วันอังคาร, ตุลาคม 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกข่าวประจำวันแนวปฏิบัติหักเงิน ชพค/ชพส กระทรวงศึกษาธิการ ออกแนวปฏิบัติหักเงิน ช.พ.ค./ช.พ.ส.เพิ่มสภาพคล่องเพื่อการชำระหนี้

แนวปฏิบัติหักเงิน ชพค/ชพส กระทรวงศึกษาธิการ ออกแนวปฏิบัติหักเงิน ช.พ.ค./ช.พ.ส.เพิ่มสภาพคล่องเพื่อการชำระหนี้

 

แนวปฏิบัติหักเงิน ชพค/ชพส กระทรวงศึกษาธิการ ออกแนวปฏิบัติหักเงิน ช.พ.ค./ช.พ.ส.เพิ่มสภาพคล่องเพื่อการชำระหนี้

ศธ.ออกแนวปฏิบัติหักเงิน ช.พ.ค./ช.พ.ส.เพิ่มสภาพคล่องเพื่อการชำระหนี้
ความคืบหน้าแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ภายใต้โครงการ “สร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย” โดยแนวทางแก้ปัญหาที่สำคัญ ได้แต่งตั้งนายสถานีแก้หนี้ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ในการเจรจาไกล่เกลี่ยแก้ไขปัญหาหนี้

แนวปฏิบัติหักเงิน ชพค/ชพส กระทรวงศึกษาธิการ ออกแนวปฏิบัติหักเงิน ช.พ.ค./ช.พ.ส.เพิ่มสภาพคล่องเพื่อการชำระหนี้

ทั้งนี้ ในการประชุมเพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานล่าสุด นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาถึงแนวทางในการนำเงินบำเหน็จบำนาญ จ่ายสวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค. ) และการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา ในกรณีคู่สมรสถึงแก่ความตาย (ช.พ.ส.) มาใช้ประโยชน์เพื่อการขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู

ทั้งนี้เงิน ช.พ.ค. และเงิน ช.พ.ส. เป็นเงินสวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่สมัครใจเข้าร่วมขอรับสวัสดิการ โดยต้องชำระเงินเป็นรายเดือน โดยผู้ขอรับสวัสดิการสามารถชำระโดยตรง หรือชำระโดยหักจากเงินเดือน แต่เนื่องจากสมาชิกที่ขอรับสวัสดิการที่ชำระด้วยการหักจากเงินเดือนจำนวนมาก ต้องเสียสิทธิประโยชน์ไม่ได้รับเงินสงเคราะห์เมื่อขาดการชำระเกิน 3 เดือน เพราะเงินเดือนต้องถูกหักชำระหนี้เงินกู้อื่น ๆ ก่อน รวมแล้วเกินกว่าร้อยละ 70 ส่งผลให้ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือกรณีเสียชีวิต โดยสมาชิก ช.พ.ค./ช.พ.ส. เมื่อเสียชีวิต ครอบครัวจะได้รับเงินช่วยเหลือรายละประมาณ 940,000 บาท ซึ่งหากให้ความช่วยเหลือแก่ครูในกลุ่มนี้ สามารถหักชำระเงิน ช.พ.ค. และ ช.พ.ส.ได้ตรงงวด จะสามารถนำเงินสิทธิประโยชน์ของตนเองที่จะได้รับมาใช้ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินในปัจจุบัน

รมว.ศธ. กล่าวด้วยว่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูของ ศธ.ได้อย่างเป็นระบบ และเป็นการบูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาให้สัมฤทธิ์ผล โดยครูยังคงมีเงินเหลือใช้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 จึงได้มอบหมายให้ ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ ของ ศธ. ทำบันทึกข้อความ เรื่อง แนวปฏิบัติการหักเงินเดือน เงินบำเหน็จบำนาญ จ่ายสวัสดิการ ช.พ.ค. / ช.พ.ส. ถึงทุกหน่วยงานในสังกัด ศธ. เพื่อขอความร่วมมือแจ้งให้หน่วยงานภายในของตนเองดำเนินการหักเงินเดือน เงินบำเหน็จบำนาญ เพื่อชำระหนี้เงินสวัสดิการ ช.พ.ค./ช.พ.ส. ตามแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของ ศธ.นำเสนอ

“เป็นความตั้งใจ และมุ่งมั่นของ ศธ.ในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครูให้สำเร็จให้ได้ หากการดำเนินนโยบายในเรื่องใดที่จะเป็นช่วยเหลือ และเอื้อประโยชน์ของคุณครูทั่วประเทศ ก็พร้อมที่จะดำเนินการช่วยเหลือ ซึ่ง ศธ.จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนระดับประเทศ ที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน ซึ่งการดำเนินการในครั้งนี้ จะช่วยเหลือให้ครูสามารถใช้เงิน ช.พ.ค./ช.พ.ส. เป็นหลักประกันเงินกู้ได้ โดยไม่เป็นภาระที่ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อประกันเงินกู้เพิ่ม” รมว.ศธ. กล่าว

ล่าสุด ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามในหนังสือฯ ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2565 เรื่อง แนวปฏิบัติการหักเงินเดือน เงินบำเหน็จบำนาญ จ่ายสวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์ ช.พ.ค./ช.พ.ส. ถึงทุกหน่วยงานในสังกัด ศธ. เพื่อดำเนินการเป็นที่เรียบร้อย โดยเน้นย้ำว่าการดำเนินการนี้ ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ขอรับสวัสดิการ ช.พ.ค./ช.พ.ส. ทุกคน

ทั้งนี้ มีครูและบุคลากรทางการศึกษาลงทะเบียนเข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ในระยะที่ 1 จำนวน 41,128 ราย มียอดหนี้รวม 58,835,199,322 บาท

ขอบคุณเนื้อหาจาก ศธ.360 องศา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม การจัดรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมและพัฒนา ทักษะทางอาชีพ ในหลักสูตรสถานศึกษา

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments