คุรุสภาจัดงาน “วันครู” ปี 2565 แบบผสมผสาน Onsite-Online

คุรุสภาจัดงาน “วันครู” ปี 2565 แบบผสมผสาน Onsite-Online ภายใต้แนวคิด “พลังครูยุคใหม่ สร้างคุณภาพคนไทยสู่สากล”

คุรุสภาจัดงาน “วันครู” ปี 2565 แบบผสมผสาน Onsite-Online

16 มกราคมนี้ วันครู ครั้งที่ 66 คุรุสภาจัดงานแบบผสมผสาน Onsite-Online โดย พล.อ.ประยุทธ์ฯ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานผ่านออนไลน์ มอบสารวันครู และพิธีคารวะครูอาวุโส

คุรุสภาจัดงาน “วันครู” ปี 2565 ครั้งที่ 66 แบบผสมผสาน Onsite-Online ภายใต้แนวคิด “พลังครูยุคใหม่ สร้างคุณภาพคนไทยสู่สากล” ชวนศิษย์มีครู ทำความดี เป็นจิตอาสา ร่วมแชร์ความรู้สึกดี ๆ ต่อครูในเฟซบุ๊กแฟนเพจ “Khurusaphaofficial” พร้อมติดแฮชแท็ก #วันครู2565

ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานอนุกรรมการจัดงานวันครู ครั้งที่ 66 พ.ศ.2565 เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เตรียมจัดงานวันครู ประจำปี 2565 ในวันที่ 16 มกราคม 2565 ภายใต้แนวคิด “พลังครูยุคใหม่ สร้างคุณภาพคนไทยสู่สากล” เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในรูปแบบผสมผสาน คือ Onsite และ Online

ส่วนกลาง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันครู และมอบสารวันครู รวมถึงพิธีคารวะครูอาวุโสของนายกรัฐมนตรี และครูอาวุโสของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรูปแบบ Online มีพิธีทำบุญตักบาตร พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศแด่ครูผู้วายชนม์ พิธีบูชาบูรพาจารย์และระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ พิธีมอบรางวัลให้แก่ผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจำปี 2564 – 2565 จำนวน 14 คน และรางวัลคุรุสภา ประจำปี 2563-2564 “ระดับดีเด่น” จำนวน 18 คน ในรูปแบบ Onsite โดยนางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ.

นอกจากนี้ จะมีกิจกรรมวิชาการแบบ Onsite ภายในหอประชุมคุรุสภา ได้แก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น การปาฐกถา หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ครั้งที่ 5 เรื่อง “พลังครูวิถีใหม่ สร้างคุณภาพคนไทยสู่สากล” การเสวนา เรื่อง “การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม สำคัญอย่างไรต่อการสร้างความสำเร็จรอบด้านของผู้เรียน” และ Special Session : Inspiring, Caring, Connecting: the Power of Princess Maha Chakri Award Teachers จากครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 4 จากประเทศบรูไน เวียดนาม และมาเลเซีย เป็นต้น

ส่วนการจัดกิจกรรมแบบ Online ผ่าน Platform วันครู (www.วันครู.com) ประกอบด้วย ทำบุญตักบาตรออนไลน์ การพัฒนาตนเอง ทางวิชาชีพในรูปแบบออนไลน์ผ่านหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม และพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในยุคดิจิทัล โดยเริ่มพัฒนาตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม – 16 เมษายน 2565

ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ารับการพัฒนาจะได้รับเกียรติบัตรตามเกณฑ์ที่กำหนด และยังมีการจัดนิทรรศการออนไลน์ผลงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ได้รับรางวัลของคุรุสภาและของหน่วยงานอื่น ๆ มากกว่า 100 เรื่องด้วย

ส่วนภูมิภาค
กำหนดให้สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทุกจังหวัด เป็นหน่วยจัดงานวันครูส่วนภูมิภาค โดยให้เข้าร่วมกิจกรรมงานวันครูผ่าน http://www.วันครู.com หรือรับชมการถ่ายทอดสดการจัดงานวันครูส่วนกลางทาง Youtube Channel “TBL Suandusit” ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจ “คุรุสภา” ในวันที่ 16 มกราคม 2565

ในส่วนของการจัดกิจกรรมสัปดาห์วันครูนั้น ขอให้หน่วยจัดงานวันครูส่วนภูมิภาคทุกแห่ง ประสานขอความร่วมมือสถานศึกษาทุกสังกัดในพื้นที่ความรับผิดชอบจัดกิจกรรมสัปดาห์วันครู ระหว่างวันที่ 11 – 17 มกราคม 2565 โดยให้พิจารณาการจัดงานวันครูตามความเหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ และต้องหารือร่วมกับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ของแต่ละพื้นที่ และให้ถือปฏิบัติตามมาตรการที่ ศบค.ในแต่ละพื้นที่กำหนดอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสุขภาพของผู้เข้าร่วมงาน

ดร.ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า คุรุสภาได้จัดงานวันครูมาอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน และส่งเสริมยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ประกอบคุณงามความดี หรือทำคุณประโยชน์ต่อวงการศึกษาให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน และเป็นแบบอย่างให้เยาวชนรุ่นหลังได้ยึดถือปฏิบัติตาม ซึ่งปีนี้เป็นครั้งที่ 66 จึงขอเชิญชวนทุกท่านที่มีครูร่วมระลึกถึงพระคุณครู โดยร่วมกิจกรรมกับคุรุสภาทำความดี เป็นจิตอาสา ร่วมแชร์ความรู้สึกดี ๆ ต่อครูใน Facebook FanPage แฟนเพจ “Khurusaphaofficial” ร่วมส่งบัตรคารวะครู Online ผ่านทาง http://www.วันครู.com และเว็บไซต์คุรุสภา http://www.ksp.or.th และติด #วันครู2565 #พลังครูยุคใหม่สร้างคุณภาพคนไทยสู่สากล”

ทั้งนี้ เนื่องในโอกาสการจัดงานวันครู ครั้งที่ 66 คุรุสภา ได้จัดทำ Sticker Line Creator “วันครู 2565” หรือ “Teachers’ Day 2022” ขึ้น โดยรายได้จากการจำหน่ายสติ๊กเกอร์จะนำไปสมทบทุนมูลนิธิช่วยครูอาวุโส ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดาวน์โหลดได้ที่ https://line.me/S/sticker/17747462 รวมถึงจัดทำเสื้อโปโล “วันครู” ปี 2565 (Pre-Order) “สีชมพู-ม่วง” ราคา 280 บาท ไม่รวมค่าจัดส่ง สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์คุรุสภา https://www.ksp.or.th หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.0-2280 1729 หรือ 06 2854 2261 หรือ ทาง ID Line : sawaddeeksp ในวันและเวลาราชการ

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก ศธ.360 องศา

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมที่ ความเป็นมา วันครู  ประวัติวันครู   การจัดงานวันครู ครั้งแรก

ปฏิทินรับนักเรียน 2565 สพฐ.ประกาศ ปฏิทินรับนักเรียน

สพฐ.ประกาศ ปฏิทินรับนักเรียน 2565

สพฐ.ประกาศ ปฏิทินรับนักเรียน 2565

เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตนได้ลงนามประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เรื่อง นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนสังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2565 ซึ่งนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สังกัดสพฐ.จะต้องมีส่วนร่วม โดยการเปิดโอกาสให้หน่วยงาน องค์กร และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการรับนักเรียนให้เกิดความบริสุทธิ์ ยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ เด็กทุกคนต้องมีที่เรียน ซึ่งแนวปฏิบัติการรับนักเรียนยังคงเหมือนกับปีที่ผ่านมา เด็กชั้นก่อนประถมศึกษาให้รับเด็ก อายุ 4 – 5 ปี ในเขตพื้นที่บริการเข้าเรียนชั้นอนุบาล 2 และ 3 โดยห้ามสอบวัดความสามารถทางวิชาการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้รับเด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 7 หรือจบการศึกษาชั้นก่อนประถมศึกษาที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนเข้าเรียนชั้น ป.1 ทุกคน โดยห้ามสอบวัดความสามารถทางวิชาการ ชั้น ม.1 โดยสัดส่วนการรับนักเรียนและวิธีการคัดเลือกเป็นไปตามประกาศการรับสมัครนักเรียนของโรงเรียน ต้องคำนึงถึงโอกาสของนักเรียนในเขตพื้นที่บริการ และเป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียน สพฐ. และไม่นำผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มาใช้ ขณะที่นักเรียนชั้น ม.4 ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเรียนต่อในโรงเรียนเดิมตามศักยภาพ ความถนัดของนักเรียน และตามแผนการรับนักเรียนของโรงเรียน

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า สำหรับ ปฎิทินการรับนักเรียน 2565 ดังนี้

ก่อนประถมศึกษา รับสมัคร 12-15 ก.พ.65 จับฉลาก 19 ก.พ.65 ประกาศผล 19 ก.พ.65

ป.1 รับสมัคร 23-27 ก.พ.65 จับฉลาก 5 มี.ค.65 ประกาศผล 5 มี.ค.65 รายงานตัว 5 มี.ค.65

ม.1 รับสมัคร 9-13 มี.ค.65 สอบคัดเลือก 26 มี.ค.65 ประกาศผล 30 มี.ค.65 รายงานตัว 30 มี.ค.65 ส่วนการจับฉลาก 1 เม.ย.65 ประกาศผลจับฉลาก 1 เม.ย. และรายงานตัว 1 เม.ย. มอบตัว 2 เม.ย.

ม. 4 ประเภทสอบคัดเลือกับสมัคร 9-13 มี.ค.65 สอบคัดเลือก 27 มี.ค.65 ประกาศผล 31 มี.ค.65 และรายงานตัว 31 มี.ค.65 มอบตัว 3 เม.ย. และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ และโรงเรียนเตรียมศึกษาภูมิภาค รับสมัคร 19-23 ก.พ.65 สอบคัดเลือก 5 มี.ค.65 ประกาศผล 12 มี.ค.65 รายงานตัว 15 มี.ค.65 มอบตัว 21 มี.ค.65

ปฏิทินการรับนักเรียน-ปีการศึกษา-2565

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก At HeaR

เรื่องราวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ปฏิทินการรับนักเรียน 2566 นโยบายการรับนักเรียน และ ปฏิทินการรับนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2566 สังกัด สพฐ.

วิธีตรวจรายชื่อ สอบท้องถิ่น 2564 ผลการสอบท้องถิ่น 64 ประกาศผล 10 ม.ค. 2565

เป็นเรื่องราวที่หลายท่านกำลังตามหาว่าจะมีวิธีดูผลคะแนนอย่างไร วันนี้เว็บไซต์ครูอัพเตดอทคอมมีเรื่องราวเกี่ยวกับเว็บไซต์ประกาศผลสอบท้องถิ่น ภาค ค ปี 2564 สำหรับการประกาศผลสอบสอบท้องถิ่น ที่ได้มีการทดสอบไปแล้วเมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม 2564 และคาดว่าจะประกาศผลการสอบ ภาค ก ข ในวันที่ 10 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมาตามประกาศของคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ซึ่งในวันสอบดังกล่าวได้มีการกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ คือ วันสอบเป็นวันที่ 12 ธันวาคม 2564 และแบ่งสถานที่สอบดังนี้ กลุ่มภาคเหนือจำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มภาคกลางจำนวน 3 กลุ่ม  กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 3 กลุ่ม และกลุ่มภาคใต้ จำนวน 2 กลุ่ม

วิธีตรวจรายชื่อ สอบท้องถิ่น 2564 ผลการสอบท้องถิ่น 64 ประกาศผล 10 ม.ค. 2565

เรื่องราวที่น่าสนใจ : วิธีดูคะแนน สอบท้องถิ่น 2564 ผลคะแนนสอบ ดูคะแนนสอบท้องถิ่น64

สรุปผู้สอบผ่านท้องถิ่น 2564
มาสอบ 281,968 คน ขาดสอบ 216,751 คน
สอบภาค ก.ผ่าน 21,900 กว่าคน
สอบภาค ข.ผ่าน 72,900 กว่าคน
สอบผ่านทั้ง 2 ภาค 18,874 คน ได้ไปต่อ = 6.71%
จำนวนผู้สอบผ่าน ภาค ก ข เพื่อมีสิทธิ์สอบภาค ค แยกเป็นรายภาค ดังนี้
ภาคเหนือ เขต 1 = 1,040 คน
ภาคเหนือ เขต 2 = 1,577 คน
ภาคกลาง เขต 1 = 1,731 คน
ภาคกลาง เขต 2 = 2,011 คน
ภาคกลาง เขต 3 = 1,485 คน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 = 2,234 คน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 = 1,556 คน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 = 2,486 คน
ภาคใต้ เขต 1 = 2,065 คน
ภาคใต้ เขต 2 = 2,689 คน
รวม 18,874 คน

สำหรับวิธีตรวจรายชื่อ สอบท้องถิ่น 2564 ผลการสอบ ดูรายชื่อสอบผ่านท้องถิ่น64 ประกาศวันที่ 10 ม.ค. 2565 ทำได้ด้วยการเข้าดูคะแนนการสอบเฉพาะของตนเองระหว่างวันที่ 10 มกราคม 2565 ได้ทางเว็บไซต์ https://dlaapplicant2564.com หัวข้อ “ตรวจผลคะแนนการสอบ” โดยกรอกรหัสเลขประจำตัวประชาชน และรหัสเลขประจำตัวการสอบ แล้วระบบจะแจ้งผลคะแนนการสอบให้ทราบทันที

ดังภาพที่แสดงวิธีตรวจรายชื่อ สอบท้องถิ่น 2564 ผลการสอบท้องถิ่น 2564 ดูรายชื่อสอบผ่านท้องถิ่น64

วิธีตรวจรายชื่อ สอบท้องถิ่น 2564 ผลการสอบท้องถิ่น 64 10 ม.ค. 2564

สำหรับขั้นตอนการดูรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียน แบบละเอียดทางเว็บไซต์จะมาเพิ่มเติมให้อีกครั้งหลังระบบเปิดให้ดูผลคะแนนอย่างเป็นทางการนะครับ

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ประกาศผลสอบท้องถิ่น 2564 วันไหน หาคำตอบ วันประกาศผลสอบ ท้องถิ่น64 ได้ที่นี่

ประกาศคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง ผลการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข)

เว็บไซต์ประกาศผลสอบท้องถิ่น ภาค ค ปี 2564 หรือผลสอบท้องถิ่น 64 :https://www.dlaapplicant2564.com/

ก. กําหนดวัน เวลาและสถานที่สอบ
1. ให้ผู้สมัครสอบเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข) ในวันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2564 ตามเวลา ดังนี้
– เวลา 09.00 – 11.00 น. สอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
– เวลา 13.00 – 15.30 น. สอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข)
โดยผู้ที่สมัครสอบในกลุ่มภาค/เขตใด จะต้องเข้าสอบ ณ สถานที่สอบตามเอกสารแนบท้าย ประกาศนี้ (กรณีเป็นสถานที่สอบที่ตั้งอยู่นอกเขตอําเภอเมือง ผู้เข้าสอบควรไปดูสถานที่สอบก่อนวันสอบ 1 วัน)

2. ให้ผู้สมัครสอบไปถึงสถานที่สอบก่อนเริ่มสอบไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อเข้ารับ การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าบริเวณสถานที่สอบ โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของสถานที่สอบ หากผลการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายมีค่าเกิน 37.5 องศาเซลเซียส แต่มีผลการตรวจ ATK เป็นลบ จะต้องเข้าสอบ ในห้องสอบที่แยกไว้เป็นการเฉพาะ และต้องปฏิบัติตามแนวทางอื่น ๆ ที่กําหนดอย่างเคร่งครัด

3. ให้ผู้สมัครสอบเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข) ก่อน ถ้าผู้ใดสอบได้คะแนนในแต่ละภาคไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง (ภาค ค) สําหรับวัน เวลา และสถานที่สอบ ภาคความเหมาะสม กับตําแหน่ง (ภาค ค) จะประกาศให้ทราบในภายหลัง ทางเว็บไซต์ http://www.dlaapplicant2564.com หัวข้อ “ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ ภาค ค หรือ ผลสอบท้องถิ่น 64”

ประกาศผลสอบแล้ว

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคเหนือ เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  เชียงใหม่  น่าน  พะเยา  แพร่  แม่ฮ่องสอน  ลำปาง  ลำพูน <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 1-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 1-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคเหนือ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กำแพงเพชร  ตาก  นครสวรรค์  พิจิตร  พิษณุโลก  เพชรบูรณ์  สุโขทัย  อุตรดิตถ์  อุทัยธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 2-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 2-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ2-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคกลาง เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  ชัยนาท  นนทบุรี  ปทุมธานี  พระนครศรีอยุธยา  ลพบุรี  สระบุรี  สิงห์บุรี  อ่างทอง <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง1-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง1-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง1-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคกลาง เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  จันทบุรี  ฉะเชิงเทรา  ชลบุรี  ตราด  นครนายก  ปราจีนบุรี  ระยอง  สมุทรปราการ  สระแก้ว <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง2-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง2-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง2-3

เรื่องราวที่น่าสนใจ : เว็บไซต์ ประกาศรับสมัคร สอบท้องถิ่น 2564 คลิกสมัคร

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคกลาง เขต 3 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กาญจนบุรี  นครปฐม  ประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี  ราชบุรี  สมุทรสงคราม  สมุทรสาคร  สุพรรณบุรี<คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง3-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง3-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง3-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยกาฬสินธุ์  ขอนแก่น  ชัยภูมิ  นครราชสีมา  บุรีรัมย์  มหาสารคาม <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 1-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 1-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 1-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยมุกดาหาร  ยโสธร  ร้อยเอ็ด  ศรีสะเกษ  สุรินทร์  อำนาจเจริญ  อุบลราชธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น>

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 2-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 2-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 2-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยนครพนม  บึงกาฬ  เลย  สกลนคร  หนองคาย  หนองบัวลำภู  อุดรธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 3-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 3-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 3-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคใต้ เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กระบี่  ชุมพร  นครศรีธรรมราช  พังงา  ภูเก็ต  ระนอง  สุราษฎร์ธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้1-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้1-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้1-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคใต้ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย   ตรัง  นราธิวาส  ปัตตานี  พัทลุง  ยะลา  สงขลา  สตูล<คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้2-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้2-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้2-3

ท่านสามารถเข้าตรวจผลการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2564 ผลสอบท้องถิ่น 64ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

เว็บไซต์ประกาศผลสอบท้องถิ่น ภาค ค ปี 2564  :https://www.dlaapplicant2564.com/

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ประกาศ สำนักงาน ก.พ. เรื่อง กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ประกาศผลสอบท้องถิ่น 2564 วันไหน หาคำตอบ วันประกาศผลสอบ ท้องถิ่น64 ได้ที่นี่

วิธีดูคะแนน สอบท้องถิ่น 2564 ผลคะแนนสอบ ดูคะแนนสอบท้องถิ่น64

ป็นเรื่องราวที่หลายท่านกำลังตามหาว่าจะมีวิธีดูผลคะแนนอย่างไร วันนี้เว็บไซต์ครูอัพเตดอทคอมมีเรื่องราวเกี่ยวกับเว็บไซต์ประกาศผลสอบท้องถิ่น ภาค ค ปี 2564 สำหรับการประกาศผลสอบสอบท้องถิ่น ที่ได้มีการทดสอบไปแล้วเมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมาตามประกาศของคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ซึ่งในวันสอบดังกล่าวได้มีการกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ คือ วันสอบเป็นวันที่ 12 ธันวาคม 2564 และแบ่งสถานที่สอบดังนี้ กลุ่มภาคเหนือจำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มภาคกลางจำนวน 3 กลุ่ม  กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 3 กลุ่ม และกลุ่มภาคใต้ จำนวน 2 กลุ่ม

วิธีดูคะแนน สอบท้องถิ่น 2564 ผลคะแนนสอบ ดูคะแนนสอบท้องถิ่น64

สำหรับหลักเกณฑ์และวิธีดูคะแนน สอบท้องถิ่น 2564 ผลคะแนนสอบ ดูคะแนนสอบท้องถิ่น64 ทำได้ด้วยการเข้าดูคะแนนการสอบเฉพาะของตนเองระหว่างวันที่ 10 มกราคม 2565 ได้ทางเว็บไซต์ https://dlaapplicant2564.com หัวข้อ “ตรวจผลคะแนนการสอบ” โดยกรอกรหัสเลขประจำตัวประชาชน และรหัสเลขประจำตัวการสอบ แล้วระบบจะแจ้งผลคะแนนการสอบให้ทราบทันที

ดังภาพที่แสดงวิธีการดูผลคะแนนสอบท้องถิ่น สอบปี 2564 วิธีดูผลคะแนนท้องถิ่น ประกาศผล พ.ศ. 2565

ดูผลคะแนนสอบท้องถิ่น-2564-วิธีดูผลคะแนนท้องถิ่น 2565

 

สำหรับขั้นตอนการดูคะแนนสอบท้องถิ่น แบบละเอียดทางเว็บไซต์จะมาเพิ่มเติมให้อีกครั้งหลังระบบเปิดให้ดูผลคะแนนอย่างเป็นทางการนะครับ

เรื่องราวที่น่าสนใจ :: วิธีตรวจรายชื่อ สอบท้องถิ่น 2564 ผลการสอบท้องถิ่น 64 ประกาศผล 10 ม.ค. 2565

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ประกาศผลสอบท้องถิ่น 2564 วันไหน หาคำตอบ วันประกาศผลสอบ ท้องถิ่น64 ได้ที่นี่

ประกาศคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง ผลการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข)

เว็บไซต์ประกาศผลสอบท้องถิ่น ภาค ค ปี 2564 หรือผลสอบท้องถิ่น 64 :https://www.dlaapplicant2564.com/

ก. กําหนดวัน เวลาและสถานที่สอบ
1. ให้ผู้สมัครสอบเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข) ในวันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2564 ตามเวลา ดังนี้
– เวลา 09.00 – 11.00 น. สอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
– เวลา 13.00 – 15.30 น. สอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข)
โดยผู้ที่สมัครสอบในกลุ่มภาค/เขตใด จะต้องเข้าสอบ ณ สถานที่สอบตามเอกสารแนบท้าย ประกาศนี้ (กรณีเป็นสถานที่สอบที่ตั้งอยู่นอกเขตอําเภอเมือง ผู้เข้าสอบควรไปดูสถานที่สอบก่อนวันสอบ 1 วัน)

2. ให้ผู้สมัครสอบไปถึงสถานที่สอบก่อนเริ่มสอบไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อเข้ารับ การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าบริเวณสถานที่สอบ โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของสถานที่สอบ หากผลการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายมีค่าเกิน 37.5 องศาเซลเซียส แต่มีผลการตรวจ ATK เป็นลบ จะต้องเข้าสอบ ในห้องสอบที่แยกไว้เป็นการเฉพาะ และต้องปฏิบัติตามแนวทางอื่น ๆ ที่กําหนดอย่างเคร่งครัด

3. ให้ผู้สมัครสอบเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข) ก่อน ถ้าผู้ใดสอบได้คะแนนในแต่ละภาคไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง (ภาค ค) สําหรับวัน เวลา และสถานที่สอบ ภาคความเหมาะสม กับตําแหน่ง (ภาค ค) จะประกาศให้ทราบในภายหลัง ทางเว็บไซต์ http://www.dlaapplicant2564.com หัวข้อ “ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ ภาค ค หรือ ผลสอบท้องถิ่น 64”

ประกาศผลสอบแล้ว

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคเหนือ เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  เชียงใหม่  น่าน  พะเยา  แพร่  แม่ฮ่องสอน  ลำปาง  ลำพูน <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 1-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 1-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคเหนือ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กำแพงเพชร  ตาก  นครสวรรค์  พิจิตร  พิษณุโลก  เพชรบูรณ์  สุโขทัย  อุตรดิตถ์  อุทัยธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 2-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 2-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ2-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคกลาง เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  ชัยนาท  นนทบุรี  ปทุมธานี  พระนครศรีอยุธยา  ลพบุรี  สระบุรี  สิงห์บุรี  อ่างทอง <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง1-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง1-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง1-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคกลาง เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  จันทบุรี  ฉะเชิงเทรา  ชลบุรี  ตราด  นครนายก  ปราจีนบุรี  ระยอง  สมุทรปราการ  สระแก้ว <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง2-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง2-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง2-3

เรื่องราวที่น่าสนใจ : เว็บไซต์ ประกาศรับสมัคร สอบท้องถิ่น 2564 คลิกสมัคร

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคกลาง เขต 3 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กาญจนบุรี  นครปฐม  ประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี  ราชบุรี  สมุทรสงคราม  สมุทรสาคร  สุพรรณบุรี<คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง3-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง3-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง3-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยกาฬสินธุ์  ขอนแก่น  ชัยภูมิ  นครราชสีมา  บุรีรัมย์  มหาสารคาม <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 1-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 1-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 1-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยมุกดาหาร  ยโสธร  ร้อยเอ็ด  ศรีสะเกษ  สุรินทร์  อำนาจเจริญ  อุบลราชธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น>

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 2-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 2-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 2-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยนครพนม  บึงกาฬ  เลย  สกลนคร  หนองคาย  หนองบัวลำภู  อุดรธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 3-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 3-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 3-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคใต้ เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กระบี่  ชุมพร  นครศรีธรรมราช  พังงา  ภูเก็ต  ระนอง  สุราษฎร์ธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น>

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้1-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้1-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้1-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564 : กลุ่มภาคใต้ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย   ตรัง  นราธิวาส  ปัตตานี  พัทลุง  ยะลา  สงขลา  สตูล<คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้2-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้2-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้2-3

ท่านสามารถเข้าตรวจผลการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2564 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หรือ เว็บไซต์ ประกาศผลสอบท้องถิ่น ภาค ค ปี 2564 เว็บไซต์ประกาศผลสอบท้องถิ่น ภาค ค ปี 2564 :https://www.dlaapplicant2564.com/

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ประกาศผลสอบท้องถิ่น 2564 วันไหน หาคำตอบ วันประกาศผลสอบ ท้องถิ่น64 ได้ที่นี่

ครูไม่พานักเรียนไปทัศนศึกษาในวันหยุด : ต้องยื่นใบลาหรือไม่ ?

0

ครูไม่พานักเรียนไปทัศนศึกษาในวันหยุด : ต้องยื่นใบลาหรือไม่ ?

ครูไม่พานักเรียนไปทัศนศึกษาในวันหยุด : ต้องยื่นใบลาหรือไม่ ?

วันนี้ ครูอัพเดท ขอยกเรื่องราวที่เป็นอุทาหรณ์ จากคดีของศาลปกครอง มาให้ลองอ่านดูครับ…

ครูไม่พานักเรียนไปทัศนศึกษาในวันหยุด : ต้องยื่นใบลาหรือไม่ ?
ข้าราชการ นับว่าเป็นอาชีพหนึ่งที่มีความมั่นคง จึงมีผู้ให้ความสนใจในการสมัครสอบแข่งขัน เพื่อเข้ารับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการจํานวนมาก โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา สํานักงาน ก.พ. ได้รายงานสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานในราชการพลเรือนว่ามีผู้สนใจสมัครสอบ จํานวน กว่า 500,000 คน
เมื่อได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการแล้ว สิ่งสําคัญสําหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ก็คือ ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกําลังความสามารถ และคํานึงถึงประโยชน์ของราชการเป็นที่ตั้ง รวมทั้งต้องประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบวินัย และเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
สําหรับสาระน่ารู้จากคดีปกครองในวันนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ข้าราชการซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในวันหยุดราชการ แต่ข้าราชการ คนดังกล่าวมีความจําเป็นที่ไม่อาจไปปฏิบัติหน้าที่ได้ ข้าราชการผู้นั้น ต้องยื่นใบลาหรือไม่

ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการครู ได้รับคําสั่งจากผู้อํานวยการโรงเรียน แต่งตั้งให้เป็นคณะครูในการควบคุมดูแลนักเรียนไปทัศนศึกษาในวันเด็กแห่งชาติที่ต่างจังหวัด ในระหว่าง วันศุกร์ที่ 13 ถึงวันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม ซึ่งวันเสาร์ที่ 14 และวันอาทิตย์ที่ 15 นั้น เป็นวันหยุดราชการตามปกติ แต่เนื่องจากผู้ฟ้องคดีมีกิจธุระส่วนตัวที่จะต้องดูแลบิดาที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง จึงได้มีหนังสือขออนุญาต ไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งดังกล่าว โดยขอรับผิดชอบดูแลกิจกรรมอื่นทดแทน ซึ่งผู้อํานวยการโรงเรียน ได้มีคําสั่งท้ายหนังสือขออนุญาตของผู้ฟ้องคดีว่า “ทราบ ให้ลากิจ” ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นใบลากิจส่วนตัว ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 14 ถึงวันอาทิตย์ที่ 15 มีกําหนด 2 วัน ซึ่งผู้อํานวยการโรงเรียนก็ได้อนุญาตตามคําขอ

ต่อมา ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องทุกข์กรณีดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฯ เขต 2 (อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาฯ) เพื่อขอให้เพิกถอนคําสั่งที่ให้ผู้ฟ้องคดีลากิจ เนื่องจากเห็นว่าเป็นคําสั่งที่มีผลกระทบกับวันลากิจของผู้ฟ้องคดี ในการพิจารณาความดีความชอบ ซึ่งอกค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาฯ พิจารณาแล้วมีมติให้ยกคําร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า คําสั่งของผู้อํานวยการโรงเรียนที่ให้ผู้ฟ้องคดีลากิจและมติของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาฯ ที่ให้ยกคําร้องทุกข์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากในวันศุกร์ที่ 13 ผู้ฟ้องคดีได้มา ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามปกติ ส่วนในวันเสาร์ที่ 14 และวันอาทิตย์ที่ 15 เป็นวันหยุดราชการอยู่แล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงนําคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ขอให้ศาลมีคําพิพากษาเพิกถอนคําสั่งและมติดังกล่าว
คดีมีประเด็นที่พิจารณา ดังนี้

ประเด็นแรก… ผู้อํานวยการโรงเรียนออกคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติหน้าที่ดูแล นักเรียนที่ไปทัศนศึกษาในวันหยุดราชการได้หรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ. 2548 ข้อ 4 ได้กําหนดคํานิยามของคําว่า “การพานักเรียนและนักศึกษา ไปนอกสถานศึกษา” หมายความว่า การที่ครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษาพานักเรียนและนักศึกษา ไปทํากิจกรรมการเรียนการสอนนอกสถานศึกษาตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งอาจไปเวลาเปิดทําการสอน หรือไม่ก็ได้ และข้อ 11 กําหนดว่า ให้ถือว่าครู อาจารย์ หรือผู้ควบคุมนักเรียนและนักศึกษา ไปปฏิบัติ หน้าที่ราชการและให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้

เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้อํานวยการโรงเรียน (ผู้ถูกฟ้องคดี) จัดโครงการพานักเรียน ไปทัศนศึกษาเนื่องในวันเด็กแห่งชาติที่จังหวัดเพชรบุรีโดยชอบตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษาฯ และได้มีคําสั่งแต่งตั้งคณะครูให้ปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุม กํากับ ดูแลนักเรียนไปทัศนศึกษา โดยผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับคําสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวด้วย ซึ่งการพานักเรียน ไปทัศนศึกษานั้น ถือเป็นการพานักเรียนไปทํากิจกรรมการเรียนการสอนนอกสถานศึกษาตั้งแต่สองคนขึ้นไป กรณีจึงอาจไปในเวลาเปิดทําการสอนหรือไปนอกเวลาเปิดทําการสอนตามปกติก็ได้ตามข้อ 4 ของระเบียบดังกล่าว
ดังนั้น ผู้อํานวยการโรงเรียนในฐานะผู้บังคับบัญชาจึงมีอํานาจออกคําสั่งแต่งตั้งผู้ฟ้องคดี ให้ปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุม กํากับ ดูแลนักเรียนไปทัศนศึกษาในวันหยุดราชการได้

ประเด็นพิจารณาต่อมา…. การที่ผู้ฟ้องคดีไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ในวันหยุดราชการ เนื่องจากมีเหตุผลความจําเป็นส่วนตัว ซึ่งผู้อํานวยการโรงเรียนเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควร จึงสั่งให้ผู้ฟ้องคดียื่นใบลากิจนั้น เป็นการกระทําที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
ศาลท่านเห็นว่า เมื่อผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ที่ได้รับคําสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุม กํากับ ดูแล นักเรียนไปทัศนศึกษาวันเด็กแห่งชาติ และแม้ว่าในวันที่ 14 และวันที่ 15 มกราคม จะเป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการตามปกติ แต่การพานักเรียนไปทัศนศึกษาดังกล่าวถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และเป็นช่วงเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้ฟ้องคดีและคณะครูผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ตามคําสั่งของผู้อํานวยการโรงเรียน ตามข้อ 11 ของระเบียบเดียวกัน ซึ่งหากผู้ฟ้องคดีไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามคําสั่งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและไม่ได้รับอนุญาตให้ลาตามระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535 ผู้ฟ้องคดีก็อาจมีความผิดทางวินัยได้

การที่ผู้ฟ้องคดีอ้างเหตุจําเป็นที่จะต้องดูแลบิดาที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ไม่สามารถเดินทาง ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายได้ จึงมีหนังสือขออนุญาตที่จะไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ได้รับมอบหมาย ซึ่งผู้อํานวยการโรงเรียนได้แจ้งให้ผู้ฟ้องคดียื่นใบลากิจตามระเบียบราชการและได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าผู้ฟ้องคดีมีเหตุผลอันสมควรจริงและมีคําสั่งอนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีลากิจส่วนตัวได้ จึงเป็นการปฏิบัติตาม ข้อ 19 วรรคหนึ่ง ของระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535 (ใช้บังคับแก่ข้าราชการครูอยู่ในขณะ เกิดข้อพิพาท ซึ่งปัจจุบันคือ ข้อ 21 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555) แล้ว
ดังนั้น การที่ผู้อํานวยการโรงเรียนสั่งให้ผู้ฟ้องคดียื่นใบลากิจส่วนตัวและมีคําสั่งอนุญาตให้ ผู้ฟ้องคดีลากิจ จึงเป็นการกระทําที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว (คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 77/2563)

บทสรุปที่ได้จากคดีดังกล่าว
1. การที่ข้าราชการครูได้รับมอบหมายให้พานักเรียนไปทัศนศึกษา ถือเป็นการพานักเรียนไป ทํากิจกรรมการเรียนการสอนนอกสถานศึกษา ซึ่งอาจไปในเวลาเรียนปกติหรือไปในวันหยุดก็ได้ และถือว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการของครูผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

2. กรณีข้าราชการครูซึ่งไม่อาจไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในวันหยุดราชการตามที่ได้รับ มอบหมายได้ จะต้องยื่นใบลาตามระเบียบราชการ และจะต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในวันดังกล่าวได้

3. หากข้าราชการครูไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายในวันหยุดราชการ และผู้บังคับบัญชาไม่อนุญาตให้ลาหรือเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร อาจถูกดําเนินการทางวินัยฐานขัดขึ้น หรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามนัยมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ได้

เรื่องนี้ นับว่าเป็นประโยชน์แก่ข้าราชการทั่วไปไม่เพียงแต่ข้าราชการครู ซึ่งอาจได้รับมอบหมาย ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในวันหยุดราชการตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้จะต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเสียก่อน โดยต้องยื่นใบลา ตามระเบียบของทางราชการ เว้นแต่มีเหตุจําเป็นที่ไม่สามารถรอรับอนุญาตได้ทัน จะเสนอหรือจัดส่งใบลา พร้อมด้วยระบุเหตุจําเป็นไว้ แล้วหยุดราชการไปก่อนก็ได้ แต่จะต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้มีอํานาจอนุญาตทราบ โดยเร็ว ทั้งนี้ ตามข้อ 21 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555

ขอบขอบคุณเนื้อหาจาก ศาลปกครอง เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง
เรื่องราวเพิ่มเติม คู่มือการลา การได้รับเงินเดือน และการเลื่อนเงินเดือนระหว่างลา สำหรับข้าราชการ

การเขียนโครงการเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมตามตัวชี้วัดที่ 3 ในหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ สายงานบริหารสถานศึกษา (ว10/2564)

ดร.รัชศักดิ์  แก้วมาลา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองช้าง สพป.อุบลราชธานี เขต 1

การเขียนโครงการเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมตามตัวชี้วัดที่-300

 บทนำ

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ สายงานบริหารสถานศึกษา (ว10/2564) ด้าน 3 บริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีกิจกรรมดังนี้
1) กำหนดนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาร่วมกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย

2) นำนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาไปปฏิบัติ ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ และติดตาม

3) สร้างหรือนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา และผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุน

4) สร้างการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรม ในสถานศึกษา

ฉะนั้น ในตัวชี้วัดนี้ผู้เขียนพยายามศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์หลักวิชาการการบริหารกลยุทธ์ เพื่อมาออกแบบกระบวนการบริหารโดยเชื่อมโยงบูรณาการแนวคิดสำคัญๆ ที่โรงเรียนจำเป็นต้องนำมาใช้ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ดังแผนภาพ

การเขียนโครงการเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมตามตัวชี้วัดที่ 3 ในหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ สายงานบริหารสถานศึกษา (ว10/2564)

การวางแผนกลยุทธ์ระดับแผนงาน (Program)

          ขั้นที่ ๑. ทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์

          โรงเรียน เป็นองค์กรสาธารณะที่มิใช่การแสวงหากำไร ดำเนินกิจการเพื่อสาธารณะ จึงมีภารกิจที่กำหนดไว้แล้วใน กฎหมาย และนโยบายต่างๆ นำมากำหนดเป็นเป้าหมายในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้ โดยยึดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เป็นเป้าหมายหลัก และแปลงเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา

          ขั้นที่ ๒. ปรับแผนการเรียนให้สอดคล้องกับสถานการณ์

             เมื่อสถานการณ์วิกฤติจากโรคระบาดไวรัสโคโรน่า -19 ในครั้งนี้ ทำให้เกิดวิกฤติด้านอื่นๆ ตามมา  รวมถึงผลของการจัดการศึกษาของประเทศด้วย เนื่องจากไม่สามารถจัดการเรียนในโรงเรียนได้ ในเมื่อสถานภาพของสถานศึกษาที่กำหนดกำหนดในพระราชบัญญัติระเบียบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 35 ให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จึงมีอำนาจระดับหนึ่งในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยนำรูปแบบการจัดการศึกษา 3 ประเภท ได้แก่ การศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย มาบูรณาการให้เข้ากับการจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551, 2560 และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 กำหนดแผนการเรียนของโรงเรียนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ดังภาพ

การเขียนโครงการเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมตามตัวชี้วัดที่ 3 ในหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ สายงานบริหารสถานศึกษา (ว10/2564)

ขั้นที่ ๓. การออกแบบโครงการ/กิจกรรม ตามแผนงบประมาณ และโครงสร้างการบริหาร และบูรณาการชุดโครงการเข้ากับผลลัพธ์การบริหารสถานศึกษา เป็นแผนงาน หรือชุดโครงการต่างๆ ที่มุ่งให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังตัวอย่าง

          แผนงานเชิงบูรณาการ ๑ มุ่งให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะอาชีพ ประกอบด้วย โครงการอาหารกลางวันและการพัฒนาสุขบัญญัติ   โครงการส่งเสริมผลผลิตเพื่ออาหารกลางวัน โครงการพัฒนาทักษะทางอาชีพ หรือโครงการสหกรณ์นักเรียนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          แผนงานเชิงบูรณาการ ๒ มุ่งให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะการทำงาน ประกอบด้วย โครงการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ฯ วPA  โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณและการพัสดุ โครงการการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์  โครงการการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานและการบริหารงาน โครงการการปรับปรุงอาคารเรียน และอาคารประกอบ โครงการการปรับปรุงการใช้บริเวณให้เอื้อต่อการเรียนรู้

          แผนงานเชิงบูรณาการ ๓ มุ่งให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะการแสวงหาความรู้ ประกอบด้วยโครงการพัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ตามแผนการเรียนของสถานศึกษา โครงการอ่านออก เขียนได้ และอ่านรู้เรื่อง โครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ผู้มีความจำเป็นพิเศษ  โครงการเพิ่มทักษะทางวิชาการในสถานการณ์โควิด-19

          แผนงานเชิงบูรณาการ ๔ มุ่งให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะการสื่อสารและการคิดขั้นสูง ประกอบด้วย โครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน โครงการพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โครงการพัฒนาความสามารถทางภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร โครงการพัฒนาสมรรรถนะดิจิตัลเพื่อการเรียนรู้ โครงการพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)

          แผนงานเชิงบูรณาการ ๕ มุ่งให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะชีวิต ประกอบด้วย โครงการและทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้(ให้นักเรียนไปภายในจังหวัด) โครงการพัฒนาส่งเสริมสุขอนามัยและทักษะการกีฬา โครงการพัฒนาทักษะทางการดนตรี ศิลปะ โครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา/โครงการคุณธรรม สพฐ. หรือ โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

          ซึ่งแผนงานเชิงบูรณาการข้างต้น เป็นการใช้แนวคิดการทำงานแบบบูรณาการ ดังแผนภาพ

การเขียนโครงการเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมตามตัวชี้วัดที่ 3 ในหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ สายงานบริหารสถานศึกษา (ว10/2564)

การวางแผนกลยุทธ์ระดับ โครงการ (Project)

ขั้น ๑ ร่างแนวคิด แต่ละโครงการ เป็นการทบทวนวิธีคิด วิธีการทำงานตามโครงการเดิมที่เคยทำ ตรวจสอบสภาพปัจจุบัน ปัญหา ข้อมูลผลผลิตของโครงการที่ยังไม่บรรลุเท่าที่คาดหวัง วิเคราะห์หาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยเป็นแนวคิดและประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในกระบวนการพัฒนานวัตกรรม จึงนิยมให้เขียนด้วยลายมือตามร่างที่แนบมา ทุกคน ทุกโครงการ กำหนดส่ง ไม่เกิน ๕ มกราคม ๒๕๖๕

ขั้น๒ ปรึกษาหารือ/แลกเปลี่ยนกันในทีมชุด เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่ตนเองรับผิดชอบกับคณะทำงานเชิงบูรณาการทีมีโครงการลักษณะใกล้เคียงกัน โดยมีจุดเน้นเชิงนวัตกรรมเดียวกัน เช่น

ขั้น๓ นำเสนอผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อรับฟังคำชี้แนะเพิ่มเติม หลังจากที่เขียนร่างแนวคิดแต่ละโครงการเสร็จ เพื่อรับฟังแนวทาง/แนวคิด/แนวนโยบาย หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ขั้น๔ จัดทำรายละเอียดโครงการ นำข้อความที่ผ่านการปรึกษาหารือจากทุกฝ่าย มาหลอมรวมเป็นรายละเอียดโครงการ เพื่อให้แนวคิดเชิงนวัตกรรม นำไปจัดพิมพ์รายละเอีย เพื่อทดแทนรายละเอียดโครงการเดิมที่มีอยู่

ขั้น๕ จัดทำไฟล์นำเสนอ (Power point) ย่อเนื้อหาสรุป เพื่อเตรียมนำเสนอ เก็บข้อมูลการดำเนินโครงการ และสรุปผลโครงการ ในลำดับต่อไป 

แนวทางการเขียนรายละเอียดโครงการ

  1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) ของโครงการ
สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน สภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรียน
(จุดแข็ง)

 

(โอกาส)
(จุดอ่อน)

 

(อุปสรรค)

 

          ก่อนดำเนินการใดๆ ก็จะต้องวิเคราะห์ที่มา เหตุผล ความจำเป็น วิธีวิเคราะห์ที่ได้รับความนิยม เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ ว่าเป็นการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

          สภาพแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อม มี 2 ประเภท คือ สภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอก  โดยปกติ หากเป็นองค์กรทางธุรกิจ ที่มีเป้าหมายในการแสวงหากำไร ก็จะเริ่มต้นที่การวิเคราะห์ SWOT นี่ล่ะ แต่เมื่อ โรงเรียน เป็นองค์กรที่มิใช่การแสวงหากำไร แต่เป็นองค์กรสาธารณะ ที่ดำเนินกิจการเพื่อสาธารณะ จึงมีภารกิจที่กำหนดไว้แล้วใน กฎหมาย และนโยบายต่างๆ การวิเคราะห์ SWOT จึงมิได้ทำในชั้นตอนแรก

          สภาพแวดล้อมภายใน หมายถึง สิ่งที่มีผลต่อโครงการ โดยอยู่ภายในองค์กร หรือภายในโรงเรียน อาจจะหมายถึง คน (Man) เงิน (Money) วัสดุ (Material) การจัดการ (Management) ก็ได้  ในทางวิชาการ การเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายใน จะใช้ มิติ 2S 4M ได้แก่ ด้านโครงสร้างและนโยบาย (S1) ด้านผลผลิตและการบริการ (S2)  ด้านบุคลากร (M1) ด้านการเงิน (M2) ด้านวัสดุอุปกรณ์ (M3) ด้านการบริหารจัดการ (M4)

          สภาพแวดล้อมภายนอก หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโรงเรียน แต่มีผลต่อการดำเนินโครงการ เช่น นโยบาย กฎหมาย หน่วยงานทางราชการ ชุมชน ผู้ปกครอง เป็นต้น ในทางวิชาการ การเคราะห์สภาวะแวดล้อม ภายนอก จะใช้มิติ STEP ได้แก่  ด้านสังคมวัฒนธรรม (S) ด้านเทคโนโลยี (T) ด้านเศรษฐกิจ (E) ด้านการเมืองและกฏหมาย (P)

          ทิศทางผลกระทบของสภาพแวดล้อมภายใน มี 2 ลักษณะ ได้แก่ เป็น จุุดแข็ง (+) หรือ เป็น จุดอ่อน (-) ทิศทางผลกระทบของสภาพแวดล้อมภายนอก มี 2 ลักษณะ ได้แก่ เป็นโอกาส (+) หรือ เป็น อุปสรรค (-) ความแตกต่างระหว่าง สภาพแวดล้อมภายนอก และภายใน ก็คือ สภาพแวดล้อมภายนอกนั้น ไม่อาจจะไปแก้ไขด้วยตนเองได้ เช่น นโยบาย หรือกฎหมายที่หน่วยเหนือกำหนด โรงเรียนไม่อาจจะไปเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนสภาพแวดล้อมภายใน สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลงได้

          จุุดแข็ง (+) หรือ จุดอ่อน (-) ของสภาพแวดล้อมภายใน อาจจะพิจารณาจากองค์ประกอบของระบบ เช่น Hardware (วัสดุอุปกรณ์), Solfware (ระบบ วิธีการปฏิบัติ), Peopleware (จำนวนคนที่ใช้ในโครงการ), Network (เครือข่าย/ผู้ที่เกี่ยวข้อง) หรือพิจารณาจาก คน (Man) เงิน (Money), วัสดุ (Material) การจัดการ (Management) ก็ได้

          การวิเคราะห์ SWOT เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างกลยุทธ์และนวัตกรรม ตามตัวชี้วัด PA ข้อ 3.1 หาก การวิเคราะห์ SWOT ได้ตรงตามความเป็นจริง ระบุข้อมูล ข้อเท็จจริง มิใช่ข้อคิดเห็นและความรู้สึก ก็จะทำให้โรงเรียนสามารถออกแบบกลยุทธ์และนวัตกรรมได้ อย่างน่าเชื่อถือ หากเราฝึกเทคนิควิเคราะห์ SWOT สม่ำเสมอ เราก็สามารถนำไปใช้ได้ทุกเรื่อง แม้ในชีวิตจริง หรือ ดำเนินธุรกิจ

  1. กลยุทธ์ และกรอบแนวคิดของโครงการ
         กลยุทธ์
 – สร้างจุดแข็ง
 – ขจัดจุดอ่อน
 – เพิ่มโอกาส
 – ลดข้อจำกัด
กรอบแนวคิดในการพัฒนา หรือนวัตกรรมการบริหาร
  – Hardware วัสดุอุปกรณ์
  – Solfware ระบบ วิธีการปฏิบัติ
  – Peopleware จำนวนคนที่ใช้ในโครงการ
  – Network -เครือข่าย/ผู้ที่เกี่ยวข้อง

 

          เมื่อสามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน/ภายนอกตามข้อมูลสารสนเทศที่เป็นจริง หรือเชื่อถือได้แล้ว ก็สามารถออกแบบกลยุทธ์ หรือเลือกกลยุทธ์ที่มาจากสภาพแวดล้อมภายใน (จุดแข็ง, จุดอ่อน) หรือเลือกกลยุทธ์ที่มาจากสภาพแวดล้อมภายนอก  (โอกาส, ข้อจำกัด) ได้ในหลายกรณี เช่น

          กรณีที่ 1 ภายในมีจุดแข็ง เป็นบวก (+) และ ภายนอก มีโอกาส เป็นบวก (+)  เรียกสภาวะเช่นนี้ว่า Quest  Pattern Interactive (โอกาสและจุดแข็ง) หรือ S+O = Matching approach ใช้ยุทธศาสตร์ ประเภท “ผนึกกำลัง” ที่เน้นการใช้จุดแข็ง เพื่อเปิดโอกาสใหม่การแข่งขันขององค์กร เป็นยุทธศาสตร์ “ประเภท ลุย เร่งขยาย”

          กรณีที่ 2 ภายในมีจุดอ่อน เป็นลบ (-) และ ภายนอก มีอุปสรรค เป็นลบ (-)  สภาวะเช่นนี้ว่า Parley Pattern (จุดอ่อน และข้อจำกัด) หรือ W+T = Mitigation approach ใช้ยุทธศาสตร์ ประเภท “บรรเทา” หาทางผ่านพ้นจุดอ่อน และหลีกเลี่ยงภาวะคุกคามที่บดบังวัตถุประสงค์ขององค์กร เป็นยุทธศาสตร์ “ประเภทลด เลิก โอนย้าย”

          กรณีที่ 3 ภายในมีจุดแข็ง เป็นบวก (+) และ ภายนอก มีอุปสรรค เป็นลบ (-) สภาวะเช่นนี้ว่า  SAGA Pattern reactive (จุดแข็งและข้อจำกัด)  หรือ S+E = Covering approach ใช้ยุทธศาสตร์ ประเภท “โอบล้อม” อาศัยจุดแข็งต้าน และตรึงภาวะคุกคามที่มีต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร เป็นยุทธศาสตร์ “ประเภทไม่เสี่ยง รักษาสถานภาพ”

          กรณีที่ 4 ภายในมีจุดอ่อน เป็นลบ (-) และ ภายนอก มีโอกาสเป็นบวก (+)   เรียกสภาวะเช่นนี้ว่า Venture Parttern Preactive (โอกาสและจุดอ่อน )  หรือ W+O = set approach ใช้ยุทธศาสตร์ ประเภท “ทดแทน” แก้ไขจุดอ่อน เพื่อใช้โอกาสที่มีอยู่ขององค์กร (เสริมจุดแข็ง ใช้โอกาส แก้ไขจุดอ่อน  ป้องกันอุปสรรค) เป็นยุทธศาสตร์ “ประเภทลองเสี่ยง ปรับปรุง”

          เมื่อออกแบบกลยุทธ์ทั้ง 4 ประเภทได้แล้ว จึงมาสร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนา หรือนวัตกรรมการบริหาร ว่าจะทำอย่างไร อาจจะใช้องค์ประกอบทั้ง 4 ประการนี้ เป็นกรอบในการพิจารณาเพื่อให้วิธีการในการแก้ปัญหาหรือพัฒนานั้น สามารถแก้ปัญหาได้จริง เป็นการแก้ปัญหาที่ครบวงจร ได้แก่ Hardware (วัสดุอุปกรณ์) Solfware (ระบบ วิธีการปฏิบัติ) Peopleware (จำนวนคนที่ใช้ในโครงการ) Network (เครือข่าย/ผู้ที่เกี่ยวข้อง)

          หลายโครงการมักจะพบว่า เมื่อดำเนินงานตามโครงการแล้ว เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งก็ไปต่อไปไม่ได้ จำต้องยุติโครงการ อันเนื่องมาจากองค์ประกอบใด องค์ประกอบหนึ่งมีปัญหา

  1. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เป้าหมาย เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ
ผู้เรียน
ครู
โรงเรียน
ชุมชน

 

          เป้าหมายของโครงการ ในทางวิชาการการบริหารโครงการแล้ว จะมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะระหว่างดำเนินโครงการ เรียกว่า “ผลผลิต” (Output)  และระยะหลังดำเนินโครงการ เรียกว่า “ผลลัพธ์” (Outcome)

          “ผลผลิต” (Output)  เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการโดยตรง ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งหมายถึง “ผู้เรียน และครู”

          “ผลลัพธ์” (Outcome) เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการโดยอ้อม หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียน และครูนำประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาต่อยอด โดยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากดำเนินโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วนั่นเอง ซึ่งหมายถึง “โรงเรียน และ ชุมชน” 

  1. วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน/
กิจกรรมหลัก กิจกรรมรอง ระยะเวลา หมายเหตุ
Plan
Do
Check
Report

 

          วงจรคุณภาพ PDCA ถือเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ได้รับการยอมรับว่า หากดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวนี้อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดขึ้นคุณภาพขึ้นได้แน่นอน จึงได้บรรจุแนวคิดนี้ใน “ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา”

          กระบวนการบริหารงาน PDSR เป็นการออกแบบขั้นตอนการปฏิบัติงานปกติประจำวัน ให้มี “ระบบ” เพื่อให้เกิดระบบคุณภาพ จากทุกงานที่ทำในโรงเรียน ซึ่งจะไปสอดคล้องกับ “ระบบประกันคุณภาพ” ถ้าหากงานใดก็ตาม มีการทำงานตามขั้นตอน PDSR แล้ว ก็เชื่อได้ว่า ผลงานที่ออกมาจะมีคุณภาพ เพราะเชื่อถือในกระบวนการหรือขั้นตอนการปฏิบัตินั่นเอง

          การวางแผน (Plan) ได้แก่ การจัดทำรายละเอียดโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนงานเฉพาะกลุ่มงาน ปฏิทินการดำเนินงาน คู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงาน เครื่องมือในการปฏิบัติ การแต่งตั้งคณะทำงานบูรณาการ และการประชุมชี้แจงการปฏิบัติงาน เป็นต้น

          การลงมือปฏิบัติ (Do) ได้แก่ การปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย ตามแนวทางการปฏิบัติงาน ตามแผนการปฏิบัติการประจำปี ตามปฏิทินการปฏิบัติงาน หรือแผนอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน

          การติดตาม ตรวจสอบ (Check) ได้แก่ การสำรวจความเรียบร้อยในการปฏิบัติตามปฏิทินงานที่กำหนด การตรวจสอบประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และคุณประโยชน์ของผลการปฏิบัติงาน

          การรายงานผลการปฏิบัติ (Report) ได้แก่ การสรุปวิธีปฏิบัติที่เล็งเห็นผลสำเร็จ การรวบรวมข้อมูลผลการปฏิบัติตามตามกระบวนการ การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อคุณภาพของสถานศึกษาตามขอบข่ายงานที่ได้รับมอบหมาย โดยทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติในลักษณะกึ่งทางการ เป็นระยะๆ 

  1. แผนการใช้จ่ายงบประมาณ

          แหล่งประมาณ/หมวด ……………………………………………..      จำนวน  ………………….. บาท

          รายละเอียดดังนี้ :

กิจกรรมที่จะต้องใช้งบประมาณ งบประมาณ

ที่ใช้

งบประมาณจำแนกตามหมวดรายจ่าย
ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ
กิจกรรมที่ 1 ………………………………………………
1.1 ………………………………………………………
1.2 ………………………………………………………
กิจกรรมที่ 2 ………………………………………………
2.1 ……………………………………………………..
2.2 ……………………………………………………..
กิจกรรมที่ 3 ……………………………………………..
3.1 ……………………………………………………..
3.2 ……………………………………………………..
รวมงบประมาณ        

 

          แหล่งงบประมาณ หรือที่มาของรายได้สถานศึกษา ไม่ได้มีหลากหลายเหมือนองค์กรทางธุรกิจ เท่าที่พอจะแยกแยะเพื่อให้สามารถออกแบบกิจกรรมหรือโครงการที่จะใช้จ่ายได้ คือ 1) เงินอุดหนุนทั่วไป ซึ่งใช้ในการบริหารงานได้ทุกหมวดรายการ  2) เงินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่มุ่งเน้นไปใช้ในกิจกรรมที่จัดให้เกิดกับผู้เรียนประมาณ 5 กิจกรรม  3) เงินรายได้สถานศึกษา

          เมื่อจำแนกแหล่งที่มาของรายได้ ก็จะวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาตามอำนาจหน้าที่ในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ตามลำดับ

           กิจกรรมในโครงการที่จำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณ ผู้รับผิดชอบโครงการก็เลือกตามความจำเป็น หรือเลือกกิจกรรมตามองค์ประกอบของระบบ ได้แก่ Hardware (วัสดุอุปกรณ์) Solfware (ระบบ วิธีการปฏิบัติ)  Peopleware (จำนวนคนที่ใช้ในโครงการ)  Network (เครือข่าย/ผู้ที่เกี่ยวข้อง) 

  1. การควบคุมภายใน
องค์ประกอบความเสี่ยง ปัจจัยความเสี่ยง แนวทางการบริหารความเสี่ยง
คน (Man)
เงิน (Money)
วัสดุ (Material)
การจัดการ (Management)

 

          การควบคุมภายใน เป็นกิจกรรมตามระเบียบทางราชการที่มีวัตถุประสงค์จะให้การใช้จ่ายงบประมาณ เป็นไปอย่างประหยัด คุ้มค่า เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คำนึงถึงประโยชน์ทางราชการเป็นสำคัญ จึงกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจะต้องมีแผนการควบคุมภายในองค์กรขึ้น เพื่อแสดงถึงแนวปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว

          สาระสำคัญของแผนการควบคุมภายใน ได้แก่ การวิเคราะห์ความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสจะทำให้โครงการไม่ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ และกำหนดแนวทางการบริหารความเสี่ยงในเรื่องนั้นๆ

          แหล่งที่มาของความเสี่ยง หรือต้นตอของความเสี่ยง เป็นปัจจัยที่เกิดจากภายในองค์กร ซึ่งองค์กรเองสามารถควบคุม หรือบริหารจัดการสิ่งเหล่านั้นได้ ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจจะเลือกได้ตามสภาพที่เป็นจริง หรืออาจจะเลือกจากองค์ประกอบ เช่น คน (Man) เงิน (Money) วัสดุ (Material) การจัดการ (Management) ก็ได้ 

  1. ผลลัพธ์การบริหารสถานศึกษา (ระบุตัวชี้วัดตามข้อตกลงฯ (PA)
ผลลัพธ์ฯ ต่อผู้เรียน ตัวชี้วัด PA ครูผู้สอน ตัวชี้วัด PA ผู้บริหารสถานศึกษา
 
 
 
 

         

          โรงเรียน เป็นสถานที่จัดการศึกษาให้เกิดผลลัพธ์ต่อผู้เรียนตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร โดยมีครูเป็นผู้จัดการหรือผู้ดำเนินกิจกรรมให้เกิดการบรรลุผลดังกล่าว องค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล (ก.ค.ศ.) จึงกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานไว้ เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนา และการประเมินผลการปฏิบัติ

          หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูสายงานการสอน และสายงานบริหารสถานศึกษา เป็นการประเมินการปฏิบัติงานในหน้าที่ สามารถนำงานที่ตนเองปฏิบัติมาใช้แสดงถึงผลการปฏิบัติงานได้ โดยมีกรอบในการประเมิน ดังนี้

          ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน หมายถึง ความรู้ ทักษะ เจตคติ ความคิด พฤติกรรม หรือคุณลักษณะตามจุดประสงค์ของหลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี หรือมีพัฒนาการมากขึ้น เมื่อผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติตามกระบวนการ หรือกิจกรรมที่ครูผู้สอนออกแบบและดาเนินการ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก “ผลงาน” (Product) หรือ “ผลการปฏิบัติ” (Performance) ของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการเรียนรู้

          “ผลลัพธ์ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษา” หมายถึง ผลการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน ครู และสถานศึกษา ที่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น หรือมีการพัฒนามากขึ้น เมื่อได้มีการดำเนินการตาม แผนพัฒนาสถานศึกษา กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือ หรือนวัตกรรมการบริหารที่ผู้บริหารสถานศึกษาได้พัฒนาขึ้น

 

 ตัวชี้วัด PA ครูผู้สอน ตัวชี้วัด PA ผู้บริหารสถานศึกษา
ด้านที่ 1 การจัดการเรียนรู้

1.1 สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร

1.2 ปฏิบัติการสอน โดยออกแบบการจัดการเรียนรู้

1.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้

1.4 สร้าง และ/หรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้

1.5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้

1.6 ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ/หรือวิจัย

1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน

1.8 อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม

ด้าน 1 การบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ

1.1 พัฒนามาตรฐานการเรียนรู้

1.2 ปฏิบัติการสอน พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (5/10 ชม.)

1.3 ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนา หรือ การนำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา

1.4 นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล การจัดการเรียนรู้ของครู

1.5 ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา

1.6 จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

ด้านที่ 2 การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

2.1 ข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียน และรายวิชา

2.2 ระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

2.3 ปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่นๆ

2.4 ความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และสถานประกอบการ

 

ด้าน 2 บริหารจัดการสถานศึกษา 

2.1 บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรในสถานศึกษา และบริหารกิจการของสถานศึกษา

2.2 บริหารงานบุคคล บริหารงบประมาณ และบริหารทั่วไปของสถานศึกษา

 2.3 ส่งเสริมและพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ให้มีสมรรถนะเต็มตามศักยภาพ

2.4 บริหารกิจการผู้เรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน

2.5 จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน

2.6 ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสถานศึกษา

ด้าน 4 บริหารงานชุมชนและเครือข่าย

4.1 สร้างและพัฒนาความร่วมมือย่างสร้างสรรค์กับผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้อง ชุมชนและเครือข่าย

4.2 จัดระบบให้บริการในสถานศึกษา ประสานความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่าย

ด้านที่ 3 การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

3.2 เข้าร่วมหรือเป็นผู้นำในกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

 

ด้าน 5 พัฒนาตนเองและวิชาชีพ

5.1 พัฒนาตนเองย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

5.2 มีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ

5.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพครู และผู้เรียน

5.4 สร้างและสนับสนุนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

ด้าน 3 บริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม
3.1 กำหนดนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาร่วมกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย3.2 นำนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาไปปฏิบัติ ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ และติดตาม

3.3 สร้างหรือนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา และผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุน

3.4 สร้างการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรม ในสถานศึกษา

 

  1. 8. ระดับความสำเร็จของระบบประกันคุณภาพภายใน

          แบบอย่างที่ดี (Best Practice) ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หรือ

……………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………..

          นวัตกรรม (Innovation) ที่คาดว่าจะได้

……………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………..

          ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 47-48 ซึ่งผลการปฏิบัติงานใดๆ ของสถานศึกษาย่อมส่งผลให้เกิด หลักประกันคุณภาพตามระบบได้

          สิ่งที่แสดงถึงคุณภาพตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากโรงเรียนพัฒนางานตามระบบประกันคุณภาพ 8 องค์ประกอบตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดนั้น ได้แก่ วิธีปฏิบัติที่ดี หรือ นวัตกรรม

          วิธีปฏิบัติที่ดี หรือ นวัตกรรม เป็นเครื่องบ่งชี้ หรือเป็น “หลักประกัน” ความมั่นใจต่อผู้ปกครองได้ว่า โรงเรียนจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ

          การเป็นแบบอย่างที่ดี (Best-Practice) หมายถึง รูปแบบวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้สถานศึกษาประสบผลสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ หรือวิชาชีพ มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปรูปแบบวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ มีร่องรอยหลักฐานเชิงประจักษ์ เผยแพร่ให้หน่วยงานภายนอก หรือภายในสามารถนำไปใช้ประโยชน์

          นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง แนวคิด หรือวิธีการที่นำมาใช้ในการปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหา หรือการพัฒนา ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด กระบวนการ หรือองค์กร อย่างสิ้นเชิง หรืออย่างเห็นได้ชัด เป็นการพัฒนาต่อยอด เพิ่มมูลค่า มีเป้าหมายในเชิงบวก  ซึ่งมีเกณฑ์พิจารณา คือ มีความสร้างสรรค์ (C-Creative) มีความใหม่ในบริบทนั้นๆ (N-New) มีคุณค่ามีประโยชน์ (V-Value-Added) และปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม  (A-Adaptive)

เอกสารอ้างอิง

 ทดสอบทางการศึกษา, สำนัก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แนวทางการประเมินคุณภาพ

            ตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษา

            ขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

            จำกัด, ๒๕๖๑.

คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, สำนักงาน. กระทรวงศึกษาธิการ. หลักเกณฑ์และ

             วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

             หนังสือ สนง.ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว.20 ลว. 30 ตุลาคม 2561.

สำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. ชุดวิชา การจัดการเชิงยุทธศาสตร์

          โครงการพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาประจำการ. 2549.

อุทิศ  ขาวเทียร. คู่มือการวางแผนกลยุทธ์. เอกสารประกอบการสอนโครงการปริญญาเอกสาขายุทธศาสตร์

          การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2550: 5.

ปริญญา หรุ่นโพธิ์. (2560) การพัฒนารูปแบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคล มุ่งสู่ความเป็นหุ้นส่วน

          ทางกลยุทธ์ ขององค์การไม่แสวงหาผลกาไร, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 

          วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2560

ขอบคุณที่มา : การเขียนโครงการเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมตามตัวชี้วัดที่ 3 จาก ดร.รัชศักดิ์  แก้วมาลา

ดาวน์โหลดไฟล์ word แนวทางการเขียนโครงการเชิงกุลยุทธ

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : บริหารเงินอย่างไร ให้สุขสบายในวัยเกษียณ Money Buddy 

ประกาศผลสอบท้องถิ่น 64 วันที่ 10 ม.ค. 2565 วันประกาศผลสอบ ท้องถิ่น 2564 ได้ที่นี่

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคอมมีเรื่องราวเกี่ยวกับการสอบท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2564 มาฝากทุกท่านเช่นเคยครับ หลังจากที่กรมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการสอบท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2564 ในส่วนของการสอบ ภาค ก และการสอบ ภาค ข ไปแล้วเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ผู้เข้าสอบหลายท่านอาจจะยังสงสัยว่าวันประกาศผลการสอบท้องถิ่น ประจำปี พ.ศ. 2564 จะประกาศวันไหน หรือ ประกาศผลสอบท้องถิ่น 2564 หรือ ประกาศผลสอบท้องถิ่น 64 วันไหน?  วันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตก็ได้ไปค้นหาคำตอบมาฝากทุกท่านเช่นเคยครับ ประกาศผลสอบท้องถิ่น 64 วันที่ 10 ม.ค. 2565 วันประกาศผลสอบท้องถิ่น 2564 สามารถตรวจสอบได้ที่นี่

""</strong

 : กลุ่มภาคเหนือ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กำแพงเพชร  ตาก  นครสวรรค์  พิจิตร  พิษณุโลก  เพชรบูรณ์  สุโขทัย  อุตรดิตถ์  อุทัยธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

 : กลุ่มภาคกลาง เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  ชัยนาท  นนทบุรี  ปทุมธานี  พระนครศรีอยุธยา  ลพบุรี  สระบุรี  สิงห์บุรี  อ่างทอง <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

 : กลุ่มภาคกลาง เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  จันทบุรี  ฉะเชิงเทรา  ชลบุรี  ตราด  นครนายก  ปราจีนบุรี  ระยอง  สมุทรปราการ  สระแก้ว <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

เรื่องราวที่น่าสนใจ : เว็บไซต์ ประกาศรับสมัคร สอบท้องถิ่น 2564 คลิกสมัคร

 : กลุ่มภาคกลาง เขต 3 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กาญจนบุรี  นครปฐม  ประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี  ราชบุรี  สมุทรสงคราม  สมุทรสาคร  สุพรรณบุรี<คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

 : กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยกาฬสินธุ์  ขอนแก่น  ชัยภูมิ  นครราชสีมา  บุรีรัมย์  มหาสารคาม <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

 : กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยมุกดาหาร  ยโสธร  ร้อยเอ็ด  ศรีสะเกษ  สุรินทร์  อำนาจเจริญ  อุบลราชธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

 : กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยนครพนม  บึงกาฬ  เลย  สกลนคร  หนองคาย  หนองบัวลำภู  อุดรธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

 : กลุ่มภาคใต้ เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กระบี่  ชุมพร  นครศรีธรรมราช  พังงา  ภูเก็ต  ระนอง  สุราษฎร์ธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

 : กลุ่มภาคใต้ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย   ตรัง  นราธิวาส  ปัตตานี  พัทลุง  ยะลา  สงขลา  สตูล<คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ท่านสามารถเข้าตรวจผลการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2564 ผลสอบท้องถิ่น 64ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ได้ที่เว็บไซต์ : https://www.dlaapplicant2564.com/

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ประกาศ สำนักงาน ก.พ. เรื่อง กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ

ก. กําหนดวัน เวลาและสถานที่สอบ

1. ให้ผู้สมัครสอบเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข) ในวันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2564 ตามเวลา ดังนี้

– เวลา 09.00 – 11.00 น. สอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)

– เวลา 13.00 – 15.30 น. สอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข)

โดยผู้ที่สมัครสอบในกลุ่มภาค/เขตใด จะต้องเข้าสอบ ณ สถานที่สอบตามเอกสารแนบท้าย ประกาศนี้ (กรณีเป็นสถานที่สอบที่ตั้งอยู่นอกเขตอําเภอเมือง ผู้เข้าสอบควรไปดูสถานที่สอบก่อนวันสอบ 1 วัน)

2. ให้ผู้สมัครสอบไปถึงสถานที่สอบก่อนเริ่มสอบไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อเข้ารับ การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าบริเวณสถานที่สอบ โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของสถานที่สอบ หากผลการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายมีค่าเกิน 37.5 องศาเซลเซียส แต่มีผลการตรวจ ATK เป็นลบ จะต้องเข้าสอบ ในห้องสอบที่แยกไว้เป็นการเฉพาะ และต้องปฏิบัติตามแนวทางอื่น ๆ ที่กําหนดอย่างเคร่งครัด

3. ให้ผู้สมัครสอบเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข) ก่อน ถ้าผู้ใดสอบได้คะแนนในแต่ละภาคไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง (ภาค ค) สําหรับวัน เวลา และสถานที่สอบ ภาคความเหมาะสม กับตําแหน่ง (ภาค ค) จะประกาศให้ทราบในภายหลัง ทางเว็บไซต์ http://www.dlaapplicant2564.com หัวข้อ “ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ ภาค ค”

*สรุปแล้ว ประกาศผลสอบท้องถิ่น2564 หรือ ประกาศผลสอบท้องถิ่น64 วันไหน นั้น ในประกาศไม่ได้ระบุวันเวลาที่ชัดเจน ระบุเพียงว่า สําหรับวัน เวลา และสถานที่สอบ ภาคความเหมาะสม กับตําแหน่ง (ภาค ค) จะประกาศให้ทราบในภายหลัง ทางเว็บไซต์ http://www.dlaapplicant2564.com หัวข้อ “ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ ภาค ค” ซึ่งหมายความว่า ไม่มีกำหนดวันที่แน่นอน แต่จะประกาศทางเว็บไซต์ http://www.dlaapplicant2564.com หลังจากสอบภาค ก ภาค ข นั่นก็อาจเกิดการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ค ได้ทุกเมื่อ ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป ครับ

ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้ที่ : ประกาศผลสอบท้องถิ่น ภาค ก ภาค ข ปี 2564 เช็กผลสอบ วันที่ 12 ธันวาคม 2564 ได้ที่นี่ หรือที่เว็บไซต์ http://www.dlaapplicant2564.com

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดประกาศฉบับเต็มได้ที่นี่ : ประกาศคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข)

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ผลสอบท้องถิ่น ภาค ก ภาค ข ปี 2564 เช็กผลสอบ ประกาศ 10 มกราคม 2565 ได้ที่นี่

ขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดจาก : https://www.dlaapplicant2564.com/

ผลสอบท้องถิ่น 64 ผลสอบท้องถิ่น 2564 ภาค ก ภาค ข เช็กผลสอบ วันที่ 12 ธันวาคม 2564 ได้ที่นี่

สวัสดีครับทุกท่านวันนี้เว็บไซต์ครูอัพเตดอทคอมมีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกาศผลสอบสอบท้องถิ่น ที่ได้มีการทดสอบไปแล้วเมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมาตามประกาศของคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ซึ่งในวันสอบดังกล่าวได้มีการกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ คือ วันสอบเป็นวันที่ 12 ธันวาคม 2564 และแบ่งสถานที่สอบดังนี้ กลุ่มภาคเหนือจำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มภาคกลางจำนวน 3 กลุ่ม  กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 3 กลุ่ม และกลุ่มภาคใต้ จำนวน 2 กลุ่ม

ผลสอบท้องถิ่น64-ผลสอบท้องถิ่น-2564

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ประกาศผลสอบท้องถิ่น ภาค ก ภาค ข ปี 2564 เช็กผลสอบ วันที่ 12 ธันวาคม 2564 ได้ที่นี่

เรื่องราวที่น่าสนใจ : วิธีดูคะแนน สอบท้องถิ่น 2564 ผลคะแนนสอบ ดูคะแนนสอบท้องถิ่น64

ประกาศคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง ผลสอบท้องถิ่น 64ผลการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข)

ประกาศผลสอบแล้ว

: กลุ่มภาคเหนือ เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  เชียงใหม่  น่าน  พะเยา  แพร่  แม่ฮ่องสอน  ลำปาง  ลำพูน <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

: กลุ่มภาคเหนือ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กำแพงเพชร  ตาก  นครสวรรค์  พิจิตร  พิษณุโลก  เพชรบูรณ์  สุโขทัย  อุตรดิตถ์  อุทัยธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

 : กลุ่มภาคกลาง เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  ชัยนาท  นนทบุรี  ปทุมธานี  พระนครศรีอยุธยา  ลพบุรี  สระบุรี  สิงห์บุรี  อ่างทอง <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

 : กลุ่มภาคกลาง เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  จันทบุรี  ฉะเชิงเทรา  ชลบุรี  ตราด  นครนายก  ปราจีนบุรี  ระยอง  สมุทรปราการ  สระแก้ว <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

เรื่องราวที่น่าสนใจ : เว็บไซต์ ประกาศรับสมัคร สอบท้องถิ่น 2564 คลิกสมัคร

 : กลุ่มภาคกลาง เขต 3 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กาญจนบุรี  นครปฐม  ประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี  ราชบุรี  สมุทรสงคราม  สมุทรสาคร  สุพรรณบุรี<คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

 : กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยกาฬสินธุ์  ขอนแก่น  ชัยภูมิ  นครราชสีมา  บุรีรัมย์  มหาสารคาม <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

 : กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยมุกดาหาร  ยโสธร  ร้อยเอ็ด  ศรีสะเกษ  สุรินทร์  อำนาจเจริญ  อุบลราชธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

 : กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยนครพนม  บึงกาฬ  เลย  สกลนคร  หนองคาย  หนองบัวลำภู  อุดรธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

 : กลุ่มภาคใต้ เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กระบี่  ชุมพร  นครศรีธรรมราช  พังงา  ภูเก็ต  ระนอง  สุราษฎร์ธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

 : กลุ่มภาคใต้ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย   ตรัง  นราธิวาส  ปัตตานี  พัทลุง  ยะลา  สงขลา  สตูล<คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ท่านสามารถเข้าตรวจผลการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2564 ผลสอบท้องถิ่น 64ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ได้ที่เว็บไซต์ : https://www.dlaapplicant2564.com/

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ประกาศ สำนักงาน ก.พ. เรื่อง กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ

ก. กําหนดวัน เวลาและสถานที่สอบ

1. ให้ผู้สมัครสอบเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข) ในวันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2564 ตามเวลา ดังนี้

– เวลา 09.00 – 11.00 น. สอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)

– เวลา 13.00 – 15.30 น. สอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข)

โดยผู้ที่สมัครสอบในกลุ่มภาค/เขตใด จะต้องเข้าสอบ ณ สถานที่สอบตามเอกสารแนบท้าย ประกาศนี้ (กรณีเป็นสถานที่สอบที่ตั้งอยู่นอกเขตอําเภอเมือง ผู้เข้าสอบควรไปดูสถานที่สอบก่อนวันสอบ 1 วัน)

2. ให้ผู้สมัครสอบไปถึงสถานที่สอบก่อนเริ่มสอบไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อเข้ารับ การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าบริเวณสถานที่สอบ โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของสถานที่สอบ หากผลการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายมีค่าเกิน 37.5 องศาเซลเซียส แต่มีผลการตรวจ ATK เป็นลบ จะต้องเข้าสอบ ในห้องสอบที่แยกไว้เป็นการเฉพาะ และต้องปฏิบัติตามแนวทางอื่น ๆ ที่กําหนดอย่างเคร่งครัด

3. ให้ผู้สมัครสอบเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข) ก่อน ถ้าผู้ใดสอบได้คะแนนในแต่ละภาคไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง (ภาค ค) สําหรับวัน เวลา และสถานที่สอบ ภาคความเหมาะสม กับตําแหน่ง (ภาค ค) จะประกาศให้ทราบในภายหลัง ทางเว็บไซต์ http://www.dlaapplicant2564.com หัวข้อ “ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ ภาค ค”

*สรุปแล้ว ประกาศผลสอบท้องถิ่น2564 หรือ ประกาศผลสอบท้องถิ่น64 วันไหน นั้น ในประกาศไม่ได้ระบุวันเวลาที่ชัดเจน ระบุเพียงว่า สําหรับวัน เวลา และสถานที่สอบ ภาคความเหมาะสม กับตําแหน่ง (ภาค ค) จะประกาศให้ทราบในภายหลัง ทางเว็บไซต์ http://www.dlaapplicant2564.com หัวข้อ “ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ ภาค ค” ซึ่งหมายความว่า ไม่มีกำหนดวันที่แน่นอน แต่จะประกาศทางเว็บไซต์ http://www.dlaapplicant2564.com หลังจากสอบภาค ก ภาค ข นั่นก็อาจเกิดการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบภาค ค ได้ทุกเมื่อ ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป ครับ

ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้ที่ : ประกาศผลสอบท้องถิ่น ภาค ก ภาค ข ปี 2564 เช็กผลสอบ วันที่ 12 ธันวาคม 2564 ได้ที่นี่ หรือที่เว็บไซต์ http://www.dlaapplicant2564.com

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดประกาศฉบับเต็มได้ที่นี่ : ประกาศคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข)

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ผลสอบท้องถิ่น ภาค ก ภาค ข ปี 2564 เช็กผลสอบ ประกาศ 10 มกราคม 2565 ได้ที่นี่

ขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดจาก : https://www.dlaapplicant2564.com/

งบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจและประเมินผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู พ.ศ. 2565

ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 118 ลว 7 มกราคม 2565 เรื่อง งบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการ ตรวจและประเมินผลงานทางวิชาการ ของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ขอรับการประเมินเพื่อให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ สิ่งที่ส่งมาด้วย สพฐ. จะส่งให้ สพท./สศศ. โดยตรง

งบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจและประเมินผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู

ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาและสํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รายงานข้อมูลจํานวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ยื่นคําขอรับการประเมินที่ได้ส่งผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) รายที่ยังไม่ได้ประเมินและต้องเป็นรายที่ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานยังมิได้จัดสรรงบประมาณไปให้ โดยให้รายงานข้อมูล เพื่อประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายในการตรวจและประเมินผลงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ขอรับการประเมินเพื่อให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษได้รายงานข้อมูลมา เพื่อประกอบการพิจารณา ตามหนังสือที่อ้างถึง 2 ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตรวจสอบและพิจารณาแล้ว ได้จัดสรรงบประมาณ เป็นค่าดําเนินการดังกล่าว สําหรับรายที่สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานยังมิได้จัดสรรให้ เป็นจํานวนเงิน…..บาท จากงบประมาณปี พ.ศ. 2565 แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิตผู้จบการศึกษาภาคบังคับ กิจกรรมการจัดการศึกษาประถมศึกษาสําหรับโรงเรียนปกติ งบดําเนินงาน และ/หรือ แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ โครงการเสริมสร้างศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 กิจกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในถิ่นทุรกันดาร งบดําเนินงาน รายละเอียดดังสิ่งที่ส่งมาด้วย

ทั้งนี้ ขอให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบ กํากับ และติดตามการใช้ งบประมาณใน การตรวจและประเมินผลงานทางวิชาการ ของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ขอรับการประเมินเพื่อให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชํานาญการพิเศษ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยให้เป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ถูกต้องและแล้วเสร็จโดยเร็ว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กําหนดต่อไป พร้อมทั้งรายงานผลการจัดสรรงบประมาณ (บัญชี 3) ตามปฏิทินดําเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามหนังสือที่อ้างถึง 1

สําหรับการตรวจและประเมินผลงานทางวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สามารถดําเนินการนํางบประมาณ ที่ได้รับจัดสรรถัวจ่ายได้ตามความจําเป็นและอย่างประหยัด ตามระเบียบกระทรวงการคลังและภายในวงเงิน งบประมาณที่ได้รับจัดสรร ทั้งนี้ หากมีงบประมาณเหลือจ่ายจากการประเมินผลงานดังกล่าว หรือหากไม่สามารถบริหารงบประมาณได้ทัน ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 ให้รายงานและส่งเงินคืนสํานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2565 จึงเรียนมาเพื่อทราบและดําเนินการ

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : ว pa

ตรวจและประเมินผลงานทางวิชาการ ของข้าราชการครู

งบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย

เรื่องที่น่าอ่าน : สรุปย่อ ว3/2564 มาตรฐานตำแหน่ง และ มาตรฐานวิทยฐานะ

ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร

ขอบคุณที่มาจาก : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ

ผลสอบท้องถิ่น 64 เว็บไซต์ประกาศผลสอบท้องถิ่น 10 ม.ค. 2565 ผลสอบท้องถิ่น64

ผลสอบท้องถิ่น 64 เป็นเรื่องราวที่หลาท่านกำลังตามหาว่าจะประกาศผลการสอบที่เว็บไซต์ใด วันนี้เว็บไซต์ครูอัพเตดอทคอมมีเรื่องราวเกี่ยวกับเว็บไซต์ประกาศผลสอบท้องถิ่น ภาค ค ปี 2564 สำหรับการประกาศผลสอบสอบท้องถิ่น ที่ได้มีการทดสอบไปแล้วเมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมาตามประกาศของคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ซึ่งในวันสอบดังกล่าวได้มีการกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ คือ วันสอบเป็นวันที่ 12 ธันวาคม 2564 และแบ่งสถานที่สอบดังนี้ กลุ่มภาคเหนือจำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มภาคกลางจำนวน 3 กลุ่ม  กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 3 กลุ่ม และกลุ่มภาคใต้ จำนวน 2 กลุ่ม ซึ่งคาดว่าเว็บไซต์ประกาศผลสอบท้องถิ่น จะประกาศผลการสอบท้องถิ่น ในวันที่ 10 ม.ค. 2565 

เรื่องราวที่น่าสนใจ : วิธีตรวจรายชื่อ สอบท้องถิ่น 2564 ผลการสอบท้องถิ่น 64 ประกาศผล 10 ม.ค. 2565

เรื่องราวที่น่าสนใจ : วิธีดูคะแนน สอบท้องถิ่น 2564 ผลคะแนนสอบ ดูคะแนนสอบท้องถิ่น64

ผลสอบท้องถิ่น 64 เว็บไซต์ ประกาศผลสอบท้องถิ่น ภาค ค ปี 2564

ประกาศคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง ผลการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2564 ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ซึ่งคาดว่าเว็บไซต์ประกาศผลสอบท้องถิ่น จะประกาศผลการสอบท้องถิ่น ในวันที่ 10 ม.ค. 2565 

ก. กําหนดวัน เวลาและสถานที่สอบ
1. ให้ผู้สมัครสอบเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข) ในวันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2564 ตามเวลา ดังนี้
– เวลา 09.00 – 11.00 น. สอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก)
– เวลา 13.00 – 15.30 น. สอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข)
โดยผู้ที่สมัครสอบในกลุ่มภาค/เขตใด จะต้องเข้าสอบ ณ สถานที่สอบตามเอกสารแนบท้าย ประกาศนี้ (กรณีเป็นสถานที่สอบที่ตั้งอยู่นอกเขตอําเภอเมือง ผู้เข้าสอบควรไปดูสถานที่สอบก่อนวันสอบ 1 วัน)

2. ให้ผู้สมัครสอบไปถึงสถานที่สอบก่อนเริ่มสอบไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อเข้ารับ การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าบริเวณสถานที่สอบ โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของสถานที่สอบ หากผลการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายมีค่าเกิน 37.5 องศาเซลเซียส แต่มีผลการตรวจ ATK เป็นลบ จะต้องเข้าสอบ ในห้องสอบที่แยกไว้เป็นการเฉพาะ และต้องปฏิบัติตามแนวทางอื่น ๆ ที่กําหนดอย่างเคร่งครัด

3. ให้ผู้สมัครสอบเข้าสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ ความสามารถเฉพาะสําหรับตําแหน่ง (ภาค ข) ก่อน ถ้าผู้ใดสอบได้คะแนนในแต่ละภาคไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง (ภาค ค) สําหรับวัน เวลา และสถานที่สอบ ภาคความเหมาะสม กับตําแหน่ง (ภาค ค) จะประกาศให้ทราบในภายหลัง ทางเว็บไซต์ http://www.dlaapplicant2564.com หัวข้อ “ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ ภาค ค หรือ ผลสอบท้องถิ่น 64”

ประกาศผลสอบแล้ว

 กลุ่มภาคเหนือ เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  เชียงใหม่  น่าน  พะเยา  แพร่  แม่ฮ่องสอน  ลำปาง  ลำพูน <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 1-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 1-3

กลุ่มภาคเหนือ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กำแพงเพชร  ตาก  นครสวรรค์  พิจิตร  พิษณุโลก  เพชรบูรณ์  สุโขทัย  อุตรดิตถ์  อุทัยธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 2-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ 2-3

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564เหนือ2-2

กลุ่มภาคกลาง เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  ชัยนาท  นนทบุรี  ปทุมธานี  พระนครศรีอยุธยา  ลพบุรี  สระบุรี  สิงห์บุรี  อ่างทอง <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง1-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง1-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง1-3

กลุ่มภาคกลาง เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  จันทบุรี  ฉะเชิงเทรา  ชลบุรี  ตราด  นครนายก  ปราจีนบุรี  ระยอง  สมุทรปราการ  สระแก้ว <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น>

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง2-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง2-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง2-3

เรื่องราวที่น่าสนใจ : เว็บไซต์ ประกาศรับสมัคร สอบท้องถิ่น 2564 คลิกสมัคร

กลุ่มภาคกลาง เขต 3 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กาญจนบุรี  นครปฐม  ประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี  ราชบุรี  สมุทรสงคราม  สมุทรสาคร  สุพรรณบุรี<คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง3-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง3-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564กลาง3-3

 กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยกาฬสินธุ์  ขอนแก่น  ชัยภูมิ  นครราชสีมา  บุรีรัมย์  มหาสารคาม <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 1-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 1-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 1-3

 กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยมุกดาหาร  ยโสธร  ร้อยเอ็ด  ศรีสะเกษ  สุรินทร์  อำนาจเจริญ  อุบลราชธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น>

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 2-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 2-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 2-3

 : กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยนครพนม  บึงกาฬ  เลย  สกลนคร  หนองคาย  หนองบัวลำภู  อุดรธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 3-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 3-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564อีสาน 3-3

 : กลุ่มภาคใต้ เขต 1 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย  กระบี่  ชุมพร  นครศรีธรรมราช  พังงา  ภูเก็ต  ระนอง  สุราษฎร์ธานี <คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น >

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้1-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้1-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้1-3

กลุ่มภาคใต้ เขต 2 จังหวัดที่บรรจุ ประกอบด้วยเชียงราย   ตรัง  นราธิวาส  ปัตตานี  พัทลุง  ยะลา  สงขลา  สตูล<คลิกเพื่ออ่านประกาศผลสอบท้องถิ่น>

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้2-1

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้2-2

ผลการสอบแข่งขันท้องถิ่น2564ใต้2-3

ท่านสามารถเข้าตรวจผลการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2564 ผลสอบท้องถิ่น 64ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

เว็บไซต์ประกาศผลสอบท้องถิ่น ภาค ค ปี 2564 หรือผลสอบท้องถิ่น 64 :https://www.dlaapplicant2564.com/

ได้ที่เว็บไซต์ : https://www.dlaapplicant2564.com/

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ประกาศ สำนักงาน ก.พ. เรื่อง กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ