ขรก.ครูทิ้งงานเกิน 15 วัน เพราะโดนทวงหนี้ ทำได้หรือไม่
วันนี้ ครูอัพเดต ขอยกเรื่องราวที่เป็นอุทาหรณ์ จากคดีของศาลปกครอง มาให้ลองอ่านดูครับ…ทิ้งงานเพราะโดนทวงหนี้ !!!
ส่วนที่ 1 ลางานต้องทําตามระเบียบ !!
ในช่วงนี้ หลาย ๆ ท่านที่ลางานและจองตั๋วหรือวางแผนเดินทางไปท่องเที่ยวหรือทําธุระที่ต่างประเทศ ไว้แล้ว ก็อาจต้องยกเลิกการเดินทาง เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ในหลาย ๆ ประเทศ นอกเหนือจากจีน ก็ยังมีฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ เวียดนาม บางหน่วยงานก็ได้มีประกาศห้ามเจ้าหน้าที่หรือ พนักงานออกเดินทางไปต่างประเทศแล้ว รวมถึงลุงเป็นธรรมด้วยครับที่ก็ต้องขอเลื่อนการเดินทางไปไต้หวันออกไป ใจหนึ่งก็เสียดายโอกาสพักผ่อนในช่วงซากุระบาน แต่เพื่อความปลอดภัยยังไงก็ต้องมาเป็นอันดับหนึ่งครับ !!
พูดถึงการลางานไปเที่ยวพักผ่อน หรือ ไม่ว่าจะเป็นการลากิจ ลาป่วย หรือลาอื่น ๆ และไม่ว่าจะเป็น ข้าราชการหรือเอกชนก็ไม่อาจที่จะลาตามอําเภอใจได้ หากแต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบการลาของทางหน่วยงานทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ข้าราชการ” เนื่องจากการลาที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ อาจกระทบถึงความมั่นคงของหน้าที่การงาน ดีไม่ดี ถึงขั้นต้องพ้นจากตําแหน่งเลยทีเดียวนะครับ !
เช่นคดีปกครองที่ลุงเป็นธรรมนํามาฝากผู้ติดตามคอลัมน์ของลุงซึ่งเป็นข้าราชการจํานวนไม่น้อย และถือ เป็นตัวอย่างที่ให้พึงระมัดระวังเกี่ยวกับการลาและการขาดงาน เพราะการขาดราชการหรือขาดงานติดต่อกันเกิน 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ที่อาจหลุดจากตําแหน่งได้ง่ายๆ
คดีที่ว่าเป็นกรณีของข้าราชการครูรายหนึ่งที่ขาดราชการเป็นเวลานาน ในระหว่างที่มีปัญหาหนี้สิน และถูกตามทวงหนี้ แต่ต่อมาได้ให้เหตุผลว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าพร้อมใบรับรองแพทย์ จึงทําให้ไม่สามารถมาทํางานและ ยื่นใบลาตามระเบียบได้ เหตุผลดังกล่าวจะรับฟังได้หรือจะถือว่าเป็นเหตุผลอันสมควรหรือไม่ ?? ลุงจะเล่าต่อไปครับ
เรื่องนี้ ในขณะที่ผู้ฟ้องคดีรับราชการครู ได้ถูกกล่าวหาว่าไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการในคราวเดียวกัน เป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ผู้อํานวยการโรงเรียนจึงตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ภายหลัง การสืบสวน คณะกรรมการฯรายงานผลว่าไม่สามารถติดต่อผู้ฟ้องคดีได้และจากพยานบุคคลต่างๆ ให้ถ้อยคําว่าไม่มีผู้ใดพบเห็น ผู้ฟ้องคดี อีกทั้งจากหลักฐานที่มีผู้ร้องเรียนว่าผู้ฟ้องคดีกระทําการฉ้อโกงเงินและมีการดําเนินคดี ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดีไม่มา ปฏิบัติราชการเกินกว่า 15 วัน จึงเชื่อได้ว่ามีสาเหตุมาจากปัญหาหนี้สินและคดีฉ้อโกง จึงต้องหลบหนีการติดตามทวงหนี้ จากเจ้าหนี้และเจ้าหน้าที่ตํารวจในคดีฉ้อโกง พฤติการณ์จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันควร จึงเป็นความผิดวินัยร้ายแรง และต่อมา ศึกษาธิการจังหวัดได้พิจารณาความเห็นแล้วได้มีคําสั่ง ไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ !!
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคําสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากตนป่วยเป็นโรค ซึมเศร้าอย่างรุนแรง จึงอุทธรณ์ต่อเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อไม่ได้รับแจ้งผล การพิจารณาจึงนําคดีมาฟ้องขอให้ศาลปกครองมีคําพิพากษาหรือคําสั่งเพิกถอนคําสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ
ส่วนที่ 2 ทิ้งงานเพราะถูกตามทวงหนี้ !!
คดีนี้… จึงมีประเด็นที่ศาลพิจารณาว่า การที่ศึกษาธิการจังหวัดมีคําสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจาก ราชการ เป็นคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
โดยมีปัญหาที่ต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่า ผู้ฟ้องคดีขาดราชการติดต่อกันคราวเดียวเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุอันควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดท่านพิจารณาว่า ผู้ฟ้องคดีได้มายื่นใบลาป่วยย้อนหลังพร้อมใบลาออกจากที่ได้ขาดราชการไปแล้ว จํานวน 52 วัน โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง พร้อมแนบใบรับรองแพทย์ มาด้วย แต่เมื่อพิจารณาความเห็นของแพทย์ผู้ตรวจซึ่งบันทึกว่า ผู้ฟ้องคดีได้เข้ารับการตรวจรักษาอาการเครียดซึมเศร้า เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2557 แต่โดยที่ผู้ฟ้องคดีขาดราชการตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2557 ใบรับรองแพทย์ดังกล่าวจึงไม่อาจ ใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่าผู้ฟ้องคดีเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในความดูแลรักษาของแพทย์และไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2557 ถึงวันที่ 4 กรกฎาคม 2557 ซึ่งเป็นวันยื่นใบลาป่วย
อีกทั้ง ผู้ฟ้องคดีมีการเจ็บป่วยจากโรคซึมเศร้าที่ต้องรักษาตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 ย่อมต้องรู้ได้ล่วงหน้า จึงสามารถยื่นใบลาป่วยได้ภายในกําหนดเวลาตามที่ระเบียบกําหนดไว้ทั้งอาการของโรคดังกล่าวมิใช่กรณีฉุกเฉินที่จะทําให้ ไม่สามารถมายื่นใบลาป่วยได้ พฤติการณ์ที่ผู้ฟ้องคดีละเลยปล่อยให้เวลาล่วงเลยถึง 52 วัน จึงได้ยื่นใบลาป่วยพร้อมในลาออก จากราชการ ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2557 อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ ทั้งการลาป่วยและลาออก
ประกอบกับปรากฏข้อเท็จจริงจากการสืบสวนว่า ผู้ฟ้องคดีมีหมายจับในคดีฉ้อโกงและถูกติดตามทวงหนี้ ซึ่งเป็นการขาคราชการ ที่อยู่ระหว่างการถูกดําเนินคดีและถูกติดตามทวงหนี้จากเจ้าหนี้ จึงเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีละทิ้งหน้าที่ ราชการติดต่อกันในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน แล้วไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่อีกเลย โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือมี พฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ อันเป็นการกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นกรณี ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง การที่ศึกษาธิการจังหวัดมีคําสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ ตามมติของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีนี้ นับเป็นอุทาหรณ์เตือนใจข้าราชการหรือพนักงานเกี่ยวกับการลาที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของหน่วยงาน กรณีการขาดราชการติดต่อในคราวเดียวกัน 15 วัน มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า “มีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ คือถึงขนาดที่ ไม่สามารถมาทํางานหรือลางานตามระเบียบได้หรือไม่ ซึ่งที่จะต้องมีการสืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานต่างๆ โดยตามระเบียบ ของทางราชการแล้ว การลาป่วยจะต้องลาก่อนหรือในวันที่ป่ายหากมีความจําเป็น ให้จัดส่งใบลาวันแรกที่มาทํางานได้ หรือในกรณี ที่ผู้ป่วยไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่นมาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้วต้องสนอใบลาโดยเร็ว การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไปต้องมีใบรับรองแพทย์ สําหรับรายละเอียดการลาต้องศึกษาตามระเบียบของหน่วยงานแต่ละแห่งครับ
อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ศาลท่านยังมีความเห็นว่าผู้ฟ้องคดีควรเข้ามาชี้แจงเหตุผลกับผู้บังคับบัญชาในระหว่าง ที่เกิดปัญหาส่วนตัวขึ้น และยื่นใบลาตามระเบียบ มิใช่ทิ้งราชการหายไปถึง 52 วัน ซึ่งแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบ นั้นเองครับ
นอกจากนี้ การบริหารการเงินที่ดี มีความพอเพียง จะเป็นเกราะคุ้มกันที่ดีในการดําเนินชีวิตของทุกอาชีพ เพราะหากหลงผิดพียงครั้งเดียว เช่นคดีนี้ ก็ปิดชีวิตข้าราชการครูที่ได้สั่งสมความรู้และประสบการณ์มา ซึ่งน่าเสียดายนะครับ !!
แต่ชีวิตที่ต้องเดินต่อไป เริ่มต้นใหม่และถือเป็นบทเรียนในการคําเนินชีวิตด้วยความระมัดระวังต่อไป
ส่วนที่ 3 กฎหมายเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครู
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
มาตรา 87 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการ และผู้เรียน จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้
การละทิ้งหน้าที่หรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง หรือการละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือ โดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
มาตรา 99 เมื่อได้ดําเนินการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา 98 แล้ว ถ้าฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหามิได้กระทํา ผิดวินัย ให้สั่งยุติเรื่อง ถ้าฟังได้ว่ากระทําผิดวินัยให้ดําเนินการตามมาตรา 100 และในกรณีที่กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ต้องลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนผ่อนโทษ ห้ามมิให้ลงโทษต่ํากว่าปลดออก
กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. 2549
ข้อ 2 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ในกรณีดังต่อไปนี้ เป็นกรณี ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะดําเนินการทางวินัย ตามมาตรา 100 วรรคสี่ หรือมาตรา 104 (1) โดยไม่สอบสวน หรืองดการสอบสวนก็ได้
(1) กระทําความผิดอาญาจนได้รับโทษจําคุกหรือโทษที่หนักกว่าจําคุก โดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก หรือให้ลงโทษที่หนักกว่าจําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(2) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวัน และผู้บังคับบัญชาได้ดําเนินการ สืบสวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
(3) กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรงและได้รับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา หรือให้ถ้อยคํา รับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนหรือคณะกรรมการสอบสวน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา และได้มีการบันทึกถ้อยคํารับสารภาพเป็นหนังสือ
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก ศาลปกครอง เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง
เรื่องราวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ครูไม่พานักเรียนไปทัศนศึกษาในวันหยุด : ต้องยื่นใบลาหรือไม่ ?