1. “ได้” รับเงิน 2 ทาง
ไม่ว่าสมาชิก กบข. จะบรรจุเข้ารับราชการเมื่อไหร่ก็ยังมีสิทธิเลือกรับเงินบำเหน็จ หรือบำนาญจากกรมบัญชีกลาง และยังได้รับเงินก้อนจาก กบข. อีกทางหนึ่งด้วย ส่วนการรับเงินก้อนจาก กบข. ขึ้นอยู่กับว่าสมาชิกตัดสินใจเลือกรับเงินจากกรมบัญชีกลางเป็นเงินบำเหน็จ หรือเงินบำนาญ
– กรณีเลือกรับบำเหน็จ สมาชิกจะได้รับเงินก้อนจาก กบข. เป็น “เงินสะสมของตัวเอง” บวกกับ “เงินสมทบจากรัฐ” และ “ผลตอบแทนที่ กบข. นำไปลงทุนให้ตามแผนการลงทุนที่สมาชิกได้เลือก”
– กรณีเลือกรับบำนาญ สมาชิกจะได้รับเงินก้อนจาก กบข. เป็น “เงินสะสมของตัวเอง” บวกกับ “เงินที่รัฐนำส่งให้ คือ เงินสมทบ เงินชดเชย เงินประเดิม (ถ้ามี)” รวมกับ “ผลตอบแทนที่ กบข. นำไปลงทุนให้ตามแผนการลงทุนที่สมาชิกได้เลือก”
ส่วนข้าราชการที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข. จะได้รับเงินทางเดียวเท่านั้น คือ เงินบำเหน็จหรือ บำนาญจากกรมบัญชีกลาง
2. “ได้” เงิน กบข. เพิ่มขึ้น
ด้วยการ “ออมเพิ่ม” เริ่มต้นเพียงแค่ 1% ต่อเดือน ก็เป็นการทำให้จำนวนเงินต้นเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสมาชิก “เลือกแผนการลงทุน” ที่เหมาะสม
ก็จะเป็นตัวช่วยในการทวีค่าเงินออมให้งอกเงยขึ้น
และ 2 สิ่งนี้เองที่สามารถทำให้เงิน กบข. ของสมาชิกเติบโตขึ้นเป็นเงินก้อนใหญ่เพื่อมีใว้ใช้ในวัยเกษียณได้
3. “ได้” สิทธิ์ลดหย่อนภาษี
สำหรับเงินสะสมและเงินออมเพิ่มที่สมาชิกส่งเข้าไปที่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ไม่เกินปีละ 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ๆ
4. “ได้” สวัสดิการพิเศษ
ที่พันธมิตรสวัสดิการมอบให้สมาชิก กบข. โดยสามารถกดรับสิทธิ์ได้สะดวกทันทีทุกวันที่ My GPF Application
และนี่ก็คือข้อดีมีแต่ได้ของการเป็นสมาชิก กบข. หากสมาชิกท่านใดมีเรื่องราวดี ๆ ว่าได้รับประโยชน์อย่างไรจากการเป็นสมาชิก กบข. นอกเหนือจากนี้ ก็สามารถร่วมแชร์ความคิดเห็นเพิ่มเติมใต้โพสต์นี้ แล้วแบ่งปันเรื่องราวดี ๆ ให้กับสมาชิกท่านอื่นได้เช่นกัน เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นสังคมแห่งการออมของสมาชิก กบข. ทุกท่าน
ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูล สมาชิก กบข. การเป็นสมาชิก กบข. “ได้” มากกว่าที่คิด จาก กบข.