วันอังคาร, ตุลาคม 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกHILIGHTสมาชิก กบข. เคยสงสัยหรือไม่ว่าเงินออมที่เรานำส่งมาสะสมไว้กับ กบข. ทุกเดือนนั้น กบข. ได้มีการนำไปบริหารจัดการอย่างไร ? และแตกต่างจากการออมเงินทั่วไปอย่างไร ?

สมาชิก กบข. เคยสงสัยหรือไม่ว่าเงินออมที่เรานำส่งมาสะสมไว้กับ กบข. ทุกเดือนนั้น กบข. ได้มีการนำไปบริหารจัดการอย่างไร ? และแตกต่างจากการออมเงินทั่วไปอย่างไร ?

สมาชิก กบข. เคยสงสัยหรือไม่ว่าเงินออมที่เรานำส่งมาสะสมไว้กับ กบข. ทุกเดือนนั้น กบข. ได้มีการนำไปบริหารจัดการอย่างไร ? และแตกต่างจากการออมเงินทั่วไปอย่างไร ?

ก่อนอื่นเรามาทบทวนความเป็นมาของความจำเป็นในการจัดตั้ง กบข. กันอีกครั้ง… เนื่องด้วยแนวโน้มของสังคมผู้สูงวัยที่ทำให้จำนวนข้าราชการบำนาญเพิ่มขึ้น มีอายุขัยยืนยาวขึ้น ประกอบกับในช่วงปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยต้องเผชิญกับพิษวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องปฏิรูประบบบำนาญไทย ด้วยการปรับสูตรคำนวณบำนาญข้าราชการของกรมบัญชีกลาง เพื่อป้องกันปัญหาขาดหลักประกันยามเกษียณของข้าราชการในอนาคต

ด้วยเหตุนี้ กบข. จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2540 (ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539) เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญ และให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ โดยกำหนดให้ข้าราชการที่รับราชการก่อนวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ คือวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2540 สามารถเลือกได้ว่าจะสมัครเป็นสมาชิก กบข. หรือไม่ สำหรับข้าราชการที่เข้ารับราชการหลังวันดังกล่าว ต้องเข้าเป็นสมาชิก กบข. ทุกคนตามที่กฎหมายกำหนด

โดยภารกิจหลักของ กบข. คือการนำเงินสะสมของสมาชิกและเงินที่รัฐสมทบให้สมาชิก ไปลงทุนให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด ด้วยนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย โดยปัจจุบัน กบข. ได้มีรูปแบบการลงทุนให้สมาชิกเลือกให้ กบข. ลงทุนในรูปแบบที่เหมาะสมกับตนเองถึง 7 แผนการลงทุน ซึ่งมีความแตกต่างกันด้วยระดับความเสี่ยงและโอกาสสร้างผลตอบแทน ขึ้นอยู่กับสัดส่วนและประเภทสินทรัพย์ของแต่ละแผนการลงทุน
แผนการลงทุนทั้ง 7 แผน สำหรับสมาชิก กบข. มีดังนี้

1. แผนหลัก กบข. – กระจายความเสี่ยง เกษียณมั่นคง
แผนหลัก กบข. เป็นแผนแรกสำหรับสมาชิก กบข. มีระดับความเสี่ยงและโอกาสสร้างผลตอบแทนปานกลาง สัดส่วนลงทุนสำคัญคือ 60:40 คือลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงสูงไม่น้อยกว่า 60% ส่วนที่เหลือลงทุนในหุ้น และสินทรัพย์ทางเลือก

2. แผนตลาดเงิน – เสี่ยงต่ำ มั่นคง ปลอดภัย
แผนตลาดเงินลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ระยะสั้น เน้นการรักษาเงินต้น แต่ผลตอบแทนต่ำ

3. แผนตราสารหนี้ – เพิ่มผลตอบแทน ด้วยความเสี่ยงต่ำ
ลงทุนในตราสารหนี้ไทยทั้งภาครัฐและเอกชน ผลตอบแทนสูงกว่าแผนตลาดเงิน แต่ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

4. แผนผสมหุ้นทวี – เสี่ยงได้บ้าง เพิ่มโอกาสมั่งคั่ง
ลงทุนในหุ้นในประเทศและต่างประเทศประมาณ 35% ส่วนที่เหลือลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ อาทิ ตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ และสินทรัพย์ทางเลือก

5. แผนสมดุลตามอายุ – อายุน้อยเสี่ยงมาก อายุมากเสี่ยงน้อย
มีนโยบายกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงและสินทรัพย์เสี่ยง โดยปรับสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องกับอายุของสมาชิก กบข. กล่าวคือ มีสัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงค่อนข้างมากเมื่ออายุน้อย และทยอยลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ทำให้สมาชิก กบข. ไม่ต้องกังวลต่อการปรับสัดส่วนการลงทุนด้วยตนเอง

6. แผนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทย – เสี่ยงสูง ลงทุนในกองทุนอสังหาฯ ไทย
มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทย (Property Fund) กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) และหน่วยลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) เหมาะกับผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างสูง

7. แผนตราสารทุนไทย – เสี่ยงสูง ลงทุนในหุ้นไทย 100%”
ลงทุนในตราสารทุน (หุ้น) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งในบางเวลาอาจลงทุนในตราสารหนี้ได้บ้าง เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงให้เหมาะกับสถานการณ์ โดยแผนนี้เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง

นอกจากแผนการลงทุนที่ กบข. จัดสรรให้สมาชิกสามารถเลือกแผนที่เหมาะกับตนเองได้ตามที่กล่าวมา 7 แผนข้างต้นนี้แล้ว หากสมาชิกท่านใดที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการลงทุน ก็สามารถผสมสัดส่วนสินทรัพย์ด้วยตนเองได้เช่นกัน

ด้วยภารกิจหลักของ กบข. ในด้านการลงทุนเพื่อ “ทวีค่าเงินออม” ให้สมาชิกนี้เองที่ทำให้การออมเงินกับ กบข. แตกต่างจากการออมเงินทั่ว ๆ ไป เช่น การนำเงินไปฝากธนาคาร โดยหลักการบริหารจัดการการลงทุนของ กบข. นั้นจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องของ “ความสมดุลระหว่างความปลอดภัยของเงินต้น และผลตอบแทนจากการลงทุนให้ชนะเงินเฟ้อ” เพื่อให้สมาชิก กบข. มีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมหลังจากการเกษียณ

ดังนั้นสมาชิก กบข. จึงสามารถมั่นใจได้ว่าเงินสะสมที่เรานำส่งมาที่ กบข. จะถูกดูแลอย่างดีโดยทีมผู้เชี่ยวชาญของ กบข. ภายใต้กรอบการดำเนินงานตามกฎหมาย เพื่อให้เงินออมของสมาชิกเติบโตไว้ใช้ในยามเกษียณตามแผนที่วางไว้สำหรับอนาคตได้

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลสมาชิก กบข. เคยสงสัยหรือไม่ว่าเงินออมที่เรานำส่งมาสะสมไว้กับ กบข. ทุกเดือนนั้น กบข. ได้มีการนำไปบริหารจัดการอย่างไร ? และแตกต่างจากการออมเงินทั่วไปอย่างไร ?  จาก กบข.

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments