ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองช้าง สพป.อุบลราชธานี เขต 1
บทนำ
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ สายงานบริหารสถานศึกษา (ว10/2564) ด้าน 3 บริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีกิจกรรมดังนี้
1) กำหนดนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาร่วมกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย
2) นำนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาไปปฏิบัติ ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ และติดตาม
3) สร้างหรือนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา และผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุน
4) สร้างการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรม ในสถานศึกษา
ฉะนั้น ในตัวชี้วัดนี้ผู้เขียนพยายามศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์หลักวิชาการการบริหารกลยุทธ์ เพื่อมาออกแบบกระบวนการบริหารโดยเชื่อมโยงบูรณาการแนวคิดสำคัญๆ ที่โรงเรียนจำเป็นต้องนำมาใช้ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ดังแผนภาพ
การวางแผนกลยุทธ์ระดับแผนงาน (Program)
ขั้นที่ ๑. ทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์
โรงเรียน เป็นองค์กรสาธารณะที่มิใช่การแสวงหากำไร ดำเนินกิจการเพื่อสาธารณะ จึงมีภารกิจที่กำหนดไว้แล้วใน กฎหมาย และนโยบายต่างๆ นำมากำหนดเป็นเป้าหมายในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้ โดยยึดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เป็นเป้าหมายหลัก และแปลงเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
ขั้นที่ ๒. ปรับแผนการเรียนให้สอดคล้องกับสถานการณ์
เมื่อสถานการณ์วิกฤติจากโรคระบาดไวรัสโคโรน่า -19 ในครั้งนี้ ทำให้เกิดวิกฤติด้านอื่นๆ ตามมา รวมถึงผลของการจัดการศึกษาของประเทศด้วย เนื่องจากไม่สามารถจัดการเรียนในโรงเรียนได้ ในเมื่อสถานภาพของสถานศึกษาที่กำหนดกำหนดในพระราชบัญญัติระเบียบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 35 ให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จึงมีอำนาจระดับหนึ่งในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยนำรูปแบบการจัดการศึกษา 3 ประเภท ได้แก่ การศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย มาบูรณาการให้เข้ากับการจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551, 2560 และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 กำหนดแผนการเรียนของโรงเรียนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ดังภาพ
ขั้นที่ ๓. การออกแบบโครงการ/กิจกรรม ตามแผนงบประมาณ และโครงสร้างการบริหาร และบูรณาการชุดโครงการเข้ากับผลลัพธ์การบริหารสถานศึกษา เป็นแผนงาน หรือชุดโครงการต่างๆ ที่มุ่งให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังตัวอย่าง
แผนงานเชิงบูรณาการ ๑ มุ่งให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะอาชีพ ประกอบด้วย โครงการอาหารกลางวันและการพัฒนาสุขบัญญัติ โครงการส่งเสริมผลผลิตเพื่ออาหารกลางวัน โครงการพัฒนาทักษะทางอาชีพ หรือโครงการสหกรณ์นักเรียนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แผนงานเชิงบูรณาการ ๒ มุ่งให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะการทำงาน ประกอบด้วย โครงการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ฯ วPA โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณและการพัสดุ โครงการการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ โครงการการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักงานและการบริหารงาน โครงการการปรับปรุงอาคารเรียน และอาคารประกอบ โครงการการปรับปรุงการใช้บริเวณให้เอื้อต่อการเรียนรู้
แผนงานเชิงบูรณาการ ๓ มุ่งให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะการแสวงหาความรู้ ประกอบด้วยโครงการพัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ตามแผนการเรียนของสถานศึกษา โครงการอ่านออก เขียนได้ และอ่านรู้เรื่อง โครงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ผู้มีความจำเป็นพิเศษ โครงการเพิ่มทักษะทางวิชาการในสถานการณ์โควิด-19
แผนงานเชิงบูรณาการ ๔ มุ่งให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะการสื่อสารและการคิดขั้นสูง ประกอบด้วย โครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน โครงการพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โครงการพัฒนาความสามารถทางภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร โครงการพัฒนาสมรรรถนะดิจิตัลเพื่อการเรียนรู้ โครงการพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
แผนงานเชิงบูรณาการ ๕ มุ่งให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะชีวิต ประกอบด้วย โครงการและทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้(ให้นักเรียนไปภายในจังหวัด) โครงการพัฒนาส่งเสริมสุขอนามัยและทักษะการกีฬา โครงการพัฒนาทักษะทางการดนตรี ศิลปะ โครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา/โครงการคุณธรรม สพฐ. หรือ โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ซึ่งแผนงานเชิงบูรณาการข้างต้น เป็นการใช้แนวคิดการทำงานแบบบูรณาการ ดังแผนภาพ
การวางแผนกลยุทธ์ระดับ โครงการ (Project)
ขั้น ๑ ร่างแนวคิด แต่ละโครงการ เป็นการทบทวนวิธีคิด วิธีการทำงานตามโครงการเดิมที่เคยทำ ตรวจสอบสภาพปัจจุบัน ปัญหา ข้อมูลผลผลิตของโครงการที่ยังไม่บรรลุเท่าที่คาดหวัง วิเคราะห์หาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยเป็นแนวคิดและประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในกระบวนการพัฒนานวัตกรรม จึงนิยมให้เขียนด้วยลายมือตามร่างที่แนบมา ทุกคน ทุกโครงการ กำหนดส่ง ไม่เกิน ๕ มกราคม ๒๕๖๕
ขั้น๒ ปรึกษาหารือ/แลกเปลี่ยนกันในทีมชุด เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการที่ตนเองรับผิดชอบกับคณะทำงานเชิงบูรณาการทีมีโครงการลักษณะใกล้เคียงกัน โดยมีจุดเน้นเชิงนวัตกรรมเดียวกัน เช่น
ขั้น๓ นำเสนอผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อรับฟังคำชี้แนะเพิ่มเติม หลังจากที่เขียนร่างแนวคิดแต่ละโครงการเสร็จ เพื่อรับฟังแนวทาง/แนวคิด/แนวนโยบาย หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ขั้น๔ จัดทำรายละเอียดโครงการ นำข้อความที่ผ่านการปรึกษาหารือจากทุกฝ่าย มาหลอมรวมเป็นรายละเอียดโครงการ เพื่อให้แนวคิดเชิงนวัตกรรม นำไปจัดพิมพ์รายละเอีย เพื่อทดแทนรายละเอียดโครงการเดิมที่มีอยู่
ขั้น๕ จัดทำไฟล์นำเสนอ (Power point) ย่อเนื้อหาสรุป เพื่อเตรียมนำเสนอ เก็บข้อมูลการดำเนินโครงการ และสรุปผลโครงการ ในลำดับต่อไป
แนวทางการเขียนรายละเอียดโครงการ
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) ของโครงการ
สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน | สภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรียน |
(จุดแข็ง)
|
(โอกาส) |
(จุดอ่อน)
|
(อุปสรรค) |
ก่อนดำเนินการใดๆ ก็จะต้องวิเคราะห์ที่มา เหตุผล ความจำเป็น วิธีวิเคราะห์ที่ได้รับความนิยม เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ ว่าเป็นการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อม มี 2 ประเภท คือ สภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอก โดยปกติ หากเป็นองค์กรทางธุรกิจ ที่มีเป้าหมายในการแสวงหากำไร ก็จะเริ่มต้นที่การวิเคราะห์ SWOT นี่ล่ะ แต่เมื่อ โรงเรียน เป็นองค์กรที่มิใช่การแสวงหากำไร แต่เป็นองค์กรสาธารณะ ที่ดำเนินกิจการเพื่อสาธารณะ จึงมีภารกิจที่กำหนดไว้แล้วใน กฎหมาย และนโยบายต่างๆ การวิเคราะห์ SWOT จึงมิได้ทำในชั้นตอนแรก
สภาพแวดล้อมภายใน หมายถึง สิ่งที่มีผลต่อโครงการ โดยอยู่ภายในองค์กร หรือภายในโรงเรียน อาจจะหมายถึง คน (Man) เงิน (Money) วัสดุ (Material) การจัดการ (Management) ก็ได้ ในทางวิชาการ การเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายใน จะใช้ มิติ 2S 4M ได้แก่ ด้านโครงสร้างและนโยบาย (S1) ด้านผลผลิตและการบริการ (S2) ด้านบุคลากร (M1) ด้านการเงิน (M2) ด้านวัสดุอุปกรณ์ (M3) ด้านการบริหารจัดการ (M4)
สภาพแวดล้อมภายนอก หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโรงเรียน แต่มีผลต่อการดำเนินโครงการ เช่น นโยบาย กฎหมาย หน่วยงานทางราชการ ชุมชน ผู้ปกครอง เป็นต้น ในทางวิชาการ การเคราะห์สภาวะแวดล้อม ภายนอก จะใช้มิติ STEP ได้แก่ ด้านสังคมวัฒนธรรม (S) ด้านเทคโนโลยี (T) ด้านเศรษฐกิจ (E) ด้านการเมืองและกฏหมาย (P)
ทิศทางผลกระทบของสภาพแวดล้อมภายใน มี 2 ลักษณะ ได้แก่ เป็น จุุดแข็ง (+) หรือ เป็น จุดอ่อน (-) ทิศทางผลกระทบของสภาพแวดล้อมภายนอก มี 2 ลักษณะ ได้แก่ เป็นโอกาส (+) หรือ เป็น อุปสรรค (-) ความแตกต่างระหว่าง สภาพแวดล้อมภายนอก และภายใน ก็คือ สภาพแวดล้อมภายนอกนั้น ไม่อาจจะไปแก้ไขด้วยตนเองได้ เช่น นโยบาย หรือกฎหมายที่หน่วยเหนือกำหนด โรงเรียนไม่อาจจะไปเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนสภาพแวดล้อมภายใน สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลงได้
จุุดแข็ง (+) หรือ จุดอ่อน (-) ของสภาพแวดล้อมภายใน อาจจะพิจารณาจากองค์ประกอบของระบบ เช่น Hardware (วัสดุอุปกรณ์), Solfware (ระบบ วิธีการปฏิบัติ), Peopleware (จำนวนคนที่ใช้ในโครงการ), Network (เครือข่าย/ผู้ที่เกี่ยวข้อง) หรือพิจารณาจาก คน (Man) เงิน (Money), วัสดุ (Material) การจัดการ (Management) ก็ได้
การวิเคราะห์ SWOT เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างกลยุทธ์และนวัตกรรม ตามตัวชี้วัด PA ข้อ 3.1 หาก การวิเคราะห์ SWOT ได้ตรงตามความเป็นจริง ระบุข้อมูล ข้อเท็จจริง มิใช่ข้อคิดเห็นและความรู้สึก ก็จะทำให้โรงเรียนสามารถออกแบบกลยุทธ์และนวัตกรรมได้ อย่างน่าเชื่อถือ หากเราฝึกเทคนิควิเคราะห์ SWOT สม่ำเสมอ เราก็สามารถนำไปใช้ได้ทุกเรื่อง แม้ในชีวิตจริง หรือ ดำเนินธุรกิจ
- กลยุทธ์ และกรอบแนวคิดของโครงการ
กลยุทธ์ | |
– สร้างจุดแข็ง | |
– ขจัดจุดอ่อน | |
– เพิ่มโอกาส | |
– ลดข้อจำกัด | |
กรอบแนวคิดในการพัฒนา หรือนวัตกรรมการบริหาร | |
– Hardware | วัสดุอุปกรณ์ |
– Solfware | ระบบ วิธีการปฏิบัติ |
– Peopleware | จำนวนคนที่ใช้ในโครงการ |
– Network | -เครือข่าย/ผู้ที่เกี่ยวข้อง |
เมื่อสามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน/ภายนอกตามข้อมูลสารสนเทศที่เป็นจริง หรือเชื่อถือได้แล้ว ก็สามารถออกแบบกลยุทธ์ หรือเลือกกลยุทธ์ที่มาจากสภาพแวดล้อมภายใน (จุดแข็ง, จุดอ่อน) หรือเลือกกลยุทธ์ที่มาจากสภาพแวดล้อมภายนอก (โอกาส, ข้อจำกัด) ได้ในหลายกรณี เช่น
กรณีที่ 1 ภายในมีจุดแข็ง เป็นบวก (+) และ ภายนอก มีโอกาส เป็นบวก (+) เรียกสภาวะเช่นนี้ว่า Quest Pattern Interactive (โอกาสและจุดแข็ง) หรือ S+O = Matching approach ใช้ยุทธศาสตร์ ประเภท “ผนึกกำลัง” ที่เน้นการใช้จุดแข็ง เพื่อเปิดโอกาสใหม่การแข่งขันขององค์กร เป็นยุทธศาสตร์ “ประเภท ลุย เร่งขยาย”
กรณีที่ 2 ภายในมีจุดอ่อน เป็นลบ (-) และ ภายนอก มีอุปสรรค เป็นลบ (-) สภาวะเช่นนี้ว่า Parley Pattern (จุดอ่อน และข้อจำกัด) หรือ W+T = Mitigation approach ใช้ยุทธศาสตร์ ประเภท “บรรเทา” หาทางผ่านพ้นจุดอ่อน และหลีกเลี่ยงภาวะคุกคามที่บดบังวัตถุประสงค์ขององค์กร เป็นยุทธศาสตร์ “ประเภทลด เลิก โอนย้าย”
กรณีที่ 3 ภายในมีจุดแข็ง เป็นบวก (+) และ ภายนอก มีอุปสรรค เป็นลบ (-) สภาวะเช่นนี้ว่า SAGA Pattern reactive (จุดแข็งและข้อจำกัด) หรือ S+E = Covering approach ใช้ยุทธศาสตร์ ประเภท “โอบล้อม” อาศัยจุดแข็งต้าน และตรึงภาวะคุกคามที่มีต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร เป็นยุทธศาสตร์ “ประเภทไม่เสี่ยง รักษาสถานภาพ”
กรณีที่ 4 ภายในมีจุดอ่อน เป็นลบ (-) และ ภายนอก มีโอกาสเป็นบวก (+) เรียกสภาวะเช่นนี้ว่า Venture Parttern Preactive (โอกาสและจุดอ่อน ) หรือ W+O = set approach ใช้ยุทธศาสตร์ ประเภท “ทดแทน” แก้ไขจุดอ่อน เพื่อใช้โอกาสที่มีอยู่ขององค์กร (เสริมจุดแข็ง ใช้โอกาส แก้ไขจุดอ่อน ป้องกันอุปสรรค) เป็นยุทธศาสตร์ “ประเภทลองเสี่ยง ปรับปรุง”
เมื่อออกแบบกลยุทธ์ทั้ง 4 ประเภทได้แล้ว จึงมาสร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนา หรือนวัตกรรมการบริหาร ว่าจะทำอย่างไร อาจจะใช้องค์ประกอบทั้ง 4 ประการนี้ เป็นกรอบในการพิจารณาเพื่อให้วิธีการในการแก้ปัญหาหรือพัฒนานั้น สามารถแก้ปัญหาได้จริง เป็นการแก้ปัญหาที่ครบวงจร ได้แก่ Hardware (วัสดุอุปกรณ์) Solfware (ระบบ วิธีการปฏิบัติ) Peopleware (จำนวนคนที่ใช้ในโครงการ) Network (เครือข่าย/ผู้ที่เกี่ยวข้อง)
หลายโครงการมักจะพบว่า เมื่อดำเนินงานตามโครงการแล้ว เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งก็ไปต่อไปไม่ได้ จำต้องยุติโครงการ อันเนื่องมาจากองค์ประกอบใด องค์ประกอบหนึ่งมีปัญหา
- วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เป้าหมาย | เชิงปริมาณ | เชิงคุณภาพ |
ผู้เรียน | ||
ครู | ||
โรงเรียน | ||
ชุมชน |
เป้าหมายของโครงการ ในทางวิชาการการบริหารโครงการแล้ว จะมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะระหว่างดำเนินโครงการ เรียกว่า “ผลผลิต” (Output) และระยะหลังดำเนินโครงการ เรียกว่า “ผลลัพธ์” (Outcome)
“ผลผลิต” (Output) เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการโดยตรง ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งหมายถึง “ผู้เรียน และครู”
“ผลลัพธ์” (Outcome) เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการโดยอ้อม หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียน และครูนำประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาต่อยอด โดยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากดำเนินโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วนั่นเอง ซึ่งหมายถึง “โรงเรียน และ ชุมชน”
- วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน/
กิจกรรมหลัก | กิจกรรมรอง | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
Plan | – | ||
Do | – | ||
Check | – | ||
Report | – |
วงจรคุณภาพ PDCA ถือเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ได้รับการยอมรับว่า หากดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวนี้อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดขึ้นคุณภาพขึ้นได้แน่นอน จึงได้บรรจุแนวคิดนี้ใน “ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา”
กระบวนการบริหารงาน PDSR เป็นการออกแบบขั้นตอนการปฏิบัติงานปกติประจำวัน ให้มี “ระบบ” เพื่อให้เกิดระบบคุณภาพ จากทุกงานที่ทำในโรงเรียน ซึ่งจะไปสอดคล้องกับ “ระบบประกันคุณภาพ” ถ้าหากงานใดก็ตาม มีการทำงานตามขั้นตอน PDSR แล้ว ก็เชื่อได้ว่า ผลงานที่ออกมาจะมีคุณภาพ เพราะเชื่อถือในกระบวนการหรือขั้นตอนการปฏิบัตินั่นเอง
การวางแผน (Plan) ได้แก่ การจัดทำรายละเอียดโครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปี แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนงานเฉพาะกลุ่มงาน ปฏิทินการดำเนินงาน คู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงาน เครื่องมือในการปฏิบัติ การแต่งตั้งคณะทำงานบูรณาการ และการประชุมชี้แจงการปฏิบัติงาน เป็นต้น
การลงมือปฏิบัติ (Do) ได้แก่ การปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย ตามแนวทางการปฏิบัติงาน ตามแผนการปฏิบัติการประจำปี ตามปฏิทินการปฏิบัติงาน หรือแผนอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน
การติดตาม ตรวจสอบ (Check) ได้แก่ การสำรวจความเรียบร้อยในการปฏิบัติตามปฏิทินงานที่กำหนด การตรวจสอบประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และคุณประโยชน์ของผลการปฏิบัติงาน
การรายงานผลการปฏิบัติ (Report) ได้แก่ การสรุปวิธีปฏิบัติที่เล็งเห็นผลสำเร็จ การรวบรวมข้อมูลผลการปฏิบัติตามตามกระบวนการ การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อคุณภาพของสถานศึกษาตามขอบข่ายงานที่ได้รับมอบหมาย โดยทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติในลักษณะกึ่งทางการ เป็นระยะๆ
- แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
แหล่งประมาณ/หมวด …………………………………………….. จำนวน ………………….. บาท
รายละเอียดดังนี้ :
กิจกรรมที่จะต้องใช้งบประมาณ | งบประมาณ
ที่ใช้ |
งบประมาณจำแนกตามหมวดรายจ่าย | ||
ค่าตอบแทน | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ||
กิจกรรมที่ 1 ……………………………………………… | ||||
1.1 ……………………………………………………… | ||||
1.2 ……………………………………………………… | ||||
กิจกรรมที่ 2 ……………………………………………… | ||||
2.1 …………………………………………………….. | ||||
2.2 …………………………………………………….. | ||||
กิจกรรมที่ 3 …………………………………………….. | ||||
3.1 …………………………………………………….. | ||||
3.2 …………………………………………………….. | ||||
รวมงบประมาณ |
แหล่งงบประมาณ หรือที่มาของรายได้สถานศึกษา ไม่ได้มีหลากหลายเหมือนองค์กรทางธุรกิจ เท่าที่พอจะแยกแยะเพื่อให้สามารถออกแบบกิจกรรมหรือโครงการที่จะใช้จ่ายได้ คือ 1) เงินอุดหนุนทั่วไป ซึ่งใช้ในการบริหารงานได้ทุกหมวดรายการ 2) เงินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่มุ่งเน้นไปใช้ในกิจกรรมที่จัดให้เกิดกับผู้เรียนประมาณ 5 กิจกรรม 3) เงินรายได้สถานศึกษา
เมื่อจำแนกแหล่งที่มาของรายได้ ก็จะวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาตามอำนาจหน้าที่ในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ตามลำดับ
กิจกรรมในโครงการที่จำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณ ผู้รับผิดชอบโครงการก็เลือกตามความจำเป็น หรือเลือกกิจกรรมตามองค์ประกอบของระบบ ได้แก่ Hardware (วัสดุอุปกรณ์) Solfware (ระบบ วิธีการปฏิบัติ) Peopleware (จำนวนคนที่ใช้ในโครงการ) Network (เครือข่าย/ผู้ที่เกี่ยวข้อง)
- การควบคุมภายใน
องค์ประกอบความเสี่ยง | ปัจจัยความเสี่ยง | แนวทางการบริหารความเสี่ยง |
คน (Man) | ||
เงิน (Money) | ||
วัสดุ (Material) | ||
การจัดการ (Management) |
การควบคุมภายใน เป็นกิจกรรมตามระเบียบทางราชการที่มีวัตถุประสงค์จะให้การใช้จ่ายงบประมาณ เป็นไปอย่างประหยัด คุ้มค่า เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คำนึงถึงประโยชน์ทางราชการเป็นสำคัญ จึงกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจะต้องมีแผนการควบคุมภายในองค์กรขึ้น เพื่อแสดงถึงแนวปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว
สาระสำคัญของแผนการควบคุมภายใน ได้แก่ การวิเคราะห์ความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสจะทำให้โครงการไม่ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ และกำหนดแนวทางการบริหารความเสี่ยงในเรื่องนั้นๆ
แหล่งที่มาของความเสี่ยง หรือต้นตอของความเสี่ยง เป็นปัจจัยที่เกิดจากภายในองค์กร ซึ่งองค์กรเองสามารถควบคุม หรือบริหารจัดการสิ่งเหล่านั้นได้ ผู้รับผิดชอบโครงการ อาจจะเลือกได้ตามสภาพที่เป็นจริง หรืออาจจะเลือกจากองค์ประกอบ เช่น คน (Man) เงิน (Money) วัสดุ (Material) การจัดการ (Management) ก็ได้
- ผลลัพธ์การบริหารสถานศึกษา (ระบุตัวชี้วัดตามข้อตกลงฯ (PA)
ผลลัพธ์ฯ ต่อผู้เรียน | ตัวชี้วัด PA ครูผู้สอน | ตัวชี้วัด PA ผู้บริหารสถานศึกษา |
โรงเรียน เป็นสถานที่จัดการศึกษาให้เกิดผลลัพธ์ต่อผู้เรียนตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร โดยมีครูเป็นผู้จัดการหรือผู้ดำเนินกิจกรรมให้เกิดการบรรลุผลดังกล่าว องค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล (ก.ค.ศ.) จึงกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานไว้ เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนา และการประเมินผลการปฏิบัติ
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูสายงานการสอน และสายงานบริหารสถานศึกษา เป็นการประเมินการปฏิบัติงานในหน้าที่ สามารถนำงานที่ตนเองปฏิบัติมาใช้แสดงถึงผลการปฏิบัติงานได้ โดยมีกรอบในการประเมิน ดังนี้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน หมายถึง ความรู้ ทักษะ เจตคติ ความคิด พฤติกรรม หรือคุณลักษณะตามจุดประสงค์ของหลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี หรือมีพัฒนาการมากขึ้น เมื่อผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติตามกระบวนการ หรือกิจกรรมที่ครูผู้สอนออกแบบและดาเนินการ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก “ผลงาน” (Product) หรือ “ผลการปฏิบัติ” (Performance) ของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการเรียนรู้
“ผลลัพธ์ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษา” หมายถึง ผลการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน ครู และสถานศึกษา ที่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น หรือมีการพัฒนามากขึ้น เมื่อได้มีการดำเนินการตาม แผนพัฒนาสถานศึกษา กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือ หรือนวัตกรรมการบริหารที่ผู้บริหารสถานศึกษาได้พัฒนาขึ้น
ตัวชี้วัด PA ครูผู้สอน | ตัวชี้วัด PA ผู้บริหารสถานศึกษา |
ด้านที่ 1 การจัดการเรียนรู้
1.1 สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร 1.2 ปฏิบัติการสอน โดยออกแบบการจัดการเรียนรู้ 1.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1.4 สร้าง และ/หรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ 1.5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ 1.6 ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ/หรือวิจัย 1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน 1.8 อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม |
ด้าน 1 การบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ
1.1 พัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ 1.2 ปฏิบัติการสอน พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (5/10 ชม.) 1.3 ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนา หรือ การนำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา 1.4 นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล การจัดการเรียนรู้ของครู 1.5 ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา 1.6 จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา |
ด้านที่ 2 การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
2.1 ข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียน และรายวิชา 2.2 ระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 2.3 ปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่นๆ 2.4 ความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และสถานประกอบการ
|
ด้าน 2 บริหารจัดการสถานศึกษา
2.1 บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรในสถานศึกษา และบริหารกิจการของสถานศึกษา 2.2 บริหารงานบุคคล บริหารงบประมาณ และบริหารทั่วไปของสถานศึกษา 2.3 ส่งเสริมและพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ให้มีสมรรถนะเต็มตามศักยภาพ 2.4 บริหารกิจการผู้เรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน 2.5 จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน 2.6 ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสถานศึกษา |
ด้าน 4 บริหารงานชุมชนและเครือข่าย
4.1 สร้างและพัฒนาความร่วมมือย่างสร้างสรรค์กับผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้อง ชุมชนและเครือข่าย 4.2 จัดระบบให้บริการในสถานศึกษา ประสานความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่าย |
|
ด้านที่ 3 การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 3.2 เข้าร่วมหรือเป็นผู้นำในกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
|
ด้าน 5 พัฒนาตนเองและวิชาชีพ
5.1 พัฒนาตนเองย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 5.2 มีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ 5.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพครู และผู้เรียน 5.4 สร้างและสนับสนุนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) |
ด้าน 3 บริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม 3.1 กำหนดนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาร่วมกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย3.2 นำนโยบาย แผน กลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาไปปฏิบัติ ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ และติดตาม 3.3 สร้างหรือนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา และผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุน 3.4 สร้างการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรม ในสถานศึกษา |
- 8. ระดับความสำเร็จของระบบประกันคุณภาพภายใน
แบบอย่างที่ดี (Best Practice) ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หรือ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………..
นวัตกรรม (Innovation) ที่คาดว่าจะได้
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………..
ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 47-48 ซึ่งผลการปฏิบัติงานใดๆ ของสถานศึกษาย่อมส่งผลให้เกิด หลักประกันคุณภาพตามระบบได้
สิ่งที่แสดงถึงคุณภาพตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากโรงเรียนพัฒนางานตามระบบประกันคุณภาพ 8 องค์ประกอบตามหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดนั้น ได้แก่ วิธีปฏิบัติที่ดี หรือ นวัตกรรม
วิธีปฏิบัติที่ดี หรือ นวัตกรรม เป็นเครื่องบ่งชี้ หรือเป็น “หลักประกัน” ความมั่นใจต่อผู้ปกครองได้ว่า โรงเรียนจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
การเป็นแบบอย่างที่ดี (Best-Practice) หมายถึง รูปแบบวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้สถานศึกษาประสบผลสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ หรือวิชาชีพ มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปรูปแบบวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ มีร่องรอยหลักฐานเชิงประจักษ์ เผยแพร่ให้หน่วยงานภายนอก หรือภายในสามารถนำไปใช้ประโยชน์
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง แนวคิด หรือวิธีการที่นำมาใช้ในการปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหา หรือการพัฒนา ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด กระบวนการ หรือองค์กร อย่างสิ้นเชิง หรืออย่างเห็นได้ชัด เป็นการพัฒนาต่อยอด เพิ่มมูลค่า มีเป้าหมายในเชิงบวก ซึ่งมีเกณฑ์พิจารณา คือ มีความสร้างสรรค์ (C-Creative) มีความใหม่ในบริบทนั้นๆ (N-New) มีคุณค่ามีประโยชน์ (V-Value-Added) และปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม (A-Adaptive)
เอกสารอ้างอิง
ทดสอบทางการศึกษา, สำนัก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. แนวทางการประเมินคุณภาพ
ตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
จำกัด, ๒๕๖๑.
คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, สำนักงาน. กระทรวงศึกษาธิการ. หลักเกณฑ์และ
วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.
หนังสือ สนง.ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว.20 ลว. 30 ตุลาคม 2561.
สำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. ชุดวิชา การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
โครงการพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาประจำการ. 2549.
อุทิศ ขาวเทียร. คู่มือการวางแผนกลยุทธ์. เอกสารประกอบการสอนโครงการปริญญาเอกสาขายุทธศาสตร์
การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2550: 5.
ปริญญา หรุ่นโพธิ์. (2560) การพัฒนารูปแบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคล มุ่งสู่ความเป็นหุ้นส่วน
ทางกลยุทธ์ ขององค์การไม่แสวงหาผลกาไร, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร,
วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2560
ขอบคุณที่มา : การเขียนโครงการเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมตามตัวชี้วัดที่ 3 จาก ดร.รัชศักดิ์ แก้วมาลา
ดาวน์โหลดไฟล์ word แนวทางการเขียนโครงการเชิงกุลยุทธ
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง : บริหารเงินอย่างไร ให้สุขสบายในวัยเกษียณ Money Buddy