เมื่อปีพ.ศ. 2376 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะยังทรงผนวชได้เสด็จประพาสนมัสการเจดีย์สถานต่างๆ ทางเมืองเหนือ ทรงพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงพร้อมแท่นมนังคศิลา ที่เนินปราสาทเก่าเมืองสุโขทัย มีลักษณะเป็นแท่นศิลารูปสี่เหลี่ยม มียอดแหลมมน สูง 1 เมตร 11เซนติเมตร มีจารึกทั้ง 4 ด้าน สูง 59 เซนติเมตร กว้าง 35 เซนติเมตร ด้านที่ 1 และด้านที่ 2 มี 35บรรทัด ด้านที่ 3 และ 4 มี 27 บรรทัด
นับจากอดีตถึงปัจจุบัน มีเพียงหลักศิลาจารึกเพียงหลักเดียวเท่านั้นที่ค้นพบว่ามีรูปอักษรไทยแบบที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้นในปีพ.ศ. 1826 ส่วนจารึกหลักอื่นๆ ที่จารึกขึ้นในสมัยสุโขทัย จะมีระยะเวลาห่างออกไปประมาณ 60-70 ปี ซึ่งรูปแบบอักษรได้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่บางตัวยังคงรูปเดิม นอกจากนี้การจารึกรูปอักษรต่างๆ มิได้คงไว้แต่บนหลักศิลาแต่ยังมีการจารึกบนแผ่นหินรูปอื่นๆ เช่น จารึกวัดสรศักดิ์ พ.ศ. 1960 บนแผ่นหินรูปใบเสมา
อักษรธรรมอีสาน อักษรธรรมล้านนา อักษรไทยน้อย จากสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ดาวน์โหลดที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เรื่องที่เกี่ยวข้อง 30 ฟอนต์ไทย ฟอนต์คลาสสิก มองยังไงก็ไม่เบื่อ ใช้ได้ทั้งคอมพิวเตอร์และมือถือ ฟอนต์ภาษาไทย ฟรี มือถือ ดาวน์โหลดได้ที่นี่