เงินอุดหนุนรายหัว ค่าหนังสือเรียนและแนวทางการจัดซื้อหนังสือเรียน ปีงบประมาณ 2565 สังกัด สพฐ.

เงินอุดหนุนรายหัว ค่าหนังสือเรียน ปีงบประมาณ 2565 สังกัด สพฐ. และแนวทางการจัดซื้อหนังสือเรียน ปีงบประมาณ 2565 สังกัด สพฐ. เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีหนังสือแนวทางการดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับ เงินอุดหนุนรายหัวค่าหนังสือเรียน ปีงบประมาณ 2565 สังกัด สพฐ. ดังนี้

เงินอุดหนุนรายหัว ค่าหนังสือเรียน ปีงบประมาณ 2565 สังกัด สพฐ.

ค่าหนังสือเรียน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
1. งบประมาณค่าหนังสือเรียนที่ได้รับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับงบประมาณปี พ.ศ. 2565 เป็นค่าหนังสือเสริมประสบการณ์สำหรับระดับก่อนประถมศึกษา ค่าหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกระดับชั้น และแบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน ใน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้เฉพาะ ป.1 – ป.6 เพื่อจัดสรรให้นักเรียนมีหนังสือใช้เรียนครบทุกคน ดังนี้

มูลค่าหนังสือต่อชุดของนักเรียนระดับชั้นต่างๆ
ก่อนประถมศึกษา งบประมาณที่ได้ 200 บาท/คน/ปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 งบประมาณที่ได้ 656 บาท/คน/ปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 งบประมาณที่ได้ 650 บาท/คน/ปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 งบประมาณที่ได้ 653 บาท/คน/ปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 งบประมาณที่ได้ 707 บาท/คน/ปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 งบประมาณที่ได้ 846 บาท/คน/ปี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 งบประมาณที่ได้ 859 บาท/คน/ปี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 งบประมาณที่ได้ 808 บาท/คน/ปี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 งบประมาณที่ได้ 921 บาท/คน/ปี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 งบประมาณที่ได้ 996 บาท/คน/ปี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 งบประมาณที่ได้ 1,384 บาท/คน/ปี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 งบประมาณที่ได้ 1,326 บาท/คน/ปี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 งบประมาณที่ได้ 1,164 บาท/คน/ปี
ชั้น ปวช. 1-3 ที่จัดโดยสถานประกอบการ 2,000 บาท/คน/ปี

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อหนังสือเรียน ปี 2565

เรื่องราวที่น่าสนใจ : แนวทางการดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หรือ แนวทางการใช้เงินอุดหนุนรายหัว สพฐ. ปี 2565

เงินอุดหนุนรายหัว ค่าหนังสือเรียน ปีงบประมาณ 2565 สังกัด สพฐ. และแนวทางการจัดซื้อหนังสือเรียน ปีงบประมาณ 2565 สังกัด สพฐ.

>> ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร แนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่าย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ขอบคุณที่มาจาก : สพฐ.

แนวทางการดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หรือ แนวทางการใช้เงินอุดหนุนรายหัว สพฐ. ปี 2565

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสถานศึกษา และสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดความคุ้มค่า ประหยัดโปร่งใส เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและทางราชการสูงสุดการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีแนวคิดและหลักการในการดำเนินการ ดังนี้

แนวทางการดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หรือ แนวทางการใช้เงินอุดหนุนรายหัว ปี 2565

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ครูอาวุโส 64 ประกาศรายชื่อครูอาวุโสและรายชื่อครูอาวุโสที่ได้รับเงินช่วยเหลือ ประจำปี 2564 

1. ยึดหลักการแนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นแนวทางหลักและปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานจากการระดมความคิดเห็น ผลการติดตาม ตรวจสอบ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

2. สนองตอบต่อนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย เพื่อให้คนไทยมีการศึกษาและการเรียนรู้โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน สร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ ประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 โดยมีความใฝ่รู้และมีทักษะที่เหมาะสม เป็นคนดี มีคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้ โดยมีการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ และพัฒนากำลังคน ให้เป็นที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่ส่งเสริมให้ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไปมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบการศึกษาในพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายโดยคาดหวังว่าผู้เรียนทุกช่วงวัยจะได้รับการพัฒนาในทุกมิติ เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ และมีความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

3. แนวทางการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นแนวทางการดำเนินงานที่สามารถใช้ร่วมกัน
สำหรับสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สาระสำคัญ
ของแนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย ความเป็นมา วัตถุประสงค์ สาระสำคัญของนโยบาย
วิสัยทัศน์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด งบประมาณ เกณฑ์การจัดสรรและแนวทางการดำเนินงาน ปฏิทินการดำเนินงาน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวทางการดำเนินงานโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เอกสารเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านโอกาสและการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาการมีส่วนร่วม ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา มีความพร้อมที่จะเรียนและได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และสถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและนโยบายของรัฐบาล

>> ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารแนวทางการดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หรือ แนวทางการใช้เงินอุดหนุนรายหัว ปี 2565<<

>> ดาวน์โหลดไฟล์หนังสือแจ้ง จาก สพฐ.

แนวทางการใช้เงินอุดหนุนรายหัว-ปี-2565-1

ขอบคุณที่มาจาก : สพฐ.

ครูอาวุโส 64 ประกาศรายชื่อครูอาวุโสและรายชื่อครูอาวุโสที่ได้รับเงินช่วยเหลือ ประจำปี 2564 

ครูอาวุโส 64 ประกาศรายชื่อครูอาวุโสและรายชื่อครูอาวุโสที่ได้รับเงินช่วยเหลือ ประจำปี 2564 

ครูอาวุโส 64 ประกาศรายชื่อครูอาวุโสและรายชื่อครูอาวุโสที่ได้รับเงินช่วยเหลือ ประจำปี 2564 

รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. รักษาการเลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า ตามที่คุรุสภาโดย มูลนิธิช่วยครูอาวุโส ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่เกษียณอายุ ในปี พ.ศ. 2564 ยื่นแบบขอรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติครูอาวุโส ประกาศนียบัตร และเงินช่วยเหลือ ประจำปี 2564 นั้น บัดนี้ มูลนิธิช่วยครูอาวุโส ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอประกาศรายชื่อครูอาวุโส ประจำปี 2564 จำนวน 7,321 คน ในจำนวนนี้มีผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ จำนวน 30 คน

ดาวน์โหลดรายชื่อครูอาวุโส ประจำปี 2564 ได้ที่นี่

ประกาศรายชื่อครูอาวุโส ประจำปี 2564 จำนวน 7,321 คน

ประกาศรายชื่อครูอาวุโส ประจำปี 2564

ดาวน์โหลดรายชื่อครูอาวุโสที่ได้รับเงินช่วยเหลือ ประจำปี 2564 ได้ที่นี่

รายชื่อครูอาวุโสที่ได้รับเงินช่วยเหลือ ประจำปี 2564

ประกาศรายชื่อรับเงินช่วยเหลือ ปี 2564

ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะนำครูอาวุโส ประจำปี 2564 เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ เพื่อรับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ประกาศนียบัตร และเงินช่วยเหลือ สำหรับวัน เวลา และสถานที่ใด จะแจ้งให้ทราบต่อไป

ขอบคุณเนื้อหาจาก คุรุสภา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม กรมบัญชีกลางแจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการ จ่ายเบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญ ผ่านระบบ Digital Pension

อบรมออนไลน์ หลักสูตร Unplugged เปิดรับสมัครแล้ว อบรมออนไลน์หลักสูตร “การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ Unplugged ระดับประถมศึกษา”

0

อบรมออนไลน์ หลักสูตร Unplugged เปิดรับสมัครแล้ว อบรมออนไลน์หลักสูตร “การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ Unplugged ระดับประถมศึกษา”

อบรมออนไลน์ หลักสูตร Unplugged เปิดรับสมัครแล้ว อบรมออนไลน์หลักสูตร "การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ Unplugged ระดับประถมศึกษา"

📣ขอเชิญสมัคร อบรมออนไลน์ หลักสูตร “การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ Unplugged ระดับประถมศึกษา” มีวุฒิบัตรสำหรับผู้ผ่านการอบรม

ขอเชิญสมัคร อบรมออนไลน์ หลักสูตร "การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ Unplugged ระดับประถมศึกษา"

อบรมออนไลน์ หลักสูตร “การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ Unplugged ระดับประถมศึกษา” อบรมฟรีไม่ค่าใช้จ่าย

🔷 รุ่นที่ 1 อบรมวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 65
✍️ สมัครที่ https://bit.ly/3ADYBpE

ประกาศผลการคัดเลือกทางอีเมลและ เพจสาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.

ภายในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 

หมายเหตุ ขอท่านที่พร้อมและมั่นใจว่าสามารถเข้าอบรมในวันดังกล่าวได้เท่านั้น

มีวุฒิบัตรสำหรับผู้ผ่านการอบรม

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม อบรมออนไลน์ หลักสูตร Unplugged รุ่น 2 เปิดรับสมัครแล้ว อบรมออนไลน์หลักสูตร “การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ Unplugged ระดับประถมศึกษา”

ขอบคุณเนื้อหาจาก สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.

แบบทดสอบออนไลน์ MOE Safety Platform ทดสอบความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้งานแพลตฟอร์ม MOE Safety Platform รับเกียรติบัตร จาก รมว.ศธ. และ เลขา กพฐ.

0

แบบทดสอบออนไลน์ MOE Safety Platform ทดสอบความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้งานแพลตฟอร์ม MOE Safety Platform รับเกียรติบัตร จาก รมว.ศธ. และ เลขา กพฐ.

เข้าร่วมการทดสอบออนไลน์ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้งานแพลตฟอร์ม MOE Safety Platform ระหว่างวันที่ 1-8 กุมภาพันธ์ 2565 ไปแล้วนั้น หลายท่านที่ทำแบบทดสอบออนไลน์ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้งานแพลตฟอร์ม MOE Safety Platform ผ่านเกณฑ์ 70 % ทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตรจาก รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ และ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะสามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์ด้านล่างนี้ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565

ลงทะเบียนและทำการทดสอบ

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม moe safety center สถานศึกษาปลอดภัย นักเรียนนักศึกษาไทยอบอุ่น

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ขอเชิญบุคลากรทางการศึกษา ร่วมลงทะเบียนและทดสอบความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้งานแพลตฟอร์ม MOE Safety Platform

MOE Safety Center กระทรวงศึกษาธิการ

ตั้งแต่วันที่ 1 – 8 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 15:55 น. – 16:30 น. (วันละ 1 รอบ)

สามารถลงทะเบียนและทำการทดสอบสำหรับการสอบ วันที่ 1-8 กุมภาพันธ์ 2565 ได้ที่

ลิงก์ลงทะเบียนและทำแบบทดสอบ>>

ลิงก์วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 https://forms.gle/1nzjzd8aDGG1bExi6

ลิงก์วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 https://forms.gle/2kT4wt7PdzzNcfhN7

ลิงก์วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 https://forms.gle/32kY4DMc8w3xfMno9

ลิงก์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 https://forms.gle/zo4sXNaVtrGZDBdC8

ลิงก์วันที่ 5 -8  กุมภาพันธ์ 2565 

วันที่ 5-8 กุมภาพันธ์ 2565 จะเปิดการทดสอบวันละ 6 รอบๆ ละ 45 นาที
🕙 10:00-10:45 น.
🕚 11:00-11:45 น.
🕑 14:00-14:45 น.
🕒 15:00-15:45 น.
🕕 18:00-18:45 น.
🕖 19:00-19:45 น.
จะมี Link ข้อสอบทั้งหมด 9 ชุด สามารถเข้าทดสอบในลิงก์ใดก็ได้ 
➡️ linkข้อสอบที่ 1
https://forms.gle/WriCH4iAzSa1i3v28
➡️ linkข้อสอบที่ 2
https://forms.gle/zo4sXNaVtrGZDBdC8
➡️ linkข้อสอบที่ 3
https://forms.gle/32kY4DMc8w3xfMno9
➡️ linkข้อสอบที่ 4
https://forms.gle/2kT4wt7PdzzNcfhN7
➡️ linkข้อสอบที่ 5
https://forms.gle/2hUPoBQJAnJ9TaoV9
➡️ linkข้อสอบที่ 6
https://forms.gle/jMVpVxPUWFP9aH3K6
➡️ linkข้อสอบที่ 7
https://forms.gle/vWMMRsvyY657mYGo8
➡️ linkข้อสอบที่ 8
https://forms.gle/qtX2wnzfsWJ2CEcFA
➡️ linkข้อสอบที่ 9
https://forms.gle/6BjsW48zapZ6wzCY8

คู่มือประกอบการทำแบบทดสอบคลิกที่นี่

หมายเหตุ : เมื่อถึงเวลาทดสอบแล้วหากผู้ที่เข้าร่วมทดสอบไม่สามารถเข้า LINK ใดได้ เพราะผู้เข้าทดสอบเต็ม ให้ผู้เข้าร่วมทดสอบเข้า LINK อื่นๆ ได้ทันที

ท่านใดที่สอบผ่านเกณฑ์ 70% จะได้รับ เกียรติบัตรจาก รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ และ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะสามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์ด้านล่างนี้ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 (สามารถดาวน์โหลดใบประกาศนียบัตรด้วยตัวเองได้ที่เฟซบุ๊ก MOE Safety Center) ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ปรับใหม่ แบบทดสอบ MOE Safety Platform วันที่ 5-8 กุมภาพันธ์ 2565 จะเปิดการทดสอบวันละ 6 รอบๆ ละ 45 นาที

ขอบคุณข้อมูลจาก MOE Safety Center

กิจกรรมครูพ่อสื่อ ครูแม่สื่อ รุ่นที่2 เวิร์คช็อปครูนักสื่อสาร ที่จะพาครูติดอาวุธ เติมศักยภาพ เพิ่มทักษะการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์

กิจกรรมครูพ่อสื่อ ครูแม่สื่อ รุ่นที่2

กิจกรรมครูพ่อสื่อ ครูแม่สื่อ รุ่นที่ 2

เวิร์คช็อปครูนักสื่อสาร ที่จะพาครูติดอาวุธ เติมศักยภาพ เพิ่มทักษะการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์

กิจกรรมครูพ่อสื่อ ครูแม่สื่อ รุ่นที่2

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน สอบผ่าน 70 % รับเกียรติบัตรทันที

ครูจะได้พบกับอะไรในกิจกรรมบ้าง?
✅ ได้พัฒนาทักษะการสื่อสารออนไลน์ รู้จักเครื่องมือต่างๆ โดยผู้เชี่ยวชาญการทำสื่อ
✅ ได้ร่วมกันสร้างช่องทางการสื่อสารโดยครู-เพื่อครู
✅ ได้เชื่อมเครือข่ายครูนักสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนกัน

รับประกันว่าครูจะไม่ได้นั่งฟังเพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการมีส่วนร่วม ที่จะชวนครูมา Co-Thinking, Co-Planning, Co-Creation และ Co-Operation กันเลย

หากคุณเป็น…
👉🏻 ครูผู้เชี่ยวชาญระบบคัดกรองทุนเสมอภาค
👉🏻 ถนัดสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์
👉🏻 เป็นผู้นำในการให้คำแนะนำเพื่อนครูด้วยกัน
👉🏻 รับรู้ปัญหาพร้อมมองเห็นทางแก้ไข กะตือรือร้น และมีความคิดสร้างสรรค์
.
อย่ารอช้า ❗️ รีบสมัครเข้ามาภายในวันที่ 3 ก.พ. 65 นี้ 📌
ที่ลิงก์ https://forms.gle/siGDcUSV6jQTgPsG8

เวิร์คช็อปจะจัดในรูปแบบออนไลน์ทั้งหมด 4 ครั้งผ่านโปรแกรม zoom
ในวันเสาร์อาทิตย์ที่ 12, 13, 19, 26 ก.พ. 65 เวลาประมาณ 13.00-16.30 น.

*สงวนสิทธิ์สำหรับครูที่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมครบทุกครั้งตามวันเวลาดังกล่าว เนื่องจากในแต่ละครั้งเป็นเนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน และจำเป็นจะต้องใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่เสถียรเพื่อความลื่นไหลของกระบวนการ

📣 ประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมวันที่ 7 ก.พ. 65 ทางอีเมล line@cctthailand และเพจเฟซบุ๊ก การคัดกรองนักเรียนยากจน

ขอบคุณเนื้อหาจาก การคัดกรองนักเรียนยากจน

แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน สอบผ่าน 70 % รับเกียรติบัตรทันที

0

แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน สอบผ่าน 70 % รับเกียรติบัตรทันที

แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน

แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน จัดทำโดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2

ตัวอย่างเกียรติบัตร แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม แบบทดสอบออนไลน์ วPA แบบทดสอบโครงการอบรมสัมนาวิชาการ เรื่องการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement: PA) ตำแหน่งครู เพื่อรับเกียรติบัตร

เอกสาร เรื่อง ความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนา มีความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน ดังนี้ เครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล แบบแผนการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การออกแบบการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล การเขียนรายงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การเขียนบรรณานุกรม

เอกสารประกอบการทำแบบทดสอบดาวน์โหลดที่นี่

หลักสูตร ความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน จะส่งเสริมให้ครูมีความรู้ในการทำวิจัยในชั้นเรียนมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และจะช่วยพัฒนาจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนอีกด้วย

ทำแบบทดสอบ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน คลิกที่นี่

ตัวอย่างเกียรติบัตร แบบทดสอบออนไลน์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน

หลังจากทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ 70 % ท่านสามารถดาวน์โหลดเกียรติบัตรได้ ตามลิงก์ด้านล่างนี้

ลิงก์ดาวน์โหลดเกียรติบัตร ความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน

แบบทดสอบออนไลน์ วPA แบบทดสอบโครงการอบรมสัมนาวิชาการ เรื่องการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement: PA) ตำแหน่งครู เพื่อรับเกียรติบัตร

0

แบบทดสอบออนไลน์ วPA แบบทดสอบโครงการอบรมสัมนาวิชาการ เรื่องการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement: PA) ตำแหน่งครู เพื่อรับเกียรติบัตร

แบบทดสอบออนไลน์ วPA

 

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม อบรมออนไลน์ การประเมินเพื่อขอมี หรือ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” ว PA โดย กคศ. และ starfish อบรมออนไลน์ ได้เกียรติบัตร 2565

ตัวอย่าง เกียรติบัตร โครงการอบรมสัมนาวิชาการ เรื่องการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement: PA) ตำแหน่งครู

ลิงก์โครงการอบรมสัมนาวิชาการ เรื่องการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement: PA) ตำแหน่งครู

แบบทดสอบ เพื่อรับเกียรติบัตร โครงการอบรมสัมนาวิชาการ เรื่องการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement: PA) ตำแหน่งครู

ลิงก์ประเมินโครงการอบรมสัมนาวิชาการ เรื่องการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement: PA) ตำแหน่งครู

หลังจากที่กรอกแบบประเมิน โครงการอบรมสัมนาวิชาการ เรื่องการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement: PA) ตำแหน่งครู เสร็จเรียบร้อยให้ท่านกดที่ ลิงก์แบบทดสอบ ดังรูป

แบบทดสอบ เพื่อรับเกียรติบัตร โครงการอบรมสัมนาวิชาการ เรื่องการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement: PA) ตำแหน่งครู

ลิงก์แบบทดสอบ เพื่อรับเกียรติบัตร โครงการอบรมสัมนาวิชาการ เรื่องการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement: PA) ตำแหน่งครู

แบบทดสอบ เพื่อรับเกียรติบัตร โครงการอบรมสัมนาวิชาการ เรื่องการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement: PA) ตำแหน่งครู

หลังจากท่านได้กรอกข้อมูลและทำแบบทดสอบเรียนร้อยแล้ว ถ้าผ่านเกณฑ์ 70% ท่านจะได้รับเกียรติบัตร โดยสามารถค้นหาชื่อที่กรอกข้อมูลไว้ก่อนหน้านี้ได้เลย ถ้าไม่พบชื่อ แสดงว่าท่านยังทำแบบทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์ 70 %

ลิงก์ค้นหาเกียรติบัตร ครงการอบรมสัมนาวิชาการ เรื่องการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement: PA) ตำแหน่งครู

ค้นหาเกียรติบัตร โครงการอบรมสัมนาวิชาการ เรื่องการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement: PA) ตำแหน่งครู

กรมบัญชีกลางจะเริ่มใช้ระบบบำเหน็จบำนาญและสวัสดิการรักษาพยาบาล (Digital Pension) 1 กุมภาพันธ์ 2565

กรมบัญชีกลาง เริ่มใช้ระบบบำเหน็จบำนาญและสวัสดิการรักษาพยาบาล นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป กรมบัญชีกลางจะเริ่มใช้ระบบบำเหน็จบำนาญและสวัสดิการรักษาพยาบาล (Digital Pension) ซึ่งเป็นการบูรณาการฐานข้อมูลภาครัฐของกรมบัญชีกลาง โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ (e-Payroll) ฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ
เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มีสิทธิรับเงินและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตลอดจน ลดกระบวนงานอนุมัติสั่งจ่าย การขอหนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอด เพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกัน การกู้เงิน นอกจากนี้ได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กรมสรรพากร กรมบังคับคดี กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และธนาคารแห่งประเทศไทย
            “ขณะนี้กรมบัญชีกลางได้แจ้งให้ส่วนราชการมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานเบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน เข้ารับการฝึกอบรมและลงทะเบียนกำหนดสิทธิเข้าใช้งานในระบบเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งได้พัฒนา Mobile Application ชื่อว่า “Digital Pension” เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ผู้มีสิทธิสามารถยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญ ติดตามสถานะการยื่นคำขอ ตรวจสอบหนังสือสั่งจ่าย ประมาณการเบี้ยหวัด/บำเหน็จ/บำนาญ ขอหนังสือรับรองเงินบำนาญ/บำเหน็จรายเดือน ขอหนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอด ยื่นขอรับเงิน ช.ค.บ. ขอย้ายส่วนราชการผู้เบิกดาวน์โหลดหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย และสามารถตรวจสอบสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล เป็นต้น
สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ทาง Play Store หรือ App store พิมพ์ค้นหาคำว่า Digital Pension โดยจะเริ่มเปิดให้ดาวน์โหลดตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center กรมบัญชีกลาง หมายเลข 02 270 6400 ในวัน เวลาราชการ” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว
ลิงก์ดาวน์โหลด playstore : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.zealtech.cgd

ระบบ พาน้องกลับมาเรียน และวิธีการใช้งาน กระทรวงศึกษาธิการ ลิงก์เข้าระบบ https://dropout.edudev.in.th/

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับที่มาของโครงการพาน้องกลับมาเรียน

ระบบ พาน้องกลับมาเรียน และวิธีการใช้งาน กระทรวงศึกษาธิการ ลิงก์เข้าระบบ “พาน้องกลับมาเรียน” เป็นระบบที่ถูกออกแบบให้เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลในการติดตามช่วยเหลือ พาน้อง ๆ นักเรียนที่หลุดจากระบบการศึกษาโดยใช้ข้อมูลนักเรียนที่หายไปจากภาคเรียนที่ 1/64 และ 2/64 ของแต่ละสังกัด (สพฐ., สอศ., สช., กศน., กสศ.) เป็นข้อมูลตั้งต้นในการใช้ค้นหา ติดตาม ช่วยเหลือซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบการมีตัวตนกับฐานข้อมูลกลางกับระบบ Education Data Center: EDC ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเรียบร้อยแล้ว โดยระบบจะมี 2 แบบแบ่งหน้าที่กันทำงานอย่างชัดเจน คือ

ระบบ พาน้องกลับมาเรียน และวิธีการใช้งาน กระทรวงศึกษาธิการ

เรื่องราวที่น่าสนใจ : ลิงก์ลงทะเบียน สมัครอบรม หลักสูตรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร ด้านอาชีพในศตวรรษที่ 21 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดย สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.)

1. เว็บไซต์ “พาน้องกลับมาเรียน” เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลรายชื่อนักเรียนที่หลุดออกจากระบบเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลในการติดตาม โดยท างานร่วมกับเครื่องมือในแอพพลิเคชั่น“พาน้องกลับมาเรียน” ในระบบ Android และ iOS (อยู่ในขั้นรออการพิจารณาอนุมัติจาก Apple) และหากต้องการจะใช้งานแอพพลิเคชั่น พาน้องกลับมาเรียน ใน Android/iOS ผู้ใช้งานจะต้องผ่านการลงทะเบียนและได้รับอนุมัติให้ใช้งานในเว็บไซต์นี้ก่อนจึงจะสามารถใช้ Username และ Password เข้าระบบใน MobileApplication “พาน้องกลับมาเรียน” ได้

>> ลิงก์เข้าเว็บไซต์ : https://dropout.edudev.in.th/

>> ลิงก์การลงทะเบียนใช้งานระบบ พาน้องกลับมาเรียน

>> คู่มือและขั้นตอนการใช้งานระบบ “พาน้องกลับมาเรียน”
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

2. Application “พาน้องกลับมาเรียน” เป็น Mobile Application ที่เป็นเครื่องมือในการลงพื้นที่ค้นหา สำรวจ ติดตาม นักเรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา ตามรายชื่อที่ปรากฏในเว็บไซต์ “พาน้องกลับมาเรียน” โดย Application จะให้บันทึกสถานะการติดตาม สาเหตุที่ไม่เรียน พิกัด ภาพถ่าย และเหคุผลความจำเป็น เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการช่วยเหลือให้นักเรียนกลับเข้ามาเรียนในระบบต่อไปสิทธิ์การใช้งาน และขั้นตอนการลงทะเบียนใช้งาน

สิทธิ์การใช้งานของระบบจะแบ่งออกเป็น 3 สิทธิ์ โดยแต่ละสิทธิ์ของผู้ใช้งานจะแตกต่างกันไปตามบทบาทดังนี้
– ระดับพื้นที่/จังหวัด
หากเป็นสังกัดสำนักงานคณะกรรการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สิทธิ์ในระดับนี้ก็คือ“สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา” แต่หากเป็นสังกัดอื่น ๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ผู้ใช้งานในระดับนี้ก็คือ สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด หรือสำนักงานการอาชีวศึกษาจังหวัด นั่นเอง ซึ่งจะสามารถเห็นข้อมูลนักเรียนโรงเรียนที่มีนักเรียนหลุดออกจากระบบที่อยู่ภายใต้สังกัดของหน่วยงานตนเอง โดยผู้ใช้งานในระดับนี้จะต้องทำการตรวจสอบข้อมูลผู้ใช้งาน และเป็นผู้อนุมัติ/ไม่อนุมัติผู้ใช้งานในระดับโรงเรียน/สถานศึกษา ของตนเองเพื่อให้สามารถเข้าใช้งานในระบบด้วย ซึ่งหากผู้ใช้งานในระดับโรงเรียน/สถานศึกษา สมัครใช้งานมาแล้วแต่ไม่มีการตรวจสอบและอนุมัติ ผู้ใช้งานในระดับโรงเรียน/สถานศึกษา จะไม่สามารถเข้าใช้งานระบบได้

– ระดับโรงเรียน/สถานศึกษา
สิทธิ์ในระดับนี้ก็คือโรงเรียน หรือ สถานศึกษาในสังกัดที่มีนักเรียนที่หลุดออกจากระบบ โดยผู้ใช้งานเมื่อสมัครสมาชิกไปแล้วจะต้องรอให้ทางผู้ใช้ระดับพื้นที่/จังหวัด ที่ตนเองสังกัด ตรวจสอบและอนุมัติก่อนจึงจะสามารถเข้าใช้งานระบบได้ซึ่งสิทธิ์ในระดับนี้ก็คือสามารถบริหารจัดการข้อมูลนักเรียนที่หลุดออกจากระบบของโรงเรียน/สถานศึกษาของตนเอง

– ระดับบุคคลทั่วไป
สิทธิ์ผู้ใช้งานในระดับนี้ออกแบบมาให้กับประชาชน บุคคล หน่วยงานที่ร่วม MOU ได้เข้ามาใช้งานเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน ติดตาม รายงานเพิ่มเติม ซึ่งจะเปิดให้ใช้งานในระยะที่ 2 หลังจากโรงเรียน/สถานศึกษาได้ดำเนินการติดตามนักเรียนเรียบร้อยแล้ว

โดยจัดทำระบบพาน้องกลับมาเรียน ทั้งในรูปแบบเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน โดยกระทรวงศึกษาธิการได้แจ้งข้อมูลการใช้งาน การสมัครสมาชิก การติดตามนักเรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา ดังนี้

>> ลิงก์การลงทะเบียนใช้งานระบบ พาน้องกลับมาเรียน

>> คู่มือและขั้นตอนการใช้งานระบบ “พาน้องกลับมาเรียน”
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 

เรื่องราวที่น่าสนใจ : การปรับขนาด pdf ให้เล็กลง ผ่านเว็ปโดยไม่ต้องโหลดโปรแกรม ให้หนักเครื่อง

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ : https://dropout.edudev.in.th/