วัดแววความสามารถพิเศษ ระบบวัดแววความสามารถพิเศษออนไลน์ ระบบวัดแวว พหุปัญญา ลิงค์ระบบสำรวจแววความสามารถพิเศษ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
วัดแววความสามารถพิเศษ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. ได้พัฒนา “ระบบสำรวจแววความสามารถพิเศษด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์” เพื่อใช้ในการคัดกรอง วิเคราะห์ วินิจฉัย ผู้เรียนรายบุคคล ซึ่งจะทำให้ทราบถึงแววความสามารถพิเศษ และความสามารถของนักเรียนรายบุคคล
ลิงค์ระบบสำรวจแววความสามารถพิเศษออนไลน์ สำหรับครู คลิกที่นี่
ลิงค์ระบบสำรวจแววความสามารถพิเศษออนไลน์ สำหรับนักเรียน คลิกที่นี่
ขั้นตอนการเข้าระบบสำรวจแววความสามารถพิเศษ นักเรียนจะต้องกรอกข้อมูลดังนี้
- รหัสประจำตัวประชาชน
- รหัสผ่าน
ลิงค์ระบบสำรวจ วัดแววความสามารถพิเศษออนไลน์ สำหรับครู คลิกที่นี่
ลิงค์ระบบสำรวจ วัดแววความสามารถพิเศษออนไลน์ สำหรับนักเรียน คลิกที่นี่
คู่มือ แนวทางการใช้แบบสำรวจวัดแววความสามารถพิเศษ
ระบบวัดแววความสามารถพิเศษออนไลน์ ระบบวัดแวว พหุปัญญา ลิงค์ระบบสำรวจแววความสามารถพิเศษ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. ในปีการศึกษา 2565 ระบบฯ ดำเนินการคัดกรองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยระบบฯ ได้มีการจำแนกประเภทแววความสามารถพิเศษนักเรียน จำนวน 8 ด้าน คือ 1) ภาษา 2) คณิตศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ 4) เครื่องกลและอิเล็กทรอนิกส์ 5) การได้ยิน 6) การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ 7) สังคมและอารมณ์ และ 8)ศิลปะ มิติสัมพันธ์
การดำเนินงานของระบบสำรวจแววความสามารถพิเศษฯ คือ 1) สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน 2) นักเรียนประเมิน/ครูประเมิน 3) กรอกข้อมูลเข้าระบบ 4) ระบบประมวลผล และ 5) ครูนำผลการประเมินฯ จากระบบ ไปใช้พัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล
สพฐ.กำหนดเวลาเปิดใช้ระบบสำรวจแววความสามารถพิเศษด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้แจ้งให้สถานศึกษาทุกแห่งดำเนินการใช้งานระบบสำรวจแววฯ (คัดกรองนักเรียน) ครั้งที่ 1 “ภายในวันที่ 31 ส.ค. 65” เพื่อจะได้นำข้อมูลไปใช้ในการกำหนดนโยบาย วางแผนการพัฒนานักเรียนรายบุคคลในแต่ละระดับของผู้เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจแววความสามารถของนักเรียนจากระบบฯ นี้ จะมีประโยชน์เพื่อนำไปใช้วางแผนและพัฒนาตามแนวทางการจัดการเรียนรู้รายบุคคล (Personalized Learning)
ครู : ใช้ข้อมูลวางแผนการจัดการเรียนรู้รายบุคคล และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามความถนัด ความสามารถของนักเรียน เช่น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้สื่อสารทางภาษา เน้นกระบวนการคิด ทักษะการแก้ปัญหาฯ การทำงานเป็นทีม ออกแบบใช้ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งพัฒนาทักษะอาชีพ เช่น ครูสอนวิทยาศาสตร์ นักวาดการ์ตูน ช่างออกแบบกราฟิก นักวิทยาศาสตร์ และอื่นๆ
โรงเรียน : ใช้ข้อมูลในการวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ดำเนินการจัดทำแผนงาน โครงการ กิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริม พัฒนา และต่อยอดตามความสามารถของผู้เรียน
สพท. และ สพฐ. : ใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาระดับเขต กำหนดนโยบายระดับสังกัด และภาพรวมต่อไป
ขอบคุณเนื้อหาจาก สพฐ. และ ผอ.สวก. สพฐ.ศธ.
เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม แบบสำรวจความสามารถ พิเศษ เอกสารคู่มือ แนวทางการใช้แบบสำรวจแววความสามารถพิเศษ