ทักษะการอ่านและการเขียนเป็นทักษะที่จำเป็นที่ผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การอ่านเป็นกระบวนการรับสารที่ผู้อ่านแปลความหมายของสื่อระหว่างการอ่าน โดยการอ่านของคนส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์การอ่านแตกต่างกันไป เช่น อ่านเพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความบันเทิง สนองความต้องการอื่นๆ (เช่น ความมั่นคงในชีวิต แนวทางการแก้ไขปัญหา หาเหตุผลสนับสนุนความคิด สร้างสภาพอารมณ์ที่ตนต้องการ เป็นต้น) สำหรับการเขียนเป็นกระบวนการส่งสารเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด เรื่องราว ประสบการณ์ โดยการสื่อสารอาจทำในลักษณะเป็นภาพ คำ ประโยค และ/หรือข้อความ โดยมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป เช่น เพื่อเล่าเรื่อง สรุปความ อธิบายความ แสดงความคิดเห็น ปลุกใจ โฆษณา เป็นต้น
ฉะนั้น บันทึกการอ่านเป็นการสร้างนิสัยรักการอ่านการเขียนให้กับผู้เรียน โรงเรียน (คุณครู) ควรกำหนดวิธีการบันทึกการอ่าน ที่เป็นรูปธรรม เช่น กำหนดช่วงเวลาการอ่าน จำนวนหนังสือ/เรื่องที่อ่านต่อวัน โดยสร้างบรรยากาศปลุกเร้าให้ผู้เรียนเกิดการอ่านและเห็นความสำคัญของการอ่าน การจัดกิจกรรมที่หลากหลายจะมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนอ่านอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน และเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างมีความสุข ทั้งนี้ การเขียนบันทึกการอ่าน เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถทำหลังการอ่านได้ และเป็นเครื่องมือช่วยให้ครูทราบถึงทักษะการอ่านและการเขียนของผู้เรียน การตรวจบันทึกการอ่านและการให้ข้อเสนอแนะการเขียนบันทึกการอ่านควรให้เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์และให้กำลังใจผู้เรียน เพื่อเป็นแรงเสริมพฤติกรรมการอ่านและการเขียนของผู้เรียนให้เกิดเป็นนิสัยรักการอ่านมากขึ้น
สพฐ. มีตัวอย่างบันทึกการอ่านให้กับโรงเรียน ซึ่งโรงเรียน (คุณครู) สามารถใช้เป็นแบบอย่าง นำไปปรับใช้ หรือสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ โดยกำหนดรูปแบบ หัวข้อ ตั้งคำถามให้ผู้เรียนตอบ หรือเขียนสรุปความในเรื่องราวที่คิดว่า เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียนของตนได้ตามบริบทและความเหมาะสม
ครูอัพเดตดอทคอม ต้องขอขอบคุณ สื่อและใบงานน่ารักๆ By ครูพอยไพ เป็นอย่างสูงที่ได้แบ่งปันแบบบันทึกการอ่าน ให้กับเพื่อนครูในครั้งนี้นะคะ
ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ปรับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัว ครม.อนุมัติ การปรับอัตราเงินอุดหนุนรายหัวตามความจำเป็นพื้นฐาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้เรียนและเพิ่มศักยภาพสถานศึกษาในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน