สวัสดีครับวันนี้เว็บไซต์ครูอัพเดตดอทคมอมีเรื่องราวเกี่ยวกับ วิธีการผันวรรณยุกต์อักษรสูง กลาง ต่ํา พร้อมคู่มือการผันวรรณยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ไฟล์ PDF มาให้ทุกท่านได้ ดาวน์โหลดเพื่อนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครับ
คู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเองสําหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเล่มนี้ จัดทําขึ้น ตามโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์และคุณภาพการอ่าน เขียนภาษาไทย กิจกรรมที่ 1.2 คู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเองสําหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการสอนการผันวรรณยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ซึ่งเรื่องการผันวรรณยุกต์เป็นเรื่องหนึ่งที่จําเป็นและสําคัญ อย่างยิ่งในการเรียนภาษาไทย ที่ครูผู้สอนต้องย้ํา ทวน ให้แก่นักเรียนได้เรียนรู้เพื่อเกิดความเข้าใจ แม่นยํา และนําไปใช้ให้ถูกต้อง
คู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเองสําหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเล่มนี้ ประกอบไปด้วย เนื้อหา กิจกรรม ที่ครูผู้สอนสามารถนําไปศึกษาได้ด้วยตนเองหรือปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบท ของนักเรียนได้ เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน และสร้างนิสัยรักการอ่าน โดยคณะผู้จัดทํา ได้วิเคราะห์เนื้อหาและพัฒนาแบบฝึกให้สอดคล้องกับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 และ สอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
คําชี้แจงคู่มือการเรียนรู้
สํานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ได้ดําเนินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์และ คุณภาพการอ่าน เขียนภาษาไทย กิจกรรมที่ 1.2 คู่มือการเรียนรู้ด้วยตัวเองสําหรับครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่าน เขียนภาษาไทย เรื่องการสอนการผันวรรณยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3
เนื้อหาของคู่มือครูเล่มนี้ตรงตามมาตรฐานตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ครูผู้สอนควรศึกษาคู่มือครูเล่มนี้ให้เข้าใจ โดยมีขอบเขตเนื้อหาดังต่อไปนี้ รูปและ เสียงวรรณยุกต์ อักษรสามหมู่ การผันอักษร หลักสังเกตการผันวรรณยุกต์ มาตรากง มาตรากม มาตรากน มาตราเกย มาตราเกอว มาตรากก มาตรากด และมาตรากบ
เรื่องราวที่น่าสนใจ ลิงก์ดาวน์โหลด คู่มือข้อมูลระบบการศึกษาการพัฒนาครูและการพัฒนาโรงเรียน สังกัด สพฐ. คลิกที่นี่
คู่มือการผันวรรณยุกต์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ไฟล์ PDF ดาวน์โหลดที่นี่
การผันวรรณยุกต์
พยัญชนะไทยแบ่งได้เป็น 3 หมู่ โดยแบ่งพื้นเสียงที่ยังไม่ได้ผันซึ่งมีเสียงระดับสูง กลาง ต่ำ เรียกว่า ไตรยางศ์ จัดไว้เพื่อความสะดวกในการผันวรรณยุกต์
ไตรยางศ์
อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรต่ำ มี 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ร ล ว ฬ ฮ
อักษรเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มีอยู่ 10 ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ
อักษรคู่ คือ อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มีอยู่ 14 ตัว
ขอบคุณข้อมูลจาก สํานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม คู่มือการจัดการขยะในสถานศึกษา Zero Waste School ไฟล์ PDF ดาวน์โหลดที่นี่