เพราะเพื่อนครูฯ ทุกท่านคือกำลังสำคัญของชาติ ในการพัฒนาการศึกษาไทย กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ช่วยลดภาระด้านการเงินให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วย 7 ข้อดำเนินการแก้ปัญหาหนี้สินครู ดังนี้
- ลดดอกเบี้ยเงินกู้ ให้สมกับเป็นสินเชื่อสวัสดิการ
- ควบคุมยอดหนี้ไม่ให้เกินความสามารถในการชำระหนี้ ไม่ให้เกินศักยภาพที่จะชำระคืนได้ด้วยเงินเดือน โด
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเป็นผู้ดูแลหน่วยตัดเงินเดือนครู จะเป็นจุดศูนย์กลางประสานช่วยครูแก้ไขหนี้สินก้อนต่าง ๆ ชะลอการดำเนินการทางกฎหมาย โดย ศธ.จะเป็นตัวแทนครูขอให้ศาลช่วยความเป็นธรรมในการไกล่เกลี่ยคดีที่ครูถูกฟ้อง
- จัดตั้งสถานีแก้หนี้ครู ทั่วประเทศแล้ว 558 สถานี คือ ระดับจังหวัด 77 แห่ง ระดับเขตพื้นที่การศึกษา 245 แห่ง และระดับส่วนกลาง 236 แห่ง
- ปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้เจ้าหนี้ทุกรายสามารถแบ่งเงินเดือนร้อยละ 70 ได้อย่างเพียงพอ
- กำหนดให้หักเงินสวัสดิการ ช.พ.ค.เพื่อสามารถเป็นหลักประกันเงินกู้ได้
- การให้ความรู้ และทักษะการเงิน
ศธ.จึงได้ร่วมมือกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ ด้านการเงินที่เกี่ยวข้อง เข้ามาช่วยกันวางแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครู เพื่อให้ครูมีหนี้สินลดลง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีขวัญกำลังใจ เป็นพลังสำคัญที่จะช่วยพัฒนาเยาวชนและการศึกษาต่อไป
ขอบคุณเนื้อหาจาก ศธ.360 องศา และ ตรีนุช เทียนทอง Treenuch Thienthong
เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ครู ศธ.จับมือ ธ.ออมสิน เปิดทางเจรจาแก้ไขปัญหาหนี้ร่วมกัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย