วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
Google search engine
หน้าแรกข่าวการศึกษากคศ.เผย องค์ประกอบ การประเมิน เลื่อนเงินเดือน ขอวิทยฐานะ คงวิทยฐานะ ตามเกณฑ์ PA เริ่มใช้ 1 ต.ค. 2564

กคศ.เผย องค์ประกอบ การประเมิน เลื่อนเงินเดือน ขอวิทยฐานะ คงวิทยฐานะ ตามเกณฑ์ PA เริ่มใช้ 1 ต.ค. 2564

องค์ประกอบ-เลื่อนเงินเดือน-ขอวิทยฐานะ-คงวิทยฐานะ-ว-PA

กคศ.เผย องค์ประกอบ การประเมิน เลื่อนเงินเดือน ขอวิทยฐานะ คงวิทยฐานะ ตามเกณฑ์ PA เริ่มใช้ 1 ต.ค. 2564

สวัสดีครับทุกท่านเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2564 สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้มีการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 8/2564

ซึ่งผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 8/2564 ในวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2564  โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และมีมติที่สำคัญ เกี่ยวกับ องค์ประกอบ การประเมิน เลื่อนเงินเดือน ขอวิทยฐานะ คงวิทยฐานะ ตามเกณฑ์ PA ดังนี้

การอนุมัติ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

สืบเนืองจากที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ว 3/2564) รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใหม่ ทั้ง 4 สายงาน (ว 9 – ว 12 /2564) ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว จะสอดคล้องกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยกำหนดให้นำผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลง (Performance Agreement : PA) ไปใช้เป็นองค์ประกอบในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน เพื่อลดความซ้ำซ้อนจากการประเมิน ลดภาระงานของข้าราชการครูฯ ลดภาระด้านงบประมาณภาครัฐ รวมทั้งเกิด การเชื่อมโยงบูรณาการกันระหว่างการประเมินแต่ละระบบ ซึ่ง ก.ค.ศ. ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564  เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ได้มีมติอนุมัติหลักการการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้กำหนดรูปแบบการประเมินที่ใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน เพื่อให้สามารถนำผลการประเมินมาใช้ ทั้งการประเมินเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ การประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ รวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อเลื่อนเงินเดือน ที่เน้นระบบการประเมินแบบ Performance-based Appraisal เป็นหลัก โดยใช้ระบบการประเมินแบบ Result-based Appraisal ร่วมด้วย โดยทุกตำแหน่งจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) (ยกเว้นครูผู้ช่วย) ซึ่งสาระสำคัญของ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการนี้ ประกอบด้วย

องค์ประกอบการประเมิน  (100 คะแนน) มี 3 องค์ประกอบ

1) การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน 80 คะแนน

2) การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา 10 คะแนน

3) การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัยฯ 10 คะแนน

เครื่องมือ

การประเมินข้อตกลง PA เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ การประเมินคงวิทยฐานะ และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ใช้ตัวชี้วัดชุดเดียวกัน

วิธีการประเมิน

1) องค์ประกอบที่ 1

รอบที่ 1

1. นำ PA มากำหนดขอบเขตผลการปฏิบัติงานที่คาดหวัง

2. ให้ประเมินตามขอบเขตผลการปฏิบัติงานที่คาดหวัง

รอบที่ 2

ให้นำผลการประเมิน PA มาใช้ประกอบการพิจารณา

2) องค์ประกอบที่ 2 และ 3 

ในการประเมินทั้ง 2 รอบ ให้ประเมินตามสภาพการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน

การนำผลการประเมินไปใช้

การพิจารณาเลื่อนเงินเดือน  การประเมินคงวิทยฐานะ การเป็นคุณสมบัติ ในการเลื่อนวิทยฐานะ

อ่านเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับ : ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 8/2564 คลิกที่นี่!

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments