วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
Google search engine
หน้าแรกมุมคุณครูปัญหาหนี้ครู : แนะ สกสค.ดึงสถาบันการเงินซื้อหนี้ครูวินัยดีบริหารแทน ธ.ออมสิน

ปัญหาหนี้ครู : แนะ สกสค.ดึงสถาบันการเงินซื้อหนี้ครูวินัยดีบริหารแทน ธ.ออมสิน

ปัญหาหนี้ครู : แนะ สกสค.ดึงสถาบันการเงินซื้อหนี้ครูวินัยดีบริหารแทน ธ.ออมสิน

ปัญหาหนี้ครู : แนะ สกสค.ดึงสถาบันการเงินซื้อหนี้ครูวินัยดีบริหารแทน ธ.ออมสิน เมื่อวันที่ 26 พ.ค. นายสานิตย์ พลศรี นายกสมาคมครูชนบทจังหวัดชัยภูมิ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (ผอ.สกสค.) จังหวัดชัยภูมิ 4 วาระ กล่าวว่า ตนอยากเรียกร้องนายธนพร สมศรี เลขาธิการคณะกรรมการ สกสค. ได้แถลงผลงานในรอบเกือบ 1 ปี ตามนโยบายที่ให้ไว้อย่างสวยหรู “เลขาฯ สกสค.คนที่ 9 กับ 9 เรื่องทำทันที” โดยเฉพาะนโยบายเรื่องการต่อประกันเงินกู้โครงการสวัสดิการสมาชิกการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเหลือเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ภายใน 30 วันนั้น นายธนพรได้ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว เพราะช่วงที่ผ่านมามีสมาชิก ช.พ.ค.ในจังหวัดต่างๆ จำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ต่อประกันเงินกู้ ช.พ.ค.และเสียชีวิต ส่งผลให้ทายาทไม่ได้รับเงินฌาปนกิจ ช.พ.ค.

เนื่องจากต้องนำไปใช้หนี้คงเหลือกับธนาคารออมสิน รวมทั้งมีสมาชิก ช.พ.ค.จำนวนมากที่ยังค้างคาใจการทำหน้าที่ของสำนักงาน สกสค.ในการจัดหาบริษัทประกันชีวิตเพื่อประกันเงินกู้ ช.พ.ค.ราคาถูกลงให้กับสมาชิก ซึ่งก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวว่าสำนักงาน สกสค.ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาเกี่ยวกับการจัดหาบริษัทประกันชีวิตเพื่อประกันเงินกู้ ช.พ.ค.ราคาถูก 2-3 คณะ แต่เรื่องก็เงียบหายไป ในขณะเดียวกันกลับปรากฏกระแสข่าวคราวว่า สำนักงาน สกสค.ได้อนุมัติให้ปรับขึ้นอัตราเบี้ยประกันชีวิตเพื่อประกันเงินกู้ ช.พ.ค.สูงขึ้น กระแสข่าวเหล่านี้สร้างความเสื่อมเสียให้กับภาพลักษณ์ของสำนักงาน สกสค.อย่างยิ่ง ในฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

“ผมจึงขอเรียกร้องนายธนพรให้ออกมาแถลงความคืบหน้านโยบายเรื่องการต่อประกันชีวิตเพื่อประกันเงินกู้ ช.พ.ค. ทั้งโครงการเงินกู้ 6 แสนบาท , 1.2 ล้านบาท และ 3 ล้านบาท รวมถึงชี้แจงเรื่องค้างคาใจของสมาชิก ช.พ.ค.เกี่ยวกับการจัดหาบริษัทประกันราคาถูก และการอนุมัติให้ปรับขึ้นอัตราเบี้ยประกันเงินกู้ ช.พ.ค.ดังกล่าว เป็นเรื่องจริงหรือไม่ อย่างไร” อดีต ผอ.สกสค.จังหวัดชัยภูมิ 4 วาระ กล่าวและว่า ที่ผ่านมามีสมาชิก ช.พ.ค.จำนวนไม่น้อยที่ไม่ต้องการทำประกันชีวิตเพื่อประกันเงินกู้ ช.พ.ค.กับบริษัทประกันที่ทางธนาคารออมสินเจ้าของเงินกู้จัดหาให้ โดยต้องการทำประกันกับบริษัทประกันที่คิดเบี้ยประกันถูกกว่า ในขณะที่ทางธนาคารออมสินแม้จะเป็นเจ้าของเงินกู้ แต่ก็มีข้อจำกัดตามกฎหมายประกันภัยที่ห้ามบังคับลูกหนี้ ต้องให้ทำด้วยความสมัครใจ จึงเกิดกรณีที่ทำให้ทายาทของสมาชิก ช.พ.ค.เหล่านี้เดือดร้อนไม่ได้รับเงินฌาปนกิจดังกล่าว ถึงเวลาแล้วที่เลขาธิการ สกสค.คนปัจจุบัน จะต้องลงมาสะสางปัญหาเหล่านี้ ซึ่งจะส่งผลไปถึงการบรรเทาปัญหาหนี้สินให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาในฐานะสมาชิก ช.พ.ค.หลายแสนคนทั่วประเทศให้เบาบางลงได้

นายสานิตย์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาอดีตเลขาธิการ สกสค.หลายคนก็พยายามหาแนวทางบรรเทาปัญหาหนี้สินให้กับครูฯ ซึ่งจะส่งผลไปถึงการได้บริษัทประกันชีวิตเพื่อประกันเงินกู้ ช.พ.ค.ราคาถูกลงด้วย เช่น สมัยนายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สกสค. เคยเสนอแนวทางที่ทำให้บรรดาคุณครูและบุคลากรทางการศึกษาต่างตั้งความหวังไว้อย่างมาก คือ การเสนอธนาคารออมสินให้ลดดอกเบี้ยลงให้มากที่สุด อย่างน้อย 1% เพราะเห็นว่าที่ผ่านมาธนาคารออมสินได้รับดอกเบี้ยจากครูฯจำนวนกว่า 4 แสนคน ที่กู้ในหลายโครงการไปจำนวนมหาศาลแล้ว ส่วนเรื่องการประกันชีวิตเพื่อประกันเงินกู้ ช.พ.ค. ก็ให้สำนักงาน สกสค.จัดประมูลแข่งขันหาบริษัทประกันที่มั่นคงและให้ราคาเบี้ยประกันต่ำสุด แต่หากธนาคารออมสินปฏิเสธ นายพินิจศักดิ์ก็มีแนวคิดที่จะให้สำนักงานคณะกรรมการ สกสค.ส่วนกลาง หรือกระจายอำนาจให้ สกสค.แต่ละจังหวัดประสานสถาบันการเงินอื่นมาซื้อหนี้คิดดอกเบี้ยต่ำของครูฯลูกหนี้ที่มีวินัยทางการเงินดีไปบริหารจัดการแทนธนาคารออมสิน ซึ่งในช่วงเวลานั้นนายพินิจศักดิ์เองมีความมั่นใจว่า จะมีหลายสถาบันการเงินที่ให้ความสนใจ.

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลปัญหาหนี้ครู : แนะ สกสค.ดึงสถาบันการเงินซื้อหนี้ครูวินัยดีบริหารแทน ธ.ออมสิน จาก At_HeaR

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments