เลขาฯ ก.ค.ศ. เผยแนวทางการดำเนินการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย (ภาค ค) สังกัด สพฐ. ปี 2564 สอบปี 2565 ในสภาวการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

วันที่ 28 มีนาคม 2565 รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เปิดเผยแนวทางการดำเนินการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย (ภาค ค) ในสภาวการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ว่าตามที่ ก.ค.ศ. ได้ประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ว 14/2563) โดยข้อ 9.10 ของหลักเกณฑ์ดังกล่าว กำหนดให้ผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน ภาค ค โดยให้คณะกรรมการประเมินที่ผู้ดำเนินการสอบแข่งขันแต่งตั้งดำเนินการประเมิน ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่งวิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ โดยให้ประเมิน ณ สถานที่ที่ผู้ดำเนินการสอบแข่งขันกำหนด และในการประเมินความสามารถด้านการสอน ต้องมีการบันทึกภาพและเสียงในรูปแบบวิดีโอในขณะประเมินไว้เป็นหลักฐานด้วย แต่เนื่องจากปัจจุบันได้มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ (COVID-19) ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมิน ภาค ค ที่อยู่ระหว่างการรักษาตัว หรือผู้ที่มีหลักฐานยืนยันผลการตรวจฯ โดยวิธีการตรวจ ATK เป็น Positive  (พบเชื้อ) หรือ RT – PCR เป็น Detected (พบเชื้อ) ไม่สามารถเข้ารับการประเมินตามกำหนดวัน เวลา และสถานที่ตามที่ผู้ดำเนินการสอบแข่งขันกำหนดได้ เพื่อไม่ให้กระทบสิทธิของผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมิน ภาค ค และเพื่อให้การดำเนินการสอบแข่งขันฯ (ภาค ค)  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 14/2563 สามารถดำเนินการได้ในสภาวการณ์ดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินการสอบฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย (ภาค ค) ดังนี้

เลขาฯ ก.ค.ศ. เผย แนวทางการดำเนินการสอบแข่งขัน ครูผู้ช่วย (ภาค ค) สังกัด สพฐ. ปี 2564

 

1. กรณีที่ผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมิน ภาค ค เป็นผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่อยู่ระหว่างรักษาตัว หรือผู้ที่มีหลักฐานยืนยันผลการตรวจฯ โดยวิธีการตรวจ ATK เป็น Positive (พบเชื้อ) หรือ RT – PCR เป็น Detected (พบเชื้อ) และไม่สามารถเข้ารับการประเมิน ภาค ค ตามกำหนดวัน เวลา และสถานที่ตามที่ผู้ดำเนินการสอบแข่งขันกำหนดได้ ให้ กศจ. หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณีเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยกำหนดวิธีการหรือรูปแบบในการประเมิน ภาค ค ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ให้มีประสิทธิภาพ เช่น อาจจัดสถานที่ดำเนินการประเมินสำหรับกลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีผลการตรวจยืนยันชัดเจน หรืออาจประเมินผ่านระบบออนไลน์จากสถานที่รักษาตัวหรือสถานที่กักตัว ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าวต้องดำเนินการตามหลักสูตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ตามหลักเกณฑ์ (ว 14/2563)

2. ให้ส่วนราชการกำกับ ดูแลการดำเนินการประเมินฯ เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่หน่วยงานผู้ซึ่งมีอำนาจกำหนด

โดยในวันนี้ตนเองได้ลงนามในหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. เพื่อแจ้งแนวทางการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ถึงหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบและถือปฏิบัติแล้ว ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้กระทบสิทธิของผู้ที่มีคุณสมบัติเข้ารับการประเมินฯ และเพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าว.

กลุ่มประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่

ขอบคุณที่มา : https://otepc.go.th/th/content_page/item/3721-2019-covid-19-2.html

แนวทางการรับบริจาค อุปกรณ์สำหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ ของนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการ

แนวทางการรับบริจาคอุปกรณ์สำหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ของนักเรียน

ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้ กระทรวงศึกษาธิการ สนับสนุนอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียน ออนไลน์ของนักเรียน และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พิจารณาแนวทางสนับสนุน ตรวจเสนอ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดําเนินงานสนับสนุนอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียนของนักเรียน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้มีการแต่งตั้ง “นักวิเคราะห์ฯ ชํานาญการ คณะทํางานจัดทําแนวทางการสนับสนุนอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ โดยมีการประชุมหารือร่วมกันจํานวน ๕ ครั้ง โดยครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ มีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ครั้งที่ ๒ นักวิเคราะห์ ช่านาญการที่เศษ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๕ ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๕ ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๕ และครั้งที่ ๕ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ โดยมีรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุทิน แก้วพนา) นักวิเคราะห์จากการพิเศษ เป็นประธานการประชุม ซึ่งฝ่ายเลขานุการฯ ได้นําเรียนสรุปรายงานความก้าวหน้าฯ พร้อมทั้งได้สรุปผล การประชุมให้ท่านทราบทุกครั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั้น


สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. ขอเรียนว่า

๑. ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้พิจารณาว่า เห็นควรใช้วิธีการรับบริจาคอุปกรณ์สําหรับ ใช้ในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนหรือการบริจาคเป็นเงินสด ซึ่งการบริจาคเป็นอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียน ออนไลน์ของนักเรียน ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Smartphone) คอมพิวเตอร์พกพา (Notebook Tablet) คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Computer PC) โทรทัศน์อัจฉริยะ (Smart TV) เป็นต้น ทั้งนี้ อุปกรณ์ที่รับบริจาคต้องเป็น ของใหม่หรือมีอายุการใช้งานไม่เกิน ๑ ปี และอยู่ในสภาพพร้อมใช้ หรืออาจบริจาคเป็นเงินสด ก็สามารถทําได้ รายละเอียดดังเอกสารแนวทางฯ ที่แนบมาพร้อมนี้ ดังนั้น จึงเห็นควรเผยแพร่แนวทางการบริจาคฯ ดังกล่าว ผ่านช่องทางที่หลากหลาย รวมทั้งเผยแพร่ผ่านช่องทาง ศธ. ๓๖๐ องศา และเว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้ ทุกส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานภายนอก รวมถึงภาคเอกชนได้รับทราบและร่วมบริจาคต่อไป

 

๒. แนวทางการดําเนินงาน ได้แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ (๑) ระดับกระทรวงศึกษาธิการ (๒) ระดับ หน่วยงาน (๓) ระดับจังหวัด/สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ (๔) ระดับสถานศึกษา โดย

(๑) ระดับกระทรวงศึกษาธิการ จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดําเนินการ จัดหาและสนับสนุนอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ของนักเรียน จัดตั้งกองทุนสนับสนุนเพื่อรองรับ การจัดหาและสนับสนุนอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ของนักเรียน จัดตั้งศูนย์ประสานงาน การรับบริจาคอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ของนักเรียน จัดงานเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ จัดหาและสนับสนุนอุปกรณ์สําหรับใช้การเรียนออนไลน์ของนักเรียน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกิดการรับรู้ ในวงกว้าง ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดําเนินงานฯ

(๒) ระดับหน่วยงาน กําหนดแนวทางการบริหารจัดการอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียน การสอนออนไลน์ที่ได้รับการบริจาค ระดมทุนโดยการประสานหน่วยงาน มูลนิธิ ภาคเอกชน ในการร่วมบริจาค สําหรับการจัดหาอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ของนักเรียน แจ้งให้หน่วยงาน/สถานศึกษา ในสังกัดจัดทําโครงการ ระดมทุน หรือรับบริจาคอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ สรุปรายงานข้อมูลจํานวนนักเรียน ที่ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ และติดตามประเมินผลและสรุปผล การดําเนินงานฯ

(๓) ระดับจังหวัด/สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดตั้งคณะกรรมการ/คณะทํางาน ดําเนินการจัดหาอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ระดับสถานศึกษา กําหนดแนวทางการบริหาร จัดการอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ที่ได้รับการบริจาค สนับสนุนการดําเนินโครงการ ระดมทุน หรือรับบริจาคอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียน การสอนออนไลน์ระดับสถานศึกษา จัดสรรอุปกรณ์ ที่ได้รับบริจาค หรือจัดซื้ออุปกรณ์โดยใช้เงินบริจาคที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียน การสอนออนไลน์ และดําเนินการให้นักเรียนมีอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ใช้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ รายงานข้อมูลจํานวนนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ เสนอสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกํากับติดตามประเมินผลการรับบริจาค และรายงานผล การดําเนินงานฯ ของสถานศึกษาให้สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ

(๔) ระดับสถานศึกษา จัดตั้งคณะกรรมการ/คณะทํางานดําเนินการจัดหาอุปกรณ์ สําหรับใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ระดับ จัดทําโครงการ/กิจกรรมเพื่อระดมทุน จากศิษย์เก่า ผู้มีจิตศรัทธา มูลนิธิ ห้างร้าน ภาคเอกชน ในการร่วมบริจาคอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อส่งเสริม และให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรจากบุคคล ครอบครัว ชุมชนองค์กร ชุมชนเอกชน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น สถานศึกษา เสนอโครงการระดมทรัพยากร เพื่อขอความเห็นชอบต่อหน่วยงานต้นสังกัด จัดทําบัญชีรายชื่อสถานศึกษา นักเรียน นักศึกษา ที่มีความขาดแคลนและต้องการได้รับบริจาคอุปกรณ์การเรียน ติดตามประเมินผล รายงานผลการดําเนินงาน และรายงานผลการใช้อุปกรณ์การเรียนการสอนออนไลน์ของนักเรียนหลังจาก นักเรียนใช้อุปกรณ์แล้ว

๓. สําหรับแนวทางการดําเนินงานฯ ข้างต้น ในส่วนของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในระดับกระทรวงศึกษาธิการและระดับหน่วยงาน เห็นควรมอบผู้รับผิดชอบเพื่อดําเนินการ ซึ่งในเรื่องของ การจัดตั้งกองทุนสนับสนุนเพื่อรองรับการจัดหาและสนับสนุนอุปกรณ์สําหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ ของนักเรียน เห็นควรมอบให้สํานักนิติการ สป. (สน.สป.) และสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากร ทางการศึกษา (สคบศ.) เป็นผู้ดําเนินการ ในเรื่องของการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการรับบริจาคอุปกรณ์สําหรับ ใช้ในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนและการจัดงานเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการจัดหาและสนับสนุน อุปกรณ์สําหรับใช้การเรียนออนไลน์ของนักเรียน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง เห็นควร มอบสํานักอํานวยการ สป. (สอ.สป.) ดําเนินการร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป. (ศทก.สป.) ในส่วนของการติดตามประเมินผลและรายงานผลการดําเนินงานเห็นควรมอบสํานักตรวจราชการ และติดตามประเมินผล สป. (สตผ.สป.) ดําเนินการติดตามประเมินผลและรายงานผลการดําเนินงานฯ สําหรับ ในส่วนของระดับจังหวัดเห็นควรมอบกองส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการศึกษาในภูมิภาค (กสภ.) เป็นหน่วยงานดําเนินการ

ขอบคุณเนื้อหาจาก กระทรวงศึกษาธิก

ดาวน์โหลดหนังสือแจ้ง แนวทางการรับบริจาคอุปกรณ์สำหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ ที่นี่าร

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม การนับเวลาเรียน และการอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา 2564 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

บทเรียนออนไลน์ พร้อมรับเกียรติบัตร เรื่อง วิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว

0

บทเรียนออนไลน์ พร้อมรับเกียรติบัตร เรื่อง วิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว เป็นสถานศึกษาที่ส่งเสริมให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม และเป็นอุทยานการเรียนรู้จังหวัดสระแก้ว ได้จัดทำบทเรียนออนไลน์ เรื่อง วิทยาศาสตร์พื้นฐาน พร้อมทำแบบทดสอบความรู้เพื่อรับเกียรติบัตร เกี่ยวกับเรื่อง แสง เสียง แม่เหล็กไฟฟ้า พลังงาน แรงและการเคลื่อนที่ และหัวหุ่นนักวิทยาศาสตร์ ในการจุดประกายความคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจ โดยสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันด้วยวิธีการทดลองกับสื่อการเรียนรู้จริง ทำให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

ลิงก์เนื้อหาความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานคลิกที่นี่

บทเรียนออนไลน์ พร้อมรับเกียรติบัตร เรื่อง วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

ลิงก์ทำแบบทดสอบวิทยาศาสตร์พื้นฐานคลิกที่นี่
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
คำชี้แจง : 1.แบบทดสอบทั้งหมด 20 ข้อ ผู้ที่ผ่านเกณฑ์ 70 % จะได้รับเกียรติบัตร
2.ใบเกียรติบัตรจะถูกส่งไปยัง E-mail ที่กรอกไว้หลังทำแบบทดสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ขอขอบคุณที่เข้าร่วมกิจกรรมกับทางศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว

ขอบคุณเนื้อหาจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม รวมเอกสาร การสอบ RT 2565 เอกสารการประเมิน คู่มือการจัดสอบ แบบบันทึกคะแนน วิดีโอแนะนำการสอบ ได้ที่นี่!

เตรียมจัดอับดับปัญหาหนี้ครู ประมวลเหตุครูก่อหนี้ หวังแก้ไขได้ตรงจุด

เตรียมจัดอับดับปัญหาหนี้ครู ประมวลเหตุครูก่อหนี้ หวังแก้ไขได้ตรงจุด

รมว.ศธ. ปิ๊งโมเดลแก้ปัญหาหนี้ครูของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูราชบุรี เตรียมประมวลเหตุครูก่อหนี้-จัดอันดับหวังแก้ไขได้ตรงจุด
วันนี้ (28 ก.พ. 65) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังการดูงานการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูราชบุรี จำกัด ว่า รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำหนดให้ปีนี้เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน และมีการบูรณาการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากร ทางการศึกษาได้รับการเยียวยาช่วยเหลือ เพื่อทุกครัวเรือนมีชีวิตความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น ซึ่งสหกรณ์ออมทรัพย์ครูราชบุรี เป็นหนึ่งใน 70 สหกรณ์ออมทรัพย์ครูต้นแบบที่เข้าร่วมแก้ไขหนี้สินครูฯด้วยแนวทางการช่วยเหลือสมาชิกที่หลากหลาย อาทิ การปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง เพื่อช่วยเหลือสมาชิกสามารถเข้าถึง
แหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 4.90 ต่อปี ซึ่งถือเป็น 1 ในสหกรณ์ 10 แห่งที่ได้ลดดอกเบี้ยลงจนเหลือต่ำกว่าร้อยละ 5 , เป็นสหกรณ์ที่มีความเข้มแข็งไม่ได้กู้ยืมเงินที่อื่นมาดำเนินการ ,มีการปรับโครงสร้างหนี้หรือรวมหนี้ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่มีเงินเดือนติดลบ ให้มีเงินเดือนคงเหลือใช้จ่ายไม่น้อย
กว่าร้อยละ 30 ซึ่งเป็นเป้าหมายพื้นฐานหลักของนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการเห็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิต ลดข้อกังวล
ในการดำเนินชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้คุณครูสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งจะส่งผลต่อเด็กและเยาวชนของเรา ที่จะเติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป
รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตั้งคณะกรรมการแก้ไขหนี้สินครู หรือ สถานีแก้หนี้ครูขึ้น 2 ระดับ คือ ระดับจังหวัด และระดับเขตพื้นที่ รวมทั้งเปิดรับลงทะเบียนครูที่ต้องการเข้ารับการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนแล้วกว่า 20,000 รายโดยยังคงเปิดรับการลงทะเบียนไปเรื่อยๆ ไม่มีกำหนดปิด อย่างไรก็ตามเมื่อครบการเปิดลงทะเบียน 1 เดือนในวันที่ 15 มีนาคมนี้จะมีการประมวลผลว่าครูมีปัญหาเรื่องใดมากที่สุด เพื่อจัดลำดับการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
“ การดำเนินการเพื่อช่วยเหลือครู และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบในครั้งนี้ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานภายในของกระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการเงินต่างๆ
และที่ขาดไม่ได้ คือสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่จะเป็นกลไกสำคัญของการแก้หนี้ครูให้ประสบความความสำเร็จ วันนี้ดิฉันได้เห็นโมเดลต่างๆที่เป็นประโยชน์ และจะนำรูปแบบที่เหมาะสมไปปรับใช้กับสหกรณ์อื่นๆ “ นางสาวตรีนุช กล่าว.

ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ลิงก์ลงทะเบียนแก้หนี้ครู  เปิดให้ครูลงทะเบียนแก้หนี้ 14 ก.พ. 2565 โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู”สร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย”

แนวทางการดำเนินการ สอบแข่งขันครูผู้ช่วย (ภาค ค) สังกัด สพฐ. ในสภาวการณ์แพร่ระบาดโรคติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

แนวทางการดำเนินการ สอบแข่งขันครูผู้ช่วย (ภาค ค) สังกัด สพฐ. ในสภาวการณ์แพร่ระบาดโรคติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

เลขาฯ ก.ค.ศ. เผยแนวทางการดำเนินการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย (ภาค ค) สังกัด สพฐ. ในสภาวการณ์แพร่ระบาดโรคติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เปิดเผยแนวทางการดำเนินการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย (ภาค ค) ในสภาวการณ์แพร่ระบาดโรคติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ว่าตามที่ ก.ค.ศ. ได้ประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ว 14/2563) โดยข้อ 9.10 ของหลักเกณฑ์ดังกล่าว กำหนดให้ผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน ภาค ค โดยให้คณะกรรมการประเมินที่ผู้ดำเนินการสอบแข่งขันแต่งตั้งดำเนินการประเมิน ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่งวิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ โดยให้ประเมิน ณ สถานที่ที่ผู้ดำเนินการสอบแข่งขันกำหนด และในการประเมินความสามารถด้านการสอน ต้องมีการบันทึกภาพและเสียงในรูปแบบวิดีโอในขณะประเมินไว้เป็นหลักฐานด้วย แต่เนื่องจากปัจจุบันได้มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ (COVID-19) ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมิน ภาค ค ที่อยู่ระหว่างการรักษาตัว หรือผู้ที่มีหลักฐานยืนยันผลการตรวจฯ โดยวิธีการตรวจ ATK เป็น Positive (พบเชื้อ) หรือ RT – PCR เป็น Detected (พบเชื้อ) ไม่สามารถเข้ารับการประเมินตามกำหนดวัน เวลา และสถานที่ตามที่ผู้ดำเนินการสอบแข่งขันกำหนดได้ เพื่อไม่ให้กระทบสิทธิของผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมิน ภาค ค และเพื่อให้การดำเนินการสอบแข่งขันฯ (ภาค ค) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 14/2563 สามารถดำเนินการได้ในสภาวการณ์ดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินการสอบฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย (ภาค ค) ดังนี้

1. กรณีที่ผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมิน ภาค ค เป็นผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่อยู่ระหว่างรักษาตัว หรือผู้ที่มีหลักฐานยืนยันผลการตรวจฯ โดยวิธีการตรวจ ATK เป็น Positive (พบเชื้อ) หรือ RT – PCR เป็น Detected (พบเชื้อ) และไม่สามารถเข้ารับการประเมิน ภาค ค ตามกำหนดวัน เวลา และสถานที่ตามที่ผู้ดำเนินการสอบแข่งขันกำหนดได้ ให้ กศจ. หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง แล้วแต่กรณีเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยกำหนดวิธีการหรือรูปแบบในการประเมิน ภาค ค ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ให้มีประสิทธิภาพ เช่น อาจจัดสถานที่ดำเนินการประเมินสำหรับกลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีผลการตรวจยืนยันชัดเจน หรืออาจประเมินผ่านระบบออนไลน์จากสถานที่รักษาตัวหรือสถานที่กักตัว ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าวต้องดำเนินการตามหลักสูตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ตามหลักเกณฑ์ (ว 14/2563)

2. ให้ส่วนราชการกำกับ ดูแลการดำเนินการประเมินฯ เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่หน่วยงานผู้ซึ่งมีอำนาจกำหนด

โดยในวันนี้ตนเองได้ลงนามในหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. เพื่อแจ้งแนวทางการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ถึงหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบและถือปฏิบัติแล้ว ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้กระทบสิทธิของผู้ที่มีคุณสมบัติเข้ารับการประเมินฯ และเพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าว.

ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม สอบครูผู้ช่วย ภาค ค 2564 สอบปี 2565 สอบอะไรบ้าง

บทเรียนออนไลน์ พร้อมรับเกีรติบัตร หลักสูตร การเขียนหนังสือราชการ : เสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ โดย OCSC Learning Space สำนักงาน ก.พ.

0

 

บทเรียนออนไลน์ พร้อมรับเกีรติบัตร หลักสูตร การเขียนหนังสือราชการ : เสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ โดย OCSC Learning Space สำนักงาน ก.พ.

หลักสูตร การเขียนหนังสือราชการ : เสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ โดย OCSC Learning Space สำนักงาน ก.พ.

เป้าหมายการเรียนรู้
1. เพื่อให้สามารถอธิบายลักษณะของหนังสือติดต่อราชการและความแตกต่างของหนังสือภายนอก หนังสือภายในและหนังสือประทับตราได้
2. เพื่อให้สามารถอธิบายการเขียนหนังสือติดต่อราชการให้ถูกต้อง ถูกแบบ ถูกเนื้อหา ถูกหลักภาษา
3. เพื่อให้สามารถเขียนหนังสือติดต่อราชการได้บรรลุจุดประสงค์และเป็นผลดี

OCSC Learning Space สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.)

ลิงก์ลงทะเบียน หลักสูตร การเขียนหนังสือราชการ : https://learningportal.ocsc.go.th/learningspace/courses/1019

วิธีการประเมินผล
ทำแบบทดสอบหลังเรียนได้มากกว่า 60% เพื่อรับเกียรติบัตร

ประเด็นการเรียนรู้
1. ลักษณะของหนังสือติดต่อราชการ
2. วิธีการเขียนหนังสือติดต่อราชการให้ดี
3. ฝึกปฏิบัติ การเขียนหนังสือราชการ : เสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ

หมายเหตุ
ไม่บังคับเรียนตามลำดับเนื้อหา

ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.)

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม บทเรียนออนไลน์ พร้อมรับเกียรติบัตร โดย OCSC Learning Space สำนักงาน ก.พ. หลักสูตร Google Tools เพื่อการพัฒนางาน

การจัดทําระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑) ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

การจัดทําระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑) ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

การจัดทําระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑) ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

การจัดทําระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑) ปีการศึกษา ๒๕๖๔
การจัดทําระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑) ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๔ สถานศึกษาไม่ต้อง นําผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มากรอกลงในระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.ด) โดยให้ใส่เครื่องหมายขีด “ ” ในช่องผลการทดสอบระดับชาติและช่องสัดส่วนผลการเรียนและผลการทดสอบ ระดับชาติ ทั้งนี้ หากสถานศึกษาใดหรือหน่วยงานใดมีความประสงค์ที่จะใช้ผลการทดสอบทางการศึกษา แห่งชาติขั้นพื้นฐาน ให้แนบใบแจ้งผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ไปกับ ระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑)

ดาวน์โหลดเอกสารชี้แจง การจัดทําระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑) ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ที่นี่

ขอบคุณเนื้อหาจาก วิษณุ ทรัพย์สมบัติ

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

การนับเวลาเรียน และการอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา 2564 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

การนับเวลาเรียนและการอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

การนับเวลาเรียน และการอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

การนับเวลาเรียนและการอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา 2564
1. การนับเวลาเรียน
การนับเวลาเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งเป็นไปตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเลื่อนเวลาเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจําปีการศึกษา 2564 ให้เริ่มนับเวลาเรียน ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป สําหรับโรงเรียนที่เปิดภาคเรียนก่อนวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ให้เริ่มนับเวลาเรียนตั้งแต่วันที่เปิดภาคเรียน โดยสถานศึกษาต้องจัดให้มีการสอนชดเชยให้ครบตามโครงสร้าง เวลาเรียนที่สถานศึกษากําหนด ส่วนการเปิดปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2564 ยังคงเป็นไปตามระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
2. การอนุมัติการจบการศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
การอนุมัติการจบการศึกษา ให้สถานศึกษาดําเนินการ ดังนี้
1) กรณีสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนครบตามโครงสร้างเวลาเรียน และเกณฑ์การจบแต่ละระดับ ให้อนุมัติการจบการศึกษาภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565
2) กรณีนักเรียนมีผลการเรียนไม่สมบูรณ์ (ติด 0 ร มส) ให้สถานศึกษากํากับ ติดตาม ช่วยเหลือ สอนซ่อมเสริมและดําเนินการวัดและประเมินผลให้เสร็จสิ้นและอนุมัติการจบการศึกษา ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2565

ดาวน์โหลดเอกสารชี้แจง การการนับเวลาเรียน และการอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ที่นี่

ขอบคุณเนื้อหาจาก วิษณุ ทรัพย์สมบัติ

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ปีการศึกษา 2564 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

๑. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล
๑.๑ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
สถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่จําเป็น อย่างมีความหมายตามตัวชี้วัด ๒ ลักษณะ ได้แก่ เน้นตัวชี้วัดต้องรู้และให้บูรณาการตัวชี้วัดควรรู้กับกิจกรรม ภาคปฏิบัติหรือภาระงานของผู้เรียน โดยสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ทั้ง Online /On Air /On Demand/ On Hand หรือแบบ Blended learning ระหว่าง Onsite กับ Distance learning ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน โดยคํานึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียนเป็นสําคัญ

๑.๒ การวัดและประเมินผล
สถานศึกษาสามารถเลือกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่สามารถ วัดและประเมินผลได้จริง คํานึงถึงบริบทของผู้เรียนที่บ้านและความพร้อมของผู้ปกครอง โดยให้การวัด และประเมินผลการเรียนรู้ เป็นบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาในการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และเพื่อการตัดสินผลการเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากําหนด โดยสามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือวัด และประเมินผลได้ตามความเหมาะสม

๑.๓ การตัดสินผลการเรียน
การตัดสินผลการเรียนระดับประถมศึกษา ตัดสินผลการเรียนเป็นรายปี ระดับมัธยมศึกษาตัดสินผลการเรียนเป็นภาคเรียน โดยสถานศึกษาสามารถกําหนดสัดส่วนคะแนน ระหว่างเรียนและคะแนนปลายปีหรือปลายภาคเรียนได้ตามความเหมาะสม
๑.๓.๑ คะแนนระหว่างเรียน สถานศึกษาสามารถนําคะแนนระหว่างการจัดกิจกรรม การเรียนทั้งในห้องเรียนแบบ Onsite หรือผสมผสานกับ Distance learning ในแบบต่าง ๆ ที่ครูผู้สอน มอบหมายให้นักเรียนปฏิบัติ เช่น การตอบคําถาม การพูดคุย การนําเสนองาน ฯลฯ ด้วยวิธีการสื่อสาร หลากหลาย เช่น ซูม ไลน์ เฟชบุ๊ค ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุคุณภาพตามมาตรฐานและตัวชี้วัด ตามที่หลักสูตรกําหนด
๑.๓.๒ คะแนนปลายปีหรือปลายภาคเรียน สถานศึกษาไม่จําเป็นต้องใช้ข้อสอบ เพียงอย่างเดียว อาจพิจารณาจากผลงาน/ชิ้นงาน แฟ้มสะสมงาน การสอบปากเปล่า ผ่านซูม ไลน์ เฟชบุ๊ค หรือช่องทางอื่น ๆ ได้ตามความเหมาะสมตามบริบทและความพร้อมของสถานศึกษาและผู้เรียน แต่ต้องคํานึงถึง คุณภาพผู้เรียนเป็นสําคัญ

ดาวน์โหลดเอกสารชี้แจง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ที่นี่

ขอบคุณเนื้อหาจาก วิษณุ ทรัพย์สมบัติ

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม รวมเอกสาร การสอบ RT 2565 เอกสารการประเมิน คู่มือการจัดสอบ แบบบันทึกคะแนน วิดีโอแนะนำการสอบ ได้ที่นี่!

หนังสือราชการ การเขียนหนังสือราชการ ความรู้พื้นฐานในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ โดย สํานักงาน ก.พ.

 

การเขียนหนังสือราชการ ความรู้พื้นฐาน ในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ โดย สํานักงาน ก.พ.

สํานักงาน ก.พ. จัดทํา e-Book เรื่อง การเขียนหนังสือราชการ : ความรู้พื้นฐาน ในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ ขึ้นด้วยเล็งเห็นถึงความสําคัญของการเขียนหนังสือราชการ ซึ่งเป็นทักษะจําเป็นในการติดต่อสื่อสาร สําหรับข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐทั่วไป

การเขียนหนังสือราชการ ความรู้พื้นฐาน ในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ โดย สํานักงาน ก.พ.

ดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การเขียนหนังสือราชการ : ความรู้พื้นฐานในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ ที่นี่

e-Book เล่มนี้ พัฒนาขึ้นมาจากเอกสารชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองหลักสูตร “ทักษะ การเขียนหนังสือราชการ” ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จาก นายประวีณ ณ นคร กรรมการ ข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ และอดีตเลขาธิการ ก.พ. ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการเขียน หนังสือราชการ กรุณารับเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาหลักสูตรและเขียนชุดการเรียนรู้ด้วย ตนเองดังกล่าวขึ้น ซึ่งสํานักงาน ก.พ. ต้องกราบขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ ทั้งนี้ หลักสูตร “ทักษะ การเขียนหนังสือราชการ ประกอบด้วย ๗ เรื่อง ได้แก่
– ความรู้พื้นฐานในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ
– หลักในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ
– ศิลปะในการเขียนและแก้ร่างหนังสือติดต่อราชการ
– การทําบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชา
– การจัดเตรียมวาระ การประชุม/การทําบันทึกเสนอที่ประชุมและการทํารายงานการประชุม
– การเขียนคํากล่าวในพิธี
– เสริมทักษะในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ

การศึกษาเรื่อง ความรู้พื้นฐานในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ นั้นจะช่วยให้ผู้ศึกษา สามารถเขียนหนังสือติดต่อราชการ “ได้” แต่หากประสงค์จะเขียนให้ “เป็น” และ “ดี” มากยิ่งขึ้นไป ควรศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองอีก 6 เล่มที่เหลือด้วย สามารถติดต่อได้ที่สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สํานักงาน ก.พ.

ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม สมรรถนะสำคัญ ป.6 ม.3 ม.6 คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551