วันอังคาร, ตุลาคม 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกข่าวการศึกษาคําสั่งย้ายลักษณะใด ที่ไม่ได้เงินวิทยฐานะ

คําสั่งย้ายลักษณะใด ที่ไม่ได้เงินวิทยฐานะ

คําสั่งย้ายลักษณะใด-ที่ไม่ได้เงินวิทยฐานะ

คําสั่งย้ายลักษณะใด ที่ไม่ได้เงินวิทยฐานะ คําสั่งย้าย… เป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายของผู้บังคับบัญชาในการบริหารงานบุคคลเพื่อประสิทธิภาพในการทํางานและเพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสําคัญ ซึ่งจะมีทั้งการย้ายประจําปีตามปกติและย้ายในกรณีพิเศษ อย่างไรก็ตาม แม้การย้ายข้าราชการหรือบุคลากรของรัฐจะเป็นอํานาจบริหาร
ของผู้บังคับบัญชา แต่ศาลก็สามารถตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคําสั่งดังกล่าวได้หากเป็นการ
ดําเนินการที่ไม่ถูกต้อง เช่น

ตรวจสอบว่ามีกฎหมายให้อํานาจผู้ออกคําสั่งกระทําการนั้นหรือไม่ หรือผู้ออก
คําสั่งได้ดําเนินการตามรูปแบบขั้นตอนอันเป็นสาระสําคัญที่กฎหมายกําหนดไว้หรือไม่ หรือผู้ออกคําสั่งใช้
ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งก็คือมีเหตุผลที่สมเหตุสมผลรองรับในการออกคําสั่งหรือไม่นั่นเอง
การมีคําสั่งย้ายข้าราชครูในบางกรณีส่งผลให้ผู้ถูกย้ายไม่ได้รับเงินวิทยฐานะในระหว่างที่ถูกคําสั่งย้าย
เช่น คําสั่งให้ประจําส่วนราชการ หรือสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นการชั่วคราว หรือสั่งให้พ้นจากตําแหน่ง
หน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนในตําแหน่งเดิม

โดยให้รับเงินเดือนในอัตราทดแทนที่ก.ค.ศ. กําหนด แล้วแต่
กรณีตาม ข้อ 6 (7) ของระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะและเงินประจําตําแหน่งข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2550 กําหนดไว้ดังนั้น การที่ผู้บังคับบัญชาจะมีคําสั่งย้ายดังกล่าวจึงต้อง
มีเหตุผลสนับสนุนการย้าย มิใช่ทําโดยอําเภอใจ เพื่อให้คําสั่งย้ายดังกล่าวเป็นคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ดังเช่นคดีต่อไปนี้…

ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการครูดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการโรงเรียน ถูกร้องเรียนว่า
ทุจริตโครงการอาหารกลางวันนักเรียนและถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง ต่อมา
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (ศึกษาธิการจังหวัด) ได้มีคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปประจํา ณ สํานักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา ก
เป็นการชั่วคราวในระหว่างที่มีการดําเนินการทางวินัย รวมทั้งได้มีคําสั่งงดเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะและเงินประจํา
ตําแหน่งในระหว่างที่ผู้ฟ้องคดีถูกสั่งให้ไปประจํา ณ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ก ดังกล่าว
ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องทุกข์ต่อประธานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด)
เพื่อขอให้ยกเลิกคําสั่งย้ายและให้ผู้ฟ้องคดีกลับไปปฏิบัติราชการที่โรงเรียนเดิมหรือโรงเรียนอื่นที่ใกล้เคียงกัน
พร้อมทั้งให้จ่ายเงินวิทยฐานะและเงินประจําตําแหน่งแก่ผู้ฟ้องคดีด้วย

แต่ในระหว่างที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ยังมิได้
พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ก็ได้มีคําสั่งยกเลิกคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปประจําสํานักงานเขต
พื้นที่การศึกษา ก และให้ผู้ฟ้องคดีกลับไปประจําที่โรงเรียนเดิม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เห็นว่าเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1
มีคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีกลับไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนเดิมและผู้ฟ้องคดีได้รับเงินวิทยฐานะและเงินประจําตําแหน่ง
ตามเดิมอันเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในหนังสือร้องทุกข์แล้ว จึงไม่พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปประจําสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ก
เป็นการออกคําสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่ยอมพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี
ผู้ฟ้องคดีจึงนําคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคําสั่งย้ายที่พิพาท และให้จ่ายเงินวิทยฐานะและ
เงินประจําตําแหน่ง จํานวน 2 เดือน ที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับในระหว่างที่ไปประจําอยู่ ณ สํานักงานเขตพื้นที่
การศึกษา ก ด้วย

กรณีเช่นนี้… ผู้ฟ้องคดีจะสามารถเรียกเงินวิทยฐานะและเงินประจําตําแหน่งในระหว่างที่ไม่ได้
ปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการโรงเรียนได้หรือไม่ ?

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งเมื่อ
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดีในเรื่องที่ถูกกล่าวหา
ดังกล่าว หากให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนเดิมในฐานะผู้อํานวยการโรงเรียน ย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อการ
ดําเนินการสอบสวนทางวินัยได้เนื่องจากผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาย่อมมีอิทธิพลหรือ
มีส่วนได้เสียต่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดโรงเรียนดังกล่าว ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีอํานาจให้คุณให้โทษแก่ข้าราชการดังกล่าวในเรื่องความดีความชอบ ย่อมเป็นเหตุให้ข้าราชการครูไม่กล้าให้
ถ้อยคําต่อคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยตามความเป็นจริง และอาจเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่สําคัญ
ในเรื่องที่ทําการสอบสวนได้

การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีเหตุผลความจําเป็นและเป็นไปตามเงื่อนไขที่
กําหนดในมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
ประกอบกับข้อ 1 (1) ของกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจํา
ส่วนราชการหรือสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2550 ซึ่งให้อํานาจผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ในกรณีที่ “มีเหตุผล
ความจําเป็น” สามารถสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปประจําสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เป็นการชั่วคราวได้หากข้าราชการดังกล่าวมีกรณีถูกกล่าวหาหรือเป็นที่สงสัยว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง
หรือถูกฟ้องคดีอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

หรือกรณีที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้และถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในตําแหน่งหน้าที่เดิมต่อไปจะเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวนการสอบสวน หรืออาจเกิดความเสียหายแก่ราชการ คําสั่งที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปประจําสํานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา ก เป็นการชั่วคราวเพื่อความสะดวกในการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง จึงเป็นการ
ออกคําสั่งที่เหมาะสมและจําเป็นแก่กรณีซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

เมื่อศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็นการใช้ดุลพินิจออกคําสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้ฟ้องคดีมาปฏิบัติ
หน้าที่ประจําสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ก เป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งย่อมไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่ง
ผู้อํานวยการสถานศึกษา ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินวิทยฐานะและเงินประจําตําแหน่งดังกล่าว
คําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ให้งดการเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะและเงินประจําตําแหน่งของผู้ฟ้องคดี
เป็นเวลา 2 เดือน จึงชอบด้วยข้อ 6 (7) ของระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะและเงินประจํา
ตําแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2550 ที่มีข้อกําหนดมิให้เบิกจ่ายเงินวิทยฐานะใน
ระหว่างวันที่ข้าราชการครูถูกสั่งให้ประจําสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นการชั่วคราว (คําพิพากษา
ศาลปกครองสูงสุดที่อ. 936/2559)

จะเห็นได้ว่า กรณีนี้เป็นการย้ายที่เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายที่ถือว่ามีเหตุจําเป็นในการที่จะออก
คําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นการชั่วคราว เนื่องจากอยู่ระหว่างการ
ดําเนินการทางวินัย เพราะผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งหัวหน้าสถานศึกษาซึ่งมีอิทธิพลหรือมีส่วนได้เสียต่อ
ข้าราชการครูในโรงเรียน ที่ย่อมส่งผลต่อการให้ถ้อยคําของข้าราชการครูในโรงเรียนได้เมื่อเป็นการย้าย
โดยชอบประกอบกับการมีคําสั่งไม่จ่ายเงินวิทยฐานะก็เป็นไปตามข้อกําหนดของกฎหมายด้วยเช่นกัน
การกระทําของผู้ถูกฟ้องคดีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว อันเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนเก่ียวกับอํานาจของศึกษาธิการ
จังหวัดในเรื่องดังกล่าว

ท่านสามารถอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ คําสั่งย้ายลักษณะใด ที่ไม่ได้เงินวิทยฐานะ ได้เพิ่มเติมที่ สํานักงานศาลปกครอง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สํานักงานศาลปกครอง

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments