ผลงานทางวิชาการ คือ 1. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพเด็กที่มีความบกพร่อง
ทางสติปัญญา โดยใช้กิจกรรมตามแนวคิดวอลดอลร์ฟ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจ าจังหวัดกาฬสินธุ์
พร้อมเอกสารประกอบ 2. รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงาน การให้บริการ
ช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAPER ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์)

2) นายพูลศักดิ์ ตุละวิภาค โรงเรียนแพร่ปัญญานุกูล จังหวัดแพร่ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
(ผลงานทางวิชาการ คือ 1. การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางสติปัญญา โรงเรียนแพร่ปัญญานุกูล จังหวัดแพร่ 2. แนวทางการพัฒนาทักษะอาชีพนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางสติปัญญา)
3) นายอภิปราย โสภายิ่ง โรงเรียนบ้านดอนไชย สพป.เชียงราย เขต 4 (ผลงานทางวิชาการ
คือ 1. รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนไชย
ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 2. รายงานการประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านดอนไชย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4)

ดาวน์โหลดไฟล์ ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ได้ที่นี่

 

ขอบคุณที่มาจาก : สำนักงานกคศ.

มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ

0

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ

 

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ

ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ กำหนดมาตรการเพื่อป้องกัน
และควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกำหนดวันและเวลาทำงาน
ของบุคลากรในสังกัดและในกำกับกระทรวงศึกษาธิการทุกพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรไทย ให้ผู้บริหารของหน่วยงาน
ในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดวันและเวลาทำงานของบุคลากรในสังกัด โดยให้จัด
บุคลากรหมุนเวียนมาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ทำงานในแต่ละวันทำงานไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของบุคลากร
ทั้งหมดในหน่วยงานนั้น โดยให้คำนึงถึงเป้าหมายการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์สูงสุดของการปฏิบัติงาน
เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองการให้บริการแก่ประชาชน นั้น

แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยมีแนวโน้ม
คลี่คลายลงตามลำดับ และได้มีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์
การระบาดของโรค เนื่องจากในช่วงเทศกาลปีใหม่เป็นห้วงเวลาสำคัญที่จะมีการจัดงนตามประเพณีท้องถิ่น
และทางศาสนา ซึ่งอาจมีการรวมกลุ่มบุคคลจำนวนมากเพื่อจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในเทศกาลส่งท้ายปีเก่า
ต้อนรับปีใหม่ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคภายหลังช่วงเทศกาลปีใหม่ ฉะนั้น อาศัยอำนาจ
ตามความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้
ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแหร่ระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓0 พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๙ และให้ประกาศ
มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ
กระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

๑. บุคลากรในสังกัดและในกำกับกระทรวงศึกษาธิการที่ไม่ระบุในข้อ ๒ ให้ปฏิบัติงานภายใน
ที่พัก (Work from home) อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ตั้งแต่วันที่ ๑ – ๑๔ มกราคม ๒๕๖๕ โดยการ
ปฏิบัติงานดังกล่าวต้องไม่กระทบกับภารกิจการให้บริการแก่ประชาชน

๒. ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดและในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ ระดับบริหารสูง ระดับ
บริหารต้น ระดับอำนวยการสูง และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิซาการระดับเชี่ยวชาญ ขึ้นไป ให้ปฏิบัติงาน
ภายในหน่วยงานต้นสังกัดตามปกติ

๓. ให้หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ กำกับ ควบคุม ดูแล
การปฏิบัติงานภายในที่พักของบุคลากรในสังกัดในเวลาราซการให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ บุคลากรที่ต้องเดินทาง
ด้วยระบบขนส่งสาธารณะให้ปฏิบัติงานภายในที่พั. (Work from home)

๔.ให้บุคลากรในสังกัดและในกำกับกระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติตามข้อกำหนด ออกตามความ
ในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๐)
ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ มาตรการด้านสาธารณสุขในการควบคุมและป้องกันโรค รวมทั้งแนวทางการ
ปฏิบัติงานภายในที่พัก (Work from home) อย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ถึงวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕
บระกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
(นายสุภัทร จำปาทอง)
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ

 

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ ศธ.360 องศา
https://moe360.blog/2021/12/30/work-from-home-4/

แผนการสอนวิชาภาษาไทย แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ป.1-ป.6

หลายท่านอาจจะกำลังตามหา แผนการสอนวิชาภาษาไทย แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ป.1-ป.6 กันอยู่ใช่ไหมครับ สำหรับคุณครูหลายๆท่านที่กำลังตามหาแผนการสอน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอมมีมาให้ดาวน์โหลดแล้ว

แผนการสอนวิชาภาษาไทย-แผนการจัดการเรียนรู้

ซึ่งแผนการสอนนี้ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ ตามหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ซึ่งเป็นหนังเรียนภาษาไทยใบโบกใบบัว ที่เรารู้จักกัน คุณครูสามารถนำไฟล์ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกิจกรรมการเรียนรู้ได้เลยครับ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการสอนกันก่อนครับ

แผนการสอนหรือแผนจัดการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนในทุกระดับชั้น เปรียบเสมือนแผนที่นำทางที่ช่วยให้ครูสามารถดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนได้เหมาะสม ตรงตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ

การจัดทำแผนการสอนนั้น ครูผู้สอน จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษาอย่างถ่องแท้ เพื่อให้สามารถออกแบบแผนการสอนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องครบถ้วน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการจัดการศึกษาทั้งกับตัวผู้เรียนและตัวครูผู้สอนเอง โดยอาศัย โดยองค์ประกอบที่สำคัญของการออกแบบแผนการสอนนั้น จะต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้

              1. หัวเรื่อง คือ ส่วนที่ต้องกำหนด ชื่อของเรื่องหรือหน่วยการเรียนรู้  ขั้นที่สอนและเวลาที่ใช้สอน

              2. สาระสำคัญ คือ มโนทัศน์หลักหรือความคิดรวบยอดของการจัดการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งกำหนดเป็นภาพกว้างให้เห็นการเชื่อมโยงข้อมูลของสิ่งที่กำลังจะสอน

              3. มาตรฐานและตัวชี้วัด คือ คุณลักษณะสำคัญของผู้เรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ จะหยิบยกมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและคาดว่าจะเกิดกับผู้เรียน ซึ่งการที่ลักษณะของผู้เรียนเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางและส่วนที่เพิ่มเติมให้หลักสูตรสถานศึกษา

              4. จุดประสงค์การเรียนรู้ คือ เป้าหมายที่ต้องการให้เกิดกับตัวผู้เรียนหลังจากที่เราได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนที่ได้วางไว้แล้ว โดยในการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้นั้นจะต้องเกิดจากการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดตามตารางวิเคราะห์หลักสูตร

              5. สาระการเรียนรู้ คือเนื้อเรื่อง หรือองค์ความรู้ ทักษะ กระบวนการของผู้เรียนที่จะต้องเรียนรู้ในรายวิชานั้น ๆ

              6. การบวนการการเรียนรู้ คือ การระบุกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน และขั้นสรุป

              7. สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งการเรียนรู้ คือ เครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ใช้ตามที่กำหนดในกิจกรรมการเรียนรู้

              8. การวัดและประเมินผล คือ การประเมินผลผู้เรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งควรระบุเครื่องมือวัดและเกณฑ์การให้คะแนน ซึ่งสามารถศึกษาได้จากคู่มือหลักสูตร

              9. บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ คือการบันทึกของครูผู้สอนจากสิ่งที่พบในการนำแผนจัดการเรียนรู้มาใช้ โดยแบ่งเป็น ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรค์ และ ข้อเสนอแนะ

อย่างไรก็ตามคุณครูสามารถดาวน์โหลดตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้หรือแผนการสอนวิชาภาษาไทยได้จากลิงก์ด้านล่างครับ

ลิงก์ดาวน์โหลดแผนการสอนภาษาไทย ป.1

ลิงก์ดาวน์โหลดแผนการสอนภาษาไทย ป.2

ลิงก์ดาวน์โหลดแผนการสอนภาษาไทย ป.3

ลิงก์ดาวน์โหลดแผนการสอนภาษาไทย ป.4

ลิงก์ดาวน์โหลดแผนการสอนภาษาไทย ป.5

ลิงก์ดาวน์โหลดแผนการสอนภาษาไทย ป.6

ลิงก์ดาวน์โหลดแผนการสอนภาษาไทย ป.1-ป.6

เรื่องราวที่คล้ายกัน : ใบงาน ใบความรู้ บทเรียนDLTV สื่อการสอน DLTV ป.1-ป.6

ขอบคุณที่มาจาก : สกสค. และ ทรูปลูกปัญญา

แบบฝึก คัดลายมือ ภาษาไทย สำหรับฝึกคัดลายมือนักเรียน ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

แบบฝึก คัดลายมือ ภาษาไทย สำหรับฝึกคัดลายมือนักเรียน ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

แบบฝึก คัดลายมือ ภาษาไทย สำหรับฝึกคัดลายมือนักเรียน ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่ การคัดลายมือ เป็นการฝึกเขียนตัวอักษรไทยให้ถูกต้องตามหลักการเขียนคําไทย ซึ่ง จะต้องคํานึงถึงความถูกต้องของตัวอักษรไทย เขียนให้อ่านง่าย มีช่องไฟ มีวรรคตอน ตัวอักษร เสมอกัน วางพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ให้ถูกที่ ตัวสะกดการันต์ถูกต้อง และลายมือสวยงาม การคัดลายมือ มีแบบการคัดหลายแบบดังนี้

ประเภทตัวเหลี่ยม มีลักษณะเด่นคือ เส้นตัวอักษรส่วนใหญ่เป็นเส้นตรง ตัวอักษรแบบ เหลี่ยมเช่นตัวอักษรแบบอาลักษณ์ ของแผนกอาลักษณ์ กองประกาศิต สํานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีใช้เป็นแบบตัวอักษรที่สวยงาม ใช้ในงานเขียนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ การเขียนทาง ราชการ การเขียนกฎหมายหรือใช้เขียนเพื่อการเกียรติยศหรือในเอกสารพิเศษต่างๆ เช่น ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร เป็นต้น

ประเภทตัวกลมหรือตัวมน มีลักษณะเด่น คือ ลักษณะตัวอักษรมีเส้นโค้งประกอบอยู่ เช่น ตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการ เป็นแบบตัวอักษรที่กระทรวงธรรมการหรือ กระทรวงศึกษาธิการ ในอดีตได้ดัดแปลงรูปแบบตัวอักษรของ ขุนสัมฤทธิ์วรรณการ เพื่อทําเป็น แบบฝึกหัดคัดลายมือ สําหรับใช้กับนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ ลักษณะของการคัดลายมือ การคัดลายมือ มี 3 ลักษณะ คือ

1. การคัดลายมือ ตัวบรรจงเต็มบรรทัด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ควรฝึกคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด เนื่องจากเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อมือ และการประสานระหว่าง ตากับมือยังพัฒนาไม่เต็มที่

2. การคัดลายมือ ตัวบรรจงครึ่งบรรทัดนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4 จะมี การประสานระหว่างกล้ามเนื้อมือและตาเพิ่มมากขึ้น จึงควรฝึกคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด แต่ขณะเดียวกันก็ยังต้องฝึกคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดด้วย

3. การคัดลายมือ หวัดแกมบรรจง เป็นการคัดลายมือแบบหวัด แต่ให้อ่านออก การเขียนลายมือหวัดแกมบรรจงเป็นการเขียนที่ใช้ในชีวิตประจําวัน ซึ่งผู้เขียนจะต้องเขียนให้อ่าน ง่าย มีช่องไฟ เว้นวรรคตอนถูกต้อง และเขียนด้วยลายมือที่สวยงามนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ควรหัดคัดลายมือหวัดแกมบรรจง โดยคัดให้รวดเร็ว สวยงาม ถูกต้องและน่าอ่าน โดยมี การฝึกคัดลายมือ ตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดเป็นครั้งคราว

อย่างไรก็ดี แบบฝึกคัดลายมือนี้ก็สามารถใช้เป็นส่วนประกอบในการพัฒนา การเขียนให้กับนักเรียนได้ โดยท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารทั้งได้ที่นี่

ดาวน์โหลดแบบฝึก คัดลายมือ ได้ที่นี่ กดเลย !!

ดาวน์โหลดแบบฝึก คัดลายมือ แบบที่ 2 ได้ที่นี่ กดเลย !!

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : บัญชีคำพื้นฐาน ชั้นป.1

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : บัญชีคำพื้นฐาน ชั้นป.2

บัญชีคำพื้นฐาน ป.2 วิชาภาษาไทย ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

บัญชีคำพื้นฐาน ป.2 วิชาภาษาไทย ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

บัญชีคำพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หรือ ป.2 ชุดนี้เป็นบัญชีคำพื้นฐานที่คุณครูและผู้ปกครองสามารถนำไปจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับลูกๆนักเรียนชั้น ป.2 ได้เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับบัญชีคำพื้นฐานที่ใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่2นี้  คุณครูและผู้ปกครองสามารถดาวน์โหลดบัญชี คำพื้นฐาน ป.2 วิชาภาษาไทย ได้จากลิงก์ด้านล่างครับ

ตัวอย่างคำพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้น ป.2 :

บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ที่ คำ ที่ คำ ที่ คำ ที่ คำ
๑. ก๋ง ๓๑. เกือบ ๖๑. คางคก ๙๑. เฉย
๒. กด ๓๒. แก้ ๖๒. คาด ๙๒. ชม
ก้ม ๓๓. แก้ม ๖๓. คาบ ๙๓. ชวด
๔. กระดูก ๓๔. โกน ๖๔. คุ้ม ๙๔. ชะนี
๕. กระติก ๓๕. โกหก ๖๕. เค้ก ๙๕. ชัก
๖. กระตุก ๓๖. ไกว ๖๖. เคาะ ๙๖. ชา
๗. กระถาง ๓๗. ขณะ ๖๗. เคี้ยว ๙๗. ช้า
๘. กระทบ ๓๘. ขม ๖๘. แคะ ๙๘. ชี้
๙. กระท้อน ๓๙. ขย้ำ ๖๙. โค้ง ๙๙. ชุก
๑๐. กระทะ ๔๐. ขยี้ ๗๐. งม ๑๐๐. ชุ่ม
๑๑. กระสอบ ๔๑. ข้อ ๗๑. งวง ๑๐๑. เช่น
๑๒. กล้า ๔๒. ข้อง ๗๒. ง่วง ๑๐๒. แช่
๑๓. กอ ๔๓. ขอน ๗๓. งอก ๑๐๓. ซด
๑๔. ก่อ ๔๔. ขัด ๗๔. งา ๑๐๔. ซัด
๑๕. กอง ๔๕. ขาน ๗๕. เงา ๑๐๕. ซิ่ง
๑๖. ก้อน ๔๖. ขำ ๗๖. โง่ ๑๐๖. ซึ่ง
๑๗. กะปิ ๔๗. ขิง ๗๗. จด ๑๐๗. ซื่อ
๑๘. กะเพรา ๔๘. เข่ง ๗๘. จริยะ ๑๐๘. ซุก
๑๙. กะสา ๔๙. เข็น ๗๙. จ๊ะ ๑๐๙. แซง
๒๐. ก้าง ๕๐. เขี่ย ๘๐. จัง ๑๑๐. แซะ
๒๑. กำ ๕๑. เขียว ๘๑. จ๋า ๑๑๑. ดง
๒๒. กำแพง ๕๒. เขื่อน ๘๒. จ่าย ๑๑๒. ดัก
๒๓. กิ่ง ๕๓. แขก ๘๓. จำปา ๑๑๓. ดับ
๒๔. กิริยา ๕๔. คง ๘๔. จิก ๑๑๔. ด้าน
๒๕. กู้ ๕๕. ครู่ ๘๕. จิ้ม ๑๑๕. ดาบ
๒๖. เก ๕๖. ค้อน ๘๖. จีน ๑๑๖. ดาย
๒๗. เก๋ง ๕๗. คัน ๘๗. จุด ๑๑๗. ด้าย
๒๘. เก่า ๕๘. คับ ๘๘. จูง ๑๑๘. ดีด

 

บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คำพื้นฐาน ป.2
ที่ คำ ที่ คำ ที่ คำ ที่ คำ
๑๒๑. เด็ด ๑๕๑. ทุ่ง ๑๘๑. ประจำ ๒๑๑. ฝัน
๑๒๒. เดิม ๑๕๒. ทุย ๑๘๒. ประชุม ๒๑๒. ฝาก
๑๒๓. เดือด ๑๕๓. เทียม ๑๘๓. ประดับ ๒๑๓. ฝ้าย
๑๒๔. เดือน ๑๕๔. แทง ๑๘๔. ประธาน ๒๑๔. ฝุ่น
๑๒๕. ใด ๑๕๕. แท่ง ๑๘๕. ปะ ๒๑๕. ฝูง
๑๒๖. ตบ ๑๕๖. แท้ง ๑๘๖. ปัก ๒๑๖. พ่น
๑๒๗. ตอม ๑๕๗. ธง ๑๘๗. ปัง ๒๑๗. พร้า
๑๒๘. ตะเกียบ ๑๕๘. นัด ๑๘๘. ปัด ๒๑๘. พอง
๑๒๙. ตะโกน ๑๕๙. นาที ๑๘๙. ปัน ๒๑๙. พัง
๑๓๐. ตู่ ๑๖๐. นิ่ง ๑๙๐. ปั่น ๒๒๐. พาด
๑๓๑. ตูด ๑๖๑. เน่า ๑๙๑. ปา ๒๒๑. พาน
๑๓๒. เตียน ๑๖๒. แนว ๑๙๒. ปาด ๒๒๒. เพลีย
๑๓๓. แตก ๑๖๓. บ่น ๑๙๓. ปี่ ๒๒๓. เพียง
๑๓๔. แตง ๑๖๔. บัว ๑๙๔. ปีก ๒๒๔. แพ
๑๓๕. แตะ ๑๖๕. บ่า ๑๙๕. เปรอะ ๒๒๕. แพง
๑๓๖. โต้ ๑๖๖. บาด ๑๙๖. เป่า ๒๒๖. ไพ่
๑๓๗. ถาก ๑๖๗. บาน ๑๙๗. ผง ๒๒๗. ไพเราะ
๑๓๘. ถ่าย ๑๖๘. บำรุง ๑๙๘. ผัว ๒๒๘. ฟอก
๑๓๙. ถ้ำ ๑๖๙. บิดา ๑๙๙. ผ่า ๒๒๙. ฟอง
๑๔๐. เถียง ๑๗๐. บีบ ๒๐๐. ผาง ๒๓๐. ฟัก
๑๔๑. ทบ ๑๗๑. บึง ๒๐๑. ผึ่ง ๒๓๑. ฟาก
๑๔๒. ท่อง ๑๗๒. เบา ๒๐๒. ผึ้ง ๒๓๒. ฟาง
๑๔๓. ทอน ๑๗๓. เบาะ ๒๐๓. ผืน ๒๓๓. แฟง
๑๔๔. ทัก ๑๗๔. เบื่อ ๒๐๔. ผุ ๒๓๔. แฟ้ม
๑๔๕. ท่า ๑๗๕. แบก ๒๐๕. เผ็ด ๒๓๕. ภัย
๑๔๖. ท้า ๑๗๖. แบ่ง ๒๐๖. แผ่ ๒๓๖. ภาษา
๑๔๗. ทาก ๑๗๗. เบก ๒๐๗. แผ่น ๒๓๗. มด
๑๔๘. ทาย ๑๗๘. ใบไม้ ๒๐๘. โผล่ ๒๓๘. ม่วง

 

ดาวน์โหลดไฟล์ : บัญชีคำพื้นฐาน ป.2 ภาษาไทยที่นี่

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : บัญชีคำพื้นฐาน ป.1 วิชาภาษาไทย

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : บัญชีคำพื้นฐาน ป.3 วิชาภาษาไทย

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : บัญชีคำพื้นฐาน ป.4 วิชาภาษาไทย

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : บัญชีคำพื้นฐาน ป.5 วิชาภาษาไทย

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : บัญชีคำพื้นฐาน ป.6 วิชาภาษาไทย

ขอบคุณข้อมูลจาก : ห้องเรียนครูอรุณี

บัญชีคำพื้นฐาน ป.1 วิชาภาษาไทย ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

 

บัญชีคำพื้นฐาน ป.1 วิชาภาษาไทย ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

บัญชีคำพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หรือ ป.1 ชุดนี้เป็นบัญชีคำพื้นฐานที่คุณครูและผู้ปกครองสามารถนำไปจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับลูกๆนักเรียนชั้น ป.1 ได้เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับบัญชีคำพื้นฐานที่ใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่1นี้  คุณครูและผู้ปกครองสามารถดาวน์โหลดบัญชีคำพื้นฐาน ป.1 วิชาภาษาไทย ได้จากลิงก์ด้านล่างครับ

ตัวอย่างคำพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้น ป.1 :

บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ที่ คำ ที่ คำ ที่ คำ ที่ คำ
๑. ก็ ๒๘. กางเกง ๕๕. ไกล ๘๒. เข่า
๒. กบ ๒๙. กาแฟ ๕๖. ขน ๘๓. เข้า
กระจก ๓๐. กาย ๕๗. ขยะ ๘๔. เขียง
๔. กระจุย ๓๑. ก้าว ๕๘. ขวา ๘๕. เขียน
๕. กระดิ่ง ๓๒. กำเนิด ๕๙. ขอ ๘๖. เขียว
๖. กระดุม ๓๓. กำลัง ๖๐. ของ ๘๗. แข็ง
๗. กระโดด ๓๔. กิน ๖๑. ขัง ๘๘. แข่ง
๘. กระต่าย ๓๕. กี่ ๖๒. ขัน ๘๙. แขน
๙. กระถิน ๓๖. กุ้ง ๖๓. ขวด ๙๐. ไข่
๑๐. กระเทียม ๓๗. กู ๖๔. ขับ ๙๑. ไข้
๑๑. กระเบื้อง ๓๘. เก๊ ๖๕. ขา (น) ๙๒. คด (ข้าว)
๑๒. กระป๋อง ๓๙. เก่ง ๖๖. ข่า ๙๓. คน (น)
๑๓. กระเป๋า ๔๐. เก็บ ๖๗. ข้า ๙๔. ค้น
๑๔. กระโปรง ๔๑. เกม ๖๘. ข้าง ๙๕. คบ
๑๕. กระรอก ๔๒. เกเร ๖๙. ขาด ๙๖. ครัว
๑๖. กลัว ๔๓. เกลือ ๗๐. ข้าม ๙๗. ครู
๑๗. กว่า ๔๔. เก้าอี้ ๗๑. ขาย ๙๘. คว่ำ
๑๘. กอด ๔๕. เกาะ ๗๒. ขาว ๙๙. คอ
๑๙. ก่อน ๔๖. เกิด ๗๓. ข่าว ๑๐๐. คอย
๒๐. กะ ๔๗. เกี่ยว ๗๔. ข้าว ๑๐๑. ค่อย
๒๑. กะทิ ๔๘. แก ๗๕. ขี่ ๑๐๒. ค่ะ
๒๒. กะละมัง ๔๙. แก่ ๗๖. ขี้ ๑๐๓. คะน้า
๒๓. กัด ๕๐. แกง ๗๗. ขีด ๑๐๔. คัด
๒๔. กัน ๕๑. แก้ว ๗๘. ขึ้น ๑๐๕. คั่ว
๒๕. กับ ๕๒. แกะ ๗๙. ขุด ๑๐๖. ค้า
๒๖. กา ๕๓. ใกล้ ๘๐. เข็ม ๑๐๗. คาง
๒๗. กาง ๕๔. ไก่ ๘๑. เขา (ส) ๑๐๘. คำ

 

บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ที่ คำ ที่ คำ ที่ คำ ที่ คำ
๑๐๙. ค่ำ ๑๓๖. จอด ๑๖๓. ชนะ ๑๙๐. ซ่อน
๑๑๐. คำนับ ๑๓๗. จอบ ๑๖๔. ชมพู่ ๑๙๑. ซ้อน
๑๑๑. คิด ๑๓๘. จะ ๑๖๕. ชวน ๑๙๒. ซ่อม
๑๑๒. คิ้ว ๑๓๙. จังหวะ ๑๖๖. ช่วย ๑๙๓. ซอย
๑๑๓. คืน ๑๔๐. จัด ๑๖๗. ช้อน ๑๙๔. ซัก
๑๑๔. คือ ๑๔๑. จับ ๑๖๘. ชอบ ๑๙๕. ซ้าย
๑๑๕. คุก ๑๔๒. จาก ๑๖๙. ชะอม ๑๙๖. ซิ
๑๑๖. คุย ๑๔๓. จ้าง ๑๗๐. ชั่ง ๑๙๗. ซื้อ
๑๑๗. คู ๑๔๔. จาน ๑๗๑. ชิ้น ๑๙๘. ดม
๑๑๘. คู่ ๑๔๕. จำ ๑๗๒. ชั่ว ๑๙๙. ด้วย
๑๑๙. เค็ม ๑๔๖. จำปี ๑๗๓. ช่าง ๒๐๐. ดอก
๑๒๐. เคย ๑๔๗. จิ้งจอก ๑๗๔. ช้าง ๒๐๑. ดัง (ข)
๑๒๑. เคียว ๑๔๘. จิงโจ้ ๑๗๕. ชาม ๒๐๒. ด่า
๑๒๒. แค่ ๑๔๙. จึง ๑๗๖. ชาย ๒๐๓. ดาว
๑๒๓. ใคร ๑๕๐. จืด ๑๗๗. ชาว ๒๐๔. ดำ (ข)
๑๒๔. ฆ่า ๑๕๑. เจ็บ ๑๗๘. ชิงช้า ๒๐๕. ดิน
๑๒๕. งาน ๑๕๒. เจอ ๑๗๙. ชิ้น ๒๐๖. ดินสอ
๑๒๖. งาม ๑๕๓. เจ้า ๑๘๐. ชื่อ ๒๐๗. ดี
๑๒๗. ง่าย ๑๕๔. เจาะ ๑๘๑. ชุด ๒๐๘. ดึง
๑๒๘. งู ๑๕๕. แจก ๑๘๒. เช็ด ๒๐๙. ดื่ม
๑๒๙. เงาะ ๑๕๖. แจกัน ๑๘๓. เช้า ๒๑๐. ดื้อ
๑๓๐. เงิน ๑๕๗. ใจ ๑๘๔. เชิด ๒๑๑. ดุ
๑๓๑. เงือก ๑๕๘. ใจดี ๑๘๕. เชื่อ ๒๑๒. ดู
๑๓๒. จน ๑๕๙. ฉัน (ส) ๑๘๖. เชือก ๒๑๓. เด็ก
๑๓๓. จบ ๑๖๐. ฉีด ๑๘๗. ใช่ ๒๑๔. เดิน
๑๓๔. จม ๑๖๑. ชก ๑๘๘. ใช้ ๒๑๕. เดียว
๑๓๕. จอก (น้ำ) ๑๖๒. ชน ๑๘๙. ซน ๒๑๖. เดี่ยว

ดาวน์โหลดไฟล์ : บัญชีคำพื้นฐาน ป1

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : บัญชีคำพื้นฐาน ป.2 วิชาภาษาไทย

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : บัญชีคำพื้นฐาน ป.3 วิชาภาษาไทย

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : บัญชีคำพื้นฐาน ป.4 วิชาภาษาไทย

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : บัญชีคำพื้นฐาน ป.5 วิชาภาษาไทย

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : บัญชีคำพื้นฐาน ป.6 วิชาภาษาไทย

ขอบคุณข้อมูลจาก : ห้องเรียนครูอรุณี