วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกบทความการศึกษา4  ข้อควรปฏิบัติ ของ ผู้บริหาร (ผอ. โรงเรียน) ในยุคนี้

4  ข้อควรปฏิบัติ ของ ผู้บริหาร (ผอ. โรงเรียน) ในยุคนี้

4  ข้อควรปฏิบัติ ของ ผู้บริหาร (ผอ. โรงเรียน) ในยุคนี้

 

สวัสดีครับ  ครูอัพเดตดอทคอม  มีเรื่องราวดีๆมาฝากคุณครูทุกท่าน  ตลอดจนท่าน ผู้บริหาร ทั้งมือใหม่และมือเก่าครับ  จากการที่แอดมินรับฟังคุณครูหลายๆโรงเรียน  กล่าวขวัญถึงท่านผู้บริหารโรงเรียน  หรือแม้แต่ท่านผู้บริหารเอง  พูดถึงคุณครูในโรงเรียน ทำให้ทราบว่ามี  4  ข้อควรปฏิบัติ ของผู้บริหาร(ผอ.โรงเรียน) ในยุคนี้  ทำแล้วส่งผลดีแน่นอนครับ

1) ควรมองให้ออกว่าสิ่งใดดีอยู่แล้ว
ผู้บริหารควรเริ่มต้นมองหาว่ามีอะไรบ้างในโรงเรียนที่มีอยู่แล้ว คุณเห็นว่าดีและควรทำต่อ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างที่มีอยู่จะไม่ดีไปเสียทั้งหมด   ถึงแม้ว่าครูอาจจะไม่สามารถทำแบบที่ทำอยู่ต่อไปได้แล้ว แต่ผู้บริหารสามารถดึงเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์จากโครงการเดิมมาบูรณาการเข้าสู่โครงการใหม่ได้

2) ควรให้ความสำคัญกับการสร้างสัมพันธภาพอันดีกับครู
หากขอให้ครูทำสิ่งใหม่ ลองเสี่ยง หรือริเริ่มอะไรใหม่ ๆ เราต้องมีความไว้วางใจกันในระดับหนึ่ง โดยความไว้วางใจนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีวัฒนธรรมการทำงานที่ดูแลสัมพันธภาพอันดี ซึ่งผู้บริหารจะมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับบุคลากรในโรงเรียนได้ก็ต่อเมื่อให้ความเคารพและสนับสนุนต่อผู้อื่น รวมถึงเชื่อมั่นว่าครูเป็นมืออาชีพ
มีครูผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่า ผู้บริหารที่ดีที่สุดที่เขาเคยทำงานด้วย คอยสนับสนุนให้ครูและนักเรียนมีการพูดคุยกันอย่างเปิดกว้างอยู่ตลอด เมื่อสมาชิกในโรงเรียนรู้สึกว่ามีผู้อื่นให้คุณค่ากับตนเอง บรรยากาศของโรงเรียนก็เป็นไปในแง่บวกตลอดทั้งปี ในทางกลับกัน ผู้บริหารที่ออกคำสั่งให้ครูทุกคนส่งแผนการสอนทุกต้นสัปดาห์ แล้วมาจุกจิกเพิ่มอีก บรรยากาศของโรงเรียนเปลี่ยนไป งานสอนเป็นเรื่องยากพออยู่แล้ว นี่ยังมาทำให้ครูรู้สึกเหมือนไม่ได้รับความเคารพอีก

3) ควรทำงานนอกห้องทำงานบ้าง
ยิ่งผู้บริหารใช้เวลานอกห้องทำงานของตัวเองและมีปฏิสัมพันธ์กับครูและนักเรียนมากเท่าใด พวกเขาจะยิ่งสามารถสร้างบรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจได้มากขึ้นเท่านั้น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก “เป็นสิ่งที่พวกเราพึงทำ” บรรยากาศในห้องเรียนจะต่างไปมาก เมื่อผู้บริหารรู้จักนักเรียนในห้อง
ผู้บริหารควรออกมาลุยงานข้างนอกและร่วมงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับบุคลากรอื่น ๆ ถ้าผู้บริหารตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุดของนักเรียนอย่างที่ควรเป็น ผู้บริหารจะทำงานกับครูเป็นทีม

4) ควรชวนผู้นำครู (ครูที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในโรงเรียน)มานำร่องโครงการใหม่ก่อนจะบังคับใช้ทั่วโรงเรียน
หากโครงการหรือความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ได้รับการทดสอบเบื้องต้นมาแล้วในโรงเรียนของตัวเอง และมีเพื่อนร่วมงานที่พวกเขาเชื่อถือ มาเล่าให้ฟังว่าผลเป็นยังไง มีปัญหาอะไร ดีต่อนักเรียนอย่างไร ต้องใช้เวลามากขนาดไหน รับรองโครงการหรือความคิดนั้นอีก ครูส่วนใหญ่บอกว่าพวกเขาก็ตัดสินใจเข้าร่วมด้วยได้ง่ายขึ้น

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments