แนวปฏิบัติการนับเวลาเรียน การสอนชดเชย ปีการศึกษา 2564 การอนุมัติจบ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหนังสือ เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการนับเวลาเรียน การสอนชดเชย การจัดการเรียนตามหลักสูตร ปีการศึกษา 2564 และการอนุมัติการจบการศึกษาภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2563 หลังวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ถึง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต
ตามประกาศที่อ้างถึง กระทรวงศึกษาธิการ ให้โรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ การเลื่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2560 เป็นวันที่ 14 มิถุนายน 2561 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และรอบใหม่ทั่วประเทศมีความรุนแรงอยู่ในหลายพื้นที่นั้น
เพื่อให้การดำเนินงานของสถานศึกษาในสังกัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นแนวทางเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการนับเวลาเรียนการสอนชดเชยการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรปีการศึกษา 2560 และการอนุมัติจบการศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 หลังวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ให้สถานศึกษาดำเนินการ ดังนี้
1การนับเวลาเรียน
ให้เริ่มนับเวลาเรียนตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2561 เป็นต้นไป ยกเว้นสถานศึกษาใดมีความพร้อมมีความประสงค์เปิดภาคเรียนก่อนวันที่ 14 มิถุนายน 2560 และผ่านเกณฑ์การประเมินความพร้อมของระบบ Thai Stop Covid+ (TSC+) และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดให้เริ่มนับเวลาเรียนตั้งแต่วันที่เปิดภาคเรียนในวันนั้นทั้งนี้สถานศึกษาต้องจัดให้มีการสอนชดเชยให้ครบตามโครงสร้างเวลาเรียนที่สถานศึกษากำหนด
2.การสอนชดเชย
สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการ ได้ตามบริบทและความเหมาะสมหรืออาจจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือใช้หลายวิธีร่วมกันดังต่อไปนี้
2.1 การจัดการเรียนการสอนแบบ on site
2.1.1 เพิ่มจำนวนเวลาเรียนในแต่ละวัน
2.1.2 เพิ่มการเรียนในวันหยุด
2.2 การจัดการเรียนการสอนแบบ Online on air on demand on hand
2.2.1 กำหนดตารางสอนให้ชัดเจนเพื่อนำมานับชั่วโมงการเรียนได้
2.2.2 เลือกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่สามารถวัดและประเมินผลได้จริงคำนึงถึงบริบทของนักเรียนที่บ้านและความพร้อมของผู้ปกครอง
2.3 การจัดการเรียนการสอนแบบBlended
การจัดการเรียนการสอนแบบผสมระหว่าง on site กับ Distance Learning ในรูปแบบต่างๆเช่น on site กับออนไลน์หรือ on site กับ on air เป็นต้น
ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร
สถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่จำเป็นและเรียนรู้อย่างมีความหมายใน 2 ลักษณะ ได้แก่
3.1 เน้นตัวชี้วัดต้องรู้
3.2 บูรณาการตัวชี้วัดควรรู้กับกิจกรรมภาคปฏิบัติหรือภาระงานของนักเรียน
โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารตัวชี้วัดต้องรู้และควรรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และส่วนที่ปรับปรุงพุทธศักราช 2560 ได้ในเว็บไซต์ของสำนักวิชาการและสำนักมาตรฐานการศึกษาหรือ QR Code ที่ปรากฏท้ายนี้
4.การอนุมัติจบการศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 หลังวันที่ 15 พฤษภาคม 2564
กรณีสถานศึกษาแก้ไขผลการเรียนของผู้เรียนดังวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 และเสร็จสิ้นก่อนวันที่ 14 มิถุนายน 2561 (ระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม 2561 ถึง 13 มิถุนายน 2564) หรือก่อนวันเปิดเรียนของปีการศึกษา 2564 ตามที่สถานศึกษากำหนดให้ถือเป็นการอนุมัติจบการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563