สวัสดีค่ะคุณครูทุกท่าน วันนี้ ครูอัพเดตดอทคอม มี บทความเกี่ยวกับการทำ วิทยฐานะ มาฝากคุณครูทุกท่านค่ะ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ทาง ก.ค.ศ. ได้ประกาศแนวทางการทำผลงานวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่ หรือที่ทุกท่านเรียนกันว่า วิทยฐานะ ว.PA ซึ่งจะได้มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 นี้
ซึ่ง ครูอัพเดตดอทคอม เชื่อว่าอาจจะมีคุณครูหลายท่านที่ได้เก็บงาน วิทยฐานะเกณฑ์เดิม ว.17 และจะนำมาใช้รวมกับ ว.PA ครูอัพเดตดอทคอมจึงได้มี รายละเอียดเดี่ยวกับด้านที่ 3 ของ ว.17 ซึ่งเมื่อคุณครูอ่านบทความ อ่านที่นี่..หากคุณครูต้องการ เก็บผลงาน ว.17 ควบคู่ กับ PA ต้องเตรียมเก็บเอกสารอะไรบ้าง ก็จะทำให้ทราบว่า ต้องเตรียมเก็บเอกสารอะไรไว้นั่นเองค่ะ
ด้านที่ 3 ส่วนที่1 ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (60 คะแนน)
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน หมายถึง ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเปรียบเทียบก่อนเรียนและหลังเรียน
ตัวบ่งชี้1.2 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของวิชาที่สอน หมายถึง ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเปรียบเทียบ
ปีปัจจุบันกับปีที่ผ่านมา
ตัวบ่งชี้1.3 ผลการประเมินและหรือการทดสอบของวิชาที่สอน/กลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับเขต/ประเทศ หมายถึง ความก้าวหน้าของการทดสอบในวิชาที่ผู้สอนรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอน
2. ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่น ๆ พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้2.1 ผลการพัฒนาผู้เรียน ด้านสุขภาพ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม หมายถึง ผลจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้กิจกรรมประจำวัน/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านสุขภาพ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนด
ตัวบ่งชี้2.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดในรายวิชาที่เสนอขอผลงาน
3. ปริมาณและสภาพของงาน พิจารณาตามตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้3.1 ปริมาณงาน หมายถึง จำนวนชั่วโมงที่ปฏิบัติการสอน จำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์/สาขาวิชา/รายวิชาที่รับผิดชอบและจำนวนนักเรียนที่รับผิดชอบ
ตัวบ่งชี้3.2 สภาพของงาน หมายถึง ความรับผิดชอบของผู้สอนที่มีต่อนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ/วัฒนธรรม/สังคม/พัฒนาการตามวัยและสถานศึกษาที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ปกติ พื้นที่ภูเขาหรือเกาะหรือติดกับรอยตะเข็บชายแดนหรือพื้นที่มีลักษณะพิเศษ
รายละเอียด
ผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่3) ส่วนที่ 1
1. ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เสนอขอรับการ
ประเมินของปีปัจจุบัน
– ชื่อวิชาที่สอน……………………………………………………………………
– คะแนนทีเฉลี่ย* (Average T score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน = ………..
– คะแนนทีเฉลี่ย* (Average T score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน = ……….
1.1.2 ค่าทีเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอน
– คะแนนทีเฉลี่ย* (Average T score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาที่แล้ว = …………………………………
– คะแนนทีเฉลี่ย* (Average T score) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ปลายภาคเรียน/ปลายปีการศึกษาปัจจุบัน = ……………………………….
1.1.3 ผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้
ที่สอนในระดับเขต/ประเทศ
– คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขา/สาขาวิชา/
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนในระดับเขต/ประเทศ ปีการศึกษาที่ผ่านมา = ………..
– คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินและหรือการทดสอบของสาขา/สาขาวิชา/
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนในระดับเขต/ประเทศ ปีการศึกษาปัจจุบัน = …………
หมายเหตุ:
1) ผู้ขอรับการประเมินในสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่ไม่มีการทดสอบระดับเขต/
ประเทศ ให้รายงานเฉพาะข้อ 1.1.1 และข้อ 1.1.2 เท่านั้น
2) ผู้ขอรับการประเมินที่สอนระดับปฐมวัย ให้รายงานผลการประเมินมาตรฐานคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ที่ครอบคลุมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์และ
จิตใจ สังคม และสติปัญญา (ไม่ต้องรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนข้อ 1.1.1 ข้อ 1.1.2 และข้อ 1.1.3)
3) ผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษในกรณีเรียนร่วมและขอในสาขาการศึกษาพิเศษที่ไม่
มีการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้รายงานผลการพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล ตามที่กำ หนดในแผนการจัด
การศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) โดยต้องมีผู้เรียนเรียนร่วมในความดูแล ทั้ง 2 ปีรวมกันไม่น้อยกว่า 3 คน (ไม่ต้องรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนข้อ 1.1.1 ข้อ 1.1.2 และข้อ 1.1.3)
4) ผู้ขอรับการประเมินที่สอนการศึกษาพิเศษ ให้รายงานผลการพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล
ที่ครอบคลุมพัฒนาการด้านสุขภาพร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม โดยเปรียบเทียบผลก่อนและหลัง
การพัฒนาว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความก้าวหน้าในด้านใด ระดับใด และอย่างไร ตามที่กำหนดไว้ในแผนการ
จัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) (ไม่ต้องรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนข้อ 1.1.1 ข้อ 1.1.2 และ ข้อ
1.1.3)
1.2 ผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่น ๆ
ให้รายงานในรอบ 2 ปีที่ทำการสอนในวิชาที่เสนอขอรับการประเมิน ดังนี้
1.2.1 ผู้เรียนในสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เสนอขอ จำนวน…………………คน
1.2.2 ผู้เรียนมีการพัฒนาด้านสุขภาพ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคมตาม
หลักสูตร/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และตามที่สถานศึกษากำหนดในระดับดี
จำนวน………….คน คิดเป็นร้อยละ…………
1.2.3 ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและตามที่สถานศึกษากำหนดใน
ระดับดีจำนวน………….คน คิดเป็นร้อยละ…………
3. ปริมาณและสภาพของงาน (ณ วันที่ยื่นคำขอรับการประเมิน)
3.1 ปริมาณงาน
– จำนวนชั่วโมงที่สอนต่อสัปดาห์…………….ชั่วโมง
– จำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้/กลุ่มประสบการณ์/สาขาวิชา และระดับชั้นที่สอน…..
– จำนวนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)…………ฉบับ (สำหรับผู้ขอรับการประเมิน
ที่สอนการศึกษาพิเศษ)
– จำนวนผู้เรียนที่สอน………………..คน
– จำนวนครั้งที่ผู้สอนใช้แหล่งเรียนรู้ประกอบการจัดกิจกรรมประจำวันต่อปี……………. ครั้ง
(สำหรับผู้ขอรับการประเมินที่สอนระดับปฐมวัย)
– ปฏิบัติงานอื่น (ถ้ามี)โปรดระบุ……………………………………………………
3.2 สภาพของงาน
รับผิดชอบนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
รับผิดชอบนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษหลายประเภทความพิการและมีลักษณะอาการรุนแรง
รับผิดชอบนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ/วัฒนธรรม
สถานศึกษาตั้งอยู่บนพื้นที่ปกติ
สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขา หรือเกาะหรือติดกับรอยตะเข็บชายแดน
สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ เช่น กันดาร เสี่ยงภัย ตามประกาศของทางราชการ เป็นต้น
*** ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียด/คำอธิบายการให้คะแนนรายข้อในหลักเกณฑ์ ว17/2552
ซึ่งจากการอ่านรายละเอียด อ่านที่นี่..หากคุณครูต้องการ เก็บผลงาน ว.17 ควบคู่ กับ PA ต้องเตรียมเก็บเอกสารอะไรบ้าง คุณครูอาจจะพอทราบเอกสารที่ต้องเตรียมเก็บไว้ใช้คู่กับ วิทยฐานะ ว.PA พอสมควรแล้ว โดยทั้งนี้ ต้องรอประกาศเกณฑ์ที่ชัดเจนในวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 อีกครั้งด้วยค่ะ
ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณที่มาของ ไฟล์ ด้านที่ 3 ส่วนที่ 1 ที่จะนำมาแทนผล PA จากเพจศูนย์พัฒนาวิชาชีพครูโรงเรียนบางละมุงค่ะ