วันที่ 29 มีนาคม 2564 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมต้อนรับ นางสาวตรีนุช เทียนทอง เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ณ บริเวณห้องโถงอาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
โดยในช่วงเวลา 8.00 น. นางสาวตรีนุช เทียนทอง (รมว.ศธ.) เดินทางถึงกระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง สังกัด กระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับ หลังจากนั้นได้เดินทางเข้าสักการะพระพุทธรูปประจํากระทรวง (พระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์ สยามิศรจักรี สัฏฐีอนุสรณ์ศึกษาทรรังสรรค์) ศาลพระภูมิ และพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 ต่อมา รมว.ศธ. เดินทางถึงห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อมอบนโยบายและแนวทางดำเนินงานในการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพต่อไป
เพื่อเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากร
มนุษย์ โดยเฉพาะแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ประเด็นการพัฒนาศักยภาพคน
ตลอดช่วงชีวิต การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ การพัฒนาเด็กตั้งแต่
ช่วงตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย การพัฒนาช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น การพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงงาน รวมถึง
การส่งเสริมศักยภาพวัยผู้สูงอายุ ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่
๒๑ และพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง
ดิฉันจึงขออนุญาตนำเสนอนโยบายการจัดการศึกษาทั้ง ๑๒ ข้อ ดังนี้
ข้อ ๑ การปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย และทันการเปลี่ยนแปลงของโลกใน
ศตวรรษที่ ๒๑ โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกระดับการศึกษาให้มีความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับ
บริบทสังคมไทย
ข้อ ๒ การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและอาจารย์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา
ให้มีสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล เพื่อให้ครูและอาจารย์ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะทั้งด้านการจัดการ
เรียนรู้ ด้วยภาษาและดิจิทัล สามารถปรับวิธีการเรียนการสอนและการใช้สื่อทันสมัย และมีความรับผิดชอบต่อ
ผลลัพธ์ทางการศึกษาที่เกิดกับผู้เรียน
ข้อ ๓ การปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ (NDLP) และการ
ส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีหน่วยงานรับผิดชอบพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วย
ดิจิทัลแห่งชาติ ที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัยและเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่าง
กว้างขวางผ่านระบบออนไลน์ และการนำฐานข้อมูลกลางทางการศึกษามาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา
ประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา
ข้อ ๔ การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา โดยการส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มี
ความเป็นอิสระและคล่องตัว การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน
โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายการศึกษาแห่งชาติที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อกำหนดให้มีระบบบริหารและการ
จัดการ รวมถึงการจัดโครงสร้างหน่วยงานให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ สถานศึกษาให้มี
ความเป็นอิสระและคล่องตัว การบริหารและการจัดการศึกษโดยใช้จังหวัดเป็นฐาน มีระบบการบริหารงาน
บุคคลโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
ข้อ ๕ การปรับระบบการประเมินผลการศึกษาและการประกันคุณภาพ พร้อมจัดทดสอบวัดความรู้ และ
ทักษะที่จำเป็นในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาทั้งสายวิชาการและสายวิชาชีพ เพื่อให้ระบบการประเมินผล
การศึกษาทุกระดับและระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย ตอบสนองผลลัพธ์
ทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม
ข้อ ๖ การจัดสรรและการกระจายทรัพยากรให้ทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการระดมทรัพยากรทาง
การศึกษาจากความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษามีความเป็นธรรมและสร้าง
โอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมกลุ่มอื่น 1 กระจายทรัพยากรทั้งบุคลากรทาง
การศึกษา งบประมาณและสื่อเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง
ข้อ ๗ การนำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) สู่การปฏิบัติ เป็น
การผลิตและการพัฒนากำลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศโดยใช้กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เชื่อมโยงระบบการศึกษา
และการอาชีพโดยใช้กลไกการเทียบโอนประสบการณ์ด้วยธนาคารหน่วยกิตและการจัดทำมาตรฐานอาชีพใน
สาขาที่สามารถอ้างอิงอาเชียนได้
ข้อ ๘ การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ
วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย เพื่อเป็นการขับเคลื่อนแผนบูรณาการการพัฒนาเด็กปฐมวัย
ตามพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒ สู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นำไปเป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย และมีการติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ
ข้อ ๙ การศึกษาเพื่ออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้ผู้จบการศึกษา
ระดับปริญญาและอาชีวศึกษามีอาชีพและรายได้ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพและคุณภาพชีวิตที่ดี มีส่วนช่วย
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกได้
ข้อ ๑๐การพลิกโฉมระบบการศึกษาทยด้วยการนำนวัตกรรมและทโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัด
การศึกษาทุกระดับการศึกษา เพื่อให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ใน
การจัดการศึกษาผ่านระบบดิจิทัล
ข้อ ๑๑ การเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และ
ผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่ม
ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
ข้อ ๑๒ การจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย โดยยึดหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการมี
ส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทาง
การศึกษาและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก สพฐ.