ลิงก์ดาวน์โหลด คู่มือข้อมูลระบบการศึกษาการพัฒนาครูและการพัฒนาโรงเรียน สังกัด สพฐ. คลิกที่นี่
การศึกษาเป็นส่วนสําคัญและจําเป็นในการพัฒนาประเทศให้รุ่งเรือง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการ ถ่ายทอดวัฒนธรรม และสร้างภูมิปัญญาให้แก่สังคม
นโยบายและการบริหาร
ปัญหาของประเทศด้านภัยความมั่นคงด้านการศึกษา และแนวทางแก้ไข
การศึกษาเป็นส่วนสําคัญและจําเป็นในการพัฒนาประเทศให้รุ่งเรือง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการ ถ่ายทอดวัฒนธรรม และสร้างภูมิปัญญาให้แก่สังคม ระบบการศึกษา หมายถึง โครงสร้างของการศึกษาที่มีองค์ประกอบ ทั้งเรื่องหลักสูตร จุดมุ่งหมาย แนวนโยบาย ระบบการจัดและแนวทางในการจัดการศึกษา เพื่อให้การศึกษาช่วยพัฒนาชีวิตของเด็ก และเยาวชน ไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา ระบบการศึกษาได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งถือเป็นปัญหาของประเทศด้านภัยความมั่นคงด้านการศึกษา ที่ส่งผลทําให้เกิดปัญหาในมิติต่าง ๆ ได้แก่
1. ปัญหาด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่มีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Leaming Loss) อันเกิดจาก สาเหตุของความไม่พร้อมในเรื่องอุปกรณ์การเรียน ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิต ที่ผู้เรียนต้องนั่งเรียน ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ เป็นเวลานาน และบรรยากาศในบ้านที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ ขาดปฏิสัมพันธ์ ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเอง รวมทั้งความจําเป็นของครอบครัว ที่ผู้ปกครอง ไม่สามารถอยู่กับบุตรหลานในช่วงการเรียนผ่านระบบออนไลน์ เนื่องจากต้องประกอบอาชีพ และในบางกรณี เด็กอาศัยอยู่กับผู้สูงอายุ (ปู่ย่า ตายาย)
2. ปัญหาด้านโอกาสและความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา : เด็กหลุดจากระบบฯ ที่มีสาเหตุ มาจากเศรษฐกิจของครอบครัว ผู้ปกครองถูกพักงานหรือถูกเลิกจ้าง ครอบครัวขาดรายได้ มีการย้ายถิ่นฐาน และนักเรียนต้องทํางาน เพื่อหารายได้มาช่วยเหลือครอบครัว
3. ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย : นักเรียนติดเชื้อโควิด-19 โดยมีสาเหตุมาจากสภาพความเป็นอยู่ ของนักเรียน การพักอาศัยภายในบ้านเดียวกันจํานวนหลายคน และที่สําคัญคือการเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในเรื่อง การป้องกันด้วยการเข้ารับการฉีดวัคซีน
เรื่องราวที่น่าสนใจ ตัวชี้วัดภาษาไทย ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
แนวทางแก้ไข
1. เพิ่มโอกาสและลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการดําเนินโครงการ ติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน โครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” เพื่อเพิ่มโอกาสและการเข้าถึง การศึกษา รวมถึงพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีงานทํา โดยบูรณาการดําเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งในระดับ กระทรวงและระดับพื้นที่จังหวัด
2. ปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงศึกษาธิการ และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในการ เตรียมความพร้อมสําหรับการเปิดเรียนแบบ Onsite และเร่งสร้างการรับรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการรับวัคซีน สําหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีด และให้ผู้ที่ได้รับการฉีดแล้ว ให้เข้ารับเข็มกระตุ้น (เข็ม 3)
3. ฟื้นฟู ซ่อม เสริม และสร้างคุณภาพการศึกษา
3.1 ประเมินการถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
3.2 ปรับหลักสูตรสถานศึกษาและกระบวนการเรียนการสอน รวมถึงการวัดและประเมินผล ให้มีความยืดหยุ่น
3.3 พัฒนาคลังสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ มีการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียน และครูผู้สอนเข้าถึงได้ง่าย ในการนําไปใช้หรือศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง
3.4 สร้างการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู ซ่อม เสริม และสร้างคุณภาพการศึกษาให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน อาทิ เครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน องค์กร บุคคล หน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน
คู่มือข้อมูลระบบการศึกษาการพัฒนาครูและการพัฒนาโรงเรียน สังกัด สพฐ. คลิกที่นี่
ขอคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ลิงก์ดาวน์โหลด หลักสูตรต้านทุจริต คู่มือการจัดการเรียนรู้หลักสูตรต้านทุจริต