การคัดลายมือ เป็นการฝึกเขียนตัวอักษรไทยให้ถูกต้องตามหลักการเขียนคำไทย ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องของตัวอักษรไทย เขียนให้อ่านง่าย มีช่องไฟ มีวรรคตอน ตัวอักษรเสมอกัน วางพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ให้ถูกที่ ตัวสะกดการันต์ถูกต้อง และลายมือสวยงาม การคัดลายมือมีแบบการคัดหลายแบบ
ลักษณะของการคัดลายมือมี 3 ลักษณะ คือ
1. การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และ ๒ ควรฝึกคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด เนื่องจากเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อมือและการประสานระหว่างตากับมือยังพัฒนาไม่เต็มที่
2. การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และ ๔ จะมีการประสานระหว่างกล้ามเนื้อมือและตาเพิ่มมากขึ้น จึงควรฝึกคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด แต่ขณะเดียวกันก็ยังต้องฝึกคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดด้วย
3. การคัดลายมือหวัดแกมบรรจง เป็นการคัดลายมือแบบหวัดแต่ให้อ่านออก การเขียนลายมือหวัดแกมบรรจงเป็นการเขียนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้เขียนจะต้องเขียนให้อ่านง่าย มีช่องไฟเว้นวรรคตอนถูกต้อง และเขียนด้วยลายมือที่สวยงาม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ และ ๖ ควรหัดคัดลายมือลายมือหวัดแกมบรรจง โดยคัดให้รวดเร็ว สวยงาม ถูกต้อง และน่าอ่าน โดยมีการฝึกคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดเป็นครั้งคราว
รวมแบบฝึกคัดลายมือพยัญชนะไทยแบบหัวเหลี่ยม แบบฝึกคัดลายมือ ก-ฮ แบบหัวกลม แบบฝึกคัดเลขไทย-อารบิก
แบบฝึกคัดลายมือ แบบลายอาลักษณ์
ดาวน์โหลดแบบฝึกคัดทั้งหมดจาก Google Drive
ที่มา : http://karn.tv http://smartkidlink.blogspot.com/ http://www.aums.ac.th/