ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับที่มาของโครงการพาน้องกลับมาเรียน
ระบบ พาน้องกลับมาเรียน และวิธีการใช้งาน กระทรวงศึกษาธิการ ลิงก์เข้าระบบ “พาน้องกลับมาเรียน” เป็นระบบที่ถูกออกแบบให้เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลในการติดตามช่วยเหลือ พาน้อง ๆ นักเรียนที่หลุดจากระบบการศึกษาโดยใช้ข้อมูลนักเรียนที่หายไปจากภาคเรียนที่ 1/64 และ 2/64 ของแต่ละสังกัด (สพฐ., สอศ., สช., กศน., กสศ.) เป็นข้อมูลตั้งต้นในการใช้ค้นหา ติดตาม ช่วยเหลือซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบการมีตัวตนกับฐานข้อมูลกลางกับระบบ Education Data Center: EDC ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเรียบร้อยแล้ว โดยระบบจะมี 2 แบบแบ่งหน้าที่กันทำงานอย่างชัดเจน คือ
เรื่องราวที่น่าสนใจ : ลิงก์ลงทะเบียน สมัครอบรม หลักสูตรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร ด้านอาชีพในศตวรรษที่ 21 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดย สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.)
1. เว็บไซต์ “พาน้องกลับมาเรียน” เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลรายชื่อนักเรียนที่หลุดออกจากระบบเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลในการติดตาม โดยท างานร่วมกับเครื่องมือในแอพพลิเคชั่น“พาน้องกลับมาเรียน” ในระบบ Android และ iOS (อยู่ในขั้นรออการพิจารณาอนุมัติจาก Apple) และหากต้องการจะใช้งานแอพพลิเคชั่น พาน้องกลับมาเรียน ใน Android/iOS ผู้ใช้งานจะต้องผ่านการลงทะเบียนและได้รับอนุมัติให้ใช้งานในเว็บไซต์นี้ก่อนจึงจะสามารถใช้ Username และ Password เข้าระบบใน MobileApplication “พาน้องกลับมาเรียน” ได้
>> ลิงก์เข้าเว็บไซต์ : https://dropout.edudev.in.th/
>> ลิงก์การลงทะเบียนใช้งานระบบ พาน้องกลับมาเรียน
>> คู่มือและขั้นตอนการใช้งานระบบ “พาน้องกลับมาเรียน”
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. Application “พาน้องกลับมาเรียน” เป็น Mobile Application ที่เป็นเครื่องมือในการลงพื้นที่ค้นหา สำรวจ ติดตาม นักเรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา ตามรายชื่อที่ปรากฏในเว็บไซต์ “พาน้องกลับมาเรียน” โดย Application จะให้บันทึกสถานะการติดตาม สาเหตุที่ไม่เรียน พิกัด ภาพถ่าย และเหคุผลความจำเป็น เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการช่วยเหลือให้นักเรียนกลับเข้ามาเรียนในระบบต่อไปสิทธิ์การใช้งาน และขั้นตอนการลงทะเบียนใช้งาน
สิทธิ์การใช้งานของระบบจะแบ่งออกเป็น 3 สิทธิ์ โดยแต่ละสิทธิ์ของผู้ใช้งานจะแตกต่างกันไปตามบทบาทดังนี้
– ระดับพื้นที่/จังหวัด
หากเป็นสังกัดสำนักงานคณะกรรการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สิทธิ์ในระดับนี้ก็คือ“สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา” แต่หากเป็นสังกัดอื่น ๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ผู้ใช้งานในระดับนี้ก็คือ สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด หรือสำนักงานการอาชีวศึกษาจังหวัด นั่นเอง ซึ่งจะสามารถเห็นข้อมูลนักเรียนโรงเรียนที่มีนักเรียนหลุดออกจากระบบที่อยู่ภายใต้สังกัดของหน่วยงานตนเอง โดยผู้ใช้งานในระดับนี้จะต้องทำการตรวจสอบข้อมูลผู้ใช้งาน และเป็นผู้อนุมัติ/ไม่อนุมัติผู้ใช้งานในระดับโรงเรียน/สถานศึกษา ของตนเองเพื่อให้สามารถเข้าใช้งานในระบบด้วย ซึ่งหากผู้ใช้งานในระดับโรงเรียน/สถานศึกษา สมัครใช้งานมาแล้วแต่ไม่มีการตรวจสอบและอนุมัติ ผู้ใช้งานในระดับโรงเรียน/สถานศึกษา จะไม่สามารถเข้าใช้งานระบบได้
– ระดับโรงเรียน/สถานศึกษา
สิทธิ์ในระดับนี้ก็คือโรงเรียน หรือ สถานศึกษาในสังกัดที่มีนักเรียนที่หลุดออกจากระบบ โดยผู้ใช้งานเมื่อสมัครสมาชิกไปแล้วจะต้องรอให้ทางผู้ใช้ระดับพื้นที่/จังหวัด ที่ตนเองสังกัด ตรวจสอบและอนุมัติก่อนจึงจะสามารถเข้าใช้งานระบบได้ซึ่งสิทธิ์ในระดับนี้ก็คือสามารถบริหารจัดการข้อมูลนักเรียนที่หลุดออกจากระบบของโรงเรียน/สถานศึกษาของตนเอง
– ระดับบุคคลทั่วไป
สิทธิ์ผู้ใช้งานในระดับนี้ออกแบบมาให้กับประชาชน บุคคล หน่วยงานที่ร่วม MOU ได้เข้ามาใช้งานเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน ติดตาม รายงานเพิ่มเติม ซึ่งจะเปิดให้ใช้งานในระยะที่ 2 หลังจากโรงเรียน/สถานศึกษาได้ดำเนินการติดตามนักเรียนเรียบร้อยแล้ว
โดยจัดทำระบบพาน้องกลับมาเรียน ทั้งในรูปแบบเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน โดยกระทรวงศึกษาธิการได้แจ้งข้อมูลการใช้งาน การสมัครสมาชิก การติดตามนักเรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา ดังนี้
>> ลิงก์การลงทะเบียนใช้งานระบบ พาน้องกลับมาเรียน
>> คู่มือและขั้นตอนการใช้งานระบบ “พาน้องกลับมาเรียน”
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เรื่องราวที่น่าสนใจ : การปรับขนาด pdf ให้เล็กลง ผ่านเว็ปโดยไม่ต้องโหลดโปรแกรม ให้หนักเครื่อง
ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ : https://dropout.edudev.in.th/