การขับเคลื่อนนโยบายปรับปรุงระบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และการจัดการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2565
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา อยู่ระหว่างดำเนินการออกข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. …. ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันพุธที่ 24 สิงหาคม 2565 ซึ่งเมื่อข้อบังคับคุรุสภาดังกล่าวได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว จะมีผลบังคับเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแนวใหม่ ที่แบ่งระดับของใบอนุญาตออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่
“ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ชั้นต้น” ซึ่งเป็นใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งคุรุสภาออกให้แก่ผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบังคับฯ และผ่านเกณฑ์การทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด และ
“ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ชั้นสูง” ซึ่งเป็นใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งคุรุสภาออกให้แก่ผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ชั้นต้น และผ่านเกณฑ์การประเมินตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด หรือมีวิทยฐานะตั้งแต่ระดับชำนาญการหรือเทียบเท่าขึ้นไป ก่อนวันที่ข้อบังคับฯ มีผลใช้บังคับ
- ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พ.ศ. 2550
- ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือ ใบประกอบวิชาชีพครู คือ หลักฐานที่ออกให้แก่ผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานความรู้ และมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพที่คุรุสภากำหนด และมีสิทธิประกอบวิชาชีพควบคุมได้ตามกฎหมาย โดยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีอายุ 5 ปี
ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน คือ หลักฐานที่ออกให้แก่ผู้มีมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภามีสิทธิประกอบวิชาชีพครูโดยอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บริหารสถานศึกษา และเมื่อปฏิบัติการสอนเป็นเวลาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการรับรองจากสถานศึกษา ให้นำหลักฐานการผ่านการรับรองประสบการณ์การสอนจากสถานศึกษา และใบอนุญาตปฏิบัติการสอนมายื่นคำขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ ทั้งนี้ ภายในวันที่ 3 ตุลาคม 2563 โดยใบอนุญาตปฏิบัติการสอน มีอายุ 2 ปี
หนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ประเภทครู) คือ หนังสือที่ออกให้แก่ผู้ประสงค์จะประกอบวิชาชีพครู แต่ไม่มีคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เป็นการอนุญาตให้เฉพาะบุคคล เฉพาะสถานศึกษาที่ขออนุุญาต โดยให้หน่วยงานทางการศึกษา หรือสถานศึกษาที่มีความจำเป็นต้องรับผู้ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นผู้ยื่นคำขอพร้อมชี้แจงเหตุผลความจำเป็น เมื่อได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้อำนวยการสถานศึกษา และมีเงื่อนไขให้ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต่อไป หนังสืออนุญาตมีอายุ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากคุรุสภา และหากผู้ได้รับอนุญาตมีการประพฤติปฏิบัติตนฝ่าฝืนจรรยาบรรณของวิชาชีพ หรือลาออก หรือย้ายสถานศึกษา ให้ถือว่าการอนุญาตดังกล่าวสิ้นสุด
นอกจากนี้ จะมีการออก “ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู” ซึ่งเป็นใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่ออกให้แก่ผู้มีความประสงค์จะปฏิบัติงานในตำแหน่งครู ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ชั้นต้น ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญา หรือประกาศนียบัตรทางการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากคุรุสภา แต่ยังไม่มีผลคะแนนการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด โดย “ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู” สามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงตนในการประกอบวิชาชีพครู ซึ่งเป็นวิชาชีพควบคุมได้ ทั้งนี้ ผู้ถือใบอนุญาตดังกล่าว จะต้องประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพเช่นเดียวกับผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ชั้นต้น และชั้นสูง ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครูตามข้อบังคับดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2566
สำหรับการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู เพื่อขอใบประกอบวิชาชีพครู ที่เชื่อมโยงกับข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย ใบประกอบวิชาชีพครู หรือ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฉบับใหม่นี้ จะมีการปรับลดวิชาที่จะทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ จากเดิมที่มีการทดสอบ 4 วิชา คงเหลือ 2 วิชา ได้แก่ (1) วิชาครู (PCK และทักษะทางวิชาชีพ) และ (2) วิชาเอก ได้แก่ การศึกษาปฐมวัย การศึกษาพิเศษ การประถมศึกษา และวิชาเฉพาะตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดวิชาเอกในกลุ่มวิชาเฉพาะฯ และดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว จากนั้น จะต้องจัดทำผังการสร้างแบบทดสอบ (Test Blueprint) ของวิชาครู และวิชาเอกต่าง ๆ เพื่อประกาศให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการทดสอบฯ ในรายวิชาใหม่ดังกล่าว
เลขาธิการคุรุสภา กล่าวต่ออีกว่า สำหรับนิสิตนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา หรืออยู่ระหว่างศึกษาในหลักสูตรปริญญาและประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูที่คุรุสภารับรอง และเข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 ถึงปีการศึกษา 2564 ทั้งที่ยังไม่เคยเข้ารับการทดสอบฯ หรือเคยเข้ารับการทดสอบฯ แต่มีผลคะแนนสอบไม่ถึงเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด สามารถสมัครเข้ารับการทดสอบฯ ในครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2565 ซึ่งมีแผนดำเนินการจัดการทดสอบฯ ในเดือนธันวาคม 2565 ได้ ทั้งนี้ การทดสอบฯ ในครั้งที่ 2 ดังกล่าว ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการอำนวยการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างนำเสนอแผนดำเนินการ และกำหนดการทดสอบฯ ต่อคณะกรรมการคุรุสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบในเดือนตุลาคม 2565 นี้
การทดสอบฯ จะยังคงจัดสอบ จำนวน 4 วิชา ตามประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ได้แก่ 1) วิชาชีพครู 2) วิชาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3) วิชาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ 4) วิชาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ตามผังการสร้างแบบทดสอบ (Test Blueprint) ฉบับเดิมที่ใช้ในการจัดสอบครั้งที่ 1/2564 และครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2565 ซึ่งจะเป็นการทดสอบฯ ครั้งสุดท้ายของหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบฯ ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน และเมื่อผู้เข้ารับการทดสอบฯ มีคะแนนสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ครบ 4 วิชา จะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ในรูปแบบปัจจุบัน หรือ “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ชั้นต้น” เมื่อข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. …. มีผลใช้บังคับเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนการยื่นคําขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ใบประกอบวิชาชีพครู ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (กรณีสําเร็จการศึกษาในหลักสูตรที่คุรุสภาให้การรับรอง)
ขอบคุณเนื้อหาจาก คุรุสภา
ผู้ที่สําเร็จการศึกษาในหลักสูตรที่คุรุสภาให้การรับรอง ที่มีความประสงค์ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพครู หรือ ใบประกอบวิชาชีพครู สามารถยื่นคําขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ (KSP Self-Service) เพื่อเป็นหลักฐานในการประกอบวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบรายชื่อผู้สําเร็จการศึกษาในหลักสูตรที่คุรุสภาให้การรับรอง
ตรวจสอบรายชื่อผู้สําเร็จการศึกษาในหลักสูตรที่คุรุสภาให้การรับรอง ผ่านมหาวิทยาลัย/สถาบัน เพื่อขอรับเลขที่ส่งข้อมูลผู้สําเร็จการศึกษา กรณีผู้สําเร็จการศึกษาที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 จะต้องผ่านการทดสอบ 5 วิชา และประเมินสมรรถนะตามที่คุรุสภากําหนด
ขั้นตอนที่ 2 เข้าใช้งานระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์
การยื่นคําขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ให้ยื่นผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง KSP Self-Service (https://selfservice.ksp.or.th)
* กรณียังไม่เคยสมัครสมาชิก ให้ลงทะเบียนสมัครสมาชิกใหม่ก่อน แล้วดําเนินการล็อกอินเข้าสู่ระบบ วิธีการสมัคร KSP Self-service คลิกที่นี่
ขั้นตอนที่ 3 ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
การยื่นคําขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สามารถยื่นคําขอผ่านระบบ e-service โดยให้เลือกยื่นคําขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาต KSP-Bundit
- เข้าเมนู ใบอนุญาต ขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาต – ครูไทย
- บันทึกข้อมูลคําขอ ขึ้นทะเบียนใบอนุญาต – ครู สําหรับ KSP-Bundit
ให้บันทึกข้อมูลและแนบเอกสารประกอบคําขอ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารประกอบคําขอ ในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ วิธีการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู KSP Self-service คลิกที่นี่
ขั้นตอนที่ 4 ชําระค่าธรรมเนียมค่าขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
” หลังจากบันทึกคําขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแล้ว ให้พิมพ์ใบแจ้งชําระค่าธรรมเนียม ขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เลือกเมนู ใบอนุญาต ขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาต – ครูไทย – ตรวจสอบ ข้อมูลขอขึ้นทะเบียน และคลิกปุ่ม pdfสีเขียว เพื่อพิมพ์ใบแจ้งการชําระค่าธรรมเนียม
ช่องทางการชําระค่าธรรมเนียมสามารถชําระค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ได้ 3 ช่องทาง ได้แก่
1. เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย (ระบบยังไม่รองรับการชําระผ่าน mobile Banking)
2. เคาน์เตอร์ไปรษณีย์ไทย
3. เคาน์เตอร์เซอร์วิส (ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น) * จุดบริการชําระค่าธรรมเนียมจะส่งข้อมูลการรับชําระค่าธรรมเนียมให้คุรุสภา ภายใน 1-3 วันทําการ
ขั้นตอนที่ 5 ตรวจสอบคุณสมบัติการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและเอกสารประกอบ
หลังจากยื่นคําขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและชําระค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพครูแล้ว เจ้าหน้าที่จุดบริการงานคุรุสภา ณ สํานักงานศึกษาธิการจังหวัด ในพื้นที่จังหวัดที่ท่านอยู่ จะดําเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารแนบประกอบ โดยจะดําเนินการภายใน 5-7 วันทําการ และแจ้งผล การตรวจสอบผ่านระบบ e-service วิธีการตรวจสอบข้อมูล คลิกที่นี่
ขั้นตอนที่ 6 เสนอพิจารณาอนุมัติ
หลังจากผ่านการตรวจสอบและชําระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว สํานักงานเลขาธิการคุรุสภาจะดําเนินการ เสนอคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ พิจารณาอนุมัติการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้แก่ผู้ที่ยื่นคําขอและ ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารหลักฐาน โดยจะใช้ระยะเวลาดําเนินการ 15 วันทําการ หลังจากที่ตรวจสอบคําขอ และชําระค่าธรรมเนียมถูกต้องเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนที่ 7 ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการอนุมัติ
หลังจากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาอนุมัติแล้ว สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา จะดําเนินการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการอนุมัติออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ผ่านเว็บไซต์ของคุรุสภา เมนู ตรวจสอบ ผลต่าง ๆ ตรวจสอบสถานะใบอนุญาต (http://www.ksp.or.th/service/license_search.php)
สามารถพิมพ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเองได้ทันที ผ่านระบบ KSP Self-Service (รายละเอียดศึกษาในคู่มือการใช้งาน การพิมพ์ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอิเล็กทรอนิกส์)
- คู่มือขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
- คู่มือวิธีการกรอกข้อมูลในระบบ KSP Self-service
- คู่มืการตรวจสอบข้อมูล
ขอบคุณเนื้อหาจาก คุรุสภา
เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ต่อใบประกอบวิชาชีพครูออนไลน์ 2565 วิธีการต่อใบประกอบวิชาชีพครูออนไลน์ ขั้นตอนการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ใน KSP Self Service
เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม แบบคำร้องขอรับรองความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพ หนังสือรับรองความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพ ประกาศข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการร้บรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ