วันอังคาร, ตุลาคม 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกคลังความรู้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตตปัญญาศึกษา (CCR)

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตตปัญญาศึกษา (CCR)

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตตปัญญาศึกษา (CCR)

จิตตปัญญาศึกษา (CCR) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีลักษณะการจัดกิจกรรมดังนี้

ขั้นตอนและตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตตปัญญาศึกษา (CCR)

กิจกรรม จิตตปัญญาศึกษา เพื่อมุ่งพัฒนาปัญญาภายในให้กับผู้เรียนไว้โดยเฉพาะ ซึ่งควรใช้เวลาประมาณ 20 นาทีก่อนเรียนในภาคเช้า และ 15 นาทีก่อนเริ่มการเรียนในภาคบ่าย ทั้งนี้จะได้คุณค่าเพิ่มตรงที่กิจกรรมจิตตศึกษา ยังเป็นการเตรียมความพร้อมทั้งทางกาย และใจให้กับผู้เรียนก่อนเรียนไปด้วยในตัว และอีกช่วงหนึ่งอาจจัดตอนสิ้นวันโดยใช้เวลาประมาณ สัก 20 – 30 นาทีเพื่อให้ทุกคนได้กลับมาสู่ความสงบ กลับมาสู่ตัวเอง แล้วใคร่ครวญและสะท้อนถึงสิ่งที่ได้เรียนมาทั้งวัน ก่อนการกลับบ้าน

กิจกรรมที่มุ่งสร้างพลังสงบให้เกิดความสงบภายในและการผ่อนคลาย เช่น

• ขณะทำกิจกรรมก็เปิดเสียงดนตรีที่มีลักษณะของคลื่นความถี่ต่ำเพื่อเหนี่ยวนำคลื่นสมองของเด็กให้มี
ความถี่ตำ่ลง
• การทำโยคะเพื่อบริหารอวัยวะภายในและให้ได้อยู่กับลมหายใจ
• การทำ Body Scan ทั้งแบบยืน นั่ง หรือนอน เพื่อการผ่อนคลายแบบลึกและบ่มเพาะสิ่งที่ดีงามในจิตใต้สำนึก
• การนวดตัวเองหรือนวดกันและกัน เพื่อสร้างความรู้สึกดีต่อกัน

กิจกรรมที่มุ่งให้เกิดสติ เพื่อให้เด็กมีความชำนาญในการกลับมารู้ตัวได้เสมอๆ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เด็กได้รู้เท่าทันอารมณ์ และการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นในแต่ละขณะเพื่อจะได้รู้ว่าควรหยุดหรือควรดำเนินกิจกรรมนั้นต่อ

ไม่ว่าจะเป็น การกำกับกาย การเดินตามรอยเท้า การอยู ่กับลมหายใจ การบอกการรับรู้จากประสาทสัมผัสขณะนั้น การทำ Brain Gym กิจกรรมจิตตศึกษาที่อยู่ในหน่วย Home การทำบอดีสแกนแบบยืน นั่ง หรือนอน

กิจกรรมฝึกสมาธิหรือการจดจ่อ ให้เด็กมีความสามารถในการคงสมาธิได้ยาวขึ้นเพื่อกำกับความเพียรทั้งการเรียนรู้ และการทำงานให้สัมฤทธิ์ผล เช่น

กิจกรรมส่งน้ำ ส่งเทียน ต่อบล็อก Brain Gym การจินตนาการเป็นภาพ การร้อยลูกปัด การร้อยมาลัย
การพับกระดาษ การวาดภาพ การอ่านวรรณกรรม การฟังนิทาน หรือเรื่องเล่า พิธีซา พิธีจัดดอกไม้

กิจกรรมที่มุ่งให้เห็นความเชื่อมโยง เห็นคุณค่าของตนเอง คนอื่น หรือสิ่งอื่น เช่น

การสนทนากับต้นไม้การเล่าข่าว การค้นหาคุณค่าจากสิ่งที่ไร้ค่า การขอบคุณสิ่งต่าง ๆ การค้นหาต้นกำเนิด
ของตัวเราและสิ่งต่าง ๆ การพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงและความเสื่อมของตัวเองและสิ่งต่าง ๆ

กิจกรรมที่มุ่งให้เกิดการบ่มเพาะจิตสำนึกที่ดีงาม เช่น

นิทาน เรื่องเล่าเพื่อการใคร่ครวญ การใช้คำที่ให้พลังด้านบวก การเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้อื่น การเดินทางไกล
การอยู่ลำพังกับธรรมชาติ

กิจกรรมที่บ่มเพาะพลังความรักความเมตตา เช่น

การไหว้กันและไหว้สิ่งต่าง ๆ การกอด การขอบคุณกันและกัน และการขอบคุณสิ่งต่าง ๆ การยกย่องชื่นชม
ความดีงามของคนอื่น ๆ การร่วมกันชื่นชมศิลปะ

สรุปได้ว่า ทุกกิจกรรมล้วนมีความสำคัญในการกำกับสติ เพื่อให้ผู้เรียนมีความชำนาญในการกลับมารู้ตัวได้เสมอ ซึ่
งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เด็กได้รู้เท่าทันอารมณ์ และการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นในแต่ละขณะ เพื่อจะได้รู้ว่าควรหยุดหรือควรดำเนินกิจกรรมนันต่อไป

ขอบคุณที่มาจาก : วารสาร กคศ.

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments