มาตราการเเก้ไขปัญหา หนี้สินข้าราชการครู เเละบุคลากรทางการศึกษา เมื่อเร็วๆนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีหนังสือด่วนที่สุด เรื่อง มาตราการเเก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูเเละบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการมาตราการเเก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูฯ ดังนี้
ร่าง การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตระหนักถึงความสําคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องดําเนินการอย่างเร่งด่วน โดยมีหลักการสําคัญคือ คลายทุกข์ เสริมสุข อย่างยั่งยืน และมีแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบโดยอาศัยความร่วมมือจากทั้งหน่วยงาน ภายในและภายนอก รวมทั้งบุคลากรของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มั่นคงยั่งยืน สามารถดํารงตนได้ อย่างมีศักดิ์ศรีมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้กําหนดการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเริ่มดําเนินการ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ดังนี้
เรื่องราวที่น่าสนใจ : การให้กู้ยืม เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแก้ไขปัญหา หนี้สินข้าราชการครู
๑. มาตรการสําหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้กู้เงิน
๑.๑ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มที่ปลอดหนี้สิน กลุ่มที่มีหนี้สิน และกลุ่ม ข้าราชการบํานาญ หากประสงค์ยื่นกู้สินเชื่อตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป กําหนดมาตรการ ดังนี้
๑.๑ ขอเอกสารตรวจสอบสิทธิ์รับรองการกู้เงิน ณ หน่วยเบิกต้นสังกัด
๑.๒ การกู้เงินให้ใช้อัตราเงินเดือน หรือเงินบํานาญเป็นฐานแล้วแต่กรณีในการยื่นกู้สินเชื่อ เท่านั้น (ไม่รวมค่าตอบแทนและวิทยฐานะในการคํานวณสินเชื่อ)
๑.๓ หากจัดทําเอกสารเป็นผู้มีสิทธิ์กู้เงินเกินกว่าอัตราเงินเดือน หรือเงินบํานาญเป็นฐาน แล้วแต่กรณี หน่วยเบิกต้นสังกัด ไม่ดําเนินการ หักเงิน ณ ที่จ่ายให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์หรือสถาบันการเงิน
๑.๒ แนวทางการดําเนินการ
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขอความร่วมมือสหกรณ์ออมทรัพย์ครู และ สถาบันการเงินกําหนดเพดานการกู้เงินโดยใช้อัตราเงินเดือน หรือเงินบํานาญเป็นฐานในการยื่นกู้สินเชื่อ เพื่อหามาตราการเเก้ไขปัญหา หนี้สินข้าราชการครู เเละบุคลากรทางการศึกษา หาก ไม่ดําเนินการตามมาตรการที่สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกําหนด หน่วยเบิกต้นสังกัดไม่ ดําเนินการ หักเงิน ณ ที่จ่ายให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ครู หรือสถาบันการเงิน
๒. การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒.๑ พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มอายุราชการ ๑-๕ ปี เพื่อให้มีความรู้ ทางด้านการเงิน การคลัง และการออม ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
๒.๒ พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มอายุราชการ ๖-๖๐ ปี เพื่อให้ความรู้ ด้านการเงิน การออม การวางแผนการใช้จ่ายเงิน และการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้มี ภูมิคุ้มกันทางการเงิน ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
๓. กําหนดให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิกเป็นสถานีแก้หนี้ครู
๓.๑ จัดทําฐานข้อมูลหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการบํานาญ และจัด หมวดหมู่ของปัญหาหนี้สินอย่างเป็นระบบ
๓.๒ จัดให้มีกระบวนการตรวจสอบเงินเดือนคงเหลือสุทธิ ให้เป็นไปตามระเบียบการทรวง ศึกษาธิการ ว่าด้วยการหักเงินเดือนเงินบําเหน็จบํานาญข้าราชการเพื่อชําระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการในส่วน ราชการและสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
๓.๓ ควบคุมการรับรองเงินเดือน การหักเงิน ณ ที่จ่าย การรับรองการให้กู้ การควบคุมยอดหนี้ รวมของครูให้ไม่เกินความสามารถชําระหนี้และการให้กู้ในอนาคตในจุดเดียว
๓.๔ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการวางแผนทางการเงิน การลงทุน และการดําเนินชีวิตตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามความเหมาะสม
๓.๕ เป็นตัวกลางเจรจา ไกล่เกลี่ยกับเจ้าหนี้ร่วมกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการบํานาญ รายที่มีปัญหา และสามารถเข้ารับคําปรึกษาปัญหาทางการเงินของครู
๔. เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ สพฐ.วิถีใหม่เอื้ออาทรในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทําจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์สร้างความรู้ ความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านสื่อทุกช่องทางทั้งกระแส หลัก กระแสรอง และโซเชียลมีเดีย
ดาวน์โหลดไฟล์ : มาตราการเเก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูเเละบุคลากรทางการศึกษา
ขอบคุณข้อมูลจาก : สพฐ.