วันอังคาร, ตุลาคม 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกบทความการศึกษา7 เคล็ดไม่ลับ !!  ผอ. ใช้ใน การประเมินผลการปฏิบัติงาน ของ ครู  ที่ทำให้ครูเครียดน้อยลง

7 เคล็ดไม่ลับ !!  ผอ. ใช้ใน การประเมินผลการปฏิบัติงาน ของ ครู  ที่ทำให้ครูเครียดน้อยลง

7 เคล็ดไม่ลับ !! ผอ. ใช้ใน การประเมินผลการปฏิบัติงาน ของ ครู  ที่ทำให้ครูเครียดน้อยลง

 

7 เคล็ดไม่ลับ !!  ผอ. ใช้ใน การประเมินผลการปฏิบัติงาน ของ ครู  ที่ทำให้ครูเครียดน้อยลง
7 เคล็ดไม่ลับ !!  ผอ. ใช้ใน การประเมินผลการปฏิบัติงาน ของ ครู  ที่ทำให้ครูเครียดน้อยลง (ภาพจาก Freepik)

1.เข้าใจเครื่องมือประเมินที่ใช้
แม้ว่าในการประเมินจะมีกรอบ และแนวทางที่ชัดเจนอยู่ทุกด้านแล้ว แต่ผู้บริหารควรทำความเข้าใจ วิธีนำผลการประเมิน มาต่อยอดให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เมื่อได้รับข้อมูลจากกระบวนการประเมินแล้ว จงนำข้อมูลนั้น ๆ มาทำแผนปฏิบัติงานให้แก่ครูเพื่อช่วยให้ครูได้พัฒนาตัวเองไปอีกขั้น

 

2. นัดแนะเตรียมตัวกับครูก่อน
ก่อนจะเข้าห้องเรียนไปทำการสังเกตและประเมินผลปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรมีโอกาสคุยกับครูเกี่ยวกับบทเรียน
ที่จะเข้าไปดูการเรียนการสอน และเล่าให้ครูฟังว่า ผู้ประเมินหวังจะได้เห็นอะไรบ้างในห้องเรียน ควรถามเพิ่มด้วยว่าอยากให้สังเกตจุดไหนเป็นพิเศษหรือไม่

 

3. แวะดูห้องเรียนตั้งแต่ต้นปีการศึกษาและแวะดูบ่อย ๆ
การได้แวะบ่อยๆ ผู้บริหารมีโอกาสเห็นจุดอ่อน และจุดแข็งของการจัดการเรียนการสอนและบริหารห้องเรียน
รวมถึงช่วยเปิดโอกาสให้ครูได้ปรับปรุงพัฒนาตัวเองก่อนหน้าการถูกประเมิน เปลี่ยนช่วงเวลาที่ครูรู้สึกว่าโดนจับผิด เป็นช่วงเวลาที่ครูมีโอกาสแสดงศักยภาพเต็มที่ เพราะได้รับการบอกกล่าวแก้ไขไปแล้ว และการแวะดูบ่อยๆจะช่วยสร้างความคุ้นเคยทั้งกับครู  และนักเรียน ด้วยครับ

 

4. สังเกตทุกอย่าง ไม่ใช่แค่ครู 
การประเมินหลายๆครั้ง ตลอดคาบเรียน ผู้บริหารมักจะจดจ่ออยู่แค่เฉพาะสิ่งที่ครูทำเพื่อประเมินผล เพราะระบบประเมินที่จัดทำโดยภาครัฐแนะนำให้ทำเช่นนี้ แต่ครู ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นตรงกันว่าผู้บริหารน่าจะสังเกตนักเรียน สนใจบรรยากาศการเรียนการสอนมากกว่า อาทิเช่น ครูให้นักเรียนทำอะไร เด็ก ๆ กำลังทำอะไร และพวกเขาถามคำถามอะไรในห้องเรียน
5. แจ้งข้อมูลจากการประเมินให้ครูทราบทันที
การแจ้งคำติชมอย่างรวดเร็วเป็นหนึ่งในวิธีที่สำคัญในการช่วยให้ครูได้รับประโยชน์จากกระบวนการประเมินผลอย่างเต็มที่ การส่งบันทึกการประเมินผลให้ครูดูภายใน 24 ชั่วโมง และเน้นเขียนบันทึกในแนวทางเปิดประเด็นเพื่อการพูดคุยมากกว่าการแสดงความคิดเห็นแบบปลายปิด โดยอาจเรียก “ข้อสังเกตและข้อสงสัย” โดยข้อสังเกตมักมากับคำชมเพราะจะระบุว่าเขาสังเกตเห็นสิ่งใดบ้างที่เป็นไปด้วยดีในห้องเรียน ส่วนข้อสงสัยมักจะมาในรูปแบบของคำถามสัก 2-3 ข้อ โดยข้อสงสัยนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องไม่ดีก็ได้ แต่เป็นสิ่งที่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ผู้บริหารไม่ควรตั้งข้อสมมติฐานใดขึ้นมาเอง

 

6. เปิดโอกาสให้ครูแสดงความคิดเห็น
ผู้บริหารต้องทำให้ครูรู้สึกว่าการประเมินผลงานเป็นการสื่อสารสองทาง และดำเนินงานต่อเนื่อง ถึงแม้บทบาทของผู้บริหาร ควรเปิดเผยและตรงไปตรงมา แต่ผู้บริหารก็ไม่ควรจดรายละเอียดยิบย่อยว่าครูทำอะไรผิดบ้าง ทั้งนี้ ครูควรได้รับโอกาสในการพิจารณาการสอนของตัวเอง รวมถึงแจ้งบริบทตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในส่วนที่ผู้ประเมินอาจไม่ทราบ อาทิ มีการเตรียมตัวอะไรมาบ้างแล้วในคาบเรียนที่แล้ว หรือมีอะไรเกิดขึ้นหลังจากผู้บริหารออกจากห้องเรียนไป

7. ให้โอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา
การส่งผลการประเมินควรอยู่บนรากฐานของความตั้งใจดี  อยากให้ครูได้รับทักษะใหม่ ได้ปรับตัว และได้ซึมซับสิ่งที่จะช่วยให้พวกได้เรียนรู้และพัฒนาต่อไป การบอกให้ครูต้องไปทำโน่น  นั้น  นี่  แล้วปล่อยให้ครูไปทำเอง แตกต่างจากการบอกครู  แล้วเข้าไปช่วยให้ครูพัฒนาด้วยการชี้แนะเพิ่มเติม หรือพาครูไปดูห้องเรียนตัวอย่าง เป็นต้น
ครูอัพเดตดอทคอม   หวังว่าสิ่งที่นำมาฝากในวันนี้   จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับทุกๆท่านนะครับ

 

อ้างอิงจาก
https://www.educathai.com/knowledge/articles  สืบค้น  9 กุมภาพันธ์ 2563

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments