วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกข่าวการศึกษาคำขวัญวันครู ครั้งที่ 66 ประจำปี 2565 คำขวัญวันครูแห่งชาติ เนื่องในโอกาสวันครู จาก นายกรัฐมนตรี

คำขวัญวันครู ครั้งที่ 66 ประจำปี 2565 คำขวัญวันครูแห่งชาติ เนื่องในโอกาสวันครู จาก นายกรัฐมนตรี

ในเดือนมกราคมของทุกปี ยังมี “วันครู” ซึ่งทุกปีนายกรัฐมนตรีจะมอบ คำขวัญวันครู 16 มกราคม 2565 และวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบคำขวัญ เนื่องในโอกาสวันครู ครั้งที่ 66 พ.ศ. 2565 นายกรัฐมนตรีจึงได้มอบ คําขวัญวันครู 2565 ไว้ดังนี้ครับ

คำขวัญวันครู-2565-เนื่องในวันครู-ครั้งที่-66-วันครู

คำขวัญวันครู
คำขวัญวันครู 2565 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
“พัฒนาครู พัฒนาเด็ก เรียนรู้สู่อนาคต”

 

คำขวัญวันครู 2564 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ครูวิถีใหม่ ใส่ใจดิจิทัล สร้างสรรค์ คุณธรรม ประจำชาติ

 

คำขวัญวันครู ครั้งที่ 65 ประจำปี 2564

คำขวัญวันครู 2564 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
 
        “ครูวิถีใหม่ ใส่ใจดิจิทัล สร้างสรรค์ คุณธรรม ประจำชาติ”  
 

คำขวัญวันครู 2563 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

        “ครูไทย รักศิษย์ คิดพัฒนา”

 

คำขวัญวันครู 2562 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

        “ครูดี ศิษย์ดี มีพัฒนา ก้าวหน้า สู่เทคโนโลยี”

คำขวัญวันครู 2561 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

        “ศิษย์ดี ก็ด้วยครูดี มีศรัทธา”

คำขวัญวันครู 2560 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

        “ชาติพัฒนา ด้วยครูดี มีคุณภาพ ศิษย์ซาบซึ้ง ในพระคุณครู”

คำขวัญวันครู 2559 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

“อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดี มีคุณภาพ”

คำขวัญวันครู 2558 เจ้าของคำขวัญ : เด็กหญิงอนุสรา ชื่นบาล

“เกียรติครูยิ่งใหญ่ น้อมใจบูชา เลิศล้ำคุณค่า ศรัทธาพระคุณ”

คำขวัญวันครู 2557 เจ้าของคำขวัญ : นายธีธัช บรรณะทอง

“เทิดพระเกียรติทั่วหล้า กตัญญูบูชา แม่และครูแห่งแผ่นดิน”

คำขวัญวันครู 2556 เจ้าของคำขวัญ : นายสะอาด สีหภาค

“แปดสิบพรรษา พระราชินี ราษฎร์รัฐภักดี ครูศรีแผ่นดิน”

คำขวัญวันครู 2555 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวขนิษฐา อุตรโส

“บูชาครูแห่งแผ่นดิน จอมปราชญ์ศาสตร์ศิลป์ สยามินทร์ ภูมิพล”

คำขวัญวันครู 2554 เจ้าของคำขวัญ : นางกนกอร ภูนาสูง

“เทิดพระเกียรติทั่วหล้า บูชาครูของแผ่นดิน ภูมินทร์ภูมิพล”

คำขวัญวันครู 2553 เจ้าของคำขวัญ : นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์

“น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที”

คำขวัญวันครู 2552 เจ้าของคำขวัญ นางนฤมล จันทะรัตน์

“ครูสร้างคนดี เป็นศรีแผ่นดิน ทั่วถิ่นศรัทธา บูชาคุณครู”

คำขวัญวันครู 2551 เจ้าของคำขวัญ : นางพงษ์จันทร์ สุขเกษม

“ครูของแผ่นดิน เลิศศิลป์ศาสตร์ มหาราชภูมิพล ชนบูชา”

คำขวัญวันครู 2550 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวศันสนีย์ แสนโรจน์

“สิบหกมกรา เทิดทูน พ่อแผ่นดิน ภูมินทร์บรมครู”

คำขวัญวันครู 2549 เจ้าของคำขวัญ : นางพรรณา คงสง

“ครูดีเป็นศรีแผ่นดิน ศิษย์ทั่วถิ่นศรัทธาบูชาครู”

คำขวัญวันครู 2548 เจ้าของคำขวัญ : นายประจักษ์ หัวใจเพชร

“ครูสร้างคนสร้างชาติด้วยศาสตร์ศิลป์ ทั่วแผ่นดินศรัทธาบูชาครู”

คำขวัญวันครู 2547 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวพรทิพย์ ศุภกา

“ครู คือ พลังสร้างแผ่นดิน ไทยทุกถิ่นน้อมบูชาพระคุณครู”

คำขวัญวันครู 2546 เจ้าของคำขวัญ : นางสมปอง สายจันทร์

“ครูให้ความรู้ ควบคู่จรรยา ปวงชนทั่วหล้า น้อมบูชาครู”

คำขวัญวันครู 2545 เจ้าของคำขวัญ : นายสุเทพ วิเศษศักดิ์ศรี

“สร้างคนสร้างชาติ สร้างศาสตร์ก้าวหน้า สร้างภูมิปัญญา ขอบูชาครู”

คำขวัญวันครู 2544 เจ้าของคำขวัญ : นางสาวสุทิสา ธนบดีไพบูลย์

“พระคุณครูยิ่งใหญ่ สร้างไทยให้พัฒนา ขอบูชาคุณครู

คำขวัญวันครู 2543 เจ้าของคำขวัญ : นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และนายประจักษ์ เสตเตมิ

“ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี”

“สร้างชาติ สร้างคน ผลงานของครู ทั่วโลกรับรู้ เชิดชูบูชา”

คำขวัญวันครู 2542 เจ้าของคำขวัญ : นายปัญจะ เกสรทอง และนางเซียมเกียว แซ่เล้า

“ครูเป็นผู้เบิกทางแห่งปัญญา”

“ครูชี้ทางสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ชนเชิดบูชาพระคุณครู”

คำขวัญวันครู 2541 เจ้าของคำขวัญ : นายชุมพล ศิลปอาชา

“ครูเป็นผู้นำทางปัญญา ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี”

คำขวัญวันครู 2540 เจ้าของคำขวัญ : นายสุขวิช รังสิตพล

“ครูสร้างศิษย์ ด้วยมิตรและน้ำใจ ครูคือผู้ให้ เพื่อเยาวชนไทยได้พัฒนา”

คำขวัญวันครู 2539 เจ้าของคำขวัญ : นายสุขวิช รังสิตพล

“ครู เป็นหัวใจของการพัฒนาคน”

คำขวัญวันครู 2538 เจ้าของคำขวัญ : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร

“อุทิศเวลา รักษาคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี”
 
คำขวัญวันครู 2537 เจ้าของคำขวัญ : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร

“ครู คือ ผู้มีคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี”
 
คำขวัญวันครู 2536 เจ้าของคำขวัญ : นายสัมพันธ์ ทองสมัคร

“ครู คือ นักพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อม”

คำขวัญวันครู 2535 เจ้าของคำขวัญ : ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์

“ครู คือ ผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้นำเยาวชนของชาติ

คำขวัญวันครู 2534 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ

          “ครู คือ ผู้สร้างสรรค์ให้เยาวชนของชาติเป็นพลเมืองดี”

คำขวัญวันครู 2533 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ

“ครู คือ ผู้อุทิศทั้งชีวิตและจิตใจ ส่งเสริมเพิ่มพูนให้เยาวชนเป็นคนดี

คำขวัญวันครู 2532 เจ้าของคำขวัญ : พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ

“ครูดี มีจรรยา มุ่งค้นคว้าเพื่อพัฒนาเด็กไทย”

คำขวัญวันครู 2531 เจ้าของคำขวัญ : นายมารุต บุนนาค

“ครูเป็นผู้สร้าง ครูเป็นผู้ให้ความหวัง ครูเป็นพลังให้ศิษย์เป็นคนดี”
 
คำขวัญวันครู 2530 เจ้าของคำขวัญ : นายมารุต บุนนาค

“ครูดีมีวินัย และคุณธรรม ย่อมน้อมให้เยาวชนเป็นพลเมืองดี”

คำขวัญวันครู 2529 เจ้าของคำขวัญ : นายชวน หลีกภัย

“ครู คือ ผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้าและอยู่รอดปลอดภัย”  

คำขวัญวันครู 2528 เจ้าของคำขวัญ : นายชวน หลีกภัย

“การที่บุคคลหนึ่งจะดำรงชีวิตได้อย่างดีนั้นมิใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะผู้เป็นครูมีแนวปฏิบัติที่ยากยิ่ง เป็นสิ่งน่าเห็นใจที่ครูจะต้องปฏิบัติโดยยึดถือความดี มีคุณธรรมระดับสูงกว่าบุคคลทั่วไป แต่ก็น่าภาคภูมิใจ เมื่อครูผู้ปฏิบัตินั้น ได้รับความเชื่อถือ ศรัทธา และยอมรับจากสังคมมากขึ้น จึงขอให้เพื่อนครูทุกท่านปฏิบัติตนด้วยความเสียสละ อดทน ยึดถือความดี มีคุณธรรมเพื่อจะบังเกิดผลดีแก่ตนเอง ชุมชน และประเทศชาติสืบไป”

คำขวัญวันครู 2527 เจ้าของคำขวัญ : นายชวน หลีกภัย

“ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2527 ผมขอให้เพื่อนครูที่รักทั้งหลายและสมาชิกคุรุสภาทุกท่าน ประสบความสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สัมฤทธิผลอันพึงปรารถนาตลอด”

คำขวัญวันครู 2526 เจ้าของคำขวัญ : ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์

“อนาคตของเด็กไทย อยู่ที่ความเอาใจใส่ของครูทุกคน”

คำขวัญวันครู 2525 เจ้าของคำขวัญ : ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์

“ครู นั้น สังคมยกย่องนับถือว่าเป็นปูชนียบุคคล ทั้งนี้ เพราะว่าครูเป็นผู้เสียสละยึดมั่นในคุณงามความดี และความถูกต้อง จึงขอให้รักษาความดีนี้ตลอดไป”

คำขวัญวันครู 2524 เจ้าของคำขวัญ : ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต

“ครู ที่แท้ต้องทำแต่ความดี ประพฤติปฏิบัติในระเบียบแบบแผน อันสมควรกับเกียรติภูมิของตน มีความรักในลูกศิษย์และอบรมปัญญาให้ลูกศิษย์มีความสมบูรณ์ ทั้งทางด้านวิชาการ ความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และทางด้านพลานามัย”  

คำขวัญวันครู 2522 เจ้าของคำขวัญ : ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์

“เป็นครูต้องยึดถือคุณธรรมของครู”
 
คำขวัญวันครู 2521 เจ้าของคำขวัญ : นายแพทย์บุญสม มาร์ติน

“การให้การศึกษาแก่คนในชาติ เป็นกระบวนการที่ต้องทำต่อเนื่องกันไปตลอดชีวิต ดังนั้นจึงต้องระดมสรรพกำลังหลาย ๆ ด้านมาช่วยเหลือการศึกษา ปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ ครูซึ่งจะเป็นผู้ผลักดันให้ทุกอย่างไปสู่เป้าหมายได้ ฉะนั้นท่านทั้งหลายคงตระหนักถึงหน้าที่อันมีเกียรตินี้ ในโอกาสที่วันสำคัญอย่างยิ่งของครูได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง ข้าพเจ้าในนามของกระทรวงศึกษาธิการและประธานอำนวยการคุรุสภา ขอส่งความปรารถนาดีและความระลึกถึงเพื่อนครูทุกท่าน ทั้งนอกและในราชการ ขอจงประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกัน และขอได้โปรดตระหนักถึงหน้าที่ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของครูที่ดีสืบไป”

ประวัติความเป็นมาของวันครู

ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้ วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็นวันครูแห่งประเทศไทย โดยตรงกับวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า “คุรุสภา” ซึ่งเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”

จากแนวความคิดนี้ เปรียบกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ราชการเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

กิจกรรมวันครู

กิจกรรมในวันครูมี  3  กิจกรรมใหญ่ คือ พิธีทางศาสนา พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ และกิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่าง ผู้ประกอบวิชาชีพครู ในงานวันครูบางปี คณะกรรมการจัดงานวันครูจะจัดให้มีกิจกรรมพิเศษเพิ่มเติมขึ้นเพื่อเผยแพร่งานวันครูให้กว้างขวางและให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดทำบัตรคารวะครู การจัดทำสติกเกอร์ประชาสัมพันธ์ในโอกาสวันครู การประกวดร้องเพลงวันครู การประกวดคำขวัญวันครู การจัดงานสัปดาห์วันครู และการจัดประชุมทางวิชาการ เป็นต้น

 ครูคือใคร

ครู หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า “หนัก” อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคนคนหนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น “ครู” จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคนคนหนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน “ครูคนแรก” ของเราแล้ว การที่เด็ก ๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี “ครู” ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น “ครู” จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน

ขอบคุณที่มาจาก : รัฐบาลไทย คุรุสภา

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments