วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2024
Google search engine
หน้าแรกคลังความรู้คำนวณเงินบำนาญ คำนวณบำนาญออนไลน์ เงินบำนาญข้าราชการทั้งสมาชิก กบข. และ ไม่เป็นสมาชิก กบข.

คำนวณเงินบำนาญ คำนวณบำนาญออนไลน์ เงินบำนาญข้าราชการทั้งสมาชิก กบข. และ ไม่เป็นสมาชิก กบข.

ความหมายของบำเหน็จบำนาญ บําเหน็จบํานาญเป็นสิทธิประโยชน์อย่างหนึ่งที่ทางราชการจ่ายเป็นเงินให้แก่ข้าราชการที่พ้นจากราชการ เพื่อความมั่นคง และเป็นหลักประกันในชีวิต โดยให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

บำนาญ หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนจนกว่าจะถึงแก่ความตาย
หรือหมดสิทธิ

บำเหน็จ หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเงินก้อนครั้งเดียว

คำนวณเงินบำนาญ คำนวณบำนาญออนไลน์ เงินบำนาญข้าราชการ

สูตรการคํานวณบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

บําเหน็จปกติ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X เวลาราชการ รวมเวลาราชการทวีคูณ (ถ้าเกิน 6 เดือนนับเป็น 1 ปี) 

บํานาญปกติ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X เวลาราชการรวมเวลาราชการทวีคูณ (ถ้าเกิน 6 เดือนนับเป็น 1 ปี) / 50

บํานาญสมาชิก กบข. = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดอนสุดท้าย X เวลาราชการ รวมเวลาราชการทวีคูณ / 50

ทั้งนี้ ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. บํานาญต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย

ท่านใดที่อยากจะตรวจสอบว่าวันเกษียณอายุราชการจะได้รับสวัสดิการที่เป็นเงินบำนาญรายเดือนต่อเดือนเป็นเท่าไหร่ สามารถคำนวณได้จากโปรแกรมคำนวณเงินบำนาญข้าราชการไฟล์Excel หรือ คำนวณแบบออนไลน์ได้จากข้อูลด้านล่างครับ

ดาวนโหลดไฟล์โปรแกรมคำนวณ เงินบำนาญของข้าราชการได้ที่นี่ : โปรแกรมคำนวณเงินบำนาญข้าราชการไฟล์Excel

คำนวณผ่านโปรแกรมคำนวณเงินบำนาญข้าราชการแบบออนไลน์ จากลิงก์ด้านล่าง

ขอขอบพระคุณท่านผอ.นภาดล วิภาวัล เป็นอย่างสูงในการเผยแพร่สิ่งที่เป็นประโยชน์
และขอบคุณที่มาของไฟล์โปรแกรมคำนวณจาก : เพจคุณครูครับ

เรื่องที่น่าสนใจ : สูตรการคำนวณเงินบำนาญข้าราชการทั้งสมาชิก กบข. และ ไม่เป็นสมาชิก กบข.

สิทธิประโยชน์สำหรับสมาชิก กบข. กรณีเลือกรับบำนาญ

ผู้เป็นสมาชิก กบข. และเลือกรับ “บํานาญรายเดือน” คือผู้ที่ยังไม่ต้องการตัดขาดจากระบบราชการยังประสงค์จะเป็นข้าราชการบํานาญ และรัฐยังอุดหนุน ในด้านสวัสดิการต่างๆ อยู่ต่อไป เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร สําหรับประโยชน์ที่จะได้รับนอกเหนือจากสวัสดิการเหล่านี้คือ

1. เงินก้อนจาก กบข. ประกอบด้วย เงินชดเชย เงินประเดิม เงินสะสม เงินสมทบ และเงินจากผลประโยชน์ตอบ แทน เงินส่วนนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนแรกที่ทาง กบข.จัดให้ คุณสามารถดูยอดเงินก้อนนี้ได้จากใบแจ้งยอดของ กบข. ที่แจ้งมาให้ทราบในทุกสิ้นปี พร้อมกับหลักฐานเพื่อลดหย่อนภาษีประจําปี

2. เงินบํานาญรายเดือน คํานวณจากนําเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย แล้วนํามาคูณด้วยอายุราชการ หารด้วย 50 แต่ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย เช่น คุณมีเงินเดือนเฉลี่ย 50 เดือนสุดท้ายเท่ากับ 30,000 บาท และอายุราชการ 35 ปี

3. เงินบําเหน็จดํารงชีพ คุณจะได้ 15 เท่า ของบํานาญรายเดือน แต่ไม่เกิน 400,000 บาท หากคิดตามตัวอย่างจะเป็นเงิน 315,000 บาท โดยจะจ่ายเมื่อปลดเกษียณ 200,000 บาท เมื่อครบ 65 ปี จ่ายอีก 115,000 บาท

4. เงินบําเหน็จตกทอด เมื่อผู้รับบํานาญถึงแก่กรรมก็จะมีบําเหน็จตกทอดแก่ทายาทอีก 30 เท่า ของบํานาญรายเดือน จากกรณีตัวอย่าง ทายาทจะได้ 315,000บาท คํานวณได้เท่าไรก็รับไปทั้งหมดโดยไม่แบ่งจ่าย ทายาทที่จะได้จะเป็นทายาทที่ผู้ถึงแก่ความตายได้แสดงเจตนาไว้

เรื่องราวเพิ่มเติม : “ข้าราชการ”เกษียณแล้วได้อะไรจากราชการ

เรื่องราวเพิ่มเติม : สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของ ข้าราชการ หลังเกษียณอายุราชการ

ขอบคุณที่มาของไฟล์โปรแกรมคำนวณจาก : เพจคุณครูครับ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments