วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกข่าวการศึกษาการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ ความคืบหน้าการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ ความคืบหน้าการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ ความคืบหน้าการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยความคืบหน้าการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ

การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ ความคืบหน้าการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

รมว.ศธ. กล่าวว่า หลังจากที่ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ผ่านการลงมติเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องเสนอร่าง พ.ร.บ.นี้ ไปยังวุฒิสภาเพื่อพิจารณา ถ้าวุฒิสภาพิจารณาลงมติให้ความเห็นชอบแล้ว จึงจะสามารถนําขึ้นทูลเกล้าฯ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป

สำหรับสาระสำคัญในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มี 4 เรื่องหลัก ๆ คือ

  1. ให้อํานาจหน้าที่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ไปเป็นของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
  2. การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ตามมาตรา 53(3) และ (4) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อํานวยการสถานศึกษา แล้วแต่กรณี โดยความเห็นชอบของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
  3. ให้มี อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา โดยจํานวน องค์ประกอบ หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา ซึ่ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กําหนด
  4. นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กศจ. ยังคงมีอํานาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้เดิม ตามคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เช่น อํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการกําหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการจัดการศึกษา, เป็นศูนย์กลางการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาในภาพของจังหวัดทุกระดับและทุกประเภท รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนาสถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบ ที่หลากหลาย, การให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด ตลอดจนการยุบรวมเลิกสถานศึกษาหรือ แม้กระทั่งการจัดตั้งศูนย์การเรียนที่เป็นอํานาจของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม

“การแก้ไขคําสั่งหัวหน้า คสช. ดังกล่าว เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายทางการศึกษาและให้การปฏิบัติงานของบุคลากรทุกฝ่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมาย ซึ่งดิฉันจะไม่รอให้การพิจารณากฎหมายแล้วเสร็จก่อน โดยจะมีการประชุม ก.ค.ศ.เพื่อเตรียมพร้อมออกหลักเกณฑ์และวิธีการได้มา ซึ่ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะ ก.ค.ศ.ต้องดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับ ขณะเดียวกันจะเตรียมความพร้อมในการรองรับบทบาทใหม่ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับใหม่ สำหรับปัญหาการทุจริตเรียกรับเงินจากการแต่งตั้งโยกย้ายในอดีต ก็จะมาดูในรายละเอียด และกำหนดเพิ่มเติมเพื่อให้ปัญหาต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น และช่องว่างในจุดต่าง ๆ เหล่านั้นหายไป” นางสาวตรีนุช กล่าว

ขอบคุณเนื้อหาจาก ศธ.360 องศา

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม เป็นมิตรการถ่ายทอดสดพิธีเปิด โครงการ สพฐ. รักการอ่าน : แก้ปัญหา Learning Loss ด้วยการอ่าน ผ่านทาง Obec Channel วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00-10.30 น.

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments